< Return to Video

ใครชนะการแข่งขันสำรวจอวกาศ ? - เจฟ สเตียส์ (Jeff Steers)

  • 0:07 - 0:10
    ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957
  • 0:10 - 0:12
    โลกได้เฝ้าดูด้วยความพรั่นพรึงและหวาดกลัว
  • 0:12 - 0:15
    ขณะที่สหภาพโซเวียตได้ปล่อยสปุตนิก (Sputnik)
  • 0:15 - 0:17
    ดาวเทียมดวงแรกที่มนุษย์สร้างขึ้น
  • 0:17 - 0:19
    สู่อวกาศ
  • 0:19 - 0:21
    ลูกบอลโลหะเล็กๆ นี้
  • 0:21 - 0:23
    มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่าสองฟุต
  • 0:23 - 0:25
    เป็นจุดเริ่มต้นการแข่งขันสำรวจอวกาศ
  • 0:25 - 0:27
    ระหว่าง สหรัฐอเมริกา กับ สหภาพโซเวียตรัสเซีย
  • 0:27 - 0:29
    ที่ยาวนานสิบแปดปี
  • 0:29 - 0:32
    และเปลี่ยนแปลงโลก เป็นดั่งเช่นที่เรารู้จักมัน
  • 0:32 - 0:34
    โดยแท้จริงแล้ว สปุตนิกไม่ใช่เทคโนโลยีชิ้นแรก
  • 0:34 - 0:36
    ของมนุษย์ที่ขึ้นสู่อวกาศ
  • 0:36 - 0:39
    ความสุดยอดนั้นต้องยกให้กับจรวด V-2
  • 0:39 - 0:41
    ที่เยอรมันนีใช้ในการโจมตีด้วยขีปนาวุธ
  • 0:41 - 0:43
    ไปยังเมืองต่างๆ ของสัมพันธมิตร
    เป็นความพยายามครั้งสุดท้าย
  • 0:43 - 0:46
    ในช่วงปีท้ายๆ ของสงครามโลกครั้งที่ 2
  • 0:46 - 0:47
    มันไม่ได้มีประสิทธิผลมากมายนัก
  • 0:47 - 0:49
    แต่เมื่อสิ้นสุดสงคราม
  • 0:49 - 0:52
    ทั้งสหรัฐฯ และโซเวียตต่างเข้ายึดครอง
  • 0:52 - 0:55
    เทคโนโลยีและบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ได้พัฒนามันขึ้นมา
  • 0:55 - 0:58
    และได้เริ่มต้นใช้สิ่งที่ได้ เพื่อทำโครงการของตนเอง
  • 0:58 - 1:00
    และประมาณเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1957
  • 1:00 - 1:01
    โซเวียตประสบความสำเร็จในการทดสอบ
  • 1:01 - 1:06
    ขีปนาวุธข้ามทวีป R-7 ลูกแรก
  • 1:06 - 1:07
    เป็นจรวดแบบเดียวกับที่ใช้
  • 1:07 - 1:09
    ปล่อยสปุตนิกในอีกสองเดือนต่อมา
  • 1:09 - 1:11
    ดังนั้น สิ่งที่น่ากลัวเกี่ยวกับสปุตนิก
  • 1:11 - 1:13
    ไม่ใช่ตัวลูกบอลที่มีวิถีโคจรรอบโลก
  • 1:13 - 1:15
    แต่เป็นความจริงที่ว่า เทคโนโลยีเดียวกันนี้
  • 1:15 - 1:18
    สามารถใช้ปล่อยหัวรบนิวเคลียร์ไปสู่เมืองใดๆ ก็ได้
  • 1:18 - 1:20
    เมื่อไม่ต้องการตามหลังห่างมากจนเกินไป
  • 1:20 - 1:22
    ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ได้สั่งการให้กองทัพเรือ
  • 1:22 - 1:24
    เร่งรัดโครงการของตนเองให้เร็วขึ้น
  • 1:24 - 1:27
    และปล่อยดาวเทียมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 1:27 - 1:30
    ดังนั้น ในวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1957
  • 1:30 - 1:31
    ประชาชนที่ตื่นเต้นทั่วทั้งประเทศ
  • 1:31 - 1:34
    ได้ชมการถ่ายทอดสด
  • 1:34 - 1:37
    ในขณะที่ดาวเทียมแวนการ์ด TV3 (Vanguard TV3 )
    ได้ทะยานขึ้น
  • 1:37 - 1:40
    และตกกระแทกพื้นดินในสองวินาทีต่อมา
  • 1:40 - 1:43
    ความล้มเหลวของแวนการ์ด
    เป็นความขายหน้าอย่างใหญ่หลวง
  • 1:43 - 1:44
    สำหรับสหรัฐฯ
  • 1:44 - 1:46
    หนังสือพิมพ์ได้ตีพิมพ์หัวข่าว เช่น
  • 1:46 - 1:48
    "ดาวร่วง" (Flopnik) และ "ดาวเทียมหัวทิ่ม" (Kaputnik)
  • 1:48 - 1:51
    และตัวแทนรัฐบาลโซเวียตประจำสหประชาชาติ
    ได้แนะนำแกมเยาะเย้ย
  • 1:51 - 1:53
    ว่าสหรัฐฯ ควรรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
  • 1:53 - 1:55
    เพื่อการพัฒนาประเทศชาติ
  • 1:56 - 1:58
    โชคยังดีที่กองทัพบกได้มีปฏิบัติการ
  • 1:58 - 2:01
    ในโครงการคู่ขนานของตนเอง
    ที่ชื่อว่า ดิเอ็กซ์พลอเรอร์ (The Explorer)
  • 2:01 - 2:05
    ซึ่งปล่อยดาวเทียมสำเร็จในเดือนมกราคม ค.ศ. 1958
  • 2:05 - 2:08
    แต่สหรัฐฯ เองก็ยังแทบจะไล่ไม่ทัน
  • 2:08 - 2:09
    ก่อนที่พวกเขาจะถูกแซงหน้าอีกครั้ง
  • 2:09 - 2:12
    โดย ยูริ กาการิน (Yuri Gargarin)
    ได้กลายเป็นมนุษย์คนแรกที่ขึ้นสู่อวกาศ
  • 2:12 - 2:16
    ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1961
  • 2:16 - 2:17
    เกือบหนึ่งปีผ่านไป
  • 2:17 - 2:19
    และนักบินอวกาศโซเวียตอีกหลายคน
  • 2:19 - 2:20
    ได้ปฏิบัติภารกิจของตนสำเร็จลุล่วง
  • 2:20 - 2:22
    ก่อนที่โครงการเมอร์คิวรีจะประสบความสำเร็จ
  • 2:22 - 2:24
    ซึ่งทำให้ จอห์น เกลน (John Glenn)
    เป็นชาวอเมริกันคนแรก
  • 2:24 - 2:28
    ที่ขึ้นสู่วงโคจรในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1962
  • 2:31 - 2:33
    ในเวลานั้น ประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้ตระหนักว่า
  • 2:33 - 2:35
    เพียงแค่ตามให้ทัน
  • 2:35 - 2:37
    ความก้าวหน้าแต่ละครั้งของโซเวียต
    ในอีกสองสามเดือนต่อมา
  • 2:37 - 2:39
    ไม่ได้แก้ปัญหาที่เป็นอยู่
  • 2:39 - 2:41
    สหรัฐฯ ต้องทำบางสิ่งบางอย่างก่อนให้ได้
  • 2:41 - 2:45
    และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961
    หนึ่งเดือนหลังจากเที่ยวบินของกาการิน
  • 2:45 - 2:46
    เขาได้ประกาศเป้าหมาย
  • 2:46 - 2:48
    ในการส่งมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์
  • 2:48 - 2:50
    ในราวสิ้นทศวรรษ 1960
  • 2:50 - 2:53
    พวกเขาทำสิ่งนี้สำเร็จผ่านโครงการอพอลโล
  • 2:53 - 2:55
    ด้วยการที่ นีล อาร์มสตรอง ได้ปฏิบัติการย่างก้าวที่โด่งดัง
  • 2:55 - 2:59
    ในวันที่ 20 กรกฏาคม ค.ศ. 1969
  • 2:59 - 3:01
    ในเวลาต่อมาทั้งสองประเทศเบนความสนใจ
  • 3:01 - 3:03
    ไปยังสถานีอวกาศโคจรรอบโลก
  • 3:03 - 3:04
    ยังบอกไม่ได้ว่าการแข่งขันสำรวจอวกาศ
  • 3:04 - 3:07
    จะดำเนินต่อไปอีกนานเท่าใด
  • 3:07 - 3:09
    แต่เพราะว่าการพัฒนาฟื้นฟูความสัมพันธ์
  • 3:09 - 3:11
    โดยมีการเจรจา ระหว่าง ประธานาธิบดีเลโอนิด เบรจเนฟ
    (Leonid Breshnev) แห่งโซเวียต
  • 3:11 - 3:13
    และ ประธานาธิบดีนิกสัน แห่งสหรัฐฯ
  • 3:13 - 3:16
    โซเวียตและสหรัฐฯ จึงได้เดินหน้าสู่ความร่วมมือ
  • 3:16 - 3:18
    แทนการแข่งขันกัน
  • 3:18 - 3:20
    ภารกิจร่วมที่ประสบความสำเร็จ
  • 3:20 - 3:22
    รู้จักกันในชื่อ "อพอลโล-โซยุซ" (Apollo-Soyuz)
  • 3:22 - 3:24
    เป็นปฏิบัติการที่ยานอวกาศอพอลโลของสหรัฐฯ
  • 3:24 - 3:26
    เข้าเชื่อมต่อกับยานอวกาศโซยุซของรัสเซีย
  • 3:26 - 3:27
    และลูกเรือสองคนได้พบกัน
  • 3:27 - 3:28
    จับมือกัน
  • 3:28 - 3:29
    และแลกเปลี่ยนของขวัญกัน
  • 3:29 - 3:33
    เป็นการจารึกสิ้นสุดการแข่งขันสำรวจอวกาศ
    ไว้ใน ค.ศ. 1975
  • 3:33 - 3:35
    แล้วท้ายที่สุด อะไรคือจุดประสงค์
  • 3:35 - 3:36
    ของการแข่งขันสำรวจอวกาศทั้งหมดนี้ ?
  • 3:36 - 3:39
    มันเป็นแค่การผลาญเวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์หรือไม่ ?
  • 3:39 - 3:41
    สองมหาอำนาจพยายามเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง
  • 3:41 - 3:43
    ด้วยความพยายามดำเนินโครงการอันเป็นสัญลักษณ์
  • 3:43 - 3:45
    ที่ทั้งอันตรายและมีราคาแพง ให้สำเร็จลุล่วง
  • 3:45 - 3:46
    ใช้ทรัพยากรที่น่าจะสามารถ
  • 3:46 - 3:48
    นำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ดีกว่า ?
  • 3:48 - 3:50
    แน่นอน คงทำนองนั้น
  • 3:50 - 3:52
    แต่ผลประโยชน์กำไรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
    ของโครงการสำรวจอวกาศ
  • 3:52 - 3:55
    ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้อง
    กับประเทศหนึ่งเอาชนะอีกประเทศหนี่งเลย
  • 3:55 - 3:57
    ระหว่างการแข่งขันสำรวจอวกาศ
  • 3:57 - 3:59
    เงินทุนสำหรับการศึกษาวิจัย โดยทั่วไป
  • 3:59 - 4:01
    เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • 4:01 - 4:02
    นำไปสู่ความก้าวหน้ามากมาย
  • 4:02 - 4:04
    ที่มิฉะนั้นอาจไม่เกิดขึ้นเลย
  • 4:04 - 4:07
    เทคโนโลยีจำนวนมากของนาซา ที่พัฒนาสำหรับอวกาศ
  • 4:07 - 4:09
    มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ในกิจการพลเรือนในปัจจุบัน
  • 4:09 - 4:11
    จากที่นอนทำด้วยเมมโมรี่โฟม
  • 4:11 - 4:13
    อาหารแช่แข็งอบแห้ง (freeze-dried food)
  • 4:13 - 4:15
    ไปจนถึงหลอดไดโอดเปล่งแสง (LEDs)
    ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
  • 4:15 - 4:18
    และแน่นอน ดาวเทียมต่างๆ ที่เราพึ่งพาใช้งาน
  • 4:18 - 4:20
    สำหรับระบบ GPS และสัญญานโทรศัพท์มือถือของเรา
  • 4:20 - 4:21
    ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
  • 4:21 - 4:23
    หากไม่มีโครงการสำรวจอวกาศ
  • 4:23 - 4:24
    ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า
  • 4:24 - 4:27
    ผลตอบแทนของการวิจัยวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้า
  • 4:27 - 4:28
    มักจะมีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล
  • 4:28 - 4:31
    เกินกว่าที่ผู้มีส่วนร่วมในการทำมันให้สัมฤทธิ์ผล
    จะสามารถจินตนาการได้
Title:
ใครชนะการแข่งขันสำรวจอวกาศ ? - เจฟ สเตียส์ (Jeff Steers)
Speaker:
Jeff Steers
Description:

ชมบทเรียนทั้งหมดที่ http://ed.ted.com/lessons/what-was-the-point-of-the-space-race-jeff-steers
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1957 สหภาพโซเวียตได้ปล่อยดาวเทียมสปุตนิก และถือเป็นการเปิดฉากการแข่งขันสำรวจอวกาศในระดับนานาชาติ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างรีบเร่งประกาศความเป็นเจ้าอวกาศเป็นเวลา 18 ปี จนกระทั่งประเทศทั้งสองได้ตกลงเพิ่มความร่วมมือกันมากขึ้น ผู้ชนะที่แท้จริงนะหรือ? วิทยาศาสตร์นั่นเอง เจฟ สเตียส์อธิบายประวัติศาสตร์ และผลประโยชน์ที่ได้จากการแข่งขันสำรวจอวกาศ
บทเรียนโดยเจฟ สเตียส์ ภาพเคลื่อนไหวโดย The Moving Company Animation Studio

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:47
TED Translators admin edited Thai subtitles for Who won the space race?
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Who won the space race?
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Who won the space race?
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Who won the space race?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Who won the space race?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Who won the space race?
Arichai Tipayaratkul edited Thai subtitles for Who won the space race?
Arichai Tipayaratkul edited Thai subtitles for Who won the space race?
Show all
  • Sweet translation, sure it is! Love reviewing yours. I have changed a few. Please let me know what do you think. I'm more than welcome to polish it to the best :)
    Thanks for translating. I would love to review yours again for certain. Please come and review mines if you fancy; It would really be my pleasure :)

Thai subtitles

Revisions Compare revisions