Return to Video

ทำไมหมู่เลือดจึงสำคัญ - นาตาลี เอส. ฮอดจ์ (Natalie S. Hodge)

  • 0:07 - 0:11
    บ่อยครั้งที่เราพูดกันว่า
    แม้ว่ามนุษยชาติจะมีความขัดแย้งมากมาย
  • 0:11 - 0:14
    เราต่างก็ร่วมสายโลหิตกัน
  • 0:14 - 0:18
    มันเป็นแนวคิดที่ดี แต่ไม่ค่อยจะจริงสักเท่าไร
  • 0:18 - 0:22
    อันที่จริง เลือดของพวกเรามามีอยู่หลากหลายชนิด
  • 0:22 - 0:25
    เม็ดเลือดแดงของเรามีโปรตีน
    ที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิล
  • 0:25 - 0:27
    ที่จับกับออกซิเจน
  • 0:27 - 0:30
    และทำให้เซลล์ขนส่งมันไปทั่วทั้งร่างกายได้
  • 0:30 - 0:33
    แต่พวกมันยังมีโปรตีนเชิงซ้อนอีกชนิดหนึ่ง
  • 0:33 - 0:36
    บนผิวของเยื่อหุ้มเซลล์
  • 0:36 - 0:41
    โปรตีนเหล่านี้ที่เรียกว่า แอนติเจน
    สื่อสารกับเม็ดเลือดขาว
  • 0:41 - 0:45
    ซึ่งเป็นเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ป้องกัน
    ต่อต้านการติดเชื้อ
  • 0:45 - 0:47
    แอนติเจนทำหน้าที่บ่งชี้เครื่องหมาย
  • 0:47 - 0:51
    ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันจดจำเซลล์ของตัวเองได้
  • 0:51 - 0:55
    โดยไม่โจมตีพวกมันราวกับว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม
  • 0:55 - 1:00
    แอนติเจนหลักสองชนิด A และ B
    กำหนดหมู่เลือด
  • 1:00 - 1:04
    แต่พวกมันทำให้เรามีเลือดสี่หมู่ได้อย่างไร
    จากแอนติเจนเพียงแค่สองชนิด
  • 1:04 - 1:09
    เอาล่ะ แอนติเจนถูกถอดรหัสจากสามอัลลีลที่ต่างกัน
  • 1:09 - 1:12
    ซึ่งก็คือความหลากหลายของยีนนั้น
  • 1:12 - 1:15
    ในขณะที่อัลลีล A และ B
    ถอดรหัสให้แอนติเจน A และ B
  • 1:15 - 1:19
    อัลลีล O ไม่ได้ให้ทั้ง 2 อย่าง
  • 1:19 - 1:22
    และเพราะว่า พวกเราได้รับแต่ละยีน
    ตกทอดมาจากพ่อแม่คนละส่วน
  • 1:22 - 1:27
    ทุกคนมีสองอัลลีล
    ที่กำหนดหมู่เลือด
  • 1:27 - 1:29
    เมื่อมันต่างกัน
  • 1:29 - 1:34
    อัลลีลตัวหนึ่งจะข่มอีกตัวหนึ่ง
    ขึ้นอยู่กับว่าตัวไหนเด่นกว่าเมื่อเทียบกัน
  • 1:34 - 1:40
    สำหรับหมู่เลือด
    อัลลีล A และ B เด่นทั้งคู่
  • 1:40 - 1:46
    ฉะนั้น A และ A ทำให้คุณมีหมู่เลือด A
    ส่วน B และ B ทำให้คุณมีหมู่เลือด B
  • 1:46 - 1:48
    ถ้าคุณได้รับอัลลีลตกทอดมาอย่างละอัลลีล
  • 1:48 - 1:53
    ผลที่ได้คือ
    การเด่นคู่จะสร้างทั้งแอนติเจน A และ B
  • 1:53 - 1:54
    ซึ่งคือหมู่เลือด AB
  • 1:54 - 1:57
    อัลลีล O เป็นอัลลีลด้วย
  • 1:57 - 2:00
    ฉะนั้น อัลลีลอื่นๆ จะข่มมัน
    เมื่อมันเข้าคู่กัน
  • 2:00 - 2:03
    ผลที่ได้คือ หมู่เลือด A หรือ หมู่เลือด B
  • 2:03 - 2:08
    แต่ถ้าคุณได้รับ O ตกทอดมาทั้งสองอัลลีล
    การสั่งงานจะถูกส่งออกมาว่า
  • 2:08 - 2:13
    เม็ดเลือดแดงของคุณ
    จะไม่มีแอนติเจน A และ B
  • 2:13 - 2:15
    เพราะว่าปฏิสัมพันธ์เหล่านี้
  • 2:15 - 2:17
    การที่รู้หมู่เลือดของพ่อแม่ทั้งสองคน
  • 2:17 - 2:22
    จะทำให้เราคาดเดาความน่าจะเป็น
    ของหมู่เลือดของลูกๆ ได้
  • 2:22 - 2:24
    ทำไมหมู่เลือดถึงสำคัญหรือ
  • 2:24 - 2:25
    สำหรับการถ่ายเลือด
  • 2:25 - 2:29
    การหาหมู่เลือดที่ถูกต้อง
    เป็นสิ่งสำคัญต่อความเป็นความตาย
  • 2:29 - 2:34
    ถ้าใครสักคนที่มีหมู่เลือด A ได้รับหมู่เลือด B
    หรือกลับกัน
  • 2:34 - 2:38
    แอนติบอดีของพวกเขาจะปฏิเสธแอนติเจนแปลกปลอม
    และโจมตีมัน
  • 2:38 - 2:42
    ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะทำให้เกิดการแข็งตัว
    ของเลือดที่ถ่ายให้
  • 2:42 - 2:47
    แต่เพราะว่าคนที่มีหมู่เลือด AB
    ผลิตทั้งแอนติเจน A และ B
  • 2:47 - 2:52
    พวกเขาไม่สร้างแอนติบอดีต้านมัน
    ฉะนั้นพวกมันจึงจดจำทั้งสองแอนติเจนว่ามันปลอดภัย
  • 2:52 - 2:54
    ทำให้พวกเขาเป็นผู้ที่รับเลือดได้ทุกหมู่
    (universal recipients)
  • 2:54 - 2:56
    ในทางกลับกัน
  • 2:56 - 2:59
    คนที่มีหมู่เลือด O ไม่ได้ผลิตแอนติเจนทั้งสองอย่าง
  • 2:59 - 3:02
    ซึ่งทำให้พวกเขาเป็นผู้ให้เลือดได้กับคนทุกหมู่
    (universal donors)
  • 3:02 - 3:04
    แต่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขา
    สร้างแอนติบอดี
  • 3:04 - 3:09
    ที่ปฏิเสธหมู่เลือดอื่นๆ
  • 3:09 - 3:14
    โชคร้าย การเข้าคู่ผู้บริจาคและผู้รับเลือด
    มีความซับซ้อนมากกว่านั้น
  • 3:14 - 3:16
    เพราะว่าระบบแอนติเจนยังมีอีกอย่าง
  • 3:16 - 3:18
    โดยเฉพาะแฟกเตอร์ Rh
  • 3:18 - 3:23
    ที่ถูกเรียกชื่อตาม ลิงรีซัส (Rhesus monkey)
  • 3:23 - 3:29
    Rh+ หรือ Rh- หมายถึงว่า
    มีแอนติเจน D การปรากฏอยู่หรือไม่มี
  • 3:29 - 3:32
    ระบบหมู่เลือด Rh
  • 3:32 - 3:35
    และนอกจากจะขัดขวางการถ่ายเลือดแล้ว
  • 3:35 - 3:38
    มันยังทำให้เกิดความซับซ้อนวุ่นวาย
    กับการตั้งครรภ์
  • 3:38 - 3:43
    ถ้าแม่ Rh- อุ้มท้องลูก Rh+
  • 3:43 - 3:47
    ร่างกายของเธอจะผลิตแอนติบอดี Rh
  • 3:47 - 3:49
    และโจมตีตัวอ่อนในครรภ์
  • 3:49 - 3:53
    สภาวะที่เป็นที่รู้จักกันว่า โรคเม็ดเลือดแตก
    (hemolytic disease) ของเด็กแรกเกิด
  • 3:53 - 3:57
    บางวัฒนธรรมเชื่อว่าหมู่เลือดเกี่ยวข้องกับบุคลิก
  • 3:57 - 3:59
    แต่ทว่า
    มันไม่ได้รับการสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์
  • 3:59 - 4:01
    และถึงแม้ว่าอัตราส่วนของแต่ละหมู่เลือด
  • 4:01 - 4:04
    จะแตกต่างกันไประหว่างหมู่ประชากร
  • 4:04 - 4:07
    นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่แน่ใจว่าทำไม
    พวกมันจึงมีวิวัฒนาการมาแบบนี้
  • 4:07 - 4:09
    บางทีเพื่อเป็นการป้องกันโรคที่ติดต่อทางเลือด
  • 4:09 - 4:12
    หรือจากการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมอย่างสุ่ม
  • 4:12 - 4:16
    และ สปีชีส์ต่างๆ ก็มีแอนติเจนต่างชุดกัน
  • 4:16 - 4:20
    ที่จริงแล้ว เลือดสี่หมู่หลักมีที่ลิงไม่มีหางมีร่วมกันกัน
  • 4:20 - 4:26
    ดูเป็นเรื่องเล็กน้อยไปเลยเมื่อเทียบกับสุนัข
    ที่เราพบว่ามีหมู่เลือดสิบสามหมู่
Title:
ทำไมหมู่เลือดจึงสำคัญ - นาตาลี เอส. ฮอดจ์ (Natalie S. Hodge)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/why-do-blood-types-matter-natalie-s-hodge

บ่อยครั้งที่เราพูดกันว่าแม้ว่ามนุษยชาติจะมีความขัดแย้งมากมาย เราก็ต่างร่วมสายโลหิตกัน มันเป็นแนวคิดที่ดี แต่ไม่ค่อยจะจริงสักเท่าไร อันที่จริง เลือดของพวกเรามามีอยู่หลากหลายชนิด นาตาลี เอส. ฮอดจ์ อธิบายสี่หมู่เลือดหลัก และให้ความกระจ่างว่าทำไมเลือดบางหมู่ผสมกับหมู่อื่นได้ ในขณะที่บางหมู่ไม่ได้

บทเรียนโดย Natalie S. Hodge, แอนิเมชันโดย Brad Purnell

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:42

Thai subtitles

Revisions