< Return to Video

ตอนนี้การตัดแปลงยีนสามารถเปลี่ยนสิ่งมีชีวิตได้ทั้งสายพันธุ์ -- ไปตลอดกาล

  • 0:01 - 0:03
    การบรรยายนี้เกี่ยวกับ
    การขับเคลื่อนยีน (gene drives)
  • 0:03 - 0:06
    แต่ฉันจะเริ่มต้น
    โดยการเล่าเรื่องสั้น ๆ ให้คุณฟัง
  • 0:07 - 0:10
    20 ปีก่อน นักชีววิทยา
    ชื่อว่า แอนโทนี เจมส์
  • 0:10 - 0:12
    ง่วนอยู่กับความคิด
    เกี่ยวกับการทำให้ยุง
  • 0:12 - 0:15
    ไม่สามารถเป็นพาหะโรคมาลาเรียได้
  • 0:16 - 0:20
    มันเป็นแนวคิดที่ยอดเยี่ยม
    และล้มเหลวไม่มากก็น้อย
  • 0:21 - 0:23
    แต่จะว่าไป มันยากมาก ๆ
  • 0:23 - 0:25
    ที่จะสร้างยุงที่ต้านมาลาเรียได้
  • 0:26 - 0:30
    เจมส์ทำสำเร็จในที่สุด
    ในเวลาเพียงไม่กี่ปี
  • 0:30 - 0:32
    โดยการเติมยีนที่ทำให้มันเป็นไปไม่ได้
  • 0:32 - 0:35
    ที่มาลาเรียพาราไซต์จะมีชีวิตรอด
    อยู่ภายในตัวยุง
  • 0:36 - 0:37
    แต่นั่นสร้างปัญหาขึ้นมาอีกอย่าง
  • 0:38 - 0:41
    ตอนนี้ คุณมียุงที่ต้านมาลาเรีย
  • 0:41 - 0:44
    คุณจะเอามันไปแทนที่
    ยุงอื่น ๆ ที่มีเชื้อมาลาเรียได้อย่างไร
  • 0:46 - 0:48
    มันมีสองสามความคิดเห็น
  • 0:48 - 0:50
    แต่แผนแรกก็คือ ผสมพันธุ์
  • 0:50 - 0:53
    ยุงแบบใหม่
    ที่มีผ่านกระบวนการพันธุวิศวกรรม
  • 0:53 - 0:54
    ปล่อยมันออกไปในธรรมชาติ
  • 0:54 - 0:56
    และหวังว่าพวกมันจะส่งต่อยีน
  • 0:57 - 0:59
    ปัญหาก็คือคุณจะต้องปล่อยยุง
  • 0:59 - 1:03
    10 เท่าของจำนวนยุงที่มีอยู่เดิม
    มันจึงจะสำเร็จ
  • 1:03 - 1:05
    ฉะนั้น ในหมู่บ้านที่มียุง 10,000 ตัว
  • 1:05 - 1:07
    คุณปล่อยยุงไปอีก 100,000 ตัว
  • 1:08 - 1:09
    อย่างที่คุณคงเดาได้
  • 1:09 - 1:12
    นี่คงจะไม่ใช่แผนการที่ดีต่อชาวบ้านแน่
  • 1:12 - 1:13
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:15 - 1:19
    จากนั้น เดือนมกราคมปีที่แล้ว
    แอนโทนี เจมส์ ได้รับจดหมาย
  • 1:19 - 1:21
    จากนักชีววิทยาชื่อว่า อีธาน ไบเออร์
  • 1:21 - 1:24
    ไบเออร์ กล่าวว่าเขาและ
    วาเลนติโน แกนทซ์ นักเรียนของเขา
  • 1:24 - 1:27
    ได้พบเข้ากับอุปกรณ์
    ที่ไม่เพียงแต่จะรับรอง
  • 1:27 - 1:30
    ว่าลักษณะยีนจำเพาะจะถูกส่งต่อไป
  • 1:30 - 1:32
    แต่ว่ามันยังจะถูกแพร่กระจายออกไป
    อย่างรวดเร็วมาก
  • 1:33 - 1:35
    ถ้าหากพวกเขาถูก มันจะแก้ปัญหา
  • 1:35 - 1:38
    ที่เขาและเจมส์พยายามแก้กันมา
    เป็นเวลา 20 ปีได้จริง ๆ
  • 1:38 - 1:43
    ในการทดลอง พวกเขาตัดต่อยีนยุงสองตัว
    ที่มียีนต้านมาลาเรีย
  • 1:43 - 1:45
    และมีการขับเคลื่อนยีน
    ซึ่งเป็นอุปกรณ์ใหม่นี้
  • 1:45 - 1:47
    ซึ่งฉันจะอธิบายให้ฟังต่อไปนะคะ
  • 1:48 - 1:50
    ในที่สุด พวกเขาก็ได้ดำเนินการ
    เพื่อที่ว่ายุงตัวใดก็ตาม
  • 1:50 - 1:52
    ที่ได้รับยีนต้านมาลาเรีย
  • 1:52 - 1:56
    จะไม่มีตาสีขาวที่เป็นลักษณะปกติ
    แต่จะมีตาสีแดงแทน
  • 1:57 - 1:59
    นั่นก็เพื่อความสะดวกในการบ่งบอก
  • 1:59 - 2:01
    ว่ายุงตัวไหนเป็นแบบไหน
    ได้เพียงแค่มองดู
  • 2:02 - 2:05
    ฉะนั้น พวกเขานำเอายุงต้านมาลาเรียสองตัว
    ที่มีตาสีแดง
  • 2:05 - 2:08
    จับมันเข้าไปในกล่อง
    ที่มียุงปกติตาสีขาว 30 ตัว
  • 2:08 - 2:09
    และให้พวกมันผสมพันธุ์กัน
  • 2:09 - 2:13
    ในสองรุ่น พวกมันเหล่านั้น
    ให้ลูกหลานมา 3,800 ตัว
  • 2:14 - 2:16
    นั่นไม่ใช่ส่วนที่น่าตื่นเต้นอะไร
  • 2:17 - 2:19
    นี่ต่างหากที่น่าตื่นเต้น
  • 2:19 - 2:22
    เริ่มจากยุงตาสีแดงเพียงสองตัว
  • 2:22 - 2:23
    และยุงตาสีขาว 30 ตัว
  • 2:23 - 2:26
    คุณคาดว่าลูกหลานของมันส่วนใหญ่
    จะมีตาสีขาว
  • 2:27 - 2:30
    แต่ทว่า เมื่อเจมส์เปิดกล่องออกดู
  • 2:30 - 2:33
    ยุงทั้งหมด 3,800 ตัวมีตาสีแดง
  • 2:33 - 2:35
    เมื่อฉันถาม อีธาน ไบเออร์ ถึงวินาทีนั้น
  • 2:35 - 2:39
    เขาตื่นเต้นมากเสียจนตะโกน
    เข้ามาทางโทรศัพท์
  • 2:40 - 2:42
    นั่นเป็นเพราะว่าการที่ได้
    เพียงแต่ยุงตาสีแดงเท่านั้น
  • 2:42 - 2:45
    เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎเหล็กทางชีววิทยา
  • 2:45 - 2:46
    ซึ่งก็คือ พันธุศาสตร์แบบเมนเดล
  • 2:47 - 2:48
    ฉันจะอธิบายแบบเร็ว ๆ นะคะ
  • 2:48 - 2:51
    แต่พันธุศาสตร์แบบเมนเดลบอกว่า
    เมื่อตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์
  • 2:51 - 2:54
    ลูก ๆ ของพวกมันได้รับดีเอ็นเอครึ่งหนึ่ง
    มาจากพ่อแม่แต่ละฝ่าย
  • 2:54 - 2:57
    ฉะนั้น ถ้ายุงตั้งต้นของเราเป็น aa
    และยุงรุ่นใหม่ของเราเป็น aB
  • 2:57 - 2:59
    เมื่อ B คือยีนต้านมาลาเรีย
  • 2:59 - 3:01
    ลูก ๆ ควรจะออกมาในสี่รูปแบบนี้
    ก่อนกลางพันธุ์
  • 3:01 - 3:04
    aa, aB, aa, Ba
  • 3:05 - 3:07
    แต่ว่า ด้วยการขับเคลื่อนยีนใหม่นี้
  • 3:07 - 3:09
    พวกมันทุกตัวออกมาเป็น aB
  • 3:10 - 3:12
    ในเชิงชีววิทยา
    นั่นไม่ควรจะเป็นไปได้เลยด้วยซ้ำ
  • 3:12 - 3:14
    แล้วมันเกิดอะไรขึ้นล่ะ
  • 3:15 - 3:16
    สิ่งแรกที่เกิดขึ้น
  • 3:16 - 3:19
    คือการเข้ามาของเครื่องมือที่มีชื่อว่า
    CRISPR ในปี ค.ศ. 2012
  • 3:21 - 3:23
    พวกคุณหลายคนคงเคยได้ยิน
    เรื่องเกี่ยวกับ CRISPR มาบ้างแล้ว
  • 3:23 - 3:26
    ฉันจะพูดถึง CRISPR แค่เพียงสั้น ๆ ว่า
    มันเป็นเครื่องมือที่ทำให้นักวิจัย
  • 3:26 - 3:29
    สามารถปรับเปลี่ยนยีนได้อย่างแม่นยำ
    ง่าย และรวดเร็ว
  • 3:30 - 3:33
    มันทำเช่นนั้นโดยใช้กลไกที่มีอยู่แล้วในแบคทีเรีย
  • 3:33 - 3:36
    เอาง่าย ๆ คือ
    มันมีโปรตีนที่ทำหน้าที่เหมือนกรรไกร
  • 3:36 - 3:37
    และตัดดีเอ็นเอ
  • 3:37 - 3:40
    และมีโมเลกุลอาร์เอ็นเอ
    ที่กำกับกรรไกรนั้น
  • 3:40 - 3:41
    ไปยังจุดใด ๆ ก็ตามในจีโนม ตามที่คุณต้องการ
  • 3:41 - 3:44
    ผลก็คือ มันเป็นโปรแกรมเวิร์ดสำหรับยีน
  • 3:44 - 3:47
    คุณสามารถนำเอายีนทั้งหมดออกมา
    เอามันเข้าไป
  • 3:47 - 3:49
    หรือแก้เพียงตัวอักษรเดียวภายในยีนนั้น
  • 3:50 - 3:52
    และคุณสามารถทำอย่างนั้นได้
    ในสิ่งมีชีวิตเกือบจะทุกชนิด
  • 3:53 - 3:57
    เอาล่ะ จำไว้ได้ใช่ไหมคะ ว่าฉันบอกว่า
    การขับเคลื่อนยีนมีปัญหาอย่างไรสองอย่าง
  • 3:58 - 4:01
    ปัญหาแรกคือมันยากที่จะตัดต่อยุง
  • 4:01 - 4:02
    ให้ต้านเชื้อมาลาเรียได้
  • 4:02 - 4:05
    นั่นมันไม่เป็นปัญหาอีกแล้ว
    ด้วยความช่วยเหลือของ CRISPR
  • 4:05 - 4:07
    แต่อีกปัญหาหนึ่งคือปัญหาด้านการขนส่ง
  • 4:07 - 4:09
    คุณจะทำให้ลักษณะที่คุณเลือก
    แพร่ต่อไปได้อย่างไร
  • 4:10 - 4:12
    แล้วตรงนี้แหละค่ะ ที่มันเจ๋งทีเดียว
  • 4:13 - 4:17
    สองสามปีก่อน เคลวิน เอสเวลท์
    นักชีววิทยาจากฮาร์วาร์ด
  • 4:17 - 4:18
    สงสัยว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น
  • 4:18 - 4:22
    ถ้าคุณใช้ CRISPR ไม่เพียงแต่
    แทรกใหม่ยีนของคุณเพียงยีนเดียว
  • 4:22 - 4:24
    แต่ยังใส่กลไกการตัดและปะนั้นด้วย
  • 4:25 - 4:29
    หรือพูดอีกอย่างก็คือ ถ้าหาก CRISPR
    ยังสามารถตัดและปะตัวเองได้ล่ะจะเป็นอย่างไร
  • 4:30 - 4:33
    คุณจะได้เครื่องเคลื่อนที่สำหรับการตัดต่อยีน
  • 4:34 - 4:36
    และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 4:37 - 4:40
    การขับเคลื่อนยีน CRISPR
    ที่ เอสเวลท์ สร้างขึ้น
  • 4:40 - 4:44
    ไม่เพียงแต่จะยืนยันว่าลักษณะที่ต้องการ
    จะถูกถ่ายทอดส่งต่อไป
  • 4:44 - 4:46
    แต่ถ้าเราใช้ในเซลล์ที่เพิ่มจำนวน
    (germline cell) ต่อ ๆ กันไป
  • 4:46 - 4:49
    มันจะตัดและปะยีนใหม่ของคุณ
    อย่างอัตโนมัติ
  • 4:49 - 4:51
    เข้าไปยังทั้งสองโครโมโซม
    ของแต่ละเซลล์
  • 4:52 - 4:54
    มันเหมือนกับการค้นหา
    และการแทนที่แบบทั้งหมด
  • 4:54 - 4:57
    หรือถ้าพูดให้เป็นวิทยาศาสตร์
    มันทำให้เฮเธอโรไซกัสแป็นโฮโมไซกัส
  • 4:59 - 5:02
    ฉะนั้น มันหมายความว่าอย่างไรน่ะหรือคะ
  • 5:02 - 5:04
    อย่างหนึ่งก็คือ มันหมายความว่า
    เรามีเครื่องมือที่สุดจะทรงพลัง
  • 5:04 - 5:07
    แต่ยังเป็นที่ต้องจับตาระมัดระวัง
  • 5:09 - 5:11
    จนถึงตอนนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่า
    การขับเคลื่อนยีนจึงยังทำงานไม่ดีนัก
  • 5:11 - 5:13
    ทำให้เรารู้สึกคลายกังวลลงไปบ้าง
  • 5:13 - 5:16
    โดยปกติแล้ว
    เมื่อเราเข้าไปยุ่งกับยีนของสิ่งมีชีวิต
  • 5:16 - 5:18
    เราทำให้มันมีความเหมาะสม
    ทางวิวัฒนาการลดลง
  • 5:19 - 5:21
    ฉะนั้น นักชีววิทยาสามารถสร้าง
    แมลงหวี่กลายพันธ์ุได้ตามที่พวกเขาต้องการ
  • 5:21 - 5:23
    โดยไม่ต้องกังวลกับมันมาก
  • 5:23 - 5:26
    ถ้าหากมันหลุดลอดออกไป
    การคัดเลือกทางธรรมชาติจะจัดการมันเอง
  • 5:27 - 5:30
    สิ่งที่น่าทึ่ง ทรงพลัง และน่าสะพรึง
    เกี่ยวกับการขับเคลื่อนยีน
  • 5:30 - 5:32
    ก็คือว่า มันจะไม่เป็นจริงอย่างนั้นอีกต่อไป
  • 5:33 - 5:37
    ลองคาดคะเนว่าลักษณะของคุณ
    ไม่ได้เป็นความพิการทางวิวัฒนาการอะไรมาก
  • 5:37 - 5:39
    อย่างยุงที่บินไม่ได้
  • 5:39 - 5:42
    การขับเคลื่อนยีนโดย CRISPR
    จะส่งต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่หยุด
  • 5:42 - 5:45
    จนกว่ามันจะไปอยู่ในทุก ๆ คน
    ในหมู่ประชากร
  • 5:47 - 5:50
    ทีนี้ มันไม่ง่ายเลยที่จะทำให้การขับเคลื่อนยีน
    ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขนาดนั้น
  • 5:50 - 5:52
    แต่เจมส์และเอสเวลท์คิดว่าพวกเขาทำได้
  • 5:53 - 5:57
    ข่าวดีก็คือ มันเปิดประตูให้กับสิ่งที่น่าทึ่ง
  • 5:57 - 5:59
    ถ้าหากคุณเอาการขับเคลื่อนยีน
    ที่ต้านมาลาเรีย
  • 5:59 - 6:01
    เข้าไปยังแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ของยุงก้นปล่อง
  • 6:01 - 6:03
    ซึ่งเป็นพาหะของมาลาเรีย
  • 6:03 - 6:08
    นักวิจัยคาดว่ามันจะแพร่กระจายออกไป
    ทั่วทั้งหมู่ประชากรในหนึ่งปี
  • 6:08 - 6:11
    ฉะนั้น ในเพียงหนึ่งปี
    คุณจะได้เห็นการกวาดล้างมาลาเรียจริง ๆ
  • 6:11 - 6:15
    ในทางปฏิบัติ เรายังต้องการอีกสองสามปี
    เพื่อที่จะทำอย่างนั้นได้จริง ๆ
  • 6:15 - 6:18
    แต่ถึงกระนั้น เด็ก 1,000 คน
    ต้องเสียชีวิตด้วยมาลาเรียทุกวัน
  • 6:18 - 6:20
    ในเวลาหนึ่งปี จำนวนนั้นคงเกือบจะเป็นศูนย์
  • 6:21 - 6:24
    เช่นเดียวกันกับไข้เลือดออก
    ชิกุนคุนยา และไข้เหลือง
  • 6:25 - 6:27
    และมันยังมีดีกว่านั้น
  • 6:27 - 6:30
    ลองคิดดูว่า คุณต้องการกำจัด
    สายพันธุ์ใดก็ตามที่ลุกล้ำเข้ามา
  • 6:30 - 6:32
    เช่น ปลาเอเชียน คาร์ป (Asian carp)
    ออกจากเกรธ เลค (Great Lakes)
  • 6:32 - 6:34
    คุณก็แค่ปลดปล่อยการขับเคลื่อนยีน
  • 6:34 - 6:37
    ที่จำให้ปลาผลิตแต่ลูกหลานตัวผู้
  • 6:37 - 6:42
    ในไม่กี่รุ่น มันจะไม่มีตัวเมียหลงเหลืออยู่
    และไม่มีปลาคาร์ปอีก
  • 6:42 - 6:45
    ในทางทฤษฎี นั่นหมายความว่าเราสามารถ
    เอาสายพันธุ์ดั้งเดิมมากมาย
  • 6:45 - 6:46
    ที่กำลังถูกคุกคามกลับมาได้
  • 6:47 - 6:51
    เอาล่ะ นั่นเป็นข่าวดี
  • 6:51 - 6:52
    ทีนี้ข่าวร้ายบ้าง
  • 6:53 - 6:55
    การขับเคลื่อนยีนมีประสิทธิภาพมาก
  • 6:55 - 6:59
    มากเสียจนการปลดปล่อยออกไปโดยบังเอิญ
    สามารถเปลี่ยนสายพันธุ์ทั้งหมดได้
  • 6:59 - 7:00
    และมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • 7:01 - 7:03
    แอนโธนี เจมส์ ก็ระมัดระวังเป็นอย่างดี
  • 7:03 - 7:05
    เขาผสมพันธุ์ยุงของเขา
    ในห้องทดลองควบคุมทางชีวภาพ
  • 7:06 - 7:08
    และเขายังใช้สายพันธุ์
    ที่ไม่ได้เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของสหรัฐฯ
  • 7:08 - 7:10
    เพื่อที่ว่า แม้ว่ามันจะสามารถ
    หลุดลอดออกไปได้
  • 7:10 - 7:13
    มันก็จะตายไปเอง
    เพราะไม่มีตัวที่มันจะไปผสมพันธุ์ด้วยได้
  • 7:13 - 7:17
    แต่มันก็จริงที่ว่า ถ้าหากเอเชียน คาร์ปสักโหล
    ที่มีการขับเคลื่อนยีนตัวผู้
  • 7:17 - 7:21
    ถูกนำจาก เกรธ เลค กลับไปยังเอเชีย
    โดยบังเอิญ
  • 7:21 - 7:24
    พวกมันมีโอกาสที่จะกำจัดประชากร
    ปลาเอเชียน คาร์ป ที่นั่นได้
  • 7:26 - 7:29
    และนั่นก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้
    เมื่อพิจารณาดูว่าโลกของเราเชื่อมต่อกัน
  • 7:29 - 7:31
    อันที่จริง นั่นเป็นเหตุผล
    ว่าทำไมเราถึงมีปัญหาสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น
  • 7:32 - 7:33
    และนั่นเป็นปลา
  • 7:33 - 7:36
    สิ่งมีชีวิตอย่างยุงและแมลงหวี่
  • 7:36 - 7:38
    เราไม่มีวิธีการใดที่จะควบคุมจำกัดพวกมัน
  • 7:38 - 7:40
    พวกมันข้ามชายแดน
    และมหาสมุทรตลอดเวลา
  • 7:42 - 7:44
    เอาล่ะ ข่าวร้ายอีกอย่าง
  • 7:44 - 7:46
    ก็คือการขับเคลื่อนยีน
    อาจไม่ได้ถูกจำกัด
  • 7:46 - 7:48
    อยู่กับสิ่งที่เราเรียกว่า สายพันธุ์เป้าหมาย
    เสมอไป
  • 7:49 - 7:50
    นั่นเป็นเพราะว่า การไหลของยีน
    (gene flow)
  • 7:50 - 7:53
    ซึ่งคือคำพูดหรู ๆ ของคำพูดที่ว่า
    สายพันธุ์ข้างเคียง
  • 7:53 - 7:54
    บางทีก็ผสมพันธุ์กันได้
  • 7:54 - 7:57
    ถ้าหากมันเกิดขึ้น มันเป็นไปได้ว่า
    การขับเคลื่อนยีนจะสามารถข้ามไปได้
  • 7:57 - 8:00
    เช่น ปลาเอเชียน คาร์ป
    สามารถส่งต่อยีนไปยังปลาคาร์ปอื่นได้
  • 8:00 - 8:03
    นั่นมันไม่ได้แย่อะไร ถ้าการขับเคลื่อนนั้น
    เป็นการส่งเสริมลักษณะ เช่นสีตา
  • 8:03 - 8:06
    อันที่จริง มันมีโอกาส
    ที่เราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลง
  • 8:06 - 8:08
    ในฝูงแมลงหวี่ประหลาดในอนาคตอันใกล้
  • 8:09 - 8:11
    แต่มันอาจเป็นหายนะได้
  • 8:11 - 8:14
    ถ้าการขับเคลื่อนนั้นถูกออกแบบมา
    เพื่อกำจัดสายพันธุ์นั้นโดยสิ้นเชิง
  • 8:14 - 8:18
    สิ่งสุดท้ายที่น่าเป็นห่วง
    คือเทคโนโลยีที่จะทำสิ่งนี้
  • 8:18 - 8:22
    เพื่อพันธุวิศวกรรมสิ่งมีชีวิต
    และรวมการขับเคลื่อนยีนเข้าไป
  • 8:22 - 8:25
    เป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกห้องทดลอง
    สามารถทำได้
  • 8:25 - 8:26
    นักเรียนปริญญาตรีก็ยังทำได้
  • 8:27 - 8:30
    นักวิจัยผู้มีพรสวรรค์ที่มีเครื่องมือนี้ก็ทำได้
  • 8:33 - 8:35
    ตอนนี้ ฉันเดาว่ามันน่ากลัวไม่น้อยทีเดียว
  • 8:35 - 8:38
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:38 - 8:40
    น่าสนใจนะคะ ที่นักวิทยาศาสตร์เกือบทุกคน
  • 8:40 - 8:44
    เหมือนจะคิดว่าการขับเคลื่อนยีน
    ไม่ได้น่ากลัวหรืออันตรายจริง ๆ หรอก
  • 8:44 - 8:47
    ส่วนหนึ่งก็เพราะว่า พวกเขาเชื่อว่า
  • 8:47 - 8:49
    นักวิทยาศาสตร์จะระมัดระวัง
    และรับผิดชอบต่อการใช้สิ่งนี้
  • 8:49 - 8:50
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:50 - 8:52
    ถึงตอนนี้ มันเป็นความจริง
  • 8:52 - 8:55
    แต่การขับเคลื่อนยีนยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง
  • 8:55 - 8:58
    อย่างหนึ่งก็คือ พวกมันทำงานได้
    ในสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเท่านั้น
  • 8:59 - 9:02
    ฉะนั้น ขอบคุณพระเจ้า พวกมันไม่อาจใช้ได้
    กับการดัดแปลงไวรัสหรือแบคทีเรีย
  • 9:02 - 9:05
    อีกอย่างหนึ่ง ลักษณะถูกส่งต่อออกไป
    ให้แค่รุ่นต่อไปเท่านั้น
  • 9:05 - 9:07
    ฉะนั้น การเปลี่ยนหรือการกำจัดประชากร
  • 9:07 - 9:11
    จะเป็นไปได้จริง ๆ ก็ต่อเมื่อ
    สิ่งมีชีวิตนั้น มีวัฎจักรการสืบพันธุ์ที่เร็ว
  • 9:11 - 9:14
    เช่นแมลง หรือสัตว์มีกระดูกสันหลัง
    อย่างหนู หรือปลา
  • 9:14 - 9:17
    ในช้างหรือคน
    มันอาจต้องใช้เวลาหลายศตวรรษ
  • 9:17 - 9:19
    เพื่อที่ลักษณะจะแพร่ออกไปกว้างพอ
    ที่จะทำให้เกิดผลกระทบได้
  • 9:20 - 9:25
    นอกจากนั้น แม้จะมี CRISPR มันก็ไม่ง่าย
    ที่จะวิศวกรรมลักษณะที่ทำลายล้าง
  • 9:26 - 9:28
    เช่นคุณต้องการสร้างแมลงหวี่
  • 9:28 - 9:30
    ที่กินผลไม้ปกติ แทนที่จะกินผลไม้เน่า
  • 9:30 - 9:33
    โดยมีจุดประสงค์
    ที่จะทำลายการเกษตรของอเมริกา
  • 9:33 - 9:35
    อย่างแรก คุณจะต้องรู้ว่า
  • 9:35 - 9:37
    ยีนไหนที่ควบคุมสิ่งที่แมลงวันอย่างจะกิน
  • 9:37 - 9:40
    ซึ่งมันก็เป็นโครงการ
    ที่ซับซ้อนยาวนานอยู่แล้ว
  • 9:40 - 9:44
    แล้วคุณยังต้องเปลี่ยนยีนเหล่านั้น
    เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของแมลงวัน
  • 9:44 - 9:45
    ให้เป็นไปในแบบที่คุณต้องการ
  • 9:45 - 9:48
    ซึ่งเป็นโครงการที่ซับซ้อน
    และยาวนานกว่าเดิมอีก
  • 9:48 - 9:50
    และมันอาจจะ
    ไม่ประสบความสำเร็จก็ได้
  • 9:50 - 9:52
    เพราะว่ายีนที่ควบคุมพฤติกรรมมีความซับซ้อน
  • 9:52 - 9:54
    ฉะนั้น ถ้าคุณเป็นผู้ก่อการร้าย
    และจะต้องเลือก
  • 9:54 - 9:56
    ระหว่างเริ่มโครงการวิจัยพื้นฐาน
    ที่ต้องเข็นครกขึ้นภูเขา
  • 9:56 - 10:00
    ที่จะต้องใช้เวลาหลายปีหมกมุ่น
    ในห้องทดลองและยังอาจไม่ได้ผลอะไร
  • 10:00 - 10:01
    หรือจะระเบิดภูเขาเผากระท่อมกันซะ
    ให้รู้แล้วรู้รอด
  • 10:01 - 10:03
    คุณก็คงจะเลือกอย่างที่สอง
  • 10:03 - 10:06
    มันเป็นเรื่องจริง
    เพราะว่าอย่างน้อยในทางทฤษฎี
  • 10:06 - 10:09
    มันควรที่จะค่อนข้างง่ายที่จะสร้าง
    สิ่งที่แรกว่า การขับเคลื่อนย้อนกลับ
  • 10:09 - 10:13
    นั่นเป็นสิ่งที่จะเขียนทับการเปลี่ยนแปลง
    ที่ทำให้เกิดขึ้นโดยการขับเคลื่อนยีนแรก
  • 10:13 - 10:15
    ถ้าหากคุณไม่ชอบผลของการเปลี่ยนแปลง
  • 10:15 - 10:18
    คุณสามารถปลดปล่อยการขับเคลื่อนที่สอง
    ที่จะหักล้างมันออกได้
  • 10:18 - 10:19
    อย่างน้อยก็ตามทฤษฎี
  • 10:21 - 10:23
    ฉะนั้น มันให้อะไรกับเราบ้าง
  • 10:25 - 10:28
    ตอนนี้เรามีความสามารถ
    ในการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตามที่ต้องการ
  • 10:29 - 10:30
    เราควรทำหรือเปล่า
  • 10:31 - 10:32
    เราเป็นพระเจ้าแล้วหรือยัง
  • 10:34 - 10:35
    ฉันคิดว่าฉันคงจะไม่พูดว่าอย่างนั้น
  • 10:36 - 10:37
    แต่ฉันบอกได้ว่า
  • 10:38 - 10:40
    ประการแรก คนฉลาด ๆ บางคน
  • 10:40 - 10:43
    ตอนนี้คงจะถกเถียงกัน
    ว่าจะควบคุมการขับเคลื่อนยีนอย่างไร
  • 10:44 - 10:46
    ในเวลาเดียวกัน
    คนฉลาด ๆ อีกพวกหนึ่ง
  • 10:46 - 10:48
    กำลังทำงานอย่างหนัก
    เพื่อสร้างแผนคุ้มกัน
  • 10:48 - 10:52
    เช่นการขับเคลื่อนยีนที่ควบคุมตัวเอง
    หรือค่อย ๆ หายไปหลังจากสองสามรุ่น
  • 10:53 - 10:54
    นั่นมันยอดมาก
  • 10:54 - 10:57
    แต่เทคโนโลยีนี้ ยังต้องการการอภิปราย
  • 10:58 - 11:00
    และด้วยธรรมชาติของการขับเคลื่อนยีนนี้
  • 11:00 - 11:02
    การอภิปรายดังกล่าวต้องอยู่ในระดับสากล
  • 11:02 - 11:05
    ถ้าหากเคนยาต้องการที่จะใช้มัน
    แต่แทนซาเนียไม่ต้องการ
  • 11:05 - 11:09
    ใครกันที่จะตัดสินใจว่าจะใช้มันหรือเปล่า
  • 11:11 - 11:13
    ฉันไม่มีคำตอบให้สำหรับคำถามนี้
  • 11:14 - 11:16
    ฉันคิดว่า สิ่งที่เราทำได้
  • 11:16 - 11:18
    ก็คือการพูดอย่างซื่อสัตย์
    เกี่ยวกับความเสี่ยงและผลประโยชน์
  • 11:19 - 11:21
    และรับผิดชอบต่อสิ่งที่เราเลือก
  • 11:22 - 11:26
    ฉันหมายความว่า ไม่ใช่แค่ต่อการเลือก
    การใช้การขับเคลื่อนยีน
  • 11:26 - 11:28
    แต่ยังเป็นการเลือกที่จะไม่ใช้มันด้วย
  • 11:29 - 11:32
    มนุษย์มีแนวโน้มที่จะคิดว่า
    ทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุด
  • 11:32 - 11:34
    เป็นการคงไว้ซึ่งสถานะที่เป็นอยู่เดิม
  • 11:35 - 11:36
    แต่นั่นก็ไม่ใช่สำหรับทุกกรณี
  • 11:38 - 11:41
    การขับเคลื่อนยีนมีความเสี่ยง
    และเราก็ต้องมาอภิปรายกัน
  • 11:41 - 11:44
    แต่มาลาเรียที่มีอยู่ในตอนนี้
    กำลังฆ่า 1,000 ชีวิต ทุกวัน
  • 11:45 - 11:49
    เพื่อที่จะจัดการกับมัน เราฉีดยาฆ่าแมลง
    ที่สร้างความเสียหายมากมายต่อสายพันธุ์อื่น
  • 11:49 - 11:50
    รวมถึงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและนก
  • 11:52 - 11:55
    ฉะนั้น เมื่อคุณได้ยินคำว่าการขับเคลื่อนยีน
    ต่อไปในอนาคต
  • 11:55 - 11:57
    และเชื่อฉันเถอะค่ะ
    คุณต้องได้ยินเรื่องนี้แน่ ๆ
  • 11:57 - 11:58
    จำสิ่งนี้เอาไว้
  • 11:58 - 12:00
    มันอาจน่ากลัวที่เราจะลงมือกระทำอะไร
  • 12:00 - 12:03
    แต่บางครั้ง การไม่ทำอะไรเลย
    ก็น่ากลัวเสียยิ่งกว่า
  • 12:05 - 12:13
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ตอนนี้การตัดแปลงยีนสามารถเปลี่ยนสิ่งมีชีวิตได้ทั้งสายพันธุ์ -- ไปตลอดกาล
Speaker:
เจนนิเฟอร์ คาห์น (Jennifer Kahn)
Description:

การขับเคลื่อนยีน CRISPR ทำให้นักวิทยาศาสตร์เปลี่ยนลำดับ DNA และเป็นการยืนยันว่าผลของลักษณะทางพันธุ์กรรมที่ถูกดัดแปลงจะถูกส่งต่อไปในสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไปในอนาคต เป็นการเปิดโอกาสการเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตทั้งสายพันธุ์ไปตลอดกลาง ยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด เทคโนโลยีนี้ได้นำมาซึ่งคำถามที่ว่า อำนาจใหม่นี้จะมีผลต่อมนุษยชาติอย่างไร เราจะใช้มันเพื่อการเปลี่ยนแปลงอะไร แล้วตอนนี้เราเป็นพระเจ้าแล้วหรือยัง เจนนิเฟอร์ คาห์น ชวนให้คุณร่วมครุ่นคิดกับคำถามเหล่านี้ และบอกถึงการใช้ที่ทรงพลังอย่างมีประสิทธิภาพของการขับเคลือนยีน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนายุงต้านโรคที่จะสามารถปราบมาลาเรียและซิก้าได้อย่างอยู่หมัด

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:25

Thai subtitles

Revisions