< Return to Video

ประวัติวิดีโอเกมส์ (ภาคแรก) - สาฟวาต ซาลีม (Safwat Saleem)

  • 0:09 - 0:10
    สวัสดีครับ ผมคือ มีเดียมอินเวเดอร์
  • 0:10 - 0:13
    จากวีดีโอเกมส์สุดคลาสสิก สเปซอินเวเดอร์
    (Space Invaders)
  • 0:13 - 0:15
    ผมอยากจะเล่าให้คุณฟัง
  • 0:15 - 0:18
    เกี่ยวกับที่มาของวิดีโอเกมส์
  • 0:18 - 0:20
    วิดีโอเกมส์เป็นเกมส์อิเล็กทรอนิกส์
  • 0:20 - 0:23
    ที่มีรูปร่างหน้าตาที่ถูกออกแบบมา
    เพื่อให้มนุษย์สามารถใช้งานได้
  • 0:23 - 0:25
    บนอุปกรณ์ฉายภาพ
  • 0:25 - 0:26
    ง่ายๆแค่นั้น
  • 0:27 - 0:29
    วิดีโอเกมส์ถูกนำมาใช้โดยนักวิทยาศาสตร์
  • 0:29 - 0:30
    โดยกองทัพ
  • 0:30 - 0:32
    และคนทั่วไปอย่างคุณ
  • 0:32 - 0:35
    วิวัฒนาการของเกมส์เหล่านี้กลายเป็น เกมส์อาร์เขต
  • 0:35 - 0:36
    เกมส์คอนโซล
  • 0:36 - 0:37
    เกมส์คอมพิวเตอร์
  • 0:37 - 0:38
    เกมส์บนสมาร์ทโฟน
  • 0:38 - 0:40
    และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่นๆ
  • 0:40 - 0:43
    ทุกวันนี้เราพบวิดีโอเกมส์อยู่ในทุก ๆ ที่
  • 0:43 - 0:45
    จากเดิมที่ถูกพัฒนาขึ้นใน
    ห้องแล็บวิทยาศาสตร์
  • 0:45 - 0:49
    และที่จริงแล้ว การจดลิขสิทธิ์
    วิดีโอเกมส์ครั้งแรกในอเมริกา
  • 0:49 - 0:51
    เกิดขึ้นเมื่อปี 1948
  • 0:51 - 0:53
    ซึ่งในตอนนั้นมันถูกเรียกว่า
  • 0:53 - 0:56
    อุปกรณ์บันเทิงที่ใช้หลอดรังสีแคโทด
    (cathode-ray tube)
  • 0:56 - 0:57
    ชื่อมันยาวมาก ๆ เลย
  • 0:57 - 0:59
    วิดีโอเกมส์ในยุคแรกนั้นรวมไปถึง
  • 0:59 - 1:01
    เครื่องนิมรอด (Nimrod)
  • 1:01 - 1:03
    เกมส์โอเอ็กซ์ (OXO)
  • 1:03 - 1:04
    เกมส์เทนนิส (Tennis for Two)
  • 1:04 - 1:07
    และเกมส์โปรดของผม สงครามอวกาศ!
    (Spacewar!)
  • 1:08 - 1:11
    แต่เกมส์ในยุคแรกเหล่านี้
  • 1:11 - 1:12
    ไม่เคยออกวางขาย
  • 1:12 - 1:14
    เพราะมันใหญ่เกินไป
  • 1:14 - 1:16
    หรือไม่ก็แพงเกินกว่า
  • 1:16 - 1:18
    ที่จะเอามาพัฒนาต่อ นอกห้องแล็บ
  • 1:18 - 1:20
    สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนไปเมื่อ ราล์ฟ แบร์ (Ralph Baerl)
  • 1:20 - 1:23
    มองดูที่จอทีวี แล้วคิดขึ้นมาว่า
  • 1:23 - 1:25
    จะเอามันมาใช้ทำอะไรได้อีกบ้าง
  • 1:25 - 1:29
    ในปี 1972 ความคิดของแบร์
    ที่จะนำเอาวิดีโอเกมส์
  • 1:29 - 1:31
    ออกจากห้องแล็บมาสู่ห้องนั่งเล่น
  • 1:31 - 1:34
    ทำให้เกิดการวางขายเครื่องเกมส์
  • 1:34 - 1:35
    ที่เรียกว่า โอดิซี (Odyssey)
  • 1:35 - 1:38
    โอดิซีทำให้คุณสามารถเล่นเกมส์
    บนโทรทัศน์ของคุณได้
  • 1:39 - 1:41
    และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น
  • 1:41 - 1:44
    คนอีกสองคน โนแลน บุชเนล (Nolan Bushnell)
    และเท็ด แดบนีย์ (Ted Dabney)
  • 1:44 - 1:45
    ก็กำลังพัฒนาเครื่องที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ กัน
  • 1:45 - 1:48
    อยู่ในบริษัทเล็กๆ ที่ชื่อ อาตาริ (Atari)
  • 1:48 - 1:49
    คุณอาจจะเคยได้ยินชื่อ
  • 1:49 - 1:50
    หรือถ้าคุณไม่เคยได้ยิน
  • 1:50 - 1:52
    ผมว่าคุณพ่อของคุณคงจะเคยได้ยิน
  • 1:52 - 1:56
    เกมส์ชิ้นแรกของอาตาริ
    ออกวางขายในปี 1972
  • 1:56 - 1:58
    มันเป็นเกมส์อาร์เขตชื่อว่า "ปอง" (Pong)
  • 1:58 - 2:00
    มันโด่งดังแทบจะในทันที
  • 2:00 - 2:01
    และทำให้มันเป็นที่รู้จัก
  • 2:01 - 2:03
    ในฐานะเกมส์แรก
    ที่ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์
  • 2:03 - 2:07
    จากนั้นอาตาริก็ปล่อยเครื่องเกมส์ ปอง
    รุ่นใช้ที่บ้านในปี 1974
  • 2:07 - 2:10
    ภายในปี 1978 การแข่งขันระหว่าง อาตาริ
  • 2:10 - 2:12
    กับบริษัทเกมส์อีกบริษัทหนึ่งชื่อ มิดเวย์ (Midway)
  • 2:12 - 2:13
    ก็กำลังรุนแรง
  • 2:13 - 2:15
    มิดเวย์ ได้รับลิขสิทธ์เกมส์อาร์เขต
  • 2:15 - 2:17
    จากบริษัทญี่ปุ่น เทโต (Taito)
  • 2:17 - 2:18
    ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาเริ่มเป็นที่รู้จัก
  • 2:18 - 2:19
    อย่างเกมส์
  • 2:19 - 2:21
    สเปซอินเวเดอร์ (Space Invaders)
  • 2:21 - 2:23
    มันประกอบด้วยตัวละครเด่นๆ อย่างตัวผมเอง
  • 2:23 - 2:25
    และมันยังกลายเป็น
  • 2:25 - 2:28
    เกมส์อาร์เขตที่ขายดีที่สุดตลอดกาลเป็นอันดับสอง
  • 2:28 - 2:30
    สเปซอินเวเดอร์ ช่วยให้เกิด
  • 2:30 - 2:33
    ยุคที่เรียกว่า ยุคทองของเกมส์อาร์เขต
  • 2:33 - 2:34
    เพื่อเป็นการตอบโต้ อาตาริก็
  • 2:34 - 2:37
    ออกเกมส์อาร์เขตที่ชื่อ แอสตรอยด์ (Asteroids)
  • 2:37 - 2:38
    ซึ่งขายดีติดอันดับที่หก
  • 2:38 - 2:40
    ของเกมส์ขายดีที่สุดตลอดกาล
  • 2:40 - 2:41
    มันก็เป็นเกมส์ที่ดี
  • 2:41 - 2:43
    แต่มันไม่ใช่ สเปซอินเวเดอร์
  • 2:43 - 2:47
    พอปี 1980 เริ่มมีจอสีในเกมส์อาร์เขด
  • 2:47 - 2:48
    และปีนี้ยังเป็นปี
  • 2:48 - 2:51
    ที่เกมส์สำคัญเกมส์หนึ่งเกิดขึ้น
  • 2:51 - 2:54
    แพคแมน (Pac-Man) ซึ่งออกแบบ
    โดยบริษัทญี่ปุ่นที่ชื่อ แนมโค (Namco)
  • 2:54 - 2:56
    ถูกนำมาสู่สหรัฐฯ โดยมิดเวย์
  • 2:56 - 2:57
    ซึ่งส่งผลต่อการแผ่ขยายความนิยม
  • 2:57 - 2:59
    ในการเล่นวิดีโอเกมส์ในวงกว้่าง
  • 2:59 - 3:02
    แพคแมน ยังเป็นตัวละครที่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้
  • 3:02 - 3:05
    และไม่นานหลังจากนั้นมันก็มีเพลงติดอันดับ
  • 3:05 - 3:06
    มีรายการทีวีเช้าวันเสาร์ของตัวเอง
  • 3:06 - 3:09
    และยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆอีก
  • 3:09 - 3:11
    ภายในปีเดียว เกมส์อาร์เขตแพคแมน
  • 3:11 - 3:15
    ทำเงินได้มากกว่าหนึ่งพันล้านดอลล่าร์
    ในช่วงไตรมาสเดียว
  • 3:15 - 3:18
    จากนั้นในปี 1981 บริษัทนินเทนโด (Nintendo)
  • 3:18 - 3:20
    ก็เริ่มคลื่นลูกใหม่ในตลาดวิดีโอเกมส์ ในสหรัฐฯ
  • 3:20 - 3:22
    ด้วยการออกเกมส์ ดองกี้คอง (Donkey Kong)
  • 3:22 - 3:23
    ซึ่งเป็นวีดีโอเกมส์ยุคแรกสุด
  • 3:23 - 3:25
    ที่มีเรื่องราวของตนเอง
  • 3:25 - 3:27
    เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ
  • 3:27 - 3:28
    ดองกี้คองเป็นสัตว์เลี้ยง
  • 3:28 - 3:30
    ของช่างไม้ที่ชื่อ จัมพ์แมน
  • 3:30 - 3:33
    จัมพ์แมน ทำไม่ดีกับลิงยักษ์ของเขา
  • 3:33 - 3:34
    ทำให้เจ้าลิงขโมยเพื่อนสาวของเขา
  • 3:34 - 3:36
    ทำให้ผู้เล่นต้องสวมบทบาทเป็น
  • 3:36 - 3:39
    ตัวจัมพ์แมน เพื่อไปช่วยหญิงสาว
  • 3:39 - 3:41
    จัมพ์แมน ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มาริโอ
  • 3:41 - 3:44
    เกมส์อาร์เขตอื่นๆ ในตำนานในยุคปี 80 รวมไปถึง
  • 3:44 - 3:46
    ฟร็อกเกอร์ (Frogger)
  • 3:46 - 3:47
    ถ้ำมังกร (Dragon's Lair)
  • 3:47 - 3:49
    และพี่น้องมาริโอ (Mario Brothers)
  • 3:50 - 3:52
    เกมส์สุดท้ายที่จัดว่า
  • 3:52 - 3:55
    อยู่ในยุคของเกมส์อาร์เขต ก็คือ
  • 3:55 - 3:56
    เกมส์ ดับเบิลดรากอน (Double Dragon)
  • 3:56 - 3:58
    ซึ่งเป็นตัวอย่างแรกที่ประสบความสำเร็จ
    ของเกมส์
  • 3:58 - 3:59
    จำพวก "ตีมันให้ตาย"
  • 3:59 - 4:02
    มันออกวางขายในปี 1987
  • 4:02 - 4:03
    และเช่นเดียวกับดองกี้คอง
  • 4:03 - 4:06
    มันประกอบด้วยตัวละครหญิง
    ที่ตกอยู่ในอันตรายแบบเดียวกัน
  • 4:06 - 4:08
    ซึ่งก็ยังคงเป็นเรื่องราวที่เห็นกัน
    ในวิดีโอเกมส์อีกมากมาย
  • 4:09 - 4:12
    ในช่วงกลางยุค 90 ยุคทองของเกมส์อาร์เขต
  • 4:12 - 4:13
    ก็ถึงจุดสิ้นสุด
  • 4:13 - 4:15
    และเครื่องเล่นเกมส์ที่บ้าน
  • 4:15 - 4:16
    ก็เริ่มได้รับความนิยม
  • 4:16 - 4:18
    ในขณะที่ร้านเกมส์อาร์เขตค่อยๆ
  • 4:18 - 4:20
    ได้รับความนิยมลดลง และมียอดขายน้อยลงเรื่อยๆ
  • 4:20 - 4:22
    ความนิยมในวิดีโอเกมส์เป็นเพียงจุดเริ่มต้น
  • 4:22 - 4:23
    แต่เราจะพูดถึง
  • 4:23 - 4:24
    เรื่องอื่นๆ อีกมากมาย
  • 4:24 - 4:27
    ในตอนต่อภาคสอง ของประวัติวิดีโอเกมส์
Title:
ประวัติวิดีโอเกมส์ (ภาคแรก) - สาฟวาต ซาลีม (Safwat Saleem)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/a-brief-history-of-video-games-part-i-safwat-saleem

ทุกวันนี้วิดีโอเกมส์ มีอยู่ทุกแห่งแต่ว่า มันมาจากไหนกัน? ประวัติของวิดีโอเกมส์ที่เกี่ยวข้องกับห้องทดลองทางคอมพิวเตอร์ซึ่งมีเครื่องใหญ่ยักษ์ และผู้ก่อตั้ง ชัคแอนด์ชีส (Chuck E. Cheese) และธุรกิจพันล้านที่ประสบความสำเร็จในช่วงไตรมาสเดียว สาฟวาต ซาลีม (Safwat Saleem) พาเรากลับไปดูวิวัฒนาการของโลกของเกมส์ที่เรารัก

บทเรียนและภาพเคลื่อนไหว โดย สาฟวาต ซาลีม (Safwat Saleem)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:46
  • I changed transliteration of "lab" to "แล็บ" and "arcade" to "อาร์เขต" and make it consistent across the talk. Also fix few typos krab. Thanks - Pun.

  • Look good to me and ready to go ka :))))

Thai subtitles

Revisions Compare revisions