< Return to Video

ทำไมพระถึงเรียกคนทั่วไปว่า 'โยม' ? #วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด EP.9 | Point of View ft. นวล

  • 0:00 - 0:03
    อยากรู้กันไหมคะ? ทำไมพระต้องเรียกคนอื่นว่า โยม?
  • 0:03 - 0:05
    สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
  • 0:05 - 0:11
    กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะในรายการๆ นึงซึ่งห่างหายไปนานมากกกแล้วค่ะ
  • 0:11 - 0:13
    นั่นก็คือ รายการวิวเอ๋ยบอกข้าเถิด นั่นเองนะคะ
  • 0:13 - 0:17
    รายการที่วิวจะเอาคำถามที่ทุกคนถามมาใน #วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด เนี่ย
  • 0:17 - 0:19
    มาเล่าให้ทุกคนฟังค่ะ
  • 0:19 - 0:23
    ซึ่งตอนนี้เนี่ย ด้วยความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ในแชนเนลเรามากมายนะคะ
  • 0:23 - 0:26
    ดังนั้น session วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด เนี่ยก็เลยเหมือนกับว่า
  • 0:26 - 0:29
    จะโดนแยกออกไปเป็น 2 ช่องซะอย่างนั้นเลย
  • 0:29 - 0:32
    เอาเป็นว่า ใครมีคำถามอยากถามอะไรวิว ก็ถามมาเถอะค่ะ
  • 0:32 - 0:34
    ติด #วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด มา
  • 0:34 - 0:36
    ถ้าคำถามไหนนะคะ เหมาะกับช่อง Point of View
  • 0:36 - 0:39
    มันก็จะมาเป็นวิดีโอแบบวิดีโอนี้เนี่ยแหละค่ะ
  • 0:39 - 0:41
    ส่วนถ้าคำถามไหนมันอาจจะไม่ค่อยเหมาะกับ Point of View
  • 0:41 - 0:44
    แน่นอนว่า เรามีสถานที่นึงที่เราทำอะไรก็ได้นะคะ
  • 0:44 - 0:48
    และหลายคนยังไม่รู้ นั่นก็คือ ช่องจุดชมวิว นั่นเอง
  • 0:48 - 0:50
    ก็ไปรอฟังคำตอบทางช่องนั้นได้เช่นกันค่ะ
  • 0:50 - 0:53
    เดี๋ยวจะพยายามเอารายการนี้กลับมาตอบคำถามทุกคนนะคะ
  • 0:53 - 0:56
    เพราะว่าหลายคนมีคำถามต่างๆ เข้ามาเยอะแยะมากมาย
  • 0:56 - 1:01
    ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มีสาระ เรื่องเกี่ยวกับการเรียน การหาข้อมูลของวิว
  • 1:01 - 1:03
    รวมไปถึงบางทีก็ถามเกี่ยวกับวิวเองมาเหมือนกัน
  • 1:03 - 1:06
    ซึ่งก็คงไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ที่จะมาตอบลง Point of View เนอะ
  • 1:06 - 1:08
    ก็สามารถไปติดตามได้ทางนั้นค่ะ
  • 1:08 - 1:10
    ซึ่งหลังจากเวิ่นเว้อมาพอสมควรละ
  • 1:10 - 1:14
    ตอนนี้ก็ได้เวลาที่เราจะเข้าไปตอบคำถามสำหรับคลิปนี้แล้วค่ะ
  • 1:14 - 1:17
    พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุก แล้วก็ได้สาระกันหรือยังคะ?
  • 1:17 - 1:19
    ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ
  • 1:23 - 1:25
    สำหรับคำถามจากรายการวิวเอ๋ยบอกข้าเถิดในวันนี้นะคะ
  • 1:25 - 1:27
    บอกเลยว่า exclusive มากๆ ค่ะ
  • 1:27 - 1:30
    เพราะว่าคนถามเนี่ย ไม่ใช่คนค่ะทุกคน
  • 1:30 - 1:32
    คนถามเป็นหมานะคะ
  • 1:32 - 1:34
    แปลกใจไหม? อยู่ดีๆ หมาก็มาถามคำถามวิว
  • 1:34 - 1:36
    และหมาตัวนี้จะถามคำถามวิวว่าอะไร?
  • 1:36 - 1:38
    ไปฟังพร้อมๆกันเลยดีกว่าค่ะ
  • 1:42 - 1:42
    นวล
  • 1:42 - 1:43
    นี่คือ นวล
  • 1:43 - 1:44
    นวลเป็นหมา
  • 1:44 - 1:48
    วันก่อนตอนเช้าๆ นวลไปนอนตากแอร์แถวเซเว่น แถวหน้าวัด
  • 1:48 - 1:50
    สักพักก็มีพระออกมาบิณฑบาตร
  • 1:50 - 1:52
    นวลได้ยินเสียงพระเรียกคนใส่บาตรว่า โยม
  • 1:52 - 1:53
    นวลเลยยื่นหน้าไปดู
  • 1:53 - 1:56
    หรือว่าคนที่กำลังใส่บาตรคือ โยมอัง ยังโอม?
  • 1:56 - 1:58
    แต่ปรากฏว่า ไม่ใช่
  • 1:58 - 2:01
    นวลเกิดความสงสัยว่า ทำไมพระถึงต้องเรียกคนทั่วไปว่า โยม?
  • 2:01 - 2:04
    ถ้าเราเรียกพระว่า โยม บ้าง พระจะต้องสึกไหม?
  • 2:04 - 2:06
    รบกวนพี่วิวช่วยตอบคำถามด้วยครับ
  • 2:06 - 2:07
    ม๊วฟ
  • 2:07 - 2:11
    โอ้โห ทุกคน เขินเลยนะคะ ได้คำถามจากหมาเซเลบอย่างนวลมานะ
  • 2:11 - 2:15
    ซึ่งเอาจริงๆ คำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบยากพอสมควรเลย
  • 2:15 - 2:17
    แล้วหลายๆ คนเนี่ย เชื่อว่าตอนที่ยังไม่เห็นคำถามนี้
  • 2:17 - 2:18
    ก็ไม่ได้อยากรู้กันหรอกค่ะ
  • 2:18 - 2:23
    แต่ทันทีที่เห็นหัวข้อคลิปวิวด้านล่าง หรือว่าได้ยินนวลถามวิวมาเนี่ย
  • 2:23 - 2:25
    ก็น่าจะอยากรู้คำตอบกันแล้วนะคะ
  • 2:25 - 2:27
    ซึ่งส่วนตัววิวเองเนี่ย ต้องสารภาพตรงนี้เลยว่า
  • 2:27 - 2:30
    ก่อนหน้านี้วิวไม่เคยรู้คำตอบมาก่อนเลยค่ะ
  • 2:30 - 2:31
    ไม่เคยเลย
  • 2:31 - 2:33
    จนกระทั่งบังเอิญมากๆ เลยนะคะ
  • 2:33 - 2:37
    ก่อนที่นวลจะถามคำถามนี้ไม่นานเลย วิวบังเอิญได้หนังสือเล่มนึงมาค่ะ
  • 2:37 - 2:40
    แล้วก็มันมีคำตอบอยู่ในนั้น ซะอย่างนั้นเลยนะคะ
  • 2:40 - 2:42
    หนังสือเล่มนั้นก็คือ แลหลังคำเขมร-ไทย นะคะ
  • 2:42 - 2:45
    ของรองศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ ศานติ ภักดีคำ นะ
  • 2:45 - 2:47
    ซึ่งสำนักพิมพ์มติชนเค้าส่งมาให้วิวค่ะ
  • 2:47 - 2:50
    บังเอิญมากว่า ในเล่มนี้มันมีคำตอบอยู่
  • 2:50 - 2:52
    มันมีวิวัฒนาการของคำว่า โยม
  • 2:52 - 2:57
    วิวก็เลยไปสรุปรวบรวมข้อมูลมาจากเล่มนี้ แล้วก็ประกอบกับแหล่งอ้างอิงอื่นๆ นะคะ
  • 2:57 - 2:58
    ซึ่งวิวขึ้นไว้ให้ด้านล่าง
  • 2:58 - 3:00
    เอามาตอบคำถามนี้ในวันนี้แล้วค่ะ
  • 3:00 - 3:04
    อยากรู้กันแล้วใช่ไหมว่า ทำไมพระต้องเรียกคนธรรมดาว่า โยม?
  • 3:04 - 3:07
    ก่อนที่เราจะเข้าไปตอบคำถามกันนะคะ หลายคนชอบบอกว่า วิวเวิ่น
  • 3:07 - 3:11
    แต่ว่า ถ้าตอบเลยทันทีเนี่ย คนอาจจะไม่เข้าใจที่มาที่ไปต่างๆ ค่ะ
  • 3:11 - 3:13
    ดังนั้นต้องย้อนไปนิดนึงนะ
  • 3:13 - 3:17
    อย่างแรกก่อนเลยที่เราต้องทำก็คือ เราต้องมาแปลคำว่า โยม กันก่อนค่ะ
  • 3:17 - 3:21
    คำว่า โยม เนี่ยนะคะ ในสมัยปัจจุบัน เราใช้กันในความหมายไหน?
  • 3:21 - 3:23
    เอาแบบที่ทุกคนเข้าใจเนี่ย เอาแบบเบสิคสุดๆ เลยนะ
  • 3:23 - 3:27
    คำว่า โยม เนี่ยคือ คำที่พระสงฆ์เนี่ยใช้เรียก คนที่เป็นฆราวาสใช่ไหมคะ?
  • 3:27 - 3:29
    แบบ อ่ะ โยมหยิบนั่นให้อาตมาหน่อย
  • 3:29 - 3:31
    โยมนู่น โยมนี่ โยมนั่น
  • 3:31 - 3:34
    เอ้า โยมจะมาฟังธรรมไหม? อะไรต่างๆ นะคะ
  • 3:34 - 3:35
    ซึ่งเอาจริงๆ อ่ะ ความหมายเนี่ย
  • 3:35 - 3:41
    มันแอบมีความต่างจากความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอยู่จึ๊งนึงค่ะ
  • 3:41 - 3:42
    ดังนั้นเรามาดูกันก่อนดีกว่าว่า
  • 3:42 - 3:46
    ตามราชบัณฑิตเนี่ย เค้าให้ความหมายของคำว่า โยม ว่ายังไงนะ
  • 3:46 - 3:49
    ก็ต้องบอกว่า ความหมายตามราชบัณฑิตนะคะ มีเยอะมากค่ะทุกคน
  • 3:49 - 3:52
    มีถึง 6 ความหมายด้วยกันค่ะ
  • 3:52 - 3:55
    โดยความหมายแรกของคำว่า โยม นะคะ ก็คือ
  • 3:55 - 4:00
    คำที่พระสงฆ์เนี่ยใช้เรียก คนที่อยู่ในรุ่นเดียวกับพ่อกับแม่ของพระสงฆ์ค่ะ
  • 4:00 - 4:02
    ได้แก่ โยมพ่อ โยมแม่
  • 4:02 - 4:05
    อ่ะ โยมน้า โยมป้า โยมอา โยมลุง อะไรอย่างนี้นะคะ
  • 4:05 - 4:08
    ก็คือรุ่นราวคราวเดียวกัน ประมาณนั้นค่ะ
  • 4:08 - 4:12
    ส่วนความหมายที่สองนะคะ ก็คือ ใช้เรียกแทนชื่อพ่อหรือชื่อแม่ของพระสงฆ์นั่นเอง
  • 4:12 - 4:15
    ก็จะเรียกว่า โยมๆ อะไรแบบนี้ไปเลยนะ
  • 4:15 - 4:17
    แทนที่จะไปเรียกชื่อพ่อชื่อแม่ค่ะ
  • 4:17 - 4:19
    ส่วนความหมายที่สาม คล้ายกับความหมายที่สองมาก
  • 4:19 - 4:23
    เอาจริงๆ วิวก็งงๆ ราชบัณฑิตเหมือนกันนะคะว่า ทำไมถึงต้องแยกเป็นตั้ง 6 ความหมายนะ
  • 4:23 - 4:26
    แต่ว่า มันอาจจะมีความแตกต่างกันอยู่เล็กๆ น้อยๆ ละกัน
  • 4:26 - 4:28
    เอาเป็นว่า ฟังขำๆ เพลินๆ นะทุกคน
  • 4:28 - 4:29
    ความหมายที่สามนะคะ
  • 4:29 - 4:32
    คำว่า โยม เนี่ย ใช้เรียกแทนบิดามารดาของพระค่ะ
  • 4:32 - 4:34
    จะเรียกว่า โยมพระ
  • 4:34 - 4:36
    ก็คือสมมติบอกว่า อ่ะ นี่คือ โยมพระทั้งสอง
  • 4:36 - 4:39
    ก็แปลว่า นี่คือโยมพ่อกับโยมแม่ของพระนั่นเองนะคะ
  • 4:39 - 4:41
    ไปต่อกันที่ความหมายที่สี่ค่ะ
  • 4:41 - 4:45
    ความหมายที่สี่ค่ะ ในที่สุดเราก็หลุดจากเรื่องพ่อแม่แล้วนะ
  • 4:45 - 4:46
    ความหมายที่สี่ของคำว่า โยม นะคะ
  • 4:46 - 4:50
    ก็คือใช้เรียกคนที่มาอุปการะพระสงฆ์ต่างๆ
  • 4:50 - 4:54
    คือประมาณว่า คนที่ปวารณาตัวว่า โอเค คนนี้บวชเป็นพระแล้ว
  • 4:54 - 4:58
    ถ้ามีอะไรขาดเหลือ เดี๋ยวฉันจะเป็นคนจัดหาให้พระรูปนี้เองนะ
  • 4:58 - 5:02
    ซึ่งเราจะเรียกโยมแบบนี้นะคะว่า โยมอุปัฏฐาก นั่นเอง
  • 5:02 - 5:02
    คุ้นๆ กันไหม?
  • 5:02 - 5:05
    นี่ก็คือโยมที่บอกว่า จะอุปการะพระนั่นเองค่ะ
  • 5:05 - 5:08
    ส่วนความหมายที่ห้านะคะ จะใกล้ๆ กับความหมายที่สี่ค่ะ
  • 5:08 - 5:12
    ความหมายที่สี่หมายถึง คนที่แบบอาจจะอยู่นอกวัด แล้วก็คอยดูแลพระใช่ไหม?
  • 5:12 - 5:13
    เป็นโยมอุปัฏฐาก
  • 5:13 - 5:16
    แต่คนที่เข้ามาอยู่ในวัดเนี่ย ที่เป็นฆราวาส
  • 5:16 - 5:18
    เคยเห็นเปล่า? พวกเด็กวงเด็กวัดอะไรต่างๆ
  • 5:18 - 5:22
    หรือว่าพวกฆราวาสต่างๆ ที่อยู่ตามกุฏิพระคอยช่วยเหลือดูแลพระ
  • 5:22 - 5:24
    พวกนี้เราจะเรียกว่า โยมวัด นะคะ
  • 5:24 - 5:27
    ก็เป็นอีกความหมายนึงของคำว่า โยม ค่ะ
  • 5:27 - 5:29
    ส่วนความหมายที่หกของคำว่า โยม เนี่ยนะคะ
  • 5:29 - 5:30
    ก็จะกว้างไกลกว่านิดนึง
  • 5:30 - 5:33
    ก็คือคนที่อุปการะพระไปโดยทั่วๆ นะ
  • 5:33 - 5:36
    เหมือนแบบไม่ได้อุปการะพระรูปใดรูปนึง อะไรประมาณนี้
  • 5:36 - 5:39
    เค้าจะเรียกฆราวาสทั่วไปแบบนี้ว่า โยมสงฆ์ นั่นเองค่ะ
  • 5:39 - 5:43
    นี่ก็คือความหมายทั้ง 6 ของคำว่า โยม ตามราชบัณฑิตยสถานนะคะ
  • 5:43 - 5:47
    ทีนี้ว่าแต่ เออ เราก็รู้ความหมายของคำว่า โยมไปแล้ว
  • 5:47 - 5:49
    แล้วคำว่า โยมเนี่ย มันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อะไรยังไง?
  • 5:49 - 5:53
    แล้วกลายมาเป็นคำที่พระใช้เรียกคนธรรมดาได้ยังไง?
  • 5:53 - 5:57
    ก็ต้องบอกว่า คำว่า โยม คำนี้เนี่ยนะคะ มีที่มาที่ไปนานมากกกแล้วค่ะ
  • 5:57 - 6:00
    นานแบบน้านนาน แล้วมันไม่ได้เกิดในประเทศไทยค่ะ
  • 6:00 - 6:04
    นี่มันเป็นคำยืมนะคะ ที่เรายืมมาจากชนชาตินึงค่ะ
  • 6:04 - 6:07
    นั่นก็คือชนชาติเขมรนั่นเอง
  • 6:07 - 6:10
    แล้วก็เป็นเขมรที่เก่าแก่มากนะ ในสมัยก่อนพระนครค่ะ
  • 6:10 - 6:13
    พูดถึงพระนคร หลายคนก็แบบก่อนพระนคร?
  • 6:13 - 6:15
    ก่อน ก่อนเขตพระนครอ่ะนะ?
  • 6:15 - 6:17
    พระนคร กรุงเทพที่มีวัดพระแก้วอยู่อ่ะนะ?
  • 6:17 - 6:19
    ต้องบอกว่า ไม่ใช่ค่ะ
  • 6:19 - 6:23
    คำว่า พระนครในที่นี้หมายถึง นครวัด นครธมนะคะ
  • 6:23 - 6:26
    ซึ่งก็สร้างมานานแสนนานแล้วใช่ไหมทุกคน?
  • 6:26 - 6:30
    อย่างไรก็ตามนะคะ เรามีหลักฐานค่ะว่า คำที่เป็นที่มาของคำว่า โยม เนี่ย
  • 6:30 - 6:33
    เราพบอยู่ในศิลาจารึกหลักนึงนะคะ
  • 6:33 - 6:35
    ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 6 ค่ะ
  • 6:35 - 6:38
    ก็สมัยก่อนสมัยพระนครอ่ะนะ
  • 6:38 - 6:40
    และคำนั้นในสมัยน้ันเนี่ย ไม่ได้ออกเสียงว่า โยม ค่ะ
  • 6:40 - 6:43
    แต่ออกเสียงว่า กะ-ญม นะคะ
  • 6:43 - 6:44
    กญม ประมาณนี้
  • 6:44 - 6:46
    ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า วิวออกเสียงถูกไหมนะ
  • 6:46 - 6:48
    ก็ถอดเสียงมาจากภาษาเขมรปัจจุบันนะ
  • 6:48 - 6:50
    ขึ้นไว้ให้แถวนี้แล้วว่า มันเขียนว่ายังไง
  • 6:50 - 6:54
    ถ้าใครอ่านจารึกสมัยนั้นออก ก็ลองอ่านกันเองดูนะจ๊ะทุกคน
  • 6:54 - 6:58
    แล้วถามว่า คำว่า กฺญุํ ในสมัยนั้นเนี่ย เค้าแปลว่าอะไร?
  • 6:58 - 7:01
    ก็ต้องบอกว่า เค้าแปลว่า ข้าทาสบริวาร ค่ะ
  • 7:01 - 7:03
    แปลว่า พวกทาสต่างๆ ประมาณนี้นะ
  • 7:03 - 7:07
    อย่างในศิลาจารึกหลักนึงเนี่ย หลักที่ K.388 เนี่ยนะคะ
  • 7:07 - 7:09
    คือศิลาจารึกมันเยอะมากอ่ะนะ ตั้งชื่อได้ไม่หมด
  • 7:09 - 7:10
    บางทีเค้าก็รันเป็นตัวเลขเหมือนกันนะ
  • 7:10 - 7:13
    ในศิลาจารึกหลักที่ K.388 เนี่ย
  • 7:13 - 7:15
    มันก็มีข้อความนะคะ เขียนไว้ประมาณนี้
  • 7:15 - 7:17
    วิวไม่แน่ใจว่า วิวออกเสียงถูกไหมนะ
  • 7:17 - 7:20
    แต่ว่าก็พยายามออกเสียงให้ใกล้เคียงที่สุดกับภาษาเขมรปัจจุบันแล้วนะ
  • 7:20 - 7:24
    เอาที่ความรู้ยังพอหลงเหลืออยู่เสี้ยวเล็กมากๆ ในสมองนะคะ
  • 7:24 - 7:27
    ก็คือ เนะ คิ กฺญุํ วฺระ นะคะ
  • 7:27 - 7:28
    เนะคืออะไร?
  • 7:28 - 7:29
    เนะคือ นี่ นะคะ
  • 7:29 - 7:30
    คิ คือ คือ
  • 7:30 - 7:32
    กฺญุํก็คือ ข้าทาสบริวาร
  • 7:32 - 7:35
    วฺระนี่ก็ชัดเจนนะคะ วฺระก็คือ พระ นั่นเอง
  • 7:35 - 7:40
    แปลทั้งหมดเนี่ย ก็แปลได้ว่า นี่คือข้าทาสบริวารของพระ
  • 7:40 - 7:44
    ส่วนศิลจารึกหลักที่ K.600 เนี่ยนะ ก็มีพูดถึงคำนี้เหมือนกัน
  • 7:44 - 7:47
    ก็จะเขียนไปเลยว่า กฺญุํ วฺระ ก็คือ ข้าทาสบริวารของพระนะคะ
  • 7:47 - 7:52
    ในศิลาจารึกเขารังนะคะ เมื่อปีพุทธศักราช 1182 เนี่ย
  • 7:52 - 7:55
    ก็มีเขียนถึง กฺญุํ ไว้เหมือนกันนะคะ
  • 7:55 - 7:56
    หรือว่าข้าทาสบริวารของพระค่ะ
  • 7:56 - 7:59
    ซึ่งภาษาเขมรมันยาวมาก วิวขออนุญาตไม่อ่านละกันนะ
  • 7:59 - 8:01
    เพราะว่าคนส่วนใหญ่ตรงนี้ น่าจะไม่ได้อินภาษาเขมรเท่าไหร่นะ
  • 8:01 - 8:03
    แต่ว่า มันแปลว่า ประมาณนี้ค่ะ
  • 8:03 - 8:07
    ทาสซึ่งข้าพเจ้า สินาหฺวฺ ได้ให้แก่วิหาร
  • 8:07 - 8:08
    ก็คือแปลว่า
  • 8:08 - 8:14
    พูดถึงว่า เออ คนเหล่านี้ก็คือ ข้าทาสบริวารที่ข้าเนี่ยได้ถวายให้กับพระวิหารแห่งนี้นะคะ
  • 8:15 - 8:18
    ซึ่งหลักฐานการที่ว่า วัดต่างๆ มีข้าทาสมีบริวารของตัวเองเนี่ย
  • 8:18 - 8:22
    อันนี้วิวเดาเองนะว่า มันก็ส่งต่อมาถึงอยุธยาด้วยเหมือนกัน
  • 8:22 - 8:24
    เพราะว่ามันก็ค่อนข้างจะมีหลักฐานที่ชัดเจนนะว่า
  • 8:24 - 8:27
    เราได้รับอิทธิพลจากขอม จากเขมรมาค่อนข้างมากค่ะ
  • 8:27 - 8:29
    และในการปกครองสมัยอยุธยาเนี่ย
  • 8:29 - 8:33
    ตามที่วิวเคยเล่าไว้เมื่อนานมาแล้วเรื่อง ระดับชนชั้นในสมัยอยุธยา
  • 8:33 - 8:34
    จำกันได้ไหมว่า
  • 8:34 - 8:37
    ในสมัยอยุธยาเนี่ย เรามีกลุ่มคนกลุ่มนึงที่ชื่อว่า เลกวัด
  • 8:37 - 8:42
    ซึ่งก็คือ พวกไพร่ต่างๆ ที่พระมหากษัตริย์เนี่ย ถวายให้กับพระใช่ไหมคะ?
  • 8:42 - 8:43
    ให้คอยรับใช้พระต่างๆ
  • 8:43 - 8:46
    คอยทำงาน ทำนู่นทำนี่ให้กับพระ
  • 8:46 - 8:48
    ก็จะนับคนกลุ่มนี้ว่าเป็นไพร่หลวงใช่ไหม?
  • 8:48 - 8:51
    ที่หลวงเนี่ยถวายให้กับวัด แล้วก็ทำงานต่างๆ ให้วัด
  • 8:51 - 8:53
    ไม่ว่าจะเป็นทำไร่ไถ่นา
  • 8:53 - 8:56
    เพื่อหาอาหาร หาความอุดมสมบูรณ์ให้กับวัด
  • 8:56 - 9:00
    แล้วคนพวกนี้ พอมีลูกมีหลานก็คือจะเป็นเลกวัดเนี่ยต่อไปเรื่อยๆๆ
  • 9:00 - 9:04
    ก็คือถือว่าเป็นเหมือนกับข้ารับใช้ของวัด ว่ายังงั้นเถอะ
  • 9:04 - 9:05
    แล้วเท่านั้นยังไม่พอนะคะ
  • 9:05 - 9:07
    ในสมัยอยุธยาก็ยังมีคำว่า โยมพระ
  • 9:07 - 9:10
    ที่หมายถึงว่า เป็นญาติของพระที่สอบได้เปรียญเนี่ย
  • 9:10 - 9:13
    ก็จะไม่ต้องเข้าระบบไพร่ สักเลกอะไรต่างๆ
  • 9:13 - 9:15
    แต่ว่าคอยรับใช้พระอยู่ ประมาณนั้นค่ะ
  • 9:15 - 9:19
    ที่นี้ถามว่าคำว่า กฺญุํ เนี่ย มาเป็นคำว่า โยม ในสมัยปัจจุบันได้ยังไง?
  • 9:19 - 9:23
    ก็ต้องบอกว่า ในสมัยต่อมาค่ะ ภาษาเขมรก็มีการเปลี่ยนแปลงของตัวเองนะคะ
  • 9:23 - 9:27
    จากเดิมเนี่ยนะคะ ในสมัยก่อนพระนครที่ใช้คำว่า กฺญุํเนี่ย
  • 9:27 - 9:29
    เสียงมันก็มีการเปลี่ยนค่ะ
  • 9:29 - 9:32
    คือคนสมัยต่อมามันก็ออกเสียงคำเดินไม่เหมือนเดิม ว่ายังงั้นเถอะ
  • 9:32 - 9:33
    ประมาณนั้นนะ
  • 9:33 - 9:36
    ในสมัยพระนครค่ะ มีการเปลี่ยนเสียงเกิดขึ้น
  • 9:36 - 9:38
    จาก กอ เนี่ย กลายเป็น ขอ นะคะ
  • 9:38 - 9:42
    ดังนั้นจากคำว่า กฺญุํ ก็เลยกลายเป็นคำว่า ขยม นั่นเองค่ะ
  • 9:42 - 9:45
    ซึ่งในสมัยปัจจุบันเนี่ย คำนี้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปค่ะ
  • 9:45 - 9:48
    คือจากคำว่า ខ្ញុំ ที่แปลว่า ข้าทาสบริวารอะไรยังงี้
  • 9:48 - 9:49
    ก็เหลือคำว่า ข้า อย่างเดียว
  • 9:49 - 9:52
    ซึ่งต่อมาในสมัยปัจจุบันนี้แล้วเนี่ย
  • 9:52 - 9:55
    ใครรู้ภาษาเขมรจะรู้ว่าคำว่า ខ្ញុំ เนี่ยแปลว่า ฉัน
  • 9:55 - 9:56
    แปลว่า ไอ(I) นะคะ
  • 9:56 - 9:57
    ก็ make sense นิดนึง
  • 9:57 - 9:58
    อันน้ีเดาเอง 100% นะว่า
  • 9:58 - 10:04
    มันอาจจะหมายถึงว่า เออ แต่ก่อนเราก็เรียกตัวเองเหมือนเป็นข้าของคนที่เราพูดถึง
  • 10:04 - 10:08
    พอเราใช้ไปเรื่อยๆ สุดท้ายคำว่า ข้า ก็เลยกลายเป็น คำว่า ฉัน ประมาณนั้นเลย
  • 10:08 - 10:12
    เหมือนกับที่ทุกวันนี้เราก็เรียกตัวเองว่า ข้าพเจ้า อะไรแบบนี้
  • 10:12 - 10:14
    มันก็เป็นคำว่า ข้า ที่หมายถึง ข้ารับใช้
  • 10:14 - 10:17
    ก็กลายเป็นความหมายคำว่า ฉัน ประมาณนั้นเลยนะคะ
  • 10:17 - 10:21
    ที่นี้ในเขมรเนี่ย คำว่า ខ្ញុំ เนี่ย กลายเป็นคำว่า ฉัน ไปแล้วเรียบร้อยใช่ไหม?
  • 10:21 - 10:26
    แต่ว่า ในไทยเนี่ยนะคะ แน่นอนว่า เรารับอิทธิพลของขอมของเขมรมาค่อนข้างเยอะ
  • 10:26 - 10:29
    ดังนั้นเรารับภาษาของขอมของเขมรมาเยอะมาก
  • 10:29 - 10:31
    โดยเฉพาะคำศัพท์ที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ค่ะ
  • 10:31 - 10:34
    ไม่ว่าจะเป็นคำว่า ฉัน คำว่า จังหัน คำว่า หูย เยอะแยะเต็มไปหมด
  • 10:34 - 10:37
    ซึ่งเดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะมาเล่าให้ฟังในโอกาสถัดไปนะคะ
  • 10:37 - 10:42
    แน่นอนว่า คำนึงที่เราจะต้องได้รับมาด้วยคือคำว่า ខ្ញុំ ในฐานะข้ารับใช้พระค่ะ
  • 10:42 - 10:47
    ซึ่งคำว่า ខ្ញុំ เนี่ย นึกภาพคนเขมรเค้าออกเสียงแบบควบกล้ำได้มากกว่าเราใช่ป้ะ?
  • 10:47 - 10:50
    เค้าจะแบบ ขญุํ ขญุํ ขญุํ ขญุํ ข-ญุํ
  • 10:50 - 10:52
    ฟังดีๆ คิดว่าคนไทยออกได้ไหม? ขญุํ ขญุํ เนี่ย
  • 10:52 - 10:53
    ไม่ได้ค่ะ
  • 10:53 - 10:55
    ดังนั้นคนไทยก็อาจจะฟังแล้วเพี้ยนนะคะ
  • 10:55 - 10:59
    กลายเป็นคำว่า ขญุํ ข-ญม ขะ-โญม โญม โยม
  • 10:59 - 11:04
    แล้วก็เอาคำว่า โยม เนี่ย มาใช้กับข้ารับใช้พระต่างๆ ในที่สุดค่ะ
  • 11:04 - 11:06
    ส่วนใครที่คิดว่า เอ๊ะ เรื่องนี้จะมั่วหรือเปล่า?
  • 11:06 - 11:08
    จาก ขฺญุํ จะกลายเป็น โยม ได้ยังไงนะคะ?
  • 11:08 - 11:11
    ก็ต้องบอกว่า เราสามารถไปดูได้ที่ภาษาอื่นค่ะ
  • 11:11 - 11:13
    ที่มันยังเปลี่ยนแปลงมาไม่หมดนะคะ
  • 11:13 - 11:17
    ถือว่า เป็นหลักฐานอีกแบบนึงที่เราสามารถรู้ได้นะ
  • 11:17 - 11:19
    นั่นก็คือ ไปดูที่ภาษาเหนือนั่นเอง
  • 11:19 - 11:21
    ใครที่รู้ภาษาเหนือนะคะ จะรู้ว่า
  • 11:21 - 11:27
    ปัจจุบันเนี่ย ยังมีการเรียกฆราวาสต่างๆ ที่คอยดูแลพระว่า ขะโยม อยู่นะคะ
  • 11:27 - 11:29
    ก็น่าจะมีที่มาเดียวกันนี่แหละค่ะ
  • 11:29 - 11:31
    ก็คือคำว่า ขฺญุํ ที่กลายเป็นคำว่า โยม
  • 11:31 - 11:34
    แต่ว่า ยังเอาเสียง ขะ ออกไปไม่หมดนะคะ
  • 11:34 - 11:37
    และทั้งหมดนี่นะคะ ก็คือคำตอบที่ว่า ทำไมพระถึงเรียกคนทั่วไปว่า โยม? ค่ะ
  • 11:37 - 11:42
    ก็คือ มันมีวิวัฒนาการมาจากภาษาเขมรโบราณที่แปลว่า ข้าทาสบริวาร นะคะ
  • 11:42 - 11:45
    และเราก็ได้รับอิทธิพลจากนั้นมา
  • 11:45 - 11:47
    จากนั้นเราก็เอามาออกเสียงในรูปแบบของเรา
  • 11:47 - 11:51
    จากคำว่า ขฺญุํ ขฺญุํ กลายมาเป็นคำว่า โยม นั่นเองค่ะ
  • 11:51 - 11:56
    และทั้งหมดนี้ค่ะ ก็คือ คำตอบที่วิวขอมอบให้กับนวลที่ส่งคำถามนี้เข้ามานะคะ
  • 11:56 - 12:01
    ก็ขอบคุณนวลมากๆ นะคะที่ส่งคำถามเข้ามา แล้วทำให้เรามีประเด็นน่าสนใจได้คุยกันค่ะ
  • 12:01 - 12:02
    สำหรับใครที่มีคำถามอยากถามวิว
  • 12:02 - 12:05
    ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมีสาระ เรื่องไร้สาระ หรืออะไรก็ตาม
  • 12:05 - 12:08
    ก็ #วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด นะคะ
  • 12:08 - 12:10
    ถ้าสมมติว่า มันน่าสนใจพอ มันจะอยู่ที่ช่องนี้
  • 12:10 - 12:12
    และถ้ามันน่าสนใจในอีกรูปแบบนึง
  • 12:12 - 12:14
    มันก็จะไปอยู่ที่ช่องจุดชมวิวค่ะ
  • 12:14 - 12:17
    สำหรับวันนี้ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้ อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว
  • 12:17 - 12:19
    แล้วก็กดแชร์ เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันค่ะ
  • 12:19 - 12:21
    แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้านะคะทุกคน
  • 12:21 - 12:23
    บ้าย บาย สวัสดีค่ะ
  • 12:24 - 12:24
    เป็นไงกันบ้างคะทุกคน?
  • 12:24 - 12:26
    ดูเนื้อหาคลิปนี้ไปแล้ว หนักนิดนึงนะ
  • 12:26 - 12:30
    แต่วิวมองว่า เฮ้ย วิวไปเจอเรื่องนี้มา แล้ววิวรู้สึกว่า มันน่าสนใจ
  • 12:30 - 12:32
    แล้วบังเอิญนวลก็ถามขึ้นมาพอดี
  • 12:32 - 12:35
    ก็เลยคิดว่า เอามาแบ่งปันให้ทุกคนฟังดีกว่าค่ะ
  • 12:35 - 12:39
    ส่วนตัววิวเนี่ย ไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาขอมโบราณ เขมรโบราณอะไรเลย
  • 12:39 - 12:43
    เคยเรียนมาน้อยมากกกนะคะทุกคน น้อยแบบ น้อยแบบแทบจะหายไปหมดแล้วนะ
  • 12:43 - 12:44
    คืนครูไปเกลี้ยงแล้วนะคะ
  • 12:44 - 12:50
    ดังนั้นถ้าสมมติว่าใครที่เป็นคนดูในช่องนี้ แล้วมีความรู้ด้านนี้มากกว่าวิว
  • 12:50 - 12:52
    ยินดีมากๆ เลยนะคะ คอมเมนท์มาด้านล่างได้เลย
  • 12:52 - 12:55
    วิวจะรู้สึกดีใจมากที่มีคนมาแบ่งปันข้อมูลความรู้ต่างๆ
  • 12:55 - 12:58
    แล้วก็สร้าง community ดีๆ ใต้คอมเมนท์คลิปนี้ค่ะ
  • 12:58 - 13:00
    สำหรับวันนี้ลาไปก่อนละกันนะคะทุกคน
  • 13:00 - 13:02
    บ้าย บาย สวัสดีค่ะ
Title:
ทำไมพระถึงเรียกคนทั่วไปว่า 'โยม' ? #วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด EP.9 | Point of View ft. นวล
Description:

more » « less
Duration:
13:04

Thai subtitles

Revisions