< Return to Video

เกิดอะไรขึ้นขณะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง - วายบาฟ กอสวามิ (Vaibhav Goswami)

  • 0:00 - 0:13
    ทุก ๆ สองวินาทีจะมีใครสักคนบนโลกเป็น
    โรคหลอดเลือดสมอง
  • 0:13 - 0:18
    และทุกหนึ่งในหกคนจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
    ในบางช่วงชีวิต
  • 0:18 - 0:21
    โรคหลอดเลือดสมองเกิดจาก
    การขาดออกซิเจนในเซลล์สมอง
  • 0:21 - 0:24
    และเป็นหนึ่งในสาเหตุการตาย
    ที่พบมากที่สุด
  • 0:24 - 0:27
    แล้วก็เป็นสาเหตุหลัก
    ของความพิการที่ป้องกันได้
  • 0:27 - 0:31
    เมื่อใครเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
    แล้วได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
  • 0:31 - 0:35
    มักจะช่วยให้พ้นจาก
    ความเสียหายถาวรของสมองได้
  • 0:35 - 0:38
    แต่อะไรล่ะที่เป็นสาเหตุ
    ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  • 0:38 - 0:41
    แล้วแพทย์จะรักษาพวกเขาได้อย่างไรบ้าง
  • 0:41 - 0:45
    สมองเป็นส่วนประกอบเพียง 2%
    ของมวลร่างกาย
  • 0:45 - 0:49
    แต่สมองต้องใช้ออกซิเจนในเลือดมากกว่า 20%
  • 0:49 - 0:53
    ออกซิเจนเหล่านั้นเข้าสู่สมอง
    ผ่านระบบหลอดเลือด
  • 0:53 - 0:56
    หลอดเลือดแดงคาโรติดจะหล่อเลี้ยง
    สมองส่วนหน้า
  • 0:56 - 0:59
    และหลอดเลือดแดงเวอร์ทิบรัล
    จะหล่อเลี้ยงส่วนหลัง
  • 0:59 - 1:01
    หลอดเลือดเหล่านี้จะเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน
  • 1:01 - 1:03
    และแบ่งออกเป็นหลอดเลือดที่เล็กลง
  • 1:03 - 1:07
    เพื่อให้เซลล์ประสาทหลายพันล้านเซลล์
    ได้รับออกซิเจนตามที่ต้องการ
  • 1:07 - 1:13
    หากการไหลเวียนของเลือดถูกขัดขวาง
    การส่งออกซิเจนจะชะงักและเซลล์สมองก็จะตายลง
  • 1:13 - 1:15
    โรคนี้มีอยู่สองชนิด
  • 1:15 - 1:21
    โรคหลอดเลือดสมองแตกซึ่งเกิดจาก
    หลอดเลือดแตกจนทำให้เลือดออกในสมอง
  • 1:21 - 1:24
    แต่ชนิดที่พบมากกว่า
    คือแบบที่เกิดจากเส้นเลือดอุดตัน
  • 1:24 - 1:29
    เมื่อลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือด
    จะทำให้การไหลเวียนเลือดหยุดชะงัก
  • 1:29 - 1:31
    ลิ่มเลือดนี้มาจากไหนกัน
  • 1:31 - 1:34
    แบบที่เกิดน้อยนั้น จังหวะ
    การเต้นของหัวใจเปลี่ยนฉับพลัน
  • 1:34 - 1:38
    จะทำให้หัวใจห้องบนบีบตัวผิดปกติ
  • 1:38 - 1:40
    ทำให้การไหลเวียนเลือดช้าลง
  • 1:40 - 1:45
    จนเกล็ดเลือด ลิ่มเลือด
    และไฟบริน เกาะติดกัน
  • 1:45 - 1:47
    ลิ่มเลือดอาจถูกพัดพา
  • 1:47 - 1:51
    ไปตามหลอดเลือดใหญ่
    และเส้นเลือดรองที่เลี้ยงสมอง
  • 1:51 - 1:54
    จนถึงจุดหนึ่ง
    ที่ไม่สามารถแทรกผ่านต่อไปได้
  • 1:54 - 1:56
    เช่นนี้เรียกว่า ภาวะอุดตันของเส้นเลือด
  • 1:56 - 2:01
    โดยจะหยุดออกซิเจน
    ไม่ให้ไปหล่อเลี้ยงเซลล์ในส่วนที่เหลือ
  • 2:01 - 2:06
    สมองไม่มีตัวรับความเจ็บปวด
    เราจึงไม่รู้สึกว่ามีการอุดตัน
  • 2:06 - 2:09
    แต่การขาดออกซิเจนทำให้
    การทำงานของสมองช้าลง
  • 2:09 - 2:12
    และเกิดผลกระทบเฉียบพลันที่สังเกตได้
  • 2:12 - 2:16
    เช่น ถ้าส่วนที่ได้รับผลกระทบ
    เกี่ยวกับการพูด
  • 2:16 - 2:19
    บุคคลนั้นอาจพูดไม่ชัด
  • 2:19 - 2:22
    ถ้าโรคหลอดเลือดสมองกระทบกับสมอง
    ส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ
  • 2:22 - 2:27
    มันสามารถทำให้เกิดอาการอ่อนแรง
    ซึ่งมักเป็นกับซีกหนึ่งของร่างกาย
  • 2:27 - 2:30
    เมื่อเกิดอาการนี้ขึ้น
    ร่างกายก็จะพยายามชดเชยทันที
  • 2:30 - 2:33
    ด้วยการเปลี่ยนการไหลเวียนของเลือด
    ไปยังส่วนที่ได้รับผลกระทบ
  • 2:33 - 2:36
    แต่สิ่งนี้ก็ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
  • 2:36 - 2:40
    ในที่สุด เซลล์ที่ขาดออกซิเจนก็จะเริ่มตาย
  • 2:40 - 2:44
    ทำให้สมองเสียหาย
    ที่อาจจะรุนแรงหรือถาวร
  • 2:44 - 2:48
    จึงเป็นเรื่องจำเป็นต้องรีบรักษา
    ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • 2:48 - 2:51
    การรักษาขั้นแรกคือ
    การให้ยาทางเส้นเลือดดำ
  • 2:51 - 2:54
    เรียกว่า การให้ยาสลายลิ่มเลือด
  • 2:54 - 2:56
    ซึ่งสามารถสลายลิ่มเลือด
  • 2:56 - 3:00
    และช่วยให้เลือดไหลเวียน
    ในหลอดเลือดแดงได้อีกครั้ง
  • 3:00 - 3:02
    ถ้าให้ยาภายในเวลาสองสามชั่วโมง
  • 3:02 - 3:05
    การรักษานี้จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต
    จากโรคหลอดเลือดสมองได้มากขึ้น
  • 3:05 - 3:08
    และสามารถหลีกเลี่ยง
    ความเสียหายแบบถาวร
  • 3:08 - 3:12
    หากไม่สามารถให้ยาสลายลิ่มเลือด
  • 3:12 - 3:14
    เพราะผู้ป่วยได้รับการรักษาบางอย่างอยู่
  • 3:14 - 3:16
    มีประวัติเลือดออกมาก
  • 3:16 - 3:18
    หรือลิ่มเลือดนั้นใหญ่มาก
  • 3:18 - 3:24
    แพทย์สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด
    กำจัดลิ่มเลือดด้วยการใส่ขดลวด
  • 3:24 - 3:29
    การใช้สารเรืองแสงที่ช่วยให้เห็นเส้นเลือด
    ภายใต้เอกซเรย์ความเข้มสูง
  • 3:29 - 3:33
    แพทย์จะสอดหลอดที่มีลักษณะยาว บาง
    ยืดหยุ่นเข้าไป ซึ่งเรียกว่า หลอดสวน
  • 3:33 - 3:35
    เข้าไปในเส้นเลือดที่ขา
  • 3:35 - 3:39
    และค่อย ๆ ดันเข้าไปจนถึง
    บริเวณที่มีการอุดตัน
  • 3:39 - 3:41
    ตัวเก็บลิ่มเลือดจะถูกสอดผ่านหลอดสวนนี้
  • 3:41 - 3:46
    ซึ่งจะช่วยขยายและจับลิ่มเลือด
    เมื่อสอดผ่านเข้าไป
  • 3:46 - 3:51
    จากนั้น หลอดสวนก็จะดึงเอาลิ่มเลือดออกมา
  • 3:51 - 3:54
    การรักษาเหล่านี้จำเป็นต้อง
    ทำให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
  • 3:54 - 3:55
    เพื่อรักษาการทำงานของสมองไว้
  • 3:55 - 4:00
    ซึ่งหมายถึง ต้องคิดแก้ไขให้เร็ว
    ถ้าหากมีใครกำลังเป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่
  • 4:00 - 4:01
    แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไร
  • 4:01 - 4:04
    นี่คือสามวิธีเร่งด่วนเพื่อทดสอบ
  • 4:04 - 4:07
    1. ขอให้ผู้นั้นยิ้ม
  • 4:07 - 4:11
    อาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวห้อยต่ำลง
    สามารถบ่งชี้ได้ว่ากล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • 4:11 - 4:14
    2. ขอให้คนผู้นั้นลองยกแขน
  • 4:14 - 4:20
    ถ้าแขนข้างหนึ่งอ่อนแรงห้อยกองลงไป
    เป็นสัญญาณหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมองเช่นกัน
  • 4:20 - 4:24
    3. ขอให้พวกเขาพูดตาม
    เป็นคำหรือวลีง่าย ๆ
  • 4:24 - 4:27
    ถ้าเสียงพูดไม่ชัดหรือเสียงแปลกไป
  • 4:27 - 4:31
    มันอาจหมายถึง สมองด้านภาษาขาดออกซิเจน
  • 4:31 - 4:37
    การทดสอบนี้ บางทีจะเรียกว่า FAST
    และ T ย่อมาจากคำว่า time (เวลา)
  • 4:37 - 4:42
    หากเราพบใครที่มีสัญญาณของอาการเหล่านี้
    ให้เรียกหน่วยพยาบาลฉุกเฉินทันที
  • 4:42 - 4:46
    ชีวิตผู้คนขึ้นอยู่กับสิ่งนี้
Title:
เกิดอะไรขึ้นขณะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง - วายบาฟ กอสวามิ (Vaibhav Goswami)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่ : https://ed.ted.com/lessons/what-happens-during-a-stroke-vaibhav-goswami

ทุกสองวินาทีจะมีบางคนบนโลกเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง และทุกหนึ่งในหกคนจะมีอาการของโรคในบางช่วงของชีวิต โรคหลอดเลือดสมองจะปิดกั้นเซลล์สมองไม่ให้ได้รับออกซิเจน และเป็นหนึ่งในสาเหตุการตายที่พบมากสุด แล้วยังเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการที่ป้องกันได้ แล้วอะไรคือสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง และแพทย์สามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อรักษาพวกเขา วายบาฟ กอสวามิ จะพาเราไปค้นหาคำตอบ

บทเรียนโดย วายบาฟ กอสวามิ ภาพเคลื่อนไหวโดย Artrake Studio

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:00
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for What happens during a stroke? - Vaibhav Goswami
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for What happens during a stroke? - Vaibhav Goswami
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for What happens during a stroke? - Vaibhav Goswami
Napakcha P. Dutta accepted Thai subtitles for What happens during a stroke? - Vaibhav Goswami
Napakcha P. Dutta declined Thai subtitles for What happens during a stroke? - Vaibhav Goswami
Napakcha P. Dutta declined Thai subtitles for What happens during a stroke? - Vaibhav Goswami
Napakcha P. Dutta edited Thai subtitles for What happens during a stroke? - Vaibhav Goswami
Sakunphat Jirawuthitanant rejected Thai subtitles for What happens during a stroke? - Vaibhav Goswami
Show all

Thai subtitles

Revisions