สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ ช่วงนี้หนัง ละคร ซีรีส์อะไรต่างๆเยอะเต็มไปหมดเลยใช่มั้ยคะ หนึ่งในนั้นมีเรื่องหนึ่งที่วิวสนใจมากๆเลย ก็คือเรื่อง ปลายจวัก ของ ThaiPBS นั่นเองค่ะ พูดถึงคำว่าปลายจวัก เนื้อเรื่องตรงตัวเลยนะคะ ก็คือเรื่องเกี่ยวกับอาหารนั่นเองค่ะ และที่สำคัญ มันเป็นละครย้อนยุคด้วยนะคะ ดังนั้นตรงจริตวิวมากๆ นอกจากนี้นะ บอกเลยว่าวิธีนำเสนอของเขาเนี่ยเก๋สุดๆเลยค่ะ คือเขาไม่ได้มาเป็นละครแบบสอนทำอาหารอะไรต่างๆนะคะ แต่เขาทำเป็นเรื่องราวการต่อสู้ทางอาหารค่ะ ระหว่างอาหารรวกลมกล่อม รสจืด รสหวาน กับ อาหารรสจัดจ้าน รสเผ็ดนะคะ นอกจากนี้เนี่ย เนื้อหาในเรื่องยังไปเกี่ยวกับสังคม การเมือง ประวัติศาสตร์ สมัยรัชกาลที่ 5 อีกค่ะ น่ะ เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ผ่านอาหาร เก๋มาก ไม่เหมือนละครเรื่องอื่นๆที่เล่ากันแบบโต้งๆเลยใช่มั้ยคะ ดังนั้นค่ะ แน่นอนว่าวิวติดเรียบร้อยแล้ว เม้ามาขนาดนี้นะคะ เชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้แล้วแหละว่า ทำไมวิวถึงไม่ค่อยได้ทำงานทำการ ก็คือติดหนัง ติดละคร ติดซีรีส์นั่นแหละ อย่างไรก็ตามนะคะ เพื่อให้เรื่องบันเทิงเป็นเรื่องที่มีประโยชน์เนี่ย วิวก็เลยเอาความบันเทิงของตัวเองมาทำงานแล้วกันค่ะ วิวก็เลยตัดสินใจว่าจะเอาเนื้อหาจาก ปลายจวัก มาเล่าให้ทุกคนฟังนะคะ ซึ่งพูดถึงละครย้อนยุค ไม่ใช่แค่ ปลายจวัก หรอก เรียกได้ว่าทุกเรื่องเลย ก็จะมีอยู่เรื่องหนึ่งค่ะที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ แล้วคนก็อาจงงกันได้ นั่นก็คือเรื่องบรรดาศักดิ์นั่นเองค่ะ เพราะว่าในแต่ละเรื่องเนี่ยนะคะ ตัวละครก็มีตำแหน่งเป็นพระยา เป็นพระ เป็นขุน เป็นหลวง เดี๋ยวก็มีชื่อพระนาย มีชื่อเจ้าขุน มีอะไรต่างๆขึ้นมานะคะ ซึ่งชวนให้งงมากๆค่ะว่าในบรรดาศักดิ์เหล่านี้ ใครใหญ่กว่าใคร ใครเล็กกว่าใคร ใครตำแหน่งสูงต่ำขนาดไหนนะคะ ดังนั้นวิวรวบรวมมาให้ทุกคนฟังแล้วค่ะ จะได้ไม่มีปัญหาเวลาดูละครย้อนยุคต่อๆไปนะคะ อย่างไรก็ตามค่ะ ก่อนจะไปฟังเรื่องนี้ อย่าลืมกดติดตามวิวทุกช่องทางนะคะ จะได้ไม่พลาดคลิปวิดีโอสนุกๆ และก็ข่าวสารดีๆจากช่อง Point of View ค่ะ สำหรับตอนนี้ พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุกและก็มีสาระกันหรือยังคะ ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ พูดถึงพระ พระยา อะไรต่างๆเนี่ยนะคะ แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับขุนนางนั่นเองค่ะ ถามว่าขุนางคือใคร ขุนนางคือคนที่มีโอกาสได้เข้ารับราชการนะคะ หรือถ้าในสมบูรณายาสิทธิราชย์ ก็คือคนที่มีโอกาสได้เข้าไปเป็นข้ารับใช้ของ พระมหากษัตริย์นั่นเองค่ะ ทีนี้เวลาเราพูดถึงขุนนางกันเนี่ยนะคะ ก็จะต้องมีทั้งหมด 4 เรื่องที่เราจำเป็นจะต้องรู้ค่ะ เรื่องแรกก็คือยศหรือบรรดาศักดิ์นั่นเองค่ะ ยศหรือบรรดาศักดิ์ ก็จะเป็นตัวที่คอยบอกนะคะว่า ขุนนางของเราอยู่ในระดับที่สูงต่ำขนาดไหนอะไรยังไงนะคะ ส่วนเรื่องที่สองที่จะต้องรู้ ก็คือตำแหน่งนะคะ นอกจากจะมียศแล้ว เหมือนนายพัน พลเอก อะไรต่างๆแล้ว ตำแหน่งคือส่วนที่บอกค่ะว่า ตำแหน่งของขุนนางคนนี้ดูแลกรมไหน กองไหน สังกัดอะไรนะคะ อารมณ์เหมือนทหารปัจจุบันเนี่ย ถ้าเป็นยศหรือบรรดาศักดิ์ ก็คือ ตำแหน่งพันเอก พลเอก ร้อยตำรวจโท อะไรอย่างนี้ใช่ไหมคะ ส่วนตำแหน่งเนี่ยก็คือบอกว่าสังกัดทหารอากาศ สังกัดกองทัพบก สังกัดอะไอย่างนี้นะคะ สมัยก่อนก็จะเป็นกรมต่างๆ เช่นเป็นจางวาง เป็นเจ้ากรม เป็นสังกัดกองนั้นกองนี้ อะไรอย่างนี้นะคะ ส่วนข้อที่สามที่ต้องรู้นะคะก็คือ ราชทินนาม นั่นเองค่ะ ราชทินนามนี่เหมือนกับเป็นชื่อพระราชทาน เป็นชื่อที่เหมือนจะเป็นชื่อในราชการ ส่วนมากนิยมตั้งเป็นภาษามคธหรือว่าภาษาสันสกฤตค่ะ ก็จะเป็นชื่อยาวๆที่เราจำยากๆกันนั้นแหละ และที่สำคัญนะคะ ส่วนมากเขานิยมตั้งกันให้เข้ากับ ตำแหน่งที่ตัวเองมีหน้าที่ดูแลด้วยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการตัดสินคดีความเนี่ยนะคะ เมื่อเรานึกย้อนไปถึงในวรรณคดีสันสกฤตต่างๆ ใครกันนะที่เป็นคนมีหน้าที่ตัดสินคดีความ อ๋อ คนที่ยุติธรรมที่สุด คนที่ยุติธรรมที่สุดคือพระยม พระยม พระยม พระยม ดังนั้นคนที่มีหน้าที่ตัดสินคดีความก็เลยได้ชื่อ ราชทินนามว่า ยมราช นั่นเองค่ะ ก็จะเป็นพระยายมราช ประมาณนั้นนะคะ ส่วนข้อที่สี่ที่ต้องรู้ค่ะก็คือศักดินานะคะ ศักดินานี่อธิบายให้เข้าใจค่อนข้างยาก แต่เอาเป็นว่า มันจะเป็นตัวเลขที่เอาไว้กำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความสำคัญของคนคนหนึ่งค่ะ เวลาที่บอกศักดินาเนี่ย เขาจะบอกเป็นไร่ค่ะ เช่น นา 1,000 ไร่ ศักดินา 200 ไร่ อย่างนี้นะคะ อย่างไรก็ตามมันเหมือนจะเป็นสัญญลักษณ์มากกว่าที่จะเป็นที่นาจริงๆที่ได้ นี่ก็เป็น 4 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับขุนนางค่ะ ที่นี้พูดแบบนี้อาจงง ดังนั้นเราลองมายกตัวอย่างขุนนางสักคนหนึ่งขึ้นมาดีกว่า สำหรับวิว ให้นึกถึงคนที่คุ้นที่สุดก็น่าจะเป็น พระยาอุปกิตศิลปสาร นะคะ พระยาอุปกิตศิลปสารนี้คือคนที่แต่งตำราหลักภาษาไทยนะคะ คนนั้นเลย เรามาดูที่ชื่อของท่านดีกว่าค่ะ พระยาอุปกิตศิลปสาร ชื่อนี้บอกอะไรเราบ้างนะคะ อย่างแรกเลยคือบอกบรรดาศักดิ์ค่ะว่าท่านเป็นระดับพระยานะคะ ไม่ใช่ขุน ไม่ใช่พระ ไม่ใช่หลวง ไม่ใช่อะไรนะคะ และสิ่งที่บอกสิ่งที่สองก็คือ อุปกิตศิลปสาร นั่นเอง อุปกิตศิลปสาร ศิลปะ สาร ก็คือสิ่งที่ส่งออกไป อ๋อ ต้องเกี่ยวข้องกับตัวหนังสืออะไรต่างๆ ศิลปะการใช้คำ อะไรอย่างนี้ใช่ไหม ดังนั้นค่ะ จากชื่อเรารู้สองอย่างแล้ว อย่างแรกคือบรรดาศักดิ์ อย่างที่สองคือราชทินนาม อีกสองอย่างที่ไม่ได้บอกในชื่อนะคะ ก็คือตำแหน่ง กับศักดินานั่นเอง กรณีของพระยาอุปกิตศิลปสาร ในตอนนั้นท่านเป็นหัวหน้ากองแบบเรียน กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการค่ะ อันนี้ก็คือตำแหน่งของท่านนะคะ ส่วนศักดินาเนี่ย ท่านถือศักดินา 1,000 ค่ะ เป็นไง ตอนนี้เราก็พอจะรู้เรื่องคร่าวๆแล้วนะคะ ดังนั้นวิวจะขอจบการเกริ่นแต่เพียงเท่านี้ แล้วเข้าไปสู่เรื่องของพระ พระยา หลวง ขุน อะไรต่างๆที่เราพูดถึงกันดีกว่า เพราะว่าเรื่องพวกนี้ คือเรื่องของบรรดาศักดิ์ค่ะ พูดถึงบรรดาศักดิ์ของข้าราชการพลเรือนไทยเนี่ยนะคะ บอกเลยว่าแต่ละยุคแต่ละสมัยเนี่ยอาจมีต่างกันเล็กๆน้อยๆ เพราะว่าในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เราให้สิทธิ์เต็มที่ กับพระมหากษัตริย์ใช่ไหม พระองค์ก็อาจทรงปรับนู่นปรับนี่ในสมัยของพระองค์ ซึ่งเรื่องของบรรดาศักดิ์จริงๆมันใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา กว่าจะยกเลิกก็ประมาณรัชกาลที่ 7 รัชกาลที่ 8 ประมาณนั้นค่ะ ดังนั้นแต่ละยุคแต่ละสมัยก็อาจมีส่วนที่แตกต่างกันบ้างนะคะ วันนี้วิวก็จะมาพูดคร่าวๆให้ทุกคนฟังค่ะว่า บรรดาศักดิ์แต่ละบรรดาศักดิ์เนี่ยแตกต่างกันยังไง ใครสูงใครต่ำยังไงนะคะ เอาแบบง่ายๆก่อนเลย เรามาเรียงให้ฟังก่อนนะคะ ไล่ตั้งแต่บรรดาศักดิ์ที่สูงที่สุดไปจนถึงบรรดาศักดิ์ที่ต่ำที่สุดนะคะ ก็จะเรียงแบบนี้ค่ะ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง จมื่น ขุน หมื่น พัน และสุดท้ายก็คือ นาย นั่นเองค่ะ เรียงแบบนี้หลายๆคนอาจจำไม่ได้ ดังนั้นเรามาเริ่มไล่ที่ละตำแหน่งกันดีกว่านะคะ เริ่มจากตำแหน่งแรกค่ะ ตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยานะคะ ชื่อยาวมาก มีคำว่าสมเด็จอยู่ด้านหน้าด้วย เหมือนๆกึ่งๆจะเป็นเจ้าแล้ว ว่าอย่างนั้นเถอะ ตำแหน่งนี้นะคะเป็นบรรดาศักดิ์ที่สูงที่สุดค่ะ เกิดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยนะคะ ซึ่งในสมัยสุโขทัยกับรัตนโกสินทร์เนี่ย มันอาจแค่ชื่อตำแหน่งเดียวกัน แต่ตำแหน่งจริงอาจไม่ตรงกันนะ สมัยสุโขทัยปรากฎชื่อตำแหน่งนี้ครั้งแรกอยู่ใน จารึกเจดีย์น้อย วัดมหาธาตุ ก็คือจารึกหลักที่ 40 นั่นเองนะคะ ใช่ค่ะ ศิลาจารึกมีมากกว่า 1 หลักนะ นั่นคือสาเหตุที่ทำให้เราเรียกจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 นะจ๊ะทุกคน ส่วนในสมัยอยุธยานะคะ ตำแหน่งนี้หายไปเพราะว่า ตำแหน่งนี้ไม่ปรากฎอยู่ในทำเนียบศักดินา สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อย่างไรก็ดี ตำแหน่งนี้กลับมาปรากฎอีกครั้งหนึ่ง ในสมัยกรุงธนบุรีนะคะ ก็คือตำแหน่งของสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก รัชกาลที่ 1 ของเรานั่นเองค่ะ ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์นะคะ คนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้ก็คือ สมเด็จเจ้าพระยายรมมหาประยูรวงศ์นะคะ หรือว่าดิศ บุนนาค คนที่เกี่ยวข้องกับวัดประยูร ที่วิวเคยเล่าไปในคลิปก่อนๆนู้นนะคะ สามารถกดไปดูได้ตรงนี้นะจ๊ะ เพราะว่าท่านคือผู้สำเร็จราชการแทนของรัชกาลที่ 4 นะคะ ส่วนคนถัดมาเนี่ยก็ดังมาก หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับชื่อ ก็คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ หรือว่า ช่วง บุนนาค คนที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนของรัชกาลที่ 5 นั่นเองค่ะ บรรดาศักดิ์นี้ถือว่าเป็นบรรดาศักดิ์ขั้นสูงสุดเลยนะคะ เรียกได้ว่าเท่ากับตำแหน่งเจ้าพระยามหาอุปราชในกฎหมายพระอัยการ ตำแหน่งนาพลเรือนนะคะ ซึ่งสมัยรัตนโกสินทร์มรปรากฎทั้งหมดแค่ 3 องค์ด้วยกันค่ะ ที่เรียกเป็นองค์เพราะว่าจริงๆถ้านับตำแหน่งเนี่ย ใหญ่เท่าพระองค์เจ้าต่างกรมเลยทีเดียวนะคะ เรียกได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ใหญ่มากๆสำหรับคนที่เป็นแค่ขุนนาง ไม่ได้เป็นเชิ้อพระวงศ์ต่างๆ เราไปที่ตำแหน่งที่สองกันดีกว่าค่ะ ตำแหน่งนั้นก็คือเจ้าพระยานะคะ เจ้าพระยาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแม่น้ำนะคะ แต่ว่าเป็นบรรดาศักดิ์ระดับที่รองลงมาค่ะ ปรากฎตั้งแต่สมัยสุโขทัยเหมือนตำแหน่งก่อนนะคะ ซึ่งตำแหน่งนี้ในสมัยอยุธยาถือว่าเป็นตำแหน่งที่สูงที่สุดค่ะ เพระว่าในสมัยอยุธยาไม่มีสมเด็จเจ้าพระยา ยกตัวอย่างสมัยอยุธยานะคะ บรรดาศักดิ์จะมีอยู่ทั้งหมด 5 ตำแหน่งด้วยกัน ตำแหน่งแรกคือเจ้าพระยามาอุปราช ซึ่งจริงๆตำแหน่งนี้เหมือนปรากฎว่าไม่มีใครใช้จริง นอกจากปรากฎในบันทึกของบาทหลวงในช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ข้ามไปที่ 4 ตำแหน่งที่เหลือค่ะ 4 ตำแหน่งที่เหลือนะคะ ตำแหน่งแรกก็คือเจ้าพระยาจักรีนั่นเอง เป็นตำแหน่งสมุหนายกนะคะ ส่วนตำแหน่งที่สองก็คือ เจ้าพระยามหาเสนาบดี จะอยู่ในตำแหน่ง สมุหพระกลาโหมนะคะ และตำแหน่งที่สามคือเจ้าพระยาสุรศรี เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกค่ะ ตำแหน่งที่สี่คือเจ้าพระยาศรีธรรมราช ชื่อก็บอกแล้วค่ะว่าเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ทั้งสี่ตำแหน่งถือศักดินา 10,000 ค่ะ ส่วนตำแหน่งถัดไปที่รองจากเจ้าพระยาลงมาคือตำแหน่งพระยานั่นเองค่ะ พระยานี่บางทีเราก็เรียกว่าออกญาหรือออกพญา ส่วนมากก็จะเป็นตำแหน่งของเสนาบดีระดับจตุสดมภ์ อย่างคนที่ดูแลกรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และก็กรมนานั่นเอง นอกจากนี้ก็จะมีพวกเจ้ากรมใหญ่ๆ เจ้าเมืองที่ครองหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี และก็จัตวานะคะ เดิมคำนี้เนี่ยในสมัยสุโขทัยใช้เรียกพระมหากษัตริย์ค่ะ อย่างที่เราจะเห็นผู้ที่พระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วงนะคะ ก็จะเป็นพระยาลิไท ใช้คำว่าพระยา แต่ว่าต่อมาในสมัยอยุธยาเนี่ยนะคะ ตำแหน่งนี้ก็โดนลดลงค่ะ จากพระมหากษัตริย์ก็กลายเป็น ตำแหน่งระดับเจ้าเมืองหรือว่าขุนนางชั้นสูงเท่านั้นค่ะ ซึ่งตำแหน่งนี้ก็จะกินศักดินาทั้งหมด 10,000 นั่นเอง คุ้นๆกันไหม คำศัพท์ที่แบบ เจ้าพระยานาหมื่น มาจากอันนี้นี่แหละค่ะ ตำแหน่งเจ้าพระยากับตำแหน่งพระยาก็จะมีชื่อเล่นเหมือนกันนะ คือเขาจะเรียกคนที่ได้ตำแหน่งนี้ว่า เจ้าคุณ นะคะ สมมุติว่าอยู่ในบ้านจะแบบ "เอ้า พระยาสีหราชเดโช มากินข้าวหน่อย" อย่างนี้ก็คงไม่ work มันยาวเกินไปนะคะ ก็เรียกแบบ "ท่านเจ้าคุณๆ มากินข้าวได้แล้ว" แบบนี้ก็โอเคกว่านะคะ ดังนั้นเวลาดูละครแล้วมีใครเรียกใครว่าท่านเจ้าคุณเนี่ย ก็คือตำแหน่งพระยากับเจ้าพระยานี่แหละค่ะ ตำแหน่งถัดไปนะคะก็คือตำแหน่ง พระ นั่นเองค่ะ ไม่ใช่พระสงฆ์นะทุกคน มันไม่ได้เกี่ยวขนาดนั้น ตำแหน่งพระนี่เป็นตำแหน่งราชการนะคะ คือปกติคนไทยเราใช้คำว่าพระวางหน้าอะไรก็ตามเพื่อยกย่องใช่ไหม อันนี้ก็เช่นเดียวกันเลยค่ะ สมัยสุโขทัยเนี่ย คำนี้ก็เป็นอีกคำนะคะที่ใช้เป็นคำนำหน้าพระนามพระมหากษัตริย์ แต่อยู่ดีๆในสมัยอยุธยาก็โดนลดลงมา กลายเป็นตำแหน่งขุนนางตำแหน่งหนึ่งไปนะคะ ซึ่งเราจะเรียกเล่นๆว่า ออกพระ นั่นเอง เวลาบอกว่า ออกพระตื้ดๆ ออกพระนั่น ออกพระนี่ ก็คือตำแหน่งพระนี่แหละค่ะ โดยบรรดาศักดิ์พระนี่นะคะก็จะถือศักดินาทั้งหมด 1,000-5,000 แล้วแต่ตำแหน่งของตัวเองว่าสำคัญขนาดไหน ซึ่งตำแหน่งนี่เรียกเล่นๆว่า คุณพระ เวลาเราบอกว่าคุณพระนั้น คุณพระนี้ ก็คือตำแหน่งพระนั่นเอง เอาล่ะ มาที่ตำแหน่งถัดไปนะคะ คือตำแหน่งหลวงนั่นเองค่ะ คำว่า หลวง หมายถึงเกี่ยวกับผู้เป็นใหญ่นะคะ ซึ่งก็หมายถึงพระเจ้าแผ่นดินนั่นเองค่ะ ในสมัยอยุธยาเรานิยมเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า ขุนหลวง อย่างไรก็ตาม คำว่าหลวงในที่นี้ที่เราจะพูดถึงก็คือตำแหน่งราชการ ที่ใหญ่รองลงมาค่ะ ตำแหน่งหลวงหรือว่าออกหลวงก็จะมีศักดินาตั้งแต่ 800-3,000 ค่ะ ซึ่งถามว่าชื่อเรียกตำแหน่งเล่นๆตำแหน่งนี้คืออะไร ก็คือชื่อ คุณหลวง นั่นเองค่ะ คุณหลวงของแม่มณี พระเอกทวิภพ นี่ก็บรรดาศักดิ์นี้เช่นกันค่ะ ถัดไปอย่างรวดเร็วนะคะ รองจากหลวงลงมาคืออะไรคะ คือ จมื่น นั่นเอง ซึ่งบรรดาศักดิ์นี้ถือว่าเป็นบรรดาศักดิ์พิเศษนะคะ เพราะว่าเป็นบรรดาศักดิ์ของ หัวหมื่นนายเวรมหาดเล็ก นั่นเอง เรียกเล่นๆอีกอย่างว่าพระนาย น่ะ มีพระเอกหลายเรื่องที่เราจะเรียกเขาว่าพระนายใช่ไหม ก็ตำแหน่งมหาดเล็กก็เหมาะจะเป็นพระเอกใช่ไหมล่ะ มันเท่อ่ะทุกคน เข้าใจไหม ปกติบรรดาศักดิ์นี้นะคะ จะมีคนทั้งหมด 4 คนเท่านั้นค่ะ 4 ตำแหน่งได้แก่จมื่นสรรเพชรภักดี จมื่นศรีเสารัก จมื่นไวยวรนาถ แล้วก็จมื่นเสมอใจราชนั่นเองค่ะ ชื่อคุ้นๆไหม จมื่นไวยวรนาถ ใช่ค่ะ คือตำแหน่งของพลายงามจากเรื่องขุนช้างขุนแผน เห็นได้ชัดว่าสมัยเริ่มรับราชการใหม่ๆเนี่ยจมื่นไวยวรนาถ ตำแหน่งสูงกว่าขุนแผนที่เป็นพ่อตัวเองนะคะ อย่างไรก็ตามเดี๋ยวเราจะไปพูดถึงขุนกันทีหลังค่ะ ตำแหน่งจมื่นเนี่ยนะคะ ถือศักดินา 1,000 ค่ะ ฟังดูแปลกๆไหม ทำไมสูงกว่าตำแหน่งที่แล้วล่ะ เพราะว่าตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งพิเศษนะคะ จะเป็นคนที่เป็นลูกหลานคนใกล้ชิดมากๆ แล้วก็ทำงานใกล้ชิดมากๆกับพระมหากษัตริย์ค่ะ เพราะว่าต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ไง ก็มหาดเล็กคือ bodyguard ส่วนตัวว่างั้นเถอะ แล้วมีแค่ 4 คนเท่านั้นนะคะ เรียกได้ว่าเป็นตำแหน่งเด็กฝึกงานก่อนที่จะไปเป็นตำแหน่งสำคัญมากๆในอนาคตต่อไปค่ะ โอ้โห เห็นขนาดนี้เข้าใจเลยใช่ไหมคะ ว่าทำไมพระเอกเรื่องต่างๆชอบเป็นจมื่นกัน ก็มันเท่อ้ะทุกคน เข้าใจไหม และในที่สุดนะคะ ต่อมาก็ถึงตำแหน่งพ่อของจมื่นไวยวรนาถ หรือตำแหน่ง ขุน นั่นเองนะคะ ขุนแผนขุนช้างที่เราคุ้นเคยกัน ตำแหน่งขุนนี้คือตำแหน่งของขุนนางยศต่ำนั่นเอง ซึ่งคำว่าต่ำในที่นี้วิวไม่ได้คิดเองนะคะ เป็นคำอธิบายประธานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ วิวไม่ได้เหยียดใครว่าต่ำนะ โอเคป้ะ หรือบางทีเราก็เรียกตำแหน่งนี้ว่า ออกขุน นะคะ ซึ่งออกขุนมีศักดินาทั้งหมด 300-1,000 แล้วแต่ว่าตำแหน่งสำคัญขนาดไหนนะ ส่วนมากเราจะเรียกคนที่เป็นระดับขุนแบบลำลองว่า ท่านขุน ค่ะ ปกติพระอย่างนี้เรียกคุณพระใช่ไหม ขุนคงไม่เรียกคุณขุนอ่ะ มันน่ารักเกินไปนะคะ ก็จะเรียกเป็นท่านขุน ประมาณนั้นค่ะ ถัดไปที่ตำแหน่งรองจากขุนลงมานะคะ ก็คือตำแหน่ง หมื่น นั่นเองค่ะ ตำแหน่งหมื่นนี้ก็เป็นตำแหน่งรองลงมาแหละ ศักดินาตั้งแต่ 200-500 นะคะ คนที่ดังๆก็ได้แก่ หมื่นหาญค่ะ หมื่นหาญนี่ก็คือพ่อของนางบัวคลี่ นางบัวคลี่นี่คือเมียของขุนแผน ก็คือแม่ของกุมารทอง คนนั้นนั้่นแหละค่ะ อธิบายยาวมากกว่าจะเข้าใจว่าเป็นคนไหนนะ ซึ่งเราสามารถเรียกชื่อตำแหน่งนี้ขำๆว่า ท่านหมื่น นั่นเอง ใครที่เป็นแฟนคลับเรื่อง สายโลหิต น่าจะเคยได้ยินท่านหมื่นๆ หมื่นทิพย์ที่เป็นตัวร้ายของเรื่องสายโลหิตนั่นเองค่ะ ส่วนตำแหน่งรองจากหมื่นลงมานะคะ ก็คือตำแหน่ง พัน ตำแหน่งพันนี่คือตำแหน่งหัวหน้านายเวรนะคะ ถือศักดินาตั้งแต่ 100-600 ค่ะ คนดังๆก็พันศรโยธา พ่อของนางพิมพิลาไลย หรือว่านางวันทองนั่นเองนะคะ และตำแหน่งล่างสุดของขุนนางไทยก็คือ ตำแหน่ง นาย นั่นเองค่ะ ก็เช่นตำแหน่งนายม้าต้น อะไรอย่างนี้นะคะ ถือศักดินาทั้งหมด 200-600 นั่นเองค่ะ เป็นไงบ้างคะ ฟังตำแหน่งราชการไทยกันไปเยอะขนาดนี้ น่าจะทำให้ดูละครย้อนยุคกันได้สนุกสนานแล้วก็เข้าใจมากขึ้น ส่วนใครที่ฟังขนาดนี้แล้วอยากติดตามเรื่อง ปลายจวัก ละครอิงประวัติศาสตร์ที่พูดถึงตั้งแต่เรื่องวิถีชีวิต ไล่ไปจนถึงประวัติศาสตร์ และเล่าทั้งหมดนี้ผ่านอาหารนะคะ ก็สามารถติดตามได้ที่ ThaiPBS ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 20.15-21.15 น. และสามารถรับชมย้อนหลังผ่านทางเว็บไซต์ได้อีกครั้งในเวลา 21.30 น. ตามคิวอาร์โค้ดที่วิวให้ไว้ตรงนี้เลยค่ะ รับรองนะคะว่าดูแล้วจะต้องได้ทั้งความรู้และอยากอาหารไทยไปพร้อมๆกันเลยค่ะ สำหรับวันนี้ ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้ อย่าลืมกดไลค์เป็นกำลังใจให้วิว แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆมาดูด้วยกันนะคะ แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้าค่ะทุกคน บ้ายบาย สวัสดีค่ะ เป็นอีกหนึ่งคลิปที่ยาวนานนะคะทุกคน ฟังแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง อยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมอะไรยังไง บอกเลยนะคะว่าคลิปนี้ จะไม่ใช่คลิปเดียวที่วิวทำเกี่ยวข้องกับละคร ปลายจวัก ยังมีอักคลิปหนึ่งนะคะ รอติดตามชมได้เร็วๆนี้ และคลิปนี้มีแขกรับเชิญพิเศษมากๆมาด้วยคนหนึ่งนะคะ ดังนั้นรอติดตามกันค่ะ สามารถเดาได้มั้ยคะว่าเป็นใคร comment มาด้านล่างเลยค่ะ มาเดากันนะคะ สำหรับวันนี้ลาไปก่อนค่ะทุกคน บ้ายบาย สวัสดีค่ะ