< Return to Video

ทำไมผมจึงหลงรักจำนวนเฉพาะขนาดยักษ์

  • 0:01 - 0:04
    โอ้วันเก่าๆ สมัยมหาลัย
  • 0:04 - 0:08
    บุคคลิกผสมระหว่างนักคณิตศาสตร์บริสุทธิ์
    ระดับปริญญาเอก
  • 0:08 - 0:10
    กับแชมป์โต้วาทีระดับโลก
  • 0:10 - 0:15
    และอย่างที่ผมชอบพูด "หวัดดีสาวๆ โอ...เย..."
  • 0:15 - 0:17
    ไม่มีใครจะเซ็กซี่ไปกว่าตัวผมเอง
  • 0:17 - 0:19
    ในสมัยมหาลัยแล้วนะจะบอกให้
  • 0:19 - 0:23
    มันน่าตื่นเต้นสำหรับผู้ประกาศข่าวเช้าทางวิทยุ
    ผู้ต่ำต้อยอย่างผม
  • 0:23 - 0:26
    จากซิดนีย์ ออสเตรเลีย
    ที่ได้มาอยู่บนเวที TED แห่งนี้
  • 0:26 - 0:28
    บนอีกฟากของโลก ตรงตามตัวอักษรเลย
  • 0:28 - 0:29
    และผมอยากบอกพวกคุณว่า
    เรื่องเล่าต่างๆ ที่คุณเคยได้ยิน
  • 0:29 - 0:31
    เกี่ยวกับคนออสเตรเลียนั้น เป็นเรื่องจริง
  • 0:31 - 0:33
    ตั้งแต่แบเบาะ พวกเราแสดงถึง
  • 0:33 - 0:36
    อัจริยะภาพด้านกีฬา
  • 0:36 - 0:40
    ในสนามรบ เราคือนักรบผู้กล้าหาญและทรงเกียรติ
  • 0:40 - 0:41
    ที่คุณเคยได้ยินมานั้นจริง
  • 0:41 - 0:45
    คนออสเตรเลียไม่รังเกียจการดื่มเล็กๆ น้อยๆ
  • 0:45 - 0:49
    บางครั้ง จนมันเลยเถิด
    ไปสู่สถานการณ์ทางสังคมที่น่าอับอาย (เสียงหัวเราะ)
  • 0:49 - 0:55
    นี่คือปาร์ตี้วันคริสต์มาสที่ที่ทำงานพ่อผม
    ธันวาคม 1973
  • 0:55 - 0:57
    ผมเกือบห้าขวบแล้ว ตอนนั้น
  • 0:57 - 0:59
    วันนั้นผมสนุกมากกว่าเป็นซานตาคลอสเสียอีก
  • 0:59 - 1:03
    แต่ที่ผมมายืนต่อหน้าพวกคุณในวันนี้
  • 1:03 - 1:04
    ไม่ใช่ในฐานะพิธีกรวิทยุช่วงเช้า
  • 1:04 - 1:08
    ไม่ใช่ในฐานะนักแสดงตลก
    แต่ในฐานะคนหนึ่ง ที่เคย
  • 1:08 - 1:11
    ที่เป็น และจะเป็นนักคณิตศาสตร์ไปตลอดกาล
  • 1:11 - 1:14
    และใครก็ตามที่เคยถูกแมงตัวเลขขบเข้า
  • 1:14 - 1:17
    จะรู้ว่ามันกัดเร็วและฝังลึกทีเดียว
  • 1:17 - 1:20
    ผมระลึกย้อนไปถึงเมื่อผมอยู่ ป.2
  • 1:20 - 1:22
    ในโรงเรียนรัฐอันสวยงามแห่งหนึ่ง
  • 1:22 - 1:26
    ชื่อว่า โบโรเนีย พาร์ค ในชานเมืองซิดนีย์
  • 1:26 - 1:28
    ขณะใกล้พักเที่ยง คุณครูของเรา
  • 1:28 - 1:30
    คุณครูรัสเซลล์ กล่าวกับชั้นเรียนว่า
  • 1:30 - 1:32
    "นี่ เด็ก ป.2 พวกเธออยากทำอะไรหลังพักเที่ยง"
  • 1:32 - 1:35
    ครูว่างนะ"
  • 1:35 - 1:38
    มันเป็นแบบฝึกหัดหนึ่งในโรงเรียนแบบประชาธิปไตย
  • 1:38 - 1:42
    ผมเชียร์เรื่องประชาธิปไตยในโรงเรียนเต็มที่
    แต่เราเพิ่ง 7 ขวบในตอนนั้น
  • 1:42 - 1:44
    ดังนั้น บางข้อเสนอที่เราเสนอไป
  • 1:44 - 1:47
    ว่าเราอยากทำอะไรหลังพักเที่ยง
    จึงค่อนข้างเป็นไปได้ยาก
  • 1:47 - 1:49
    หลังจากผ่านไปครู่หนึ่ง
    บางคนเสนอความคิดปัญญาอ่อนสุดๆ
  • 1:49 - 1:51
    และคุณครูรัสเซลล์ก็ปรามพวกเขา
    ด้วยคำพังเพยอย่างนุ่มนวลว่า
  • 1:51 - 1:53
    "นั่นคงไม่ดีหรอก
  • 1:53 - 1:57
    นั่นมันเหมือนกับ
    พยายามเอาหมุดสี่เหลี่ยมยัดเข้ารูกลมๆ น่ะสิ"
  • 1:57 - 1:59
    ตอนนั้น ผมก็ไม่ได้พยายามจะทำตัวให้ดูฉลาด
  • 1:59 - 2:00
    ไม่ได้อยากจะตลก
  • 2:00 - 2:02
    ผมแค่ยกมือขึ้นอย่างสุภาพ
  • 2:02 - 2:04
    และเมื่อคุณครูรัสเซลล์อนุญาตให้ผมพูด
    ผมลุกขึ้นพูด
  • 2:04 - 2:07
    ต่อหน้าเพื่อนๆ ป.2 ทั้งชั้น และผมกล่าวว่า
  • 2:07 - 2:10
    "แต่ครูครับ
  • 2:10 - 2:14
    ถ้าเส้นทแยงมุมของสี่เหลี่ยมจตุรัส
  • 2:14 - 2:18
    น้อยกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของรูกลม
  • 2:18 - 2:21
    หมุดสี่เหลี่ยมจะผ่านเข้ารูกลมได้อย่างดายเลยนะครับ
  • 2:21 - 2:24
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:24 - 2:28
    "คงเหมือนกับโยนขนมปังปิ้งเข้าห่วงบาสเกตบอล
    ไม่ใช่เหรอครับ?"
  • 2:28 - 2:30
    และความเงียบสงัดน่าอึดอัดก็เกิดขึ้นชั่วครู่หนึ่ง
  • 2:30 - 2:31
    จากเพื่อนๆ ส่วนใหญ่ในห้อง
  • 2:31 - 2:33
    จนกระทั่ง เพื่อนผมคนหนึ่งที่นั่งข้างๆ ผม
  • 2:33 - 2:36
    เป็นหนึ่งในกลุ่มเด็กเท่ห์ในห้อง สตีเฟน เอียงตัวมา
  • 2:36 - 2:38
    แล้วตบกระโหลกผมอย่างแรง
  • 2:38 - 2:39
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:39 - 2:42
    ตอนนั้น สตีเฟนพูดกับผมว่า "เฮ๊ย อดัม
  • 2:42 - 2:46
    แกกำลังถึงจุดหักเหของชีวิตนะเพื่อน
  • 2:46 - 2:49
    แกจะนั่งกับพวกเราตรงนี้ ต่อไปก็ได้
  • 2:49 - 2:50
    แต่ถ้าแกขืนพูดอะไรแบบเมื่อตะกี้อีกล่ะก็
    แกย้ายไปนั่ง
  • 2:50 - 2:54
    กับพวกโน้นเลยไป"
  • 2:54 - 2:56
    ผมใคร่ครวญอยู่ประมาณหนึ่งนาโนวินาที
  • 2:56 - 2:59
    ผมคิดแวบหนึ่งถึงแผนการชีวิตของผม
  • 2:59 - 3:03
    และผมเลือกวิ่งไปตามเส้นทางที่เขียนว่า "บ้าตำรา"
  • 3:03 - 3:09
    เร็วที่สุดเท่าที่ขาอ้วนๆ ของเด็กที่เป็นหอบหืดอย่างผม
    จะพาไปได้
  • 3:09 - 3:12
    ผมตกหลุมรักคณิตศาสตร์ตั้งแต่จำความได้
  • 3:12 - 3:15
    ผมอธิบายให้เพื่อนๆ ฟังว่า
    คณิตศาสตร์นั้นเป็นสิ่งสวยงาม
  • 3:15 - 3:17
    มันคือธรรมชาติ มันอยู่ทุกหนแห่ง
  • 3:17 - 3:20
    ตัวเลขคือโน้ตดนตรี
  • 3:20 - 3:25
    ซึ่งใช้เขียนบทบรรเลงแห่งจักรวาล
  • 3:25 - 3:27
    เดการ์ต (Descartes) ผู้ยิ่งใหญ่กล่าวไว้คล้ายๆ กันว่า
  • 3:27 - 3:30
    จักรวาล "ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาแห่งคณิตศาสตร์"
  • 3:30 - 3:34
    และวันนี้ ผมอยากแสดงให้คุณเห็น
    หนึ่งในโน้ตดนตรีเหล่านั้น
  • 3:34 - 3:38
    ตัวเลขตัวหนึ่ง ที่ช่างสวยงาม และมหึมา
  • 3:38 - 3:41
    เสียจนผมคิดว่ามันต้องทำให้คุณตะลึง
  • 3:41 - 3:44
    วันนี้ เราจะมาคุยกันเรื่องจำนวนเฉพาะ
  • 3:44 - 3:48
    พวกคุณส่วนใหญ่ ผมมั่นใจ
    ว่าคงจำได้ว่า 6 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ
  • 3:48 - 3:50
    เพราะมันคือ 2 x 3
  • 3:50 - 3:54
    เจ็ด เป็นจำนวนเฉพาะ เพื่อมันคือ 1 x 7
  • 3:54 - 3:56
    แต่เราไม่สามารถแตกมันออกเป็นเลขที่เล็กกว่า
  • 3:56 - 3:58
    หรือที่เราเรียกมันว่า ตัวคูณ
  • 3:58 - 4:01
    ทีนี้ มีสองสามข้อที่คุณคงอยากรู้เกี่ยวกับจำนวนเฉพาะ
  • 4:01 - 4:03
    เลขหนึ่ง ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ
  • 4:03 - 4:05
    พิสูจน์นั้น เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเอาโชว์ในงานปาร์ตี้
  • 4:05 - 4:08
    แต่มันคงสนุกแค่สำหรับบางปาร์ตี้นะครับ
  • 4:08 - 4:11
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:11 - 4:15
    อีกสิ่งหนึ่งเกี่ยวกับจำนวนเฉพาะคือ
    มันไม่มีจำนวนเฉพาะตัวสุดท้ายที่มากที่สุด
  • 4:15 - 4:16
    มันมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดเวลา
  • 4:16 - 4:18
    เรารู้ว่าปริมาณของจำนวนเฉพาะนั้นเป็นอนันต์
  • 4:18 - 4:20
    เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ผู้ปราดเปรื่อง ยูคลิด
  • 4:20 - 4:23
    เมื่อหลายพันปีที่แล้ว เขาพิสูจน์ให้เราเห็น
  • 4:23 - 4:25
    แต่เรื่องที่สาม เกี่ยวกับจำนวนเฉพาะ
  • 4:25 - 4:26
    นักคณิตศาสตร์นั้นสงสัยตลอดมา
  • 4:26 - 4:29
    ว่า ณ เวลาหนึ่งๆ
  • 4:29 - 4:31
    จำนวนเฉพาะที่มากที่สุดที่เรารู้คือเลขอะไร?
  • 4:31 - 4:36
    วันนี้ เราจะตามล่าจำนวนเฉพาะมหึมาตัวนั้น
  • 4:36 - 4:39
    อย่าเพิ่งกลัวครับ
  • 4:39 - 4:42
    ทุกอย่างที่คุณต้องรู้ จากวิชาคณิตศาสตร์ทั้งหมด
  • 4:42 - 4:46
    ที่คุณเคยเรียนรู้, คืนอาจารย์ไปแล้ว,
    พยายามอัดเข้าหัว, ลืมไปแล้ว
  • 4:46 - 4:48
    หรือไม่เคยเข้าใจตั้งแต่แรก
  • 4:48 - 4:50
    สิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้คือ:
  • 4:50 - 4:55
    ถ้าผมบอกว่า 2^5
  • 4:55 - 4:58
    ผมหมายถึงเลข 2 ตัวน้อยๆ 5 ตัว วางเรียงกัน
  • 4:58 - 4:59
    แล้วคูณทุกตัวเข้าด้วยกัน
  • 4:59 - 5:02
    2 x 2 x 2 x 2 x 2
  • 5:02 - 5:06
    ดังนั้น 2 ^ 5 คือ 2 x 2 = 4
  • 5:06 - 5:08
    8, 16, 32
  • 5:08 - 5:11
    ถ้าคุณเข้าใจ คุณตามผมทันตลอดทางแน่นอน
    โอเคไหมครับ?
  • 5:11 - 5:13
    ดังนั้น 2 ^ 5
  • 5:13 - 5:15
    เลขสอง 5 ตัวคูณเข้าด้วยกัน
  • 5:15 - 5:19
    (2 ^ 5) -1 = 31
  • 5:19 - 5:22
    31 เป็นจำนวนเฉพาะ และเลข 5 ซึ่งเป็นเลขยกำลัง
  • 5:22 - 5:25
    ก็เป็นจำนวนเฉพาะด้วยเช่นกัน
  • 5:25 - 5:29
    และเลขจำนวนเฉพาะขนาดยักษ์ ที่เราค้นพบนั้น
  • 5:29 - 5:30
    จำนวนมากมายได้มาจากรูปแบบนั้น
  • 5:30 - 5:33
    สองยกกำลังด้วยจำนวนเฉพาะ ลบออกหนึ่ง
  • 5:33 - 5:35
    ผมคงไม่ลงรายละเอียดลึกว่าทำไม
  • 5:35 - 5:38
    ขืนผมทำอย่างนั้น
    คุณคงต้องดูกันจนเลือดตากระเด็นแน่ๆ
  • 5:38 - 5:42
    เอาเป็นว่า ตัวเลขที่อยู่ในรูปนั้น
  • 5:42 - 5:46
    จะสามารถนำไปทดสอบได้ง่ายๆ
    ว่าเป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่
  • 5:46 - 5:49
    เลขคี่ที่สุ่มขึ้นมานั้น ทดสอบยากกว่ามาก
  • 5:49 - 5:51
    เมื่อเราเริ่มตามล่าจำนวนเฉพาะขนาดยักษ์
  • 5:51 - 5:53
    เรารู้ว่ามันไม่ใช่เพียง
  • 5:53 - 5:56
    แค่การเอาเลขจำนวนเฉพาะมายกกำลัง
  • 5:56 - 5:59
    (2 ^ 11) -1 = 2,047
  • 5:59 - 6:02
    ไม่ต้องบอกก็รู้อยู่แล้วใช่ไหมว่ามันคือ 23 x 89
  • 6:02 - 6:04
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:04 - 6:07
    แต่ (2 ^ 13) - 1, (2 ^ 17) - 1
  • 6:07 - 6:11
    (2 ^ 19) -1 ทั้งหมดนี้คือจำนวนเฉพาะ
  • 6:11 - 6:14
    หลังจากจุดนั้น มันหายากขึ้นมาก
  • 6:14 - 6:16
    และสิ่งหนึ่งเกี่ยวกับการค้นหา
    เลขจำนวนเฉพาะขนาดยักษ์
  • 6:16 - 6:19
    ที่ผมชื่นชอบมาก นั่นคือ นักคณิตศาสตร์เก่งๆ ชั้นครู
  • 6:19 - 6:21
    ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน ก็ร่วมในการค้นหานี้
  • 6:21 - 6:24
    นี่คือนักวิทยาศาสตร์ชาวสวิสซ์ผู้ยิ่งใหญ่
    ลีโอนาร์ด ออยเลอร์ (Leonhard Euler)
  • 6:24 - 6:27
    ในปีช่วงปี 1700-1800 นักคณิตศาสตร์อื่นๆ กล่าวว่า
  • 6:27 - 6:30
    เขาเป็นเจ้าเหนือหัวของพวกเราทั้งหมด
  • 6:30 - 6:33
    เขาเป็นที่เคารพมากจนกระทั่ง
    ภาพของเขาได้อยู่บนสกุลเงินยูโร
  • 6:33 - 6:35
    ในสมัยที่นั่นถือเป็นการให้เกียรตินะครับ
  • 6:35 - 6:40
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:40 - 6:43
    ออยเลอร์ค้นพบ
    สิ่งที่ถือเป็นจำนวนเฉพาะที่มากที่สุดในเวลานั้น
  • 6:43 - 6:45
    (2 ^ 31) -1
  • 6:45 - 6:48
    มันมากกว่า 2,000 ล้าน
  • 6:48 - 6:50
    เขาพิสูจน์ว่ามันเป็นจำนวนเฉพาะด้วยเพียง
  • 6:50 - 6:53
    แค่ปากกาขนนก หมึก กระดาษ และมันสมองของเขา
  • 6:53 - 6:54
    คุณคิดว่ามันใหญ่แล้วใช่ไหม
  • 6:54 - 6:58
    เรารู้ว่า (2 ^ 127) - 1
  • 6:58 - 6:59
    เป็นจำนวนเฉพาะ
  • 6:59 - 7:01
    มันคือความทารุณโดยแท้
  • 7:01 - 7:05
    ดูนี่ครับ เลข 39 หลัก
  • 7:05 - 7:08
    ถูกพิสูจน์ว่าเป็นจำนวนเฉพาะในปี 1876
  • 7:08 - 7:10
    โดยนักคณิตศาสตร์ชื่อลูคัส
  • 7:10 - 7:12
    สุดยอดเลย พี่ลูฯ
  • 7:12 - 7:14
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:14 - 7:16
    แต่หนึ่งในความยิ่งใหญ่
    ของการค้นหาจำนวนเฉพาะขนาดยักษ์นั้น
  • 7:16 - 7:18
    ไม่ใช่แค่เพียงการหาจำนวนเฉพาะที่ว่า
  • 7:18 - 7:22
    บางครั้งการพิสูจน์ว่าเลขอีกตัวไม่ใช่จำนวนเฉพาะ
    ก็น่าตื่นเต้นพอๆ กัน
  • 7:22 - 7:28
    และก็ลูคัสอีกเช่นกัน ในปี 1876
    แสดงให้เราเห็นว่า (2 ^ 67) -1
  • 7:28 - 7:30
    ซึ่งเป็นเลขยาว 21 หลัก นั้นไม่ใช่จำนวนเฉพาะ
  • 7:30 - 7:33
    แต่เขาไม่รู้ว่าอะไรเป็นตัวคูณ
  • 7:33 - 7:34
    เรารู้ว่ามันเหมือนกับเลข 6
  • 7:34 - 7:37
    แต่ไม่รู้ส่วนที่เป็น 2 x 3 ที่เอามาคูณกันแล้ว
  • 7:37 - 7:38
    จะได้เลขมหึมาตัวนั้น
  • 7:38 - 7:40
    เราไม่รู้จนกระทั่งต่อมาอีก 40 ปี
  • 7:40 - 7:43
    จนถึงยุคของ แฟรงค์ เนลสัน โคล
  • 7:43 - 7:45
    และที่งานชุมนุมของนักคณิตศาสตร์อเมริกันผู้สูงส่ง
  • 7:45 - 7:49
    เข้าเดินไปที่กระดานดำ หยิบชอล์กขึ้นมา
  • 7:49 - 7:52
    แล้วเริ่มเขียนเลขยกกำลังของสอง
  • 7:52 - 7:55
    สอง, สี่, แปด, 16 --
  • 7:55 - 7:57
    มาครับ ช่วยผมหน่อย คุณรู้ว่าต่อไปจะเป็นอะไร
  • 7:57 - 8:01
    32, 64, 128, 256,
  • 8:01 - 8:05
    512, 1,024, 2,048
  • 8:05 - 8:08
    นี่ผมคงอยู่ในสวรรค์แห่งพวกบ้าตำรา
    เราจะหยุดไว้ตรงนี้สักครู่
  • 8:08 - 8:11
    แฟรงค์ เนลสัน โคล ไม่ได้หยุดแค่นั้น
  • 8:11 - 8:12
    เขาไปต่อเรื่อยๆ
  • 8:12 - 8:16
    และคำนวณ 2 ยกกำลัง 67
  • 8:16 - 8:19
    เขาลบออกหนึ่ง แล้วเขียนเลขนั้นบนกระดาน
  • 8:19 - 8:23
    เสียงซุบซิบแห่งความตื้นเต้นเริ่มดังขึ้นในห้อง
  • 8:23 - 8:25
    มันยิ่งน่าตื่นเต้น เมื่อเขาเขียน
  • 8:25 - 8:30
    เลขจำนวนเฉพาะขนาดยักษ์สองตัวนี้ ในรูปการคูณกัน
  • 8:30 - 8:33
    และในเวลาชั่วโมงที่เหลือของปาถกฐาของเขา
  • 8:33 - 8:38
    แฟรงค์ เนลสัน โคล คูณมันออกมา
  • 8:38 - 8:40
    เขาค้นพบตัวคูณร่วมที่เป็นจำนวนเฉพาะ
  • 8:40 - 8:43
    ของ (2 ^ 67) - 1
  • 8:43 - 8:45
    ทั้งห้องแทบคลั่ง
  • 8:45 - 8:47
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:47 - 8:49
    ขณะที่ แฟรงค์ เนลสัน โคล นั่งลง
  • 8:49 - 8:52
    หลังจากเสร็จสิ้นปาถกฐา
    หนึ่งเดียวในประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์
  • 8:52 - 8:55
    ที่ไม่ต้องพูดเลย
  • 8:55 - 8:58
    เขายอมรับในภายหลังว่า มันไม่ยากเลย
  • 8:58 - 9:00
    มันแค่อาศัยสมาธิ และการอุทิศตนอย่างสูง
  • 9:00 - 9:02
    โดยการประมาณของเขา เขาใช้เวลาไปทั้งหมด
  • 9:02 - 9:06
    "สามปีของวันอาทิตย์"
  • 9:06 - 9:09
    แต่หลังจากนั้น ในสาขาของคณิตศาสตร์
  • 9:09 - 9:12
    เช่นเดียวกับอีกหลากหลายสาขา
    ที่เราได้ฟังใน TED ครั้งนี้
  • 9:12 - 9:16
    ก็มาถึงยุคแห่งคอมพิวเตอร์
    แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็บรรเจิด
  • 9:16 - 9:19
    เหล่านี้คือจำนวนเฉพาะที่ใหญ่ที่สุดที่เรารู้
  • 9:19 - 9:22
    ในแต่ละทศวรรษ
    แต่ละตัวทำให้เลขตัวก่อนหน้านั้นจิ๊บจ๊อยไปเลย
  • 9:22 - 9:25
    ในขณะที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท
    และพลังในการคำนวณของเรา
  • 9:25 - 9:27
    ก็สูงขึ้นเรื่อยๆ
  • 9:27 - 9:30
    นี่คือจำนวนเฉพาะที่มากที่สุดที่เรารู้ในปี 1996
  • 9:30 - 9:32
    เป็นปีที่แสนอาลัยของผม
  • 9:32 - 9:34
    มันเป็นปีที่ผมจบมหาลัย
  • 9:34 - 9:37
    ผมเลือกไม่ถูกระหว่างคณิตศาสตร์
    หรือสื่อสารมวลชน
  • 9:37 - 9:39
    มันเป็นการตัดสินใจที่ยากมาก ผมรักชีวิตมหาลัย
  • 9:39 - 9:43
    ปริญญาด้านศิลปศาสตร์ของผม
    คือเก้าปีครึ่งที่ผมมีความสุขที่สุด
  • 9:43 - 9:46
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:46 - 9:49
    แต่ผมก็ได้ตระหนักถึงความสามารถของผม
  • 9:49 - 9:53
    ง่ายๆ คือ ในห้องที่เต็มไปด้วยคนทั่วๆ ไป
  • 9:53 - 9:55
    ผมคืออัจฉริยะด้านคณิตศาสตร์
  • 9:55 - 9:57
    แต่ในห้องที่เต็มไปด้วยเด็กปริญญาเอกด้านคณิตศาสตร์
  • 9:57 - 10:01
    ผมจะกลายเป็นไอ้ทึ่มไปเลย
  • 10:01 - 10:02
    ทักษะของผมไม่ใช่ด้านคณิตศาสตร์
  • 10:02 - 10:06
    หากแต่อยู่ในการเล่าเรื่องของคณิตศาสตร์
  • 10:06 - 10:08
    ในขณะนั้น ที่ผมเพิ่งจบมหาลัย
  • 10:08 - 10:11
    เลขเหล่านั้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
  • 10:11 - 10:12
    เลขแต่ละตัวใหญ่กว่าตัวก่อนหน้ามัน
  • 10:12 - 10:17
    แล้วชายคนนี้ก็เข้ามา ดร.เคอร์ติส คูเปอร์
  • 10:17 - 10:21
    ผู้ซึ่งเมื่อสองสามปีก่อน
    ครองสถิติเลขจำนวนเฉพาะที่ใหญ่ที่สุด
  • 10:21 - 10:24
    แล้วก็ต้องเห็นสถิตินั้นถูกชิง
    โดยมหาลัยคู่แข่งต่อหน้าต่อตา
  • 10:24 - 10:28
    แต่จากนั้นเคอร์ติส คูเปอร์ก็ชิงมันคืนมา
  • 10:28 - 10:33
    ไม่ใช่ปีก่อน ไม่ใช่เดือนก่อน แต่เป็นไม่กี่วันก่อนหน้านี้
  • 10:33 - 10:35
    ในช่วงเวลาอันน่าอัศจรรย์ใจกับความบังเอิญนี้
  • 10:35 - 10:39
    ผมต้องส่งไสลด์ชุดใหม่ให้ TED
  • 10:39 - 10:41
    เพื่อแสดงให้คุณเห็นสิ่งที่เขาได้ทำ
  • 10:41 - 10:44
    ผมยังจำได้ -- (เสียงปรบมือ) --
  • 10:44 - 10:45
    ผมยังจำได้ถึงตอนที่มันเกิดขึ้น
  • 10:45 - 10:47
    ผมกำลังดำเนินรายการวิทยุยามเช้าของผม
  • 10:47 - 10:48
    ผมเหลือบไปเห็นใน ทวิตเตอร์
    มันมีข้อความหนึ่งขึ้นว่า:
  • 10:48 - 10:50
    "อดัม
    คุณเห็นเลขจำนวนเฉพาะที่ใหญ่ที่สุดตัวใหม่หรือยัง"
  • 10:50 - 10:52
    ผมถึงกับตัวสั่น
  • 10:52 - 10:54
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:54 - 10:57
    รีบติดต่อเหล่าสาวๆ ผู้ผลิตรายการวิทยุของผม
    ที่อยู่อีกห้องหนึ่ง
  • 10:57 - 10:59
    และพูดว่า "สาวๆ เตรียมที่พาดหัวข่าวเลย"
  • 10:59 - 11:01
    วันนี้เราไม่คุยเรื่องการเมือง
  • 11:01 - 11:03
    เราไม่คุยเรื่องกีฬา
  • 11:03 - 11:05
    เขาเจอจำนวนเฉพาะยักษ์ อีกตัวหนึ่งแล้ว"
  • 11:05 - 11:06
    พวกสาวๆ ได้แต่ส่ายหัว
  • 11:06 - 11:09
    ซบหน้าลงบนฝ่ามือ แล้วปล่อยให้ผมพร่ำต่อไป
  • 11:09 - 11:11
    นั่นเป็นเพราะ เคอรติส คูเปอร์ที่เรารู้จัก
  • 11:11 - 11:14
    เลขจำนวนเฉพาะที่ใหญ่ที่สุดที่เรารู้จัก
  • 11:14 - 11:22
    คือ 2 ^ 57,885,161
  • 11:22 - 11:24
    อย่าลืมลบหนึ่งด้วยนะ
  • 11:24 - 11:32
    ตัวเลขนี้ยาวถึงเกือบ 17.5 ล้านหลัก
  • 11:32 - 11:35
    ถ้าคุณพิมพ์มันในคอมพิวเตอร์
    แล้วบันทึกมันเป็นไฟล์ข้อความ
  • 11:35 - 11:38
    มันจะกินที่ 22 เมกะไบต์
  • 11:38 - 11:40
    สำหรับพวกคุณที่บ้าตำราน้อยหน่อย
  • 11:40 - 11:42
    นึกถึงนิยาย แฮรี พอตเตอร์ นะครับ
  • 11:42 - 11:44
    นี่คือ แฮรี พอตเตอร์ เล่มแรก
  • 11:44 - 11:46
    นี่คือ แฮรี พอตเตอร์ ทั้งเจ็ดเล่ม
  • 11:46 - 11:48
    คือ เธอ [J K Rowling]
    ชอบยืดเยื้อเกินไปหน่อยตอนท้ายๆ เรื่องน่ะครับ
  • 11:48 - 11:52
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:52 - 11:54
    ถ้าเขียนเป็นหนังสือ เลขตัวนี้จะเทียบเท่ากับ
  • 11:54 - 11:59
    ความยาวของนิยายแฮรี พอตเตอร์ หนึ่งชุดครึ่ง
  • 11:59 - 12:04
    นี่คือสไลด์แสดง 1,000 หลักแรก
    ของจำนวนเฉพาะตัวนี้
  • 12:04 - 12:07
    ถ้า TED เริ่มตอน 11 โมงเช้าวันอังาร
  • 12:07 - 12:12
    ผมคงเดินลง แล้วปล่อยให้สไลด์เลื่อนเองหน้าละวินาที
  • 12:12 - 12:17
    จะต้องใช้เวลาถึงห้าชั่วโมง
    เพื่อแสดงเลขตัวนั้นให้คุณดู
  • 12:17 - 12:20
    ผมอยากทำแบบนั้นมาก แต่โน้มน้าวโบโน่ไม่ได้
  • 12:20 - 12:23
    เลยลงเอยแบบนี้
  • 12:23 - 12:27
    เลขตัวนี้ยาวถึง 17,500 สไลด์
  • 12:27 - 12:31
    และเรามั่นใจว่ามันเป็นจำนวนเฉพาะ
  • 12:31 - 12:35
    เช่นเดียวกับที่เรามั่นใจว่า 7 เป็นจำนวนเฉพาะ
  • 12:35 - 12:40
    มันทำให้ผม
    แทบจะเต็มไปด้วยอารมณ์ทางเพศเลยครับ
  • 12:40 - 12:43
    ผมโกหกนะครับ ที่บอกว่า "แทบจะ" น่ะ
  • 12:43 - 12:45
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:45 - 12:47
    ผมรู้ว่าคุณกำลังคิดอะไรอยู่:
  • 12:47 - 12:52
    อดัม พวกเราดีใจที่เห็นคุณมีความสุขนะ
  • 12:52 - 12:54
    แต่ทำไมเราต้องสนใจด้วย?
  • 12:54 - 12:57
    ให้ผมให้เหตุผลคุณสัก 3 ข้อ
    ทำไมสิ่งนี้จึงช่างสวยงามนัก
  • 12:57 - 13:01
    ข้อแรก ดังที่กล่าวไปแล้ว การที่จะถามคอมพิวเตอร์
  • 13:01 - 13:04
    ว่า "นี่เป็นเลขจำนวนเฉพาะหรือเปล่า?"
    การที่จะพิมพ์มันลงไปในรูปแบบย่อ
  • 13:04 - 13:08
    แล้วต่อด้วยอีกหกบรรทัดของโปรแกรม
    ที่จะทดสอบมันว่าเป็นจำนวนเฉพาะ
  • 13:08 - 13:10
    มันเป็นคำถามที่ง่ายเหลือเชื่อ
  • 13:10 - 13:13
    มันมีคำตอบว่า ใช่/ไม่ใช่ อย่างชัดเจน
  • 13:13 - 13:16
    มันแค่ต้องใช้โคตรของความถึก
  • 13:16 - 13:18
    จำนวนเฉพาะตัวใหญ่ๆ คือวิธีอันยอดเยี่ยม
  • 13:18 - 13:21
    ที่จะทดสอบความเร็วและความแม่นยำ
    ของหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์
  • 13:21 - 13:23
    ข้อที่สอง ขณะที่เคอร์ติส คูเปอร์
    กำลังตามล่าจำนวนเฉพาะยักษ์อยู่นั้น
  • 13:23 - 13:25
    เขาไม่ใช่คนเดียวที่กำลังตามล่า
  • 13:25 - 13:27
    เครื่องโน้ตบุ๊คที่บ้านผมก็กำลังตรวจสอบ
  • 13:27 - 13:29
    เลขผู้ท้าชิงอีก 4 ตัวเช่นกัน
  • 13:29 - 13:32
    เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายคอมพิวเตอร์กระจายทั่วโลก
  • 13:32 - 13:34
    เพื่อตามล่าเลขยักษ์เหล่านี้
  • 13:34 - 13:36
    การค้นพบจำนวนเฉพาะตัวนั้น มันคล้ายกับ
  • 13:36 - 13:39
    งานของกลุ่มคนที่วิจัยเพื่อถอดรหัสลำดับ RNA
  • 13:39 - 13:42
    คล้ายกับการวิเคราะห์ข้อมูลจาก SETI
    และโครงการดาราศาสตร์อื่นๆ
  • 13:42 - 13:45
    เรามีชีวิตอยู่ในช่วงที่การค้นพบอันยิ่งใหญ่
  • 13:45 - 13:48
    ไม่ได้เกิดขึ้นในห้องวิจัย
    หรือห้องโถงของสถาบันศึกษา
  • 13:48 - 13:49
    ในเป็นในคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป, เดสก์ทอป,
  • 13:50 - 13:52
    ในอุ้งมือของผู้คน
  • 13:52 - 13:55
    ผู้เพียงแค่มีส่วนช่วยในการค้นหา
  • 13:55 - 13:57
    แต่สำหรับผม มันมหัศจรรย์เพราะมันคืออุปมา
  • 13:57 - 13:59
    สำหรับช่วงเวลาที่เรามีชีวิตอยู่
  • 13:59 - 14:04
    ที่ซึ่งจิตใจของมนุษย์และเครื่องจักรมีชัยชนะร่วมกัน
  • 14:04 - 14:07
    เราได้ฟังหลากเรื่องราวเกี่ยวกับหุ่นยต์ใน TED ครั้งนี้
  • 14:07 - 14:08
    เราได้ฟังหลากเรื่องราวว่ามันทำอะไรได้
    หรือทำอะไรไม่ได้
  • 14:08 - 14:11
    จริงอยู่ คุณสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมทางมือถือ
  • 14:11 - 14:15
    ที่จะเอาชนะปรมาจารย์หมากรุกได้
  • 14:15 - 14:16
    คุณคิดว่านั่นเจ๋งแล้วใช่ไหม
  • 14:16 - 14:19
    เครื่องจักรที่ทำได้อย่างนี้ต่างหาก ถึงเรียกว่าเจ๋ง
  • 14:19 - 14:21
    นี่คือ คิวบ์สตอร์มเมอร์ 2
  • 14:21 - 14:25
    มันสามารถแก้ลูกบาศก์รูบิค ที่ถูกบิดแบบสุ่มๆ
  • 14:25 - 14:27
    โดยใช้พลังของสมาร์ทโฟน
  • 14:27 - 14:34
    มันสามารถตรวจสอบลูกบาศก์ และแก้ลูกบาศก์
  • 14:34 - 14:37
    ได้ใน 5 วินาที
  • 14:37 - 14:41
    (เสียงปรบมือ)
  • 14:41 - 14:45
    บางคนกลัวมัน แต่มันทำให้ผมตื่นเต้น
  • 14:45 - 14:48
    เราโชคดีแค่ไหนที่มีชีวิตอยู่ในยุคนี้
  • 14:48 - 14:52
    ยุคที่จิตใจและเครื่องจักรสามารถทำงานร่วมกัน
  • 14:52 - 14:54
    ผมเคยถูกถามในการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่ง เมื่อปีที่แล้ว
  • 14:54 - 14:57
    ในฐานะนักแสดงตกอับในออสเตรเลีย
  • 14:57 - 14:59
    "อะไรคือไฮไลท์สำหรับคุณในปี 2012"
  • 14:59 - 15:00
    ผู้คนต่างหวังให้ผมพูดเกี่ยวกับ
  • 15:00 - 15:03
    ทีมฟุตบอลซิดนีย์ สวอนส์ ที่ผมชื่นชอบ
  • 15:03 - 15:06
    ฟุตบอลออสเตรเลียนั้น เป็นกีฬาพื้นเมืองอันสวยงาม
  • 15:06 - 15:08
    มันเทียบได้กับศึกซุปเปอร์โบวล์เลย
  • 15:08 - 15:11
    ผมไปเชียร์ด้วย มันเป็นวันที่น่าตื่นเต้น
  • 15:11 - 15:13
    แต่นั้นไม่ใช่ไฮไลท์ปี 2012 ของผม
  • 15:13 - 15:15
    ผู้คนคิดว่าคงจะเป็นบทสัมภาษณ์จากรายการของผม
  • 15:15 - 15:17
    คงสัมภาษณ์นักการเมือง หรือการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่
  • 15:17 - 15:19
    คงเป็นหนังสือที่ผมอ่าน ศิลปะต่างๆ ไม่ใช่เลย
  • 15:19 - 15:21
    คงจะเป็นบางสิ่งที่ลูกสาวที่น่ารักทั้งสองของผมทำ
  • 15:21 - 15:25
    ก็ไม่ใช่อีก
    ไฮไลท์ปี 2012 ของผมอย่างไม่ต้องสงสัยเลย
  • 15:25 - 15:29
    คือการค้นพบ ฮิกซ์ โบซอน
  • 15:29 - 15:31
    ขอเสียงปรบมือให้กับอนุภาคพื้นฐาน
  • 15:31 - 15:34
    ที่ให้มวลแก่อนุภาคอื่นๆ ที่เหลือครับ
  • 15:34 - 15:36
    (เสียงปรบมือ)
  • 15:36 - 15:39
    และที่มันช่างสวยงามเกี่ยวกับการค้นพบครั้งนี้
  • 15:39 - 15:41
    คือ 50 ปีที่แล้ว ปีเตอร์ ฮิกส์ และทีมของเขา
  • 15:41 - 15:43
    ใคร่ครวญปัญหาที่ลึกสุดหยั่งถึง:
  • 15:43 - 15:48
    ทำไมสิ่งที่สร้างเป็นตัวเราขึ้นมาไม่มีมวล?
  • 15:48 - 15:52
    ผมมีมวลแน่ๆ แต่มันมาจากไหน?
  • 15:52 - 15:54
    เขาตั้งสมมติฐานว่า
  • 15:54 - 15:58
    มีสนามที่เล็กเป็นอนันต์
  • 15:58 - 16:00
    แผ่ขยายไปทั่วจักรวาล
  • 16:00 - 16:02
    และในขณะที่อนุภาคอื่นๆ วิ่งผ่านอนุภาคเหล่านั้น
  • 16:02 - 16:04
    และเกิดปฏิสัมพันธ์กัน
    และนั่นทำให้พวกมันได้มาซึ่งมวล
  • 16:04 - 16:07
    นักวิทยาศาสตร์อื่นๆ บอกว่า
  • 16:07 - 16:09
    "ความคิดยอดไปเลย ฮิกซ์
  • 16:09 - 16:10
    แต่ไม่รู้ว่าจะหาทางพิสูจน์มันได้ยังไง
  • 16:10 - 16:12
    มันเกินความสามารถเรานะ"
  • 16:12 - 16:15
    และภายใน 50 ปี
  • 16:15 - 16:21
    ในช่วงชีวิตเขา โดยเขานั่งอยู่ในกลุ่มผู้ฟัง
  • 16:21 - 16:24
    เราได้ออกแบบเครื่องจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
  • 16:24 - 16:27
    เพื่อพิสูจน์แนวคิดอันเหลือเชื่อนี้
  • 16:27 - 16:31
    อันเกิดขึ้นมาจากเพียงในสมองมนุษย์
  • 16:31 - 16:34
    นั่นคือสิ่งที่ทำให้ผมตื่นเต้นเกี่ยวกับจำนวนเฉพาะ
  • 16:34 - 16:36
    เราคิดว่ามันคงมีอยู่จริง
  • 16:36 - 16:38
    เราออกค้นหา และเจอมัน
  • 16:38 - 16:42
    นี่คือจิตวิญญาณแห่งมนุษย์
  • 16:42 - 16:46
    นั่นคือสิ่งที่ทำให้เราเป็นเรา
  • 16:46 - 16:48
    หรือหากกล่าวอย่างที่ เดการ์ต เคยพูดไว้
  • 16:48 - 16:50
    เพราะเราคิด
  • 16:50 - 16:52
    เราจึงเป็นมีอยู่
  • 16:52 - 16:53
    ขอบคุณครับ
  • 16:53 - 16:59
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมผมจึงหลงรักจำนวนเฉพาะขนาดยักษ์
Speaker:
อดัม สเปนเซอร์ (Adam Spencer)
Description:

มันยาวหลายหล้านหลัก และต้องใช้กองทัพนักคณิตศาสตร์พร้อมด้วยเหล่าเครื่องจักรเพื่อตามล่ามัน ทำไมเราถึงจะรักจำนวนเฉพาะขนาดยักษ์เหล่านี้ไม่ลง? อดัม สเปนเซอร์ นักแสดงตลก ผู้บ้าคณิตศาสตร์มาตลอดชีวิต แบ่งปันความลุ่มหลงในเลขประหลาดเหล่านี้ และในเวทย์มนต์ลึกลับแห่งคณิตศาสตร์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:17
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Why I fell in love with monster prime numbers
Kanawat Senanan commented on Thai subtitles for Why I fell in love with monster prime numbers
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why I fell in love with monster prime numbers
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why I fell in love with monster prime numbers
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why I fell in love with monster prime numbers
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why I fell in love with monster prime numbers
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why I fell in love with monster prime numbers
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Why I fell in love with monster prime numbers
Show all

Thai subtitles

Revisions