< Return to Video

พระยา หลวง ขุน พัน ใครเป็นใคร? : เล่าเรื่องบรรดาศักดิ์ไทย | Point of View x ThaiPBS

  • 0:00 - 0:02
    สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
  • 0:02 - 0:06
    ช่วงนี้หนัง ละคร ซีรีส์อะไรต่างๆเยอะเต็มไปหมดเลยใช่มั้ยคะ
  • 0:06 - 0:08
    หนึ่งในนั้นมีเรื่องหนึ่งที่วิวสนใจมากๆเลย
  • 0:08 - 0:11
    ก็คือเรื่อง ปลายจวัก ของ ThaiPBS นั่นเองค่ะ
  • 0:11 - 0:14
    พูดถึงคำว่าปลายจวัก เนื้อเรื่องตรงตัวเลยนะคะ
  • 0:14 - 0:16
    ก็คือเรื่องเกี่ยวกับอาหารนั่นเองค่ะ และที่สำคัญ
  • 0:16 - 0:18
    มันเป็นละครย้อนยุคด้วยนะคะ
  • 0:18 - 0:21
    ดังนั้นตรงจริตวิวมากๆ นอกจากนี้นะ
  • 0:21 - 0:24
    บอกเลยว่าวิธีนำเสนอของเขาเนี่ยเก๋สุดๆเลยค่ะ
  • 0:24 - 0:27
    คือเขาไม่ได้มาเป็นละครแบบสอนทำอาหารอะไรต่างๆนะคะ
  • 0:27 - 0:29
    แต่เขาทำเป็นเรื่องราวการต่อสู้ทางอาหารค่ะ
  • 0:29 - 0:33
    ระหว่างอาหารรวกลมกล่อม รสจืด รสหวาน กับ
  • 0:33 - 0:35
    อาหารรสจัดจ้าน รสเผ็ดนะคะ นอกจากนี้เนี่ย
  • 0:35 - 0:39
    เนื้อหาในเรื่องยังไปเกี่ยวกับสังคม การเมือง ประวัติศาสตร์
  • 0:39 - 0:43
    สมัยรัชกาลที่ 5 อีกค่ะ น่ะ เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ผ่านอาหาร
  • 0:43 - 0:46
    เก๋มาก ไม่เหมือนละครเรื่องอื่นๆที่เล่ากันแบบโต้งๆเลยใช่มั้ยคะ
  • 0:46 - 0:49
    ดังนั้นค่ะ แน่นอนว่าวิวติดเรียบร้อยแล้ว
  • 0:49 - 0:52
    เม้ามาขนาดนี้นะคะ เชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้แล้วแหละว่า
  • 0:52 - 0:54
    ทำไมวิวถึงไม่ค่อยได้ทำงานทำการ
  • 0:54 - 0:56
    ก็คือติดหนัง ติดละคร ติดซีรีส์นั่นแหละ อย่างไรก็ตามนะคะ
  • 0:56 - 0:59
    เพื่อให้เรื่องบันเทิงเป็นเรื่องที่มีประโยชน์เนี่ย
  • 0:59 - 1:01
    วิวก็เลยเอาความบันเทิงของตัวเองมาทำงานแล้วกันค่ะ
  • 1:01 - 1:05
    วิวก็เลยตัดสินใจว่าจะเอาเนื้อหาจาก ปลายจวัก มาเล่าให้ทุกคนฟังนะคะ
  • 1:05 - 1:09
    ซึ่งพูดถึงละครย้อนยุค ไม่ใช่แค่ ปลายจวัก หรอก เรียกได้ว่าทุกเรื่องเลย
  • 1:09 - 1:11
    ก็จะมีอยู่เรื่องหนึ่งค่ะที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ
  • 1:11 - 1:13
    แล้วคนก็อาจงงกันได้
  • 1:13 - 1:17
    นั่นก็คือเรื่องบรรดาศักดิ์นั่นเองค่ะ เพราะว่าในแต่ละเรื่องเนี่ยนะคะ
  • 1:17 - 1:20
    ตัวละครก็มีตำแหน่งเป็นพระยา เป็นพระ
  • 1:20 - 1:23
    เป็นขุน เป็นหลวง เดี๋ยวก็มีชื่อพระนาย
  • 1:23 - 1:25
    มีชื่อเจ้าขุน มีอะไรต่างๆขึ้นมานะคะ
  • 1:25 - 1:28
    ซึ่งชวนให้งงมากๆค่ะว่าในบรรดาศักดิ์เหล่านี้ ใครใหญ่กว่าใคร
  • 1:28 - 1:31
    ใครเล็กกว่าใคร ใครตำแหน่งสูงต่ำขนาดไหนนะคะ
  • 1:31 - 1:34
    ดังนั้นวิวรวบรวมมาให้ทุกคนฟังแล้วค่ะ
  • 1:34 - 1:37
    จะได้ไม่มีปัญหาเวลาดูละครย้อนยุคต่อๆไปนะคะ
  • 1:37 - 1:40
    อย่างไรก็ตามค่ะ ก่อนจะไปฟังเรื่องนี้
  • 1:40 - 1:43
    อย่าลืมกดติดตามวิวทุกช่องทางนะคะ จะได้ไม่พลาดคลิปวิดีโอสนุกๆ
  • 1:43 - 1:45
    และก็ข่าวสารดีๆจากช่อง Point of View ค่ะ สำหรับตอนนี้
  • 1:45 - 1:48
    พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุกและก็มีสาระกันหรือยังคะ
  • 1:48 - 1:50
    ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ
  • 1:54 - 1:56
    พูดถึงพระ พระยา อะไรต่างๆเนี่ยนะคะ
  • 1:56 - 1:59
    แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับขุนนางนั่นเองค่ะ
  • 1:59 - 2:03
    ถามว่าขุนางคือใคร ขุนนางคือคนที่มีโอกาสได้เข้ารับราชการนะคะ
  • 2:03 - 2:06
    หรือถ้าในสมบูรณายาสิทธิราชย์
  • 2:06 - 2:09
    ก็คือคนที่มีโอกาสได้เข้าไปเป็นข้ารับใช้ของ
  • 2:09 - 2:12
    พระมหากษัตริย์นั่นเองค่ะ ทีนี้เวลาเราพูดถึงขุนนางกันเนี่ยนะคะ
  • 2:12 - 2:15
    ก็จะต้องมีทั้งหมด 4 เรื่องที่เราจำเป็นจะต้องรู้ค่ะ
  • 2:15 - 2:17
    เรื่องแรกก็คือยศหรือบรรดาศักดิ์นั่นเองค่ะ
  • 2:17 - 2:19
    ยศหรือบรรดาศักดิ์ ก็จะเป็นตัวที่คอยบอกนะคะว่า
  • 2:19 - 2:23
    ขุนนางของเราอยู่ในระดับที่สูงต่ำขนาดไหนอะไรยังไงนะคะ
  • 2:23 - 2:25
    ส่วนเรื่องที่สองที่จะต้องรู้
  • 2:25 - 2:28
    ก็คือตำแหน่งนะคะ นอกจากจะมียศแล้ว
  • 2:28 - 2:31
    เหมือนนายพัน พลเอก อะไรต่างๆแล้ว ตำแหน่งคือส่วนที่บอกค่ะว่า
  • 2:31 - 2:34
    ตำแหน่งของขุนนางคนนี้ดูแลกรมไหน
  • 2:34 - 2:37
    กองไหน สังกัดอะไรนะคะ อารมณ์เหมือนทหารปัจจุบันเนี่ย
  • 2:37 - 2:40
    ถ้าเป็นยศหรือบรรดาศักดิ์ ก็คือ
  • 2:40 - 2:43
    ตำแหน่งพันเอก พลเอก ร้อยตำรวจโท อะไรอย่างนี้ใช่ไหมคะ
  • 2:43 - 2:46
    ส่วนตำแหน่งเนี่ยก็คือบอกว่าสังกัดทหารอากาศ
  • 2:46 - 2:49
    สังกัดกองทัพบก สังกัดอะไอย่างนี้นะคะ
  • 2:49 - 2:52
    สมัยก่อนก็จะเป็นกรมต่างๆ เช่นเป็นจางวาง
  • 2:52 - 2:56
    เป็นเจ้ากรม เป็นสังกัดกองนั้นกองนี้ อะไรอย่างนี้นะคะ
  • 2:56 - 2:59
    ส่วนข้อที่สามที่ต้องรู้นะคะก็คือ
  • 2:59 - 3:02
    ราชทินนาม นั่นเองค่ะ ราชทินนามนี่เหมือนกับเป็นชื่อพระราชทาน
  • 3:02 - 3:05
    เป็นชื่อที่เหมือนจะเป็นชื่อในราชการ
  • 3:05 - 3:08
    ส่วนมากนิยมตั้งเป็นภาษามคธหรือว่าภาษาสันสกฤตค่ะ
  • 3:08 - 3:10
    ก็จะเป็นชื่อยาวๆที่เราจำยากๆกันนั้นแหละ
  • 3:10 - 3:14
    และที่สำคัญนะคะ ส่วนมากเขานิยมตั้งกันให้เข้ากับ
  • 3:14 - 3:16
    ตำแหน่งที่ตัวเองมีหน้าที่ดูแลด้วยค่ะ
  • 3:16 - 3:20
    ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการตัดสินคดีความเนี่ยนะคะ
  • 3:20 - 3:23
    เมื่อเรานึกย้อนไปถึงในวรรณคดีสันสกฤตต่างๆ
  • 3:23 - 3:26
    ใครกันนะที่เป็นคนมีหน้าที่ตัดสินคดีความ
  • 3:26 - 3:28
    อ๋อ คนที่ยุติธรรมที่สุด คนที่ยุติธรรมที่สุดคือพระยม
  • 3:28 - 3:31
    พระยม พระยม พระยม
  • 3:31 - 3:33
    ดังนั้นคนที่มีหน้าที่ตัดสินคดีความก็เลยได้ชื่อ
  • 3:33 - 3:36
    ราชทินนามว่า ยมราช นั่นเองค่ะ
  • 3:36 - 3:37
    ก็จะเป็นพระยายมราช ประมาณนั้นนะคะ
  • 3:38 - 3:40
    ส่วนข้อที่สี่ที่ต้องรู้ค่ะก็คือศักดินานะคะ
  • 3:40 - 3:43
    ศักดินานี่อธิบายให้เข้าใจค่อนข้างยาก
  • 3:43 - 3:46
    แต่เอาเป็นว่า มันจะเป็นตัวเลขที่เอาไว้กำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ
  • 3:46 - 3:48
    ความสำคัญของคนคนหนึ่งค่ะ
  • 3:48 - 3:50
    เวลาที่บอกศักดินาเนี่ย เขาจะบอกเป็นไร่ค่ะ
  • 3:50 - 3:53
    เช่น นา 1,000 ไร่ ศักดินา 200 ไร่ อย่างนี้นะคะ
  • 3:53 - 3:58
    อย่างไรก็ตามมันเหมือนจะเป็นสัญญลักษณ์มากกว่าที่จะเป็นที่นาจริงๆที่ได้
  • 3:58 - 4:00
    นี่ก็เป็น 4 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับขุนนางค่ะ
  • 4:00 - 4:04
    ที่นี้พูดแบบนี้อาจงง ดังนั้นเราลองมายกตัวอย่างขุนนางสักคนหนึ่งขึ้นมาดีกว่า
  • 4:04 - 4:07
    สำหรับวิว ให้นึกถึงคนที่คุ้นที่สุดก็น่าจะเป็น
  • 4:07 - 4:10
    พระยาอุปกิตศิลปสาร นะคะ
  • 4:10 - 4:14
    พระยาอุปกิตศิลปสารนี้คือคนที่แต่งตำราหลักภาษาไทยนะคะ คนนั้นเลย
  • 4:14 - 4:15
    เรามาดูที่ชื่อของท่านดีกว่าค่ะ
  • 4:15 - 4:18
    พระยาอุปกิตศิลปสาร ชื่อนี้บอกอะไรเราบ้างนะคะ
  • 4:18 - 4:22
    อย่างแรกเลยคือบอกบรรดาศักดิ์ค่ะว่าท่านเป็นระดับพระยานะคะ
  • 4:22 - 4:25
    ไม่ใช่ขุน ไม่ใช่พระ ไม่ใช่หลวง ไม่ใช่อะไรนะคะ
  • 4:25 - 4:28
    และสิ่งที่บอกสิ่งที่สองก็คือ อุปกิตศิลปสาร นั่นเอง
  • 4:28 - 4:30
    อุปกิตศิลปสาร ศิลปะ
  • 4:30 - 4:35
    สาร ก็คือสิ่งที่ส่งออกไป อ๋อ ต้องเกี่ยวข้องกับตัวหนังสืออะไรต่างๆ
  • 4:35 - 4:37
    ศิลปะการใช้คำ อะไรอย่างนี้ใช่ไหม
  • 4:37 - 4:39
    ดังนั้นค่ะ จากชื่อเรารู้สองอย่างแล้ว
  • 4:39 - 4:42
    อย่างแรกคือบรรดาศักดิ์ อย่างที่สองคือราชทินนาม
  • 4:42 - 4:44
    อีกสองอย่างที่ไม่ได้บอกในชื่อนะคะ ก็คือตำแหน่ง
  • 4:44 - 4:48
    กับศักดินานั่นเอง กรณีของพระยาอุปกิตศิลปสาร
  • 4:48 - 4:52
    ในตอนนั้นท่านเป็นหัวหน้ากองแบบเรียน กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการค่ะ
  • 4:52 - 4:55
    อันนี้ก็คือตำแหน่งของท่านนะคะ ส่วนศักดินาเนี่ย
  • 4:55 - 4:57
    ท่านถือศักดินา 1,000 ค่ะ
  • 4:57 - 4:59
    เป็นไง ตอนนี้เราก็พอจะรู้เรื่องคร่าวๆแล้วนะคะ
  • 5:00 - 5:02
    ดังนั้นวิวจะขอจบการเกริ่นแต่เพียงเท่านี้
  • 5:02 - 5:06
    แล้วเข้าไปสู่เรื่องของพระ พระยา หลวง ขุน อะไรต่างๆที่เราพูดถึงกันดีกว่า
  • 5:06 - 5:08
    เพราะว่าเรื่องพวกนี้
  • 5:08 - 5:09
    คือเรื่องของบรรดาศักดิ์ค่ะ
  • 5:09 - 5:12
    พูดถึงบรรดาศักดิ์ของข้าราชการพลเรือนไทยเนี่ยนะคะ
  • 5:12 - 5:15
    บอกเลยว่าแต่ละยุคแต่ละสมัยเนี่ยอาจมีต่างกันเล็กๆน้อยๆ
  • 5:15 - 5:18
    เพราะว่าในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เราให้สิทธิ์เต็มที่
  • 5:18 - 5:23
    กับพระมหากษัตริย์ใช่ไหม พระองค์ก็อาจทรงปรับนู่นปรับนี่ในสมัยของพระองค์
  • 5:23 - 5:27
    ซึ่งเรื่องของบรรดาศักดิ์จริงๆมันใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา
  • 5:27 - 5:30
    กว่าจะยกเลิกก็ประมาณรัชกาลที่ 7 รัชกาลที่ 8 ประมาณนั้นค่ะ
  • 5:30 - 5:33
    ดังนั้นแต่ละยุคแต่ละสมัยก็อาจมีส่วนที่แตกต่างกันบ้างนะคะ
  • 5:33 - 5:36
    วันนี้วิวก็จะมาพูดคร่าวๆให้ทุกคนฟังค่ะว่า
  • 5:36 - 5:38
    บรรดาศักดิ์แต่ละบรรดาศักดิ์เนี่ยแตกต่างกันยังไง
  • 5:38 - 5:40
    ใครสูงใครต่ำยังไงนะคะ
  • 5:40 - 5:43
    เอาแบบง่ายๆก่อนเลย เรามาเรียงให้ฟังก่อนนะคะ
  • 5:43 - 5:46
    ไล่ตั้งแต่บรรดาศักดิ์ที่สูงที่สุดไปจนถึงบรรดาศักดิ์ที่ต่ำที่สุดนะคะ
  • 5:46 - 5:47
    ก็จะเรียงแบบนี้ค่ะ
  • 5:47 - 5:50
    สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา
  • 5:50 - 5:53
    พระ หลวง จมื่น ขุน หมื่น พัน
  • 5:53 - 5:55
    และสุดท้ายก็คือ นาย นั่นเองค่ะ
  • 5:55 - 5:57
    เรียงแบบนี้หลายๆคนอาจจำไม่ได้
  • 5:57 - 6:00
    ดังนั้นเรามาเริ่มไล่ที่ละตำแหน่งกันดีกว่านะคะ
  • 6:02 - 6:05
    เริ่มจากตำแหน่งแรกค่ะ ตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยานะคะ
  • 6:05 - 6:08
    ชื่อยาวมาก มีคำว่าสมเด็จอยู่ด้านหน้าด้วย
  • 6:08 - 6:10
    เหมือนๆกึ่งๆจะเป็นเจ้าแล้ว ว่าอย่างนั้นเถอะ
  • 6:10 - 6:13
    ตำแหน่งนี้นะคะเป็นบรรดาศักดิ์ที่สูงที่สุดค่ะ
  • 6:13 - 6:18
    เกิดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยนะคะ ซึ่งในสมัยสุโขทัยกับรัตนโกสินทร์เนี่ย
  • 6:18 - 6:21
    มันอาจแค่ชื่อตำแหน่งเดียวกัน แต่ตำแหน่งจริงอาจไม่ตรงกันนะ
  • 6:21 - 6:24
    สมัยสุโขทัยปรากฎชื่อตำแหน่งนี้ครั้งแรกอยู่ใน
  • 6:24 - 6:28
    จารึกเจดีย์น้อย วัดมหาธาตุ ก็คือจารึกหลักที่ 40 นั่นเองนะคะ
  • 6:28 - 6:30
    ใช่ค่ะ ศิลาจารึกมีมากกว่า 1 หลักนะ
  • 6:30 - 6:33
    นั่นคือสาเหตุที่ทำให้เราเรียกจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า
  • 6:33 - 6:35
    ศิลาจารึกหลักที่ 1 นะจ๊ะทุกคน
  • 6:35 - 6:39
    ส่วนในสมัยอยุธยานะคะ ตำแหน่งนี้หายไปเพราะว่า
  • 6:39 - 6:42
    ตำแหน่งนี้ไม่ปรากฎอยู่ในทำเนียบศักดินา สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
  • 6:42 - 6:44
    อย่างไรก็ดี ตำแหน่งนี้กลับมาปรากฎอีกครั้งหนึ่ง
  • 6:44 - 6:47
    ในสมัยกรุงธนบุรีนะคะ
  • 6:47 - 6:51
    ก็คือตำแหน่งของสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก รัชกาลที่ 1 ของเรานั่นเองค่ะ
  • 6:51 - 6:54
    ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์นะคะ คนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้ก็คือ
  • 6:54 - 6:57
    สมเด็จเจ้าพระยายรมมหาประยูรวงศ์นะคะ
  • 6:57 - 7:00
    หรือว่าดิศ บุนนาค คนที่เกี่ยวข้องกับวัดประยูร
  • 7:00 - 7:03
    ที่วิวเคยเล่าไปในคลิปก่อนๆนู้นนะคะ สามารถกดไปดูได้ตรงนี้นะจ๊ะ
  • 7:03 - 7:06
    เพราะว่าท่านคือผู้สำเร็จราชการแทนของรัชกาลที่ 4 นะคะ
  • 7:06 - 7:10
    ส่วนคนถัดมาเนี่ยก็ดังมาก หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับชื่อ
  • 7:10 - 7:13
    ก็คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
  • 7:13 - 7:14
    หรือว่า ช่วง บุนนาค
  • 7:14 - 7:16
    คนที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนของรัชกาลที่ 5 นั่นเองค่ะ
  • 7:16 - 7:20
    บรรดาศักดิ์นี้ถือว่าเป็นบรรดาศักดิ์ขั้นสูงสุดเลยนะคะ
  • 7:20 - 7:23
    เรียกได้ว่าเท่ากับตำแหน่งเจ้าพระยามหาอุปราชในกฎหมายพระอัยการ
  • 7:23 - 7:25
    ตำแหน่งนาพลเรือนนะคะ
  • 7:25 - 7:29
    ซึ่งสมัยรัตนโกสินทร์มรปรากฎทั้งหมดแค่ 3 องค์ด้วยกันค่ะ
  • 7:29 - 7:32
    ที่เรียกเป็นองค์เพราะว่าจริงๆถ้านับตำแหน่งเนี่ย
  • 7:32 - 7:33
    ใหญ่เท่าพระองค์เจ้าต่างกรมเลยทีเดียวนะคะ
  • 7:33 - 7:37
    เรียกได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ใหญ่มากๆสำหรับคนที่เป็นแค่ขุนนาง
  • 7:37 - 7:39
    ไม่ได้เป็นเชิ้อพระวงศ์ต่างๆ
  • 7:39 - 7:42
    เราไปที่ตำแหน่งที่สองกันดีกว่าค่ะ ตำแหน่งนั้นก็คือเจ้าพระยานะคะ
  • 7:45 - 7:47
    เจ้าพระยาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแม่น้ำนะคะ
  • 7:47 - 7:49
    แต่ว่าเป็นบรรดาศักดิ์ระดับที่รองลงมาค่ะ
  • 7:49 - 7:52
    ปรากฎตั้งแต่สมัยสุโขทัยเหมือนตำแหน่งก่อนนะคะ
  • 7:52 - 7:56
    ซึ่งตำแหน่งนี้ในสมัยอยุธยาถือว่าเป็นตำแหน่งที่สูงที่สุดค่ะ
  • 7:56 - 7:58
    เพระว่าในสมัยอยุธยาไม่มีสมเด็จเจ้าพระยา
  • 7:58 - 8:01
    ยกตัวอย่างสมัยอยุธยานะคะ บรรดาศักดิ์จะมีอยู่ทั้งหมด 5 ตำแหน่งด้วยกัน
  • 8:02 - 8:04
    ตำแหน่งแรกคือเจ้าพระยามาอุปราช
  • 8:04 - 8:07
    ซึ่งจริงๆตำแหน่งนี้เหมือนปรากฎว่าไม่มีใครใช้จริง
  • 8:07 - 8:11
    นอกจากปรากฎในบันทึกของบาทหลวงในช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • 8:11 - 8:13
    อย่างไรก็ตาม ข้ามไปที่ 4 ตำแหน่งที่เหลือค่ะ
  • 8:13 - 8:17
    4 ตำแหน่งที่เหลือนะคะ ตำแหน่งแรกก็คือเจ้าพระยาจักรีนั่นเอง
  • 8:17 - 8:21
    เป็นตำแหน่งสมุหนายกนะคะ ส่วนตำแหน่งที่สองก็คือ
  • 8:21 - 8:23
    เจ้าพระยามหาเสนาบดี จะอยู่ในตำแหน่ง
  • 8:23 - 8:25
    สมุหพระกลาโหมนะคะ
  • 8:25 - 8:27
    และตำแหน่งที่สามคือเจ้าพระยาสุรศรี
  • 8:27 - 8:30
    เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกค่ะ
  • 8:30 - 8:34
    ตำแหน่งที่สี่คือเจ้าพระยาศรีธรรมราช ชื่อก็บอกแล้วค่ะว่าเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
  • 8:34 - 8:37
    ทั้งสี่ตำแหน่งถือศักดินา 10,000 ค่ะ
  • 8:37 - 8:41
    ส่วนตำแหน่งถัดไปที่รองจากเจ้าพระยาลงมาคือตำแหน่งพระยานั่นเองค่ะ
  • 8:43 - 8:46
    พระยานี่บางทีเราก็เรียกว่าออกญาหรือออกพญา
  • 8:46 - 8:50
    ส่วนมากก็จะเป็นตำแหน่งของเสนาบดีระดับจตุสดมภ์
  • 8:50 - 8:54
    อย่างคนที่ดูแลกรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และก็กรมนานั่นเอง
  • 8:54 - 8:56
    นอกจากนี้ก็จะมีพวกเจ้ากรมใหญ่ๆ
  • 8:56 - 9:00
    เจ้าเมืองที่ครองหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี และก็จัตวานะคะ
  • 9:00 - 9:03
    เดิมคำนี้เนี่ยในสมัยสุโขทัยใช้เรียกพระมหากษัตริย์ค่ะ
  • 9:03 - 9:06
    อย่างที่เราจะเห็นผู้ที่พระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วงนะคะ
  • 9:06 - 9:08
    ก็จะเป็นพระยาลิไท
  • 9:08 - 9:09
    ใช้คำว่าพระยา
  • 9:09 - 9:12
    แต่ว่าต่อมาในสมัยอยุธยาเนี่ยนะคะ
  • 9:12 - 9:15
    ตำแหน่งนี้ก็โดนลดลงค่ะ จากพระมหากษัตริย์ก็กลายเป็น
  • 9:15 - 9:18
    ตำแหน่งระดับเจ้าเมืองหรือว่าขุนนางชั้นสูงเท่านั้นค่ะ
  • 9:18 - 9:21
    ซึ่งตำแหน่งนี้ก็จะกินศักดินาทั้งหมด 10,000 นั่นเอง
  • 9:21 - 9:24
    คุ้นๆกันไหม คำศัพท์ที่แบบ เจ้าพระยานาหมื่น
  • 9:24 - 9:25
    มาจากอันนี้นี่แหละค่ะ
  • 9:25 - 9:29
    ตำแหน่งเจ้าพระยากับตำแหน่งพระยาก็จะมีชื่อเล่นเหมือนกันนะ
  • 9:29 - 9:32
    คือเขาจะเรียกคนที่ได้ตำแหน่งนี้ว่า เจ้าคุณ นะคะ
  • 9:32 - 9:34
    สมมุติว่าอยู่ในบ้านจะแบบ "เอ้า พระยาสีหราชเดโช
  • 9:34 - 9:38
    มากินข้าวหน่อย" อย่างนี้ก็คงไม่ work มันยาวเกินไปนะคะ
  • 9:38 - 9:41
    ก็เรียกแบบ "ท่านเจ้าคุณๆ มากินข้าวได้แล้ว"
  • 9:41 - 9:42
    แบบนี้ก็โอเคกว่านะคะ
  • 9:42 - 9:45
    ดังนั้นเวลาดูละครแล้วมีใครเรียกใครว่าท่านเจ้าคุณเนี่ย
  • 9:45 - 9:48
    ก็คือตำแหน่งพระยากับเจ้าพระยานี่แหละค่ะ
  • 9:48 - 9:50
    ตำแหน่งถัดไปนะคะก็คือตำแหน่ง พระ นั่นเองค่ะ
  • 9:52 - 9:55
    ไม่ใช่พระสงฆ์นะทุกคน มันไม่ได้เกี่ยวขนาดนั้น
  • 9:55 - 9:57
    ตำแหน่งพระนี่เป็นตำแหน่งราชการนะคะ
  • 9:57 - 10:00
    คือปกติคนไทยเราใช้คำว่าพระวางหน้าอะไรก็ตามเพื่อยกย่องใช่ไหม
  • 10:00 - 10:02
    อันนี้ก็เช่นเดียวกันเลยค่ะ
  • 10:02 - 10:06
    สมัยสุโขทัยเนี่ย คำนี้ก็เป็นอีกคำนะคะที่ใช้เป็นคำนำหน้าพระนามพระมหากษัตริย์
  • 10:06 - 10:09
    แต่อยู่ดีๆในสมัยอยุธยาก็โดนลดลงมา
  • 10:09 - 10:12
    กลายเป็นตำแหน่งขุนนางตำแหน่งหนึ่งไปนะคะ
  • 10:12 - 10:14
    ซึ่งเราจะเรียกเล่นๆว่า ออกพระ นั่นเอง
  • 10:14 - 10:17
    เวลาบอกว่า ออกพระตื้ดๆ ออกพระนั่น ออกพระนี่
  • 10:17 - 10:19
    ก็คือตำแหน่งพระนี่แหละค่ะ
  • 10:19 - 10:22
    โดยบรรดาศักดิ์พระนี่นะคะก็จะถือศักดินาทั้งหมด 1,000-5,000
  • 10:22 - 10:25
    แล้วแต่ตำแหน่งของตัวเองว่าสำคัญขนาดไหน
  • 10:25 - 10:28
    ซึ่งตำแหน่งนี่เรียกเล่นๆว่า คุณพระ
  • 10:28 - 10:32
    เวลาเราบอกว่าคุณพระนั้น คุณพระนี้ ก็คือตำแหน่งพระนั่นเอง
  • 10:32 - 10:34
    เอาล่ะ มาที่ตำแหน่งถัดไปนะคะ
  • 10:34 - 10:35
    คือตำแหน่งหลวงนั่นเองค่ะ
  • 10:38 - 10:41
    คำว่า หลวง หมายถึงเกี่ยวกับผู้เป็นใหญ่นะคะ
  • 10:41 - 10:43
    ซึ่งก็หมายถึงพระเจ้าแผ่นดินนั่นเองค่ะ
  • 10:43 - 10:46
    ในสมัยอยุธยาเรานิยมเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า ขุนหลวง
  • 10:46 - 10:49
    อย่างไรก็ตาม คำว่าหลวงในที่นี้ที่เราจะพูดถึงก็คือตำแหน่งราชการ
  • 10:49 - 10:51
    ที่ใหญ่รองลงมาค่ะ
  • 10:51 - 10:56
    ตำแหน่งหลวงหรือว่าออกหลวงก็จะมีศักดินาตั้งแต่ 800-3,000 ค่ะ
  • 10:56 - 10:58
    ซึ่งถามว่าชื่อเรียกตำแหน่งเล่นๆตำแหน่งนี้คืออะไร
  • 10:58 - 11:00
    ก็คือชื่อ คุณหลวง นั่นเองค่ะ
  • 11:00 - 11:03
    คุณหลวงของแม่มณี พระเอกทวิภพ นี่ก็บรรดาศักดิ์นี้เช่นกันค่ะ
  • 11:03 - 11:05
    ถัดไปอย่างรวดเร็วนะคะ
  • 11:05 - 11:07
    รองจากหลวงลงมาคืออะไรคะ
  • 11:07 - 11:08
    คือ จมื่น นั่นเอง
  • 11:11 - 11:13
    ซึ่งบรรดาศักดิ์นี้ถือว่าเป็นบรรดาศักดิ์พิเศษนะคะ
  • 11:13 - 11:16
    เพราะว่าเป็นบรรดาศักดิ์ของ หัวหมื่นนายเวรมหาดเล็ก นั่นเอง
  • 11:16 - 11:19
    เรียกเล่นๆอีกอย่างว่าพระนาย
  • 11:19 - 11:22
    น่ะ มีพระเอกหลายเรื่องที่เราจะเรียกเขาว่าพระนายใช่ไหม
  • 11:22 - 11:24
    ก็ตำแหน่งมหาดเล็กก็เหมาะจะเป็นพระเอกใช่ไหมล่ะ
  • 11:24 - 11:25
    มันเท่อ่ะทุกคน เข้าใจไหม
  • 11:25 - 11:29
    ปกติบรรดาศักดิ์นี้นะคะ จะมีคนทั้งหมด 4 คนเท่านั้นค่ะ
  • 11:29 - 11:33
    4 ตำแหน่งได้แก่จมื่นสรรเพชรภักดี จมื่นศรีเสารัก
  • 11:33 - 11:37
    จมื่นไวยวรนาถ แล้วก็จมื่นเสมอใจราชนั่นเองค่ะ
  • 11:37 - 11:38
    ชื่อคุ้นๆไหม จมื่นไวยวรนาถ
  • 11:38 - 11:42
    ใช่ค่ะ คือตำแหน่งของพลายงามจากเรื่องขุนช้างขุนแผน
  • 11:42 - 11:45
    เห็นได้ชัดว่าสมัยเริ่มรับราชการใหม่ๆเนี่ยจมื่นไวยวรนาถ
  • 11:45 - 11:48
    ตำแหน่งสูงกว่าขุนแผนที่เป็นพ่อตัวเองนะคะ
  • 11:48 - 11:50
    อย่างไรก็ตามเดี๋ยวเราจะไปพูดถึงขุนกันทีหลังค่ะ
  • 11:50 - 11:53
    ตำแหน่งจมื่นเนี่ยนะคะ ถือศักดินา 1,000 ค่ะ
  • 11:53 - 11:55
    ฟังดูแปลกๆไหม ทำไมสูงกว่าตำแหน่งที่แล้วล่ะ
  • 11:56 - 11:57
    เพราะว่าตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งพิเศษนะคะ
  • 11:57 - 12:00
    จะเป็นคนที่เป็นลูกหลานคนใกล้ชิดมากๆ
  • 12:00 - 12:03
    แล้วก็ทำงานใกล้ชิดมากๆกับพระมหากษัตริย์ค่ะ
  • 12:03 - 12:07
    เพราะว่าต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ไง ก็มหาดเล็กคือ bodyguard ส่วนตัวว่างั้นเถอะ
  • 12:07 - 12:08
    แล้วมีแค่ 4 คนเท่านั้นนะคะ
  • 12:08 - 12:13
    เรียกได้ว่าเป็นตำแหน่งเด็กฝึกงานก่อนที่จะไปเป็นตำแหน่งสำคัญมากๆในอนาคตต่อไปค่ะ
  • 12:13 - 12:15
    โอ้โห เห็นขนาดนี้เข้าใจเลยใช่ไหมคะ
  • 12:15 - 12:19
    ว่าทำไมพระเอกเรื่องต่างๆชอบเป็นจมื่นกัน ก็มันเท่อ้ะทุกคน เข้าใจไหม
  • 12:19 - 12:23
    และในที่สุดนะคะ ต่อมาก็ถึงตำแหน่งพ่อของจมื่นไวยวรนาถ
  • 12:23 - 12:24
    หรือตำแหน่ง ขุน นั่นเองนะคะ
  • 12:24 - 12:27
    ขุนแผนขุนช้างที่เราคุ้นเคยกัน
  • 12:29 - 12:30
  • 12:30 - 12:34
    ตำแหน่งขุนนี้คือตำแหน่งของขุนนางยศต่ำนั่นเอง
  • 12:34 - 12:36
    ซึ่งคำว่าต่ำในที่นี้วิวไม่ได้คิดเองนะคะ
  • 12:36 - 12:39
    เป็นคำอธิบายประธานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
  • 12:39 - 12:41
    วิวไม่ได้เหยียดใครว่าต่ำนะ โอเคป้ะ
  • 12:41 - 12:43
    หรือบางทีเราก็เรียกตำแหน่งนี้ว่า ออกขุน นะคะ
  • 12:43 - 12:47
    ซึ่งออกขุนมีศักดินาทั้งหมด 300-1,000
  • 12:47 - 12:49
    แล้วแต่ว่าตำแหน่งสำคัญขนาดไหนนะ
  • 12:49 - 12:53
    ส่วนมากเราจะเรียกคนที่เป็นระดับขุนแบบลำลองว่า ท่านขุน ค่ะ
  • 12:53 - 12:56
    ปกติพระอย่างนี้เรียกคุณพระใช่ไหม ขุนคงไม่เรียกคุณขุนอ่ะ
  • 12:56 - 12:59
    มันน่ารักเกินไปนะคะ ก็จะเรียกเป็นท่านขุน ประมาณนั้นค่ะ
  • 12:59 - 13:01
    ถัดไปที่ตำแหน่งรองจากขุนลงมานะคะ
  • 13:01 - 13:03
    ก็คือตำแหน่ง หมื่น นั่นเองค่ะ
  • 13:05 - 13:08
    ตำแหน่งหมื่นนี้ก็เป็นตำแหน่งรองลงมาแหละ
  • 13:08 - 13:10
    ศักดินาตั้งแต่ 200-500 นะคะ
  • 13:10 - 13:13
    คนที่ดังๆก็ได้แก่ หมื่นหาญค่ะ
  • 13:13 - 13:14
    หมื่นหาญนี่ก็คือพ่อของนางบัวคลี่
  • 13:14 - 13:18
    นางบัวคลี่นี่คือเมียของขุนแผน ก็คือแม่ของกุมารทอง คนนั้นนั้่นแหละค่ะ
  • 13:18 - 13:21
    อธิบายยาวมากกว่าจะเข้าใจว่าเป็นคนไหนนะ
  • 13:21 - 13:24
    ซึ่งเราสามารถเรียกชื่อตำแหน่งนี้ขำๆว่า ท่านหมื่น นั่นเอง
  • 13:24 - 13:27
    ใครที่เป็นแฟนคลับเรื่อง สายโลหิต น่าจะเคยได้ยินท่านหมื่นๆ
  • 13:27 - 13:30
    หมื่นทิพย์ที่เป็นตัวร้ายของเรื่องสายโลหิตนั่นเองค่ะ
  • 13:30 - 13:33
    ส่วนตำแหน่งรองจากหมื่นลงมานะคะ ก็คือตำแหน่ง พัน
  • 13:35 - 13:38
    ตำแหน่งพันนี่คือตำแหน่งหัวหน้านายเวรนะคะ
  • 13:38 - 13:41
    ถือศักดินาตั้งแต่ 100-600 ค่ะ
  • 13:41 - 13:44
    คนดังๆก็พันศรโยธา พ่อของนางพิมพิลาไลย หรือว่านางวันทองนั่นเองนะคะ
  • 13:44 - 13:46
    และตำแหน่งล่างสุดของขุนนางไทยก็คือ
  • 13:46 - 13:48
    ตำแหน่ง นาย นั่นเองค่ะ
  • 13:50 - 13:52
    ก็เช่นตำแหน่งนายม้าต้น อะไรอย่างนี้นะคะ
  • 13:52 - 13:55
    ถือศักดินาทั้งหมด 200-600 นั่นเองค่ะ
  • 13:55 - 13:58
    เป็นไงบ้างคะ ฟังตำแหน่งราชการไทยกันไปเยอะขนาดนี้
  • 13:58 - 14:01
    น่าจะทำให้ดูละครย้อนยุคกันได้สนุกสนานแล้วก็เข้าใจมากขึ้น
  • 14:02 - 14:04
    ส่วนใครที่ฟังขนาดนี้แล้วอยากติดตามเรื่อง ปลายจวัก
  • 14:04 - 14:06
    ละครอิงประวัติศาสตร์ที่พูดถึงตั้งแต่เรื่องวิถีชีวิต
  • 14:06 - 14:09
    ไล่ไปจนถึงประวัติศาสตร์ และเล่าทั้งหมดนี้ผ่านอาหารนะคะ
  • 14:10 - 14:13
    ก็สามารถติดตามได้ที่ ThaiPBS ทุกวันเสาร์-อาทิตย์
  • 14:13 - 14:16
    เวลา 20.15-21.15 น.
  • 14:16 - 14:20
    และสามารถรับชมย้อนหลังผ่านทางเว็บไซต์ได้อีกครั้งในเวลา 21.30 น.
  • 14:20 - 14:22
    ตามคิวอาร์โค้ดที่วิวให้ไว้ตรงนี้เลยค่ะ
  • 14:22 - 14:28
    รับรองนะคะว่าดูแล้วจะต้องได้ทั้งความรู้และอยากอาหารไทยไปพร้อมๆกันเลยค่ะ
  • 14:28 - 14:29
    สำหรับวันนี้ ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้
  • 14:29 - 14:33
    อย่าลืมกดไลค์เป็นกำลังใจให้วิว แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆมาดูด้วยกันนะคะ
  • 14:33 - 14:35
    แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้าค่ะทุกคน บ้ายบาย
  • 14:36 - 14:37
    สวัสดีค่ะ
  • 14:37 - 14:40
    เป็นอีกหนึ่งคลิปที่ยาวนานนะคะทุกคน ฟังแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง
  • 14:40 - 14:44
    อยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมอะไรยังไง บอกเลยนะคะว่าคลิปนี้
  • 14:44 - 14:46
    จะไม่ใช่คลิปเดียวที่วิวทำเกี่ยวข้องกับละคร ปลายจวัก
  • 14:46 - 14:49
    ยังมีอักคลิปหนึ่งนะคะ รอติดตามชมได้เร็วๆนี้
  • 14:49 - 14:52
    และคลิปนี้มีแขกรับเชิญพิเศษมากๆมาด้วยคนหนึ่งนะคะ
  • 14:52 - 14:55
    ดังนั้นรอติดตามกันค่ะ สามารถเดาได้มั้ยคะว่าเป็นใคร
  • 14:55 - 14:57
    comment มาด้านล่างเลยค่ะ มาเดากันนะคะ
  • 14:57 - 15:01
    สำหรับวันนี้ลาไปก่อนค่ะทุกคน บ้ายบาย สวัสดีค่ะ
Title:
พระยา หลวง ขุน พัน ใครเป็นใคร? : เล่าเรื่องบรรดาศักดิ์ไทย | Point of View x ThaiPBS
Description:

more » « less
Duration:
15:02

Thai subtitles

Revisions