< Return to Video

Britta Riley: สวนในอพาร์ตเม้นท์ของฉัน

  • 0:00 - 0:02
    ดิฉัน ก็เหมือนกับพวกคุณหลายๆคน
  • 0:02 - 0:07
    เป็นคนหนึ่งในสองพันล้านคนบนโลกใบนี้
  • 0:07 - 0:09
    ที่อาศัยอยู่ในเมือง
  • 0:09 - 0:12
    และมีหลายวันที่ -
    ฉันไม่ทราบที่เกี่ยวกับคุณ
  • 0:12 - 0:16
    แต่มีหลายวันที่ฉันรู้สึกอย่างชัดแจ้งว่า
  • 0:16 - 0:18
    ฉันพึ่งพาผู้อื่นอยู่มาก
  • 0:18 - 0:21
    เกือบทุกอย่างในชีวิตของฉัน
  • 0:21 - 0:24
    และบางวันนั้น มันเป็นเรื่องที่น่ากลัว
    แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม
  • 0:24 - 0:26
    แต่สิ่งที่ฉันมาที่นี่ เพื่อพูดคุยกับคุณวันนี้
  • 0:26 - 0:29
    ก็คือ การพึ่งพาอาศัยกันอย่างนี้
  • 0:29 - 0:33
    แท้จริงเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม
    ที่มีอานุภาพสูงมาก
  • 0:33 - 0:36
    ที่เราสามารถควบคุมได้จริง
  • 0:36 - 0:40
    เพื่อนำมาช่วยบำบัดปัญหาบ้านเมือง
    ที่ลึกลํ้าที่สุดของเราบ้าง
  • 0:40 - 0:44
    ถ้าเรานำวิธีการร่วมกันพัฒนาอย่างเปิดเผย (open source)
    มาประยุกต์ใช้
  • 0:44 - 0:46
    สองสามปีที่ผ่านมา
  • 0:46 - 0:49
    ฉันอ่านบทความจากนิวยอร์คไทมส์ เขียนโดย
    ไมเคิล พอลแลน (Michael Pollan)
  • 0:49 - 0:53
    ซึ่งเขาอ้างเหตุผลว่าการปลูกผัก
    แม้แต่อาหารของเราเองบ้าง
  • 0:53 - 0:55
    เป็นสิ่งที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง
  • 0:55 - 0:57
    ที่เราสามารถทำเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • 0:57 - 0:59
    ตอนที่ฉันกำลังอ่านเรื่องนี้อยู่นั้น
  • 0:59 - 1:01
    เป็นช่วงกลางฤดูหนาว
  • 1:01 - 1:04
    และแน่นอนฉันไม่ได้มีพื้นที่ว่าง
    สำหรับดินปริมาณมากๆ
  • 1:04 - 1:07
    ในอพาร์ทเมนต์ของฉันในนิวยอร์ค
  • 1:07 - 1:09
    ดังนั้น ง่ายๆฉันจึงแค่พอใจ ตัดสินใจ
  • 1:09 - 1:11
    แค่ไปอ่านนิตยสารไวร์ด (Wired) ฉบับต่อไป
  • 1:11 - 1:13
    และค้นหาว่า ผู้เชี่ยวชาญจะไปขบคิดได้อย่างไร
  • 1:13 - 1:16
    ถึงวิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้ทั้งหมด
    เพื่อพวกเราในอนาคต
  • 1:16 - 1:19
    แต่นั่นเป็นประเด็นที่ตรงเผงจริงๆ
  • 1:19 - 1:21
    ที่ไมเคิล พอลแลน กล่าวไว้ในบทความนี้
  • 1:21 - 1:23
    ว่า แน่นอน เมื่อเรามอบ
  • 1:23 - 1:26
    ความรับผิดชอบทุกอย่างนี้ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ
  • 1:26 - 1:29
    ที่ว่า เราทำให้เกิดความสกปรกรกรุงรัง
  • 1:29 - 1:32
    ที่เราเห็นอยู่ในระบบอาหาร
  • 1:32 - 1:35
    ดังนั้น ฉันบังเอิญรู้เรื่องนิด ๆ หน่อย ๆ
    จากการศึกษาด้วยตัวเอง
  • 1:35 - 1:39
    เกี่ยวกับวิธีการของนาซ่า ที่ใช้สารละลาย (hydroponics)
  • 1:39 - 1:42
    เพื่อเสาะหาการปลูกอาหารในอวกาศ
  • 1:42 - 1:46
    และคุณสามารถได้ผลผลิตทางโภชนาการสูงสุดได้จริง
  • 1:46 - 1:50
    โดยส่งผ่านดินเหลวที่มีคุณภาพสูงชนิดหนึ่ง
  • 1:50 - 1:53
    ไปตามระบบรากพีช
  • 1:53 - 1:55
    ตอนนี้ ไปจะเรื่องพืชผักละ
  • 1:55 - 1:57
    อพาร์ทเม้นของฉันต้องมีสภาพ
  • 1:57 - 1:59
    แปลกออกไป ใกล้เคียงกับอวกาศ
  • 1:59 - 2:02
    แต่ฉันสามารถให้มีแสงธรรมชาติได้บ้าง
  • 2:02 - 2:04
    และให้มีการควบคุมอากาศตลอดทั้งปี
  • 2:04 - 2:06
    ไปอย่างเร็วละ สองปีต่อมา
  • 2:06 - 2:08
    เดี๋ยวนี้เรามีฟาร์มหน้าต่าง
  • 2:08 - 2:10
    ซึ่งเป็นยกพื้นในแนวตั้ง สำหรับปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
  • 2:10 - 2:13
    สำหรับปลูกพีชที่ใช้เป็นอาหาร ภายในบ้าน
  • 2:13 - 2:16
    และวิธีการทำงานของมัน คือมีปั๊มที่ด้านล่าง
  • 2:16 - 2:19
    ที่ส่งสารละลายธาตุอาหารที่เป็นของเหลวนี้
    ขึ้นไปด้านบน เป็นระยะๆ
  • 2:19 - 2:22
    แล้วก็จะหยดลงมาผ่านระบบรากของพืช
  • 2:22 - 2:24
    ที่แขวนอยู่ในวัสดุเพาะกล้าเมล็ดพันธุ์
    ที่ทำจากดินเหนียวเผา
  • 2:24 - 2:27
    ดังนั้นจึงไม่มีดินมาเกี่ยวข้อง
  • 2:27 - 2:29
    ทีนี้ แสงแดดและอุณหภูมิ จะแตกต่างกันไป
  • 2:29 - 2:31
    ตามสภาพภูมิอากาศย่อย
    ของแต่ละหน้าต่าง
  • 2:31 - 2:33
    ดังนั้น ฟาร์มหน้าต่าง
  • 2:33 - 2:35
    จึงต้องการ "เกษตรกร"
  • 2:35 - 2:37
    เธอจะต้องตัดสินใจ
  • 2:37 - 2:40
    ว่าเธอจะปลูกพืชอะไรในฟาร์มหน้าต่างของเธอ
  • 2:40 - 2:44
    และเธอจะเลี้ยงพืชที่เป็นอาหารของเธอ
    โดยใช้สารอินทรีย์หรือไม่
  • 2:44 - 2:47
    กลับไปในสมัยที่ฟาร์มหน้าต่าง
    ไม่มีอะไรมากไปกว่า
  • 2:47 - 2:49
    ความคิดซับซ้อนทางเทคนิค
  • 2:49 - 2:52
    ซึ่งต้องมีการทดลองอย่างมาก
  • 2:52 - 2:54
    และฉันต้องการให้มันเป็นโครงการเปิดจริงๆ
  • 2:54 - 2:56
    เพราะการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน
  • 2:56 - 2:58
    เป็นสาขาของการจดสิทธิบัตรสาขาหนึ่ง
    ที่เติบโตเร็วที่สุด
  • 2:58 - 3:00
    ในสหรัฐอเมริกาขณะนี้
  • 3:00 - 3:02
    และมีโอกาสจะกลายเป็น
  • 3:02 - 3:04
    มอนซานโต (Monsanto) อีกแห่งหนึ่ง
  • 3:04 - 3:07
    ที่ซึ่ง เรามีทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท
    จำนวนมาก
  • 3:07 - 3:10
    ที่เป็นอุปสรรค
    ในเรื่องเกี่ยวกับอาหารการกินของคน
  • 3:10 - 3:13
    ดังนั้น ฉันจึงตัดสินใจว่า
    แทนที่จะสร้างสินค้าใหม่
  • 3:13 - 3:15
    สิ่งที่ฉันจะทำคือ
  • 3:15 - 3:18
    เปิดโครงการนี้ขึ้น
    เพื่อกลุ่มของนักพัฒนาร่วมกันทั้งมวล
  • 3:19 - 3:22
    สองสามระบบแรกๆที่เราสร้างขึ้น ก็พอใช้งานได้
  • 3:22 - 3:24
    เราสามารถปลูกได้จริง
    ประมาณสลัดหนึ่งอย่างต่ออาทิตย์
  • 3:24 - 3:26
    บนหน้าต่างธรรมดาๆของอพาร์ทเมนท์
    ในนิวยอร์ก
  • 3:26 - 3:28
    และเราสามารถปลูกมะเขือเทศเชอรี่และ
  • 3:28 - 3:30
    แตงกวา และผักผลไม้อื่นๆ
  • 3:30 - 3:32
    แต่สองสามระบบแรกๆนั้น
  • 3:32 - 3:35
    มีเครื่องรั่ว เสียงดัง
  • 3:35 - 3:38
    ที่มาร์ธา สจ๊วต คงจะไม่ยอมรับอย่างแน่นอน
  • 3:38 - 3:40
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:40 - 3:42
    ดังนั้น เพื่อหาคนมาช่วยพัฒนาเพิ่มขึ้น
  • 3:42 - 3:45
    สิ่งที่เราทำ คือ เราได้สร้างเว็บไซต์สังคมออนไลน์ขึ้นมา
  • 3:45 - 3:47
    ที่เราเผยแพร่งานออกแบบ
  • 3:47 - 3:49
    และอธิบายว่ามันทำงานอย่างไร
  • 3:49 - 3:52
    และเราได้ไปไกลจนถึง
  • 3:52 - 3:55
    ชี้จุดบกพร่องของระบบทุกๆจุด
  • 3:55 - 3:57
    และหลังจากนั้นเราเชิญชวนคนจากทั่วโลก
  • 3:57 - 4:00
    ให้มาสร้างงานนั้นๆ และมาทดลองพร้อมกับเรา
  • 4:01 - 4:03
    ดังนั้น จริงๆในขณะนี้ในเว็บไซต์นี้
  • 4:03 - 4:06
    เรามีคนจำนวนกว่า 18,000 คนบนเว็บไซต์
  • 4:06 - 4:08
    และเรามีฟาร์มหน้าต่าง
  • 4:08 - 4:10
    ทั่วทุกมุมโลกแล้ว
  • 4:10 - 4:12
    สิ่งที่เรากำลังทำ
  • 4:12 - 4:14
    คือสิ่งที่น่าซ่าและบริษัทขนาดใหญ่
  • 4:14 - 4:17
    เรียกว่า R&D หรือ การวิจัยและพัฒนา
  • 4:17 - 4:20
    แต่เราขอเรียกโครงการนี้ว่า R&D-I-Y
  • 4:20 - 4:24
    หรือการวิจัยและพัฒนาด้วยตัวของคุณเอง
  • 4:24 - 4:26
    ยกตัวอย่างเช่น
  • 4:26 - 4:28
    แจ็คสัน มาพร้อมข้อเสนอแนะ
  • 4:28 - 4:30
    ว่าให้เราใช้ปั้มลม แทนปั๊มน้ำ
  • 4:30 - 4:32
    เราต้องสร้างระบบต่างๆเป็นกลุ่มรวมกันทั้งหมด
    เพื่อที่จะให้มันทำงานถูกต้อง
  • 4:32 - 4:34
    แต่เมื่อเราทำได้ เราก็สามารถ
  • 4:34 - 4:37
    ที่จะลดการปล่อย
    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเราได้เกือบครึ่ง
  • 4:37 - 4:40
    โทนี่ ในชิคาโกได้ลองทำการทดลองปลูกพืชผัก
  • 4:40 - 4:42
    เช่นเดียวกับชาวสวนหน้าต่างคนอื่นๆ
  • 4:42 - 4:45
    และเขาสามารถทำให้สตรอเบอร์รี่ของเขา
    ออกผลได้
  • 4:45 - 4:48
    เก้าเดือนต่อปี ในสภาวะแสงน้อย
  • 4:48 - 4:52
    อย่างง่ายๆ ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนสารอาหาร
  • 4:52 - 4:54
    และเหล่าชาวสวนหน้าต่างในประเทศฟินแลนด์
  • 4:54 - 4:56
    ได้ทำการปรับฟาร์มหน้าต่างของพวกเขา
  • 4:56 - 4:58
    ให้เหมาะกับวันที่มืดมิด ของฤดูหนาวฟินแลนด์
  • 4:58 - 5:01
    โดยการติดตั้งหลอดไฟ LED ที่ฟาร์ม
    เพื่อให้พืชสังเคราะห์แสงได้
  • 5:01 - 5:04
    ซึ่งพวกเขากำลังเปิด ให้มีการร่วมกันพัฒนาอย่างเปิดเผย (open dource) และบางส่วนของโครงการ
  • 5:04 - 5:06
    ดังนั้น สวนหน้าต่างของเรากำลังวิวัฒน์ไป
  • 5:06 - 5:08
    ผ่านกระบวนการเวอร์ชั่นใหม่ๆอย่างรวดเร็ว
  • 5:08 - 5:10
    คล้ายกับซอฟต์แวร์
  • 5:10 - 5:13
    และกับทุกโครงการ open source ทุกโครงการ
  • 5:13 - 5:15
    ประโยชน์ที่แท้จริงคือ การมีปฏิสัมพันธ์กัน
  • 5:15 - 5:17
    ระหว่างเรื่องธุระสำคัญเฉพาะ
  • 5:17 - 5:19
    ของคนที่กำลังปรับแต่งระบบของเขาเอง
  • 5:19 - 5:21
    เพื่องานฉพาะของตัวเอง
  • 5:21 - 5:23
    และเพื่องานสากลทั่วไป
  • 5:23 - 5:25
    ดังนั้น ทีมงานหลักของฉัน และฉัน
  • 5:25 - 5:27
    สามารถที่จะเพ่งความสนใจกับการปรับปรุง
  • 5:27 - 5:30
    ที่เป็นประโยชน์กับทุกๆคนจริงๆ
  • 5:30 - 5:33
    และเราสามารถที่จะมองหา
    ความต้องการของผู้เข้ามาร่วมงานใหม่
  • 5:33 - 5:35
    ดังนั้น สำหรับผู้เป็นนักทำด้วยตนเอง
  • 5:35 - 5:39
    เราให้คำแนะนำ
    ที่ผ่านการทดสอบมาเป็นอย่างดีแล้ว ฟรี
  • 5:39 - 5:41
    เพื่อให้ใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ทั่วโลก
  • 5:41 - 5:43
    สามารถสร้างระบบเหล่านี้ขึ้นได้
    อย่างไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  • 5:43 - 5:46
    และก็ มีการรอจดสิทธิบัตรระบบเหล่านี้ เช่นกัน
  • 5:46 - 5:48
    ที่จัดขึ้นโดยชุมชน
  • 5:48 - 5:50
    เพื่อให้ทุนกับโครงการ
  • 5:50 - 5:52
    เราเป็นหุ้นส่วนกันเพื่อสร้างสินค้า
  • 5:52 - 5:55
    แล้วเราก็นำไปขายให้แก่โรงเรียน
    และบุคคลทั่วไป
  • 5:55 - 5:58
    ที่ไม่มีเวลาสร้างระบบของตัวเอง
  • 5:58 - 6:00
    ขณะนี้ในชุมชนของเรา
  • 6:00 - 6:02
    วัฒนธรรมบางอย่างได้ปรากฏขึ้น
  • 6:02 - 6:04
    ในวัฒนธรรมของเรา การเป็นผู้ทดสอบ
  • 6:04 - 6:07
    ผู้สนับสนุนความคิดของคนอื่น
  • 6:07 - 6:10
    จะดีกว่าที่จะเป็นเพียงแค่คนคิด
  • 6:10 - 6:12
    สิ่งที่เราได้จากโครงการนี้
  • 6:12 - 6:14
    คือ เราได้รับการสนับสนุนงานของเราเอง
  • 6:14 - 6:18
    รวมทั้งประสบการณ์ที่มีส่วนเข้าไปร่วมช่วยจริง
  • 6:18 - 6:20
    ในการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม
  • 6:20 - 6:23
    ด้วยวิธีการ ที่ไม่ใช่เพียงแค่การหมุนปลี่ยนหลอดไฟใหม่
  • 6:23 - 6:26
    แต่ฉันคิดว่า
    ไอลีนแสดงความคิดเห็นได้ดีที่สุด
  • 6:26 - 6:28
    เกี่ยวกับสิ่งที่เราได้รับจากการทำงานนี้
  • 6:28 - 6:31
    ซึ่งเป็นความสุขที่เกิดขึ้นจริง
    จากการทำงานร่วมกัน
  • 6:31 - 6:34
    ดังนั้น เธอออกความเห็นว่าเสมือน
  • 6:34 - 6:36
    เห็นคนอีกฟากหนึ่งของทั่วโลก
  • 6:36 - 6:38
    เอาความคิดของคุณ สร้างต่อเติมมันขึ้นมา
  • 6:38 - 6:41
    แล้วก็ยอมรับว่า คุณเป็นผู้ช่วยเหลือ
  • 6:41 - 6:45
    ถ้าเราต้องการเห็น แบบของการเปลี่ยนแปลง
    พฤติกรรมผู้บริโภคที่กว้างขวาง
  • 6:45 - 6:47
    ที่เรากำลังพูดถึง
  • 6:47 - 6:49
    ให้เป็นไปในแบบของนักอนุรักษ์
    และนักรับประทานอาหาร (food people)
  • 6:49 - 6:51
    บางทีเราจำเป็นต้องทำเพียงแค่กำจัด
    คำว่า ผู้บริโภค
  • 6:51 - 6:55
    และไปอยู่เบื้องหลัง คนที่กำลังทำเรื่องนี้อยู่
  • 6:55 - 6:58
    โครงการ open source
    มีแนวโน้มที่จะมีแรงผลักดันของตนเอง
  • 6:58 - 7:00
    และสิ่งที่เรากำลังเห็นก็คือ R & D-I-Y
  • 7:00 - 7:04
    ได้ขยายไปมากกว่าแค่ฟาร์มหน้าต่างและ LEDs
  • 7:04 - 7:08
    ไปเป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์
    และระบบเกษตรแบบผสมผสาน (aquaponic)
  • 7:08 - 7:10
    และเรากำลังสร้าง นวัตกรรมใหม่ ๆ
  • 7:10 - 7:12
    จากคนในยุคที่มาก่อนเรา
  • 7:12 - 7:14
    และเรากำลังมองไปที่คนในยุคสมัยข้างหน้า
  • 7:14 - 7:18
    ผู้ซึ่งต้องการเราจริงๆ
    มาดัดแปลงชีวิตของพวกเราในปัจจุบัน
  • 7:18 - 7:20
    ดังนั้น เราจึงอยากชวนคุณมาร่วมกับพวกเรา
  • 7:20 - 7:22
    ในเรื่องการค้นพบอีกครั้งหนึ่ง ในคุณค่า
  • 7:22 - 7:24
    ของประชาชนชาวสหรัฐ
  • 7:24 - 7:26
    และประกาศ
  • 7:26 - 7:29
    ว่าเราทั้งหมดยังคงเป็นผู้บุกเบิก
  • 7:29 - 7:31
    เสียงปรบมือ
Title:
Britta Riley: สวนในอพาร์ตเม้นท์ของฉัน
Speaker:
Britta Riley
Description:

Britta Riley อยากจะปลูกอาหารของเธอเอง (ในอพาร์ทเม้นเล็ก ๆ ของเธอ) ดังนั้นเธอและเพื่อน ๆ จึงพัฒนาระบบสำหรับการปลูกพืชในขวดพลาสติกที่ทิ้งแล้ว - วิจัย ทดสอบและพูดคุยกันเกี่ยวกับระบบที่ทำ โดยการใช้สื่อสังคม พยายามหลายรูปแบบ ในประเดี๋ยวเดียวและอย่างรวดเร็ว เธอก็ได้ระบบที่ดีที่สุด เรียกว่าDIY แบบกระจายกันทำ และผลที่ออกมาหรือ คือความเอร็ดอร่อย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
07:32
Dimitra Papageorgiou approved Thai subtitles for A garden in my apartment
yamela areesamarn accepted Thai subtitles for A garden in my apartment
yamela areesamarn edited Thai subtitles for A garden in my apartment
yamela areesamarn edited Thai subtitles for A garden in my apartment
yamela areesamarn edited Thai subtitles for A garden in my apartment
yamela areesamarn edited Thai subtitles for A garden in my apartment
yamela areesamarn edited Thai subtitles for A garden in my apartment
yamela areesamarn edited Thai subtitles for A garden in my apartment
Show all

Thai subtitles

Revisions