-
ทำไมห้องสมุดถึงมีแต่หนังสือ
-
สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
-
กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะในรายการวิวเอ๋ยบอกข้าเถิดค่ะ
-
รายการที่วิวจะหยิบเอาคำถามที่ทุกคนนะคะ
-
ติดแฮชแท็กวิวเอ๋ยบอกข้าเถิดมาตอบทุกคนค่ะ
-
ซึ่งถ้าสมมติว่าคำถามมันเหมาะสมกับช่อง Point of View
-
มันก็จะมาปรากฏเป็นคลิปวิดีโอแบบนี้นี่แหละค่ะ
-
ส่วนถ้าสมมติว่าคำถามมันอาจจะเหมาะกับอีกรูปแบบนึง
-
มันก็จะไปอยู่ในอีกช่องนึงของวิวนะคะ
-
นั่นก็คือช่องจุดชมวิว
-
ซึ่งเป็นช่องที่มีสาระน้อยกว่า
-
หรือเรียกได้ว่าไม่มีเลยนั่นเองค่ะ
-
ซึ่งในวันนี้นะคะเราได้รับคำถามที่น่าสนใจมากๆค่ะ
-
คำถามนี้
-
มาจากคุณ Chanchai นะคะ
-
เขาถามมาว่าทำไมห้องสมุดถึงมีแต่หนังสือ
-
บอกเลยว่านี่เป็นคำถามนึงที่น่าสนใจมากๆค่ะ
-
ดังนั้นนะคะวิวก็เลยเลือกหยิบ
-
หัวข้อนี้ขึ้นมาทำเป็นคลิปวิดีโอค่ะ
-
ซึ่งเอาจริงๆนะถ้าจะให้ตอบคำถามนี้
-
ตอบได้สั้นๆ คำเดียว แป๊บเดียวจบเลยค่ะ
-
แต่อย่างไรก็ตาม มันจะไม่น่าสนใจเท่าไหร่นะคะ
-
ดังนั้นนะคะ วิวก็เลยไปค้นหาข้อมูลต่างๆ
-
มาเพิ่มเติมมากมายค่ะ
-
และเราจะตอบให้มันลึกลงไปอีกหนึ่งชั้นค่ะ
-
ดังนั้นพร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้ง
-
สนุกแล้วก็มีสาระกันรึยังคะ
-
ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ
-
เอาจริงๆนะคะถ้าเราจะตอบคำถามว่า
-
ทำไมในห้องสมุดถึงมีแต่หนังสือเนี่ย
-
เราควรจะเริ่มต้นจากการให้คำนิยามก่อนค่ะว่า
-
เอ๊ะ อะไรคือสมุดกันแน่
-
และเอ๊ะ อะไรคือหนังสือกันแน่นะคะ
-
ซึ่งหลายคนฟังแบบนี้ก็แบบ
-
เอ้า จริงๆเราก็รู้ตั้งแต่เด็กแล้วนะว่าสมุดคืออะไร
-
หรือหนังสือคืออะไร
-
แต่จริงๆแล้วบอกเลยว่ามันไม่ใช่แบบนั้นค่ะ
-
ก่อนที่เราจะไปนิยามสมุดกับหนังสือกันเนี่ย
-
เรามาฟังประวัติศาสตร์ของสมุดกับหนังสือกันดีกว่าค่ะว่า
-
เอ๊ ในสมัยโบราณเนี่ยเขามีการจดบันทึก
-
หรือเขามีการพิมพ์อะไรยังไงบ้างนะคะ
-
เอาแบบคร่าวๆพอ
-
เพราะว่าวันนี้จริงๆเราไม่ได้ตั้งใจจะมาคุย
-
เรื่องประวัติศาสตร์การพิมพ์ตรงนี้ค่ะ
-
อะ เข้าเรื่องกันดีกว่าค่ะ
-
ก่อนที่เราจะไปพูดเรื่องสมุดหรือหนังสือเนี่ย
-
จริงๆแล้วทั้งสองอย่างนี้ก็คือสิ่งที่
-
บันทึกพวกข้อความอะไรต่างๆเอาไว้ใช่ไหมคะ
-
ดังนั้นรู้กันไหมคะว่า
-
พวกตัวหนังสือต่างๆเนี่ยประดิษฐ์กันขึ้นมาเมื่อไหร่
-
เชื่อว่าหลายๆคนรู้กันอยู่แล้วค่ะ
-
เพราะว่าเรียนกันมาตั้งแต่เด็กเนอะว่า
-
ตัวหนังสือชุดแรกของโลกก็คืออักษรลิ่มคูนิฟอร์ม
-
ประดิษฐ์โดยอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
-
ก็คือของชาวสุเมเรียนนั่นเอง
-
และในยุคนั้นนะคะก็จารึกกันลงบน
-
แผ่นดินเหนียวหรือที่เรียกว่า Clay Tablet นั่นเองค่ะ
-
ซึ่งหลังจากยุคสมัยนั้นเนี่ยนะคะก็ต้องบอกว่า
-
ประวัติศาสตร์การจดบันทึกของมนุษย์ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ
-
กระจัดกระจายไปทั่วค่ะ
-
ไม่ว่าจะเป็นบันทึกลงในม้วนกระดาษ
-
อย่างกระดาษปาปิรุสของชาวอียิปต์
-
บางกลุ่มเนี่ยนะคะก็เลือกแกะสลักลงบนหิน
-
บางกลุ่มก็เลือกที่จะแกะสลักลงบนไม้
-
เปลือกไม้ อะไรต่างๆ
-
หรือบางกลุ่มก็ประดิษฐ์กระดาษของตัวเอง
-
เหมือนชาวจีน อะไรอย่างนี้เป็นต้นนะคะ
-
เมื่อมันมีการประดิษฐ์ขึ้นมาแล้ว
-
มันก็จะต้องมีการเขียนกันอย่างแพร่หลายใช่ไหมคะ
-
บอกเลยค่ะว่านักประวัติศาสตร์เนี่ย
-
พบหลักฐานการเขียนอย่างนี้
-
แพร่หลายมากๆตามจุดต่างๆนะคะ
-
เอาแค่ Clay Tablet ของพวกชาวเมโสโปเตเมียเนี่ย
-
ก็ค้นพบประมาณ 30,000 ชิ้นแล้วนะคะ
-
เรียกได้ว่าเยอะมากๆๆๆๆเลยทีเดียวค่ะ
-
เมื่อมันมีการเขียนเกิดขึ้นเนี่ย
-
มันก็จะต้องมีการจัดเก็บงานเขียนใช่ไหมคะ
-
ดังนั้นเนี่ยเราก็จะมีการพบหลักฐานว่าแบบ
-
เออ บางจุดมันมีงานเขียนรวมกันมากกว่าปกติ
-
เป็นแบบเหมือนเป็นคอลเลกชันอะไรต่างๆนะคะ
-
ดังนั้นคอนเซ็ปต์ของความเป็นห้องสมุดเนี่ย
-
ก็เริ่มต้นมาพร้อมๆกับการเขียนนี่ล่ะค่ะ
-
ซึ่งพวกคอลเลกชันงานเขียนต่างๆที่มีคนเก็บรวบรวมไว้เนี่ย
-
ในสมัยก่อนเราก็จะไปพบพวกแบบว่า
-
ห้องเก็บเอกสารส่วนตัวของฟาโรห์อียิปต์
-
หรือว่าพวกห้องเก็บเอกสารส่วนตัวของกษัตริย์อัสซีเรีย
-
อะไรทำนองนี้นะคะ
-
บางทีก็อาจจะมีพวกพ่อค้าพาณิชบ้างอะไรต่างๆ
-
อย่างที่เราน่าจะเห็นกันที่ดังขึ้นมา
-
เมื่อประมาณอาทิตย์สองอาทิตย์ที่แล้ว
-
ในวงการประวัติศาสตร์นะว่าแบบ
-
มี Clay Tablet หรือว่าแผ่นดินเหนียวที่เป็น
-
จารึกที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์
-
ที่พูดถึงการ complain
-
อะไรอย่างนี้ที่มันเก็บรวบรวมกันอยู่เป็นห้องเลย
-
อะไรก็มีประมาณนั้นเหมือนกันค่ะ
-
อย่างไรก็ตามนะคะ
-
ในบรรดาคอลเลกชันการเก็บนู่นเก็บนี่เนี่ย
-
ของชาติต่างๆ ชาตินึงที่โดดเด่นมากๆเลยก็คือ
-
ชนชาติกรีกนั่นเองค่ะ
-
เรารู้กันดีกว่าชนชาติกรีกเนี่ยเป็นชนชาติ
-
ที่ค่อนข้างจะวิชาการใช่ไหมคะ
-
มีงานเขียนต่างๆเกิดขึ้นมากมาย
-
มีนักปราชญ์ มีนักกฎหมาย นักอะไรต่างๆ
-
ซึ่งเขาก็จะบันทึก บันทึก บันทึกกันมากมายค่ะ
-
ในยุคสมัยกรีกเนี่ยนะคะต้องบอกว่า
-
พวกเรื่องหนังสือเรื่องการจดบันทึกเนี่ย
-
เฟื่องฟูหนักมากค่ะจนกระทั่ง
-
เกิดห้องสมุดทั้งสาธารณะแล้วก็ส่วนตัวเนี่ยนะคะ
-
ผุดกันขึ้นมาเป็นดอกเห็ดเลยค่ะ เรียกได้ว่า
-
ใครที่มีกำลังทรัพย์หน่อยก็จะหา
-
พวกงานเขียนต่างๆมาเก็บๆๆไว้กับตัวนะคะ
-
แล้วถามว่างานเขียนพวกนั้นเนี่ยมาได้ยังไง
-
ก็ต้องบอกว่าสมัยก่อนเขาใช้วิธีนี้ค่ะ
-
สมมติว่ามีนักปราชญ์ซักคนนึง
-
เกิดคิดบทละครขึ้นมาได้ชุดนึง
-
เขาก็จะเขียนๆๆๆๆ เป็นต้นฉบับของเขาใช่ไหมคะ
-
แล้วเขาก็จะส่งไปที่โรงก็อปปี้ค่ะ
-
คือมันเป็นเหมือนกับโรงงานโรงงานนึง
-
ซึ่งจะมีคนแบบนั่งรออยู่ละ นั่งๆๆๆ รออยู่
-
อะ แล้วก็จัดการลอกนะคะ
-
ด้วยมือค่ะ ลอกๆๆๆๆ ออกมา
-
คัดก็อปปี้ออกมานะคะ คัดออกมา คัดๆๆๆๆ
-
แล้วก็ส่งฉบับก็อปปี้เนี่ยไปขายค่ะ
-
ดังนั้นนะคะถ้าสมมติว่าใครอยากได้งานเขียนชิ้นไหนเนี่ย
-
ก็จะต้องไปที่ร้านขายค่ะแล้วก็
-
ไปซื้อฉบับก็อปปี้ที่มีคนลอกด้วยลายมือเนี่ยนะคะ
-
กลับมาที่บ้านค่ะ มาเก็บไว้ในคอลเลกชันส่วนตัว
-
นี่ก็เป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของห้องสมุดยุคนั้นนะคะ
-
และต้องบอกว่าชนชาติกรีกเนี่ย
-
ก็ได้ส่งต่ออารยธรรมการจัดเก็บเอกสารนะคะ
-
ไปให้กับชนชาตินึงค่ะที่สำคัญมากๆเลยนั่นก็คือ
-
ชนชาติอียิปต์นั่นเองค่ะ
-
โดยส่งต่อไปให้คิงปโตเลมีที่ 1 แห่งอียิปต์นะคะ
-
ซึ่งเอาจริงๆเขาก็เป็นราชวงศ์
-
ที่สืบต่อมาจากแบบกรีกอะไรอย่างนี้
-
เหมือนแบบว่ากรีกมาซิโดเนียอะไรอย่างนี้
-
เข้ามายึดอียิปต์ใช่ไหมคะ
-
จำได้ใช่ไหมคะที่เป็นบรรพบุรุษของคลีโอพัตรา
-
ที่วิวเคยเล่าไปนั่นแหละค่ะ
-
ซึ่งถามว่าคิงปโตเลมีได้รับความรู้นี้เข้าไปแล้ว
-
เขาเอาไปทำอะไรนะคะ
-
ท่านก็เอาไปจัดตั้งห้องสมุดแห่งนึงขึ้นมาค่ะ
-
ชื่อว่า The Great Library of Alexandria นะคะ
-
หรือว่าห้องสมุดอเล็กซานเดรียนั่นเอง
-
ซึ่งถือว่าเป็นห้องสมุดสาธารณะที่ใหญ่มากๆ
-
มากๆ มากๆ และมากๆค่ะ
-
ซึ่งห้องสมุดนี้นะคะก็ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ
-
300 ปีก่อนคริสตกาลนั่นเอง
-
เรียกได้ว่าก็ผ่านมาค่อนข้างจะยาวนานแล้วเนอะ
-
ส่วนก่อนหน้านั้นถามว่ามีห้องสมุดไหม
-
ก็มีแหละเหมือนที่วิวเล่าไปนะคะ
-
ก็คือเป็นห้องสมุดส่วนตัวบ้างอะไรบ้าง
-
สาธารณะบ้างเล็กๆน้อยๆของตามกรีกอะไรอย่างนี้นะ
-
ซึ่งเกิดมาตั้งแต่แบบสี่ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราชแล้วค่ะ
-
อย่างไรก็ตามนะคะทั้งหมดนี้วิวไม่ได้จะมาเล่าเพื่อมาบอก
-
เรื่องประวัติศาสตร์การเกิดห้องสมุดอะไรต่างๆนะคะ
-
แต่วิวตั้งใจแค่จะเล่าให้ทุกคนฟังว่า
-
คอนเซ็ปต์ของความเป็นห้องสมุดเนี่ย
-
มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนสมัยของการพิมพ์แล้วค่ะ
-
โอเคมันอาจจะมีการพิมพ์บ้างแบบอนาล็อกอะนะ
-
แบบว่าทำตัวปั๊มขึ้นมาแล้วก็แบบปั๊มๆๆๆ
-
หรือว่าแบบแกะสลักอะไรสักอย่างขึ้นมาแล้วกดลงไปนะคะ
-
แต่นี่คือก่อนยุคสมัยของทศวรรษที่ 1450 ค่ะ
-
ซึ่งเป็นทศวรรษที่
-
Johannes Gutenberg นะคะประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ขึ้นมา
-
แล้วทำให้การพิมพ์เนี่ยแพร่หลาย
-
ทำให้พวกหนังสือเนี่ยผลิตขึ้นมาง่ายขึ้นค่ะ
-
ซึ่งในยุคสมัยนั้นนะคะ
-
ก่อนที่เครื่องพิมพ์จะเกิดขึ้นเนี่ย
-
หนังสือเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า
-
แพงมากๆ มากๆๆๆ และมากๆค่ะ
-
ถามว่าทำไม
-
ลองนึกสภาพว่าถ้าทุกวันนี้เราอยากได้หนังสือเล่มนึง
-
แล้วเราไม่มีเครื่องพิมพ์
-
เราต้องใช้วิธี
-
เดินไปที่ร้านหนังสือแล้วไปขอลอกเอาทีละตัว
-
ทีละตัว ทีละตัวเนี่ย
-
ก็ไม่แปลกเลยนะคะที่หนังสือจะมีราคาแพงมากๆ
-
และบางครั้งที่เราบอกว่า
-
ก็เกิดห้องสมุดขึ้นมีความใหญ่มากอะไรอย่างนี้
-
มันอาจจะไม่ได้มีหนังสือเยอะขนาดนั้น
-
เพราะว่ามันก็ค่อนข้างจะหายากอะนะ
-
ยกตัวอย่างเช่นห้องสมุด Bodleian
-
ที่วิวเคยพาไปที่อ็อกซ์ฟอร์ด
-
จำได้ใช่ไหมคะที่เป็นสถานที่ถ่ายทำแฮร์รี่ พอตเตอร์
-
ตอนนั้นวิวก็เคยเล่าไว้ว่า
-
ห้องสมุดทั้งห้องสมุดใหญ่ๆเนี่ย
-
เกิดขึ้นเพราะว่ามีลอร์ดคนนึงชื่อว่า Lord Humphrey เนี่ย
-
บริจาคหนังสือแค่ 200 เล่มเท่านั้นเองค่ะ
-
ซึ่งสมัยนั้นถือว่าเยอะมากๆแล้วนะคะ
-
และทั้งหมดนี้นะคะก็คือยุคสมัยก่อนที่เครื่องพิมพ์จะเข้ามา
-
ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
-
หรือว่ายุค Renaissance นะคะ
-
ซึ่งมันก็จะเข้ามาแบบเสริมกับ Renaissance อะไรต่างๆ
-
ทำให้วิชาความรู้เนี่ยแพร่กระจายไปทั่วค่ะ
-
อย่างไรก็ตามนะคะ ก่อนที่วิวจะนอกเรื่องไปมากกว่านี้
-
แล้วจะมีคนมาหาว่าวิวเวิ่นตอบนอกเรื่องเนี่ยนะคะ
-
เรากลับมาที่เรื่องของห้องสมุด
-
แล้วก็หนังสือของเราดีกว่าค่ะ
-
อะ ถ้าสมมติเราพูดถึงภาษาอังกฤษ
-
ทั้งหมดที่ผ่านมาเราพูดถึงอารยธรรมตะวันตกเนอะ
-
ดังนั้นเมื่อเราพูดถึงภาษาอังกฤษเนี่ย
-
จริงๆเขาบันทึกกันมาตั้งนานแล้วค่ะ
-
ตั้งแต่ตอนที่มันเป็นต้นฉบับเขียนด้วยลายมืออะไรต่างๆ
-
เขาก็เรียกมันว่า book แล้วใช่ไหมคะ
-
เพราะว่าคำว่า book เนี่ยจริงๆรากศัพท์มันมาจาก
-
คำคำนึงค่ะที่แปลว่าแบบ
-
เหมือนเป็นชื่อไม้ที่ใช้สลักลงไปอะไรอย่างนี้
-
ในสมัยที่ยังใช้ไม้ในการจดบันทึกอยู่นะคะ
-
ดังนั้นคอนเซ็ปต์ของคำว่า book เนี่ยนะคะ
-
มันไม่ได้แปลว่าหนังสือตรงๆ
-
แบบคำว่าหนังสือในภาษาไทยค่ะ
-
เพราะว่าคำว่า book เนี่ยมันหมายถึง
-
สิ่งที่จัดเก็บข้อมูลอะไรอย่างนี้ไว้
-
จะว่าด้วยการเขียน จะว่าด้วยการพิมพ์
-
ก็เป็น book เหมือนกันนะคะ
-
ในขณะที่คำว่า notebook ที่เราชอบเอามาแปลว่าสมุดเนี่ย
-
จริงๆเราควรจะแปลมันเต็มๆว่าสมุดจดมากกว่า
-
เพราะว่าพอพูดถึง notebook เซนส์มันจะหมายถึงแบบ
-
สมุดที่เอาไว้แบบว่าจดนู่นจดนี่
-
โน้ตไอเดียอะไรอย่างนี้
-
ประมาณนั้นนะคะ
-
อะ ก่อนที่เราจะมึนไปมากกว่านี้
-
กลับมาที่ประเทศไทยของเราดีกว่า
-
ที่คำว่าหนังสือแล้วก็คำว่าสมุดนะคะ
-
ก่อนที่เราจะนำเอาคำว่าสมุด คำว่าหนังสือ
-
มาใช้แบบทุกวันนี้
-
คิดว่าแต่ก่อนคำว่าสมุดกับคำว่าหนังสือ
-
หมายความว่ายังไงคะ
-
คำว่าสมุดเนี่ยนะคะ
-
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
-
หรือว่าหม่อมเจ้าวรรณไวทยากรเนี่ยนะคะ
-
ท่านเนี่ยทรงให้ที่มาที่ไปไว้ว่า
-
คำว่าสมุดคำนี้น่าจะมาจาก
-
ภาษาสันสกฤตนะคะ คำว่า สัมปุฎ ค่ะ
-
และเราก็ไม่ได้รับมาจากสันสกฤตโดยตรงหรอก
-
แต่ว่าเรารับมาผ่านภาษาเขมรอีกทีนึงนะคะ
-
ซึ่งในภาษาเขมรเนี่ยนะคะ เขาจะเรียกว่า
-
สมบุตร นั่นเองค่ะ
-
สมุดในสมัยก่อนเนี่ย
-
มันไม่ได้หน้าตาเป็นสมุดแบบเล่มๆ
-
พลิกๆๆๆๆ แบบที่เราเห็นทุกวันนี้หรอกค่ะ
-
แต่ว่าสมุดในสมัยก่อนเนี่ยเขาหมายถึงสมุดไทยนะคะ
-
หรือว่าสมุดข่อยนั่นเอง
-
ชื่อคุ้นๆไหมคะ
-
สมุดข่อยนี่ก็คือกระดาษที่ทำจากต้นข่อยนะคะ
-
เอามาทำเป็นแผ่นยาวๆค่ะ
-
แล้วก็เอามาพับทบไปทบมา ทบไปทบมานะคะ
-
หลังจากนั้นก็สามารถเอามาจดบันทึก
-
หรือว่ามาเขียนเรื่องต่างๆได้ค่ะ
-
เวลาเปิดอ่านเขาก็จะใช้วิธีเปิดอย่างนี้
-
เปิดพลิกไป พลิกไป พลิกไปนะคะ
-
เพราะว่าไม่ได้ใช้วิธีการเย็บเล่มค่ะ
-
แต่ใช้วิธีการพับเอาเนอะ
-
ซึ่งสมุดไทยเนี่ยก็ต้องบอกว่า
-
มีถึงสองสีด้วยกันค่ะ
-
สีแรกนะคะก็คือสีขาวนั่นเอง
-
และอีกสีนึงก็คือสีดำนะคะ
-
วิธีการทำของทั้งสองอย่างเนี่ย
-
เหมือนกันเลยคือเหมือนกับว่า
-
เอาต้นข่อยมาผ่านกระบวนการกรรมวิธี
-
การต้มการทำอะไรต่างๆ
-
วุ่นวายมากมายเนี่ยนะคะ
-
ซึ่งขออนุญาตไม่เจาะลึก
-
ถ้าใครอยากรู้เนี่ยนะ
-
วิธีการมันคล้ายๆกับการทำกระดาษของญี่ปุ่น
-
ซึ่งวิวเคยเล่าไว้ตอนที่
-
ไปที่โคจิแล้วนะคะ
-
ดังนั้นสามารถไปดูได้ในคลิปนั้นนะ
-
หลังจากที่ทำออกมาเป็นกระดาษเรียบร้อยแล้วเนี่ย
-
เขาก็จะแตกต่างกันนิดนึง
-
ตรงขั้นตอนการย้อมสีขั้นสุดท้ายนะคะ
-
ถ้าสมมติว่าเขาใช้น้ำปูนขาวผสมกับกาวแป้งเปียกเนี่ย
-
มันก็จะกลายเป็นสมุดไทยสีขาว
-
ส่วนถ้าผสมกับเขม่าดิน
-
หรือว่ากาบมะพร้าวเผาลงไปเนี่ย
-
เขาก็จะกลายเป็นสมุดไทยสีดำนั่นเองค่ะ
-
ซึ่งวิธีการจดบันทึกก็คล้ายๆกันนี่แหละ
-
แต่ว่าสมุดที่สีขาวก็จะใช้พวกหมึกสีๆใส่ลงไป
-
ส่วนสมุดสีดำเนี่ยก็จะใช้สีขาวเขียนลงไปนั่นเองค่ะ
-
ทีนี้เราก็น่าจะเคยได้ยินกันใช่ไหม
-
ชื่อแบบสมุดไทย สมุดไทย อะไรต่างๆ
-
เช่นเวลาที่เราไปอ่านวรรณคดีอะไรต่างๆ
-
เราก็จะเห็นว่า อะ จบเล่มสมุดไทยที่หนึ่ง
-
จบเล่มสมุดไทยที่สอง
-
เพราะว่าในสมัยต่อมาเนี่ยนะคะ
-
มันก็มีการนำเข้ากระดาษแบบฝรั่งเข้ามาค่ะ
-
และเราก็จะเรียกกระดาษแบบใหม่นี้ว่าสมุดฝรั่ง
-
ดังนั้นสมุดแบบเก่าก็เลย
-
กลายเป็นสมุดไทยไปค่ะ
-
ส่วนสมุดฝรั่งเนี่ยต่อมาก็
-
กลายมาเป็นสมุดแบบที่เราใช้ทุกวันนี้นี่แหละ
-
ดังนั้นถ้าถามว่าสมุดในความเข้าใจ
-
ของคนไทยสมัยก่อนเนี่ยคือยังไง
-
ก็ต้องบอกว่ามันคือกระดาษเป็นเล่มๆ
-
ที่เอาไว้ใช้จดบันทึก
-
หรือเอาไว้ใช้เขียนเรื่องราวต่างๆนั่นเองค่ะ
-
ก็จะมีความต่างจาก notebook นิดนึงนะ
-
คือไม่ว่าจะเป็นการก็อปปี้มาหรืออะไรก็ตาม
-
ถ้ามันมีการเขียนลงไปในหน้ากระดาษเปล่าๆเนี่ย
-
เราจะเรียกสิ่งนั้นว่าสมุดหมดเลยค่ะ
-
ในขณะที่คำว่าหนังสือของไทยเนี่ยนะคะ
-
ต้องบอกว่าถ้าไปเปิดพจนานุกรม
-
ฉบับราชบัณฑิตยสถานตอนนี้
-
จะเห็นว่าความหมายของหนังสือเนี่ยมีถึง
-
สองความหมายด้วยกันค่ะ
-
เห็นแบบนี้ไหม
-
ซึ่งปัจจุบันนี้เรามักจะใช้ความหมายที่สองเป็นหลักนะคะ
-
ก็คือหมายถึงพวกแบบปึกกระดาษเล่มๆ
-
ที่มันมีเนื้อหาพิมพ์อยู่ข้างใน ถูกไหม
-
แต่จริงๆแล้วนะคะในสมัยโบราณเนี่ย
-
ความหมายของหนังสือ
-
ค่อนข้างจะเป็นความหมายแรกมากกว่าค่ะ
-
คือหนังสือเนี่ยหมายถึง
-
เครื่องหมายที่ใช้ขีดเขียนลงไปนะคะ
-
เพื่อสื่อความหมายค่ะ
-
นั่นก็คือหนังสือในสมัยก่อนเนี่ยก็หมายถึงตัวหนังสือนั่นเองค่ะ
-
ดังนั้นเราจะเห็นร่องรอยของสิ่งนี้ได้จากคำพูดบางคำนะ
-
เช่นสมมติว่ามีใครมาพูดอะไรกับเราแบบลอยๆซักอย่างนึง
-
แล้วเราก็บอกว่าไม่ๆๆ ฉันไม่อยากฟังลอยๆ
-
ไปเขียนเป็นหนังสือมาก่อน
-
อะ ไปเขียนเป็นหนังสือมาก่อน
-
ไม่ได้แปลว่าแค่คำพูดไม่กี่คำของเขาเนี่ย
-
จะต้องไปเขียนเป็นเล่มนะคะ
-
แต่หมายความว่าจดลงมาก่อน
-
เขียนให้มันเป็นลายลักษณ์อักษร
-
หรือว่าเวลาเราพูดถึงหนังสือราชการ
-
ก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องเป็นแบบหนังสือเล่มๆ เย็บเล่มถูกไหม
-
กระดาษแผ่นเดียวที่มีตัวอักษรเนี่ย
-
ก็นับเป็นหนังสือราชการเหมือนกัน
-
เพราะว่าคอนเซ็ปต์ของคำว่าหนังสือคือ
-
ลายลักษณ์อักษรนั่นเองค่ะ
-
ซึ่งต่อมาเนี่ยนะคะโดยเฉพาะช่วงยุคของรัชกาลที่ 4
-
ก็จะเห็นว่ามันมีการพิมพ์เข้ามาในประเทศไทยถูกไหม
-
ดังนั้นเราจะเห็นสิ่งนี้จากคำว่าหนังสือพิมพ์
-
ก็คือการพิมพ์ตัวหนังสือลงไปบนกระดาษนะคะ
-
ซึ่งในสมัยต่อมาเนี่ยมันก็เหมือนกลืนกันไปเรื่อยๆ
-
ความหมายของคำว่าหนังสือเนี่ยก็เพี้ยนไปเรื่อยๆ
-
ก็เลยกลายเป็นว่าไอ้สิ่งที่พิมพ์ลงไป
-
แล้วพิมพ์ออกมาเสร็จแล้วเป็นเล่มเนี่ย
-
ก็เลยเรียกว่าหนังสือในที่สุดค่ะ
-
จะเห็นว่าความหมายของหนังสือสมัยก่อน
-
มันก็เป็นประมาณนี้นะคะ
-
ซึ่งตอนนี้เราก็รู้ความหมายของคำว่าสมุด
-
แล้วก็คำว่าหนังสือเรียบร้อยแล้วใช่ไหม
-
ทีนี้เรากลับมาที่เรื่องห้องสมุดของเราดีกว่าค่ะ
-
จะเห็นว่าในไทยเนี่ยก็คล้ายๆกับในชาติตะวันตกเลย
-
คือในสมัยก่อนที่เครื่องพิมพ์จะเข้ามาเนี่ยนะคะ
-
เวลาที่เราต้องการจะได้
-
เนื้อหาอะไรบางอย่างมาไว้กับตัวเองเนี่ย
-
มันก็จะต้องมีการคัดลอกเกิดขึ้นถูกต้องไหม
-
แล้วในไทยเราก็มีงานเขียนมา
-
ค่อนข้างจะยาวนานแล้ว
-
ก่อนที่เครื่องพิมพ์จะเข้ามาใช่ไหมคะ
-
ซึ่งงานเขียนสมัยก่อนเนี่ยส่วนมากก็จะเป็น
-
พวกคัมภีร์พระไตรปิฎก
-
เป็นวรรณกรรม เป็นตำรายา ตำราโหร
-
อะไรพวกอย่างนี้ใช่ไหม
-
และแน่นอนว่ามันก็จะต้องมีสถานที่ที่ใช้
-
จัดเก็บงานเขียนพวกนี้เข้าด้วยกันค่ะ
-
และด้วยความที่งานเขียนพวกนี้
-
เป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะมีราคาแพงมากๆ
-
เพราะว่าใช้แรงงานคนในการเขียนหนักมากๆเนี่ย
-
ดังนั้นคนที่จะเก็บพวกนี้ได้เนี่ย
-
หนึ่ง ต้องมีเงินนะคะ
-
และสอง ต้องเป็นคนที่อ่านหนังสือออกค่ะ
-
คือชาวบ้านชาวนาที่อ่านหนังสือไม่ออก
-
จะเอาหนังสือไปเก็บไว้ทำไม ก็ไม่มีประโยชน์ถูกต้องไหม
-
ดังนั้นนะคะ สถานที่ที่มีโอกาสได้เก็บงานเขียนเหล่านี้
-
ส่วนมากก็เลยจะเป็นวัดกับวังนั่นเองค่ะ
-
ซึ่งให้เรานึกภาพไปที่บ้านเรือนไทยสมัยก่อนนะคะ
-
เราเคยดูหนังกันมาหลายเรื่อง
-
เราจะเห็นว่าลักษณะของบ้านสมัยก่อนของประเทศไทยเนี่ย
-
เราไม่ได้มีลักษณะของการกั้นห้อง ถูกไหม
-
เราไม่ได้มีแบบเรือนหนึ่งหลังแล้วกั้นห้อง
-
กั้นห้องอะไรต่างๆ
-
แต่เราใช้วิธีว่าเราสร้างแบบบ้านเรือนไทยขึ้นมาหนึ่งหลัง
-
แล้วก็สร้างอีกหนึ่งหลัง หนึ่งหลัง หนึ่งหลัง
-
หนึ่งหลังคือหนึ่งห้อง
-
แล้วก็ใช้เหมือนกับว่าเป็นระเบียงบ้านอะ
-
ต่อกัน ต่อๆๆๆ ให้มันเป็นหมู่อาคาร ถูกไหม
-
ดังนั้นเวลาเราไปดูพวกบ้านเรือนไทยที่เป็นบ้านใหญ่ๆ
-
มันจะค่อนข้างเป็นหมู่อาคาร ถูกต้องไหมคะ
-
แล้วหนึ่งหลังที่เป็นหนึ่งห้องเนี่ย
-
เขาก็จะเรียกว่าหอค่ะ
-
ซึ่งเราก็จะเห็นจากคำศัพท์สมัยก่อนที่มีแบบว่า
-
ห้องไหนเอาไว้นอนก็เรียกว่าหอนอน
-
ห้องไหนเอาไว้ไหว้พระ เราก็จะเรียกว่าหอพระ
-
ถูกต้องไหม
-
สถานที่ที่เก็บสมุด
-
ในสมัยที่เราต้องไปลอกอะไรต่างๆลงมาในสมุด
-
เอามาเก็บรวบรวมกันไว้มากๆ
-
ก็เลยเรียกว่าหอสมุดนั่นเองค่ะ
-
หรือว่าในบางกรณีที่อยู่ในวัด
-
หรือว่าเป็นสถานที่ที่เอาไว้เก็บพวก
-
งานเขียนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็จะเรียกว่า
-
หอพระสมุดนะคะ
-
ทีนี้ในระยะเวลาต่อมาค่ะ
-
แน่นอนว่ามันก็มีพัฒนาการต่างๆเข้ามา
-
ความเป็นตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาในไทย
-
มีสองอย่างนะคะที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้
-
เหตุการณ์แรกก็คือ
-
การพิมพ์เข้ามาในประเทศไทยค่ะ
-
ดังนั้นจากเดิมที่เวลาต้องการเอกสารอะไรต่างๆ
-
ต้องใช้การลอกด้วยมือลงในสมุดเนี่ย
-
ก็กลายเป็นหนังสือเล่มๆที่พิมพ์ขึ้นใช่ไหมคะ
-
และแน่นอนว่าหนังสือที่พิมพ์ขึ้นมาเป็นเล่มๆ
-
จะไปเก็บที่อื่นทำไมในเมื่อ
-
มันก็มีสถานที่เก็บเอกสารอยู่แล้ว
-
ดังนั้นหนังสือเล่มๆเนี่ยก็เลย
-
ได้รับการเอามาเก็บเข้าในหอสมุดเช่นเดียวกันค่ะ
-
และอีกเรื่องนึงที่เกิดขึ้นนะคะก็คือ
-
บ้านของไทยมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปค่ะ
-
จากเดิมที่หนึ่งหอหนึ่งห้อง ถูกต้องไหม
-
หลังๆก็เริ่มมีการสร้างตึกฝรั่งบ้าง ตึกแบบจีนบ้าง
-
แล้วก็มีการกั้นห้องเกิดขึ้นค่ะ
-
ดังนั้นบางทีเนี่ยนะคะ
-
การเก็บพวกหนังสือหรือสมุดเนี่ย
-
ก็ไม่ได้เก็บในหอทั้งหอเหมือนเดิมแล้ว
-
แต่เก็บแค่ในห้องห้องเดียวค่ะ
-
จากที่เรียกว่าหอสมุดก็เลย
-
กลายเป็นห้องสมุดนั่นเองนะคะ
-
และนี่นะคะก็คือสาเหตุที่ว่า
-
ทำไมในห้องสมุดเนี่ยถึงมีแต่หนังสือ
-
ไม่ได้มีสมุดเต็มไปหมดอย่างที่ชื่อมันบอกไว้ค่ะ
-
เพราะว่าในสมัยก่อนเนี่ยเขาไว้ใช้เก็บสมุด
-
ที่เป็นการคัดลอกข้อมูลมาจริงๆ
-
ก่อนที่หนังสือจะค่อยๆเข้ามาแย่งที่
-
แย่งที่ แย่งที่ แย่งที่ แล้วก็
-
ไล่สมุดออกไปจากห้องสมุดในที่สุดค่ะ
-
ซึ่งในปัจจุบันเนี่ยนะคะ
-
ถ้าเราไปดูความหมายของห้องสมุด
-
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเนี่ย
-
ก็จะเห็นว่าจริงๆแล้วห้องสมุดเนี่ย
-
ไม่ได้มีไว้เก็บหนังสือแต่อย่างเดียวนะคะ
-
แต่ว่าความหมายนี่เขาให้ไว้แบบนี้ค่ะ
-
จะเห็นว่ามันสามารถเก็บแบบ
-
ต้นฉบับลายมือเขียนซึ่งเป็นสมุด
-
ก็ยังได้เหมือนกัน
-
เก็บไมโครฟิล์มก็ได้เหมือนกัน
-
หรือในสมัยปัจจุบันมากๆ
-
เราก็จะเห็นว่าห้องสมุดหลายๆแห่งเนี่ย
-
มีการพัฒนาออกไปนะคะ
-
ก็มีการเก็บอะไรที่
-
ไม่ใช่ทั้งสมุดและหนังสือเพิ่มขึ้น เช่น
-
ห้องสมุดดิจิตอลที่มีการเก็บไฟล์ดิจิตอลต่างๆ
-
หรือสมัยเก่าไปหน่อยก็จะมีการเก็บเทป
-
เก็บวิดีโออะไรอย่างนี้
-
เป็นสื่อโสตทัศน์ต่างๆ
-
ให้เราสามารถเข้าไปดูได้เช่นเดียวกันค่ะ
-
ดังนั้นเอาจริงๆแล้วคอนเซ็ปต์ของห้องสมุดเนี่ย
-
เราก็ไม่ต้องไปสนใจหรอกค่ะ
-
ว่าในห้องสมุดจะเก็บสมุดหรือเก็บหนังสือมากกว่ากัน
-
เพราะจริงๆแล้วคอนเซ็ปต์ของห้องสมุดก็คือ
-
การเก็บความรู้ต่างๆไว้ในห้องสมุด
-
เพื่อที่จะให้คนเข้าไปค้นหาข้อมูลความรู้นั่นเองค่ะ
-
และนี่ก็คือคำตอบที่วิวหามาให้ทุกคนในวันนี้ค่ะ
-
เป็นยังไงบ้างคะ ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้อย่าลืม
-
กดไลก์เป็นกำลังใจให้วิวแล้วก็
-
กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆมาดูด้วยกันนะคะ
-
ส่วนใครที่มีคำถามอยากถามวิวเนี่ยก็อย่าลืม
-
ติดแฮชแท็กวิวเอ๋ยบอกข้าเถิด แล้วก็
-
ส่งคำถามเข้ามาได้เลยค่ะ
-
คุณอาจจะได้รับคำตอบมาเป็นวิดีโอแบบนี้นะคะ
-
สำหรับวันนี้ลาไปก่อนแล้วกันค่ะทุกคน
-
บ๊ายบาย
-
สวัสดีค่ะ
-
เป็นไงกันบ้างคะได้คำตอบกันไปไหม
-
สำหรับเรื่องห้องสมุดกับหนังสือ
-
ก็ตอบเวิ่นเว้อนอกเรื่องไปไกลเช่นเดิมนะคะ
-
อย่าเพิ่งรำคาญที่วิวนอกเรื่องนะคะทุกคน
-
แต่ว่ารู้สึกว่ามันเป็นเกร็ดข้อมูลความรู้สนุกๆ
-
ที่อยากเอามาเล่าแล้วก็ไม่อยากตัดทิ้งค่ะ
-
สำหรับวันนี้ลาไปก่อนแล้วกันนะคะทุกคน
-
บ๊ายบาย
-
สวัสดีค่ะ