< Return to Video

เกิดอะไรขึ้นเมื่อดีเอ็นเอได้รับความเสียหาย - โมนิกา แมนซินิ (Monica Menesini)

  • 0:06 - 0:09
    ดีเอ็นเอในเซลล์ของคุณ
  • 0:09 - 0:13
    ได้รับความเสียหายเป็นหมื่นๆ ครั้งต่อวัน
  • 0:13 - 0:16
    คูณด้วยจำนวนเซลล์ในร่างกายของคุณ
    ที่มีอยู่ประมาณร้อยล้านล้านเซลล์
  • 0:16 - 0:22
    และคุณจะพบว่าดีเอ็นเอเกิดความผิดปกติมากมาย
  • 0:22 - 0:24
    และเพราะว่าดีเอ็นเอเป็นพิมพ์เขียว
  • 0:24 - 0:26
    สำหรับโปรตีนที่เซลล์คุณต้องการเพื่อการทำงาน
  • 0:26 - 0:31
    ความเสียหายนี้ทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้ เช่น มะเร็ง
  • 0:31 - 0:33
    ความผิดพลาดเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ
  • 0:33 - 0:38
    บางครั้งเป็นที่นิวคลีโอไทด์
    ซึ่งเป็นหน่วยสำคัญของดีเอ็นเอ ได้รับความเสียหาย
  • 0:38 - 0:41
    บางครั้ง นิวคลีโอไทด์
    ถูกจับคู่อย่างไม่ถูกต้อง
  • 0:41 - 0:43
    ซึ่งทำให้เกิดความกลายพันธุ์
  • 0:43 - 0:48
    และช่องว่างเล็กๆ ในหนึ่ง หรือทั้งสองสาย
    สามารถรบกวนการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอได้
  • 0:48 - 0:52
    หรือแม้กระทั่งทำให้เกิดการตัดดีเอ็นเอ
    เพื่อที่จะให้เกิดการผสมกัน
  • 0:52 - 0:56
    โชคดี เซลล์ของคุณสามารถที่จะซ่อม
    ปัญหาส่วนใหญ่ของพวกนี้ ในแบบของมันได้ตลอด
  • 0:56 - 0:58
    โดยส่วนใหญ่
  • 0:58 - 1:02
    วิถีการซ่อมแซมเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับเอนไซม์จำเพาะ
  • 1:02 - 1:05
    แต่ละชนิดตอบสนองต่อความเสียหายที่แตกต่างกัน
  • 1:05 - 1:08
    ความผิดพลาดที่พบบ่อย
  • 1:08 - 1:10
    แต่ละนิวคลีโอไทด์มีเบส
  • 1:10 - 1:12
    และในขณะที่ดีเอ็นเอถูกเพิ่มจำนวน
  • 1:12 - 1:17
    เอนไซม์ดีเอ็นเอโพลีเมอเรส
    ควรที่จะนำคู่ที่ถูกต้อง
  • 1:17 - 1:21
    มาเข้าคู่กับทุกๆ เบส ที่อยู่บนสายต้นแบบ
  • 1:21 - 1:24
    อะดีนีน คู่กับ ไทมีน
    และกวานีน คู่กับ ไซโตซีน
  • 1:24 - 1:27
    แต่ประมาณทุกๆ การเติมในหลักแสน
  • 1:27 - 1:29
    มันจะทำพลาด
  • 1:29 - 1:31
    เอนไซม์จับผิดได้เกือบจะทันที
  • 1:31 - 1:36
    และตัดบางส่วนของนิวคลีโอไทด์
    และแทนที่พวกมันด้วยอันที่ถูกต้อง
  • 1:36 - 1:38
    และในกรณีที่มันพลาดไปบ้าง
  • 1:38 - 1:41
    โปรตีนชุดที่สองตามมาเพื่อทำการตรวจสอบ
  • 1:41 - 1:43
    ถ้ามันพบการจับคู่ที่ผิด
  • 1:43 - 1:46
    พวกมันตัดนิวคลีโอไทด์ที่ผิดออก และแทนที่มัน
  • 1:46 - 1:48
    กระบวนการนี้เรียกว่า การซ่อมการจับคู่ที่ผิด
    (mismatch repair)
  • 1:48 - 1:52
    ด้วยกัน สองระบบนี้ลดจำนวนของเบสที่จับคู่ผิด
  • 1:52 - 1:55
    จนเหลือประมาณ หนึ่งในพันล้าน
  • 1:55 - 1:59
    แต่ดีเอ็นเอได้รับความเสียหาย
    หลังจากการเพิ่มจำนวนได้เช่นกัน
  • 1:59 - 2:03
    โมเลกุลต่างๆ สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทางเคมี
    ให้กับนิวคลีโอไทด์ได้
  • 2:03 - 2:06
    บางโมเลกุล มาจากการสัมผัสสิ่งแวดล้อม
  • 2:06 - 2:09
    เช่นบางองค์ประกอบในควันยาสูบ
  • 2:09 - 2:12
    และอย่างอื่น เช่นโมเลกุลที่พบได้ในเซลล์ตามปกติ
  • 2:12 - 2:15
    เช่นไฮโดรเจน เปอร์ออกซิเดส
  • 2:15 - 2:17
    ที่การเปลี่ยนแปลงทางเคมีนั้นธรรมดามาก
  • 2:17 - 2:21
    พวกมันมีเอนไซม์จำเพาะที่ถูกสั่ง
    ให้ย้อนการทำเสียหายนี้
  • 2:21 - 2:25
    แต่เซลล์ยังมีวิถีการซ่อมที่ง่ายไปกว่านั้น
  • 2:25 - 2:27
    ถ้าคุณมีเบสเสียหายไปแค่เบสเดียว
  • 2:27 - 2:32
    โดยทั่วไป มันสามารถถูกซ่อนได้
    โดยกระบวนการที่เรียกว่า การซ่อมเบสที่มีอยู่
  • 2:32 - 2:35
    เอนไซม์หนึงตัดเอาเบสที่เสียหายออก
  • 2:35 - 2:40
    และอีกเอนไซม์หนึ่งเข้ามาเล็มรอบๆ บริเวณนั้น
    และจัดวางนิวคลีโอไทด์
  • 2:40 - 2:45
    แสงยูวีสามารถทำให้เกิดความเสียหาย
    ที่ซ่อมได้ยากกว่า
  • 2:45 - 2:49
    บางครั้ง มันทำให้เกิดสองนิวคลีโอไทด์ที่ใกล้กัน
    ที่ติดเข้าด้วยกัน
  • 2:49 - 2:52
    ซึ่งเป็นการทำลายโครงสร้างเกลียวคู่ของดีเอ็นเอ
  • 2:52 - 2:56
    ความเสียหายเช่นนี้
    ต้องการกระบวนการที่ซับซ้อนมากกว่า
  • 2:56 - 2:59
    ที่เรียกว่า การซ่อมนิวคลีโอไทด์โดยการตัด
  • 2:59 - 3:04
    กลุ่มของโปรตีนกำจัดนิวคลีโอไทด์สายยาว
    ประมาณ 24 นิวคลีโอไทด์
  • 3:04 - 3:07
    และแทนที่มันด้วยอันใหม่
  • 3:07 - 3:11
    การโดนรังสีความถี่สูงมากๆ
    เช่นรังสีแกมม่า หรือรังสีเอ็กซ์
  • 3:11 - 3:13
    ทำให้เกิดการเสียหายที่ต่างออกไป
  • 3:13 - 3:18
    พวกมันสามารถทำลายโครงสร้างหลักดีเอ็นเอ
    หนึ่งสาย หรือทั้งสองสายได้
  • 3:18 - 3:21
    การที่สายคู่หักเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุด
  • 3:21 - 3:24
    เพียงที่เดียวอาจทำให้เซลล์ตายได้
  • 3:24 - 3:28
    วิถีที่ธรรมดาที่สุดสองวิถี
    สำหรับการซ่อมสายคู่ที่หัก
  • 3:28 - 3:33
    ถูกเรียกว่า โฮโมโลกัส รีคอมบิเนชัน
    และนอน-โฮโมโลกัส เอ็น จอยนิง
  • 3:33 - 3:39
    โฮโมโลกัส รีคอมบิเนชัน ใช้ส่วนที่ไม่เสียหาย
    ของดีเอ็นเอที่คล้ายกัน เป็นต้นแบบ
  • 3:39 - 3:44
    เอนไซม์สานสายที่เสียหายและซ่อมมัน
  • 3:44 - 3:46
    ทำให้มันแลกเปลียนลำดับของนิวคลีโอไทด์
  • 3:46 - 3:49
    และท้ายที่สุดก็เติมส่วนที่หายแล้ว
  • 3:49 - 3:53
    เพื่อให้ได้ส่วนสายคู่ที่สมบูรณ์
  • 3:53 - 3:56
    นอน-โฮโมโลกัส เอ็น จอยนิง
    ต่างออกไป
  • 3:56 - 3:58
    มันไม่ต้องพึ่งพาต้นแบบ
  • 3:58 - 4:03
    แทนที่จะเป็นอย่างนั้น โปรตีนมากมาย
    เล็มนิวคลีโอไทด์บางส่วนออก
  • 4:03 - 4:07
    และจากนั้นก็หลอมรวมปลายที่หักเข้าด้วยกัน
  • 4:07 - 4:09
    กระบวนการนี้ไม่ได้แม่นยำเสียเท่าไร
  • 4:09 - 4:12
    มันสามารถทำยีนปะปนกัน หรือเคลื่อนไปได้
  • 4:12 - 4:16
    แต่มันก็มีประโยชน์
    เมื่อดีเอ็นเอที่เป็นคู่กันไม่ได้ปรากฏอยู่
  • 4:16 - 4:20
    แน่ล่ะ การเปลี่ยนดีเอ็นเอไม่ได้แย่เสมอไป
  • 4:20 - 4:24
    การกลายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์
    ทำให้สายพันธุ์มีวิวัฒนาการได้
  • 4:24 - 4:28
    แต่ส่วนใหญ่แล้ว
    เราอยากให้ดีเอ็นเอของเราเป็นเหมือนเดิม
  • 4:28 - 4:32
    ความผิดพลาดในการซ่อมดีเอ็นเอ
    เกี่ยวข้องกับการแก่ก่อนวัย
  • 4:32 - 4:34
    และมะเร็งหลายชนิด
  • 4:34 - 4:36
    ถ้าหากคุณมองหาน้ำพุอายุวัฒนะ
  • 4:36 - 4:39
    มันมีอยู่แล้วในเซลล์ของคุณ
  • 4:39 - 4:43
    เป็นพันล้านครั้งต่อวัน
Title:
เกิดอะไรขึ้นเมื่อดีเอ็นเอได้รับความเสียหาย - โมนิกา แมนซินิ (Monica Menesini)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/what-happens-when-your-dna-is-damaged-monica-menesin

ดีเอ็นเอในเซลล์ของคุณได้รับความเสียหายเป็นหมื่นๆ ครั้งต่อวันเพราะว่าดีเอ็นเอเป็นพิมพ์เขียวสำหรับโปรตีนที่เซลล์คุณต้องการเพื่อการทำงาน ความเสียหายนี้ทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้ เช่น มะเร็ง โชคดีที่เซลล์ของคุณมีหนทางจัดการกับปัญหาส่วนใหญ่เหล่านี้ เป็นส่วนใหญ่ โมนิกา แมนซินิ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการ การเสียหายของดีเอ็นเอ และการซ่อมแซม

บทเรียนโดย Monica Menesini, แอนิเมชันโดย FOX Animation Domination High-Def

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:59

Thai subtitles

Revisions