< Return to Video

คุณควรเชื่อมั่นในความประทับใจแรกพบไหม? - ปีเตอร์ เมนเด้-ซีดเลคกี้ (Peter Mende-Siedlecki)

  • 0:07 - 0:09
    ลองคิดไปว่าคุณกำลังชมการแข่งขันฟุตบอล
  • 0:09 - 0:11
    มีเจ้าคนน่ารังเกียจนี่นั่งติดกับคุณ
  • 0:11 - 0:12
    เขาส่งเสียงดังเอะอะ
  • 0:12 - 0:13
    เขาทำเครื่องดื่มของเขาหกรดคุณ
  • 0:13 - 0:15
    และเขาหัวเราะเย้ยหยันทีมที่คุณเชียร์
  • 0:15 - 0:17
    หลายวันต่อมา คุณกำลังเดินอยู่ในสวนสาธารณะ
  • 0:17 - 0:20
    ในทันใดนั้นฝนก็เริ่มตกกระหน่ำลงมา
  • 0:20 - 0:21
    ใครนะควรปรากฏตัวข้างๆ คุณ
  • 0:21 - 0:22
    พร้อมกับหยิบยื่นร่มให้คุณ?
  • 0:22 - 0:25
    เจ้าหมอนั่นเองที่คุณพบตอนชมการแข่งขันฟุตบอล
  • 0:25 - 0:26
    คุณจะเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อเขา
  • 0:26 - 0:28
    บนพื้นฐานของการพบกันครั้งที่สองนี้
  • 0:28 - 0:30
    หรือ คุณยังคงยึดติดอยู่กับความประทับใจแรกพบ
  • 0:30 - 0:32
    และไม่ให้ความสำคัญแก่คนๆ นี้
  • 0:32 - 0:34
    การวิจัยทางจิตวิทยาสังคมชี้ให้เห็นว่า
  • 0:34 - 0:37
    เราสร้างความประทับใจที่ยั่งยืนต่อผู้อื่นได้รวดเร็ว
  • 0:37 - 0:39
    บนพื้นฐานพฤติกรรมของพวกเขา
  • 0:39 - 0:41
    เราทำสิ่งนี้ได้ไม่ยากเย็น
  • 0:41 - 0:43
    สรุปเป็นลักษณะนิสัยที่ติดตัว
  • 0:43 - 0:45
    จากเพียงพฤติกรรมเดียว
  • 0:45 - 0:45
    เช่น คำพูดกราดเกรี้ยว
  • 0:45 - 0:47
    หรือ เดินซุ่มซ่าม
  • 0:47 - 0:49
    โดยใช้ความประทับใจของเราเป็นแนวทาง
  • 0:49 - 0:50
    เราสามารถทำนายได้แม่นยำ
  • 0:50 - 0:53
    ว่าคนๆ นั้นจะแสดงพฤติกรรมอย่างไรในอนาคต
  • 0:53 - 0:54
    ด้วยความรู้นี้
  • 0:54 - 0:55
    ชายจากการแข่งขันฟุตบอล
  • 0:55 - 0:57
    ดูเป็นคนไม่น่าคบ เมื่อคุณพบเขาครั้งแรก
  • 0:57 - 1:00
    คุณอาจคาดว่าจะพบพฤติกรรมเช่นนั้นอีกมากในอนาคต
  • 1:00 - 1:02
    ถ้าเป็นดังนั้น คุณอาจเลือกหลบเลี่ยงเขา
  • 1:02 - 1:03
    ในครั้งต่อไปที่คุณเห็นเขา
  • 1:03 - 1:05
    อย่างไรก็ดี เราสามารถเปลี่ยนแปลงความประทับใจของเรา
  • 1:05 - 1:07
    เมื่อได้รับข้อมูลใหม่ๆ
  • 1:07 - 1:10
    นักวิจัยพฤติกรรมได้ระบุ
  • 1:10 - 1:12
    แบบแผนสอดคล้องที่ดูจะช่วยนำทาง
  • 1:12 - 1:15
    กระบวนการปรับความประทับใจขึ้นใหม่
  • 1:15 - 1:17
    ในมุมมองหนึ่ง การเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับบางคน
  • 1:17 - 1:20
    ในด้านลบมากๆ และผิดทำนองคลองธรรม
  • 1:20 - 1:21
    โดยทั่วไปมีผลกระทบที่รุนแรงกว่า
  • 1:21 - 1:26
    การเรียนรู้ข้อมูลในด้านบวกมากๆ
    และถูกทำนองคลองธรรม
  • 1:26 - 1:28
    ดังนั้นจึงเป็นโชคไม่ดีสำหรับเพื่อนใหม่
  • 1:28 - 1:29
    จากการแข่งขันฟุตบอลของเรา
  • 1:29 - 1:30
    พฤติกรรมไม่ดีระหว่างชมการแข่งขันของเขา
  • 1:30 - 1:33
    อาจบดบังพฤติกรรมดีของเขาที่สวนสาธารณะ
  • 1:33 - 1:36
    งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าอคตินี้เกิดขึ้น
  • 1:36 - 1:39
    เพราะว่าพฤติกรรมผิดทำนองคลองธรรมช่วยบ่งบอก
  • 1:39 - 1:40
    หรือเผยให้รู้ถึง
  • 1:40 - 1:42
    ลักษณะนิสัยแท้จริงของบุคคลได้ดีกว่า
  • 1:42 - 1:44
    ดังนั้นโดยตรรกะนี้
  • 1:44 - 1:46
    สิ่งไม่ดีจึงมีอิทธิพลมากกว่าสิ่งดีเสมอ
  • 1:46 - 1:48
    เมื่อมีการปรับความประทับใจขึ้นใหม่
  • 1:48 - 1:50
    แต่ไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไป
  • 1:50 - 1:52
    รูปแบบการเรียนรู้บางอย่างดูเหมือนไม่
  • 1:52 - 1:54
    นำไปสู่อคติแง่ลบชนิดนี้
  • 1:54 - 1:57
    เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับความสามารถ
    และสมรรถภาพของผู้อื่น
  • 1:57 - 1:58
    เป็นต้น
  • 1:58 - 2:00
    อคตินี้ถูกพลิกกลับ
  • 2:00 - 2:01
    โดยแท้จริงแล้วข้อมูลด้านบวก
  • 2:01 - 2:04
    ได้รับน้ำหนักมากกว่า
  • 2:04 - 2:05
    เรากลับไปที่การแข่งขันฟุตบอล
  • 2:05 - 2:07
    ถ้าผู้เล่นทำประตูได้
  • 2:07 - 2:08
    ก็จะมีผลกระทบที่รุนแรงกว่า
  • 2:08 - 2:10
    ต่อความประทับใจของคุณต่อทักษะของผู้เล่น
  • 2:10 - 2:12
    มากกว่ายามที่พวกเขายิงประตูพลาด
  • 2:12 - 2:14
    ทั้งสองด้านของการปรับความประทับใจขึ้นใหม่
  • 2:14 - 2:16
    สอดคล้องต้องกันอย่างมากทีเดียว
  • 2:16 - 2:18
    โดยภาพรวม บรรดาพฤติกรรมที่รับรู้ได้
  • 2:18 - 2:21
    ว่าเกิดไม่บ่อยนัก จะเป็นพฤติกรรมที่
  • 2:21 - 2:23
    ผู้คนมักให้น้ำหนักกันมากกว่า
  • 2:23 - 2:26
    เมื่อมีการสร้างและปรับความประทับใจขึ้นใหม่
  • 2:26 - 2:27
    ได้แก่ การกระทำผิดทำนองคลองธรรมร้ายแรง
  • 2:27 - 2:29
    และการกระทำที่เปี่ยมสมรรถภาพ
  • 2:29 - 2:32
    ดังนั้น เกิดอะไรขึ้นในระดับสมองของเรา
  • 2:32 - 2:34
    เมื่อเรากำลังปรับความประทับใจของเราขึ้นใหม่?
  • 2:34 - 2:35
    โดยการใช้ fMRI,
  • 2:35 - 2:38
    หรือ การทำงานของการสร้างภาพด้วยการเกิดเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (functional Magnetic Resonance Imaging)
  • 2:38 - 2:39
    นักวิจัยได้ค้นพบ
  • 2:39 - 2:41
    เครือข่ายของสมองที่ยืดออกไป
  • 2:41 - 2:43
    ที่ตอบสนองต่อข้อมูลใหม่ๆ
  • 2:43 - 2:46
    ที่ไม่สอดคล้องกับความประทับใจเริ่มแรก
  • 2:46 - 2:48
    สิ่งเหล่านี้รวมทั้งพื้นที่เชื่อมโยง
  • 2:48 - 2:50
    กับกระบวนการรับรู้ทางสังคม
  • 2:50 - 2:51
    ความสนใจ
  • 2:51 - 2:52
    และการควบคุมกระบวนการรับรู้
  • 2:52 - 2:55
    ยิ่งกว่านั้น เมื่อปรับความประทับใจขึ้นใหม่
  • 2:55 - 2:57
    บนพื้นฐานพฤติกรรมของผู้คน
  • 2:57 - 3:00
    กิจกรรมที่เกิดขึ้นในสมองส่วน
    ventrolateral prefrontal cortex
  • 3:00 - 3:02
    และ superior temporal sulcus
  • 3:02 - 3:03
    มีความสัมพันธ์ร่วมกันกับความรับรู้
  • 3:03 - 3:08
    ถึงความถี่ของพฤติกรรมเหล่านั้นที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
  • 3:08 - 3:10
    พูดอีกอย่างก็คือ สมองดูเหมือนจะติดตามร่องรอย
  • 3:10 - 3:13
    คุณสมบัติเชิงสถิติที่มีระดับต่ำ ของพฤติกรรม
  • 3:13 - 3:16
    เพื่อทำการตัดสินใจที่ซับซ้อน
  • 3:16 - 3:17
    เกี่ยวกับลักษณะนิสัยของผู้อื่น
  • 3:17 - 3:18
    มันจำเป็นต้องชี้ขาดว่า
  • 3:18 - 3:21
    พฤติกรรมของบุคคลนี้เป็นปกติทั่วไป
  • 3:21 - 3:22
    หรือผิดแผกจากธรรมดา
  • 3:22 - 3:23
    ในสถานการณ์
  • 3:23 - 3:26
    ที่แฟนบอลผู้น่ารังเกียจกลับกลายเป็นคนใจดีมีเมตตา
  • 3:26 - 3:27
    สมองของคุณจะคิดว่า
  • 3:27 - 3:29
    จากประสบการณ์ของฉัน
  • 3:29 - 3:32
    ส่วนมากใครๆ ก็จะให้ยืมร่มของพวกเขาแก่คนอื่นกันทั้งนั้น
  • 3:32 - 3:34
    แต่สิ่งที่เจ้าหมอนี่ทำลงไประหว่างดูการแข่งขันฟุตบอล
  • 3:34 - 3:36
    เป็นสิ่งผิดปกติ
  • 3:36 - 3:39
    และดังนั้น คุณจึงตัดสินใจโดย
    ยึดติดอยู่กับความประทับใจแรกพบของคุณ
  • 3:39 - 3:41
    เป็นเรื่องสอนใจที่ดีในสิ่งที่เกิดขึ้นนี้
  • 3:41 - 3:43
    สมองของคุณ และรวมถึงตัวตนของคุณ
  • 3:43 - 3:45
    อาจให้ความใส่ใจมากกว่าเกี่ยวกับ
  • 3:45 - 3:47
    สิ่งต่างๆ ที่เป็นด้านลบผิดทำนองคลองธรรม
  • 3:47 - 3:48
    ที่คนอื่นได้ทำลงไป
  • 3:48 - 3:51
    เปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆ
    ที่เป็นด้านบวกถูกทำนองคลองธรรม
  • 3:51 - 3:52
    แต่มันเป็นผลทางตรง
  • 3:52 - 3:56
    จากการที่พฤติกรรมไม่ดีพบเห็นได้ยากกว่า
  • 3:56 - 3:58
    เราคุ้นเคยกันมากกว่ากับผู้คนที่โดยพื้นฐานเป็นคนดี
  • 3:58 - 4:01
    ยอมสละเวลาช่วยเหลือคนแปลกหน้าในคราวจำเป็น
  • 4:01 - 4:04
    ในบริบทนี้ ความไม่ดีอาจมีอิทธิพลมากกว่าความดี
  • 4:04 - 4:07
    แต่เป็นเพียงเพราะความดีมีให้พบเห็นมากกว่า
  • 4:07 - 4:09
    คิดถึงครั้งสุดท้ายที่คุณตัดสินใครบางคน
  • 4:09 - 4:10
    บนพื้นฐานพฤติกรรมของพวกเขา
  • 4:10 - 4:12
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่คุณรู้สึกจริงๆ
  • 4:12 - 4:14
    เหมือนว่าคุณเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อใครบางคน
  • 4:14 - 4:16
    พฤติกรรมที่เป็นเหตุให้คุณ
  • 4:16 - 4:17
    ปรับความประทับใจของคุณขึ้นใหม่นั้น
  • 4:17 - 4:19
    เป็นบางสิ่งที่คุณคาดหวังให้คนอื่นทำ
  • 4:19 - 4:22
    หรือ เป็นบางสิ่งที่มันผิดแผกจากธรรมดา?
Title:
คุณควรเชื่อมั่นในความประทับใจแรกพบไหม? - ปีเตอร์ เมนเด้-ซีดเลคกี้ (Peter Mende-Siedlecki)
Speaker:
Peter Mende-Siedlecki
Description:

ชมบทเรียนทั้งหมดได้ที่ http://ed.ted.com/lessons/should-you-trust-your-first-impression-peter-mende-siedlecki

บางครั้งคุณก็ไม่สามารถสลัดความรู้สึกแย่ ๆ ที่มีต่อใครบางคนออกได้ แล้วเกิดอะไรขึ้นในสมองของคุณเมื่อคุณทำสิ่งสำคัญ (และมักมีผลยืนนาน) ในการตัดสินคนที่พบกันครั้งแรก? ปีเตอร์ เมนเด้-ซีดเลคกี้ ร่วมแบ่งปันจิตวิทยาสังคมของความประทับใจแรกพบ และเหตุใดมันอาจแสดงว่า ลึกลงไป คนทั้งหลายโดยพื้นฐานเป็นคนดี

บทเรียนโดยปีเตอร์ เมนเด้-ซีดเลคกี้ ภาพเคลื่อนไหวโดย TOGETHER

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:39
TED Translators admin edited Thai subtitles for Should you trust your first impression?
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Should you trust your first impression?
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Should you trust your first impression?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Should you trust your first impression?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Should you trust your first impression?
Nuchapong Wongrajit commented on Thai subtitles for Should you trust your first impression?
Nuchapong Wongrajit edited Thai subtitles for Should you trust your first impression?
Nuchapong Wongrajit accepted Thai subtitles for Should you trust your first impression?
Show all
  • ผมมีจุดที่ขอเสนอปรับดังนี้ครับ

    41.314 - 43.310 ความหมายน่าจะเป็น เราดูแค่ a single behavior แล้วสรุป (แบบอนุมาน) ว่าเป็น stable trait = ดูแค่ครั้งเดียวแล้วคิดว่าเขาเป็นแบบนั้นเสมอไป

    1:35.628 - 1:39.875 diagnostic (เชิงวินิจฉัย) ตรงนี้น่าจะแปลว่า ช่วยระบุบ่งชี้ถึงสิ่งที่ไม่ดี โครงสร้างประโยคน่าจะเป็น Immoral behaviors are more diagnostic of a person's true character. ส่วน , or revealing, ขยายซ้ำว่า diagnostic ตรงนี้แปลว่าอะไร

    2:37.878 'identified' คำนี้น่าจะตรงกับความหมาย 'discovered' และสังเกตว่า ท่อนที่ตามมาเป็นแค่ คำนาม (ไม่ได้ตามด้วย clause จึงไม่น่าใช้ "ระบุว่า") == นักวิจัยค้นพบว่ามีส่วนของสมองที่ทำหน้าที่นี้อยู่

    Description: a bad feeling that's hard to shake - 'shake' ตรงนี้น่าจะใกล้เคียงกับ "สลัดออก" "สั่นคลอน" หมายถึง impression เกิดขึ้นแล้ว เปลี่ยนยาก ครับ

    บางส่วนผมขอเสนอปรับภาษาไทย เพื่อให้อ่านได้ราบรื่นขึ้นครับ

  • If you both agree on this draft, I think it's good to go. (Few changes can be altered, please let me know if you wish.)

    Happy translation :) -Note

Thai subtitles

Revisions Compare revisions