Return to Video

แบบฝึกหัดเอกเซล เรื่องการกระจายตัวแบบปกติ

  • 0:02 - 0:05
    ในวิดีโอนี้, เราจะพูดถึงสิ่งที่อาจเรียกได้ว่า
  • 0:05 - 0:10
    เป็นหลักการสำคัญที่สุดในวิชาสถิติทั้งหมด
  • 0:10 - 0:14
    ถ้าคุณดูในทุกสาขาทางวิทยาศาสตร์ คุณอาจ
  • 0:14 - 0:16
    บอกได้ว่า มันคือหลักการที่สำคัญที่สุด
  • 0:16 - 0:19
    ผมมักบอกคนอื่นว่า มันน่าเศร้าที่เขาไม่ได้พูดถึง
  • 0:19 - 0:22
    เรื่องนี้หลักสูตรหลัก
  • 0:22 - 0:24
    ทุกคนควรรู้จักมัน เพราะมันเกี่ยวข้องกับ
  • 0:24 - 0:28
    ทุกแง่มุมในชีวิต มันคือการกระจายตัวแบบปกติ
  • 0:28 - 0:31
    หรือการกระจายตัวแบบเกาส์ หรือโค้งระฆัง
  • 0:31 - 0:35
    และเพื่อเป็นการแนะนำให้คุณรู้จักมัน,
  • 0:35 - 0:40
    บทนำนี้อาจดูแปลกหน่อย แต่เมื่อเรา
  • 0:40 - 0:42
    ผ่านวิดีโอนี้ไป หวังว่าคุณจะได้สัญชาตญาณ
  • 0:42 - 0:45
    ว่ามันเกี่ยวข้องกับอะไร
  • 0:45 - 0:48
    การกระจายตัวแบบเกาส์ หรือการกระจายตัวแบบปกติ
  • 0:48 - 0:50
    สองคำนี้หมายถึงของอย่างเดียวกัน
  • 0:50 - 0:53
    ที่จริงแล้วเกาส์ เป็นคนที่ตั้งมันขึ้นมา
  • 0:53 - 0:56
    ผมว่าเขากำลังศึกษาปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
  • 0:56 - 0:57
    ตอนที่เขาคิดขึ้น
  • 0:57 - 1:00
    มันก็คือฟังก์ชันความหนาแน่นของความน่าจะเป็น อย่างที่เราเรียน
  • 1:00 - 1:01
    การกระจายตัวแบบปัวซอง
  • 1:01 - 1:02
    มันเป็นแบบนั้น
  • 1:02 - 1:05
    ให้คุณลองดู มันจะเป็นแบบนี้
  • 1:05 - 1:09
    ความน่าจะเป็นที่จะได้ x, มันคือชุด
  • 1:09 - 1:12
    ฟังก์ชันการกระจายตัวของความน่าจะเป็น
  • 1:12 - 1:15
    เช่นเดียวกับการกระจายตัวแบบทวินาม กับ
  • 1:15 - 1:19
    การกระจายตัวแบบปัวซอง, มันขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์ต่างๆ
  • 1:19 - 1:21
    นี่คือแบบที่คุณมักเห็นในหนังสือเรียนแบบดั้งเดิม
  • 1:21 - 1:23
    หลายเล่ม และถ้าเรามีเวลา, ผมอยาก
  • 1:23 - 1:26
    ใช้พีชคณิตจัดรูป ให้มันดูตรงกับสัญชาตญาณ
  • 1:26 - 1:27
    ว่ามันเป็นอย่างไรอีกที
  • 1:27 - 1:29
    หรือบางทีเราอาจได้แนวคิด
  • 1:29 - 1:30
    ว่ามันมาจากไหน
  • 1:30 - 1:32
    ผมจะไม่พิสูจน์มันในวิดีโอนี้, มันเกิน
  • 1:32 - 1:33
    ขอบเขตมากไปหน่อย
  • 1:33 - 1:35
    แม้ว่า, ผมอยากทำมัน และมันมีคณิตศาสตร์
  • 1:35 - 1:39
    เนี๊ยบมากที่อาจโผล่ขึ้นมา
  • 1:39 - 1:41
    ถ้าคุณชอบคณิตศาสตร์ มันมีบางอย่างที่เรียกว่า
  • 1:41 - 1:43
    สูตรของสเตอร์ลิง คุณอาจลองค้นหาในวิกิพีเดีย,
  • 1:43 - 1:44
    มันเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก
  • 1:44 - 1:48
    มันประมาณแฟคทอเรียล
  • 1:48 - 1:49
    ให้เป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง
  • 1:49 - 1:50
    แต่ผมจะไม่พูดถึงมันตอนนี้
  • 1:53 - 1:57
    การกระจายตัวแบบปกติ คือ 1 ส่วน -- นี่คือวิธี
  • 1:57 - 2:00
    ที่เขาเขียนโดยทั่วไป -- ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คูณ
  • 2:00 - 2:08
    สแควร์รูทของ 2 ไพ คูณ e กำลัง ลบ 1/2
  • 2:08 - 2:12
    ทีนี้, ผมชอบเขียนมันแบบนี้, มันจำง่ายกว่า,
  • 2:12 - 2:17
    คูณค่าอะไรก็ตามที่คุณจะหา ลบ ค่าเฉลี่ยของ
  • 2:17 - 2:21
    การกระจายตัว หารด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
  • 2:21 - 2:25
    การกระจายตัวกำลังสอง
  • 2:25 - 2:27
    แล้วถ้าคุณคิดดู, มันเป็นสิ่งที่ดี
  • 2:27 - 2:28
    ที่น่าลองสังเกตตรรงนี้
  • 2:28 - 2:31
    นี่คือระยะที่ผมห่างจากค่าเฉลี่ย และเราหารมัน
  • 2:31 - 2:33
    ด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของการกระจายตัว
  • 2:33 - 2:35
    นี่คือการดูกระจายตัวแบบปกติที่ผมได้พลอต
  • 2:35 - 2:38
    เส้นสีม่วงตรงนี้ คือการกระจายตัวแบบปกติ
  • 2:38 - 2:41
    ตอนแรก แบบฝึกหัดนี้ -- ผมรู้ว่าผมโดดไปโดดมามาก
  • 2:41 - 2:44
    ไปหน่อย -- ผมอยากแสดงให้คุณเห็นว่าการกระจายตัวแบบปกติ
  • 2:44 - 2:49
    เป็นการประมาณการกระจายตัวแบบทวินามที่ดี และในทางกลับกันด้วย
  • 2:49 - 2:52
    ถ้าคุณสุ่มค่าจากการกระจายตัวแบบทวินามมากพอ และ
  • 2:52 - 2:55
    เราจะพูดถึงเรื่องนั้นในไม่ช้า
  • 2:55 - 2:57
    สัญชาตญาณของเทอมนี่ตรงนี้ ผมว่า
  • 2:57 - 3:01
    มันน่าสนใจ เพราะเรากำลังบอกว่า ระยะที่เราห่างไป
  • 3:01 - 3:03
    จากค่าเฉลี่ยนั้น เราจับมันหารด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 3:03 - 3:08
    ดังนั้นเทอมนี่ตรงนี้ คือจำนวนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 3:08 - 3:10
    ที่เราห่างจากค่าเฉลี่ย
  • 3:10 - 3:12
    นี่เรียกว่าคะแนน z มาตรฐาน
  • 3:12 - 3:16
    สิ่งหนึ่งที่ผมพบในวิชาสถิติ คือมันมีนิยาม
  • 3:16 - 3:18
    มากมาย และมันมีชื่อสวยหรูมาก,
  • 3:18 - 3:20
    อย่างคะแนน z มาตรฐาน
  • 3:20 - 3:25
    แต่หลักการเบื้องหลังนั้นตรงไปตรงมา
  • 3:25 - 3:30
    สมมุติว่าผมมีการกระจายตัวความน่าจะเป็น และผมได้ค่า x
  • 3:30 - 3:32
    ตรงนั้น และมันห่างจากค่าเฉลี่ย 3 ครึ่งเท่าของค่าเบี่ยงบน
  • 3:32 - 3:35
    มาตรฐาน, แล้วคะแนน z มาตรฐาน
  • 3:35 - 3:36
    คือ 3 ครึ่ง
  • 3:36 - 3:39
    เอาล่ะ, กลับไปที่จุดประสงค์ของวิดีโอนี้ต่อ
  • 3:39 - 3:43
    นั่นก็คือการกระจายตัวแบบปกติ, นั่นคือ
  • 3:43 - 3:45
    หน้าตาของฟังก์ชันความหนาแน่นของความน่าจะเป็น สำหรับ
  • 3:45 - 3:46
    การกระจายตัวแบบปตกิ
  • 3:46 - 3:49
    แล้วมันมาจากไหน?
  • 3:49 - 3:51
    ตอนท้ายวิดีโอนี้ อย่างน้อยคุณควรรู้สึก
  • 3:51 - 3:55
    เข้าใจว่า นี่คือการประมาณกระจายตัวแบบทวินามที่ดี
  • 3:55 - 3:58
    ถ้าคุณสุ่มตัวอย่างมามากพอ
  • 3:58 - 4:01
    และนั่นคือสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจเกี่ยวกับการการะจายตัวแบบปกติ
  • 4:01 - 4:04
    คือว่า ถ้าคุณหาผลบวก -- ผมจะทำวิดีโออีกอันเกี่ยวกับ
  • 4:04 - 4:08
    ทฤษฏีบทแนวโน้มสู่ศูนย์กลาง -- แต่ถ้าคุณหาผลบวก
  • 4:08 - 4:12
    ของการสุ่มอิสระเข้าหาอนันต์, การกระจายตัว
  • 4:12 - 4:14
    ของผลบวก, แม้ว่ากระจายตัวของการสุ่ม
  • 4:14 - 4:18
    แต่ละตัวอาจไม่ใช่แบบปกติ แต่การกระจายตัว
  • 4:18 - 4:21
    ของผลบวกของการสุ่มเหล่านั้นทั้งหมด จะเข้าหาการกระจายตัว
  • 4:21 - 4:21
    แบบปกติ
  • 4:21 - 4:23
    ผมจะพูดถึงมันอีกทีหลัง
  • 4:23 - 4:27
    แต่นั่นคือสาเหตุที่มันเป็นการกระจายตัวที่ดี มันอยู่ใน
  • 4:27 - 4:29
    ปรากฏการณ์ต่างๆ มากมาย
  • 4:29 - 4:31
    ถ้าคุณสร้างแบบจำลองรูปแบบสภาพอากาศ หรือ
  • 4:31 - 4:35
    ปฎิกิริยาของยา และเราจะพูดถึงอีกว่าเมื่อไหร่มันถึงใช้ได้
  • 4:35 - 4:36
    และเมื่อไหร่มันถึงใช้ไม่ได้
  • 4:36 - 4:39
    อยางเช่น บางครั้งบางคนสมมุติว่ามีการกระจายตัว
  • 4:39 - 4:42
    แบบปกติในเรื่องการเงิน และเราเห็นแล้วว่ามีวิกฤตการเงิน
  • 4:42 - 4:44
    เกิดขึ้น ซึ่งทำให้หลายอย่างพังไป
  • 4:44 - 4:46
    เอาล่ะ, ลองทำกลับมาที่ตรงนี้
  • 4:46 - 4:47
    นี่คือตารางคำนวณตรงนี้
  • 4:47 - 4:52
    ผมทำฉากหลังเป็นสีดำ และคุณสามารถดาวน์โหลดมันได้ที่
  • 4:52 - 5:02
    khanacademy.org/downloads ที่จริง, ถ้าคุณเข้าไป,
  • 5:02 - 5:03
    คุณจะเห็นสิ่งที่ดาวน์โหลดได้ทั้งหมด
  • 5:03 - 5:05
    ผมยังไม่ได้ใส่มันไว้, ผมจะใส่ลงไปหลังจากที่ผม
  • 5:05 - 5:06
    บันทึกวิดีโอเสร็จแล้ว downloads/normal
  • 5:06 - 5:06
    distribution.xls
  • 5:18 - 5:22
    ถ้าคุณเข้าไปที่ khanacademy.org/download/
  • 5:22 - 5:23
    คุณจะเห็นทุกอย่างตรงนี้ แล้วคุณจะเห็น
  • 5:23 - 5:24
    ตารางคำนวณนี้
  • 5:24 - 5:27
    ผมแนะนำให้คุณลองเล่น หรือบางทีลองสร้างตารางคำนวณ
  • 5:27 - 5:29
    ที่คุณทดลองเล่นกับมันได้
  • 5:29 - 5:33
    แล้วตารางคำนวณนี้ สิ่งที่เราทำคือ เราเล่นเกม หรือ
  • 5:33 - 5:36
    สมมุติว่าผมนั่งอยู่บนถนน, แล้วผมโยนเหรียญ, ผมโยนเหรียญ
  • 5:36 - 5:37
    ที่เที่ยงตรงโดยสมบูรณ์
  • 5:37 - 5:45
    ถ้าผมได้หัว, นี่คือหัว, ผมเดินถอยหลัง, หรือ
  • 5:45 - 5:46
    สมมุติว่าผมเดินไปทางซ้าย
  • 5:46 - 5:51
    แล้วถ้าผมได้ก้อย, ผมก้าวไปทางขวาหนึ่งก้าว
  • 5:51 - 5:54
    โดยทั่วไป ผมจะมี -- นี่คือเหรียญที่เที่ยงตรง
  • 5:54 - 5:56
    มาก -- ผมมีโอกาส 50 เปอร์เซ็นต์ที่จะ
  • 5:56 - 5:59
    ไปทางซ้าย และผมมีโอกาส 50 เปอร์เซ็นต์ที่จะ
  • 5:59 - 6:00
    ไปทางขวา
  • 6:00 - 6:03
    แล้วสัญชาตญาณตรงนี้คือว่า ถ้าผมบอกคุณว่า โยนเหรียญ
  • 6:03 - 6:07
    ทั้งหมด 100 ครั้ง แล้วคุณ
  • 6:07 - 6:08
    ไปทางซ้ายทางขวา
  • 6:08 - 6:10
    ถ้าคุณได้หัวมากๆ, คุณอาจไป
  • 6:10 - 6:13
    ทางซ้ายมาก
  • 6:13 - 6:16
    ถ้าคุณได้ก้อยมากๆ, คุณอาจไปทางขวามากๆ
  • 6:16 - 6:21
    เรารู้แล้วว่า โอกาสที่จะได้ก้อยบ่อยๆ หรือ
  • 6:21 - 6:25
    ก้อยมากกว่าหัวมากๆ นั้นต่ำกว่า
  • 6:25 - 6:29
    การได้หัวก้อยเท่ากัน หรือพอๆ กัน
  • 6:29 - 6:37
    ตรงนี้ สิ่งที่ผมทำ -- ขอผมเลื่อนลงหน่อยนะ
  • 6:37 - 6:49
    ผมไม่อยากเสียทั้งหมดไป -- คือผมมี
  • 6:49 - 6:51
    ข้อสมมุติตรงนี้ และผมแนะนำให้คุณลองใส่
  • 6:51 - 6:52
    และเปลี่ยนมันอย่างที่คุณต้องการ
  • 6:52 - 6:55
    นี่คือจำนวนก้าวที่ผมเดิน
  • 6:55 - 6:59
    นี่คือค่าเฉลี่ยของก้าวทางซ้าย และที่ผมทำคือ ผม
  • 6:59 - 7:01
    หาความน่าจะเป็น และเราหาค่าเฉลี่ยของ
  • 7:01 - 7:03
    การกระจายตัวแบบทวินาม
  • 7:03 - 7:07
    ค่าเฉลี่ยของการกระจายตัวแบบทวินาม ก็คือ
  • 7:07 - 7:09
    ความน่าจะเป็นที่ก้าวทางซ้าย คูณจำนวนการทดลอง
  • 7:09 - 7:11
    ทั้งหมด
  • 7:11 - 7:14
    นั่นจึงเท่ากับ 5, นั่นคือที่มาของเลขนั้น
  • 7:14 - 7:17
    แล้วความแปรปรวน -- ผมไม่แน่ใจว่าผมได้พูดถึงมันหรือยัง
  • 7:17 - 7:19
    และผมต้องพิสูจน์ให้คุณดู ผมจะทำวิดีโออีกอัน
  • 7:19 - 7:22
    เรื่องความแปรปรวนของการกระจายตัวแบบทวินาม
  • 7:22 - 7:27
    -- แต่นี่จะเท่ากับจำนวนการทดลอง
  • 7:27 - 7:33
    10 คูณความน่าจะเป็นที่ไปทางซ้าย
  • 7:33 - 7:36
    หรือการทดลองที่สำเร็จ -- ผมกำหนดให้การไปทางซ้าย เป็น
  • 7:36 - 7:41
    การทดลองที่สำเร็จ, มันอาจเป็นขวาก็ได้ -- คูณความน่าจะเป็น
  • 7:41 - 7:44
    ของ 1 ลบการทดลองที่สำเร็จ หรือการทดลองที่ไม่สำเร็จ
  • 7:44 - 7:46
    ในกรณีนี้ มันมีโอกาสเท่ากัน และนั่นคือ
  • 7:46 - 7:49
    ที่มาของ 2..5
  • 7:49 - 7:50
    และทั้งหมดนั่นอยู่บนตารางคำนวณ
  • 7:50 - 7:52
    ถ้าคุณคลิกที่ช่อง แล้วดูสูตร
  • 7:52 - 7:53
    ที่ผมใช้
  • 7:53 - 7:55
    แม้ว่าบางครั้ง เวลาคุณเห็นในเอกเซล มัน
  • 7:55 - 7:56
    มันดูน่าสับสนหน่อย
  • 7:56 - 7:57
    และนี่ก็แค่สแควร์รูทของเลขนั้น
  • 7:57 - 7:59
    ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก็แค่
  • 7:59 - 8:01
    สแควร์รูทของความแปรปรวน
  • 8:01 - 8:04
    นั่นก็แค่สแควร์รูทของ 2.5
  • 8:04 - 8:09
    แล้วถ้าคุณดูตรงนี้, มันบอกว่า, โอเค,
  • 8:09 - 8:11
    ความน่าจะเป็นที่ผมเดิน 0 ก้าวเป็นเท่าไหร่?
  • 8:11 - 8:14
    ถ้าผมเดินทั้งหมด 10 ก้าว -- เพื่อให้เข้าใจ
  • 8:14 - 8:18
    ตารางคำนวณนี้ -- ความน่าจะเป็นที่
  • 8:18 - 8:20
    ผมได้ไปทางซ้าย 0 ก้าวเป็นเท่าไหร่?
  • 8:20 - 8:23
    ขอผมบอกให้ชัดอีกที, ถ้าผมเดินไปทางซ้าย 0 ก้าว, นั่นหมายความว่า
  • 8:23 - 8:25
    ผมต้องเดินไปทางขวา 10 ก้าว
  • 8:25 - 8:27
    แล้วผมก็คำนวณความน่าจะเป็นนี่ -- ผมควร
  • 8:27 - 8:32
    ลากเส้นตรงนี้หน่อย -- ผมคำนวณนี่โดยใช้
  • 8:32 - 8:34
    การกระจายตัวแบบทวินาม
  • 8:34 - 8:35
    แล้วผมจะทำอย่างไร?
  • 8:41 - 8:45
    ขอผมเปลี่ยนสีหน่อยนะ เพื่อให้
  • 8:45 - 8:46
    มันน่าสนใจขึ้น
  • 8:46 - 8:48
    พวกนี้สีม่วงหรือเปล่า?
  • 8:48 - 8:51
    ผมจะใช้สีฟ้าแล้วกัน
  • 8:51 - 8:54
    สีฟ้า (blue) สำหรับทวินาม (binomial)
  • 8:54 - 8:59
    แล้วผมมีอะไรตรงนี้ มีทั้งหมดกี่ก้าว?
  • 8:59 - 9:00
    มันมีทั้งหมด 10 ก้าว
  • 9:00 - 9:04
    ได้ 10 แฟคทอเรียล, นั่นคือจำนวนการทดลองที่ผมทำ
  • 9:04 - 9:09
    ในนั้น ผมได้ 0 ให้ไปทางซ้าย
  • 9:09 - 9:14
    งั้น 10 แฟคทอเรียล หารด้วย 10 ลบ 0 แฟคทอเรียล
  • 9:14 - 9:16
    นี่คือ 10 เลือก 0
  • 9:16 - 9:20
    ผมเลือกไปทางซ้าย 0 ก้าว จากจำนวนก้าว 10 ก้าว
  • 9:20 - 9:24
    ที่ผมเดิน คูณความน่าจะเป็นของการก้าวทางซ้าย 0 ก้าว, มันคือ
  • 9:24 - 9:28
    ความน่าจะเป็นของการไปทางซ้าย, ผมทำ 0 ครั้ง คูณความน่าจะเป็น
  • 9:28 - 9:32
    ของการไปทางขวา, และผมทำอย่างนั้น 10 ครั้ง
  • 9:32 - 9:35
    นั่นคือที่มาของเลขนี้, .001 นี่
  • 9:35 - 9:38
    นั่นคือสิ่งที่การกระจายตัวแบบทวินามบอกเรา
  • 9:38 - 9:45
    แล้วอันนี้ก็เหมือนกัน, 10 แฟคทอเรียล ส่วน 1 แฟคทอเรียล
  • 9:45 - 9:47
    ส่วน 10 ลบ 1 แฟคทอเรียล
  • 9:47 - 9:48
    นั่นคือวิธีที่ผมได้แต่ละค่ามา
  • 9:48 - 9:51
    เหมือนเดิม, ถ้าคุณคลิกที่ช่อง คุณจะ
  • 9:51 - 9:52
    เห็นคำอธิบาย
  • 9:52 - 9:53
    เราทำมาหลายครั้งแล้ว
  • 9:53 - 9:54
    นี่ก็แค่การคำนวณทวินาม
  • 9:54 - 9:59
    แล้วตรงนี้, หลังจากเส้นนี่ตรงนี้, คุณ
  • 9:59 - 10:01
    ก็ละมันไว้ได้
  • 10:01 - 10:03
    ผมทำอย่างนั้น ผมจะได้ทำหลายๆ กรณี
  • 10:03 - 10:09
    ตัวอย่างเช่น, ถ้าผมไปที่ตารางคำนวณ, แทนที่จะ
  • 10:09 - 10:18
    ทำ 10 ผมอยากทำ 20 ก้้าว, ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป
  • 10:18 - 10:23
    และนั่นคือสาเหตุที่ข้างล่าง หลังจากที่คุณทำถึงจุหนึ่ง
  • 10:23 - 10:26
    ทุกอย่างก็ซ้ำเดิม
  • 10:26 - 10:28
    ผมจะปล่อยให้คุณคิดว่าทำไมผมถึงว่าอย่างนั้น
  • 10:28 - 10:30
    บางทีผมควรทำตารางคำนวณที่สะอาดกว่านี้
  • 10:30 - 10:33
    แต่มันไม่มีผลกับการพลอตแบบกระจายที่ผมทำอยู่ดี
  • 10:33 - 10:38
    แล้วพลอตนี้สีฟ้า, คุณอาจไม่เห็นมัน เพราะสีม่วง
  • 10:38 - 10:40
    เกือบทับมัน
  • 10:40 - 10:44
    ที่จริง ขอผมทำให้มันเล็กหน่อย คุณจะได้เห็น
  • 10:44 - 10:48
    สมมติว่าผมเลือก 6 ก้าว
  • 10:48 - 10:51
    มันยังเห็นความแตกต่างระหว่างสองอันนี้ได้ยากอยู่ดี
  • 10:51 - 10:55
    เหมือนเดิม ประเด็นตรงนี้คือ การเห็นว่า
  • 10:55 - 10:57
    การกระจายตัวแบบปกติ เป็นการประมาณที่ดี
  • 10:57 - 10:59
    แต่มันใกล้กันมาก จนถึงไม่เห็น
  • 10:59 - 10:59
    ความแตกต่างตรงนี้
  • 10:59 - 11:02
    ถ้าคุณเลือก 4 ก้าว, โอเค, ผมว่าคุณเห็นได้แล้วตอนนี้
  • 11:05 - 11:06
    ขอผมเลือกหน้าจอขึ้นมา
  • 11:10 - 11:13
    เส้นโค้งสีฟ้าอยู่แถวนี้
  • 11:13 - 11:15
    นี่คือทวินาม
  • 11:15 - 11:17
    มันมีจุดอยู่บ้างตรงนี้, คุณมี
  • 11:17 - 11:19
    จุดขึ้นไปตรงนี้
  • 11:19 - 11:22
    นี่คือถ้าคุณไปทางซ้าย 0 ก้าว, ซ้าย 1 ก้าว, ซ้าย 2 ก้าว,
  • 11:22 - 11:23
    ซ้าย 3 ก้าว, ซ้าย 4 ก้าว
  • 11:23 - 11:26
    แล้วผมพลอตมัน แล้วผมบอกว่า ความน่าจะเป็นเมื่อใช้
  • 11:26 - 11:28
    การกระจายตัวแบบทวินาทเป็นเท่าไหร่?
  • 11:28 - 11:30
    และนี่คือตำแหน่งสุดท้ายของผม, จริงไหม?
  • 11:30 - 11:33
    ถ้าผมเดินไปทางซ้าย 0 ก้าว และผมเดินไปทางขวา 4 ก้าว
  • 11:33 - 11:36
    ตำแหน่งสุดท้ายของผมคือ 4, นั่นคือ
  • 11:36 - 11:38
    กรณีตรงนี้
  • 11:38 - 11:40
    ขอผมเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเหมือนเดิมนะ, มันเห็นง่ายกว่า
  • 11:44 - 11:50
    ถ้าผมก้าวไปทางซ้าย 4 ก้าว, ผมก็เดินไปทางขวา 0 ก้าว
  • 11:50 - 11:53
    และตำแหน่งสุดท้ายของผม จะอยู่ที่ ลบ 4
  • 11:53 - 11:54
    มันจอยู่ตรงนี้
  • 11:54 - 11:59
    ถ้าผมเดินซ้ายขวาเท่านั้น, นั่นคือกรณีนี้,
  • 11:59 - 12:00
    ผมอยู่ตรงกลาง
  • 12:00 - 12:03
    ผมอยู่ตรงกลางตรงนี้
  • 12:03 - 12:05
    ผมเดิน 2 ก้าวไปทางขวา แล้วผมเดิน 2 ก้าวไปทางซ้าย
  • 12:05 - 12:08
    เหมือนกัน,ผมเดินไปทางซ้าย 2 ก้าว แล้วผม
  • 12:08 - 12:10
    เดินไปทางขวา 2 ก้าว และสุดท้ายผมอยู่ตรงนี้
  • 12:10 - 12:13
    หวังว่าคุณคงพอเข้าใจนะ
  • 12:13 - 12:14
    โทรศัพท์ผมดังล่ะ
  • 12:14 - 12:17
    ผมจะไม่สนใจเพราะการกระจายตัวแบบปกติ
  • 12:17 - 12:18
    มันสำคัญมาก
  • 12:18 - 12:21
    ที่จริง, ลูกชายผมอายุ 9 สัปดาห์ กำลังดูอยู่ นี่จึงเป็น
  • 12:21 - 12:23
    ครั้งแรกที่ผมมีผู้ชมสด
  • 12:23 - 12:27
    เขาอาจซึมซับการกระจายตัวแบบปกติอยู่ก็ได้
  • 12:27 - 12:31
    แล้วเส้นสีฟ้าตรงนี้ -- ผมจะลากมัน บางที
  • 12:31 - 12:35
    ใช้สีเหลือง คุณจะได้มองเห็น -- มันคือพลอตของ
  • 12:35 - 12:36
    กระจายตัวแบบทวินาม
  • 12:36 - 12:41
    ผมลากเส้นต่อกัน แต่คุณเห็นว่าการกระจายตัวแบบทวินาม
  • 12:41 - 12:43
    มันจะเป็นแบบนี้มากกว่า
  • 12:43 - 12:47
    นี่คือความน่าจะเป็นที่ได้ ลบ 4
  • 12:47 - 12:52
    นี่คือความน่าจะเป็นที่ได้ ลบ 2
  • 12:52 - 12:55
    นี่ตรงนี้ คือความน่าจะเป็น
  • 12:55 - 12:57
    ที่สุดท้ายอยู่กับที่
  • 12:57 - 13:06
    แล้วที่คือความน่าจะเป็นที่ไปทางขวา 2 และ
  • 13:06 - 13:10
    นี่คือความน่าจะเป็นที่ไปทางขวา 4 หน่วย
  • 13:10 - 13:12
    นี่คือการกระจายตัวแบบทวินาม, ผมแค่พลอต
  • 13:12 - 13:14
    จุดพวกนี่ตรงนี้
  • 13:14 - 13:14
    นี่คือ 0.375
  • 13:14 - 13:17
    นี่คือ 0.375
  • 13:17 - 13:18
    นั่นคือความสูงของอันนั้น
  • 13:18 - 13:21
    ทีนี้ สิ่งที่ผมอยากแสดงให้คุณดูคือว่า การกระจายตัว
  • 13:21 - 13:25
    แบบปกติ นั้นประมาณการกระจายตัวแบบทวินาม
  • 13:25 - 13:30
    แล้วนี่ตรงนี้, ผมอยากถามว่า การกระจายตัวแบบปตกิ
  • 13:30 - 13:35
    บอกผมได้หรือไม่ว่า ความน่าจะเป็นที่สุดท้าย
  • 13:35 - 13:38
    ไปทางซ้าย 0 ก้าวเป็นเท่าไหร่?
  • 13:38 - 13:42
    นี่เป็นเรื่องซับซ้อนหน่อย
  • 13:42 - 13:45
    การกระจายตัวแบบทวินาม เป็นการกระจายตัวของความน่าจะเป็น
  • 13:45 - 13:46
    แบบไม่ต่อเนื่อง
  • 13:46 - 13:48
    คุณดูที่แผนภูมิตรงนี้ หรือดูตรงนี้ แล้วบอกว่า,
  • 13:48 - 13:56
    ความน่าจะเป็นที่ไปทางซ้าย 1 ก้าว และขวา
  • 13:56 - 13:58
    3 ก้าว ซึ่งพาผมมาตรงนี้เป็นเท่าไหร่?
  • 13:58 - 14:01
    ทีนี้ คุณดูที่แผนภาพนี่แล้วคุณบอกว่า, โอ้,
  • 14:01 - 14:02
    มันพาผมมาตรงนี้
  • 14:02 - 14:05
    ผมก็อ่านความน่าจะเป็นนั่น, มันคือ 0.25
  • 14:05 - 14:07
    แล้วผมบอกว่า, ผมมีโอกาส 25 เปอร์เซ็นต์ที่
  • 14:07 - 14:12
    จะอยู่ทางขวา 2 ก้าว
  • 14:12 - 14:14
    มันมีโอกาส 25 เปอร์เซ็นต์
  • 14:14 - 14:17
    ฟังก์ชันการกระจายตัวปกติ เป็นการกระจายตัวของความน่าจะเป็น
  • 14:17 - 14:20
    แบบปกติ มันจึงเป็นเส้นโค้งต่อเนื่อง
  • 14:20 - 14:22
    มันเป็นแบบนั้น, มันเป็นเส้นโค้งรูประฆังที่ไป
  • 14:22 - 14:26
    จนถึงอนันต์และลู่เข้าหา 0 ทั้งสองข้าง
  • 14:26 - 14:28
    มันออกมาเป็นแบบนั้น
  • 14:28 - 14:30
    นี่คือการกระจายตัวของความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง
  • 14:30 - 14:32
    คุณไม่สามารถะอาจุดจุดหนึ่งมา แล้วบอกว่า,
  • 14:32 - 14:35
    ความน่าจะเป็นที่ผมได้ 2 ฟุตทางขวาเป็นเท่าไหร่?
  • 14:35 - 14:37
    เพราะถ้าคุณบอกว่า มันคือความน่าจะเป็น
  • 14:37 - 14:40
    ที่ได้ค่านั้นพอดี -- คุณควรดูวิดีโอเรื่องฟังก์ชัน
  • 14:40 - 14:42
    ความหนาแน่นของความน่าจะเป็นสักหน่อย -- แต่
  • 14:42 - 14:45
    ความน่าจะเป็นที่ได้ 2 ฟุตทางขวาพอดี, พอดี, ผมหมายความว่า
  • 14:45 - 14:48
    ผมพูดถึงในระดับอะตอม, เข้าใกล้ 0
  • 14:48 - 14:51
    คุณต้องระบุช่วงรอบค่านี้
  • 14:51 - 14:57
    สิ่งที่ผมจะสมมุติ คืออยู่ในช่วงครึ่งฟุต
  • 14:57 - 14:58
    ในทั้งสองด้าน
  • 14:58 - 14:59
    จริงไหม?
  • 14:59 - 15:00
    ถ้าเราใช้หน่วยเป็นฟุต
  • 15:00 - 15:04
    ในการหาค่าออกมา สิ่งที่ผมทำตรงนี้ คือ ผมหาค่า
  • 15:04 - 15:07
    ฟังก์ชันความหนาแน่นของความน่าจะเป็นตรงนี้
  • 15:07 - 15:10
    ผมจะแสดงให้คุณดูว่าผมหามันได้อย่างไร
  • 15:10 - 15:12
    แล้วผมคูณมันด้วย 1
  • 15:12 - 15:15
    นั่นให้พื้นที่ออกมา
  • 15:15 - 15:18
    แล้วผมใช้มันประะมาณหาพื้นที่นี้
  • 15:18 - 15:20
    ถ้าคุณอยากระบุให้ชัด
  • 15:20 - 15:23
    สิ่งที่คุณทำคือ คุณหาอินทิกรัลของเส้นโค้งนี่ระหว่าง
  • 15:23 - 15:27
    จุดนี้กับจุดนี้ จะเป็นการประมาณที่ดีกว่า
  • 15:27 - 15:28
    เราจะทำต่อไปในอนาคต
  • 15:28 - 15:30
    แต่ตอนนี้ ผมอยากให้คุณได้สัญชาตญาณ
  • 15:30 - 15:32
    ว่าการกระจายตัวแบบทวินาม จะเข้าหาการกระจายตัว
  • 15:32 - 15:33
    แบบปกติจริงๆ
  • 15:33 - 15:36
    แล้วผมจะได้เลขนี่ตรงนี้อย่างไร?
  • 15:36 - 15:45
    ผมก็บอกว่า, ความน่าจะเป็นที่ผมไปทางซ้าย
  • 15:45 - 15:53
    1 ก้าว -- ผมเรียกก้าวซ้ายว่า ผลที่สำเร็จ -- ได้ 1 คืออะไร?
  • 15:53 - 15:59
    และมันเท่ากับ 1 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 15:59 - 16:02
    เมื่อผมใช้ก้าว 4 ก้าว ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ 1
  • 16:02 - 16:04
    ได้ 1 ส่วน 1
  • 16:04 - 16:05
    ที่จริงขอผมเปลี่ยนนี่หน่อย
  • 16:08 - 16:10
    ขอผมเปลี่ยนมันเป็นเลขที่เยอะหน่อย
  • 16:14 - 16:16
    เราจะกลับไปที่ตัวอย่าง ตอนผมใช้ 10
  • 16:19 - 16:21
    ถ้านี่อยู่ที่ 10
  • 16:21 - 16:23
    ขอผมกลับไปใช้เครื่องมือวาดรูปนะ
  • 16:29 - 16:31
    ขอผมคำนวณนี่ก่อน
  • 16:31 - 16:35
    ที่จริง, ขอผมทำคิดก่อนดีกว่า
  • 16:35 - 16:37
    ความน่าจะเป็นที่ผมไปทางซ้าย 2 ก้าวเป็นเท่าไหร่?
  • 16:37 - 16:40
    ถ้าผมไปทางซ้าย 2 ก้าว ผมเดินไปจากทั้งหมด 10 ก้าว ผม
  • 16:40 - 16:43
    ก็ต้องไปทางขวา 8 ก้าว และนั่นพาผมมาทางขวา 6 ก้าว
  • 16:43 - 16:46
    นั่นคือจุดนี่ตรงนี้
  • 16:46 - 16:47
    แล้วความน่าจะเป็นคืออะไร?
  • 16:47 - 16:49
    ผมจะหานี่ โดยใช้ฟังก์ชันความหนาแน่นของ
  • 16:49 - 16:50
    ความน่าจะเป็นได้อย่างไร?
  • 16:50 - 16:51
    ผมจะหาความสูงนี้ได้อย่างไร?
  • 16:51 - 16:56
    ทีนี้ ผมบอว่าความน่าจะเป็นในการเดินไป 2 ก้าว -- นั่นคือ
  • 16:56 - 16:58
    วิธีที่ผมหามัน, ถ้าคุณคลิดที่ช่องนั่น
  • 16:58 - 17:04
    คุณจะเห็นว่า -- มันเท่ากับ 1 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 17:04 - 17:11
    1.581 -- แล้วผมก็อ้างถึงช่องนี้ --
  • 17:11 - 17:13
    คูณสแควร์รูทของ 2 ไพ
  • 17:15 - 17:19
    ผมมักนึกถึงแนวคิดเรื่อง e กำลัง i ไพ
  • 17:19 - 17:20
    เท่ากับลบ 1 อะไรพวกนั้น
  • 17:20 - 17:21
    แต่มันมีสิ่งที่น่าสนใจอีก
  • 17:21 - 17:26
    คือว่า ทันใดนั้น เมื่อเราทำการทดลองสุ่มหลายๆ ครั้ง
  • 17:26 - 17:29
    เราได้สูตรที่มี e กับ ไพ อยู่ในสแควร์รูท แต่เหมือนเดิม
  • 17:29 - 17:30
    เลขสองตัวนี้ปรากฏขึ้นอีกแล้ว
  • 17:30 - 17:33
    มันบอกถึงอะไรบางอย่างเกี่ยวกับระเบียบ (order) ของจักรวาล
  • 17:33 - 17:34
    ใช้ตัว o ใหญ่ด้วย
  • 17:34 - 17:43
    ลองดูกันต่อ, คูณ e กำลังลบ 1/2 คูณ x
  • 17:43 - 17:46
    ที่นี้ x คือสิ่งที่เรากำลังจะหา, สำเร็จ 2 ครั้ง
  • 17:46 - 17:55
    คือไปทางซ้าย 2 ก้าว, ได้เป็น 2 ลบค่าเฉลี่ย
  • 17:55 - 18:01
    ค่าเฉลี่ยเป็น 5, 2 ลบ 5 หารด้วยค่าเบี่ยงเบน
  • 18:01 - 18:10
    มาตรฐาน, หารด้วย 1.581, ทั้งหมดนั่นกำลังสอง
  • 18:10 - 18:12
    นั่นคือที่มาของการคำนวณ
  • 18:15 - 18:19
    ผมบอกคุณไปในอันสุดท้ายนี่ตรงนี้ ว่าบอก
  • 18:19 - 18:23
    ค่านี่ตรงนี้
  • 18:23 - 18:25
    ถ้าผมอยากรู้ความน่าจะเป็นเป๊ะๆ
  • 18:25 - 18:27
    มันคือพื้นที่ของอันนี้
  • 18:27 - 18:29
    แลถ้าคุณคิดเป็นเส้น มันจะเป็น 0
  • 18:33 - 18:36
    จำไว้, ในกรณีนี้ คุณใช้ได้ 2 ฟุต เพราะเรา
  • 18:36 - 18:38
    กำลังพูดถึงจำนวนก้าวพอดี
  • 18:38 - 18:40
    แต่การกระจายตัวแบบต่อเนื่อง มันคือ
  • 18:40 - 18:44
    ฟังก์ชันความหนาแน่นของความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง แล้วมันบอกเราได้หรือไม่ว่า
  • 18:44 - 18:49
    ความน่าจะเป็นที่ห่างออกไป 2.183 ฟุตพอดีเป็นเท่าไหร่?
  • 18:49 - 18:52
    แน่นอนมันเกิดขึ้นได้ ถ้าเรา
  • 18:52 - 18:53
    ก้าวไปทีละเศษเสี้ยวทุกครั้ง
  • 18:53 - 18:54
    แต่นั่นคือวิธีที่เราใช้
  • 18:54 - 18:56
    มันเกิดขึ้นเมื่อคุณเริ่มก้าวเป็น
  • 18:56 - 18:57
    จำนวนอนันต์
  • 18:57 - 18:59
    มันสามารถประมาณการกระจายตัวแบบไม่ต่อเนื่องได้
  • 18:59 - 19:01
    และวิธีที่ผมใช้ประมาณคือ, ผมบอกว่า, โอ้, ความน่าจะเป็น
  • 19:01 - 19:03
    ที่จะอยู่ในช่วงหนึ่งฟุตของค่านั้นเป็นเท่าไหร่
  • 19:03 - 19:05
    ผมก็คูณความสูงนี่, ซึ่ง
  • 19:05 - 19:09
    คือสิ่งที่ผมคำนวณไว้, คูณ 1
  • 19:09 - 19:13
    งั้นสมมุติว่านี่มีฐานเป็น 1, ในการคำนวณพื้นที่
  • 19:13 - 19:15
    ที่ผมใช้ประมาณ
  • 19:15 - 19:19
    คุณก็คูณมันด้วย 1, และนั่นคือสิ่งที่คุณได้ตรงนี้
  • 19:19 - 19:20
    และผมอยากแสดงให้คุณเห็น
  • 19:20 - 19:26
    แค่การสุ่ม 10 ครั้ง, เส้นโค้ง, การกระจายตัวแบบปกตินี่
  • 19:26 - 19:29
    ตรงนี้ คือสีม่วง และการกระจายตัวแบบทวินาม
  • 19:29 - 19:29
    เป็นสีฟ้า
  • 19:29 - 19:31
    พวกมันเกือบซ้อนกัน
  • 19:36 - 19:40
    เมื่อคุณใช้จำนวกน้าวมากขึ้น พวกมันก็เกือบทับกัน
  • 19:40 - 19:41
    พอดี และผมแนะนำให้คุณลองเล่น
  • 19:41 - 19:43
    โดยใช้ตารางคำนวณดู
  • 19:43 - 19:46
    ที่จริง, ขอผมแสดงให้คุณดูดีกว่ามันเข้าหากันจริงๆ
  • 19:46 - 19:49
    มันมีแผ่นงานเรื่อง การลู่เข้าในตารางคำนวณนี้เช่นกัน ถ้า
  • 19:49 - 19:52
    คุณคิดแท็บข้างล่างเรื่อง การลู่เข้า
  • 19:52 - 19:54
    นี่มันเหมือนกัน แต่ผมอยากแสดงให้คุณเห็นว่า
  • 19:54 - 19:59
    เกิดอะไรขึ้นตรงจุดที่กำหนด
  • 19:59 - 20:03
    ขอผมอธิบายตารางคำนวณนี่ให้คุณฟังนะ
  • 20:03 - 20:04
    นี่คือความน่าจะเป็นที่จะไป
  • 20:04 - 20:07
    ทางซ้าย, จริงไหม?
  • 20:07 - 20:09
    นี่ก็แค่บอกว่า, ผมตรีงจุดจุดหนึ่งที่
  • 20:09 - 20:11
    บอกความน่าจะเป็น -- และคุณเปลี่ยนนี่ได้ -- ตำแหน่ง
  • 20:11 - 20:13
    สุดท้ายเป็น 10
  • 20:13 - 20:19
    นี่ก็บอกคุณว่าถ้าผมเดิน 10 ก้าว,
  • 20:19 - 20:21
    ตำแหน่งสุดท้ายเป็น 10 ทางขวา, ผมต้องเดินไปทางขวา 10 ก้าว
  • 20:21 - 20:23
    และทางซ้าย 0 ก้าว
  • 20:23 - 20:26
    มันมีที่ผิดตรงนี้, มันตรวจเป็น moves ไม่ใช่ movest
  • 20:26 - 20:32
    ถ้าผมเดิน 20 ก้าว แล้วสุดท้ายอยู่ที่ 10 ก้าวไปทางขวา ผมต้องเดิน
  • 20:32 - 20:35
    ไปทางขวา 15 ก้าวและไปทางซ้าย 5 ก้าว
  • 20:35 - 20:38
    เช่นเดียวกัน, ถ้าผมเดินทั้งหมด 80 ก้าว, ถ้าผมคิดว่าโยนเหรียญ
  • 20:38 - 20:42
    80 ครั้งแล้วเดินไปซ้ายหรือเข้า, ในการให้ได้ 10 ก้าวทางขวา
  • 20:42 - 20:46
    ผมต้องเดิน 45 ก้าวไปทางขวา และ 35 ก้าวไปทางซ้าย
  • 20:46 - 20:49
    ไม่ว่าจะใช้ลำดับอย่างไร มันก็จะได้ 10 ก้าวไปทางขวา
  • 20:49 - 20:53
    แล้วสิ่งที่ผมอยากหาคือว่า, เมื่อผมเริ่มคิดจำนวน
  • 20:53 - 20:59
    ก้าวรวม -- ตรงนี้ ผมให้มันมากที่สุดที่ 170 -- ถ้าผมเริ่ม
  • 20:59 - 21:01
    โยนเหรียญเป็นอนันต์ครั้ง, ผม
  • 21:01 - 21:03
    อยากหาความน่าจะเป็นที่ผมได้ตำแหน่งสุดท้าย
  • 21:03 - 21:05
    เป็น 10 ทางขวา
  • 21:05 - 21:09
    และผมอยากแสดงให้คุณเห็นว่า เมื่อคุณใช้ก้าวมากขึ้น มากขึ้น
  • 21:09 - 21:12
    การกระจายตัวแบบทวินาม ก็ยิ่งประมาณค่า
  • 21:12 - 21:15
    การกระจายตัวแบบทวินามได้ดีขึ้น ดีขึ้น
  • 21:15 - 21:19
    แล้วตรงนี้, มันคำนวณความน่าจะเป็นแบบทวินาม,
  • 21:19 - 21:21
    ตามที่วิธีที่เราทำมาก่อน และคุณดูที่ช่องนี้
  • 21:21 - 21:22
    เพื่อหาค่าได้
  • 21:25 - 21:26
    ผมใช้การเดินไปทางซ้ายคือ ครั้งที่สำเร็จ
  • 21:30 - 21:33
    นี่ก็คือ 10 เลือก 0 และเรารู้ว่ามันคืออะไร
  • 21:33 - 21:37
    มันคือ 10 แฟคทอเรียล ส่วน 0 แฟคทอเรียล ส่วน 10 ลบ 0
  • 21:37 - 21:43
    แฟคทอเรียล คูณ 0.5 กำลัง 0 คูณ 0.5 กำลัง 10
  • 21:43 - 21:45
    นั่นคือที่มาของเลขนี้
  • 21:45 - 21:53
    ถ้าผมไปที่ตรงนี้ อันนี้คำนวณไว้แล้ว
  • 21:53 - 21:54
    ที่จริงขอผมเขียนมันออกมาดีกว่า เพราะผมว่า
  • 21:54 - 21:54
    มันน่าสนใจ
  • 21:54 - 21:55
    ผมมีการเดินทั้งหมด 60 ก้าว, มันจึงได้ 60 แฟคทอเรียล
  • 21:55 - 22:03
    ส่วน, ผมต้องไปทางซ้าย 25 ก้าว, ได้ 25 แฟคทอเรียล
  • 22:03 - 22:10
    แล้วผมก็ได้ 60 ลบ 25 แฟคทอเรียล คูณความน่าจะเป็น
  • 22:10 - 22:13
    ที่จะไปทางซ้าย ผมมี 25 ตัว, คูณความน่าจะเป็น
  • 22:13 - 22:18
    ที่ไปทางขวา และผมมี 35 อัน
  • 22:18 - 22:21
    นั่นก็คือสิ่งที่การกระจายตัวของความน่าจะเป็นแบบทวินาม
  • 22:21 - 22:23
    บอกเรา
  • 22:23 - 22:25
    แล้วมันก็หา ค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของ
  • 22:25 - 22:27
    แต่ละกรณี แล้วคุณก็ดูที่สูตรได้
  • 22:27 - 22:30
    แต่ค่าเฉลี่ย ก็แค่ความน่าจะเป็นที่ก้าวไปทางซ้าย
  • 22:30 - 22:33
    คูณจำนวนครั้งที่ก้าวทั้งหมด
  • 22:33 - 22:36
    ความแปรปรวนคือความน่าจะเป็นที่จะไปทางซ้าย คูณความน่าจะเป็น
  • 22:36 - 22:38
    ที่จะไปทางขวา คูณจำนวนก้าวทั้งหมด
  • 22:38 - 22:41
    แล้วความน่าจะเป็นแบบปกติ, เหมือนเดิม, ผม
  • 22:41 - 22:44
    แค่ใช้การกระจายตัวแบบปกติ
  • 22:44 - 22:45
    ผมประมาณมันเหมือนเดิม
  • 22:49 - 22:52
    และเอกเซลมีฟังก์ชันการกระจายแบบปกติ แต่ผม
  • 22:52 - 22:54
    อยากพิมพ์สูตรลงไป เพราะผมอยากให้คุณเห็นว่า
  • 22:54 - 22:58
    มันมีอะไรอยู่ในฟังก์ชัน
  • 22:58 - 22:59
    ที่เอกเซลใช้
  • 22:59 - 23:05
    แล้วผมก็อบกว่า ความน่าจะเป็นที่ผมไปทางซ้าย 25 ก้าวเป็นเท่าไหร่?
  • 23:05 - 23:07
    ไม่ใช่สิ, 45 ก้าวทางซ้าย
  • 23:07 - 23:15
    ผมก็บอกว่าความน่าจะเป็นที่ไปทางซ้าย 45 ก้าว เท่ากับ 1
  • 23:15 - 23:17
    ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 23:17 - 23:20
    นั่นคือกรณีที่ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ
  • 23:20 - 23:22
    สแควร์รูทของ 25
  • 23:22 - 23:33
    มันก็คือ 5 คูณ 2 ไพ คูณ e กำลังลบ 1/2 คูณ 45 ลบ
  • 23:33 - 23:38
    ค่าเฉลี่ย, ลบ 50 ส่วน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ซึ่งเรา
  • 23:38 - 23:41
    หาได้แล้วว่าคือ 5, กำลังสอง
  • 23:41 - 23:45
    นั่นจึงบอกเราถึงค่าที่การกระจายแบบปกติบอกเรา
  • 23:45 - 23:48
    ในกรณีนี้ ที่มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  • 23:48 - 23:51
    กับค่าเฉลี่ยเป็นแบบนี้ แล้วผมคูณมันด้วย 1 -- คุณไม่เห็น
  • 23:51 - 23:53
    มันในสูตร, ผมไม่ต้องเขียนคูณ 1 ก็ได้ --
  • 23:53 - 23:55
    เพื่อหาพื้นที่ใต้เส้นโค้ง
  • 23:55 - 23:57
    เพราะจำไว้ มันคือฟังก์ชันการกระจายตัว
  • 23:57 - 23:58
    แบบต่อเนื่อง
  • 23:58 - 24:02
    เจ้านี่ตรงนี้ให้ค่าเรา แต่เวลาหาความน่าจะเป็น
  • 24:02 - 24:04
    ที่อยู่ภายในหนึ่งฟุต ผม
  • 24:04 - 24:05
    ต้องคูณมันด้วย 1
  • 24:05 - 24:06
    ผมแค่ประมาณเฉยๆ
  • 24:06 - 24:08
    ผมควรหาอินทิกรัลจากตรงนี้ ถึงตรงนี้
  • 24:08 - 24:12
    แต่สี่เหลี่ยมเล็กๆ นี่คือว่าประมาณได้ดีทีเดียว
  • 24:12 - 24:17
    ในแผนภูมินี้ ผมแสดงให้คุณเห็นว่า เมื่อจำนวนก้าวทั้งหมด
  • 24:17 - 24:21
    มากขึ้น มากขึ้น ความแตกต่างระหว่างสิ่ง
  • 24:21 - 24:24
    ที่การกระจายความน่าจะเป็นแบบปกติบอกเรา กับ
  • 24:24 - 24:27
    การกระจายความน่าจะเป็นแบบทวินามบอกเรา นั้นน้อยลง
  • 24:27 - 24:31
    น้อยลง ในแง่ของความน่าจะเป็นที่คุณ
  • 24:31 - 24:32
    อยู่ทางขวา 10 ก้าวในที่สุด
  • 24:32 - 24:35
    และคุณสามารถเปลี่ยนตัวเลขนี้ได้
  • 24:35 - 24:37
    ขอผมเปลี่ยนมันให้คุณดูนะ
  • 24:37 - 24:38
    คุณก็บอกว่า ความน่าจะเป็นที่อยู่
  • 24:38 - 24:44
    ทางขวา 15 ก้าวเป็นเท่าไหร่?
  • 25:03 - 25:04
    ผมว่ามีอะไรสักอย่างเกิดขึ้นกับค่า
  • 25:04 - 25:06
    คลาดเคลื่อนแบบ floating point เพราะเวลาคุณใช้แฟคทอเรียลที่มีค่ามาก
  • 25:06 - 25:09
    ผมว่ามีอะไรแปลก ๆ เกิดขึ้น
  • 25:19 - 25:21
    คุณอาจต้องไปให้ไกลกว่านี้
  • 25:21 - 25:24
    สำหรับ 10 คุณเห็นได้ชัดเจนว่ามันลู่เข้า และผมพยายาม
  • 25:24 - 25:26
    หาว่าทำไมผมถึงได้รูปแบบฟันเลื่อยแปลกๆ นี่
  • 25:32 - 25:35
    บางทีตอนผมถ่ายรูป อาจจมีอะไรแปลก ๆ เกิดขึ้น
  • 25:35 - 25:38
    ประเด็นของอันนี้ คือแสดงให้คุณเห็นว่า ถ้าคุณ
  • 25:38 - 25:41
    อยากหาความน่าจะเป็นที่ได้อยู่ทางขวา 10 ก้าว,
  • 25:41 - 25:45
    เมื่อคุณโยนเหรียญมากขึ้น มากขึ้น
  • 25:45 - 25:50
    การกระจายตัวแบบปกติ ก็ยิ่งประมาณการกระจาย
  • 25:50 - 25:52
    แบบทวินามได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
  • 25:52 - 25:54
    เมื่อคุณเข้าหาอนันต์, พวกมันก็จะเข้าหา
  • 25:54 - 25:55
    กันพอดี
  • 25:55 - 25:58
    เอาล่ะ, แค่นี้แหละสำหรับวิดีโอนี้
  • 25:58 - 25:59
    ผมจะทำวิดีโออื่นๆ เกี่ยวกับการกระจายตัว
  • 25:59 - 26:02
    แบบปกติอีก เพราะมันเป็นหลักการที่สำคัญมาก
  • 26:02 - 26:02
    แล้วพบกันครับ
Title:
แบบฝึกหัดเอกเซล เรื่องการกระจายตัวแบบปกติ
Description:

(ยาว-26 นาที) การนำเสนอตารางคำนวณ ที่แสดงว่า การกระจายตัวแบบปกติ ประมาณการกระจายแบบทวินามที่มีการทดลองเป็นจำนวนมาก

more » « less
Video Language:
English
Duration:
26:04

Thai subtitles

Revisions