< Return to Video

Electronegativity

  • 0:00 - 0:02
    สิ่งที่ผมอยากพูดถึงในวิดีโอนี้
  • 0:02 - 0:06
    คือแนวคิดเรื่องอิเล็กโตรเนกาทิวิตี้
  • 0:06 - 0:13
    อิเล็กโตร เนกาทิ เนกาทิวิตี้
  • 0:13 - 0:16
    และมันเกี่ยวข้อง เกี่ยวข้องกับ
  • 0:16 - 0:22
    แนวคิดเรื่องอิเล็กตรอนแอฟฟินิตี้
    อิเล็กตรอนแอฟฟินิตี้อย่างมาก
  • 0:22 - 0:24
    พวกมันใกล้เคียงกันมากโดยทั่วไป
  • 0:24 - 0:27
    ถ้าสิ่งใดมีอิเล็กโตรเนกาทิวิตี้สูง
  • 0:27 - 0:30
    พวกมันจะมีอิเล็กตรอนแอฟฟินิตี้สูงด้วย
  • 0:30 - 0:31
    แล้วมันหมายความว่าอะไร?
  • 0:31 - 0:34
    อิเล็กตรอนแอฟฟินิตี้คืออะตอมดึงดูด
  • 0:34 - 0:38
    อิเล็กตรอนแค่ไหน?
    มันชอบอิเล็กตรอนแค่ไหน?
  • 0:38 - 0:42
    มันอยาก มันอยากได้อิเล็กตรอนเพิ่มไหม?
  • 0:42 - 0:45
    อิเล็กโตรเนกาทิวิตี้เจาะจงมากกว่านั้นหน่อย
  • 0:45 - 0:49
    มันคือตอนที่อะตอมเป็นส่วนหนึ่ง
    ของพันธะโควาเลนต์
  • 0:49 - 0:53
    เมื่อมันใช้อิเล็กตรอนร่วมกับอะตอมอีกตัว
  • 0:53 - 0:56
    มันชอบ หรือมันอยาก
  • 0:56 - 0:59
    ขโมยอิเล็กตรอนในพันธะโควาเลนต์นั้น
    มากแค่ไหน?
  • 0:59 - 1:02
    ทีนี้ การขโมยอิเล็กตรอนหมายถึงอะไร?
  • 1:02 - 1:04
    ขอผม ขอผมเขียนมันลงไปนะ
  • 1:04 - 1:14
    ความอยากขโมย
  • 1:14 - 1:16
    และนี่คือนิยามแบบไม่เป็นทางการแน่ๆ
  • 1:16 - 1:19
    ขโมยอิเล็กตรอน เก็บอิเล็กตรอน
  • 1:19 - 1:21
    ให้ใช้เวลาอยู่ใกล้กับมัน
  • 1:21 - 1:24
    มากกว่าอะตอมตัวอื่นในพันธะโควาเลนต์
  • 1:24 - 1:28
    และตัวนี้คือปริมาณที่มันชอบอิเล็กตรอน
  • 1:28 - 1:33
    หรือมันอยากอยู่กับอิเล็กตรอนมากแค่ไหน
  • 1:33 - 1:40
    มันอยากได้อิเล็กตรอนมากแค่ไหน
  • 1:40 - 1:41
    และคุณเห็นได้ว่านิยามเหล่านี้
  • 1:41 - 1:44
    พวกมันเกี่ยวข้องกันอย่างมาก
  • 1:44 - 1:46
    นิยามนี้มีบริบทในเรื่องพันธะโควาเลนต์
  • 1:46 - 1:48
    มันมีอิเล็กตรอนแอฟฟินิตี้มากแค่ไหน?
  • 1:48 - 1:50
    อันนี้ คุณคิดถึงมันในแง่ที่กว้างขึ้นหน่อย
  • 1:50 - 1:54
    แต่แนวโน้มสองอย่างนี้ไปด้วยกันอย่างชัดเจน
  • 1:54 - 1:56
    เวลาคิด การคิดถึง
  • 1:56 - 1:58
    อิเล็กโตรเนกาทิวิตี้นั้นจับต้องได้มากกว่าหน่อย
  • 1:58 - 2:00
    ลองคิดถึงพันธะโควาเลนต์
  • 2:00 - 2:01
    ที่มีชือเสียงที่สุดตัวหนึ่งกัน
  • 2:01 - 2:03
    นั่นคือสิ่งที่คุณเห็นในโมเลกุลน้ำ
  • 2:03 - 2:08
    น้ำ คุณน่าจะรู้ คือ H2O
  • 2:08 - 2:11
    คุณมีอะตอมออกซิเจนหนึ่งตัว
  • 2:11 - 2:14
    และคุณมีไฮโดรเจน 2 ตัว
  • 2:14 - 2:17
    ไฮโดรเจนแต่ละตัวมีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 1 ตัว
  • 2:17 - 2:21
    และออกซิเจนมี เราเห็นตรงนี้ ชั้
    นนอกสุดของมัน
  • 2:21 - 2:26
    มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 1, 2, 3, 4, 5, 6 ตัว
  • 2:26 - 2:31
    วาเลนซ์อิเล็กตรอน 1, 2, 3, 4, 5, 6 ตัว
  • 2:31 - 2:33
    คุณคงนึกออก ไฮโดรเจนจะมีความสุข
  • 2:33 - 2:35
    ถ้ามันได้ทำตัวเหมือนว่ามันมี
  • 2:35 - 2:38
    อิเล็กตรอนอีกตัว มันจะได้มีการจัดอิเล็กตรอน
  • 2:38 - 2:41
    ที่เสถียร ชั้นแรกต้องการอิเล็กตรอนแค่ 2 ตัว
  • 2:41 - 2:43
    ที่เหลือต้องการ 8
  • 2:43 - 2:45
    ไฮโดรเจนจะรู้สึกว่า เฮ้ ฉันเสถียรเหมือนฮีเลียม
  • 2:45 - 2:47
    ถ้ามันได้อิเล็กตรอนอีกตัว
  • 2:47 - 2:49
    และออกซิเจนก็รู้สึกว่า
    เฮ้ ฉันเสถียรเหมือนนีออน
  • 2:49 - 2:51
    ถ้าฉันได้อิเล็กตรอนอีก 2 ตัว
  • 2:51 - 2:54
    และสิ่งที่เกิดขึ้นว่า
    พวกมันใช้อิเล็กตรอนของกันและกัน
  • 2:54 - 2:58
    อันนี้ อิเล็กตรอนนี้ใช้ร่วมกับ
  • 2:58 - 2:59
    อิเล็กตรอนตัวนี้ สำหรับไฮโดรเจนนี้ได้
  • 2:59 - 3:02
    ไฮโดรเจนนั้นรู้สึกเหมือนกับว่ามันกำลังใช้
  • 3:02 - 3:03
    ทั้งคู่ และมันเสถียรขึ้น
  • 3:03 - 3:05
    มันทำให้ชั้นนอกเสถียร
  • 3:05 - 3:06
    หรือทำให้ไฮโดรเจนอะตอมเสถียร
  • 3:06 - 3:08
    เช่นเดียวกัน อิเล็กตรอนตัวนั้น
  • 3:08 - 3:10
    ใช้ร่วมกับไฮโดรเจนตัวนั้นได้
  • 3:10 - 3:13
    และไฮโดรเจนตัวนั้นก็รู้สึกเหมือนฮีเลียม
  • 3:13 - 3:14
    แล้วออกซิเจนนี้รู้สึกเหมือน
  • 3:14 - 3:16
    มันเป็นความเท่าเทียมกัน
  • 3:16 - 3:18
    มันคือการแลกเปลี่ยนเพื่อกันและกัน
  • 3:18 - 3:20
    มันจะได้อิเล็กตรอน อิเล็กตรอน
  • 3:20 - 3:23
    มันแบ่งปันอิเล็กตรอนกับไฮโดรเจนแต่ละตัว
  • 3:23 - 3:27
    มันจึงรู้สึกเหมือนกับว่า มันทำตัวเสถียร
  • 3:27 - 3:30
    เหมือนกับ เหมือนกับนีออน
  • 3:30 - 3:32
    แต่เมื่อคุณดูพันธะโควาเลนต์เหล่านี้
  • 3:32 - 3:34
    ในกรณีนี้ที่พวกมันมี
  • 3:34 - 3:36
    อิเล็กโตรเนกาทิวิตี้เท่ากัน คุณจะได้กรณี
  • 3:36 - 3:37
    ที่บางทีพวกมันแบ่งกัน
  • 3:37 - 3:38
    หรือแม้แต่สิ่งที่เกิดขึ้น
  • 3:38 - 3:40
    ในโมเลกุลที่เหลืออาจเกี่ยวข้องด้วย
  • 3:40 - 3:42
    แต่เมื่อคุณมีของอย่างนี้
  • 3:42 - 3:44
    เมื่อคุณมีออกซิเจนกับไฮโดรเจน
  • 3:44 - 3:46
    พวกมันมีอิเล็กโตรเนกาทิวิตี้ไม่เท่ากัน
  • 3:46 - 3:50
    ออกซิเจนชอบเก็บอิเล็กตรอนไว้
    มากกว่าไฮโดรเจน
  • 3:50 - 3:51
    อิเล็กตรอนเหล่านี้จึงไม่ได้ใช้
  • 3:51 - 3:53
    เวลาไปเท่าๆ กัน
  • 3:53 - 3:55
    ตรงนี้ ผมวาดรูป
  • 3:55 - 3:58
    คุณก็รู้ วาเลนซ์อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นจุด
  • 3:58 - 3:59
    แต่อย่างที่เรารู้ อิเล็กตรอนอยู่ใน
  • 3:59 - 4:04
    เขตเบลอๆ รอบๆ
  • 4:04 - 4:07
    รอบๆ นิวเคลียส
  • 4:07 - 4:10
    รอบอะตอมที่ประกอบขึ้นมา
  • 4:10 - 4:12
    และ ในพันธะโควานเลนต์แบบนี้
  • 4:12 - 4:15
    อิเล็กตรอน อิเล็กตรอนสองตัวที่แสดงพันธะ
  • 4:15 - 4:18
    จะใช้เวลาอยู่รอบออกซิเจน
  • 4:18 - 4:21
    มากกว่าที่มันใช้เวลาอยู่รอบไฮโดรเจน
  • 4:21 - 4:24
    แล้วพวกนี้ อิเล็กตรอนสองตัวนี้จะใช้เวลา
  • 4:24 - 4:25
    รอบออกซิเจนมากกว่า
  • 4:25 - 4:27
    ตอนที่มันใช้เวลารอบไฮโดรเจน
  • 4:27 - 4:30
    และเรารู้เช่นนั้นเพราะออกซิเจน
    อิเล็กโตรเนกาทีฟกว่า
  • 4:30 - 4:32
    และเราจะพูดถึงแนวโน้มเร็วๆ นี้
  • 4:32 - 4:35
    นี่คือแนวคิดที่สำคัญมากในเคมี
  • 4:35 - 4:37
    โดยเฉพาะต่อไปเวลาคุณศึกษาเคมีอินทรีย์
  • 4:37 - 4:39
    เพราะ เพราะเรารู้ว่า
  • 4:39 - 4:40
    ออกซิเจนนั้นอิเล็กโตรเนกาทีฟกว่า
  • 4:40 - 4:42
    และอิเล็กตรอนใช้เวลารอบ
  • 4:42 - 4:44
    ออกซิเจนมากกว่ารอบไฮโดรเจน
  • 4:44 - 4:47
    มันสร้างประจุลบบางส่วนทางด้านนี้
  • 4:47 - 4:51
    และประจุบวกบางส่วนทางด้านนี้ตรงนี้
  • 4:51 - 4:56
    ซึ่งอธิบายว่าทำไมน้ำจึงมีสมบัติหลายอย่าง
  • 4:56 - 4:59
    และเราจะลงรายละเอียดอีกมากในวิดีโออื่น
  • 4:59 - 5:01
    เมื่อคุณศึกษาเคมีอินทรีย์
  • 5:01 - 5:03
    ปฏิกิริยาที่น่าจะเกิดขึ้นมากมายที่
  • 5:03 - 5:05
    จะเกิดขึ้น สามารถทำนายได้
  • 5:05 - 5:07
    หรือโมเลกุลที่น่าจะสร้างขึ้นมาต่างๆ นานา
  • 5:07 - 5:10
    สามารถทำนายได้จากอิเล็กโตรเนกาทิวิตี้
  • 5:10 - 5:11
    โดยเฉพาะเมื่อคุณเริ่ม
  • 5:11 - 5:12
    ไปยังเลขออกซิเดชัน และอะไรพวกนั้น
  • 5:12 - 5:15
    อิเล็กโตรเนกาทิวิตี้จะบอกคุณหลายอย่าง
  • 5:15 - 5:19
    ตอนนี้เรารู้แล้วว่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตี้คืออะไร
  • 5:19 - 5:21
    ลองคิดกันหน่อยว่ามันจะมีค่าเท่าใด
  • 5:21 - 5:24
    เมื่อเราไป เมื่อเราเริ่ม
  • 5:24 - 5:28
    และผ่าน เมื่อเราไล่ไปตามคาบ
  • 5:28 - 5:30
    เช่น เราเริ่มที่หมู่ 1
  • 5:30 - 5:35
    และเราไปยังหมู่ เราไปจนถึง
  • 5:35 - 5:38
    ไปจนถึง อย่างเช่น ฮาโลเจน
  • 5:38 - 5:43
    ไปจนถึงคอลัมน์สีเหลืองตรงนี้
  • 5:43 - 5:44
    คุณคิดว่าแนวโน้มของ
  • 5:44 - 5:48
    อิเล็กโตรเนกาทิวิตี้จะเป็นอย่างไร?
  • 5:48 - 5:49
    ย้ำอีกครั้ง วิธีคิดอย่างหนึ่ง
  • 5:49 - 5:51
    คือคิดถึงพวกสุดขั้ว
  • 5:51 - 5:54
    คิดถึงโซเดียม คิดถึงคลอรีน
  • 5:54 - 5:55
    ผมแนะนำให้คุณหยุด
  • 5:55 - 5:57
    วิดีโอแล้วลองคิดดู
  • 5:57 - 5:59
    ผมถือว่าคุณได้ลองแล้วนะ
  • 5:59 - 6:01
    มันก็คิดเหมือนกัน
  • 6:01 - 6:04
    ไอเดียคล้ายกันกับพลังงานไอออไนเซชัน
  • 6:04 - 6:06
    ธาตุอย่างโซเดียมมีอิเล็กตรอนแค่ตัวเดียว
  • 6:06 - 6:08
    ในชั้นนอกสุด
  • 6:08 - 6:10
    มันยากที่จะเติมชั้นนั้นให้เต็ม
  • 6:10 - 6:12
    เมื่อให้มันเสถียร การเอา
  • 6:12 - 6:16
    อิเล็กตรอนหนึ่งตัวที่มีออกไปจะง่ายกว่า
  • 6:16 - 6:19
    มันจะได้มีการจัดอิเล็กตรอน
    ที่เสถียรเหมือนนีออน
  • 6:19 - 6:23
    ตัวนี้อยากให้อิเล็กตรอนมาก
  • 6:23 - 6:25
    และเราเห็นในวิดีโอเรื่อง
    พลังงานไออไนเซชันไป
  • 6:25 - 6:27
    นั่นคือสาเหตุที่มันมีพลังงานไอออไนเซชันต่ำ
  • 6:27 - 6:30
    มันไม่ได้ใช้พลังงานมาก ในสถานะแก๊ส
  • 6:30 - 6:32
    เวลาเอาอิเล็กตรอนออกจากโซเดียม
  • 6:32 - 6:34
    แต่คลอรีนนั้นตรงกันข้าม
  • 6:34 - 6:36
    มันขาดอิเล็กตรอนแค่ตัวเดียว
    เพื่อให้ชั้นเต็ม
  • 6:36 - 6:38
    สิ่งสุดท้ายที่มันอยากทำคือให้อิเล็กตรอน
  • 6:38 - 6:41
    มันอยากได้อิเล็กตรอนมากๆ สุดๆ
  • 6:41 - 6:43
    มันจะได้มีการจัดเหมือนอาร์กอน
  • 6:43 - 6:46
    มันจะได้เติมชั้นที่ 3 จนเต็ม
  • 6:46 - 6:49
    และเหตุผลตรงนี้คือว่า โซเดียมยินดี
  • 6:49 - 6:51
    จะเสียอิเล็กตรอน
  • 6:51 - 6:53
    ในขณะที่คลอรีนอยากได้อิเล็กตรอนจริงๆ
  • 6:53 - 6:55
    คลอรีนจึงมีโอกาสจะขโมยอิเล็กตรอน
  • 6:55 - 7:00
    ในขณะที่โซเดียม
    มีโอกาสขโมยอิเล็กตรอนน้อยมาก
  • 7:00 - 7:01
    แนวโน้มนี่ตรงนี้
  • 7:01 - 7:03
    เมื่อคุณไปจากซ้ายถึงขวา
  • 7:03 - 7:05
    อิเล็กโตรเนกาทิวิตี้ ขอผมเขียนนะ
  • 7:05 - 7:07
    คุณจะอิเล็กโตรเนกาทีฟมากขึ้น
  • 7:07 - 7:14
    อิเล็กโตรเนกาทีฟยิ่งขึ้น เมื่อคุณ
  • 7:14 - 7:17
    เมื่อคุณไปทางขวา
  • 7:17 - 7:18
    ต่อไป คุณคิดว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไร
  • 7:18 - 7:22
    เมื่อคุณลงไป เมื่อคุณลงไปตามหมู่?
  • 7:22 - 7:26
    คุณคิดว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไรเมื่อคุณลงไป?
  • 7:26 - 7:27
    ผมจะให้คำใบ้คุณอย่างหนึ่ง
  • 7:27 - 7:31
    คิดถึง คิดถึงรัศมีอะตอม จากข้อมูลนั้น
  • 7:31 - 7:32
    ลองหยุดวิดีโอ แล้วคิดดู
  • 7:32 - 7:33
    คุณคิดว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไร?
  • 7:33 - 7:35
    เราจะอิเล็กโตรเนกาทีฟมากขึ้นหรือน้อยลง
  • 7:35 - 7:37
    เมื่อเราลงไป?
  • 7:37 - 7:39
    เหมือนเดิม ผมจะถือว่าคุณได้ลองแล้วนะ
  • 7:39 - 7:42
    อย่างที่เรารู้ จากวิดีโอเรื่องรัศมีอะตอม
  • 7:42 - 7:44
    อะตอมของเราจะใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้น และใหญ่ขึ้น
  • 7:44 - 7:46
    เมื่อเราเพิ่มชั้นมากขึ้น มากขึ้น และมากขึ้น
  • 7:46 - 7:51
    และซีเซียมมีอิเล็กตรอนหนึ่งตัว
    ที่อยู่ในชั้นนอกสุด
  • 7:51 - 7:52
    ในชั้นที่ 6
  • 7:52 - 7:56
    ในขณะที่ ลิเธียมมีอิเล็กตรอนแค่ 1 ตัว
  • 7:56 - 7:58
    ทุกอย่างตรงนี้ ธาตุหมู่ 1 ทั้งหมด
  • 7:58 - 7:59
    มีอิเล็กตรอนหนึ่งตัวในชั้นนอกสุด
  • 7:59 - 8:02
    แต่อิเล็กตรอนตัวที่ 55
  • 8:02 - 8:03
    อิเล็กตรอนหนึ่งตัวในชั้นนอกสุดของซีเซียม
  • 8:03 - 8:06
    ไกลออกไปมากเทียบกับอิเล็กตรอนตัวนอกสุด
  • 8:06 - 8:08
    ของลิเธียมหรือไฮโดรเจน
  • 8:08 - 8:12
    ด้วยเหตุนั้น อย่างแรก
  • 8:12 - 8:14
    ระหว่างอิเล็กตรอนนั้นกับนิวเคลียส
  • 8:14 - 8:17
    มันมีอิเล็กตรอนอื่นๆ ระหว่างกลางคอยรบกวน
  • 8:17 - 8:18
    มันจึงห่างออกไป
  • 8:18 - 8:21
    และมันง่ายที่จะเสียไป
  • 8:21 - 8:25
    ซีเซียมจึงมีโอกาสสูงที่จะให้
  • 8:25 - 8:28
    มันมีโอกาสเสียอิเล็กตรอนง่ายมาก
  • 8:28 - 8:31
    มันมีโอกาสเสียอิเล็กตรอน
    มากว่าไฮโดรเจนมาก
  • 8:31 - 8:33
    เมื่อคุณลงไปตามหมู่
  • 8:33 - 8:39
    คุณจะอิเล็กโตรเนกาทีฟน้อยลง น้อยลง
  • 8:39 - 8:41
    จากข้อมูลนี้
  • 8:41 - 8:45
    ธาตุใดจะอิเล็กโตรเนกาทีฟที่สุด
  • 8:45 - 8:46
    ในบรรดาทั้งหมด?
  • 8:46 - 8:47
    มันจะเป็นธาตุ
  • 8:47 - 8:50
    ที่อยู่บนสุดและขวาสุดของตารางธาตุ
  • 8:50 - 8:52
    มันคือธาตุพวกนี้ตรงนี้
  • 8:52 - 8:55
    พวกมันจะอิเล็กโตรเนกาทีฟสูงสุด
  • 8:55 - 8:57
    บางครั้ง เราไม่คิดถึงแก๊สเฉื่อยนัก
  • 8:57 - 8:59
    เพราะพวกมัน พวกมันไม่ทำปฏิกิริยาขนาดนั้น
  • 8:59 - 9:01
    พวกมันไม่สร้างพันธะโควาเลนต์ด้วยซ้ำ
  • 9:01 - 9:03
    เพราะพวกมันมีความสุขแล้ว
  • 9:03 - 9:04
    ในขณะที่ธาตุเหล่านี้บนนี้
  • 9:04 - 9:06
    พวกมันบางครั้งจะสร้างพันธะโควาเลนต์
  • 9:06 - 9:10
    และเมื่อพวกมันสร้างพันธะ
    มันจะชอบขโมยอิเล็กตรอน
  • 9:10 - 9:12
    ทีนี้ ธาตุที่อิเล็กโตรเนกาทีฟน้อยสุด
  • 9:12 - 9:14
    หรือเรียกว่า อิเล็กโตรโพซิทีฟที่สุดล่ะ?
  • 9:14 - 9:16
    ธาตุเหล่านี้ด้านล่างซ้าย
  • 9:16 - 9:18
    ตรงนี้ พวกมัน
  • 9:18 - 9:20
    คุณก็รู้ อย่างซีเซียม
  • 9:20 - 9:22
    พวกมันมีอิเล็กตรอนหนึ่งตัวที่อยากทิ้งไป
  • 9:22 - 9:25
    มันจะได้อยู่ในสถานะเสถียรอย่าง อย่างซีนอน
  • 9:25 - 9:28
    หรือในกรณีธาตุหมู่ 2
  • 9:28 - 9:29
    พวกมันอยากเสียอิเล็กตรอนสองตัว
  • 9:29 - 9:30
    มันเสียอิเล็กตรอนสองตัว
  • 9:30 - 9:32
    ง่ายกว่าเสียหลายๆ ตัว
  • 9:32 - 9:34
    และพวกมันใหญ่ อะตอมมีขนาดใหญ่
  • 9:34 - 9:36
    อิเล็กตรอนชั้นนอกสุดพวกนี้จะ
  • 9:36 - 9:39
    ดึงดูดนิวเคลียสประจุบวกน้อยกว่า
  • 9:39 - 9:41
    แนวโน้มในตารางธาตุ
  • 9:41 - 9:43
    เมื่อคุณไปจากล่างซ้าย
  • 9:43 - 9:45
    ถึงบนขวา
  • 9:45 - 9:49
    คุณจะได้อิเล็กโตรเนกาทีฟมากขึ้น มากขึ้น
Title:
Electronegativity
Description:

more » « less
Video Language:
English
Team:
Khan Academy
Duration:
09:54
Amara Bot edited Thai subtitles for Electronegativity

Thai subtitles

Revisions