อยากรู้กันไหมคะ? ทำไมพระต้องเรียกคนอื่นว่า โยม? สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะในรายการๆ นึงซึ่งห่างหายไปนานมากกกแล้วค่ะ นั่นก็คือ รายการวิวเอ๋ยบอกข้าเถิด นั่นเองนะคะ รายการที่วิวจะเอาคำถามที่ทุกคนถามมาใน #วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด เนี่ย มาเล่าให้ทุกคนฟังค่ะ ซึ่งตอนนี้เนี่ย ด้วยความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ในแชนเนลเรามากมายนะคะ ดังนั้น session วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด เนี่ยก็เลยเหมือนกับว่า จะโดนแยกออกไปเป็น 2 ช่องซะอย่างนั้นเลย เอาเป็นว่า ใครมีคำถามอยากถามอะไรวิว ก็ถามมาเถอะค่ะ ติด #วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด มา ถ้าคำถามไหนนะคะ เหมาะกับช่อง Point of View มันก็จะมาเป็นวิดีโอแบบวิดีโอนี้เนี่ยแหละค่ะ ส่วนถ้าคำถามไหนมันอาจจะไม่ค่อยเหมาะกับ Point of View แน่นอนว่า เรามีสถานที่นึงที่เราทำอะไรก็ได้นะคะ และหลายคนยังไม่รู้ นั่นก็คือ ช่องจุดชมวิว นั่นเอง ก็ไปรอฟังคำตอบทางช่องนั้นได้เช่นกันค่ะ เดี๋ยวจะพยายามเอารายการนี้กลับมาตอบคำถามทุกคนนะคะ เพราะว่าหลายคนมีคำถามต่างๆ เข้ามาเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มีสาระ เรื่องเกี่ยวกับการเรียน การหาข้อมูลของวิว รวมไปถึงบางทีก็ถามเกี่ยวกับวิวเองมาเหมือนกัน ซึ่งก็คงไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ที่จะมาตอบลง Point of View เนอะ ก็สามารถไปติดตามได้ทางนั้นค่ะ ซึ่งหลังจากเวิ่นเว้อมาพอสมควรละ ตอนนี้ก็ได้เวลาที่เราจะเข้าไปตอบคำถามสำหรับคลิปนี้แล้วค่ะ พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุก แล้วก็ได้สาระกันหรือยังคะ? ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ สำหรับคำถามจากรายการวิวเอ๋ยบอกข้าเถิดในวันนี้นะคะ บอกเลยว่า exclusive มากๆ ค่ะ เพราะว่าคนถามเนี่ย ไม่ใช่คนค่ะทุกคน คนถามเป็นหมานะคะ แปลกใจไหม? อยู่ดีๆ หมาก็มาถามคำถามวิว และหมาตัวนี้จะถามคำถามวิวว่าอะไร? ไปฟังพร้อมๆกันเลยดีกว่าค่ะ นวล นี่คือ นวล นวลเป็นหมา วันก่อนตอนเช้าๆ นวลไปนอนตากแอร์แถวเซเว่น แถวหน้าวัด สักพักก็มีพระออกมาบิณฑบาตร นวลได้ยินเสียงพระเรียกคนใส่บาตรว่า โยม นวลเลยยื่นหน้าไปดู หรือว่าคนที่กำลังใส่บาตรคือ โยมอัง ยังโอม? แต่ปรากฏว่า ไม่ใช่ นวลเกิดความสงสัยว่า ทำไมพระถึงต้องเรียกคนทั่วไปว่า โยม? ถ้าเราเรียกพระว่า โยม บ้าง พระจะต้องสึกไหม? รบกวนพี่วิวช่วยตอบคำถามด้วยครับ ม๊วฟ โอ้โห ทุกคน เขินเลยนะคะ ได้คำถามจากหมาเซเลบอย่างนวลมานะ ซึ่งเอาจริงๆ คำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบยากพอสมควรเลย แล้วหลายๆ คนเนี่ย เชื่อว่าตอนที่ยังไม่เห็นคำถามนี้ ก็ไม่ได้อยากรู้กันหรอกค่ะ แต่ทันทีที่เห็นหัวข้อคลิปวิวด้านล่าง หรือว่าได้ยินนวลถามวิวมาเนี่ย ก็น่าจะอยากรู้คำตอบกันแล้วนะคะ ซึ่งส่วนตัววิวเองเนี่ย ต้องสารภาพตรงนี้เลยว่า ก่อนหน้านี้วิวไม่เคยรู้คำตอบมาก่อนเลยค่ะ ไม่เคยเลย จนกระทั่งบังเอิญมากๆ เลยนะคะ ก่อนที่นวลจะถามคำถามนี้ไม่นานเลย วิวบังเอิญได้หนังสือเล่มนึงมาค่ะ แล้วก็มันมีคำตอบอยู่ในนั้น ซะอย่างนั้นเลยนะคะ หนังสือเล่มนั้นก็คือ แลหลังคำเขมร-ไทย นะคะ ของรองศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ ศานติ ภักดีคำ นะ ซึ่งสำนักพิมพ์มติชนเค้าส่งมาให้วิวค่ะ บังเอิญมากว่า ในเล่มนี้มันมีคำตอบอยู่ มันมีวิวัฒนาการของคำว่า โยม วิวก็เลยไปสรุปรวบรวมข้อมูลมาจากเล่มนี้ แล้วก็ประกอบกับแหล่งอ้างอิงอื่นๆ นะคะ ซึ่งวิวขึ้นไว้ให้ด้านล่าง เอามาตอบคำถามนี้ในวันนี้แล้วค่ะ อยากรู้กันแล้วใช่ไหมว่า ทำไมพระต้องเรียกคนธรรมดาว่า โยม? ก่อนที่เราจะเข้าไปตอบคำถามกันนะคะ หลายคนชอบบอกว่า วิวเวิ่น แต่ว่า ถ้าตอบเลยทันทีเนี่ย คนอาจจะไม่เข้าใจที่มาที่ไปต่างๆ ค่ะ ดังนั้นต้องย้อนไปนิดนึงนะ อย่างแรกก่อนเลยที่เราต้องทำก็คือ เราต้องมาแปลคำว่า โยม กันก่อนค่ะ คำว่า โยม เนี่ยนะคะ ในสมัยปัจจุบัน เราใช้กันในความหมายไหน? เอาแบบที่ทุกคนเข้าใจเนี่ย เอาแบบเบสิคสุดๆ เลยนะ คำว่า โยม เนี่ยคือ คำที่พระสงฆ์เนี่ยใช้เรียก คนที่เป็นฆราวาสใช่ไหมคะ? แบบ อ่ะ โยมหยิบนั่นให้อาตมาหน่อย โยมนู่น โยมนี่ โยมนั่น เอ้า โยมจะมาฟังธรรมไหม? อะไรต่างๆ นะคะ ซึ่งเอาจริงๆ อ่ะ ความหมายเนี่ย มันแอบมีความต่างจากความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอยู่จึ๊งนึงค่ะ ดังนั้นเรามาดูกันก่อนดีกว่าว่า ตามราชบัณฑิตเนี่ย เค้าให้ความหมายของคำว่า โยม ว่ายังไงนะ ก็ต้องบอกว่า ความหมายตามราชบัณฑิตนะคะ มีเยอะมากค่ะทุกคน มีถึง 6 ความหมายด้วยกันค่ะ โดยความหมายแรกของคำว่า โยม นะคะ ก็คือ คำที่พระสงฆ์เนี่ยใช้เรียก คนที่อยู่ในรุ่นเดียวกับพ่อกับแม่ของพระสงฆ์ค่ะ ได้แก่ โยมพ่อ โยมแม่ อ่ะ โยมน้า โยมป้า โยมอา โยมลุง อะไรอย่างนี้นะคะ ก็คือรุ่นราวคราวเดียวกัน ประมาณนั้นค่ะ ส่วนความหมายที่สองนะคะ ก็คือ ใช้เรียกแทนชื่อพ่อหรือชื่อแม่ของพระสงฆ์นั่นเอง ก็จะเรียกว่า โยมๆ อะไรแบบนี้ไปเลยนะ แทนที่จะไปเรียกชื่อพ่อชื่อแม่ค่ะ ส่วนความหมายที่สาม คล้ายกับความหมายที่สองมาก เอาจริงๆ วิวก็งงๆ ราชบัณฑิตเหมือนกันนะคะว่า ทำไมถึงต้องแยกเป็นตั้ง 6 ความหมายนะ แต่ว่า มันอาจจะมีความแตกต่างกันอยู่เล็กๆ น้อยๆ ละกัน เอาเป็นว่า ฟังขำๆ เพลินๆ นะทุกคน ความหมายที่สามนะคะ คำว่า โยม เนี่ย ใช้เรียกแทนบิดามารดาของพระค่ะ จะเรียกว่า โยมพระ ก็คือสมมติบอกว่า อ่ะ นี่คือ โยมพระทั้งสอง ก็แปลว่า นี่คือโยมพ่อกับโยมแม่ของพระนั่นเองนะคะ ไปต่อกันที่ความหมายที่สี่ค่ะ ความหมายที่สี่ค่ะ ในที่สุดเราก็หลุดจากเรื่องพ่อแม่แล้วนะ ความหมายที่สี่ของคำว่า โยม นะคะ ก็คือใช้เรียกคนที่มาอุปการะพระสงฆ์ต่างๆ คือประมาณว่า คนที่ปวารณาตัวว่า โอเค คนนี้บวชเป็นพระแล้ว ถ้ามีอะไรขาดเหลือ เดี๋ยวฉันจะเป็นคนจัดหาให้พระรูปนี้เองนะ ซึ่งเราจะเรียกโยมแบบนี้นะคะว่า โยมอุปัฏฐาก นั่นเอง คุ้นๆ กันไหม? นี่ก็คือโยมที่บอกว่า จะอุปการะพระนั่นเองค่ะ ส่วนความหมายที่ห้านะคะ จะใกล้ๆ กับความหมายที่สี่ค่ะ ความหมายที่สี่หมายถึง คนที่แบบอาจจะอยู่นอกวัด แล้วก็คอยดูแลพระใช่ไหม? เป็นโยมอุปัฏฐาก แต่คนที่เข้ามาอยู่ในวัดเนี่ย ที่เป็นฆราวาส เคยเห็นเปล่า? พวกเด็กวงเด็กวัดอะไรต่างๆ หรือว่าพวกฆราวาสต่างๆ ที่อยู่ตามกุฏิพระคอยช่วยเหลือดูแลพระ พวกนี้เราจะเรียกว่า โยมวัด นะคะ ก็เป็นอีกความหมายนึงของคำว่า โยม ค่ะ ส่วนความหมายที่หกของคำว่า โยม เนี่ยนะคะ ก็จะกว้างไกลกว่านิดนึง ก็คือคนที่อุปการะพระไปโดยทั่วๆ นะ เหมือนแบบไม่ได้อุปการะพระรูปใดรูปนึง อะไรประมาณนี้ เค้าจะเรียกฆราวาสทั่วไปแบบนี้ว่า โยมสงฆ์ นั่นเองค่ะ นี่ก็คือความหมายทั้ง 6 ของคำว่า โยม ตามราชบัณฑิตยสถานนะคะ ทีนี้ว่าแต่ เออ เราก็รู้ความหมายของคำว่า โยมไปแล้ว แล้วคำว่า โยมเนี่ย มันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อะไรยังไง? แล้วกลายมาเป็นคำที่พระใช้เรียกคนธรรมดาได้ยังไง? ก็ต้องบอกว่า คำว่า โยม คำนี้เนี่ยนะคะ มีที่มาที่ไปนานมากกกแล้วค่ะ นานแบบน้านนาน แล้วมันไม่ได้เกิดในประเทศไทยค่ะ นี่มันเป็นคำยืมนะคะ ที่เรายืมมาจากชนชาตินึงค่ะ นั่นก็คือชนชาติเขมรนั่นเอง แล้วก็เป็นเขมรที่เก่าแก่มากนะ ในสมัยก่อนพระนครค่ะ พูดถึงพระนคร หลายคนก็แบบก่อนพระนคร? ก่อน ก่อนเขตพระนครอ่ะนะ? พระนคร กรุงเทพที่มีวัดพระแก้วอยู่อ่ะนะ? ต้องบอกว่า ไม่ใช่ค่ะ คำว่า พระนครในที่นี้หมายถึง นครวัด นครธมนะคะ ซึ่งก็สร้างมานานแสนนานแล้วใช่ไหมทุกคน? อย่างไรก็ตามนะคะ เรามีหลักฐานค่ะว่า คำที่เป็นที่มาของคำว่า โยม เนี่ย เราพบอยู่ในศิลาจารึกหลักนึงนะคะ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 6 ค่ะ ก็สมัยก่อนสมัยพระนครอ่ะนะ และคำนั้นในสมัยน้ันเนี่ย ไม่ได้ออกเสียงว่า โยม ค่ะ แต่ออกเสียงว่า กะ-ญม นะคะ กญม ประมาณนี้ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า วิวออกเสียงถูกไหมนะ ก็ถอดเสียงมาจากภาษาเขมรปัจจุบันนะ ขึ้นไว้ให้แถวนี้แล้วว่า มันเขียนว่ายังไง ถ้าใครอ่านจารึกสมัยนั้นออก ก็ลองอ่านกันเองดูนะจ๊ะทุกคน แล้วถามว่า คำว่า กฺญุํ ในสมัยนั้นเนี่ย เค้าแปลว่าอะไร? ก็ต้องบอกว่า เค้าแปลว่า ข้าทาสบริวาร ค่ะ แปลว่า พวกทาสต่างๆ ประมาณนี้นะ อย่างในศิลาจารึกหลักนึงเนี่ย หลักที่ K.388 เนี่ยนะคะ คือศิลาจารึกมันเยอะมากอ่ะนะ ตั้งชื่อได้ไม่หมด บางทีเค้าก็รันเป็นตัวเลขเหมือนกันนะ ในศิลาจารึกหลักที่ K.388 เนี่ย มันก็มีข้อความนะคะ เขียนไว้ประมาณนี้ วิวไม่แน่ใจว่า วิวออกเสียงถูกไหมนะ แต่ว่าก็พยายามออกเสียงให้ใกล้เคียงที่สุดกับภาษาเขมรปัจจุบันแล้วนะ เอาที่ความรู้ยังพอหลงเหลืออยู่เสี้ยวเล็กมากๆ ในสมองนะคะ ก็คือ เนะ คิ กฺญุํ วฺระ นะคะ เนะคืออะไร? เนะคือ นี่ นะคะ คิ คือ คือ กฺญุํก็คือ ข้าทาสบริวาร วฺระนี่ก็ชัดเจนนะคะ วฺระก็คือ พระ นั่นเอง แปลทั้งหมดเนี่ย ก็แปลได้ว่า นี่คือข้าทาสบริวารของพระ ส่วนศิลจารึกหลักที่ K.600 เนี่ยนะ ก็มีพูดถึงคำนี้เหมือนกัน ก็จะเขียนไปเลยว่า กฺญุํ วฺระ ก็คือ ข้าทาสบริวารของพระนะคะ ในศิลาจารึกเขารังนะคะ เมื่อปีพุทธศักราช 1182 เนี่ย ก็มีเขียนถึง กฺญุํ ไว้เหมือนกันนะคะ หรือว่าข้าทาสบริวารของพระค่ะ ซึ่งภาษาเขมรมันยาวมาก วิวขออนุญาตไม่อ่านละกันนะ เพราะว่าคนส่วนใหญ่ตรงนี้ น่าจะไม่ได้อินภาษาเขมรเท่าไหร่นะ แต่ว่า มันแปลว่า ประมาณนี้ค่ะ ทาสซึ่งข้าพเจ้า สินาหฺวฺ ได้ให้แก่วิหาร ก็คือแปลว่า พูดถึงว่า เออ คนเหล่านี้ก็คือ ข้าทาสบริวารที่ข้าเนี่ยได้ถวายให้กับพระวิหารแห่งนี้นะคะ ซึ่งหลักฐานการที่ว่า วัดต่างๆ มีข้าทาสมีบริวารของตัวเองเนี่ย อันนี้วิวเดาเองนะว่า มันก็ส่งต่อมาถึงอยุธยาด้วยเหมือนกัน เพราะว่ามันก็ค่อนข้างจะมีหลักฐานที่ชัดเจนนะว่า เราได้รับอิทธิพลจากขอม จากเขมรมาค่อนข้างมากค่ะ และในการปกครองสมัยอยุธยาเนี่ย ตามที่วิวเคยเล่าไว้เมื่อนานมาแล้วเรื่อง ระดับชนชั้นในสมัยอยุธยา จำกันได้ไหมว่า ในสมัยอยุธยาเนี่ย เรามีกลุ่มคนกลุ่มนึงที่ชื่อว่า เลกวัด ซึ่งก็คือ พวกไพร่ต่างๆ ที่พระมหากษัตริย์เนี่ย ถวายให้กับพระใช่ไหมคะ? ให้คอยรับใช้พระต่างๆ คอยทำงาน ทำนู่นทำนี่ให้กับพระ ก็จะนับคนกลุ่มนี้ว่าเป็นไพร่หลวงใช่ไหม? ที่หลวงเนี่ยถวายให้กับวัด แล้วก็ทำงานต่างๆ ให้วัด ไม่ว่าจะเป็นทำไร่ไถ่นา เพื่อหาอาหาร หาความอุดมสมบูรณ์ให้กับวัด แล้วคนพวกนี้ พอมีลูกมีหลานก็คือจะเป็นเลกวัดเนี่ยต่อไปเรื่อยๆๆ ก็คือถือว่าเป็นเหมือนกับข้ารับใช้ของวัด ว่ายังงั้นเถอะ แล้วเท่านั้นยังไม่พอนะคะ ในสมัยอยุธยาก็ยังมีคำว่า โยมพระ ที่หมายถึงว่า เป็นญาติของพระที่สอบได้เปรียญเนี่ย ก็จะไม่ต้องเข้าระบบไพร่ สักเลกอะไรต่างๆ แต่ว่าคอยรับใช้พระอยู่ ประมาณนั้นค่ะ ที่นี้ถามว่าคำว่า กฺญุํ เนี่ย มาเป็นคำว่า โยม ในสมัยปัจจุบันได้ยังไง? ก็ต้องบอกว่า ในสมัยต่อมาค่ะ ภาษาเขมรก็มีการเปลี่ยนแปลงของตัวเองนะคะ จากเดิมเนี่ยนะคะ ในสมัยก่อนพระนครที่ใช้คำว่า กฺญุํเนี่ย เสียงมันก็มีการเปลี่ยนค่ะ คือคนสมัยต่อมามันก็ออกเสียงคำเดินไม่เหมือนเดิม ว่ายังงั้นเถอะ ประมาณนั้นนะ ในสมัยพระนครค่ะ มีการเปลี่ยนเสียงเกิดขึ้น จาก กอ เนี่ย กลายเป็น ขอ นะคะ ดังนั้นจากคำว่า กฺญุํ ก็เลยกลายเป็นคำว่า ขยม นั่นเองค่ะ ซึ่งในสมัยปัจจุบันเนี่ย คำนี้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปค่ะ คือจากคำว่า ខ្ញុំ ที่แปลว่า ข้าทาสบริวารอะไรยังงี้ ก็เหลือคำว่า ข้า อย่างเดียว ซึ่งต่อมาในสมัยปัจจุบันนี้แล้วเนี่ย ใครรู้ภาษาเขมรจะรู้ว่าคำว่า ខ្ញុំ เนี่ยแปลว่า ฉัน แปลว่า ไอ(I) นะคะ ก็ make sense นิดนึง อันน้ีเดาเอง 100% นะว่า มันอาจจะหมายถึงว่า เออ แต่ก่อนเราก็เรียกตัวเองเหมือนเป็นข้าของคนที่เราพูดถึง พอเราใช้ไปเรื่อยๆ สุดท้ายคำว่า ข้า ก็เลยกลายเป็น คำว่า ฉัน ประมาณนั้นเลย เหมือนกับที่ทุกวันนี้เราก็เรียกตัวเองว่า ข้าพเจ้า อะไรแบบนี้ มันก็เป็นคำว่า ข้า ที่หมายถึง ข้ารับใช้ ก็กลายเป็นความหมายคำว่า ฉัน ประมาณนั้นเลยนะคะ ที่นี้ในเขมรเนี่ย คำว่า ខ្ញុំ เนี่ย กลายเป็นคำว่า ฉัน ไปแล้วเรียบร้อยใช่ไหม? แต่ว่า ในไทยเนี่ยนะคะ แน่นอนว่า เรารับอิทธิพลของขอมของเขมรมาค่อนข้างเยอะ ดังนั้นเรารับภาษาของขอมของเขมรมาเยอะมาก โดยเฉพาะคำศัพท์ที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นคำว่า ฉัน คำว่า จังหัน คำว่า หูย เยอะแยะเต็มไปหมด ซึ่งเดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะมาเล่าให้ฟังในโอกาสถัดไปนะคะ แน่นอนว่า คำนึงที่เราจะต้องได้รับมาด้วยคือคำว่า ខ្ញុំ ในฐานะข้ารับใช้พระค่ะ ซึ่งคำว่า ខ្ញុំ เนี่ย นึกภาพคนเขมรเค้าออกเสียงแบบควบกล้ำได้มากกว่าเราใช่ป้ะ? เค้าจะแบบ ขญุํ ขญุํ ขญุํ ขญุํ ข-ญุํ ฟังดีๆ คิดว่าคนไทยออกได้ไหม? ขญุํ ขญุํ เนี่ย ไม่ได้ค่ะ ดังนั้นคนไทยก็อาจจะฟังแล้วเพี้ยนนะคะ กลายเป็นคำว่า ขญุํ ข-ญม ขะ-โญม โญม โยม แล้วก็เอาคำว่า โยม เนี่ย มาใช้กับข้ารับใช้พระต่างๆ ในที่สุดค่ะ ส่วนใครที่คิดว่า เอ๊ะ เรื่องนี้จะมั่วหรือเปล่า? จาก ขฺญุํ จะกลายเป็น โยม ได้ยังไงนะคะ? ก็ต้องบอกว่า เราสามารถไปดูได้ที่ภาษาอื่นค่ะ ที่มันยังเปลี่ยนแปลงมาไม่หมดนะคะ ถือว่า เป็นหลักฐานอีกแบบนึงที่เราสามารถรู้ได้นะ นั่นก็คือ ไปดูที่ภาษาเหนือนั่นเอง ใครที่รู้ภาษาเหนือนะคะ จะรู้ว่า ปัจจุบันเนี่ย ยังมีการเรียกฆราวาสต่างๆ ที่คอยดูแลพระว่า ขะโยม อยู่นะคะ ก็น่าจะมีที่มาเดียวกันนี่แหละค่ะ ก็คือคำว่า ขฺญุํ ที่กลายเป็นคำว่า โยม แต่ว่า ยังเอาเสียง ขะ ออกไปไม่หมดนะคะ และทั้งหมดนี่นะคะ ก็คือคำตอบที่ว่า ทำไมพระถึงเรียกคนทั่วไปว่า โยม? ค่ะ ก็คือ มันมีวิวัฒนาการมาจากภาษาเขมรโบราณที่แปลว่า ข้าทาสบริวาร นะคะ และเราก็ได้รับอิทธิพลจากนั้นมา จากนั้นเราก็เอามาออกเสียงในรูปแบบของเรา จากคำว่า ขฺญุํ ขฺญุํ กลายมาเป็นคำว่า โยม นั่นเองค่ะ และทั้งหมดนี้ค่ะ ก็คือ คำตอบที่วิวขอมอบให้กับนวลที่ส่งคำถามนี้เข้ามานะคะ ก็ขอบคุณนวลมากๆ นะคะที่ส่งคำถามเข้ามา แล้วทำให้เรามีประเด็นน่าสนใจได้คุยกันค่ะ สำหรับใครที่มีคำถามอยากถามวิว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมีสาระ เรื่องไร้สาระ หรืออะไรก็ตาม ก็ #วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด นะคะ ถ้าสมมติว่า มันน่าสนใจพอ มันจะอยู่ที่ช่องนี้ และถ้ามันน่าสนใจในอีกรูปแบบนึง มันก็จะไปอยู่ที่ช่องจุดชมวิวค่ะ สำหรับวันนี้ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้ อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว แล้วก็กดแชร์ เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันค่ะ แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้านะคะทุกคน บ้าย บาย สวัสดีค่ะ เป็นไงกันบ้างคะทุกคน? ดูเนื้อหาคลิปนี้ไปแล้ว หนักนิดนึงนะ แต่วิวมองว่า เฮ้ย วิวไปเจอเรื่องนี้มา แล้ววิวรู้สึกว่า มันน่าสนใจ แล้วบังเอิญนวลก็ถามขึ้นมาพอดี ก็เลยคิดว่า เอามาแบ่งปันให้ทุกคนฟังดีกว่าค่ะ ส่วนตัววิวเนี่ย ไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาขอมโบราณ เขมรโบราณอะไรเลย เคยเรียนมาน้อยมากกกนะคะทุกคน น้อยแบบ น้อยแบบแทบจะหายไปหมดแล้วนะ คืนครูไปเกลี้ยงแล้วนะคะ ดังนั้นถ้าสมมติว่าใครที่เป็นคนดูในช่องนี้ แล้วมีความรู้ด้านนี้มากกว่าวิว ยินดีมากๆ เลยนะคะ คอมเมนท์มาด้านล่างได้เลย วิวจะรู้สึกดีใจมากที่มีคนมาแบ่งปันข้อมูลความรู้ต่างๆ แล้วก็สร้าง community ดีๆ ใต้คอมเมนท์คลิปนี้ค่ะ สำหรับวันนี้ลาไปก่อนละกันนะคะทุกคน บ้าย บาย สวัสดีค่ะ