สิ่งที่ผมอยากพูดถึงในวิดีโอนี้ คือแนวคิดเรื่องอิเล็กโตรเนกาทิวิตี้ อิเล็กโตร เนกาทิ เนกาทิวิตี้ และมันเกี่ยวข้อง เกี่ยวข้องกับ แนวคิดเรื่องอิเล็กตรอนแอฟฟินิตี้ อิเล็กตรอนแอฟฟินิตี้อย่างมาก พวกมันใกล้เคียงกันมากโดยทั่วไป ถ้าสิ่งใดมีอิเล็กโตรเนกาทิวิตี้สูง พวกมันจะมีอิเล็กตรอนแอฟฟินิตี้สูงด้วย แล้วมันหมายความว่าอะไร? อิเล็กตรอนแอฟฟินิตี้คืออะตอมดึงดูด อิเล็กตรอนแค่ไหน? มันชอบอิเล็กตรอนแค่ไหน? มันอยาก มันอยากได้อิเล็กตรอนเพิ่มไหม? อิเล็กโตรเนกาทิวิตี้เจาะจงมากกว่านั้นหน่อย มันคือตอนที่อะตอมเป็นส่วนหนึ่ง ของพันธะโควาเลนต์ เมื่อมันใช้อิเล็กตรอนร่วมกับอะตอมอีกตัว มันชอบ หรือมันอยาก ขโมยอิเล็กตรอนในพันธะโควาเลนต์นั้น มากแค่ไหน? ทีนี้ การขโมยอิเล็กตรอนหมายถึงอะไร? ขอผม ขอผมเขียนมันลงไปนะ ความอยากขโมย และนี่คือนิยามแบบไม่เป็นทางการแน่ๆ ขโมยอิเล็กตรอน เก็บอิเล็กตรอน ให้ใช้เวลาอยู่ใกล้กับมัน มากกว่าอะตอมตัวอื่นในพันธะโควาเลนต์ และตัวนี้คือปริมาณที่มันชอบอิเล็กตรอน หรือมันอยากอยู่กับอิเล็กตรอนมากแค่ไหน มันอยากได้อิเล็กตรอนมากแค่ไหน และคุณเห็นได้ว่านิยามเหล่านี้ พวกมันเกี่ยวข้องกันอย่างมาก นิยามนี้มีบริบทในเรื่องพันธะโควาเลนต์ มันมีอิเล็กตรอนแอฟฟินิตี้มากแค่ไหน? อันนี้ คุณคิดถึงมันในแง่ที่กว้างขึ้นหน่อย แต่แนวโน้มสองอย่างนี้ไปด้วยกันอย่างชัดเจน เวลาคิด การคิดถึง อิเล็กโตรเนกาทิวิตี้นั้นจับต้องได้มากกว่าหน่อย ลองคิดถึงพันธะโควาเลนต์ ที่มีชือเสียงที่สุดตัวหนึ่งกัน นั่นคือสิ่งที่คุณเห็นในโมเลกุลน้ำ น้ำ คุณน่าจะรู้ คือ H2O คุณมีอะตอมออกซิเจนหนึ่งตัว และคุณมีไฮโดรเจน 2 ตัว ไฮโดรเจนแต่ละตัวมีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 1 ตัว และออกซิเจนมี เราเห็นตรงนี้ ชั้ นนอกสุดของมัน มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 1, 2, 3, 4, 5, 6 ตัว วาเลนซ์อิเล็กตรอน 1, 2, 3, 4, 5, 6 ตัว คุณคงนึกออก ไฮโดรเจนจะมีความสุข ถ้ามันได้ทำตัวเหมือนว่ามันมี อิเล็กตรอนอีกตัว มันจะได้มีการจัดอิเล็กตรอน ที่เสถียร ชั้นแรกต้องการอิเล็กตรอนแค่ 2 ตัว ที่เหลือต้องการ 8 ไฮโดรเจนจะรู้สึกว่า เฮ้ ฉันเสถียรเหมือนฮีเลียม ถ้ามันได้อิเล็กตรอนอีกตัว และออกซิเจนก็รู้สึกว่า เฮ้ ฉันเสถียรเหมือนนีออน ถ้าฉันได้อิเล็กตรอนอีก 2 ตัว และสิ่งที่เกิดขึ้นว่า พวกมันใช้อิเล็กตรอนของกันและกัน อันนี้ อิเล็กตรอนนี้ใช้ร่วมกับ อิเล็กตรอนตัวนี้ สำหรับไฮโดรเจนนี้ได้ ไฮโดรเจนนั้นรู้สึกเหมือนกับว่ามันกำลังใช้ ทั้งคู่ และมันเสถียรขึ้น มันทำให้ชั้นนอกเสถียร หรือทำให้ไฮโดรเจนอะตอมเสถียร เช่นเดียวกัน อิเล็กตรอนตัวนั้น ใช้ร่วมกับไฮโดรเจนตัวนั้นได้ และไฮโดรเจนตัวนั้นก็รู้สึกเหมือนฮีเลียม แล้วออกซิเจนนี้รู้สึกเหมือน มันเป็นความเท่าเทียมกัน มันคือการแลกเปลี่ยนเพื่อกันและกัน มันจะได้อิเล็กตรอน อิเล็กตรอน มันแบ่งปันอิเล็กตรอนกับไฮโดรเจนแต่ละตัว มันจึงรู้สึกเหมือนกับว่า มันทำตัวเสถียร เหมือนกับ เหมือนกับนีออน แต่เมื่อคุณดูพันธะโควาเลนต์เหล่านี้ ในกรณีนี้ที่พวกมันมี อิเล็กโตรเนกาทิวิตี้เท่ากัน คุณจะได้กรณี ที่บางทีพวกมันแบ่งกัน หรือแม้แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ในโมเลกุลที่เหลืออาจเกี่ยวข้องด้วย แต่เมื่อคุณมีของอย่างนี้ เมื่อคุณมีออกซิเจนกับไฮโดรเจน พวกมันมีอิเล็กโตรเนกาทิวิตี้ไม่เท่ากัน ออกซิเจนชอบเก็บอิเล็กตรอนไว้ มากกว่าไฮโดรเจน อิเล็กตรอนเหล่านี้จึงไม่ได้ใช้ เวลาไปเท่าๆ กัน ตรงนี้ ผมวาดรูป คุณก็รู้ วาเลนซ์อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นจุด แต่อย่างที่เรารู้ อิเล็กตรอนอยู่ใน เขตเบลอๆ รอบๆ รอบๆ นิวเคลียส รอบอะตอมที่ประกอบขึ้นมา และ ในพันธะโควานเลนต์แบบนี้ อิเล็กตรอน อิเล็กตรอนสองตัวที่แสดงพันธะ จะใช้เวลาอยู่รอบออกซิเจน มากกว่าที่มันใช้เวลาอยู่รอบไฮโดรเจน แล้วพวกนี้ อิเล็กตรอนสองตัวนี้จะใช้เวลา รอบออกซิเจนมากกว่า ตอนที่มันใช้เวลารอบไฮโดรเจน และเรารู้เช่นนั้นเพราะออกซิเจน อิเล็กโตรเนกาทีฟกว่า และเราจะพูดถึงแนวโน้มเร็วๆ นี้ นี่คือแนวคิดที่สำคัญมากในเคมี โดยเฉพาะต่อไปเวลาคุณศึกษาเคมีอินทรีย์ เพราะ เพราะเรารู้ว่า ออกซิเจนนั้นอิเล็กโตรเนกาทีฟกว่า และอิเล็กตรอนใช้เวลารอบ ออกซิเจนมากกว่ารอบไฮโดรเจน มันสร้างประจุลบบางส่วนทางด้านนี้ และประจุบวกบางส่วนทางด้านนี้ตรงนี้ ซึ่งอธิบายว่าทำไมน้ำจึงมีสมบัติหลายอย่าง และเราจะลงรายละเอียดอีกมากในวิดีโออื่น เมื่อคุณศึกษาเคมีอินทรีย์ ปฏิกิริยาที่น่าจะเกิดขึ้นมากมายที่ จะเกิดขึ้น สามารถทำนายได้ หรือโมเลกุลที่น่าจะสร้างขึ้นมาต่างๆ นานา สามารถทำนายได้จากอิเล็กโตรเนกาทิวิตี้ โดยเฉพาะเมื่อคุณเริ่ม ไปยังเลขออกซิเดชัน และอะไรพวกนั้น อิเล็กโตรเนกาทิวิตี้จะบอกคุณหลายอย่าง ตอนนี้เรารู้แล้วว่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตี้คืออะไร ลองคิดกันหน่อยว่ามันจะมีค่าเท่าใด เมื่อเราไป เมื่อเราเริ่ม และผ่าน เมื่อเราไล่ไปตามคาบ เช่น เราเริ่มที่หมู่ 1 และเราไปยังหมู่ เราไปจนถึง ไปจนถึง อย่างเช่น ฮาโลเจน ไปจนถึงคอลัมน์สีเหลืองตรงนี้ คุณคิดว่าแนวโน้มของ อิเล็กโตรเนกาทิวิตี้จะเป็นอย่างไร? ย้ำอีกครั้ง วิธีคิดอย่างหนึ่ง คือคิดถึงพวกสุดขั้ว คิดถึงโซเดียม คิดถึงคลอรีน ผมแนะนำให้คุณหยุด วิดีโอแล้วลองคิดดู ผมถือว่าคุณได้ลองแล้วนะ มันก็คิดเหมือนกัน ไอเดียคล้ายกันกับพลังงานไอออไนเซชัน ธาตุอย่างโซเดียมมีอิเล็กตรอนแค่ตัวเดียว ในชั้นนอกสุด มันยากที่จะเติมชั้นนั้นให้เต็ม เมื่อให้มันเสถียร การเอา อิเล็กตรอนหนึ่งตัวที่มีออกไปจะง่ายกว่า มันจะได้มีการจัดอิเล็กตรอน ที่เสถียรเหมือนนีออน ตัวนี้อยากให้อิเล็กตรอนมาก และเราเห็นในวิดีโอเรื่อง พลังงานไออไนเซชันไป นั่นคือสาเหตุที่มันมีพลังงานไอออไนเซชันต่ำ มันไม่ได้ใช้พลังงานมาก ในสถานะแก๊ส เวลาเอาอิเล็กตรอนออกจากโซเดียม แต่คลอรีนนั้นตรงกันข้าม มันขาดอิเล็กตรอนแค่ตัวเดียว เพื่อให้ชั้นเต็ม สิ่งสุดท้ายที่มันอยากทำคือให้อิเล็กตรอน มันอยากได้อิเล็กตรอนมากๆ สุดๆ มันจะได้มีการจัดเหมือนอาร์กอน มันจะได้เติมชั้นที่ 3 จนเต็ม และเหตุผลตรงนี้คือว่า โซเดียมยินดี จะเสียอิเล็กตรอน ในขณะที่คลอรีนอยากได้อิเล็กตรอนจริงๆ คลอรีนจึงมีโอกาสจะขโมยอิเล็กตรอน ในขณะที่โซเดียม มีโอกาสขโมยอิเล็กตรอนน้อยมาก แนวโน้มนี่ตรงนี้ เมื่อคุณไปจากซ้ายถึงขวา อิเล็กโตรเนกาทิวิตี้ ขอผมเขียนนะ คุณจะอิเล็กโตรเนกาทีฟมากขึ้น อิเล็กโตรเนกาทีฟยิ่งขึ้น เมื่อคุณ เมื่อคุณไปทางขวา ต่อไป คุณคิดว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไร เมื่อคุณลงไป เมื่อคุณลงไปตามหมู่? คุณคิดว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไรเมื่อคุณลงไป? ผมจะให้คำใบ้คุณอย่างหนึ่ง คิดถึง คิดถึงรัศมีอะตอม จากข้อมูลนั้น ลองหยุดวิดีโอ แล้วคิดดู คุณคิดว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไร? เราจะอิเล็กโตรเนกาทีฟมากขึ้นหรือน้อยลง เมื่อเราลงไป? เหมือนเดิม ผมจะถือว่าคุณได้ลองแล้วนะ อย่างที่เรารู้ จากวิดีโอเรื่องรัศมีอะตอม อะตอมของเราจะใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้น และใหญ่ขึ้น เมื่อเราเพิ่มชั้นมากขึ้น มากขึ้น และมากขึ้น และซีเซียมมีอิเล็กตรอนหนึ่งตัว ที่อยู่ในชั้นนอกสุด ในชั้นที่ 6 ในขณะที่ ลิเธียมมีอิเล็กตรอนแค่ 1 ตัว ทุกอย่างตรงนี้ ธาตุหมู่ 1 ทั้งหมด มีอิเล็กตรอนหนึ่งตัวในชั้นนอกสุด แต่อิเล็กตรอนตัวที่ 55 อิเล็กตรอนหนึ่งตัวในชั้นนอกสุดของซีเซียม ไกลออกไปมากเทียบกับอิเล็กตรอนตัวนอกสุด ของลิเธียมหรือไฮโดรเจน ด้วยเหตุนั้น อย่างแรก ระหว่างอิเล็กตรอนนั้นกับนิวเคลียส มันมีอิเล็กตรอนอื่นๆ ระหว่างกลางคอยรบกวน มันจึงห่างออกไป และมันง่ายที่จะเสียไป ซีเซียมจึงมีโอกาสสูงที่จะให้ มันมีโอกาสเสียอิเล็กตรอนง่ายมาก มันมีโอกาสเสียอิเล็กตรอน มากว่าไฮโดรเจนมาก เมื่อคุณลงไปตามหมู่ คุณจะอิเล็กโตรเนกาทีฟน้อยลง น้อยลง จากข้อมูลนี้ ธาตุใดจะอิเล็กโตรเนกาทีฟที่สุด ในบรรดาทั้งหมด? มันจะเป็นธาตุ ที่อยู่บนสุดและขวาสุดของตารางธาตุ มันคือธาตุพวกนี้ตรงนี้ พวกมันจะอิเล็กโตรเนกาทีฟสูงสุด บางครั้ง เราไม่คิดถึงแก๊สเฉื่อยนัก เพราะพวกมัน พวกมันไม่ทำปฏิกิริยาขนาดนั้น พวกมันไม่สร้างพันธะโควาเลนต์ด้วยซ้ำ เพราะพวกมันมีความสุขแล้ว ในขณะที่ธาตุเหล่านี้บนนี้ พวกมันบางครั้งจะสร้างพันธะโควาเลนต์ และเมื่อพวกมันสร้างพันธะ มันจะชอบขโมยอิเล็กตรอน ทีนี้ ธาตุที่อิเล็กโตรเนกาทีฟน้อยสุด หรือเรียกว่า อิเล็กโตรโพซิทีฟที่สุดล่ะ? ธาตุเหล่านี้ด้านล่างซ้าย ตรงนี้ พวกมัน คุณก็รู้ อย่างซีเซียม พวกมันมีอิเล็กตรอนหนึ่งตัวที่อยากทิ้งไป มันจะได้อยู่ในสถานะเสถียรอย่าง อย่างซีนอน หรือในกรณีธาตุหมู่ 2 พวกมันอยากเสียอิเล็กตรอนสองตัว มันเสียอิเล็กตรอนสองตัว ง่ายกว่าเสียหลายๆ ตัว และพวกมันใหญ่ อะตอมมีขนาดใหญ่ อิเล็กตรอนชั้นนอกสุดพวกนี้จะ ดึงดูดนิวเคลียสประจุบวกน้อยกว่า แนวโน้มในตารางธาตุ เมื่อคุณไปจากล่างซ้าย ถึงบนขวา คุณจะได้อิเล็กโตรเนกาทีฟมากขึ้น มากขึ้น