-
(เสียงระฆัง)
-
อาจารย์มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ
กำเนิดจักรวาล?
-
(ภาษาฝรั่งเศส)
-
นมัสการท่านอาจารย์ ท่านมีความเห็นอย่างไร
เกี่ยวกับกำเนิดจักรวาลครับ
-
ไม่มี
-
(เสียงหัวเราะ)
-
เพราะการคิดอย่างนี้มันไม่มีสาระ
-
อาจารย์จึงใช้เวลากับอะไร
ที่เป็นรูปธรรมมากกว่า
-
จะเห็นว่าเมื่อเรามาที่หมู่บ้านพลัม
เราไม่เรียนทฤษฎีการทำสมาธิ
-
เราให้เริ่มต้นฝึกเลย
-
เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลง
พัฒนาไปในทางดีขึ้น
-
ทั้งทางกาย ความรู้สึก ความรับรู้
และอะไรทั้งหลายที่ยังไม่ตรงอยู่
-
พวกเราทุกคนเป็นทุกข์จากการรับรู้ที่ผิด
-
มุมมองไม่ถูกต้องจะนำทุกข์มาให้มากมาย
-
การมาเจริญสติคือการมาทำให้ความคิดเงียบลง
-
มาทำให้ใจสงบลง
มาเห็นสิ่งต่างๆ ให้ชัดเจนขึ้น
-
จึงสามารถแก้มุมมองที่ผิดๆ ได้
-
มุมมองที่ผิดๆ จะนำมาซึ่งความกลัว
ความโกรธเกรี้ยว ความผิดหวัง
-
เราจึงต้องมาพิจารณาอย่างถ่องแท้
การเจริญสติคือการมาค่อยๆ พิจารณา
-
มาปรับทัศนะให้ตรง
-
เพื่อที่จะได้ไม่เป็นทุกข์
และไม่ไปทำให้ใครเป็นทุกข์
-
สิ่งนี้ต่างหากที่สำคัญ และใช้ได้จริง
-
สังเกตมั้ยว่าขณะที่เธอ
สาธยายทฤษฎีจักรวาลอยู่นั้น
-
ส่วนมากมันคิดเอา เป็นสติปัญญา
ส่วนตรรกะ
-
แต่การคิดแบบตรรกะ
มันไปได้ไม่ไกล
-
เพราะมักจะติดข้องอยู่กับอคติ
-
สิ่งที่เราได้ยิน ได้เรียนรู้มา
-
เราเชื่อในสิ่งเหล่านั้น
-
ยึดมั่นในสิ่งเหล่านั้น
-
บ่อยครั้งแม้แต่นักวิทยาศาสตร์
ก็ติดกับในความคาดหมายล่วงหน้า
-
การจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวจริงเสียงจริง
เธอจะต้องทำใจกว้างๆ
-
กล้าปล่อยสิ่งที่รู้แล้ว
-
เพื่อไปสู่ความเข้าใจที่ยิ่งๆ ขึ้นไป
-
ดังนั้น อาตมาไม่เห็นว่าการใช้ตรรกะ
-
มาอธิบายความเป็นไปของจักรวาล
จะช่วยให้ได้อะไรขึ้นมา
-
มันใช้เวลานาน
-
นานจนไม่ต้องทำอย่างอื่นกัน
-
นักวิทยาศาสตร์หลายคนครุ่นคิด
ถกเถียงอยู่กับคำถาม
-
จักรวาลคืออะไร?
-
จักรวาลมาจากไหน?
-
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าจักรวาลดับไป?
-
คำถามเหล่านี้กินเวลาพวกเราไปมาก
-
เมื่อเราเข้าสมาธิลึกได้
-
เราจะระลึกรู้ถึงความจริงของธรรมชาติ
อันไม่เกิดไม่ดับ
-
คำถามเหล่านี้จะไม่มีที่ตั้งอีกต่อไป
-
หนึ่งเพราะมันไม่จริง
หนึ่งเพราะมันไม่เป็นไปตามธรรม
-
เราจะไม่มาเสียเวลากับคำถามทำนองนี้
-
ความเข้าใจนี้เป็นสิ่งที่เราเข้าไปเห็น
ด้วยสมาธิ
-
เช่นนี้จึงเป็นความเข้าใจในทุกข์
-
ทุกข์ในตนเอง
ทุกข์ในผู้อื่น
-
ความเข้าใจในทุกข์นี้นำมาซึ่ง
ความเมตตาเห็นอกเห็นใจ
-
และสิ่งนี้เองที่มีพลังเยียวยาทั้งตนเอง
-
และทั้งผู้อื่น
-
นี่ต่างหากเป็นสิ่งที่เร่งด่วนมากๆ
ที่จะต้องเข้าใจ
-
และความเข้าใจนี้จะพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป
-
เมื่อเข้าใจทุกข์
จะเข้าใจสุข
-
เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความทุกข์และความสุข
-
และความเข้าใจนี้จะขยายขอบเขตไปกว้างขวาง
เราจะเข้าใจไปถึง
-
ความมีตัวตน และความไม่มีตัวตน
นี่เป็นเพียงความคิด
-
การเริ่มต้น หรือการสิ้นสุดเป็นเพียงความคิด
ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
-
แต่สิ่งแรกที่เราต้องมาทำความเข้าใจก่อน
-
คือการมาเข้าใจทุกข์
-
นี่เป็นพื้นฐานเริ่มต้นของชาวพุทธ
-
และเป็นภาคปฏิบัติ
-
ถ้าความทุกข์เราลดลงแล้ว
-
ใจสงบ
-
เราจะเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตัว
-
ง่ายดาย และรวดเร็ว
-
เชื่อมโยง บันดาลใจ เติมเต็ม
-
(เสียงระฆัง)