-
สวัสดีค่ะ วิว จากแชนเนล Point of View ค่ะ
-
หลังจากที่คราวที่แล้วนะคะ เมื่อนานแสนนานมาเนี่ย
-
วิวเคยทำคลิปวิดีโอคลิปนึงค่ะ
-
ชื่อว่า 7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรัชกาลที่ 7 นะคะ
-
จากคลิปนั้นเนี่ยมีหลายคนเรียกร้องเข้ามามากมายค่ะ
-
ว่าให้ทำเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์อื่นด้วย
-
แต่วิวก็ไม่ได้โอกาสซะทีนะคะ
-
อย่างไรก็ตาม โอกาสนั้นมาถึงแล้วค่ะ
-
เพราะหลาย ๆ คนเนี่ยน่าจะเห็น
-
จากคลิปก่อน ๆ ของวิว หลาย ๆ คลิป
-
ที่เกี่ยวข้องกับพระราชนิพนธ์ใน
-
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ใช่มั้ยคะว่า
-
ตอนนี้ วิวมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วม
-
ในนิทรรศการ นิทรรศการนึงค่ะ
-
นั่นก็คือ นิทรรศการมหาวชิราวุธราชบรรณาลัย
-
นิทรรศการว่าด้วยพระราชประวัติของ
-
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 ในด้านต่าง ๆ
-
ภายใต้คอนเซ็ปต์คำว่า บันดาลใจ
-
ซึ่งนิทรรศการนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ
-
จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย นะคะ
-
ตัวนิทรรศการส่วนมหาวชิราวุธราชบรรณาลัยเนี่ย
-
วิวก็เข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็น curator (ภัณฑารักษ์)
-
ร่วมกับพี่ฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร
-
เพื่อเลือกเรื่องราวต่าง ๆ มานำเสนอ
-
ให้ทุกคนเข้าถึงพระองค์ได้มากขึ้นค่ะ
-
สำหรับครึ่งแรกของนิทรรศการ วิวเคยพาชมไว้แล้ว
-
สามารถกดเข้าไปดูได้ที่มุมขวาบนเลยนะคะ
-
ทีนี้แน่นอนนะคะว่าในนิทรรศการนั้นเนี่ย
-
ก็จะต้องมีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ
-
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจำนวนมากมายเลยค่ะ
-
และหลาย ๆ ข้อเนี่ย ก็เป็นหลาย ๆ ข้อ
-
ที่แม้แต่วิวเองก็ไม่เคยรู้มาก่อนเลยนะคะ
-
ดังนั้น วันนี้นะคะ วิวก็เลยรวบรวมเรื่องน่ารู้ทั้งหมด 6 เรื่อง
-
เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
-
มาเล่าให้ทุกคนฟังค่ะ
-
ซึ่งขอออกตัวก่อน ณ ที่นี้นะคะว่า
-
ข้อแรก ภาษาที่ใช้ในคลิปนี้
-
อาจจะเป็นภาษาที่ค่อนข้างสามัญธรรมดา
-
ราชาศัพท์จะมั่วบ้างอะไรบ้างนะคะ
-
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจได้ดีที่สุด
-
ถ้าสมมติว่าวิวใช้ราชาศัพท์เป๊ะทุกคำเนี่ย
-
มันอาจจะเต็มไปด้วยคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เราไม่คุ้นเคยเต็มไปหมด
-
แล้วทำให้สารเนี่ยส่งไปไม่ถึงคนดูค่ะ
-
และข้อที่สองนะคะ
-
เรื่องที่วิวจะเล่าต่อไปนี้นะคะ
-
เป็นแค่เรื่องน่ารู้ทั้งหมด 6 ข้อที่วิวยกขึ้นมาค่ะ
-
ไม่ใช่พระราชประวัติทั้งหมดนะคะ
-
ดังนั้น ถ้าสมมติว่าใครอยากศึกษาพระราชประวัติจริง ๆ
-
เอาตั้งแต่ต้นจนจบ เอาทุกแง่มุมต่าง ๆ เนี่ย
-
แนะนำให้เข้าไปศึกษาที่
-
นิทรรศการมหาวชิราวุธราชบรรณาลัยค่ะ
-
ซึ่งนิทรรศการนี้นะคะ
-
มีทั้งจัดแบบเป็นห้องนิทรรศการจริง ๆ ด้วย
-
ซึ่งเดี๋ยวจะมาประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไปนะคะ
-
รวมถึงเป็นนิทรรศการออนไลน์
-
ซึ่งตอนนี้มีบทความที่เกี่ยวข้องกับ
พระราชประวัติหลายบทความด้วยกันนะคะ
-
ซึ่งวิวก็มีโอกาสได้เข้าไปเป็นบรรณาธิการนะ
-
ตีพิมพ์อยู่ในนั้นค่ะ
-
รวมถึงมีหนังสือพระราชนิพนธ์ของทั้ง
-
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
-
และพระราชนิพนธ์ของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
-
จำนวนมาก ๆ ๆ ๆ เลยนะคะ
-
เปิดให้ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
-
อยู่ในเว็บไซต์ของจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัยค่ะ
-
ก็สามารถเข้าไปดูได้ ตาม QR Code นี้เลยนะคะ
-
สำหรับตอนนี้เราจะไม่เกริ่นไปมากกว่านี้แล้วค่ะ
-
ถ้าพร้อมกันแล้วก็เข้าไปฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุก
-
แล้วก็ได้สาระกันเลยค่ะ ปะ!
-
สำหรับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
-
ข้อแรกที่วิวจะนำมาฝากทุกคนในวันนี้นะคะ
-
เริ่มจากเรื่องเบา ๆ ก่อนแล้วกันนะ
-
หลายคนน่าจะทราบกันดีค่ะว่า
-
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เนี่ย
-
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกเลยนะคะ
-
ที่เสด็จไปเรียนต่อที่ต่างประเทศค่ะ
-
โดยเริ่มตั้งแต่เรียนที่ Home School นะคะ
-
มีพระอาจารย์ต่าง ๆ มาสอน
-
ไล่ไปจนกระทั่งถึงทรงไปเรียนด้านการทหาร
-
ที่โรงเรียนนายร้อยแซนเฮิสต์นะคะ
-
ต่อด้วยเรียนด้านพลเรือนที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดค่ะ
-
ซึ่งที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดเนี่ย
-
ก็มีการจัดวิชาเป็นหลักสูตรพิเศษให้ท่านได้ทรงศึกษานะคะ
-
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองการปกครองอะไรต่าง ๆ
-
เรียกได้ว่าเป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองในสมัยนั้น
-
อย่างเช่นราชวงศ์อังกฤษต่าง ๆ ได้เรียนค่ะ
-
ท่านก็เข้าไปเรียนในหลักสูตรนี้ด้วยนะคะ
-
แต่รู้กันมั้ยคะว่าท่านเรียนอยู่ที่วิทยาลัยไหน
-
ในมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด
-
คือต้องบอกว่าออกฟอร์ดเนี่ยเป็นเมืองมหาวิทยาลัยค่ะ
-
หลายคนน่าจะเคยดูคลิปที่
-
วิวพาไปเที่ยวที่ออกฟอร์ดมาแล้วนะคะ
-
คือในออกฟอร์ดเนี่ยจะประกอบไปด้วย
-
วิทยาลัยต่าง ๆ หลายวิทยาลัย อัดรวมกันอยู่ในเมืองค่ะ
-
ซึ่งแต่ละวิทยาลัยเนี่ยก็จะมีความสำคัญ
-
แล้วก็มีความเชี่ยวชาญไม่เหมือนกันค่ะ
-
แต่วิทยาลัยที่พระองค์เสด็จไปศึกษาต่อเนี่ยนะคะ
-
บอกเลยว่าน่าสนใจมาก ๆ สำหรับวิวค่ะ
-
เพราะว่าวิทยาลัยที่พระองค์ทรงไปศึกษาต่อเนี่ยนะคะ
-
ก็คือ Christ Church College นั่นเอง
-
ชื่อคุ้น ๆ มั้ย
-
ถ้าใครได้ดูคลิปที่วิวพูดถึงไปเนี่ย
-
ก็จะเห็นว่าวิวได้ไปที่ Christ Church College ด้วยนะคะ
-
เพราะว่าอะไร เพราะว่า Christ Church College ค่ะ
-
เป็นสถานที่ถ่ายทำเรื่อง Harry Potter นั่นเองนะคะ
-
ก็จะเห็นว่าภาพภายในของ Christ Church เนี่ยนะคะ
-
จะเป็นภาพที่แฟนคลับของหนัง
แฮร์รี่ พอตเตอร์เนี่ยคุ้นเคยกันดีค่ะ
-
นอกจากนี้นะคะ แอบบอกเลยว่า
-
Christ Church เนี่ยยังเป็นยังเป็น
-
หนึ่งในแรงบันดาลใจที่สำคัญมาก ๆ นะคะ
-
ของโรงเรียนฮอกวอตส์ในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์นั่นเอง
-
เพราะอย่างเช่น ห้องรับประทานอาหารรวมเนี่ย
-
ก็จะเห็นว่า ของที่ Christ Church เนี่ย
-
เป็นห้องโถงยาว ๆ นะคะ
-
แล้วก็เป็นโต๊ะยาว ๆ ๆ ๆ ค่ะ
-
ส่วนสุดปลายโต๊ะนี่ก็จะเป็นโต๊ะอาจารย์นะคะ
-
ภาพคุ้น ๆ มั้ย
-
นี่แหละห้องรับประทานอาหารของแฮร์รี่ พอตเตอร์
-
เป๊ะ ๆ เลยนะคะทุกคน
-
นอกจากนี้นะคะ ที่ Christ Church ยังมีความสำคัญอะไรอีก คือ
-
ประมาณ 20-30 ปีก่อนที่พระองค์จะเสด็จไปศึกษาต่อเนี่ยนะคะ
-
ที่ Christ Church แห่งนี้นะคะ
-
ก็มีอาจารย์คนนึงค่ะ แต่งนิยายขึ้นมาเรื่องนึงนะคะ
-
หลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่ออยู่บ้างแหละ
-
นั่นก็คือเรื่อง Alice in Wonderland นั่นเองนะคะ
-
ซึ่งก็ใช้ Christ Church เป็นฉากในนั้นค่อนข้างมากเหมือนกันค่ะ
-
ดังนั้น สำหรับแฟนคลับของสองเรื่องนี้ก็ไม่น่าเชื่อเลยนะคะ
-
ว่าเรื่องนี้จะมาเกี่ยวข้องกันได้ค่ะ
-
นี่ก็คือ เรื่องราวเบา ๆ เรื่องแรกที่วิวนำมาฝากทุกคนนะคะ
-
ไปต่อที่ข้อที่สองกันดีกว่าค่ะ
-
จะหนักหน่วงขึ้นนิดนึงนะคะ
-
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
-
ข้อที่ 2 ที่วิวนำมาฝากทุกคนในวันนี้
-
ยังวนเวียนอยู่กับเรื่องการศึกษาของพระองค์นะคะ
-
ก็ต้องบอกเลยว่า การที่ทรงไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศเนี่ย
-
แน่นอน ตามสไตล์ของคนที่ไปเรียนต่อทั่วไป
-
ก็จะต้องมีการเขียนวิทยานิพนธ์ใช่มั้ยคะ
-
แม้ว่าพระองค์จะไม่ได้ศึกษาหลักสูตรปริญญาเต็มรูปแบบ
-
ที่จำเป็นจะต้องมีการเขียนวิทยานิพนธ์
-
มีการสอบไล่ มีการรับปริญญาต่าง ๆ
-
เพราะว่าหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรพิเศษ
-
ซึ่งจัดขึ้นสำหรับราชวงศ์ใช่มั้ย
-
แต่ก่อนที่พระองค์จะเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยเนี่ยนะคะ
-
ฟรานซิส พาเจต์ (Francis Parget) นะคะ
-
ซึ่งเป็นคณบดีของวิทยาลัยในตอนนั้นเนี่ย
-
ก็ได้กราบบังคมทูลเชิญค่ะว่า
-
ให้พระองค์เนี่ยพระราชนิพนธ์หนังสือทำนองวิทยานิพนธ์ได้มั้ย
-
เพื่อเป็นที่ระลึกว่า
ครั้งหนึ่งพระองค์เนี่ยเคยเสด็จมาศึกษาต่อที่นี่ค่ะ
-
ซึ่งพระองค์ก็ตอบรับนะคะ
-
แล้วก็พระราชนิพนธ์หนังสือวิทยานิพนธ์
ขึ้นมาทั้งหมด 1 เล่มด้วยกันค่ะ
-
เล่มนั้นนะคะชื่อว่า "The War of The Polish Succession" ค่ะ
-
หรือว่าที่มีการนำมาแปลเป็นภาษาไทยทีหลังว่า
-
"สงครามสืบราชสมบัติโปลันด์" นั่นเองนะคะ
-
ก็แน่นอนว่าพระองค์ศึกษาด้านประวัติศาสตร์
-
แล้วก็การเมืองการปกครองเป็นหลักนะคะ
-
วิทยานิพนธ์ของพระองค์ก็เลยเกี่ยวข้องกับ
-
ทั้งประวัติศาสตร์แล้วก็การเมืองการปกครองนั่นเองค่ะ
-
ซึ่งหนังสือเล่มนี้บอกเลยว่า
-
ได้รับการตีพิมพ์ที่ออกฟอร์ดด้วยนะคะ
-
แล้วก็ค่อนข้างจะแพร่หลายถึงขนาดที่ว่า
-
มีการนำไปจัดพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสเลยทีเดียวนะคะ
-
และต้องบอกเลยค่ะว่าหนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็น
-
งานวิชาการเล่มแรก ๆ ของไทยเลยนะคะ
-
ที่มีหลักการอ้างอิงแบบตะวันตกเป๊ะ ๆ ๆ
-
เหมือนกับการทำงานวิชาการในสมัยปัจจุบันนี้ค่ะ
-
เพราะว่าที่ผ่านมาเวลาคนไทยเขียนงานวิชาการอะไรก็ตาม
-
ส่วนมากก็จะไม่ได้อ้างอิงอะไรเป๊ะ ๆ เท่าไหร่นะคะ
-
ส่วนใครที่อยากลองหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านดูนะคะ
-
หาไม่ยากเลยทีเดียวค่ะ
-
ในจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัยเนี่ย
-
ก็มีไว้ให้อ่านทั้งเล่มเลยนะคะ
-
แล้วก็ไม่ต้องกลัวว่าจะอ่านเวอร์ชันภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องค่ะ
-
เพราะว่าราชเลขาธิการในพระองค์ในสมัยนั้นเนี่ย
-
ก็ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต
-
แปลเป็นภาษาไทยเรียบร้อยนะคะ
-
นอกจากนี้พระองค์ก็ได้ทรงตรวจแก้เพิ่มเติมไว้ด้วยนะคะ
-
ดังนั้นก็สามารถลองไปหาอ่านกันได้นะคะ
-
สำหรับข้อที่ 3 นี้นะคะ
-
บอกเลยว่าจะเข้มข้นกว่าสองข้อที่ผ่านมานิดนึงค่ะ
-
แม้ว่าเราจะยังวนเวียนอยู่กับชีวิตของพระองค์
-
ในสมัยที่พระองค์อยู่ที่ยุโรปนะคะ
-
เอาจริง ๆ ส่วนตัววิวเนี่ยค่อนข้างจะสนใจเรื่องพวกนี้
-
เพราะว่าปกติเวลาเราศึกษา
-
เรื่องเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระองค์เนี่ย
-
ก็จะมาวนอยู่ที่ประเทศไทยเนอะว่า
-
ตอนที่อยู่ในไทยมีพระราชกรณียกิจอะไรยังไงต่าง ๆ
-
ซึ่งก็หาอ่านที่อื่นได้ค่อนข้างง่าย
-
ดังนั้น เรื่องราวของพระองค์ในสมัยที่อยู่ที่ยุโรปเนี่ย
-
จะค่อนข้างหาอ่านยากนิดนึง
-
พอไปเจอมาวิวก็เลยรู้สึกว่า
-
เฮ้ย มันน่าสนใจมากเลยทุกคน
-
ก็เลยรวบรวมมาให้ทุกคนฟังค่ะ
-
สำหรับข้อสามเนี่ยนะคะ บอกเลยว่า
-
ในตอนที่พระองค์เสด็จไปศึกษาต่อเนี่ย
-
พระองค์ไม่ได้ไปศึกษาต่ออย่างเดียวนะคะ
-
แต่ว่าพระองค์เนี่ยทำหน้าที่ต่าง ๆ มากมายเลยค่ะ
-
ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวรอบยุโรป
-
ซึ่งการเดินทางไปท่องเที่ยวที่ต่าง ๆ ของพระองค์เนี่ย
-
ไม่ใช่ว่าไปเที่ยวอะนะ
-
คือต้องบอกว่าจริง ๆ แล้วไปเป็นผู้แทนพระองค์ของ
-
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บ้าง
-
เดินทางท่องเที่ยวส่วนพระองค์บ้าง
-
หรือว่าไปศึกษาดูงาน เช่น ด้านการทหารอะไรต่าง ๆ
-
ที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป
-
ซึ่งต้องนับว่าเป็นศูนย์กลางอำนาจของโลกในสมัยนั้นบ้างนะคะ
-
เพื่อที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศสยามในที่สุดค่ะ
-
ทีนี้ก็ต้องบอกว่าพระองค์เนี่ยก็เลยมีโอกาสได้เข้าไป
-
อยู่ร่วมกับเหตุการณ์สำคัญของยุโรป
ในช่วงนั้นค่อนข้างมากนะคะ
-
ไม่ว่าจะเป็นพระราชพิธีสำคัญ ๆ
-
อย่างเช่น พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
-
หรือว่า Diamond Jubilee ของควีนวิกตอเรียแห่งอังกฤษเนี่ย
-
พระองค์เนี่ยก็เป็นหนึ่งในพระราชอาคันตุกะ
-
ของควีนวิกตอเรียเช่นเดียวกันนะคะ
-
หรือแม้กระทั่งพระราชพิธีพระบรมศพ
-
ของควีนวิกตอเรียในเวลาต่อมา
-
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก คิงเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ของอังกฤษ
-
ที่ครองราชย์ต่อจากควีนวิกตอเรีย
-
พระองค์ก็เข้าไปมีส่วนร่วมเช่นเดียวกันนะคะ
-
รวมถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ
-
คิงอัลฟองโซที่ 13 แห่งสเปน
-
ที่กรุงมาดริดนี่ พระองค์ก็เสด็จ
เป็นการส่วนพระองค์เช่นเดียวกันนะคะ
-
เห็นมั้ย พระองค์มีโอกาสได้เข้าร่วม
-
อีเวนต์สำคัญ ๆ ต่าง ๆ มากมายค่ะ
-
ซึ่งการเข้าร่วมอีเวนต์เหล่านี้
-
ทำให้พระองค์มีโอกาสได้พบปะบุคคลที่เป็นบุคคลสำคัญ
-
แล้วก็เป็นบุคคลที่เราจะคุ้นเคยในประวัติศาสตร์ยุโรปเนี่ย
-
หลายต่อหลายคน และหลายต่อหลายพระองค์ค่ะ
-
ตอนนี้วิวก็รวบรวมมาให้แล้วนะคะ
-
เอาเฉพาะคนที่สำคัญ ๆ ที่เราคุ้นชื่อ
-
ว่าพระองค์เนี่ยมีโอกาสได้ทรงพบเจอกับใครบ้างนะคะ
-
อย่างใน พ.ศ. 2437 เนี่ยนะคะ ก็มีบันทึกค่ะ
-
ว่าพระองค์เสด็จไปเสวยพระสุธารสชา
-
กับควีนวิกตอเรียแห่งอังกฤษนะคะ
-
แหม่ ก็เรียกได้ว่าสนิทชิดเชื้อกันพอสมควรนะในสมัยนั้น
-
นอกจากนี้ค่ะ ในตอนที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินนะคะ
-
ไปที่ประเทศออสเตรีย-ฮังการีเนี่ย
-
พระองค์ก็มีโอกาสได้พบกับ
อาร์ชดยุกฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ นะคะ
-
คุ้นชื่อกันมั้ยคะทุกคน
-
ใครฟังเรื่องประวัติสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมา
-
น่าจะคุ้นกันดีค่ะ
-
เพราะว่าอาร์ชดยุกฟรานซิส เฟอร์ดินานด์
-
พระองค์นี้ก็คือมกุฎราชกุมารของออสเตรีย-ฮังการี
-
ที่โดนลอบปลงพระชนม์พร้อมกับพระชายา
-
แล้วกลายเป็นชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 1 นั่นเองนะคะ
-
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 ของเราเนี่ย
-
ก็มีโอกาสได้พบกับอาร์ชดยุกฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ พระองค์นี้
-
แล้วก็ถึงขนาดที่ทรงได้รับเชิญนะคะไปที่วัง
-
ของอาร์ชดยุกฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ เลยทีเดียวค่ะ
-
นอกจากนี้นะคะ
-
ในตอนที่พระองค์สำเร็จการศึกษาแล้วเนี่ยนะคะ
-
ตอนที่พระองค์จะเสด็จนิวัตพระนครเนี่ยนะคะ
-
ปกติแล้วเนี่ยในสมัยที่ยังไม่มีเครื่องบิน
-
เวลาเราจะกลับจากยุโรปมาที่สยามเนี่ย
-
เราก็ควรจะกลับผ่านทางประมาณเส้นทางสายไหมถูกมั้ย
-
คือผ่านทางอินเดีย มาพม่า แล้วก็มาที่สยามนะคะ
-
แต่ตอนนั้นเนี่ยนะคะ
-
ทางสยามจัดเส้นทางนิวัตพระนครให้พระองค์เนี่ย
-
ให้กลับไปอีกด้านนึงค่ะ
-
ก็คือ เสด็จผ่านทางสหรัฐอเมริกาแล้วก็ผ่านทางญี่ปุ่นค่ะ
-
ซึ่งพระองค์ถือว่าเป็น
-
พระบรมวงศานุวงศ์ไทยพระองค์แรกเลยนะคะ
-
ที่เสด็จไปที่สหรัฐอเมริกาค่ะ
-
และที่สหรัฐอเมริกาเนี่ยก็มีการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติเนอะ
-
โดยพระองค์มีโอกาสได้พบกับ ธีโอดอร์ รูสเวลต์ นะคะ
-
ที่เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในยุคสมัยนั้น
-
ซึ่งถ้าใครคุ้น ๆ ชื่อของ ธีโอดอร์ รูสเวลต์
-
คนนี้ก็คือ ประธานาธิบดี 1 ใน 4 คน
-
ที่มีหน้าอยู่บนเมานท์รัชมอร์นะคะ
-
และที่สำคัญ ธีโอดอร์ รูสเวลต์ เนี่ยก็มีชื่อเล่นว่าเท็ดดี้
-
ที่เป็นที่มาของ Teddy Bear นั่นเองค่ะ
-
หลังจากเสด็จออกจากสหรัฐอเมริกาแล้วเนี่ยนะคะ
-
พระองค์ก็เสด็จต่อมายังประเทศญี่ปุ่นค่ะ
-
ซึ่งที่ญี่ปุ่นนี่ก็มีการจัดการต้อนรับ
แบบสมพระเกียรติเช่นเดียวกันนะคะ
-
และพระองค์ก็มีโอกาสได้เข้าเฝ้า
-
สมเด็จพระจักรพรรดิมัทสึฮิโตะนะคะ
-
หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ
-
สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิของญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้นด้วยค่ะ
-
ก็เป็นการกระชับความสัมพันธ์
ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้นนะคะ
-
ถ้าใครหลาย ๆ คนจำได้จากคลิปที่วิวเคยทำว่า
-
ศาลเจ้าญี่ปุ่นกับวัดญี่ปุ่นแตกต่างกันยังไง
-
แล้ววิวพาไปดูวัดไดบุทสึที่วัดโคโตคุอิน
-
ที่คามาคุระเนี่ย
-
ก็จะเห็นว่าวิวเล่าว่าในวัดเนี่ย
-
มีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมา
-
ทรงปลูกต้นสนไว้เมื่อคราวเสด็จมาที่นี่นะคะ
-
ก็ในคราวนั้นนั่นเองค่ะ
-
คือพระองค์นี่นอกจากจะอยู่ที่เมืองหลวงแล้ว
-
ก็มีการท่องเที่ยวไปตามที่ต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกันค่ะ
-
สำหรับเรื่องน่ารู้ข้อที่ 4 เนี่ยนะคะ ยังอยู่ที่การเดินทางค่ะ
-
เพราะว่าในระหว่างที่พระองค์เดินทางไปที่ต่าง ๆ เนี่ย
-
นอกจากพระองค์จะไปศึกษาดูงานด้านการทหาร
-
ไปเจริญสัมพันธไมตรีอะไรต่าง ๆ แล้วเนี่ยนะคะ
-
พระองค์ยังได้จดบันทึกเหตการณ์เหล่านั้น
-
ออกมาเป็นพระราชนิพนธ์หลายต่อหลายเล่มด้วยกันค่ะ
-
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง The Germany Series นะคะ
-
หรืออีกเล่มนึงที่วิวชอบมาก ๆ เลยค่ะ
-
นั่นก็คือ The Letters to the Butterflies นะคะ
-
ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยในเวลาต่อมา
-
โดย ม.ล.ปิ่น มาลากุล น่ะนะ ว่า จดหมายถึงผีเสื้อ
-
ซึ่งเล่มนี้นะคะ จะเป็นบันทึกการเดินทางของพระองค์
-
ระหว่างที่เสด็จไปที่ออสเตรีย-ฮังการีค่ะ
-
ที่วิวเล่าไปเรื่องไปพบอาร์ชดยุกฟรานซิส เฟอร์ดินานด์
-
ก็อยูในเล่มนี้ด้วยเช่นกันนะคะ
-
นอกจากนี้นะคะ ในเล่มนี้พระองค์ก็ได้บันทึกพระราชกรณียกิจ
-
ที่ได้ทำในแต่ละวัน
-
รวมถึงบันทึกสิ่งที่พระองค์พบเห็น
-
กึ่ง ๆ เป็นหนังสือบันทึกการเดินทางเอาไว้ด้วยนะคะ
-
ซึ่งหลายคนที่ชอบอ่านบันทึกการเดินทาง
pocketbook ต่าง ๆ ในยุคสมัยนี้
-
บอกเลยว่าเล่มนี้สนุกค่ะ
-
แล้วก็เป็นสไตล์ประมาณนั้นเลยนะคะ
-
โดย Letters to the Butterflies เนี่ยนะคะ
-
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น The Letters นะ ก็คือเป็นจดหมาย
-
ในเล่มนี้จะเขียนเป็นรูปแบบของจดหมายค่ะ
-
ซึ่งส่งไปถึงคณะผีเสื้อนะคะ
-
ซึ่งก็คือ พระสหายของพระองค์น่ะแหละ
-
ทีนี้เราไม่มีหลักฐานนะคะว่า
-
จดหมายเหล่านี้ได้ส่งออกไปจริง ๆ
-
หรือว่าเป็นแค่เหมือนกับพระราชนิพนธ์ในรูปแบบจดหมายค่ะ
-
แต่ว่าในทุกวันเนี่ย
-
ก็จะเหมือนพระองค์เขียนจดหมายหนึ่งฉบับ ๆ ๆ
-
เพื่อพระราชทานให้กับพระสหายนั่นเองค่ะ
-
ทีนี้ เนื้อหาด้านในนะคะ
-
ก็จะเล่าถึงสถานที่สำคัญต่าง ๆ หลากหลายสถานที่เลยค่ะ
-
ไม่ว่าจะเป็น วังเชิงบรุน
-
ซึ่งปัจจุบันนี้ก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม
-
ที่ใครไปเที่ยวออสเตรียก็จะต้องไปดูใช่ไหมคะ
-
เพราะว่าเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่
-
ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแวร์ซายส์
-
หรือว่าพูดถึงพระราชวังฮอฟบูรก์
-
ซึ่งพระราชวังแห่งนี้ก็จัดเป็นที่ประทับ
-
ให้กับพระองค์ตอนที่เสด็จไปที่นั่นนะคะ
-
ปัจจุบันนี่ก็เป็นทำเนียบประธานาธิบดีออสเตรียใช่มั้ย
-
ถ้าสมมติว่าใครเคยไปที่ออสเตรียเนี่ยน่าจะชอบเล่มนี้มาก ๆ ค่ะ
-
เพราะว่าสามารถอ่านแล้วก็ลองเทียบกับสมัยปัจจุบันได้ว่า
-
เออสิ่งที่พระองค์พบเห็นในสมัยนั้น
-
กับในสิ่งที่เราจะไปเจอในสมัยนี้
-
มันยังเหมือนยังต่างกันยังไง
-
เพราะเราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า
-
ยุโรปเนี่ยค่อนข้างเก่ง
ด้านการเก็บพวกโบราณสถานเหล่านี้เอาไว้นะคะ
-
ในสภาพที่มันเคยเป็นอยู่เมื่อหลายร้อยปีก่อนค่ะ
-
เอาจริง ๆ ที่กำลังมากรี๊ดกร๊าดเล่มนี้ให้ทุกคนฟังเนี่ย
-
เพราะว่าวิวอ่านเล่มนี้แล้ว
-
ค่อนข้างชอบสำนวนมาก ๆ ๆ ๆ เลยนะคะ
-
หลายคนจะคุ้นเคยกับพระราชนิพนธ์ที่เป็นร้อยกรอง
-
เป็นโคลงกาพย์ร่ายกลอนของพระองค์นะคะ
-
แต่จะไม่คุ้นเคยกับงานเขียนที่เป็นร้อยแก้ว
-
บอกเลยว่าถ้าอ่านแล้วจะติดใจค่ะ
-
เรียกได้ว่าสำนวนดีกว่านักเขียนดัง ๆ หลาย ๆ คน
-
ในยุคสมัยปัจจุบันมากเลยทีเดียวนะคะ
-
ไม่ว่าจะเป็นพระราชนิพนธ์ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ตาม
-
บอกเลยว่าคมคายจริง ๆ ค่ะ
-
อย่างเล่มนี้ขออนุญาตหยิบมาแค่ 1 paragraph
-
มาอ่านให้ทุกคนฟังนะคะ
-
เพราะว่าอันนี้ตอนที่วิวอ่านเจอ วิวกรี๊ดมากค่ะ
-
แล้ววิวก็เอาไปโพสต์เป็นสเตตัสลงในเฟซบุ๊ก
-
มีคนมากด Like เต็มไปหมดเลยนะ
-
แทบทุกคนนี่ตื่นเต้นมากเลยนะคะว่า
-
เฮ้ย พระราชนิพนธ์มีเขียนอะไรแบบนี้ด้วย
-
อะ มาอ่านให้ฟังเลยดีกว่าค่ะ
-
ในนี้พระราชนิพนธ์เป็นจดหมายใช่มั้ย
-
ดังนั้น นี่คือข้อความที่ส่งไปหาคณะผีเสื้อนะคะ
-
พระองค์พระราชนิพนธ์ไว้ว่า
-
"ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องพูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ว่า
-
"ฉันเสียใจปานใด และเหงาปานใด ที่ต้องจากพี่จากน้องที่รักมา
-
"ฉันบอกแล้วว่าเหมือนหัวใจแตกออกเป็นชิ้น ๆ สามพันชิ้น
-
"และพี่น้องสามคนรับเอาไปคนละพันชิ้น"
-
อู้หู เป็นไง อ่านแค่นี้ให้ฟัง แค่สี่บรรทัด
-
I love you 3,000 ก่อนกาลที่แท้ทรูนะคะทุกคน
-
ก็ถ้าใครอยากหาจดหมายถึงผีเสื้อ
-
หรือว่า The Letters to the Butterflies อ่านนะคะ
-
ในจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย
-
ก็มีเวอร์ชันแปลให้อ่านเช่นเดียวกันค่ะ
-
ผ่านไปแล้วสี่ข้อนะคะ
-
บอกเลยว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในต่างประเทศล้วน ๆ
-
ดังนั้น ข้อห้าเรากลับมาที่ประเทศไทย
-
หรือว่าประเทศสยามในยุคนั้นกันดีกว่าค่ะ
-
บอกเลยนะคะว่าสยามในยุคของรัชกาลที่ 6 เนี่ย
-
มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกมากมายเลยค่ะ
-
ไม่ว่าจะเป็นธงไตรรงค์ที่เราใช้กันถึงปัจจุบันนี้
-
การนับเวลาแบบ GMT+7
-
หรือว่าการนับเวลาตาม Greenwich Mean Time เนี่ย
-
ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เช่นเดียวกันค่ะ
-
รวมไปถึงการกำหนดสีขบวนเสด็จนะคะ
-
ว่ารถยนต์พระที่นั่งจะต้องเป็นสีงาช้าง
-
อะไรแบบปัจจุบันใช้กันก็เกิดขึ้นในสมัยนี้เช่นเดียวกันนะคะ
-
แต่เรื่องที่วิวจะนำมาเล่าให้ทุกคนฟังในวันนี้
-
ก็คือเรื่องราวของคำคำนึงค่ะ
-
ซึ่งเป็นคำที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้จักกันดีอยู่แล้วนะคะ
-
น่าจะเคยใช้กันด้วยแหละ
-
โดยเฉพาะใครก็ตามที่เคยร้องเพลงชาติไทย
-
เคยร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
-
หรือว่าเคยไปงานแต่งงานเคยใช้คำคำนี้แน่ ๆ นะคะ
-
นั่นก็คือคำว่า ชโย หรือคำว่า ไชโย นั่นเองค่ะ
-
บอกเลยว่าคำคำนี้
ชาวไทยเริ่มมาใช้กันในสมัยรัชกาลที่ 6 นี่แหละค่ะ
-
และที่สำคัญเกิดขึ้นจากพระราชนิพนธ์นะคะ
-
ว่าแต่มันเกิดขึ้นได้ยังไง
-
ก็ต้องบอกว่าเกิดขึ้นจากเพลงสรรเสริญพระบารมีนี่แหละค่ะ
-
แม้ว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเนี่ย
-
จริง ๆ จะไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 นะคะ
-
เพลงสรรเสริญพระบารมีของไทยเนี่ย
-
ต้องบอกว่ามีประวัติยาวนานค่ะ ถ้าเล่าจะยาวมาก
-
แต่เอาเป็นว่ามันมีตั้งแต่เวอร์ชันเพลงไทย
-
เป็นเพลงประโคมอะไรต่าง ๆ
-
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 มาเรื่อย ๆ นะคะ
-
จนกระทั่งเพลงสรรเสริญพระบารมี
-
เวอร์ชันแบบคล้าย ๆ ปัจจุบันที่เราใช้อยู่เนี่ย
-
เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ค่ะ
-
ความแตกต่างจุดหนึ่งที่ต่างจากในสมัยปัจจุบันก็คือ
-
เพลงสรรเสริญพระบารมีในสมัยนั้นเนี่ยนะคะ
-
มีเนื้อร้องถึง 5 เวอร์ชันด้วยกันค่ะ
-
คือแต่ละเวอร์ชันเนี่ยก็แต่งขึ้นตามสถานการณ์ต่าง ๆ
-
ที่จะได้ใช้เพลงในครั้งนั้น ๆ นะคะ
-
ประมาณว่า อะ ครั้งนี้ใช้กับแบบนี้ก็ใช้เนื้อเพลงแบบนี้
-
ครั้งนี้เกิดขึ้นแบบนี้ก็ใช้เนื้อเพลงแบบนั้นนั่นเองค่ะ
-
และที่สำคัญนะคะ เรื่องราวที่เราจะเล่าต่อไปนี้
-
มันอยู่ที่ประโยคสุดท้ายของเพลงสรรเสริญพระบารมีค่ะ
-
ในสมัยปัจจุบันเราร้องกันว่าอะไรคะ
-
"ดุจถวายชัย ชโย" ใช่มั้ยคะ
-
แต่ว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 เนี่ย
-
เพลงนี้จบลงด้วยคำว่า
-
"ดุจถวายชัย ฉะนี้"
-
ก็แปลว่า อาจจะถวายชัยแบบนี้นี่แหละ ประมาณนี้นะคะ
-
ทีนี้ เรื่องราวก็เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ค่ะ
-
ในคราวนึงนะคะ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวค่ะ
-
นำลูกเสือ เสือป่า ตำรวจตระเวนชายแดนอะไรต่าง ๆ เนี่ยนะคะ
-
เดินทางไกลค่ะ จากพระราชวังสนามจันทร์นะคะ
-
ไปที่พระเจดีย์ยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นะคะ
-
ที่ดอนเจดีย์ค่ะ
-
ก็ตั้งใจจะไปบวงสรวงสังเวยอะไรต่าง ๆ ใช่มั้ย
-
ทีนี้ค่ะ ในคืนที่สองของการเดินทางไกลเนี่ยนะคะ
-
ก็สไตล์การเข้าค่ายเนี่ย ปกติก็จะต้องมีการเรียกลูกเสือ
-
มาชุมนุมกันอะไรต่าง ๆ ก่อนนอนใช่มั้ย
-
คืนนั้นก็เช่นเดียวกันค่ะ
-
พระองค์ก็ทรงเรียกลูกเสือ เสือป่า อะไรต่าง ๆ
-
มาชุมนุมพร้อมกันที่หน้าพลับพลาที่ประทับนะคะ
-
แล้วก่อนนอนก็ต้องมีการจุดเทียน สวดมนต์อะไรต่าง ๆ
-
หลังจากที่เสร็จสิ้นพิธีการอะไรต่าง ๆ แล้วเนี่ย
-
ก็จะต้องมีการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีกันเกิดขึ้นใช่มั้ยคะ
-
ถามว่าพอร้องขึ้นมาเกิดอะไรขึ้น
-
คือเสือป่า ลูกเสืออะไรต่าง ๆ เนี่ย มาจากคนละหมู่กันใช่มั้ยคะ
-
มาจากคนละหมู่คนละกอง คนละที่กัน
-
พอมาร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีขึ้นพร้อมกันเนี่ย
-
แต่ละที่ร้องกันคนละเวอร์ชันค่ะ
-
ดังนั้น พอร้องกันขึ้นมาก็ตีกันเละไปหมดนะคะ
-
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
-
ก็เลยทรงมีพระราชดำรินะคะว่า
-
เราควรจะมีเนื้อเพลงสรรเสริญพระบารมี
-
ที่เป็นเวอร์ชันหลักเวอร์ชันเดียวได้แล้วค่ะ
-
ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นนะคะ พระองค์ก็เลยพระราชนิพนธ์
-
เนื้อเพลงสรรเสริญพระบารมีเวอร์ชันใหม่ขึ้นมาค่ะ
-
โดยปรับเปลี่ยนจากเวอร์ชันเดิมนะ
-
แทบจะไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย
-
แต่ว่าจุดหลัก ๆ ที่เปลี่ยนจุดนึงเนี่ยก็คือ
-
ตอนจบของเพลงเนี่ยล่ะค่ะ
-
เวอร์ชันเดิมร้องว่าอะไรคะ
-
"ดุจถวายชัย ฉะนี้"
-
ทีนี้ "นี้" คือเสียงสูงใช่มั้ย
-
แต่ถ้าใครเล่นดนตรีเป็นแล้วเคยอยู่วงดุริยางค์โรงเรียนอะไร
-
น่าจะคุ้นเคยกับโน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมีกันดีนะคะ
-
โน้ตเพลงตอนจบ ทำนองมันเป็นยังไง
-
[ดนตรี]
-
เสียงมันกลาง ๆ ใช่มั้ย มันไม่ได้ขึ้นสูงแบบ "ฉะนี้"
-
ดังนั้น เวลาคนเอาเนื้อร้องมาร้องประกอบกับโน้ตเนี่ย
-
มันก็เลยกลายเป็น
-
[ดนตรี] ดุจถวายชัย ชะนี
-
ซึ่ง อันนี้มีบันทึกนะว่าพระองค์รู้สึกว่า
-
มันเหมือนคำว่า "ชะนี" เกินไป มันไม่โอเค
-
ซึ่ง ชะนี ในสมัยนั้น ไม่ได้มีความหมายแบบทุกวันนี้นะ
-
แต่ว่ามันก็ดูเป็นเหมือนแบบ "ดุจถวายชัย ชะนี"
-
ไม่ได้เป็น "ฉะนี้"
-
สุดท้ายค่ะ พระองค์ก็เลยทรงเปลี่ยนเนื้อเพลงนะคะ
-
จาก "ดุจถวายชัย ฉะนี้"
-
กลายเป็น "ดุจถวายชัย ชโย" นั่นเอง
-
ซึ่งคำว่า "ชโย" เนี่ย
-
มันก็มีความหมายที่เป็นความหมายดีอยู่แล้วใช่มั้ย
-
หมายถึง victory หมายถึง ชัยชนะ อะไรต่าง ๆ ค่ะ
-
ดังนั้น คำว่า "ชโย" นะคะ
-
ก็เลยเริ่มใช้ในประเทศสยามเป็นครั้งแรก
-
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2456 นั่นเองค่ะ
-
และที่สำคัญนะคะ หลังจากนั้นไม่กี่วัน หลังจากวันที่ 22 เนี่ย
-
ในวันที่ 28 เนี่ย หลังจากที่บวงสรวงสังเวย
-
อนุสรณ์ดอนเจดีย์สำเร็จแล้วเนี่ยนะคะ
-
ปกติตามธรรมเนียมดั้งเดิมเนี่ยเวลาจบพิธีบวงสรวงอะไรต่าง ๆ
-
คนไทยจะทำยังไงคะเพื่อแสดงความยินดีต่าง ๆ
-
เขาก็มักจะ "โห่ ฮิ้ว!!" กันใช่มั้ยคะ
-
เหมือนที่เราได้ยินกันตามงานบวช อะไรแบบ
-
โห่ ฮี้ โห่ ฮี้ โห่ ฮี้ โหย ฮิ้ว สามครั้ง
-
ซึ่งเขาเรียกว่า โห่สามลาค่ะ
-
แต่ทีนี้ หลังจากเกิดคำว่า ชโย ขึ้นแล้ว
-
ก็เกิดธรรมเนียมใหม่ขึ้นมานะคะ
-
คือพวกเสือป่า ลูกเสือ ทหาร ตำรวจ นะคะ
-
ก็เปลี่ยนจากการโห่ฮิ้วแบบเดิมเนี่ยนะคะ
-
เป็นการร้องคำว่า ไชโย ๆ ๆ แทนค่ะ
-
ดังนั้น ธรรมเนียมของการใช้คำว่า ไชโย เนี่ย
-
ก็เผยแพร่ไปเรื่อย ๆ นะคะ
-
เข้าไปในวงการโขน ไปใช้แทนการโห่ฮิ้ว
-
และอื่น ๆ อีกมากมาย
-
สุดท้ายคำว่าไชโยก็เลยแพร่หลาย
มาจนถึงในสมัยปัจจุบันนั่นเองค่ะ
-
และแล้วนะคะเราก็มาถึงข้อสุดท้ายในที่สุดค่ะ
-
เสียใจมากนะคะ จริง ๆ มีเกร็ดความรู้สนุก ๆ อีกมากมายเลย
-
ที่อยากเล่าให้ทุกคนฟัง
-
แต่ว่าด้วยความที่มันจำกัดแค่ 6 ข้อนะ
-
ดังนั้น ข้อนี้วิวขออนุญาต
-
ยกพระราชสมัญญาของพระองค์ ขึ้นมาเล่าให้ทุกคนฟังค่ะ
-
เราทุกคนเนี่ย น่าจะรู้กันดีว่า
-
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนี่ย
-
ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามนะคะว่า
-
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ที่แปลว่า
-
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ นั่นเองค่ะ
-
ถามว่าเพราะอะไร
-
แน่นอนว่า เราเห็นได้ชัดนะคะว่า
-
พระองค์เนี่ย เป็นทั้งนักคิดนักเขียน อะไรต่าง ๆ
-
สมกับคำว่านักปราชญ์อย่างแท้จริงค่ะ
-
เราสามารถเห็นได้จากงานต่าง ๆ ของพระองค์มากมาย
-
เอาเฉพาะพระราชนิพนธ์เนี่ยนะคะ
-
บอกเลยว่ารวบรวมครบยากมากจริง ๆ
-
คือ เราก็ยังไม่รู้จนถึงทุกวันนี้นะว่าครบรึเปล่า
-
แต่ว่าตามหนังสือ
"คดีรหัส พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว"
-
ของอาจารย์รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ นะคะ
-
บอกว่า พระราชนิพนธ์ของพระองค์เนี่ย
-
มีอยู่ทั้งหมดถึง 1,236 เรื่องนะคะ
-
ก็รวมวรรณคดี เรื่องสั้น บทความ อะไรต่าง ๆ แล้ว
-
เรียกได้ว่าเยอะมาก ๆ เลยทีเดียวค่ะ
-
และในบรรดาพระราชนิพนธ์มากมายขนาดนี้
-
เรื่องแรกคือเรื่องอะไรรู้มั้ยคะ
-
เรื่องแรกเนี่ยนะคะที่เราค้นพบกัน
-
แล้วเชื่อว่าเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องแรกจริง ๆ เนี่ย
-
เกิดขึ้นตอนพระองค์มีพระชนมายุแค่ 12 พรรษาด้วยกันนะคะ
-
ก็ตอนนั้นในโรงเรียนราชกุมารนะ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่
-
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
-
ตั้งขึ้นเพื่อให้พระโอรสต่าง ๆ ได้เข้ามาเรียนเนี่ย
-
ก็มีหนังสือพิมพ์นะคะ ชื่อว่าหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
-
ในนั้นเนี่ย พระองค์ก็ทรงพระราชนิพนธ์งานเขียนชิ้นนึงนะคะ
-
เป็นเรื่องสั้นแฝงคติ
-
ชื่อเรื่องว่า ไม่กลัวผี นั่นเองค่ะ
-
แต่เอาจริง ๆ มันมีพระราชนิพนธ์ที่เก่ากว่านั้นนะ
-
แต่เป็นพระราชนิพนธ์แปล
-
ซึ่งเป็นกึ่ง ๆ เหมือนแบบการบ้านสมัยนั้นน่ะ
-
การบ้านวิชาการแปลว่าอย่างนั้นเถอะค่ะ
-
คือพระองค์ก็เรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็กนะ
-
อย่างในช่วงพระชนมายุ 8-9 พรรษาเนี่ยนะคะ
-
ก็ทรงพระราชนิพนธ์แปลบทละคร เรื่อง Mikado นะคะ
-
ของ Gilbert กับ Sullivan นะ
-
ซึ่งเป็นโอเปราตลกของฝรั่งน่ะนะ
-
ที่เขียนเนื้อเรื่องเป็นญี่ปุ่นเอาไว้เหมือนกันนะคะ
-
อย่างไรก็ตาม ส่วนมากนักวิชาการก็จะยอมรับกันว่า
-
พระราชนิพนธ์เรื่องแรกจริง ๆ
-
ก็คือเรื่อง ไม่กลัวผี ที่วิวพูดไปถึงนี่แหละค่ะ
-
ส่วนเรื่องสุดท้ายเนี่ยก็คือเรื่อง
-
มัทนะพาธา นะคะ เวอร์ชันภาษาอังกฤษ
-
ที่น่าเสียดายมาก ๆ ที่พระองค์พระราชนิพนธ์
-
ไม่ทันได้จบทั้งเรื่องค่ะ
-
พระราชนิพนธ์ไปประมาณแบบ
เกินครึ่งมานิดหน่อยเท่านั้นเองนะคะ
-
และทั้งหมดนี้คือการนอกเรื่องค่ะทุกคน
-
เรากลับไปที่คำว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า กันดีกว่า
-
อยากรู้กันมั้ยคะว่าคำนี้ใครเป็นคนคิดขึ้นมา
-
แล้วใครเป็นคนถวายพระราชสมัญญานามนี้ให้กับพระองค์
-
ก็ต้องบอกว่าเรื่องราวทั้งหมดนี้
-
เกิดขึ้นในการซ้อมละครครั้งนึงค่ะ
-
คือ มีคนคนนึงนะคะ ชื่อว่า หลวงสรรสารกิจ ค่ะ
-
หรือว่า เคล้า คชนันทน์ นั่นเอง
-
คุณหลวงคนนี้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชื่อว่า
-
หนังสือพิมพ์ไทยเขษม ค่ะ
-
ทีนี้เค้าก็มีความคิดนะคะ ที่จะชวน
-
นักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ เนี่ย
-
ขึ้นมาจัดแสดงละครพระราชนิพนธ์ทั้งหมด 2 เรื่องด้วยกันค่ะ
-
นั่นก็คือเรื่องจัดการรับเสด็จ กับ เรื่องชิงนาง นะคะ
-
จัดขึ้นในโอกาสในวันคล้ายวันพระราชสมภพ
-
ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
-
ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2469 นั่นเองค่ะ
-
ทีนี้ถามว่าจัดขึ้นมาทำไม
-
เขาตั้งใจจะจัดขึ้นมาเพื่อระดมทุนนะคะ
-
สร้างหอนาฬิกาให้กับโรงเรียนวชิราวุธนี่ล่ะค่ะ
-
ทีนี้ระหว่างการซ้อมนะคะ ระหว่างที่ซ้อม ๆ อยู่เนี่ย
-
ก็มีคนสำคัญคนนึงค่ะ นั่นก็คือ พระสารประเสริฐ นะคะ
-
หรือว่า ตรี นาคะประทีป
-
คุ้น ๆ ชื่อมั้ย นาคะประทีป ก็คือ
-
เสฐียรโกเศศ กับ นาคะประทีป
-
คนที่แปลกามนิตคนนั้นนั่นล่ะค่ะ
-
พระสารประเสริฐเนี่ยนะคะ เสนอขึ้นมาว่า
-
เราควรจะมีการถวายพระสมัญญานาม
-
ให้กับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นะ
-
แล้วพระสารประเสริฐก็เสนอคำว่า
-
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ขึ้นมาค่ะ
-
ทีนี้เหล่านักเขียนคนดังต่าง ๆ
-
ที่เราน่าจะคุ้นกันดีที่มีชีวิตอยู่ในยุคนั้น
-
แล้วก็บังเอิญอยู่ในการซ้อมละครครั้งนั้นด้วยนะคะ
-
ไม่ว่าจะเป็น พระยาอุปกิตศิลปสาร
-
หรือว่า นิ่ม กาญจนชีวะ
-
ก็คนที่เขียนตำราหลักภาษาไทย
-
พระยาอนุมานราชธน
-
พระวรเวทย์พิสิษฐ์
-
รวมถึงจมื่นมานิตย์นเรศเนี่ยนะคะ
-
ที่อยู่ตรงนั้นก็เห็นด้วยค่ะ
-
ดังนั้นทั้งหมดก็เลยตัดสินใจ
-
ถวายพระราชสมัญญานามให้กับพระองค์ว่า
-
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ตั้งแต่นั้นมาค่ะ
-
คำว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
-
ก็เลยค่อย ๆ แพร่หลายไปเรื่อย ๆ
-
แล้วก็ใช้มาจนกระทั่งถึงสมัยปัจจุบันนั่นเองค่ะ
-
นี่ก็คือเรื่องราวน่ารู้ทั้งหมด 6 ข้อนะคะ ที่วิวหยิบขึ้นมา
-
จากนิทรรศการจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย
-
ตอน มหาวชิราวุธราชบรรณาลัย นะ
-
ภายใต้คอนเซ็ปต์ "บันดาลใจ" ค่ะ
-
ถ้าสมมติว่าใครฟังแล้วรู้สึกว่า
-
เฮ้ย อยากรู้เรื่องราวให้ลึกกว่านี้
-
อยากรู้เกร็ดความรู้ต่าง ๆ อีกมากมาย
-
ซึ่งวิวอาจจะเอามาเล่าไม่หมด
-
เช่น การจัดประกวดความสามารถในสมัยนั้น
-
ที่พระองค์ก็เหมือนเป็น Host ขึ้นมาพระองค์แรก
-
หรือว่าอะไรต่าง ๆ มากมายจริง ๆ นะคะ
-
ก็สามารถเข้าไปติดตามความเคลื่อนไหว
-
ของนิทรรศการมหาวชิราวุธราชบรรณาลัย
-
ได้ทั้งที่แฟนเพจและเว็บไซต์ จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย
-
รวมถึงวิวเองก็จะมาคอยอัปเดตให้ทุกคนฟังเรื่อย ๆ ด้วยค่ะ
-
จบโควิด-19 เมื่อไหร่
-
รอเจอนิทรรศการจริงเต็มรูปแบบกันได้เลยนะคะ
-
ที่สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยค่ะ
-
เอาจริง ๆ คลิปนี้เป็นคลิปที่
วิวตัดสินใจยากพอสมควรเลยนะคะ
-
ตอนที่จะต้องตัดสินใจเลือกมาแค่ 6 ข้อ
-
เพราะจริง ๆ แล้วมันมีเรื่องราวที่น่าสนใจ
-
อีกเยอะมาก ๆ ๆ ๆ เลยทีเดียวค่ะ
-
และนี่เป็นหนึ่งในคลิปที่
วิวหาข้อมูลมาทำเยอะอันดับต้น ๆ เลยนะ
-
เพราะว่าข้อมูลทั้งหมดที่เอามาทำคลิปนี้
-
ไม่ใช่ข้อมูลที่แค่เอามาทำคลิปนี้เข้าใจมั้ย
-
คือมันเป็นข้อมูลที่เอามาทำทั้งนิทรรศการเลย
-
และนิทรรศการนี้ไม่ใช่นิทรรศการที่จัดทำขึ้นคนเดียว
-
คือวิวเนี่ยเป็น curator ร่วมกับพี่ฮ่องเต้
-
ซึ่งเป็นคนทำอาร์ตต่าง ๆ ในงานใช่มั้ยคะ
-
แต่ภายในงานนี้มีนักวิชาการหลายต่อหลายท่านเลยค่ะ
-
ไม่ว่าจะเป็นรุ่นพี่ของวิว เป็นอาจารย์ เป็นอะไรต่าง ๆ
-
มารวมกันนะคะ แล้วให้ข้อมูลไว้เยอะมากๆ เลยจริง ๆ
-
ดังนั้น มีข้อมูลที่น่าสนใจเยอะมาก ๆ ๆ ๆ
-
และวิวจะเสียใจมาก ๆ เลยค่ะ
-
ถ้าสมมติว่าข้อมูลมันอยู่ตรงนั้น
-
และมันฟรีแล้วไม่มีคนเข้าไปดู
-
ดังนั้น อย่าลืมเข้าไปดูกันนะคะ
-
วันนี้ลาไปก่อนแล้วกันค่ะทุกคน
-
บาย ๆ สวัสดีค่ะ