< Return to Video

ทำไมเราถึงเสียเหงื่อ- จอห์น เมอร์แนน (John Murnan)

  • 0:07 - 0:12
    เส้นชัยอยู่อีกไม่ไกล
    และคุณก็กำลังเร่งความเร็วขึ้นอีก
  • 0:12 - 0:15
    คุณซอยเท้าเร็วขึ้น คุณหายใจแรงขึ้น
  • 0:15 - 0:17
    หัวใจของคุณเต้นแรง
  • 0:17 - 0:21
    และเหงื่อก็ไหลลงมาตามผิวหนัง
  • 0:21 - 0:23
    สารที่ว่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
  • 0:23 - 0:26
    และเพื่อจุดประสงค์ใดกันแน่
  • 0:26 - 0:30
    เราเสียเหงื่อได้จากหลายกรณี
  • 0:30 - 0:31
    การกินอาหารรสจัดจ้าน
  • 0:31 - 0:32
    ความประหม่า
  • 0:32 - 0:34
    และเมื่อคุณป่วย
  • 0:34 - 0:38
    แต่มันเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด
    เมื่อเราออกกำลังกาย
  • 0:38 - 0:41
    ในกรณีนี้ การเสียเหงื่อเกิดขึ้น
    เพื่อตอบสนองการเคลื่อนไหว
  • 0:41 - 0:44
    ที่เกิดขึ้นอยู่ภายในเซลล์
  • 0:44 - 0:47
    เมื่อคุณเร่งจังหวะ
    กล้ามเนื้อของคุณทำงานมากขึ้น
  • 0:47 - 0:50
    และต้องการพลังงานมากขึ้น
  • 0:50 - 0:53
    กระบวนการที่เรียกว่า การหายใจระดับเซลล์
  • 0:53 - 0:57
    บริโภคกลูโคสและออกซิเจน
    เพื่อสร้าง ATP
  • 0:57 - 1:01
    หน่วยพลังงานที่ใช้ในเซลล์
  • 1:01 - 1:06
    กระบวนการนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้น
    ในโครงสร้างที่เรียกว่า ไมโทคอนเดรีย
  • 1:06 - 1:07
    ยิ่งเราเคลื่อนไหวมาก
  • 1:07 - 1:12
    ไมโทคอนเดรียก็ยิ่งทำงานมากขึ้น
    และให้พลังงานกับร่างกายของคุณ
  • 1:12 - 1:14
    การทำงานทั้งหมดนี้มาพร้อมกับค่าเหนื่อย
  • 1:14 - 1:19
    เมื่อเซลล์สลาย ATP
    พวกมันปลดปล่อยความร้อนออกมา
  • 1:19 - 1:23
    ความร้อนดังกล่าวกระตุ้นหน่วยรับอุณหภูมิ
    ที่มีอยู่ทั่วไปบนร่างกาย
  • 1:23 - 1:27
    ตัวรับอุณหภูมิเหล่านี้สัมผัสได้
    ถึงความร้อนจากเซลล์กล้ามเนื้อที่มากเกินไป
  • 1:27 - 1:31
    และส่งข้อมูลนี้ไปยังไฮโปทาลามัส
  • 1:31 - 1:33
    ซึ่งกำกับควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
  • 1:33 - 1:34
    ไฮโปทาลามัสตอบสนอ
  • 1:34 - 1:38
    โดยการส่งสัญญาณ
    ผ่านระบบประสาทซิมพาทีติก
  • 1:38 - 1:41
    และต่อมเหงื่อในผิวหนังของคุณ
  • 1:41 - 1:43
    พวกมันกระจายอยู่ทั่วไปบนร่างกาย
  • 1:43 - 1:47
    ซึ่งโดยมากจะพบได้ที่ฝ่ามือ
  • 1:47 - 1:48
    ฝ่าเท้า
  • 1:48 - 1:50
    และบนศีรษะ
  • 1:50 - 1:53
    เมื่อต่อมเหงื่อเริ่มได้รับสัญญาณ
  • 1:53 - 1:56
    ของไหลรอบ ๆ เซลล์ในฐานที่ขดไปมาของมัน
  • 1:56 - 2:00
    มีปริมาณโซเดียมและคลอไรด์อยู่สูง
  • 2:00 - 2:04
    เซลล์จะดันประจุเหล่านี้เข้าสู่ท่อกลวง
  • 2:04 - 2:06
    ที่วิ่งผ่านต่อมเหงื่อ
  • 2:06 - 2:10
    จากนั้น เพราะว่าความเค็มี่อยู่ภายในท่อ
    สูงกว่าภายนอก
  • 2:10 - 2:14
    น้ำจึงเคลื่อนจากท่อโดยการออสโมซิส
  • 2:14 - 2:18
    เมื่อสิ่งที่เรียกว่าการหลั่งปฐมภูมิ
    เกิดขึ้นที่ฐานของท่อแล้ว
  • 2:18 - 2:24
    ความดันน้ำจึงดันมันขึ้นไปตามความยาวของท่อ
  • 2:24 - 2:26
    ก่อนที่มันจะซึมออกสู่ผิวหนัง
  • 2:26 - 2:30
    เซลล์ที่เรียงตัวอยู่รอบท่อจะดึงเกลือกลับมา
    ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • 2:30 - 2:32
    กระบวนการนี้ก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • 2:32 - 2:35
    น้ำในเหงื่อดึงเอาพลังงานความร้อนจากร่างกาย
  • 2:35 - 2:39
    และจากนั้นพามันระเหยออกไป
    เมื่อมันไปถึงผิวหนัง
  • 2:39 - 2:43
    ซึ่งเป็นการลดอุณหภูมิร่างกาย
  • 2:43 - 2:46
    กระบวนการนี้เรียกว่า
    การทำให้เย็นโดยการระเหย
  • 2:46 - 2:49
    ซึ่งเป็นการปรับตัวที่สำคัญมาก
    สำหรับบรรพบุรุษของเรา
  • 2:49 - 2:53
    ผลจากการทำให้เย็นนี้
    ไม่ได้เพียงแต่เป็นประโยชน์เมื่อออกกำลังกาย
  • 2:53 - 2:57
    เราเสียเหงื่อให้กับกรณีอื่น ๆ ด้วย
  • 2:57 - 3:02
    การกินอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่รสจัดจ้าน
    ทำให้บางคนเหงือแตกเต็มหน้าผาก
  • 3:02 - 3:07
    มันเกิดขึ้นเพราะเครื่องเทศกระตุ้น
    การตอบสนองของเส้นประสาทเดียวกันในสมอง
  • 3:07 - 3:13
    ที่กระตุ้นตัวรับอุณหภูมิ
    ซึ่งมักสนองตอบความร้อนที่เพิ่มขึ้น
  • 3:13 - 3:16
    การเสียเหงื่อยังเป็นส่วนหนึ่ง
    ของการตอบสนองว่าจะหนีหรือสู้
  • 3:16 - 3:20
    ที่ถูกกระตุ้นโดยเหตุการณ์ที่ตึงเครียด
    อย่างเช่นการขอใครสักคนเป็นแฟน
  • 3:20 - 3:22
    หรือในการสัมภาษณ์งาน
  • 3:22 - 3:26
    มันเกิดขึ้นเพราะอะดรีนาลีน
    กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • 3:26 - 3:29
    และทำให้หลอดเลือดขยายตัว
  • 3:29 - 3:33
    ซึ่งการกระตุ้นทั้งสองนี้
    เพิ่มความร้อนและกระตุ้นการหลั่งเหงื่อ
  • 3:33 - 3:37
    และการเสียเหงี่อนี้
    ยังเกิดขึ้นได้เมื่อเราป่วย
  • 3:37 - 3:40
    เมื่อเราเป็นไข้
    เราเสียเหงื่อเพราะเกิดการติดเชื้อ
  • 3:40 - 3:43
    ซึ่งกระตุ้นไฮโปทาลามัส
    ให้เพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • 3:43 - 3:47
    ซึ่งส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน
    ออกมาเป็นความร้อน
  • 3:47 - 3:49
    ความร้อนที่เพิ่มขึ้นนั้น
  • 3:49 - 3:54
    เป็นกลไกการป้องกันที่ทำให้ร่างกายของคุณ
    ไม่เหมาะสมต่อการเติบโตของเชื้อโรค
  • 3:54 - 3:58
    เช่นเดียวกับการวิ่ง การเสียเหงื่อ
    ยังช่วยให้ร่างกายถ่ายเทความร้อนออกไป
  • 3:58 - 4:01
    เมื่อเราหมดไข้
    หรือคุณเข้าเส้นชัยแล้ว
  • 4:01 - 4:04
    ตัวรับอุณหภูมิจะสัมผัสได้
    ถึงความร้อนที่ลดลง
  • 4:04 - 4:08
    และไฮโปทาลามัสก็จะจบการตอบสนอง
    การหลั่งเหงื่อของคุณ
  • 4:08 - 4:10
    ในบางกรณี หลังจากการวิ่ง
  • 4:10 - 4:13
    ไฮโปทาลามัสยังส่งสัญญาณ
    ไปยังร่างกายของคุณ
  • 4:13 - 4:16
    ว่าคุณต้องการทดแทนน้ำ
    ที่สูญเสียออกไปในรูปของเหงื่อ
  • 4:16 - 4:19
    ฉะนั้น ครั้งหน้า เมื่อคุณกำลังพยายาม
    วิ่งเข้าเส้นชัย
  • 4:19 - 4:23
    คิดว่าเหงื่อก็เป็นเสมือนเครื่องปรับระดับ
  • 4:23 - 4:26
    ที่จะทำให้คุณไปได้ไกลกว่าเดิม
Title:
ทำไมเราถึงเสียเหงื่อ- จอห์น เมอร์แนน (John Murnan)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/why-do-we-sweat-john-murnan

เราเสียเหงื่อได้จากหลายกรณีรวมถึง การออกกำลังกาย การกินอาหารรสจัดจ้าน และความประหม่า แต่ว่าสารนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วเพื่อจุดประสงค์ใด จอห์น เมอร์แนน สำรวจวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่เรียกว่าเหงื่อ

บทเรียนโดย John Murnan, แอนิเมชันโดย Dogzilla Studio

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:48
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why do we sweat? - John Murnan
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why do we sweat? - John Murnan
Sritala Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for Why do we sweat? - John Murnan
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do we sweat? - John Murnan
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do we sweat? - John Murnan

Thai subtitles

Revisions