< Return to Video

ก เอ๋ย ก ไก่ มาจากไหน ? | Point of View

  • 0:00 - 0:01
    ก เอ๋ย กอไก่
  • 0:01 - 0:02
    ข ในเล้า
  • 0:02 - 0:03
    ฃ ของเรา
  • 0:03 - 0:05
    ค เข้านา
  • 0:05 - 0:06
    ฅ ขึงขัง
  • 0:06 - 0:07
    ฆ ข้างฝา
  • 0:07 - 0:09
    สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
  • 0:09 - 0:11
    แหม ฟังเมื่อกี้วิวท่องไป
  • 0:11 - 0:14
    ก เอ๋ย กอไก่ ข ในเล้า ฃ ของเรา
  • 0:14 - 0:17
    เชื่อว่า ทุกคนที่ฟังอยู่ตรงนี้จะต้องเคยเรียนภาษาไทยใช่ไหมคะ?
  • 0:17 - 0:21
    และที่ท่องไปเมื่อกี้ น่าจะเป็นสิ่งแรกที่ทุกคนจะต้องท่องเลย
  • 0:21 - 0:23
    ว่าแต่ อยากรู้กันไหมคะว่า
  • 0:23 - 0:25
    ไอ้ที่ท่องๆ ไปเมื่อกี้มีที่มาจากไหน?
  • 0:25 - 0:26
    ใครเป็นคนแต่ง?
  • 0:26 - 0:28
    ทำไมจะต้องเป็น ก เอ๋ย กอไก่?
  • 0:28 - 0:29
    ก กาได้ไหม?
  • 0:29 - 0:33
    หรือว่า ก กง ก กุ้ง หรือได้เปล่านะคะ?
  • 0:33 - 0:35
    บังเอิญว่า วิวเนี่ยอยากรู้เรื่องนี้มากๆ ค่ะ
  • 0:35 - 0:38
    ดังนั้นนะคะ วิวก็เลยไปรวบรวมหาคำตอบมา
  • 0:38 - 0:40
    แล้วก็สรุปมาเล่าให้ทุกคนฟังแล้วค่ะ
  • 0:40 - 0:44
    เอาตั้งแต่ต้นกำเนิดเลยนะว่า มันเกิดขึ้นได้ยังไง?
  • 0:44 - 0:46
    ไล่มาจนถึงที่เราท่องๆ กันในปัจจุบัน
  • 0:46 - 0:48
    ที่สำคัญนะคะ ระหว่างฟัง รับรองว่า
  • 0:48 - 0:53
    คุณจะได้รับคำตอบของหลายๆ คำถามที่ถามกันมาใน #วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด ค่ะ
  • 0:53 - 0:55
    ไม่ว่าจะเป็นที่มีคนถามมาว่า
  • 0:55 - 0:57
    ทำไม ฑ ต้องเป็น ฑ นางมณโฑ
  • 0:57 - 0:58
    เป็น ฑ อื่นไม่ได้เหรอ?
  • 0:58 - 1:01
    ทำไมจะต้องเป็นชื่อนางในวรรณคดีตัวนี้?
  • 1:01 - 1:03
    หรือหลายๆ คนที่ถามว่า
  • 1:03 - 1:05
    ขอที่มาตัว ฌ หน่อยได้ไหม?
  • 1:05 - 1:08
    แบบ อือฮืม ช่วงนี้ ฌ มาแรงเหลือเกินนะคะ
  • 1:08 - 1:11
    ทั้งจากฝั่งไอดอลและจากฝั่งอีกฝั่งนึงอ่ะนะ
  • 1:11 - 1:14
    เอาเป็นว่า อาจจะไม่ได้คำตอบเป๊ะๆ ในทุกคำถามนะคะ
  • 1:14 - 1:16
    แต่ฟังประวัติที่มาของตัวอักษรกันเนี่ย
  • 1:16 - 1:19
    น่าจะพอได้คำตอบคร่าวๆ แล้วค่ะ
  • 1:19 - 1:22
    ดังนั้นพร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุก
  • 1:22 - 1:23
    แล้วก็ได้สาระนี้กันหรือยังคะ?
  • 1:23 - 1:25
    ถ้าพร้อมกันแล้ว ก็ไปฟังกันเลยค่ะ
  • 1:28 - 1:33
    ถ้าเราจะพูดถึงที่มาของ ก เอ๋ย กอไก่ ข ในเล้า ฃ ของเราเนี่ยนะคะ
  • 1:33 - 1:36
    อย่างแรกค่ะ เราต้องย้อนเวลากลับไปนะคะ
  • 1:36 - 1:39
    ไปที่ที่มาของ ก ข ค ง ก่อนค่ะ
  • 1:39 - 1:42
    ต้องบอกว่า ในยุคสมัยแรกนะคะ ที่มันมีภาษาไทยเกิดขึ้น
  • 1:42 - 1:44
    หรือมันมีตัวอักษรไทยเกิดขึ้นเนี่ย
  • 1:44 - 1:47
    ตัวอักษรเหล่านี้ยังไม่เคยมีชื่อมาก่อนนะคะ
  • 1:47 - 1:49
    ก็น่าจะเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับภาษาไทยนั่นแหละ
  • 1:49 - 1:52
    ไม่งั้นเราก็คงไม่สามารถเอามาผสมเป็นคำ
  • 1:52 - 1:53
    เป็นอะไรต่างๆ ได้เนอะ
  • 1:53 - 1:55
    แม้ว่าจริงๆ ไอ้พวก ก ข อะไรพวกนี้
  • 1:55 - 1:57
    มันจะมีมาก่อนในภาษาอื่นๆ แล้วก็ตาม
  • 1:57 - 2:00
    แต่เราพูดถึงเฉพาะเวอร์ชันภาษาไทยนะคะ
  • 2:00 - 2:02
    ที่นี้หลังจากที่มันเกิดขึ้นมานะคะ
  • 2:02 - 2:05
    ก็ต้องบอกว่า มันก็ไม่มีชื่อแบบนี้มาเรื่อยๆ
  • 2:05 - 2:06
    เช่นเดียวกับแบบภาษาอังกฤษอ่ะ
  • 2:06 - 2:08
    เห็นไหมว่าทุกวันนี้เราพูดถึงตัว A
  • 2:08 - 2:09
    มันก็คือ A
  • 2:09 - 2:11
    มันก็คือ B มันก็คือ C
  • 2:11 - 2:14
    มันไม่ใช่แบบ อ่อ ตัวนี้ตัว A Ant ตัวนี้ตัว C Cat อะไรอย่างนั้น
  • 2:14 - 2:16
    จะเห็นว่า มันไม่ได้เป็นชื่อทางการใช่ไหมคะ? ของภาษาอังกฤษ
  • 2:16 - 2:19
    เราไม่ได้ใช้เหมือนกันในทุกประเทศทั่วโลก
  • 2:19 - 2:22
    แม้ว่าจะมีระบบที่แบบทำให้บอกง่ายขึ้น
  • 2:22 - 2:23
    อะไรเวลาที่บอกทางโทรศัพท์
  • 2:23 - 2:27
    แต่เวลาที่เรียนหนังสือ เค้าก็ไม่ได้เรียนตามระบบอย่างนั้นใช่ไหม?
  • 2:27 - 2:29
    ทีนี้เช่นเดียวกันค่ะ ตัวหนังสือไทยของเราเนี่ย
  • 2:29 - 2:31
    ก็ไม่มีชื่อมาเรื่อยๆ นะคะ
  • 2:31 - 2:35
    ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ไล่มาจนกระทั่งถึงสมัยอยุธยา
  • 2:35 - 2:36
    แม้แต่ในหนังสือจินดามณีนะคะ
  • 2:36 - 2:38
    ซึ่งเป็นแบบเรียนไทยเล่มแรกเนี่ย
  • 2:38 - 2:40
    ก็ยังไม่ได้มีการระบุชื่ออะไรต่างๆ
  • 2:40 - 2:45
    จินดามณี นี่ก็คือเล่มที่บูมๆ กันว่า พระโหราธิบดีเขียน
  • 2:45 - 2:47
    ที่อยู่ในเรื่องบุพเพสันนิวาสก็คือ
  • 2:47 - 2:50
    คุณลุงของแม่การะเกดเป็นคนเขียนนั่นแหละค่ะ
  • 2:50 - 2:51
    นั่นเลยนะคะ
  • 2:51 - 2:54
    ในนั้นเนี่ย เวลาที่จะสอนเรื่อง ก ข ค ง อะไรต่างๆ
  • 2:54 - 2:58
    เค้าก็ไม่ได้มีการตั้งชื่อว่าเป็น ก ไก่ ข ไข่ อะไรนะคะ
  • 2:58 - 3:00
    แต่ว่าในนั้นเนี่ย ก็คือจะเหมือนกับยกตัวอย่างขึ้นมาเลยว่า
  • 3:00 - 3:02
    นี่คือตัว ก
  • 3:02 - 3:03
    วิธีใช้ตัว ก ก็คือ...
  • 3:03 - 3:06
    แล้วก็ไล่คำที่ใช้ตัว ก เนี่ย ปึ้บๆๆ มานะคะ
  • 3:06 - 3:08
    เพื่อให้เด็กเนี่ย ท่องจำไปเรื่อยๆ ค่ะ
  • 3:08 - 3:11
    จินดามณีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเนี่ย
  • 3:11 - 3:13
    ก็ยังเป็นลักษณะนั้นอยู่
  • 3:13 - 3:15
    ยังไม่ได้มีชื่อ ก ไก่ ข ไข่ อะไรต่างๆ นะคะ
  • 3:15 - 3:21
    ไล่มาจนกระทั่งถึงจินดามณีในสมัยของรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ของเราเนี่ย
  • 3:21 - 3:23
    ก็ยังไม่มีชื่อเช่นเดียวกันค่ะ
  • 3:23 - 3:27
    แล้วทีนี้ถามว่า ความเปลี่ยนแปลงของตัวหนังสือเนี่ย เกิดขึ้นได้ยังไง?
  • 3:27 - 3:29
    ทำไมอยู่ดีๆ มันถึงเริ่มมีชื่อขึ้นมานะคะ?
  • 3:29 - 3:32
    บอกเลยว่า มันไปเกี่ยวกับวงการๆ นึงค่ะ
  • 3:32 - 3:34
    และจะเป็นวงการที่หลายคนตกใจนะคะว่า
  • 3:34 - 3:36
    เอ้า แล้วมันมาเกี่ยวกับวงการตัวอักษรได้ยังไง?
  • 3:36 - 3:38
    มาเกี่ยวกับการเรียนหนังสือได้ยังไง?
  • 3:38 - 3:42
    วงการนั้นก็คือ วงการหวย นั่นเองค่ะ
  • 3:42 - 3:45
    เอ้า หวยมาเกี่ยวอะไรกับการตั้งชื่อตัวอักษรนะคะ?
  • 3:45 - 3:48
    ก็ต้องบอกว่า ในยุคสมัยก่อนรัชกาลที่ 3 ค่ะ
  • 3:48 - 3:51
    ที่ประเทศจีนเนี่ย มีการคิดค้นหวยชนิดนึงขึ้นนะคะ
  • 3:51 - 3:53
    เป็นหวยที่น่าสนใจมากก็คือ
  • 3:53 - 3:55
    เค้าเนี่ย จะเอากระดาษ หรือว่าแผ่นไม้เนี่ยนะคะ
  • 3:55 - 3:56
    ขึ้นมาค่ะหลายๆ แผ่น
  • 3:56 - 3:58
    ประมาณ 30 กว่าแผ่นเนี่ย
  • 3:58 - 4:02
    แล้วมีการเขียนชื่อคนเนี่ย ลงไปในกระดาษ หรือในแผ่นไม้แต่ละแผ่นนะคะ
  • 4:02 - 4:06
    หลังจากนั้น เจ้ามือหวยเนี่ยก็จะมีการหยิบเอาชื่อคนนึงเนี่ย
  • 4:06 - 4:07
    เอาไปซ่อนไว้บนหลังคาค่ะ
  • 4:07 - 4:09
    แล้วก็เปิดให้ทุกคนแทงกันนะคะว่า
  • 4:09 - 4:12
    เฮ้ย ชื่อที่เราหยิบออกไปเนี่ย เป็นชื่อของใครกันแน่?
  • 4:12 - 4:13
    ทุกคนก็มีการลงเงินกัน
  • 4:13 - 4:16
    ใครแทงถูกก็ได้เงินไป ถูกต้องไหมคะ?
  • 4:16 - 4:18
    ทีนี้ต้องบอกว่า หวยชนิดนี้ค่อนข้างจะแพร่หลาย
  • 4:18 - 4:21
    และได้รับความนิยมมากๆ ในประเทศจีนค่ะ
  • 4:21 - 4:24
    ดังนั้นเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ของไทยนะคะ
  • 4:24 - 4:28
    แน่นอนว่า ในยุคสมัยนั้นเป็นยุคสมัยที่เราค้าขายกับคนจีนเยอะมาก
  • 4:28 - 4:29
    ถูกต้องไหม?
  • 4:29 - 4:31
    มีความสัมพันธ์ มีความเกี่ยวข้องกับคนจีนเยอะมาก
  • 4:31 - 4:33
    มีการค้าขายสำเภากัน
  • 4:33 - 4:35
    และในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ค่ะ
  • 4:35 - 4:37
    เกิดเหตุการณ์นึงขึ้นในบ้านเมืองนะคะก็คือ
  • 4:37 - 4:39
    เหตุการณ์ข้าวยากหมากแพงค่ะ
  • 4:39 - 4:40
    เกิดเงินฝืดขึ้น
  • 4:40 - 4:43
    คือมีความอดยากอยากแค้นอะไรต่างๆ
  • 4:43 - 4:46
    ทำให้ประชาชนเนี่ย รู้สึกว่า เฮ้ย ฉันไม่มีเงินใช้
  • 4:46 - 4:47
    นี่มันอะไร? ข้าวยากหมากแพง
  • 4:47 - 4:50
    ฉันจะต้องเก็บเงินตุนไว้ อย่าเอาออกมาใช้เลยนะคะ
  • 4:50 - 4:52
    ซึ่งพอคนยิ่งไม่เอาเงินออกมาใช้
  • 4:52 - 4:54
    ก็ไม่มีเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจใช่ไหมคะ?
  • 4:54 - 4:58
    ดังนั้นมันก็เลยเกิดภาวะที่เรียกว่า ภาวะเงินฝืดขึ้น
  • 4:58 - 5:00
    อ่ะ อันนี้ค่อนข้างที่จะเป็นปัจจุบันนะคะ
  • 5:00 - 5:02
    ปัจจุบันก็ยังเป็นแบบนี้อยู่นี้นะ
  • 5:02 - 5:03
    ตามหลักเศรษฐศาสตร์อะไรต่างๆ
  • 5:03 - 5:05
    ซึ่งเมื่อเกิดภาวะเงินฝืดขึ้นเนี่ย
  • 5:05 - 5:07
    ถ้าเป็นสมัยปัจจุบัน เราเรียนเศรษฐศาสตร์กันมา
  • 5:07 - 5:12
    เราก็จะรู้ว่า รัฐบาลต้องแก้ไขด้วยการกระตุ้นให้ประชาชนเนี่ยใช้จ่าย
  • 5:12 - 5:12
    ถูกต้องไหมคะ?
  • 5:12 - 5:14
    จะได้มีเงินเข้าไปหมุนในระบบ
  • 5:14 - 5:15
    พอคนเริ่มใช้เงิน
  • 5:15 - 5:17
    อ่ะ ร้านค้าก็ได้กำไรอะไรต่างๆ
  • 5:17 - 5:20
    เหมือนกับช่วงนี้แหละที่เค้าพยายามโปรโมทกันว่า
  • 5:20 - 5:22
    ให้คนไทยไปช่วยเท่ียวไทย อะไรอย่างนี้นะคะ
  • 5:22 - 5:25
    นี่ก็เป็นมาตรการจัดการเงินฝืดแบบนึงนะ
  • 5:25 - 5:28
    ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เนี่ยนะคะ
  • 5:28 - 5:31
    มันก็จะต้องมีการพยายามกระตุ้นจากรัฐบาลในยุคนั้นค่ะว่า
  • 5:31 - 5:34
    ทำยังไงดีที่จะทำให้ทุกคนออกมาใช้เงินกัน?
  • 5:34 - 5:36
    แน่นอนค่ะว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 เนี่ย
  • 5:36 - 5:38
    ความฟุ้งเฟ้ออย่างนึงที่เรียกได้ว่า
  • 5:38 - 5:40
    ประชาชนในยุคนั้นเนี่ย เค้านิยมกัน
  • 5:40 - 5:42
    ก็คือ การสูบฝิ่น นะคะ
  • 5:42 - 5:45
    แต่ว่าตอนนั้นเนี่ย รัชกาลที่ 3 ไม่ค่อยปลื้มค่ะ
  • 5:45 - 5:47
    ประมาณว่า เออ ไม่อยากให้ทุกคนสูบฝิ่นนะคะ
  • 5:47 - 5:49
    ก็เลยมีการเผาทำลายฝิ่นต่างๆ ไป
  • 5:49 - 5:52
    ดังนั้นคนก็เลยไ่ม่มีที่เอาเงินไปลงค่ะ
  • 5:52 - 5:54
    ก็เลยไม่รู้จะเอาเงินไปใช้ฟุ่มเฟือยอะไร?
  • 5:54 - 5:55
    จะเอาไปซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค?
  • 5:55 - 5:57
    สมัยก่อนก็ไม่ต้องซื้อขนาดนั้น
  • 5:57 - 5:59
    ก็สามารถทำเองขึ้นมาได้ใช่ไหมคะ?
  • 5:59 - 6:01
    ปรากฎว่ามีคนจีนคนนึงเนี่ยนะคะ
  • 6:01 - 6:02
    ชื่อว่า จีนหง ค่ะ
  • 6:02 - 6:05
    ก็เลยเข้าไปกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 3 นะคะ บอกว่า
  • 6:05 - 6:09
    เออ จริงๆ แล้วเหตุการณ์นี้ อั๊วว่า มันเกิดขึ้นในประเทศจีนค่อนข้างบ่อยน้า
  • 6:09 - 6:11
    ซึ่งเวลาที่เกิดในประเทศจีนเนี่ย
  • 6:11 - 6:14
    เค้าก็มีวิธีแก้กันอยู่ ก็คือ การออกหวย นั่นเอง
  • 6:14 - 6:15
    พอออกหวยมาเนี่ย
  • 6:15 - 6:18
    คนชอบเล่นพนัน คนก็จะเอาเงินไปเล่นพนัน
  • 6:18 - 6:21
    เงินก็จะเข้าไปในระบบ แล้วก็มีการใช้จ่ายเกิดขึ้น
  • 6:21 - 6:23
    เงินฝืดก็จะหายไป
  • 6:23 - 6:25
    น่ะ ทำไมทำเสียงจีนได้ธรรมชาติขนาดนี้?
  • 6:25 - 6:27
    เหมือนไม่ได้แกล้งทำ เหมือนพูดเป็นปกตินะคะ
  • 6:27 - 6:29
    อย่างไรก็ตาม ช่างมันค่ะ
  • 6:29 - 6:30
    กลับมาที่จีนหงของเรานะคะ
  • 6:30 - 6:32
    หลังจากที่จีนหงแนะนำแบบนี้ไปนะคะ
  • 6:32 - 6:34
    แน่นอนว่า รัชกาลที่ 3 ก็เห็นด้วยค่ะ
  • 6:34 - 6:37
    ดังนั้นก็เลยเกิดหวยขึ้นในประเทศไทยนะคะ
  • 6:37 - 6:39
    ทีนี้พอเอาหวยแบบนี้เนี่ยนะคะมาใช้ในไทยเนี่ย
  • 6:39 - 6:42
    ก็ต้องบอกว่า คนไทยสมัยก่อน จำชื่อคนจีนไม่ได้ค่ะ
  • 6:42 - 6:44
    เพราะว่ามันไม่คุ้นหูไง
  • 6:44 - 6:46
    เหมือนแบบเราเล่นโปเกมอนวันแรกอ่ะ
  • 6:46 - 6:47
    เราก็จำชื่อโปเกมอนไม่ได้หรอกว่า
  • 6:47 - 6:51
    อะไรแบบไนจู ปิกาจู อะไรก็ไม่รู้ ชื่องงๆ เต็มไปหมดนะคะ
  • 6:51 - 6:55
    ดังนั้นก็เลยมีการตั้งชื่อด้วยการเอาตัวอักษรไทยเนี่ยค่ะ
  • 6:55 - 6:55
    ใส่เข้าไปนะคะ
  • 6:55 - 6:56
    คนจะได้จำได้
  • 6:56 - 7:00
    แต่ไม่ได้ใส่ทุกตัวเนอะ ก็ตัดๆ ตัวที่มันซ้ำบ้างอะไรบ้างออกไปค่ะ
  • 7:00 - 7:04
    สุดท้ายนะคะก็เลยกลายเป็นตัวอักษรไทยทั้งหมด 36 ตัวเนี่ย
  • 7:04 - 7:07
    ประกบกับชื่อคนจีนที่เป็นหวยดั้งเดิมนะคะ
  • 7:07 - 7:09
    เค้าเรียกหวยชนิดนี้ว่า หวย ก ข ค่ะ
  • 7:09 - 7:11
    ส่วนใครที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย
  • 7:11 - 7:16
    ไม่เคยรู้เลยว่า เอ๊ แล้วตัวอักษรที่มันประกบกับชื่อคนจีน มันเป็นยังไง อะไรยังไงนะคะ?
  • 7:16 - 7:18
    ขออนุญาตอ่านให้ฟังสักเล็กน้อยนะคะ
  • 7:18 - 7:21
    เพราะว่าอันนี้เราอาจจะไปเจอตามพวกนิยายเก่าๆ อะไรต่างๆ
  • 7:21 - 7:23
    จะได้พอเก็ทไงว่า เค้าพูดถึงอะไร
  • 7:23 - 7:27
    ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องสี่แผ่นดินก็มีการพูดถึงเรื่องหวย ก ข อันนี้เหมือนกัน
  • 7:27 - 7:29
    ดังนั้นนี่แหละค่ะ เค้าก็จะประกบกันแบบนี้นะคะ
  • 7:29 - 7:32
    เช่น ก สามหวย ข ง่วยโป๊
  • 7:32 - 7:34
    ฃ เจียมฃวย ค เม่งจู
  • 7:34 - 7:36
    ฅ ฮะตั๋ง ฆ ยี่ซัว
  • 7:36 - 7:38
    ง จีเกา ฉ ขายหมู
  • 7:38 - 7:41
    อะไรประมาณนี้ แบบที่ขึ้นให้ดูตรงน้ีนี่แหละค่ะ
  • 7:41 - 7:43
    มันก็จะเรียงๆ กันไปใช่ไหมคะ?
  • 7:43 - 7:45
    ทีนี้เนี่ย หลังจากที่หวยชุดนี้ออกมานะคะ
  • 7:45 - 7:47
    ก็บอกเลยว่า บูมเป็นพลุแตกค่ะ
  • 7:47 - 7:51
    เพราะว่าคนไทยของเราก็เป็นคนที่ค่อนข้างจะชื่อชอบการพนันอยู่แล้วใช่ไหมคะ?
  • 7:51 - 7:54
    เล่นถั่วเล่นโปกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
  • 7:54 - 7:55
    เจอหวยที่เป็นการพนันชนิดใหม่เข้าไป
  • 7:55 - 7:57
    แหม ติดกันระนาวนะ
  • 7:57 - 7:59
    เรียกได้ว่าก็กระตุ้นเศรษฐกิจกันไปนะคะ
  • 7:59 - 8:03
    อย่างไรก็ตามค่ะ เราจะไม่ไปพูดถึงเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจอะไรต่างๆ
  • 8:03 - 8:05
    เราจะมาพูดถึงเรื่องตัวอักษรกันว่า
  • 8:05 - 8:08
    ในยุคสมัยแรกเนี่ยนะคะ เราใช้ตัวอักษรเพื่อจำชื่อหวย ถูกต้องไหม?
  • 8:08 - 8:10
    แต่ว่า พอเล่นไปเรื่อยๆ นะคะ
  • 8:10 - 8:12
    เกิดความชอบ เกิดความอิน
  • 8:12 - 8:14
    ต่อให้ชื่อมันจะ 36 ชื่อ เราก็จำได้ค่ะ
  • 8:14 - 8:18
    เหมือนกับบางคนก็ท่องชื่อโปเกมอนร้อยกว่าตัว สองร้อยกว่าตัวได้
  • 8:18 - 8:19
    ประมาณนั้นเลยนะคะ
  • 8:19 - 8:23
    ดังนั้นค่ะพอมันเกิดความชอบ เกิดการจำชื่อหวยได้เนี่ย
  • 8:23 - 8:24
    มันก็เกิดกลับกันขึ้น
  • 8:24 - 8:27
    ประมาณว่า แต่ก่อนเราบอกว่า เอ๊ เราจะซื้อสามหวยเนี่ย
  • 8:27 - 8:30
    เราจำไม่ได้ เราต้องบอกว่า เราจะซื้อหวย ก
  • 8:30 - 8:32
    แต่พอเราจำคำว่า สามหวยได้ปุ๊บ
  • 8:32 - 8:33
    เราก็บอกว่า เราจะซื้อสามหวย
  • 8:33 - 8:35
    แล้วสามหวยก็คือ ตัว ก นั่นเอง
  • 8:35 - 8:37
    เหมือนกับว่า มันพูดกลับไปอีกทางนึงอ่ะค่ะ
  • 8:37 - 8:39
    แล้วถามว่า เกิดอะไรขึ้น?
  • 8:39 - 8:44
    แน่นอนนะคะว่า ต่อให้ตัดตัวอักษรที่มันเสียงซ้ำกัน อะไรออกไปบ้างแล้ว
  • 8:44 - 8:48
    มันก็ยังมีตัวอักษรอีกหลายตัวค่ะ ที่เสียงซ้ำกันแล้วก็มาปรากฎเป็นชื่อหวย
  • 8:48 - 8:50
    ยกตัวอย่างเช่น ข กับ ฃ
  • 8:50 - 8:52
    ซึ่งตอนนั้นยังเป็น ข กับ ฃ เหมือนกันเป๊ะอยู่เลย
  • 8:52 - 8:55
    แค่หน้าตามันต่างกัน แล้วก็ใช้สะกดคำต่างกันนะคะ
  • 8:55 - 8:58
    ดังนั้นคนสมัยก่อนเนี่ย เวลาที่จะเขียนหนังสือ
  • 8:58 - 9:00
    แล้วมีคนถามว่า เอ๊ ตัวนี้สะกดด้วยขอไหนนะ?
  • 9:00 - 9:01
    ข หรือ ฃ?
  • 9:01 - 9:03
    คือเค้ายังไม่มีคำว่า ข กับ ฃ
  • 9:03 - 9:05
    เค้าก็เลยเอาชื่อหวยเข้ามาแทนค่ะว่า
  • 9:05 - 9:09
    โอ๊ย คำนี้สะกดด้วย ข ง่วยโป๊ นะไม่ใช่ ฃ เจียมฃวย
  • 9:09 - 9:10
    ประมาณนั้นเลยนะคะ
  • 9:10 - 9:15
    ดังนั้นมันก็เลยเกิดการเอาชื่อหวยเนี่ย มาเรียกเป็นตัวอักษรตั้งแต่นั้นมาค่ะ
  • 9:15 - 9:19
    และแล้วคนไทยนะคะ ก็ใช้วิธีนี้เรียกชื่อตัวอักษรมาเรื่อยๆ ค่ะ
  • 9:19 - 9:22
    จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 นะคะ
  • 9:22 - 9:25
    ปรากฎว่า มีคนๆ นึงค่ะ เค้าเกิดรู้สึกขึ้นมาว่า
  • 9:25 - 9:28
    เฮ้ย ทำไมเราต้องเอาชื่อหวยมาเป็นชื่อตัวอักษรเราด้วยอ่ะ?
  • 9:28 - 9:30
    คือเวลาที่เราจะสอนหนังสือเด็ก
  • 9:30 - 9:32
    เราก็จะต้องไปสอนเล่นหวยด้วยเหรอ? หรืออะไรนะ?
  • 9:32 - 9:33
    มันไม่ healthy เท่าไหร่เลย
  • 9:33 - 9:37
    เราควรจะมีชื่อตัวอักษรที่เป็นชื่อตัวอักษรจริงๆ หรือเปล่านะ?
  • 9:37 - 9:40
    คนคนนั้นนะคะ ก็คือ พระยาศรีสุนทรโวหาร ค่ะ
  • 9:40 - 9:43
    เดี๋ยวก่อนทุกคน ก่อนที่หลายคนจะเข้าใจว่า
  • 9:43 - 9:46
    อุ๊ย ชื่อคุ้นๆ นี่จะต้องเป็นช่ือของสุนทรภู่ใช่ไหม?
  • 9:46 - 9:47
    ต้องบอกว่า ไม่ใช่นะคะ
  • 9:47 - 9:49
    สุนทรภู่คือ พระสุนทรโวหาร ค่ะ
  • 9:49 - 9:53
    อันนี้คือ พระยาศรีสุนทรโวหาร หรือว่า น้อย อาจารยางกูร นะคะ
  • 9:53 - 9:56
    เป็นคนที่เขียนตำราเรียนภาษาไทยต่างๆ อ่ะนะ
  • 9:56 - 10:00
    ท่านเนี่ยนะคะ เริ่มคิดขึ้นมาก่อนว่า ทำไมเราจะต้องเอาชื่อหวยมาสอนเด็กด้วย?
  • 10:00 - 10:03
    ดังนั้นท่านก็เลยตั้งชื่อตัวอักษรของท่านเองค่ะ
  • 10:03 - 10:08
    แล้วก็นำไปสอนในกูหลวงนะคะ หรือว่าโรงเรียนหลวงที่ท่านสอนอยู่
  • 10:08 - 10:10
    โดยตั้งชื่อนะคะ เน้นตัวที่พ้องเสียงกันค่ะ
  • 10:10 - 10:13
    เช่น ข กับ ฃ อะไรแบบนี้นะ
  • 10:13 - 10:14
    เพื่อให้เด็กจำง่ายๆ ค่ะ
  • 10:14 - 10:16
    แต่ว่ายังไม่เป็น ข ยังไม่เป็น ฃ นะคะ
  • 10:16 - 10:20
    ชื่อที่ท่านตั้งมาเนี่ย ก็เช่น ข ขัดข้อง ฃ อังกุษ
  • 10:20 - 10:22
    ค คิด ฅ กัญฐา
  • 10:22 - 10:23
    ฆ ระฆัง ช ชื่อ
  • 10:23 - 10:25
    ฌ ฌาน ญ ญาติ
  • 10:25 - 10:27
    ฎ ชฎา ฏ รกชัฏ
  • 10:27 - 10:29
    ฐ สันฐาน ฑ บิณฑบาต
  • 10:29 - 10:30
    ฒ จำเริญ
  • 10:30 - 10:32
    พอฟังแบบนี้ไป อ่านตรงนี้ไป
  • 10:32 - 10:35
    หลายคนก็จะแบบ เฮ้ย บางตัวมันไม่เห็นได้สะกดด้วยตัวนั้นเลย
  • 10:35 - 10:37
    เช่น ตัว ข ขัดข้องเนี่ย
  • 10:37 - 10:39
    ใช่ มันใช้ ข จริง ทั้งขัด ทั้งข้องเลย
  • 10:39 - 10:42
    แต่ว่า เอ๊ะ แล้ว ฃ อังกุษ มันเกี่ยวอะไร?
  • 10:42 - 10:46
    คำว่า ฃ อังกุษ ไม่เห็นมีการใช้ตัว ฃ เลยแม้แต่นิดเดียวนะคะ
  • 10:46 - 10:48
    ก็ต้องบอกว่า ท่านไม่ได้เน้นการสะกดขนาดนั้นค่ะ
  • 10:48 - 10:50
    ท่านเน้นทำยังไงก็ได้ให้เด็กจำได้นะคะ
  • 10:50 - 10:53
    ดังนั้นบางอันก็เป็นตัวที่ใช้ตัวนั้นสะกด
  • 10:53 - 10:57
    บางอันเนี่ย ก็เป็นคำที่เป็นความหมายของตัวอักษรนั้นๆ
  • 10:57 - 11:00
    แล้วก็เป็นคำที่นิยมจะใช้ตัวนั้นสะกดนะคะ
  • 11:00 - 11:02
    เช่น คำว่า ฃ อังกุษ เนี่ย
  • 11:02 - 11:05
    อังกุษ แปลว่า ขอไอ้ที่มันเอาไว้เกี่ยวช้างอ่ะค่ะ
  • 11:05 - 11:07
    ที่ไว้สับช้าง ขอสับช้าง ประมาณนั้น
  • 11:07 - 11:11
    ดังนั้นเวลาพูดถึงอะไรที่เป็นแบบขอ แบบงอๆ อย่างนี้
  • 11:11 - 11:13
    สมัยก่อนเค้าใช้ ฃ สะกดค่ะ
  • 11:13 - 11:14
    เห็นไหมก็จำง่าย
  • 11:14 - 11:15
    หรือว่าอีกตัวนึงนะคะ
  • 11:15 - 11:18
    ก็คือ ค คิดกับ ฅ กัณฐา
  • 11:18 - 11:21
    อันนี้ค คิด ชัดเจนมากว่า คำว่า คิด เนี่ยใช่ ค ควายใช่ไหม?
  • 11:21 - 11:23
    แต่กัณฐาเนี่ย เกี่ยวอะไรกับ ฅ?
  • 11:23 - 11:25
    ต้องบอกว่า คำว่า กัณฐา เนี่ยนะคะ
  • 11:25 - 11:28
    คือคำว่า กัณฐะ เหมือนคำว่า ทศกัณฐ์ นั่นแหละค่ะ
  • 11:28 - 11:29
    ที่แปลว่า คอ นะคะ
  • 11:29 - 11:31
    ทศกัณฐ์คือ ผู้ที่มี 10 คอ ถูกต้องไหม?
  • 11:31 - 11:33
    ดังนั้นตัว ฅ สมัยก่อนนะคะ
  • 11:33 - 11:35
    เค้าไม่ใช้เขียนคำว่า คน ค่ะ
  • 11:35 - 11:39
    แต่เค้าใช้เขียนคำว่า คอ ที่แปลว่าแบบ คอ แบบ neck อย่างนี้
  • 11:39 - 11:41
    เช่นอะไรที่เกี่ยวข้องกับคอ
  • 11:41 - 11:42
    อย่างคอเสื้อเนี่ยนะคะ
  • 11:42 - 11:44
    ก็จะเขียนด้วย ฅ นั่นเองค่ะ
  • 11:44 - 11:47
    ที่น่าสนใจจุดนึงนะคะ ก็คือตัว ฌ นั่นเอง
  • 11:47 - 11:50
    ที่หลายๆ คน สงสัยว่า เอ๊ย มันเป็น ฌ ตั้งแต่เมื่อไหร่?
  • 11:50 - 11:52
    ตอนนี้มันยังไม่เป็น ฌ นะคะ
  • 11:52 - 11:55
    เพราะว่าถ้าไปสังเกตดีๆ จะเห็นว่า มันเป็น ฌ ฌานค่ะ
  • 11:55 - 11:58
    ก็คือ การเข้าฌาน อะไรต่างๆ อยู่นะคะ
  • 11:58 - 11:59
    ซึ่งเดี๋ยวมันจะเปลี่ยนเป็น ฌ เฌอ ตอนไหน?
  • 11:59 - 12:00
    เดี๋ยวเรามาดูกันค่ะ
  • 12:00 - 12:04
    แต่เราก็จะเห็นนะคะว่า ท่านเนี่ยไม่ได้คิดขึ้นมาจนครบ 44 ตัว
  • 12:04 - 12:06
    ท่านคิดเฉพาะตัวที่แบบซ้ำกัน
  • 12:06 - 12:07
    เช่น เวลาบอกรอ
  • 12:07 - 12:09
    เอ๊ะ รอไหน? ร? ล? ฤ? ร อะไรต่างๆ
  • 12:09 - 12:11
    ก็จะแบบ อ่ะ ตั้งชื่อให้มัน
  • 12:11 - 12:12
    หรือว่า ข นี่ ข ไหน?
  • 12:12 - 12:14
    อ่ะ ก็จะตั้งชื่อให้มันค่ะ
  • 12:14 - 12:17
    แต่ว่าอย่างไรก็ตามนะคะ เราก็ถือว่าท่านก็เป็นบุคคลสำคัญคนนึง
  • 12:17 - 12:20
    ที่เริ่มการตั้งชื่อตัวอักษรขึ้นมาค่ะ
  • 12:20 - 12:22
    และแล้วนะคะ วิวขอ fast forward นิดนึงค่ะ
  • 12:22 - 12:26
    จากกลางสมัยรัชกาลที่ 5 มาที่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 นะคะ
  • 12:26 - 12:28
    เมื่อปีพุทธศักราชที่ 2442 ค่ะ
  • 12:28 - 12:31
    มีคนสำคัญแห่งยุคคนนึงนะคะ
  • 12:31 - 12:32
    ทำแอคชันๆ นึงขึ้นมา
  • 12:32 - 12:36
    แล้วก็ส่งผลกระทบมาจนถึง ก เอ๋ย กอ ไก่ ของเราในปัจจุบันนี้ค่ะ
  • 12:36 - 12:38
    คนๆ นั้นนะคะ ต้องบอกว่า พระองค์นั้นดีกว่า
  • 12:38 - 12:41
    ก็คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ นะคะ
  • 12:41 - 12:43
    กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นั่นเอง
  • 12:43 - 12:44
    แหม ชื่อนี้คุ้นจริงๆ
  • 12:44 - 12:46
    เพราะว่าท่านทำแทบทุกอย่างเลยนะคะ
  • 12:46 - 12:48
    ซึ่งถามว่า ท่านทำอะไร?
  • 12:48 - 12:50
    ท่านเนี่ย แต่งหนังสือเรียนขึ้นมาเล่มนึงค่ะ
  • 12:50 - 12:53
    เรียกว่า แบบเรียนเร็วเล่ม 1 นะคะ
  • 12:53 - 12:55
    ทีนี้ถามว่า เอ้า แล้วทำไมต้องเรียนเร็ว แล้วเรียนช้าเป็นยัไง?
  • 12:55 - 12:58
    ก็ต้องบอกว่า ท่านที่เมื่อกี้เราพูดถึงไปเนี่ยนะคะ
  • 12:58 - 13:01
    ก็คือ พระยาศรีสุนทรโวหาร หรือว่า น้อย อาจารยางกูร
  • 13:01 - 13:04
    คนที่วิวบอกว่า แต่งหนังสือเรียนมาก่อนเนี่ยนะคะ
  • 13:04 - 13:05
    ก็คือ คนที่แต่งหนังสือเรียนหลวงเนี่ย
  • 13:05 - 13:08
    ท่านเคยแต่งหนังสือเรียนขึ้นมาทั้งหมด 6 เล่มค่ะ
  • 13:08 - 13:10
    เป็นตำราเล่าเรียนหลวงนะคะ
  • 13:10 - 13:12
    ชื่อคล้องจองกันสวยงามกันมากว่า
  • 13:12 - 13:14
    มูลบทพรรกิจ วาหนิติ์นิกร
  • 13:14 - 13:16
    อักษรประโยค สังโยคพิธาน
  • 13:16 - 13:19
    ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ นะคะ
  • 13:19 - 13:20
    ก็เป็นแบบเรียนที่ยาวมากนะคะ
  • 13:20 - 13:21
    ถึง 6 เล่มจบ
  • 13:21 - 13:24
    คือเรียกได้ว่า คุณจะต้องเรียน 6 เล่มจบเนี่ย
  • 13:24 - 13:25
    ถึงจะอ่านภาษาไทยออก
  • 13:25 - 13:29
    ทีนี้ถามว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นยุคก่อนสมัยรัชกาลที่ 6
  • 13:29 - 13:29
    ถูกต้องไหม?
  • 13:29 - 13:31
    ฟังดูกำปั้นทุบดินมาก
  • 13:31 - 13:33
    แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็คือ
  • 13:33 - 13:36
    พระราชบัญญัติประถมศึกษา ใช่ไหมคะ?
  • 13:36 - 13:39
    ที่มีการบังคับให้เด็กเนี่ย จะต้องไปเข้าเรียนทุกคน อะไรต่างๆ
  • 13:39 - 13:41
    ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เนี่ย
  • 13:41 - 13:43
    ไม่มีการบังคับให้เข้าเรียนค่ะ
  • 13:43 - 13:45
    สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เด็กๆ เนี่ยมาโรงเรียนนะคะ
  • 13:45 - 13:47
    แล้วก็ไม่ได้เรียนตลอดเวลา
  • 13:47 - 13:48
    บางคนมาเรียน อ่ะ เรียนครึ่งเทอม
  • 13:48 - 13:50
    อ่ะ ได้เวลาหน้าทำนาละ
  • 13:50 - 13:52
    ขอกลับไปช่วยพ่อแม่ทำนาก่อน
  • 13:52 - 13:54
    เดี๋ยวทำนาเสร็จ ค่อยกลับมาเรียนต่อนะคะ
  • 13:54 - 13:56
    แล้วหนังสือ 6 เล่มยาวขนาดนี้
  • 13:56 - 13:57
    เกิดอะไรขึ้น?
  • 13:57 - 13:58
    เด็กลืมค่ะ
  • 13:58 - 13:59
    เรียนเล่มแรกไปครึ่งเล่ม
  • 13:59 - 14:01
    กลับมา เอ้า เค้าขึ้นเล่ม 3 แล้ว
  • 14:01 - 14:02
    เรียนไม่รู้เรื่องนะคะ
  • 14:02 - 14:03
    อ่านหนังสือไม่ออก
  • 14:03 - 14:05
    ดังนั้นเมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาขึ้น
  • 14:05 - 14:08
    ในช่วงปลายรัชสมัยของสมัยรัชกาลที่ 5 เนี่ยนะคะ
  • 14:08 - 14:10
    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเนี่ยนะคะ
  • 14:10 - 14:13
    ก็เลยแต่งหนังสือเรียนขึ้นมา ชื่อว่า แบบเรียนเร็ว ค่ะ
  • 14:13 - 14:15
    เพื่อที่ว่าจะได้ให้เด็กเนี่ยเรียนเล่มนี้เล่มเดียว
  • 14:15 - 14:17
    แล้วก็อ่านหนังสือออกนะคะ
  • 14:17 - 14:19
    ทีนี้นอกเรื่องเวิ่นเว้อไปซะไกล
  • 14:19 - 14:21
    ถามว่า ในเล่มนี้มีอะไรสำคัญ?
  • 14:21 - 14:23
    ในเล่มนี้สำคัญเพราะว่า พระองค์เนี่ยคิดว่า
  • 14:23 - 14:25
    เออ ไหนๆ ก็ไหนๆ
  • 14:25 - 14:27
    มีการตั้งชื่อตัวอักษรมาแล้ว
  • 14:27 - 14:29
    ตั้งแต่สมัยพระยาศรีสุนทรโวหาร
  • 14:29 - 14:30
    ทำไมเราไม่ตั้งให้ครบทุกตัวเลยล่ะ?
  • 14:30 - 14:32
    เราจะได้มีชื่อเรียกตัวอักษรทุกไง
  • 14:32 - 14:36
    และที่สำคัญ บางตัวเนี่ยมันจะต้องมีการตีความ
  • 14:36 - 14:37
    จะต้องมีอาจารย์มานั่งอธิบาย
  • 14:37 - 14:39
    เช่น ฃ อังกุษ
  • 14:39 - 14:40
    เด็กเพิ่งอ่านหนังสือ ใครจะไปเข้าใจ?
  • 14:40 - 14:43
    หรือว่า ฅ กัณฐา เนี่ย เด็กที่ไหนจะไปเข้าใจ?
  • 14:43 - 14:47
    เราตั้งชื่อง่ายๆ ด้วยตัวหนังสือที่ใช้ตัวนั้นสะกด
  • 14:47 - 14:48
    แบบไม่ต้องตีความเลยดีกว่า
  • 14:48 - 14:51
    ดังนั้นนะคะ ท่านก็เลยตั้งชื่อตัวอักษรขึ้นมาค่ะ
  • 14:51 - 14:56
    เรียกได้ว่า ครบทั้ง 44 ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทยนะคะ
  • 14:56 - 14:59
    และทั้ง 44 ตัวเนี่ยก็เหมือนกับที่เราท่องทุกวันนี้นี่แหละ
  • 14:59 - 15:02
    ก็คือ ก ไก่ ค ควาย ง งู อะไรต่างๆ นะคะ
  • 15:02 - 15:05
    แต่ว่าจะมีอยู่ทั้งหมด 2 ตัวนะคะที่แตกต่างกัน
  • 15:05 - 15:08
    ที่วิวไปนั่งอ่านตัวแบบเรียนเร็วมานะ
  • 15:08 - 15:09
    ก็คือตัว ฅ ค่ะ
  • 15:09 - 15:11
    ซึ่งปัจจุบันเราเป็น ฅ คน ใช่ไหม?
  • 15:11 - 15:13
    แต่ว่าสมัยนั้นเค้าคือ ฅ ฅอ เลย
  • 15:13 - 15:15
    คอแบบคออ่ะ คออ่ะค่ะ
  • 15:15 - 15:17
    เพราะว่าคำว่า คน สมัยก่อนใช้ ค
  • 15:17 - 15:20
    แต่ว่าคำว่า คอ ที่เป็น neck เนี่ย มันใช้ ฅ นะคะ
  • 15:20 - 15:22
    และอีกตัวนึงก็คือตัว ฬ นั่นเอง
  • 15:22 - 15:24
    ซึ่งตอนนั้นไม่ได้ใช้ตัว ฬ
  • 15:24 - 15:26
    แต่ว่าจะเป็น ล ลานะคะ
  • 15:26 - 15:28
    ลาก็คือแบบ ลาที่ใช้ลากของอ่ะ
  • 15:28 - 15:30
    ลากับล่อสมัยก่อน ใช้ตัว ฬ ค่ะ
  • 15:30 - 15:32
    อ่ะ ฟังมาถึงตรงนี้นะคะ
  • 15:32 - 15:35
    ใครที่อยากรู้ว่า ฌ ฌาน เปลี่ยนมาเป็น ฌ เฌอตอนไหน?
  • 15:35 - 15:38
    ก็เปลี่ยนมาในสมัยของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพนี่แหละค่ะ
  • 15:38 - 15:41
    เพราะว่าพระองค์เนี่ย เปลี่ยนจาก ฌ ฌาน เป็น ฌ เฌอ นะคะ
  • 15:41 - 15:43
    ซึ่งแปลว่า ต้นไม้
  • 15:43 - 15:44
    ซึ่งเราจะไม่ไปเจาะลึกนะคะว่า
  • 15:44 - 15:47
    ในภาษาเขมร คำว่า เฌอ ใช้เดี่ยวๆ แปลว่า ต้นไม้ ได้จริงหรือเปล่า?
  • 15:47 - 15:48
    อะไรอย่างนี้นะ
  • 15:48 - 15:50
    เอาเป็นว่า แปลง่ายๆ คร่าวๆ ก่อน
  • 15:50 - 15:52
    อนุโลมได้ว่า คำว่า เฌอ แปลว่า ต้นไม้ ค่ะ
  • 15:52 - 15:54
    แล้วก็เริ่มมาใช้กับตัว ฌ เนี่ย
  • 15:54 - 15:57
    ในสมัยของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเนี่ยแหละค่ะ
  • 15:57 - 15:59
    รวมถึงอีกตัวนึงนะคะที่หลายๆ คนสนใจ
  • 15:59 - 16:03
    ก็คือตัว ฑ ซึ่งแต่เดิมก็คือ ฑ บิณฑบาตเนี่ย
  • 16:03 - 16:05
    ก็เปลี่ยนมาเป็น ฑ นางมณโฑ
  • 16:05 - 16:08
    ในยุคสมัยของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เช่นเดียวกันนะคะ
  • 16:08 - 16:11
    ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมจะต้องเป็น ฑ นางมณโฑ?
  • 16:11 - 16:14
    ทำไมถึงไม่เป็นนางในวรรณคดีคนอื่น? อะไรต่างๆ
  • 16:14 - 16:16
    วิวเดาว่านะคะ อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวเนอะ
  • 16:16 - 16:17
    ไม่มีอ้างอิงอะไรทั้งสิ้น
  • 16:17 - 16:20
    คือเรื่องรามเกียรติ์เนี่ย เป็นเรื่องที่ค่อนข้างดังในสังคมไทย
  • 16:20 - 16:21
    ทุกคนรู้จักนางมณโฑค่ะ
  • 16:21 - 16:25
    ดังนั้นเมื่อต้องการหาคำที่สะกดด้วย ฑ เนี่ย
  • 16:25 - 16:26
    มันมีไม่กี่คำหรอกค่ะ
  • 16:26 - 16:30
    คำว่า นางมณโฑ ก็เป็นอีกหนึ่งคำที่มันแบบเด้งขึ้นมาในใจของคนได้ง่ายเนอะ
  • 16:30 - 16:35
    ส่วนถามว่า ทำไมไม่มีตัวละครวรรณคดีตัวอื่นมาเป็นชื่อตัวอักษรเลย?
  • 16:35 - 16:37
    ก็ต้องบอกว่า ส สีดา มันคงยากกว่า ส เสือ อ่ะ
  • 16:37 - 16:40
    หรือว่า ร พระราม มันก็ไม่ใช่ไหม?
  • 16:40 - 16:42
    ร มันก็ควรเป็น ร เรือ มันเข้าใจง่ายกว่า
  • 16:42 - 16:44
    คิดว่า เพราะว่าตัว ฑ เนี่ย
  • 16:44 - 16:48
    มันเป็นตัวอักษรที่หาคำสะกดด้วยคำนี้แบบง่ายๆ ยากค่ะ
  • 16:48 - 16:52
    แล้วคำว่า นางมณโฑ น่าจะเป็นคำที่ง่ายที่สุดที่ใช้ตัว ฑ นะคะ
  • 16:52 - 16:55
    อ่ะ อย่างไรก็ตาม เรากลับเข้าเรื่องของเรากันต่อค่ะ
  • 16:55 - 16:57
    หลังจากที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเนี่ย
  • 16:57 - 17:02
    ทรงตั้งชื่อให้กับตัวอักษรทั้งหลายขึ้นมาให้คล้ายกับปัจจุบันมากๆ นะคะ
  • 17:02 - 17:05
    ก็เกิดยุคสมัยของการเขียนแบบเรียนหนังสือขึ้นค่ะ
  • 17:05 - 17:07
    เพราะว่าเป็นยุคสมัยที่การพิมพ์ค่อนข้างจะแพร่หลายแล้ว
  • 17:07 - 17:10
    การโรงเรียนอะไรต่างๆ มีการปฏิรูปการศึกษา
  • 17:10 - 17:13
    ก็เลยมีการพิมพ์แบบเรียนแบบหลายเวอร์ชัน
  • 17:13 - 17:15
    บริษัทนั้นพิมพ์แบบนี้ บริษัทนี้พิมพ์แบบนั้น
  • 17:15 - 17:18
    หน่วยงานนั้น หน่วยงานนี้พิมพ์กันขึ้นมานะคะ
  • 17:18 - 17:19
    ยกตัวอย่างเช่น ดรุณศึกษา
  • 17:19 - 17:23
    ซึ่งเป็นหนังสือเรียนของมิชชันนารีที่ใช้กับคณะอัสสัมชัญเนี่ยนะคะ
  • 17:23 - 17:26
    ก็มีการใช้ ก ไก่ ข ไข่ อะไรอย่างนี้
  • 17:26 - 17:30
    ตามที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ เช่นเดียวกันค่ะ
  • 17:30 - 17:31
    แต่ว่า อย่างไรก็ตามนะคะ
  • 17:31 - 17:33
    ในสมัยนั้นก็ไม่ได้มีใครมาจัดระเบียบ
  • 17:33 - 17:36
    หรือว่ามีใครมากำหนดมาตรฐานอะไรมากมาย
  • 17:36 - 17:38
    ดังนั้นแต่ละสำนักพิมพ์ แต่ละเจ้าเนี่ย
  • 17:38 - 17:40
    บางทีก็มีการปรับเปลี่ยนอะไรกันบ้าง
  • 17:40 - 17:42
    บางอันก็ไม่ตรงกันบ้าง อะไรบ้างนะคะ
  • 17:42 - 17:44
    อาจจะเปลี่ยนบ้างเล็กๆ น้อยๆ
  • 17:44 - 17:48
    เช่น บางคนก็ไม่ใช้ ฌ เฌอ แต่ว่าใช้ ฌ ฤาษีเข้าฌาน
  • 17:48 - 17:50
    หรือว่า บางคนก็ไปใช้ ฌ คิชฌะ
  • 17:50 - 17:51
    อะไรประมาณยังงี้
  • 17:51 - 17:53
    เอาเป็นว่า บางที ใครคุ้นกับคำไหน
  • 17:53 - 17:55
    ใครรู้สึกว่า เออ ใช้คำนี้มันจำง่ายกว่า
  • 17:55 - 17:58
    ก็เอาไปใส่ในเวอร์ชันของหนังสือเรียนตัวเองนะคะ
  • 17:58 - 17:59
    เรื่องราวก็เป็นแบบนี้มาเรื่อยๆ นะคะ
  • 17:59 - 18:02
    จนกระทั่งถึงปี 2490 ค่ะ
  • 18:02 - 18:03
    มีบริษัทๆ นึงนะคะ
  • 18:03 - 18:06
    นั่นก็คือ บริษัท ประชาช่าง จำกัดนั่นเอง
  • 18:06 - 18:08
    ก็จัดพิมพ์แบบเรียนของตัวเองขึ้นมาค่ะ
  • 18:08 - 18:10
    ซึ่งในยุคสมัยของแบบเรียนเล่มนี้นี่เอง นี่แหละค่ะ
  • 18:10 - 18:12
    ที่ตัว ฅอ ฅ เนี่ย
  • 18:12 - 18:14
    เปลี่ยนจากฅอที่หมายถึง neck เนี่ย
  • 18:14 - 18:17
    กลายเป็นคำว่า ฅ ฅน ในที่สุดนะคะ
  • 18:17 - 18:20
    แม้ว่าคำว่า คน เดิมจะสะกดด้วย ค ก็ตามนะ
  • 18:20 - 18:22
    แล้วอีกตัวนึงที่เปลี่ยนไปก็คือตัว ฬ ค่ะ
  • 18:22 - 18:24
    ก็เกิดเป็น ฬ จุฬา ขึ้น
  • 18:24 - 18:26
    ส่วนลาที่แบบใช้ลากจูงอะไรต่างๆ
  • 18:26 - 18:29
    ก็ไปใช้ ล แทนซะอย่างนั้นเลยนะคะ
  • 18:29 - 18:32
    นอกจากนี้เนี่ย ในแบบเรียนเล่มนี้ ก็มีอีกอย่างนึงที่สำคัญมากๆ ค่ะ
  • 18:32 - 18:35
    คือ เค้าน่าจะกลัวว่าเด็กจะท่องไม่ได้
  • 18:35 - 18:38
    แบบ ก ไก่ ข ไข่ ฃ ขวด ค ควาย ง งู
  • 18:38 - 18:40
    ท่องไปเรื่อยๆ มันก็ไม่คล้องจองอะไรกัน
  • 18:40 - 18:42
    ก็เลยมีการแต่งคำคล้องจองเข้าไปนะคะ
  • 18:42 - 18:46
    เพื่อให้เด็กเนี่ย จำ ก-ฮ เนี่ย ได้ง่ายขึ้นค่ะ
  • 18:46 - 18:50
    ดังนั้นบริษัทนี้ค่ะ ก็คือบริษัทแรกที่มีการแต่ง ก เอ๋ย ก ไก่
  • 18:50 - 18:51
    ข ไข่ในเล้า
  • 18:51 - 18:52
    ฃ ขวดของเรา
  • 18:52 - 18:53
    ค ควายเข้านา
  • 18:53 - 18:57
    แล้วก็แต่งไปจนกระทั่งถึง ฮ นกฮูกตาโตที่เราท่องกันนี่แหละค่ะ
  • 18:57 - 18:58
    แต่ว่าขออนุญาตไม่ท่องทั้งหมดตรงนี้
  • 18:58 - 19:01
    เพราะว่าต้องบอกว่า ทั้งหมดนี้มีลิขสิทธิ์นะคะทุกคน
  • 19:01 - 19:04
    ดังนั้นไอ้ที่เราท่องๆ กันเนี่ย มีลิขสิทธิ์กันหมด
  • 19:04 - 19:06
    ถ้าสมมติว่า ใครจะมาจัดพิมพ์ซ้ำ หรืออะไรต่างๆ
  • 19:06 - 19:09
    ต้องมีการขอลิขสิทธิ์ หรือต้องมีการแต่งใหม่
  • 19:09 - 19:11
    เราจะเห็นหนังสือเรียนเวอร์ชันใหม่ๆ เนี่ย
  • 19:11 - 19:13
    บางทีมันก็จะเป็น ก เอ๋ย ก ไก่
  • 19:13 - 19:15
    ข ไข่วางตั้ง อะไรอย่างนี้
  • 19:15 - 19:16
    คือเค้าต้องแต่งใหม่ของตัวเอง
  • 19:16 - 19:18
    เพราะว่า ถ้าใช้จะผิดลิขสิทธิ์ค่ะ
  • 19:18 - 19:21
    อย่างไรก็ตามนะคะ ในหนังสือของประชาช่างเล่มนี้
  • 19:21 - 19:24
    ก็มีอีกจุดนึงที่ไม่เหมือนกับที่เราใช้ในปัจจุบันค่ะ
  • 19:24 - 19:26
    นั่นก็คือตัว ฌ เฌอ นั่นเอง
  • 19:26 - 19:30
    เพราะว่าในของประชาช่างนะคะ เค้าไปเขียนว่า ฌ กระเฌอ ค่ะ
  • 19:30 - 19:33
    ซึ่งคำว่า กระเฌอ เนี่ย ไม่สามารถแปลว่า ต้นไม้ ได้นะคะ
  • 19:33 - 19:36
    ดังนั้นมันก็จะไปมีดราม่าของตัวเองใหญ่โตนะคะ
  • 19:36 - 19:38
    จนกระทั่งเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้วเนี่ย
  • 19:38 - 19:41
    ถึงจะมีแบบ มีคนไปทักท้วงอะไรหนักมาก
  • 19:41 - 19:43
    เพราะว่าทั้งประเทศเนี่ย ท่องกันผิดหมดเลย
  • 19:43 - 19:45
    จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการเนี่ย
  • 19:45 - 19:46
    ต้องออกมาร่อนหนังสือเวียนเลยนะคะ
  • 19:46 - 19:49
    ประมาณว่า ทุกคน หยุดท่องว่า ฌ กระเฌอ นะ
  • 19:49 - 19:51
    จงท่องว่า ฌ เฌอ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง
  • 19:51 - 19:54
    เพราะว่า มันแปลว่า ต้นไม้ จ้า นะคะ
  • 19:54 - 19:58
    และนี่ก็คือเรื่องราวที่มาของ ก เอ๋ย ก ไก่ ข ในเล้า
  • 19:58 - 20:00
    ที่เราท่องกันมาตั้งแต่สมัยอนุบาลนั่นเองค่ะ
  • 20:00 - 20:02
    เป็นยังไงบ้าง ชอบเรื่องราวแบบนี้ไหม?
  • 20:02 - 20:04
    ถ้าใครชอบเรื่องราวแบบนี้นะคะ
  • 20:04 - 20:06
    อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว
  • 20:06 - 20:08
    แล้วก็กดแชร์ เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันค่ะ
  • 20:08 - 20:10
    พบกันใหม่โอกาสหน้านะคะ
  • 20:10 - 20:12
    บ๊าย บาย สวัสดีค่ะ
  • 20:12 - 20:14
    โอ๋ ไม่น่าเชื่อเลยนะคะว่า เรื่องราวของ ก เอ๋ย ก ไก่เนี่ย
  • 20:14 - 20:16
    เพิ่งจะเกิดขึ้นไม่นานมานี้เองนะคะ
  • 20:16 - 20:17
    ไม่ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ในยุคสมัยแรก
  • 20:17 - 20:20
    แต่ก็เป็นที่น่าดีใจนะที่คนไทยของเราเนี่ย
  • 20:20 - 20:22
    มีการท่อง ก เอ๋ย ก ไก่ขึ้น
  • 20:22 - 20:25
    ทำให้เราสามารถจำตัวอักษรของเราเนี่ยได้ง่ายนะคะ
  • 20:25 - 20:27
    ไม่งั้นอาจจะต้องลำบากนิดนึง
  • 20:27 - 20:30
    มานั่งท่อง ก ข ฃ ค ฅ อะไรต่างๆ
  • 20:30 - 20:32
    ส่วนตัวเนี่ย ท่องแบบนี้ก็ไม่ได้นะ
  • 20:32 - 20:34
    ถ้าเป็น ก เอ๋ย ก ไก่ ท่องได้ค่ะ
  • 20:34 - 20:36
    ทุกคนท่อง ก-ฮ กันได้ไหมคะ?
  • 20:36 - 20:38
    ไหนลองคอมเมนต์มาคุยกันก่อน
  • 20:38 - 20:40
    แต่สำหรับวันนี้ลาไปก่อนละกันค่ะทุกคน
  • 20:40 - 20:41
    บ๊าย บาย สวัสดีค่ะ
Title:
ก เอ๋ย ก ไก่ มาจากไหน ? | Point of View
Description:

more » « less
Duration:
20:42

Thai subtitles

Revisions