< Return to Video

ถอดรหัส 'ยันต์' เขียนว่าอะไร? | Point of View

  • 0:00 - 0:04
    เคยสงสัยกันไหมคะว่า
    ยันต์ที่เขาเขียนๆกันลงในผ้า ลงในกระดาษ
  • 0:04 - 0:06
    หรือว่าที่เขาเอามาสักตามตัวกันเนี่ย
  • 0:06 - 0:08
    มันเขียนว่าอะไร มีความหมายว่ายังไง
  • 0:08 - 0:10
    สวัสดีค่ะ วิวจากช่องยูทูบ Point of View ค่ะ
  • 0:10 - 0:13
    วันนี้จะมาอ่านยันต์ให้ฟังค่ะ
  • 0:14 - 0:17
    อาจจะแปลกใจนิดนึงว่าแบบเฮ้ยพี่
    พี่ไปอ่านยันต์ออกได้ยังไง อะไรยังไง
  • 0:17 - 0:21
    ก็ต้องเท้าความย้อนกลับไปถึงประวัติชีวิต
    ตัวเองก่อนเล็กน้อยนะคะ
  • 0:21 - 0:24
    คือ ยันต์ทั้งหลายทั้งแหล่มันเขียนด้วยตัวอักษรขอมหวัด
  • 0:24 - 0:28
    พูดง่ายๆว่าเป็นอักษรเขมรโบราณ
    ที่ไทยรับมาแล้วก็มาประยุกต์เล็กๆน้อยๆค่ะ
  • 0:28 - 0:30
    ซึ่งในสมัยที่เรียนคณะอักษรศาสตร์นะคะ
  • 0:30 - 0:32
    วิวเคยเรียนวิชาภาษาเขมรอยู่ค่ะ
  • 0:32 - 0:35
    แม้ว่าปัจจุบันจะละลายหายสิ้นไปหมดแล้วก็ตามนะ
  • 0:35 - 0:40
    แต่ว่ามันมีวิชาอีกวิชานึงค่ะ
    ชื่อว่าวิชาภาษาเขมรที่สัมพันธ์กับภาษาไทย
  • 0:40 - 0:44
    และในวิชานี้นะคะ ตอนจบเทอมเนี่ย
    เขาจะมีให้ทำรายงานหนึ่งชิ้น
  • 0:44 - 0:46
    เป็นเปเปอร์ หรือเขาเรียกว่าภาคนิพนธ์น่ะแหละ
  • 0:46 - 0:49
    ตอนนั้นวิวทำเรื่องเกี่ยวกับการอ่านยันต์นี่แหละค่ะ
  • 0:49 - 0:51
    ว่ายันต์ต่างๆเนี่ยมันหมายความว่ายังไง
  • 0:51 - 0:53
    ดังนั้นหลังจากเรียนจบมาเนิ่นนานนะคะ
  • 0:53 - 0:56
    วิวก็ดองรายงานฉบับนี้ไว้โดยที่ไม่ได้พูดอะไรให้ใครฟังอีก
  • 0:56 - 0:58
    แต่ว่าพอมาเล่าให้เพื่อนฟัง ว่าเฮ้ยรู้ป้ะ
  • 0:58 - 1:01
    ตอนมหาลัยเนี่ย ชั้นทำรายงานเรื่องนี้นะ
  • 1:01 - 1:03
    ทุกคนก็ดูจะอยากรู้กันค่ะว่าเฮ้ย
  • 1:03 - 1:04
    จริงๆแล้วยันต์มันเขียนว่าอะไร อะไรอย่างเงี้ย
  • 1:04 - 1:08
    ก็เลยคิดว่าอะไหนๆก็ไหนๆ
    มาลองอ่านยันต์ให้ฟังกันดีกว่าค่ะ
  • 1:08 - 1:11
    เผื่อเราจะเข้าใจยันต์ที่เขาอธิบายๆกันมากขึ้นนะ
  • 1:11 - 1:14
    โดยวันนี้นะคะวิวจะไม่ได้อ่านยันต์ทุกประเภทให้ทุกคนฟัง
  • 1:14 - 1:17
    เพราะว่ายันต์ก็มีหลากหลายมากมายเต็มไปหมดนะ
  • 1:17 - 1:19
    แต่จะอ่านแค่สามแบบให้ดูค่ะ
  • 1:19 - 1:22
    แบบแรกก็คือ ยันต์ที่เขาเรียกว่า ยันต์มหาอุตม์
  • 1:24 - 1:26
    อ่า เคยดูหนังเรื่องมหาอุตม์ใช่ไหมคะ นั่นแหละค่ะ
  • 1:26 - 1:29
    ส่วนประเภทที่สองนะคะก็เป็นยันต์ที่ค่อนข้างฮิตเหมือนกัน
  • 1:29 - 1:30
    เรียกว่ายันต์เก้ายอด
  • 1:31 - 1:34
    ส่วนประเภทที่สามนะคะเป็นยันต์ประเภทที่ฮิตที่สุดเลย
  • 1:34 - 1:36
    ก็คือยันต์ห้าแถวนั่นเอง
  • 1:37 - 1:39
    ที่ดารงดาราสักกันนั่นล่ะค่ะ
  • 1:39 - 1:42
    ถ้าสนใจแล้วก็ไปฟังกันเลยดีกว่าค่ะ
  • 1:46 - 1:47
    ต้องบอกก่อนนะคะว่ายันต์พวกนี้
  • 1:47 - 1:50
    ส่วนมากจะเขียนด้วยตัวอักษรขอม
  • 1:50 - 1:52
    แต่ว่าสิ่งที่เขียนเนี่ยจะไม่ใช่ภาษาไทย จะไม่ใช่แบบว่า
  • 1:52 - 1:55
    สวัสดี ขอจงมีความสุข อะไรอย่างเงี้ย ไม่ใช่
  • 1:55 - 1:57
    เขาจะเขียนเป็นภาษาบาลีค่ะ
  • 1:57 - 2:00
    คือที่เราเคยสวดมนต์ภาษาบาลีกัน
    แบบนะโมตัสสะอะไรอย่างเงี้ย
  • 2:00 - 2:02
    นั่นแหละค่ะ เค้าจะเขียนเป็นภาษาแบบนั้น
  • 2:02 - 2:04
    ซึ่งแปลว่าการที่เราจะแปลยันต์ออกนะคะ
  • 2:04 - 2:07
    เราจะต้องแปลตัวอักษรขอมเนี่ยออกเป็นภาษาบาลีก่อน
  • 2:07 - 2:09
    แล้วที่สำคัญนะคะ พวกภาษาบาลีพวกเนี้ย
  • 2:09 - 2:12
    เขาก็ไม่ได้เขียนตรงๆ
    ไม่ใช่แบบนะโมตัสสะภะคะวะโต อะไรยังงี้นะ
  • 2:12 - 2:14
    แต่ว่าเขาจะเขียนเป็นตัวอักษรย่ออีก
  • 2:14 - 2:16
    คือนึกออกไหม ยันต์มันมีแค่เนี้ย กลมๆเล็กๆ
  • 2:16 - 2:20
    จะให้มาเขียนบทสวดทั้งหมดอะไรยังงี้
    มันก็ยาวไป ไม่โอเคนะคะ
  • 2:20 - 2:22
    ดังนั้นเขาก็เลยเขียนเป็นตัวอักษรย่ออีกทีนึงค่ะ
  • 2:22 - 2:23
    ดูวิชาการจังเลยอะ
  • 2:23 - 2:25
    เรามาเริ่มที่ยันต์ประเภทที่หนึ่งกันเลยดีกว่าค่ะ
  • 2:25 - 2:28
    ประเภทที่หนึ่งนะคะก็คือ ยันต์มหาอุตม์นั่นเอง
  • 2:28 - 2:31
    ซึ่งยันต์มหาอุตม์เนี่ยนะคะ
    ตัวอักษรขอมเนี่ยเขาเขียนเอาไว้ว่า
  • 2:31 - 2:33
    นะโม พุทธายะ อิ สวา สุ
  • 2:33 - 2:36
    อะ คำประโยคนี้ ประโยคนี้คืออะไร
  • 2:36 - 2:38
    นะโมนะคะ ก็คือนะโมนั่นแหละ นะโมตัสสะ
  • 2:38 - 2:40
    หมายถึงความนอบน้อม ขอนอบน้อมนะคะ
  • 2:40 - 2:42
    พุทธายะนี่ก็หมายถึงพระพุทธเจ้า
  • 2:42 - 2:44
    ดังนั้นนะโม พุทธายะจึงหมายถึงว่า
  • 2:44 - 2:47
    ข้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า นะจ๊ะ
  • 2:47 - 2:50
    ส่วน อิ สวา สุ เนี่ย
    เป็นคำย่อของบทสวดมนต์ที่เราคุ้นเคยกันดีค่ะ
  • 2:50 - 2:51
    อิคืออะไร
  • 2:51 - 2:54
    อิคือ อิติปิ โส ภะคะวา
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
  • 2:54 - 2:56
    วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
  • 2:56 - 2:57
    อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ
  • 2:57 - 2:59
    นั่นล่ะค่ะบทที่เราคุ้นเคยกัน
  • 2:59 - 3:01
    ก็คือบทบูชาพระพุทธเจ้านั่นเอง
  • 3:01 - 3:04
    พอรู้อิแล้วก็น่าจะรู้สะนะ ว่าสะมาจากไหน
  • 3:04 - 3:08
    สะก็มาจากสวากขาโต
    ภะคะวะตา ธัมโม...นั่นแหละค่ะบทนั้นเลย
  • 3:08 - 3:09
    แล้วสุล่ะมาจากไหน
  • 3:09 - 3:11
    สุก็คือ สุปะฏิปันโน สาวะกะสังโฆ
  • 3:11 - 3:13
    บลาๆๆ เช่นเดียวกัน
  • 3:13 - 3:16
    ดังนั้นยันต์มหาอุตม์คืออะไร ยันต์มหาอุตม์คือบอกว่า
  • 3:16 - 3:18
    ข้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า เสร็จแล้วก็สรรเสริญ
  • 3:18 - 3:21
    คุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม แล้วก็พระสงฆ์นั่นเอง
  • 3:21 - 3:24
    อะ นี่ก็คือยันต์แรกนะคะ คือยันต์มหาอุตม์
  • 3:24 - 3:25
    ถัดไปค่ะ ยันต์เก้ายอด
  • 3:25 - 3:27
    อันนี้จะตัวอักษรเยอะนิดนึง
  • 3:27 - 3:29
    ถามว่าเขาเขียนว่าอะไร ค่อนข้างยาวเลยทีเดียว
  • 3:29 - 3:33
    เขาเขียนไว้ว่า อะสังวิสุ โลปุสะพุภะ สังวิทาปุกะยะปะ
  • 3:33 - 3:36
    นะโมพุทธายะ มะอะอุ อะระหัง
  • 3:36 - 3:40
    โอ้ ยาวมากกก นี่คืออะไร นี่มาสอนวิชาภาษาบาลีหรือยังไง
  • 3:40 - 3:42
    บอกก่อนนะคะว่าตัวเองไม่ได้เชี่ยวชาญภาษาบาลี
  • 3:42 - 3:45
    เอาเป็นว่าแปลแทบไม่ออกเลยดีกว่า ตอนทำรายงานก็
  • 3:45 - 3:46
    ค้นข้อมูลเยอะพอสมควรนะคะ
  • 3:46 - 3:47
    ดังนั้นอย่าถามมากกว่านี้
  • 3:47 - 3:49
    หรือเอายันต์อื่นมาให้อ่าน ลืมไปหมดแล้ว
  • 3:49 - 3:52
    ทีนี้ถามว่าประโยคเมื่อกี้ที่พูดมาเนี่ยแปลว่าอะไร
  • 3:52 - 3:56
    คำว่าอะสังวิสุ โลปุสะพุภะเนี่ย เขาหมายถึง
  • 3:56 - 3:57
    อะแรกหมายถึง พระอะระหัง
  • 3:57 - 3:59
    ส่วนสังเนี่ยหมายถึง สัมมาสัมพุทโธ
  • 3:59 - 4:02
    คือใช้คำว่า สัง แทน สัม นั่นเองนะคะ
  • 4:02 - 4:04
    แล้วก็วิหมายถึง วิชชาจะระณะสัมปันโน
  • 4:04 - 4:07
    สุก็คือสุคะโต โลคือโลกะวิทู
  • 4:07 - 4:10
    ดังนั้นอะสังวิสุ โลปุสะพุภะก็คือ
  • 4:10 - 4:13
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน บลาๆ
  • 4:13 - 4:15
    เหมือนเมื่อกี้เป๊ะเลยนะคะ ดังนั้นก็คือการ
  • 4:15 - 4:17
    บูชาพระพุทธเจ้านั่นแหละนะ
  • 4:17 - 4:19
    ส่วนประโยคถัดไปนะคะที่เขาบอกว่า
  • 4:19 - 4:22
    สังวิทาปุกะยะปะ อันนี้เป็นชื่อย่อคัมภีร์
  • 4:22 - 4:24
    เป็นคัมภีร์อภิธรรมเจ็ดพระคัมภีร์นะคะ
  • 4:24 - 4:26
    ก็...ก็ช่างมันเหอะ ชื่อมันยาวน่ะนะ
  • 4:26 - 4:29
    เอาเป็นว่าเป็นการพูดถึง
    พระคัมภีร์อภิธรรมต่างๆนานานะ
  • 4:29 - 4:31
    มะอะอุ นะคะ อันนี้คือ
  • 4:31 - 4:34
    มะ เนี่ยนะคะหมายถึง มะนุสสานังพุทโธภะคะวาติ
  • 4:34 - 4:35
    เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้านะคะ
  • 4:35 - 4:37
    ส่วนอะเนี่ย มาจากอะกาลิโกเอหิปัสสิโก
  • 4:37 - 4:39
    ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรม คือพระธรรมเนี่ย
  • 4:39 - 4:41
    อยู่เหนือกาลเวลานั่นเองนะคะ
  • 4:41 - 4:43
    ส่วนสุดท้ายนะคะ อุ
    พระพุทธ พระธรรมมาแล้ว
  • 4:43 - 4:45
    ก็น่าจะเดาได้ว่าอุหมายถึงพระสงฆ์ค่ะ
  • 4:45 - 4:49
    ก็คืออุชุปะฏิปันโน สาวะกะสังโฆนั่นเองนะคะ
  • 4:49 - 4:52
    ก็คือเป็นแบบพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี
    ปฏิบัติชอบ ทำนองนี้นะ
  • 4:52 - 4:53
    ก็เลยหมายถึงว่า
  • 4:53 - 4:57
    ข้าขอสรรเสริญพระพุทธเจ้า
    ชั้นจำพระอภิธรรมทั้งเจ็ดได้
  • 4:57 - 4:59
    แล้วก็ขอบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั่นเองค่ะ
  • 4:59 - 5:03
    ส่วนยันต์แบบสุดท้ายที่เราจะมา
    อ่านให้ฟังในวันนี้นะคะ ก็คือยันต์ห้าแถว
  • 5:03 - 5:05
    อันนี้จะเป็นอันที่หลายคนคุ้นเคยกันนิดนึงนะ
  • 5:05 - 5:08
    ยันต์ห้าแถว หรือที่เรียกว่ายันต์ห้าแถวหนุนดวง
  • 5:08 - 5:11
    ยันต์โภคทรัพย์ห้าแถวอะไรอย่างเงี้ย เขียนว่าอะไร
  • 5:11 - 5:13
    ต้องบอกว่าถึงจะมีห้าแถวก็ตามแต่มันเป็นการเล่นคำค่ะ
  • 5:13 - 5:17
    คือมันเขียนประโยคเดียวกันแหละ
    มันแค่สลับตัวกันไปเรื่อยๆๆ
  • 5:17 - 5:18
    ดังนั้นมีแค่ประโยคเดียวเท่านั้น
  • 5:18 - 5:21
    ซึ่งประโยคดังกล่าวนะคะเขียนว่า นะโมพุทธายะนะเมติ
  • 5:21 - 5:23
    ซึ่งอันนี้ก็หมายความว่า
  • 5:23 - 5:26
    ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระพุทธเจ้า นั่นเอง
  • 5:26 - 5:30
    สรุป ยันต์ทุกชนิดที่ยกขึ้นมา ยันต์ส่วนมากที่พระเขียนๆให้
  • 5:30 - 5:32
    ยันต์ส่วนมากที่พระเอามาสักให้เราเนี่ยนะ
  • 5:32 - 5:34
    ความหมายแทบจะเหมือนกันหมดเลย ก็คือ
  • 5:34 - 5:36
    ข้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า
  • 5:36 - 5:37
    พระพุทธเจ้าเจ๋งมาก
  • 5:37 - 5:40
    ขอบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
  • 5:40 - 5:43
    ข้าจำบทสวดมนต์ได้
  • 5:43 - 5:45
    ถามว่าแล้วที่แปลความหมายกันว่าแบบ
  • 5:45 - 5:47
    อันนี้ช่วยให้กันภัย
  • 5:47 - 5:50
    อันนั้นช่วยให้รักษาโรคนู่นนี่นั่นแล้วมันทำไมเหรอ
  • 5:50 - 5:52
    คือ อันนี้เป็นการตีความเองนะคะ
  • 5:52 - 5:55
    ว่าการที่เราบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเนี่ย
  • 5:55 - 5:58
    ก็เป็นเหมือนกับว่า อ๋อ ขอให้พระพุทธเจ้าดูแลเรานะจ๊ะ
  • 5:58 - 6:00
    ชั้นบูชาพระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าแล้ว
  • 6:00 - 6:02
    ขอให้พระพุทธเจ้าดูแลรักษาเราด้วย
  • 6:02 - 6:03
    ก็เป็นทำนองนี้ค่ะ
  • 6:03 - 6:05
    คลิปนี้จะซีเรียสนิดนึงนะคะ
  • 6:05 - 6:07
    เนื้อหาค่อนข้างเป็นวิชาการ
    เพราะมันไม่ใช่เรื่องเล่าอะไรนึกออกไหม
  • 6:07 - 6:10
    แต่ว่าคิดว่าเป็นเรื่องที่หลายคนน่าจะสนใจ
  • 6:10 - 6:13
    แล้วก็น่าจะหาข้อมูลเองค่อนข้างยาก
  • 6:13 - 6:15
    เพราะว่าตอนที่ทำรายงานก็หาข้อมูลค่อนข้างยากอะนะ
  • 6:15 - 6:18
    ก็เลยอยากมาแชร์ให้ทุกคนได้ฟังค่ะ
  • 6:18 - 6:21
    ถ้าชื่นชอบคลิปนี้ยังไงนะคะ อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังให้วิวนะคะ
  • 6:21 - 6:23
    แล้วก็กดแชร์ เพื่อชวนเพื่อนๆมาดูด้วยกันค่ะ
  • 6:23 - 6:27
    ไม่อยากพลาดคลิปวิดิโอใหม่ๆนะคะ
    อย่าลืมกด subscribe และกดปุ่มกระดิ่งเล็กๆข้างๆค่ะ
  • 6:27 - 6:30
    มันจะได้แจ้งเตือนทุกครั้งที่วิวอัพคลิปวิดิโอเลย
  • 6:30 - 6:33
    แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้านะคะ บ๊ายบาย สวัสดีค่า
  • 6:33 - 6:35
    อาจจะข้อมูลไม่เป๊ะนิดนึงนะ เพราะว่า...
  • 6:35 - 6:40
    ก็อย่างที่บอก เวลาผ่านมาเนิ่นนานแล้ว
    นับตั้งแต่การทำรายงานฉบับนั้นในสมัยปีสี่
  • 6:40 - 6:42
    แต่ว่าก็เป็นเรื่องที่สนุกนะ
  • 6:42 - 6:44
    การที่เราเห็นอะไรมาตั้งแต่เด็กแล้วเราไม่เคยอ่านอะ
  • 6:44 - 6:48
    แล้วก็แบบอยู่ดีๆก็ลองมานั่งอ่านดู
    แล้วก็ Oh! my gosh อะไรยังงี้
  • 6:48 - 6:52
    อยากสนับสนุนน้องๆทั้งหลายนะคะ
    ที่จะต้องทำรายงานวิชาอะไรก็ตาม
  • 6:52 - 6:57
    แล้วครูอนุญาตว่าให้เลือกทำเรื่องอะไรก็ได้ในวิชานั้นนะ
  • 6:57 - 7:01
    อย่าไปทำเลยเรื่องง่ายๆอะ
    เลือกทำเรื่องที่เราอยากรู้น่าจะดีที่สุดค่ะ
  • 7:01 - 7:03
    เพราะมันจะทำให้เราสนุกสนานกับรายงานฉบับนั้น
  • 7:03 - 7:05
    แล้วเราก็จะจำมันไปอีกนานแสนนาน
  • 7:05 - 7:08
    ดีกว่าไปทำเรื่องที่แบบ เออ ให้ง่ายๆให้มันส่งๆไปนะ
  • 7:08 - 7:11
    แล้วเราก็จะลืม เราก็จะไม่ได้อะไรจากรายงานฉบับนั้นเลยนะคะ
  • 7:11 - 7:14
    อย่างเล่มนี้ก็เป็นเล่มที่ถือว่าเลือกเรื่องที่ยากพอสมควร
  • 7:14 - 7:17
    แต่ว่าก็ไม่เสียใจเลยที่ทำนะ เพราะเป็นเรื่องที่คาใจอะ
  • 7:17 - 7:22
    คือตอนเรียนวิชานี้ จะให้ไปนั่งแปลชื่อผลมงผลไม้
    ที่มาจากภาษาเขมรไรงี้มันก็แบบ
  • 7:22 - 7:25
    ไม่อยากรู้เรื่องผลไม้อะ อยากรู้เรื่องนี้ อะไรยังงี้นะคะ
  • 7:25 - 7:27
    ก็สนุกสนานกันไปนะคะ
Title:
ถอดรหัส 'ยันต์' เขียนว่าอะไร? | Point of View
Description:

more » « less
Duration:
07:26

Thai subtitles

Revisions