-
สวัสดีค่ะ นมัสเต
-
ผ้าป่าน สิริมา ค่ะ
-
ก็ยินดีต้อนรับนะคะ เข้าสู่ Self Quarantour นะคะ
-
จากพวกเรา Ground Control
-
ก็เจอกันแบบนี้นะคะ ทุกวันพฤหัส 1 ทุ่มครึ่ง
-
แต่ว่าวันนี้มีความพิเศษมาก ๆ เลยนะคะ
-
เพราะว่าเราไม่ได้ Live ผ่านช่องทาง
ของ Facebook ของ Ground Control
-
หรือว่า Point of View อย่างเดียว
-
แต่ว่าจริง ๆ แล้วจะ Live
-
ผ่าน Youtube ของช่อง Point of View ด้วย
-
ก็ขอสวัสดีทักทายแฟนคลับของน้องวิวทุกคนนะคะ
-
แล้วก็อย่าเพิ่งตกใจที่เจอหน้าป่าน
-
เดี๋ยวป่านอธิบายสั้น ๆ
-
แล้วเดี๋ยวป่านจะส่งต่อให้กับวิวได้ขึ้นมาคุยกับทุกคน
-
เร็ว ๆ นี้เลยค่ะ
-
ก็อย่างที่รู้กันนะคะว่า ครั้งนี้เป็น EP.6 แล้ว
-
แล้วก็ถ้าเกิดว่าใครติดตามทาง Ground Control
-
จะเห็นว่าไทม์ไลน์เราเต็มไปด้วยเรื่องราว
-
หรือว่าบรรยากาศของความตะวันออกนะคะ
-
ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ EP.1-5 เนี่ย เราอยู่ฝั่งตะวันตกกันมาตลอดเลย
-
ทั้งไปสเปน ทั้งไปมิวเซียมที่ฝรั่งเศส
-
ไปแวร์ซายส์ ไปวาติกัน นะคะ
-
ตอนนี้ค่ะ กลับมาอยู่ใกล้บ้านกันบ้างนะคะ
-
เพราะว่าจริง ๆ แล้ว เรียกว่า ความสวยงามของความตะวันออก
-
เรื่องของอารยธรรม วัฒนธรรม ประเพณี
-
จริง ๆ ของอินเดียในวันนี้ที่เราจะไปเนี่ย
-
มีอิทธิพลกับประเทศไทยของเรามาก
-
รวมถึงมีอิทธิพลต่อ...
-
จริง ๆ ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดเลยนะคะ
-
แต่ว่าเราไม่ค่อยได้รู้จักเลย
-
วันนี้ก็เลยได้โอกาสดี ที่ได้น้องวิวมาเป็นไกด์ให้กับพวกเรานะคะ
-
จริง ๆ จะบอกว่าป่านเนี่ยก็เคยไปอินเดียมาสองรอบแล้ว
-
ครั้งแรกนี่ไปที่ตอนเหนือ ที่ลาดักนะคะ
-
ซึ่งก็เรียกว่าไป...
-
ไปอินเดียก็น่าจะไม่ค่อยได้
-
เพราะว่าไม่ค่อยได้บรรยากาศ
ของอินเดียเท่าไหร่ เพราะมันมีความแบบ...
-
มันมีความเหมือนเป็นเมืองท่องเที่ยวมาก ๆ
-
ได้บรรยากาศของการไปดาวอังคารมากกว่านะคะ
-
เพราะว่า บรรยากาศมันมหัศจรรย์มาก ๆ
-
อันนั้นคือตอนเหนือของอินเดียเนอะ
-
แต่ว่าอีกครั้งนึงเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
-
ก็มีโอกาสไปอินเดียอีกครั้งนึงนะคะ
-
ซึ่งก็ไปที่นิวเดลีเลย แล้วก็เดินทางขึ้นเหนือนิดนึง
-
แล้วก็ไปเมืองที่เราจะไปกันในวันนี้ด้วย
-
นั่นก็คือ อัครา นั่นเองนะคะ
-
แต่ว่าความรู้น้อยมากค่ะ
-
วันนี้ก็เลยเดี๋ยวจะให้วิวมาพาทัวร์อีกทีนึงว่า
-
ที่ป่านไปมาเนี่ย จริง ๆ แล้วอะ
-
เรื่องราวที่เกิดขึ้นน่ะเป็นยังไงบ้างนะคะ
-
ก็ ยังไงเดี๋ยวป่านจะชวนวิวขึ้นมาเลย
-
เพื่อจะได้ให้แฟน ๆ ของน้องวิวไม่งงไปมากกว่านี้นะคะ
-
ก็ยินดีต้อนรับน้องวิวมาเลยค่ะ
-
วิว: สวัสดีค่ะ สวัสดีทุกคนนะคะ ทั้งที่เพจ
ป่าน: สวัสดีค่ะ
-
วิว: Ground Control
แล้วก็ที่ช่องทางต่าง ๆ ของ Point of View ด้วยค่ะ
-
ป่าน: ได้ งั้นให้น้องวิวทักทายแฟนคลับก่อนดีกว่า
-
เพราะเข้าใจว่าทุกคนน่าจะงงแน่เลยที่เห็นหน้าป่าน
-
วิว: ค่ะ ก็ สวัสดีทุกคนนะคะจากเพจ Point of View
-
แล้วก็จาก YouTube Point of View
-
กลับมาพบกับวิวเช่นเคยค่ะ
-
แต่ว่าวันนี้อาจจะเป็น EP. พิเศษนิดนึง
-
ส่วนหลาย ๆ ท่านในเพจ Ground Control นะคะ
-
ก็ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
-
วันนี้วิวก็มาเป็นไกด์ของทุกคนในวันนี้ค่ะ
-
เพื่อที่จะพาเที่ยวเมืองอัครานั่นเองนะคะ
-
ป่าน: ค่ะ วิวขา งั้นเริ่มต้นเลยค่ะว่า ทำไม...
-
คือจริง ๆ แล้วอะ ตั้งแต่ EP.1 จนถึง EP.5
ที่ผ่านมาเลยของ Ground Control
-
ที่เราไปเที่ยวกันมากับ Self Quarantour เนอะ
-
เราก็จะอยู่ฝั่งโซนตะวันตกกันมาตลอด
-
แต่พอเป็นวิวปุ๊บ เฮ้ย เป็นตะวันออกเฉยเลย
-
แล้วก็เป็นอินเดียด้วย
-
ทำไมเราถึงเลือกที่จะมาอินเดียอะคะ
-
วิว: ส่วนตัววิวเนี่ยค่ะ
-
ต้องบอกว่าจริง ๆ วิวไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเดียหรืออะไรนะ
-
อาจจะแตกต่างจาก EP. ก่อน ๆ นิดนึง
-
ที่เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ
-
แต่ว่าวิวเนี่ยเป็นคนที่สนุกกับการหาความรู้ใหม่ ๆ ค่ะ
-
เพราะว่าเวลารู้อะไรนู่นนี่นั่นมาก็จะแบบตื่นเต้น
-
แล้วก็ชอบเล่าให้คนอื่นฟัง
-
ดังนั้น ทุกครั้งเวลาวิวไปเที่ยวไหนเนี่ย
-
วิวก็จะมีความชอบหาข้อมูลล่วงหน้า
-
ว่าแบบว่า เอ้ย สิ่งที่ฉันจะไปเจอเนี่ยมันเป็นยังไง
-
มันเป็นอะไรยังไง
-
แล้วก็ชอบเอามาเล่าให้เพื่อน ๆ ที่ไปเที่ยวด้วยกันฟัง
-
ดังนั้น concept ของ Self Quarantour
-
ก็ค่อนข้างจะเป็น concept เหมือนกับที่วิวไปเที่ยวปกติอยู่แล้ว
-
แต่ถามว่าทำไมถึงเลือกอินเดีย ทำไมถึงมาทางตะวันออก
-
ก็เพราะว่า
-
ปกติวิวเป็นคนค่อนข้างจะสนใจอารยธรรมตะวันออกค่ะ
-
คือจริง ๆ ก็สนใจอารยธรรมทั่วโลกแหละ
-
แต่โฟกัสไปที่ตะวันออกเป็นพิเศษ
-
เพราะว่า อารยธรรมใหญ่ ๆ ของตะวันออกเนี่ยนะ
-
มันก็มีจีนกับอินเดียใช่ไหมคะ
-
ซึ่งทั้งสองอันนี้ก็ส่งผลต่อไทยของเราทั้งคู่เลย
-
ดังนั้น ก็เลยจะค่อนข้างไปสนใจสองประเทศนี้เป็นพิเศษ
-
แล้วทีนี้ตอนที่พี่ผ้าป่านติดต่อมา
-
ตอนที่เพจ Ground Control ติดต่อมาเนอะ
-
ป่าน: ค่ะ
วิว: ก็ลังเลกันมากว่าจะจีนหรือจะอินเดีย
-
ป่าน: ไปที่ไหนดี
วิว: จะจีนหรืออินเดียดี
-
ใช่ สุดท้าย หวยก็มาตกที่อินเดีย
-
เพราะว่า วิวเพิ่งจะกลับไปดูหนังเรื่องนึงมาค่ะ
-
หลังจากที่ไม่ได้ดูมานานแล้ว
-
นั่นก็คือหนังเรื่อง Jodha Akbar นั่นเอง
-
ซึ่งเป็นหนัง Bollywood และพระเอกหล่อมากนะคะ
-
ดังนั้น เราก็เลยเลือกหัวข้อนี้ด้วยความแบบ
-
พระเอกหล่อ แค่นี้เลย
-
ป่าน: เดี๋ยว ๆ พิธีกรภาคสนามของเราคริสซี่เนี่ย
-
ต้องยิงเข้ามาแล้วแหละว่า
-
หนังเรื่องนี้เนี่ยคือไปตามดูได้ที่ไหน
-
เพราะว่าวิวบอกแต่แรกเลยว่าพระเอกหล่อมาก
-
เดี๋ยวจะไปหาดูบ้าง
-
วิว: บอกเลย ค่ะ
-
ป่าน: แต่ว่าวันนี้วิวไม่ได้มาคนเดียวนะคะ
-
เพราะว่า คือวิวเนี่ยจะไปเป็นไกด์
-
แล้วก็จะนำทัวร์พวกเราไปดูอัครา อินเดีย ว่ามีอะไรบ้างนะคะ
-
แต่ว่าเราก็มีคณะลูกทัวร์ด้วย
-
ที่จะมาทัวร์ไปกับพวกเราในวันนี้นะคะ
-
เพราะฉะนั้นเดี๋ยวป่านขอต้อนรับ
ลูกทัวร์ของเราอีกสองท่านเลยค่ะ
-
โจ้/กัน: สวัสดีครับ
ป่าน: สวัสดีค่า
-
ป่าน/วิว: สวัสดีค่ะ
-
ป่าน: พี่โจ้บองโก้นะคะ และก็กันนะคะ
-
เดี๋ยวป่านให้แนะนำตัวสั้น ๆ หน่อยดีกว่าว่า
-
ชื่ออะไร ทำอะไรอยู่บ้าง
-
แล้วโดนใครหลอกมาถึงมาเที่ยวอินเดียกับพวกเราคะ
-
โจ้: ฮ่า ๆ โอเค เริ่มที่พี่ก่อนเนอะ
-
ชื่อโจ้บองโก้ครับ นทธัญ แสงไชย
-
ตอนนี้ก็ทำ podcast อยู่กับ Salmon Podcast ครับผม
-
ป่าน: โอเคค่ะ โดนหลอกมา...
โจ้: โดนป่านและก็วิวหลอกมา
-
โดนป่านและวิวหลอกมา
-
ป่าน: โดนทั้งสองคนหลอกมา
-
เฮ้ย สนุก ๆ ๆ วันนี้สนุกแน่นอน
-
ค่ะ กันค่ะ
-
กัน: ครับ หวัดดีครับ กันครับ
-
เป็นคนเขียนบทอยู่ที่ GDH ครับ
-
ก็ โดนพี่คริสซี่ครับ พี่คริสซี่ Ground Control นะฮะ ก็...
-
โจ้: หลอกมา
กัน: ไม่ได้หลอกหรอก
-
จริง ๆ ก็เป็นเชิงแบบ เออ เห็นเขาเริ่มทำ Ground Control
-
แล้วก็รู้สึกว่า น่าสนใจ แล้วก็
-
จริง ๆ อยากมา เพราะว่า โห โควิด ไม่ได้ไปเที่ยวไหนเลย
-
แล้วก็รู้สึก...
-
รู้สึกว่าอินเดียก็เป็นประเทศที่เคยเป็นหนึ่งในที่หมาย
-
ที่รู้สึกว่าอยากไป อะไรอย่างนี้ครับ
-
พอมีหัวข้อนี้มาก็เลยรู้สึก อือ อยากไปเที่ยว
-
ป่าน: แล้วกันเคยไปอินเดียไหมคะ
-
กัน: ไม่เคย ยังไม่เคย
-
คือ ตอนแรกเนี่ย จำได้ว่าดู ดูหนัง แต่ดูเรื่อง pk
-
แล้วก็รู้สึกแบบ โห มัน...
-
คือเรามีภาพอินเดียในแบบที่เราเคยรู้สึกก่อนหน้านี้
-
แล้วตอนเราดู pk เราก็ยัง...
-
อ๋อ เราดู Slumdog Millionaire มาก่อน
-
แล้วเราก็เห็นภาพอินเดียเป็นแบบนึง
-
แล้วก็พอเราดู pk ไอ้ภาพเดิมของอินเดียน่ะก็ยังมีอยู่ในตัวเรา
-
แต่เรารู้สึกอยากไปมากขึ้น อะไรอย่างนี้ฮะ
-
ก็เลยมีช่วงนึงเลยที่รู้สึกแบบ
-
โห อินดี้ ไว้ผมยาวเลยนะ
-
อยากเป็นแบบ อยากไปรวบผมถ่ายรูป
เป็นโยคีอยู่ในอินเดียอะไรอย่างนี้ เออ
-
แต่ว่าสุดท้ายก็ยังไม่มีโอกาสได้ไป ครับ
-
ป่าน: หืม แต่วันนี้จะมีโอกาสได้ทดลองไปกันก่อน
-
แล้วก็ได้ไปแบบว่าเข้มข้นด้วย
-
คือ ได้รู้ประวัติศาสตร์อินเดียผ่านเรื่องเล่าของน้องวิวด้วยนะคะ
-
แล้วพี่โจ้เคยไปอินเดียมาบ้างป้ะเอ่ย
-
โจ้: เคยไปมารอบนึงครับ เป็นคนละเวย์กับทางนี้เลย
-
คราวที่ไปเนี่ย เป็นทริปสังเวชนียสถาน
-
ป่าน: อ๋อ
-
โจ้: อ้า ก็จะไปเนี่ย ไปพุทธคยา สารนาถ
-
ลุมพินี ที่เนปาล แล้วก็มาจบที่กุสินารา
-
แล้วก็ได้ไปเมืองพาราณสี อะไรอย่างนี้
-
เทือก ๆ นั้น แต่ก็ไปครบ แต่ว่าไปไม่ได้หลายวันมากนักครับ
-
ป่าน: อือ แสดงว่ายังขาดอัคราอยู่
-
โจ้: ใช่ อัครายังไม่เคยไป
-
ป่าน: วันนี้ได้ไป วันนี้ได้ไปเที่ยวด้วยกัน
-
ให้วิวเล่าดีกว่าว่า ทริปอินเดียของวิวเป็นยังไงบ้าง ที่ผ่านมา
-
วิว: หมายถึงทริปในวันนี้หรือว่าทริปที่ผ่าน ๆ มาคะ
-
ป่าน: ทริปที่ผ่าน ๆ มา เพราะวิวเคยไปอินเดียมาแล้วนี่ ใช่ป้ะ
-
วิว: ใช่ วิวเคยไปอินเดียมาทั้งหมดสองรอบค่ะ
-
แต่ว่าเหมือนไปมารอบเดียว
-
รอบที่ผ่านมาที่เพิ่งไปมาเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเนี่ย
-
ก็ไปตามรอยพุทธศาสนา
-
แต่ว่าอาจจะเป็นคนละ route กับพี่โจ้
-
วิวจะไปพวกถ้ำอชันตา เอลโลลา อะไรประมาณนี้
-
แล้วก็ไปทางมุมไบ
-
ก็จะเป็นพวกอารยธรรมฮินดูนิด ๆ
-
แล้วก็เน้นไปที่พุทธเป็นหลักค่ะ
-
แต่ว่า แล้วก็อีกทริปนึงที่วิวเคยไป
-
วิวไปแค่ประชุม แล้วก็น่าเสียดายมาก
-
ไปห่างจากทัชมาฮาลแค่แบบ 30 นาที
-
แต่วิวไม่ได้เข้าไปที่ทัชมาฮาลค่ะ
-
ด้วยความที่ ตารางการทำงานมันไม่ได้
-
ก็เลยรู้สึกเสียใจมาถึงทุกวันนี้ ก็จะ นี่ล่ะค่ะ เสียใจ
-
ป่าน: แต่ว่าไม่เป็นไร เพราะว่าวันนี้นะคะ
-
เราก็จะได้ไปด้วยถูกไหม
-
ป่าน: เราจะได้ไปทัชมาฮาลด้วย
วิว: ใช่
-
ป่าน: เราก็ไปแบบมีเรื่องเล่าที่จะเล่าให้กับทุกคนฟังนะคะ
-
ซึ่งถ้าเกิดว่าตอนนี้ใครดูอยู่
-
ไม่ว่าอยู่ในทางช่องทางไหนนะคะ
-
ไม่ว่าจะเพจของน้องวิว Point of View นะคะ
-
หรือว่าจะเป็นเพจของ Ground Control
-
ก็อยากจะขอให้ช่วยกดไลก์
-
แล้วก็กดแชร์ให้เพื่อน ๆ ได้ดูร่วมกันนะคะ
-
เพราะตอนนี้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คิดถึงการไปเที่ยว
-
ยังไม่ได้ไปเที่ยวกันเลย
-
ก็เที่ยวไปกับพวกเราก่อนกับ Self Quarantour นะคะ
-
วันนี้กำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว
-
เดี๋ยวป่านจะส่งต่อให้กับน้องวิว
-
แล้วเราจะเดินทางผ่าน Google Art & Culture นะคะ
-
แล้วเราก็จะวาร์ปไปที่อินเดียกันอย่างรวดเร็ว
-
แบบที่ไม่ต้องเสี่ยงโควิด นั่งเครื่องบินกันอีกต่อไปนะคะ
-
งั้นเดี๋ยวป่านยกให้วิวเลยค่ะ
-
ลุยเลยค้าบ โอเคค่ะ
-
วิว: โอเค สวัสดีค่ะทุกคน เราเริ่มกันเลย
-
จะสวัสดีอีกรอบทำไมนะคะ
-
วันนี้ตื่นเต้นนิดนึง ไม่เคย Live แบบว่า ขนาดนี้นะ
-
ก็วันนี้เราจะไปเที่ยวกันที่เมืองอัครานะคะ
-
เป็นเมืองที่ค่อนข้างสำคัญในอินเดียนิดนึง
-
เพราะว่าเป็นเมืองที่มี UNESCO World Heritage นะคะ
-
อยู่ถึง 3 แห่งด้วยกันในเมืองเดียวเลย
-
เรียกได้ว่า อัดแน่นจริง ๆ นะ
-
แต่ละที่เนี่ยก็ค่อนข้างจะยิ่งใหญ่อลังการ
-
รวมถึงหนึ่งในนั้นเนี่ยก็คือ ทัชมาฮาล
-
ที่ทุกคนน่าจะรู้จักในฐานะภาพจำของอินเดีย
-
แล้วก็ถือว่าเป็นหนึ่งใน 7 Wonders เนอะ
-
เป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่
-
เราต้องไปสักครั้งก่อนตาย
-
ดังนั้น วันนี้เราก็จะไปดูสิ่งนี้พร้อม ๆ กันค่ะ
-
แต่ว่า ทีนี้ต้องบอกก่อนว่าเมืองอัคราที่เราจะไปเนี่ย
-
มันจะไปเน้นเป็นพิเศษด้านพวกอารยธรรมอิสลาม
-
หรือว่าพวกศิลปะอิสลามเนอะ
-
จากที่เมื่อกี้เราพูด ๆ กันมาทั้งทริปของพี่โจ้ ทั้งทริปของวิวเนี่ย
-
ก็จะเป็น ค่อนข้างจะไปทาง เขาเรียกว่าอะไรอะ แขก
-
วิว: คือเวลาเราพูดถึงแขกอะ
โจ้: พุทธ พราหมณ์
-
วิว: อา เวลาเราพูดถึงแขก
-
คนปกติที่ไม่ได้คุ้นเคยกับแขกขนาดนั้น
-
ก็จะนึกว่าแขกคือแขก
-
แต่จะไม่ได้รู้ว่าจริง ๆ แล้วแขกเนี่ย
-
เป็นกลุ่มคนที่ค่อนข้างจะหลากหลาย
-
มันจะมีทั้งแขกที่เป็นฮินดู
-
แขกที่เป็นอิสลาม แขกที่เป็นพุทธต่าง ๆ
-
แต่ว่าวันนี้เราจะไปเน้นที่อิสลามเป็นหลักนะคะ
-
อะ อาจจะไม่ได้ปูพื้นเยอะมาก
-
เพราะว่ามันมีเรื่องที่เราต้องปูเยอะแยะมากมายไปกว่านี้เนอะ
-
เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าอัคราของเราเนี่ย
-
อยู่ที่ไหน อะไรยังไง
-
เมืองที่เราจะไปเนี่ยนะคะ อยู่ที่บริเวณที่ราบภาคเหนือค่ะ
-
อยู่ใต้เมืองนิวเดลีซึ่งเป็นเมืองหลวงเนี่ยนิดเดียวเอง
-
แล้วก็ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมุนานะคะ
-
ซึ่งอันนี้เป็นเกร็ดเล็ก ๆ สนุก ๆ แอบฝากไว้นิดนึงว่า
-
ชาวอินเดียเนี่ยเป็นประเทศที่เค้าจะชอบ
-
แต่งตั้งให้ทุกอย่างในโลกนี้เป็นเทพ
-
อะไรก็ได้ที่มีแบบว่าอยู่ในพื้นพิภพนี้
-
เขาจะแบบ อันนี้คือเทพแห่งต้นไม้
-
อันนี้คือเทพแห่งแม่น้ำ นู่นนี่นั่น
-
แล้วมันไม่ใช่แค่เทพแบบว่าอันนี้คือเทพแห่งแม่น้ำนะ
-
แต่ว่าแม่น้ำแต่ละสายก็จะโดนบุคลาธิษฐาน
-
หรือว่า personification ขึ้นมาเป็นคนคนนึงเหมือนกัน
-
ยกตัวอย่างเช่นที่เรารู้จักกันดี
-
แม่น้ำคงคา ก็จะเป็น คงคาเทพี ใช่ไหมคะ
-
ส่วนแม่น้ำยมุนาซึ่งเมืองอัคราตั้งอยู่เนี่ย
-
ก็เป็นเทพีเหมือนกัน แต่ว่าเป็นเทพีชื่อว่า ยมุนาเทพี ค่ะ
-
ความน่ารักของมันก็คือ
-
แม่น้ำคงคาเนี่ย เป็นแม่น้ำที่ไหลเร็วแล้วก็แรง
-
แต่ว่าแม่น้ำยมุนาเนี่ยจะเป็นแม่น้ำที่แบบไหลเอื่อย ๆ ค่อย ๆ
-
เรียกได้ว่าเป็นแบบ แม่น้ำสโลว์ไลฟ์อะ
-
ดังนั้นนะคะ แม่น้ำคงคาเนี่ย
-
คงคาเทพีเนี่ยก็เลยจะเป็นเทพีที่ขี่ตัวที่เรียกว่ามกร
-
มกรเป็นสัตว์ในเทพนิยายแต่ว่าอารมณ์คล้าย ๆ
-
เดาง่าย ๆ มองให้มันเหมือนจระเข้อะค่ะ มันจะว่ายน้ำเร็ว
-
ดังนั้น แม่น้ำคงคาก็ไหลเร็ว
-
ในขณะที่แม่น้ำยมุนาของเราเนี่ย ไหลช้า เอื่อย ๆ
-
สโลว์ไลฟ์ ใช่ไหม สวยงาม
-
เป็น background ของทัชมาฮาล
-
ยมุนาเทพี ก็เลยขี่สิ่งที่...
-
ยมุนาเทพีก็เลยขี่เต่าค่ะ
-
ป่าน: ขี่เต่า
วิว: ยมุนาเทพีขี่เต่า
-
ป่าน: มีความช้า ไหลเอื่อย ๆ
-
วิว: ใช่ อันนี้ก็เป็น เกร็ดเล็ก ๆ
-
ส่วนใครที่ยังนึกไม่ออกว่าแม่น้ำยมุนาสำคัญขนาดไหน
-
ยมุนานี่เป็นหนึ่งใน 5 แม่น้ำสำคัญของอินเดีย
-
ที่เป็นที่มาของสำนวน ชักแม่น้ำทั้งห้า ค่ะ
-
วิว: เวลาเราพูดว่า...
กัน: เหรอฮะ อ๋อ มันมาจากอินเดียเหรอครับ
-
วิว: ใช่ค่ะ เวลาเราพูดถึงชักแม่น้ำ...
ป่าน: มัน มันมาจากอินเดียเนอะ
-
วิว: มันมาจากเรื่องพระเวสสันดรนะคะ
-
ดังนั้นเรื่องพระเวสสันดรมันเกิดขึ้นในอินเดีย
-
มันก็จะมีแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู แล้วก็มหิ
-
ซึ่งอัคราเนี่ยก็ตั้งอยู่หนึ่งในแม่น้ำเหล่านั้น
-
ก็คือแม่น้ำยมุนานั่นเอง
-
แล้วก็เป็นเมืองที่แบบ รุ่งเรืองมากด้านศิลปะมุสลิมนะคะ
-
อะ จบไปก้อนที่หนึ่ง
-
ที่เหมือนเป็นการปูความรู้คร่าว ๆ ก่อน ว่า
-
อัคราอยู่ที่ไหน อะไรยังไง
-
แต่ว่า ด้วยความอินเดียนะ
-
อันนี้แอบออกตัวก่อนว่าเราจะปูพื้นฐานกันค่อนข้างเยอะ
-
เพราะว่าเราพูดถึงยุโรปเนี่ย เราจะพอนึกภาพออกว่า
-
ยุคกลางอยู่ตรงไหน ยุคปฏิวัติวัฒนธรรมอยู่ตรงไหน
-
แต่พอเราพูดถึงอินเดีย ทุกคนคือ
-
วิว: อินเดีย
ป่าน: งง ใช่ / กัน: blank
-
ป่าน: คือจะบอกว่า แบบว่าความที่เราอะ
-
ที่เราเปิดไปคือเรารู้สึกว่า เราอยู่ใกล้เขามาก
-
เราอยู่ใกล้กว่าชาวตะวันตกอีกอะ
-
แต่ว่า เราความรู้น้อยมาก
-
การ reference ในหัวมันค่อนข้างน้อยมากเหมือนกันเนอะ
-
กัน: อา ใช่
-
ป่าน: วันนี้น่าจะต้องให้วิวช่วยปูพื้นฐานหน่อย
-
วิว: อะ เราจะมา walk through ประวัติศาสตร์อินเดีย 5,000 ปี
-
อย่างรวดเร็วนะคะ ภายใน...
-
3 นาทีละกันอะ
-
วิว: นะคะ ก็คือ...
โจ้: [inaudible] 3 นาทีรึเปล่า
-
วิว: ใช่ค่ะ เราจะพูดอย่างรวดเร็วนะคะ
ป่าน: จับเวลา
-
วิว: จับเวลาค่ะ
-
อินเดียเนี่ยนะคะ มันเริ่มมาตั้งแต่ยุคโบราณใช่ไหม
-
เป็นอารยธรรมแรก ๆ ของโลก
-
ซึ่งสมัยนั้นก็เป็นช่วงที่...เป็นแขกขาวแขกดำอะไรช่างมันไปค่ะ
-
เอาเป็นว่าสุดท้ายแล้ว
อินเดียเนี่ยเป็นประเทศของพวกชาวอารยัน
-
ก็คือพวกแขกขาวนั่นเองนะคะ
-
ทีนี้ ในช่วงระยะเวลาของอารยันซึ่งยาวนานมากเนี่ย
-
ก็จะเป็นช่วงเวลาที่เป็นการแข่งอำนาจกันไปมา ๆ
-
ระหว่าง แขกที่เป็นคนฮินดู กับแขกที่เป็นพุทธ
-
ถ้าช่วงไหนกษัตริย์นับถือพุทธ
-
ช่วงนั้นพุทธก็จะยิ่งใหญ่ในแผ่นดิน
-
ช่วงไหนที่กษัตริย์เป็นฮินดู ฮินดูก็จะยิ่งใหญ่ในแผ่นดิน
-
มันก็ต่อสู้ ๆ กันแบบนี้มาเรื่อย ๆ ค่ะ
-
วนไปมา ๆ ตั้งแต่ยุคมหากาพย์ ยุคเมารยะ ยุคคุปตะ นะคะ
-
จนกระทั่ง ถึงช่วงยุคกลางของอินเดียค่ะ
-
อย่างรวดเร็ว มาจนถึงช่วงเวลาที่เราจะพูดถึงนะคะ
-
ก็คือช่วงที่มีชาวต่างชาติเนี่ยเข้ามารุกรานอินเดีย
-
ซึ่งชาวต่างชาติกลุ่มนี้ ก็คือชาวมุสลิมนั่นเอง
-
แล้วก็ไม่ได้มากลุ่มเดียวนะคะ
-
แต่ว่ามาหลายกลุ่มเหมือนกันเนอะ
-
ต้องบอกว่า...
-
แล้วพอหลังจากนี้ก็จะเป็นยุคของการล่าอาณานิคมละ
-
ก็จะเป็นอังกฤษเข้ามา
-
วิว: แล้วก็กลายเป็นยุคปัจจุบันน่ะนะ
โจ้: อังกฤษ
-
วิว: แต่เรา... ก็คือค่อนข้างจะใหม่
-
ยุคอิสลามนี่ค่อนข้างจะใหม่เลย
-
ที่เรากำลังจะพูดถึงกันเนี่ย
-
ซึ่งในยุคนี้ต้องบอกว่าพออิสลามเข้ามาในอินเดียเนี่ย ก็บูมมาก
-
คือมาใหม่แต่ว่ามาแรงมาก ๆ ค่ะ เพราะว่า...
-
คือจักรวรรดิอิสลามเนี่ย
-
เขาเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่สุด ๆ เลย
-
เมื่อประมาณศตวรรษที่ 7 ใช่ไหม
-
เกิดแถว ๆ ซาอุดิอาระเบียใช่ไหมคะ
-
เสร็จแล้วก็แผ่ออกมาแบบ แผ่บึ้มเลย
-
เพราะว่าอิสลามเนี่ย เขาไม่ได้มาในรูปแบบศาสนาอย่างเดียว
-
แต่ว่าเวลาที่เขาเผยแผ่ไปเนี่ย
-
เขามาทั้งศาสนาแล้วก็การใช้ชีวิตใช่ป้ะ
-
คือ คือเวลาเราใช้...
-
สมมติเราบอกว่าเรานับถือศาสนาพุทธ
-
เราก็ ศาสนาเราเป็นพุทธ แต่ว่าเวลาเราไปใช้ชีวิต
-
ไปค้าขาย ไปทำอะไร เราก็ไม่ได้เกี่ยวกับศาสนา
-
เราก็ทำตามหลักเศรษฐศาสตร์ ทำตามอะไรไป
-
วิว: ในขณะที่อิสลาม...
โจ้: เหมือนศาสนาไม่ได้อยู่ในชีวิตเราขนาดนั้น
-
โจ้: ไม่เหมือนอิสลามที่แบบ มันจะมีเรื่องการเงิน
วิว: ใช่
-
โจ้: เรื่องนั่นนี่ ที่มันมาเกี่ยวด้วยใช่ไหม
-
วิว: ใช่ คือทางโลกกับทางธรรม เราแยกจากกันอะ
-
เราจะชอบพูดว่า เราต้องแยกทางโลกกับทางธรรมออกจากกัน
-
ในขณะที่อิสลามไม่ใช่
-
คุณไปฝากเงิน คุณก็ต้องไปฝากเงินธนาคารอิสลาม
-
เพราะว่ามันมีกฎเรื่องดอกเบี้ยอยู่ในคัมภีร์ศาสนา
-
เห็นป้ะ การเงินกับศาสนามันไม่ควรจะเกี่ยวกันเลย
-
วิว: แต่ว่าของอิสลามมันเกี่ยว
ป่าน: มันอยู่ด้วยกัน
-
วิว: รวมไปถึงการใช้ชีวิต ความเชื่อ การแต่งงาน
-
เพราะฉะนั้น ใครที่เป็นอิสลามคุณต้องไปแบบ
-
สุดลิ่มทิ่มประตูอะ
-
ป่าน: หรือทั้งหมดต้องเป็นหมดเลย
-
วิว: คุณจะไม่เหมือนชาวพุทธที่แบบว่า
-
อ๋อ เป็นพุทธ แต่ไม่เข้าวัด
-
ไม่ได้ อิสลามก็คือ ฉันเป็นอิสลาม ฉันไปละหมาด
-
ฉันไป...ตลอดเวลา ทุกอย่างจะดูอิสลาม
-
ดังนั้น พออิสลามเกิดขึ้นเนี่ย ก็เลยแผ่กระจายตัวค่อนข้างเร็วค่ะ
-
ทีนี้ มันก็มีการแผ่กระจายไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ
-
ขยายกว้างมาก เรียกได้ว่า
-
ช่วงนั้นน่ะ จักรวรรดิอิสลามขยายตัวไกล
-
ถึงขนาดที่มันขยายจากบริเวณซาอุดิอาระเบีย
-
ไปจนถึงบริเวณสเปนเลย
-
ดังนั้น จากเอเชียเนี่ยค่ะ ไปถึงสเปน
-
ซึ่งเป็นตอนสุดของยุโรปอะ มันค่อนข้างจะไกลเนอะ
-
ถ้าเราไปดูสเปนปัจจุบันเราก็จะเห็นอารยธรรมอิสลามซ่อนอยู่
-
แล้วก็ส่วนทางตะวันตก เอ้ย ส่วนทางตะวันออกเนี่ย
-
มันก็ไปถึงจีน เราจะไปเห็นราชวงศ์ของจีน
-
ราชวงศ์หยวนใช่ไหมที่เป็นชาวมองโกล
-
นั่นก็คือพวกอิสลามนั่นเอง
-
เรียกได้ว่า ใหญ่พอควรเลยนะคะ
-
ป่าน: ออกสองทางอย่างนี้เลยเนอะ ใช่ป้ะ
-
ป่าน: มีความขยายออกไป
วิว: ใช่ ออกทุกทาง
-
ซึ่งราชวงศ์หยวนก็จะเป็นพวกยุคเจงกิสข่าน
-
อะไรพวกนี้เนอะ ซึ่งเดี๋ยวเราจะพูดถึงทีหลังค่ะ
-
ทีนี้ ปัญหาของอินเดียก็คือ
-
คนที่เข้ามาในอินเดียเนี่ยค่อนข้างจะแปลก
-
ตอนที่เขาขยายไปที่อื่นเนี่ย
-
เขาขยายไปในรูปแบบของการใช้ชีวิต เผยแผ่ศาสนา
-
แต่กลุ่มคนที่แผ่กระจายอิสลามเข้ามาในอินเดียเนี่ย
-
มันคือ นักรบ
-
ไม่ได้หมายถึง มูลมานัส อย่าแซวเขา อย่าแซวเพื่อน
-
ป่าน: ไม่ ตอนแรกในใจอะ
-
ก็คือตอบขึ้นมาว่า "มูลมานัส" แต่ว่า เธอเล่นก่อนไงวิว
-
กัน: ตบเอง ๆ เล่นเอง
ป่าน: ...นักรบจริง ๆ เลยใช่ป้ะ
-
เป็นนักรบจริง ๆ
-
วิว: นักรบ แบบ warrior อะค่ะ เป็นนักรบ
-
ก็คือ มาผ่านการทหาร
-
ดังนั้น พอเวลาเข้ามามันก็จะรุนแรงนิดนึง
-
มีความแบบว่า เข้ามาแล้วก็
-
เฮ้ย ฉันไม่โอเค ศาสนาฉันเนี่ย บอกว่าไม่ให้มีรูปเคารพ
-
ไม่ให้มีการไหว้พระเจ้าองค์อื่น
-
ฉันต้องนับถือพระเจ้าองค์เดียว
-
เข้ามาถึงเจอฮินดูไหว้พระเจ้าอยู่ 33 ล้านพระองค์
-
มันก็ไม่ใช่ เขาก็จะมีความแบบว่า
-
เผาทำลายศาสนาอื่นนิดนึง ซึ่งไม่ผิดนะ
-
ไม่ได้เรียกว่าไม่ผิด เขาเรียกว่าอะไร
-
เป็นเรื่องปกติของการเผยแผ่ศาสนายุคนั้น
-
ความเชื่อ ทุกคนพยายามเผยแผ่ความเชื่อตัวเอง
-
ทุกคนเป็น ไม่ได้มีแค่อิสลาม
-
แต่ว่าวันนี้เราพูดถึงอิสลาม
-
เขาก็มีการแบบ เผาทำลายศาสนาอื่นมากมาย
-
ก็เลยทำให้ศาสนาอื่นของอินเดียเนี่ย
-
ลดอำนาจลงฮวบเลย อย่างแรกที่โดนหนักที่สุดก็คือ
-
อย่างแรกที่โดนหนักที่สุดเลยนะคะ ก็คือศาสนาพุทธนั่นเอง
-
เพราะว่าคนที่นับถือพุทธในอินเดีย ไม่ได้เยอะ
-
ดังนั้นเราก็จะเห็นว่าพออิสลามเข้ามา
-
ศาสนาพุทธหายไปเลยจ้า หายสนิท บาย ๆ
-
แม้ว่าศาสนาพุทธจะเป็นต้นกำเนิดอยู่ที่อินเดีย
-
แต่ว่าเวลาเราไปเที่ยวอินเดียเนี่ย
-
เราจะแทบไม่เห็นศาสนาพุทธเลย
-
นอกจากร่องรอยประวัติศาสตร์เก่า ๆ
-
กับวัดไทยที่พยายามจะไปตั้งตอนนี้ เนอะ
-
แล้วก็อีกอย่างนึงที่โดนหนัก ๆ ก็คือ พวกอิสลาม...
-
เอ้ย อีกอย่างที่โดนหนัก ๆ ก็คือพวกฮินดู
-
พวกเชน พวกซิกข์ ต่าง ๆ นะคะ
-
ก็จะโดนสิ่งหนึ่งเข้าไป ก็คือภาษีศาสนานั่นเอง
-
เขาพยายามจะควบคุมให้คนน่ะ เข้ามานับถืออิสลามมากที่สุด
-
ประมาณว่า เฮ้ย เธอไม่นับถืออิสลามเหรอ
-
ได้ นับถือศาสนาตัวเองเลย
-
แต่ว่าทุกครั้งที่เธอเข้าไปเทวาลัย ไปไหว้พระเจ้าของเธอเนี่ยนะ
-
จ่ายภาษีเพิ่มมา
-
วิว: ดังนั้น...
กัน: เอ๊ แต่... แต่แปลว่าตอนแรกที่บอกว่า
-
เขาเข้าไปอย่างบูมมากเลยอะ
-
หมายถึงว่าพอมุสลิมเข้าไปในอินเดีย แล้วมันบูมมากเนี่ย
-
แปลว่า ก็คือเข้าไปด้วยสงคราม
-
กัน: อย่างนั้นเลยใช่ไหมครับ
วิว: ใช่ค่ะ
-
วิว: มันบูมเพราะว่าสงครามนี่แหละ
-
คือเข้าไปแล้วก็เอามีดจ่อคอ แล้วก็บอกว่า
-
เปลี่ยนศาสนาซะ ไม่งั้นเรามีเรื่อง
-
ซึ่งผลเนี่ย มันทำให้เกิดสองอย่างขึ้นมาค่ะ
-
สาเหตุที่มันบูมเนี่ยนะ
-
กลุ่มคนแรก เรารู้ใช่ไหมว่าอินเดียมีวรรณะ
-
อินเดียมีวรรณะแบบว่า ต่าง ๆ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
-
มีวรรณะสูง วรรณะต่ำ
-
พอศาสนาอิสลามเข้าไป ผู้ปกครองกลายเป็นอิสลามเนี่ย
-
มันเกิดขึ้นสองอย่าง
-
อย่างแรกก็คือ พวกวรรณะต่ำก่อน
-
วรรณะที่ต่ำ ๆ ที่โดนกดขี่มาตลอดชีวิต ก็รู้สึกว่า
-
เฮ้ย ศาสนานี้มันเจ๋งมากเลยทุกคน
-
ศาสนานี้มันไม่มีวรรณะ ทุกคนเท่ากัน
-
ทุกคนเท่ากันหมดเลย ดังนั้นเราเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลามดีกว่า
-
ก็เลยเปลี่ยน เพื่อที่ว่าฉันจะได้หลุดจากวรรณะต่ำ
-
เพราะว่า ถ้าเป็นฮินดู
คุณเกิดมาเป็นวรรณะศูทร คุณก็ต้องเป็นศูทร
-
คุณเกิดมาเป็นจัณฑาล คุณเป็นจัณฑาลตลอดไป
-
ลูกหลานคุณก็เป็นอย่างนี้ตลอดไป ไม่มีทางเปลี่ยนได้
-
เปลี่ยนศาสนาง่ายกว่า นะคะ
-
เสร็จปุ๊บ
-
เสร็จปุ๊บ เอ่อ...
-
ถ้าเป็นวรรณะสูงเนี่ย ค่ะ ถ้าเป็นวรรณะสูงเกิดอะไรขึ้น
-
ถ้าเป็นวรรณะสูง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
-
คุณ คุณอยากเข้าใกล้ชิดผู้ปกครอง
-
คุณเป็นคนที่แบบ เป็นวรรณะสูง ฉันอยู่กับกษัตริย์มาทั้งชีวิต
-
ทำไมอยู่ดี ๆ กษัตริย์ถึงแบบว่า
-
เฮ้ย กษัตริย์ เขาเรียกว่าอะไรอะ
-
ทำไมอยู่ดี ๆ กษัตริย์เปลี่ยนเป็นอิสลาม
-
แล้วฉันจะไปสนิทกับกษัตริย์ยังไง เปลี่ยนศาสนาดีกว่า
-
ฉันจะได้ไปเข้าใกล้ศูนย์กลางการปกครองอีกรอบนึง
-
อะไรอย่างนี้
-
นอกจากนี้ก็ยังมีอีกอย่างนึงก็คือ
-
คนที่เป็นชนชั้นสูง มีความงกเล็ก ๆ
-
ก็คือ ถ้าสมมติว่าฉันยังเป็นศาสนาฮินดูอยู่
-
ฉันก็จะต้องเสียภาษีศาสนา
-
ฉันก็เปลี่ยนศาสนาเป็นมุสลิมสิ ฉันจะได้ไม่ต้องเสียด้วย
-
ดังนั้น ทั้งวรรณะสูงและวรรณะต่ำก็เลยมองเห็นว่า
-
เออ ฉันเปลี่ยนเป็นมุสลิมก็ดี ไม่เห็นมีอะไรเสียเลย
-
ก็เลยเปลี่ยน ฟึ่บ เลยจ้า
-
ป่าน: ก็ทำให้... ก็ทำให้เหมือนกับ เอ่อ ก็มีคนมุสลิมเยอะมากขึ้น
-
จริง ๆ คือเยอะขนาดไหนอะวิว
-
หมายถึงว่า พอถูกเปลี่ยนไปสักพักนึงแล้ว
-
ถ้าเกิดเทียบกับประชากรทั้งหมดอะ
-
วิว: ก็ถ้าสมมติว่าในตอนที่ ที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอะ
-
วิวไม่รู้ว่ามีเท่าไหร่ แต่มันเยอะมาก
-
แต่ว่าในจุดที่เปิดประเทศ ในตอนที่ ก่อนแยกประเทศอะค่ะ
-
เรารู้ใช่ไหมว่า อินเดียกับปากีสถานมีการแยกประเทศกัน
-
แล้วชาวมุสลิมจากอินเดียทั้งหมดก็ย้าย...
-
ไม่ใช่ทั้งหมดอะ แต่ส่วนใหญ่ก็ย้ายไปอยู่ปากีสถานเนอะ
-
ตอนที่ได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ
-
ตอนนั้นเนี่ยนะคะ มีชาวมุสลิม
อยู่ในอินเดียทั้งหมด 1 ใน 4 เลยค่ะ
-
จากเดิมที่เป็นฮินดูแบบเยอะมากเนี่ย กลายเป็น 1 ใน 4
-
ซึ่ง 1 ใน 4 ของอินเดียสมัยนั้นก็คือพันล้านอะ
-
ป่าน: พันล้าน!
-
วิว: ก็คือจากพันล้าน 1 ใน 4 ก็คือ 250 ล้าน
โจ้: โอ้โห
-
วิว: มันก็เรียกว่าบูมมากเลยนะ
ป่าน: เยอะมาก
-
ป่าน: หูย เยอะมากจริง
วิว: ใช่ / โจ้: หูย เยอะมาก พันล้าน
-
ป่าน: แต่อันนี้ทำให้ได้เห็นภาพรวมเลยเนอะว่า
-
โอเค มันเป็น... แสดงว่าสิ่งที่เกิดขึ้น
-
มันเป็นเรื่องของศาสนาที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง
-
ทั้งเรื่องของวิถีชีวิตด้วย ถูกป้ะคะ
-
วิว: ใช่เลยค่ะ
-
ป่าน: คิดว่าน่าจะเป็นแบบนั้น ซึ่ง...
-
เดี๋ยวอันนี้คือเป็นปูพื้นฐานทางเรื่องของศาสนา
-
เพราะว่าจริง ๆ แล้ววันนี้ที่วิวจะพาเราไป
เดินเที่ยวที่อัคราอินเดียก็คือ
-
จะเกาะเส้นของประวัติศาสตร์
-
ที่มันเกี่ยวข้องกับเรื่องของศาสนาด้วย
-
เดี๋ยวจะพาวาร์ปไปที่อินเดียกันเลยดีกว่า ดีไหม
-
กัน: ดีเลยครับ / วิว: ค่ะ ได้ เราวาร์ปไปที่อินเดียกันเลยดีกว่า
ป่าน: ค่ะ งั้นเดี๋ยวเราวาร์ปไปที่อินเดียกันเลยดีกว่าค่ะ
-
จะได้เห็นหน้าตาจากข้างบนว่า
-
มองจากข้างบนถ้าเกิดเราอยู่บนเครื่องบิน
-
เรามองลงไปเนี่ย จะเห็นอะไรบ้าง
-
เมื่อเราไปที่อัครานะคะ
-
ป่าน: งั้นเดี๋ยวจะให้ทีม switch ขึ้นมาเลย
วิว: ค่ะ
-
ป่าน: โอเค อันนี้คือน่าจะเป็น เส้นแม่น้ำ
-
แต่ไม่กล้าพูดเอง เพราะว่าเขาบอกว่ามีแม่น้ำตั้ง 5 สายที่สำคัญ
-
ป่านเลยไม่รู้ว่า อันนี้คือสายอะไรกันแน่
-
อันนี้คือแม่น้ำยมุนาป้ะคะ วิว
-
วิว: ใช่ค่ะ อันนี้คือแม่น้ำยมุนานะคะ
-
เพราะว่าตอนนี้เรากำลังมองจากด้านบนของเมืองอัครา
-
ที่เรากำลังจะมาเที่ยวอยู่
-
ทีนี้ถามว่าอัคราเนี่ยอยู่ส่วนไหนของประวัติศาสตร์อินเดีย
-
ที่เมื่อกี้เราวาดภาพใหญ่มาทั้งหมดแล้วนะคะ
-
เมืองอัคราเนี่ย เป็นเมืองที่มาบูมในยุคของอิสลามค่ะ
-
แต่ว่าจริง ๆ มันไม่ได้เกิดในสมัยอิสลามเลย
-
มันเกิดมาตั้งแต่ยุคมหากาพย์
-
ซึ่งเป็นยุคที่แบบว่าช่วงมหาภารตะ อะไรช่วงนั้น
-
ก็คือช่วงที่ชาวฮินดูเนี่ยเป็นใหญ่
-
จริง ๆ แล้วชื่อของเมืองเนี่ยนะคะ ไม่ใช่เมืองอัครา
-
แต่ว่าชื่อเต็ม ๆ อะ มันชื่อว่า อัครวนา (Agravana)
-
อัคร แปลว่า ก่อน ส่วน วนา เนี่ย แปลว่า ป่า
-
ดังนั้นมันเป็นเมืองที่อยู่ด้านหน้าป่า
-
ถามว่าด้านหน้าป่าอะไร
-
จริง ๆ มันเป็นเมืองหน้าด่านค่ะ
-
ของเมืองนึง ซึ่งเป็นเมืองของราชวงศ์สุรเสนะ
-
หรือเราจะรู้จักกันดีในชื่อราชวงศ์ยาทพของพระกฤษณะนั่นเอง
-
พระกฤษณะนี่หลาย ๆ คนจะคุ้นกับ...
-
ในฐานะคนที่อยู่กับพระอรชุนอะ แบบ "อรชุนอย่า"
-
วิว: ในมหาภารตะ คนนั้นน่ะล่ะค่ะ
โจ้: มหาภารตะ
-
วิว: แปลว่าจริง ๆ เมืองนี้ ไม่ใช่เมืองเกิดใหม่
-
มีมานานแล้ว แต่ว่าเป็นเมืองเล็ก ๆ จิ๋ว ๆ
-
เป็นเมืองหน้าด่าน ไม่สำคัญอะไรเลย
-
มาสำคัญจริง ๆ ในปี 1504 ค่ะ
-
เมื่อตอนนั้นน่ะสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
-
มีกษัตริย์มุสลิมองค์นึงนะคะ ในยุคของสุลต่านแห่งเดลี
-
ตอนนั้นคือมุสลิมเนี่ยเข้ามาก้อนแรก มายึดเมืองเดลีก่อน
-
แล้วก็มีหลายราชวงศ์ด้วยกัน เขาจะเรียกว่าสุลต่านแห่งเดลี
-
ทีนี้มีกษัตริย์องค์นึงในเดลีเนี่ย ชื่อว่า Sikandar Lodī
-
หรือว่า สิกันทร โลดี เนี่ย
-
ตัดสินใจย้ายเมืองหลวงจากเดลีมาอยู่ที่เมืองอัครา
-
แล้วก็ทำให้เมืองนี้กลายเป็นเมืองที่สำคัญขึ้นมานั่นเองค่ะ
-
แต่ว่าจริง ๆ แล้วอะ มันก็ยังไม่ได้แบบ บูมขนาดนั้น
-
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็นในเมืองอัคราปัจจุบันเนี่ย
-
มันมาบูมจริง ๆ ในสมัยของพระเจ้าอักบาร์มหาราช
-
หรือว่า King Akbar The Great แห่งราชวงศ์โมกุลนั่นเอง
-
ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ต่อมาจากกษัตริย์โลดีนี่แหละ
-
กษัตริย์คนที่ย้ายเมืองหลวงมานะคะ
-
ซึ่งอักบาร์คนนี้นี่เองก็คือ
-
พระเอกเรื่อง Jodha and Akbar
-
ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เรากำลังคุยทั้งหมดนี้กันในวันนี้
-
กัน: ที่มาอินเดีย
โจ้: ที่วิวบอกว่าหล่อมาก
-
ป่าน: นี่ ๆ มีรูปด้วย
วิว: นั่นไง ดูภาพ ดูภาพด้วย
-
ป่าน: เฮ้ย หล่อจริงอะ คือมีความคมเข้ม
โจ้: เฮ้ย ภาพสวยจัง
-
ป่าน: เออ ดี ๆ เดี๋ยวจะไปตาม
วิว: ภาพ เป็นหนังที่ภาพสวยมาก Bollywood เรื่องนี้
-
ป่าน: เดี๋ยวจะไปติดตามนะคะเรื่องนี้
โจ้: เขาร้องเพลงไหมเรื่องนี้
-
วิว: ร้องเพลง ๆ แต่ว่ามันจะไม่ใช่ร้องเพลงแบบ...
กัน: ร้องอยู่แล้ว
-
วิว: ร้อง อินเดียมีเหรอไม่ร้อง ร้องทุกเรื่อง
-
ป่าน: ทั้งร้องทั้งเต้น ต้องมีซีนนั้นแน่นอน
-
ป่าน: อ่า อันนี้ถ้าใครเกิดอยากดูนะคะ
วิว: ต้องมี
-
ป่าน: เดี๋ยวจะทิ้งลิงก์ไว้ให้ในคอมเมนต์กันนะคะ
-
วิว: ค่ะ ทีนี้ ถามว่าเขาเป็นใคร ผู้ชายสุดหล่อคนนี้
-
เราไม่ได้หมายถึงดารา แต่หมายถึงบทบาทที่เขาแสดงนะคะ
-
อักบาร์คนนี้เป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โมกุล
-
ซึ่งร่วมสมัย... ถ้าใครนึกไม่ออกว่า
-
เอ๊ะ เก่าขนาดไหน ใหม่ขนาดไหน มีอายุมากขนาดไหนนะคะ
-
ก็อยู่ช่วงเดียวกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิของไทย
-
ซึ่งหลายคนก็ยังนึกไม่ออกอีกว่า
-
วิว: สมเด็จพระมหาจักรพรรดิคือใคร
กัน: อยุธยา
-
วิว: สมเด็จพระมหาจักรพรรดิคือพระสวามีของ...
โจ้-กัน: อยุธยา
-
วิว: ใช่ ของพระศรีสุริโยทัย
ป่าน: สุริโยทัย
-
ป่าน: อันนี้จะคุ้น
วิว: เล่นโดยพี่ตั้ว ศรัญญู นั่นเองนะคะ
-
วิว: นั่นล่ะค่ะ องค์นั้นเลยนะ
-
ซึ่งต้นตระกูลของอักบาร์คนนี้
-
ต้นตระกูลของ Akbar the Great เนี่ยนะคะ
-
น่าสนใจมาก เพราะว่าฝ่ายพ่อเนี่ยเป็นมุสลิม
-
ที่เป็นชาวเติร์ก ปกครองเอเชียกลาง ดูธรรมดาไม่มีอะไร
-
ก็ยิ่งใหญ่แหละ แต่ไม่ได้ยิ่งใหญ่ขนาด...
-
ไม่ใช่ยิ่งใหญ่ขนาดนั้น เขาเรียกว่าอะไร ไม่ได้สำคัญขนาดนั้น
-
ที่น่าสนใจกว่าคือฝ่ายแม่
-
ฝ่ายแม่ของต้นตระกูลเขาเนี่ย สืบเชื้อสายมาจากเจงกิสข่านค่ะ
-
ดังนั้น เขาก็แบบ มาจาก...
-
มาจากเขาเรียกว่าอะไร ที่ราบมองโกเลีย อะไรแถบ ๆ นั้นนะคะ
-
มา ดังนั้น เขาก็เลยตั้งชื่อราชวงศ์ตัวเองเนี่ยว่า
-
ราชวงศ์โมกุล เนี่ยแหละ เพื่อเป็น...
-
วิว: นึกถึงโมกุล มองโกล
โจ้: มองโกลนั่นเอง
-
วิว: นั่นแหละ มองโกเลีย คำเดียวกันค่ะ
-
ดังนั้น ราชวงศ์เนี้ย ถือว่าเป็นชาวต่างชาติ 100%
-
ไม่มีความเป็นอินเดียเลย
-
แต่เข้ามายึด แบบยึดเอาดื้อ ๆ เลยนะคะ
-
ทีนี้ ถามว่าต้นตระกูลเขามีความสำคัญอย่างไร
-
ต้นตระกูลเขานี่ชื่อน่ารักมากค่ะ
-
ชื่อว่า กษัตริย์บาบูร์ เป็นพระองค์แรกของราชวงศ์โมกุล
-
น่ารักไหมชื่อ ส่วนตัววิวมองแล้วแบบ...
-
ป่าน: จำง่ายด้วย ๆ
วิว: กษัตริย์...
-
ถึงขั้นจำได้เพราะว่าชื่อน่ารักมาก
-
กษัตริย์บาบูร์เนี่ยนะคะเป็นกษัตริย์องค์แรกแห่งราชวงศ์โมกุลค่ะ
-
ปรากฏว่า เขาก็เข้ามาจากช่องแคบ
-
บริเวณอัฟกานิสถานเนี่ยนะคะ
-
เข้ามาแล้วก็มาตีเมืองอัครานี้ได้สำเร็จ
-
ยึดขึ้นมาเป็นเมืองหลวงของเขา
-
แต่ว่าผ่านไปอย่างรวดเร็วค่ะ
-
หลังจากที่บาบูร์ปกครองเมืองอัคราอยู่ 5 ปี
-
เขาก็ตายจากไป ปล่อยให้ลูกคนที่สอง
-
ปล่อยให้ลูกของเขาเนี่ยขึ้นมาปกครองเป็นคนที่สอง
-
กษัตริย์องค์ที่สองเนี่ย ชื่อว่า หูมายุน
-
ซึ่งเขาเนี่ยไม่ได้แข็งแรง เข้มแข็งเท่าพ่อค่ะ
-
ดังนั้น เขาก็มีการเสียเมืองบ้างอะไรบ้าง รบไปรบมา
-
กษัตริย์หูมายุนเนี่ยเป็นกษัตริย์ที่เรียกว่าน่าสงสารมาก ๆ
-
เพราะว่าขึ้นชื่อในประวัติศาสตร์เลยว่าเป็นคนที่เร่ร่อน
-
เป็นกษัตริย์เร่ร่อน กษัตริย์ไร้บัลลังก์
-
คือ โดนตีไป แล้วก็ต้องหนีตาย
-
ว่ายข้ามแม่น้ำ อะไรต่าง ๆ
-
เล่ากันถึงขนาดที่ว่าตอนที่พระมเหสีของเขาเนี่ย
-
ตั้งท้องพระเจ้าอักบาร์เนี่ยนะคะ
-
นี่คือพ่อของอักบาร์เนอะ
-
ตอนที่พระมเหสีตั้งท้องเนี่ย ได้ 8 เดือน เขากำลังหนีข้าศึกอยู่ค่ะ
-
แล้วก็หนีแบบชนิดเรียกได้ว่าเป็นกษัตริย์นะ
-
แต่ไม่เหลืออะไรเลย ขนาดที่ว่า
-
ขณะที่กำลังขี่ม้าหนีกันไปเนี่ย
-
ม้าของพระมเหสีที่ท้อง 8 เดือนเนี่ย ล้ม แล้วก็ตาย
-
เพราะว่าหนีแบบโหดมาก ไม่มีม้าให้มเหสีเปลี่ยน
-
คือ ขนาดนั้น ลำบากขนาดนั้นเลย
-
จนตัวเองเนี่ยต้องสละม้าตัวเองให้เมียขี่
-
ส่วนตัวเองเนี่ยไปขี่อูฐแทน
-
แล้วก็ด้วยความที่สมัยนั้นน่ะ
-
ศิลปะอย่างหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก ๆ ก็คือ
-
การเขียนบันทึกเกี่ยวกับชีวิตตัวเอง
-
ดังนั้น หูมายุนเนี่ยบันทึกไว้เลยว่า
-
ช่วงนี้คือช่วงเวลาที่ชีวิตฉันยากลำบากและตกต่ำที่สุดแล้ว
-
ฉันจะไม่ตกต่ำกว่านี้อีกแล้วนะคะ
-
ดังนั้น เขาก็เลยเหมือนกับว่าต้องไปแบบ
-
หนีไปอยู่แถวอัฟกานิสถานเลย
แล้วก็ Agbar ก็เลยไปคลอดอยู่แถวนั้น
-
ไปเกิดแถวอัฟกานิสถาน ไม่ได้เกิดในอินเดีย
-
แล้วก็พอเกิดมาเนี่ยก็ปรากฏว่า
-
ไม่ใช่พ่อแม่เลี้ยงด้วย เพราะว่าพ่อแม่ก็วุ่นวายอยู่กับการรบ
-
การพยายามจะแย่งพื้นที่ของตัวเองกลับมา อะไรต่าง ๆ
-
ก็เลยมี 2 ข่าวลือด้วยกันค่ะ
-
ข่าวลือแรกบอกว่าอักบาร์เนี่ย
-
คนที่เลี้ยงก็คือชาวฮินดูที่อยู่บริเวณนั้น
-
กับอีกข่าวลือนึงก็คือคนที่เลี้ยงคือญาติ ๆ อะนะ
-
แต่เอาเป็นว่ามันก็เป็นช่วงเวลาที่คนหลายคนเนี่ยรุมกันเลี้ยงเขา
-
ทำให้เขาค่อนข้างจะมีความเปิดกว้างนิดนึง
-
แบบว่า เอ้ย ฉันเชื่อนู่น เชื่อนี่ เชื่อนั่น
-
ไม่ได้แบบว่าเหมือนมีความคำสอนใดคำสอนนึงฝังหัวนะคะ
-
ที่น่าสนใจก็คือ สุดท้ายเนี่ย
-
หูมายุนเนี่ยก็ไปทำการตกลงอะไรต่าง ๆ
-
กับกษัตริย์เปอร์เซียแถวนั้นน่ะนะ
-
ตกลงแลกนู่นแลกนี่ บางคนก็บอกว่า
ถึงขั้นยอมเปลี่ยนนิกายตัวเอง
-
จากที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีย์เนี่ย
-
กลายเป็นนิกายชีอะฮ์ เพื่อที่จะขอยืมทหาร ขอยืมอะไรต่าง ๆ
-
แล้วก็กลับมาตีเมืองอัคราได้สำเร็จในที่สุด
-
หลังจากใช้เวลายาวนานถึง 14 ปี นะคะ ที่เร่ร่อน
-
โจ้: 14 ปี
-
วิว: 14 ปีที่เร่ร่อนนี้
-
หลังจากนั้นค่ะ ปรากฏว่า
-
ต้องบอกว่า หูมายุนนี่เป็นคนที่ศรัทธาศาสนาสูงมาก
-
อิสลามเขาจะมี พิธีนึงที่เขาต้องทำทุกวันใช่ไหมคะ
-
ก็คือการละหมาด ซึ่งก่อนละหมาดเนี่ย
-
ถ้าเราเคยไปพวกมัสยิด เราจะได้ยินเสียงขานอะซาน
-
ก็คือ เสียงที่เขาปล่อยดังออกมาจากมัสยิดอะ
-
ทุกครั้งที่ชาวอิสลาม ชาวมุสลิมได้ยินเสียงเนี่ย
-
เขาก็จะต้องไปที่มัสยิด แล้วก็ไปละหมาดกันใช่ไหม
-
ทีนี้ หูมายุน เป็นคนที่ศรัทธาศาสนาอิสลามสูงมากค่ะ
-
ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงขานอะซาน
-
หูมายุนจะคุกเข่าทันที ปึ้ง แบบ
-
วิว: เฮ้ย ฉันพร้อมละหมาดแล้วจ้า
ป่าน: อัตโนมัติ
-
วิว: ใช่ วันนึงค่ะ หลังจากที่เขายึดเมืองคืนมาได้
-
แค่ 6 เดือนเท่านั้นนะคะ
-
เขาก็เป็นคนรักการอ่านค่ะ
-
เขาไปห้องสมุดของเขาเอง
-
แล้วเขาก็หยิบหนังสือขึ้นมาตั้งใหญ่มาก กำลังค้นอยู่
-
แล้วก็เป็นห้องสมุดที่ค่อนข้างทันสมัย เพราะว่ามีบันไดปีนด้วย
-
ปีนบันไดอ่านหนังสืออยู่อะ กำลังแบบว่าค้นคว้าอย่างเต็มที่
-
ปรากฏว่าได้ยินเสียงขานอะซาน ดังมา
-
วิว: ลืมตัว เฮ้ย เสียงขานอะซานมา
กัน: คุกเข่า
-
วิว: ฉันคุกเข่า ปึ้ง
กัน: เรียบร้อย
-
ตัวเองปีนบันไดลิงอยู่ เรียบร้อยค่ะ ตกลงไปตาย
-
วิว: หลังจากที่ฝ่าฟันทุกอย่างมา 6 เดือน
ป่าน-โจ้: เฮ้ย
-
ป่าน: เดี๋ยว ต่อสู้มา 14-15 ปี
-
แล้วเพิ่งจะแบบว่า แฮปปี้อยู่ 6 เดือน ได้อยู่กับครอบครัว
-
กัน: ฟินแล้ว ๆ
ป่าน: แล้วก็คือ
-
ป่าน: ตกบันไดอ่อ เฮ้ย
วิว: ตกบันไดตาย
-
วิว: น่าสงสารมาก คือแบบ โอ๊ย หูมายุน นะคะ
ป่าน: โอ๊ย ชีวิตอะ
-
วิว: แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดขึ้นก็คือ
-
ทำให้อักบาร์เนี่ย ได้ขึ้นมาปกครองบ้านเมือง
-
ในช่วงที่ตัวเองอายุ 14 ปีนั่นเองค่ะ
-
แล้วก็นี่ก็คือสาเหตุแหละ
-
ที่ทำให้ในยุคของกษัตริย์บาบูร์
แล้วก็ในยุคของพ่อนั่นก็คือหูมายุนเนี่ย
-
ไม่ได้มีศิลปะอะไรที่มันโดดเด่นขนาดนั้นน่ะ
-
เพราะว่าช่วงเวลาของเขาอะ มัน
-
วิว: สู้รบตลอดเวลา
กัน: สงคราม
-
แล้วก็มีสั้นมาก ๆ ประมาณนั้นค่ะ
-
และนี่ก็คือ เรื่องราวความเป็นมาของอักบาร์ของเรา
-
ว่าบุคคลสำคัญที่เราจะพูดถึงตลอดเวลาในวันนี้
-
เป็นใครมาจากไหนเนอะ
-
กัน: แล้วหลังจากนั้น...
ป่าน: ที่ฟังนี่ก็...
-
ป่าน: ขา / วิว: ค่ะ
กัน: แล้วหลังจากนั้นเปลี่ยนนิกายไหมฮะ
-
กัน: หมายถึงว่าหูมายุนที่บอกว่าไปยืมกำลังรบมา
-
วิว: คือมันเหมือนมันมี เท่าที่วิวค้นมานะคะ
-
มันมีหนังสือแค่เล่มเดียวเขียนบอกว่าเปลี่ยน
-
ยอมเปลี่ยนศาสนาเลย ยอมเปลี่ยนเป็นแบบนิกายชีอะฮ์
-
แต่ว่าวิวก็ยังไม่ได้เจอหลักฐานอื่น ๆ อีก
-
ก็เลยยังไม่ชัวร์ ไม่กล้าฟันธงว่าสรุปเปลี่ยนไม่เปลี่ยน
-
คือ บางเล่มก็เขียนว่า
-
จริง ๆ แล้วไอตอนที่ไปยืมกำลังมาเนี่ย
-
ก็ไปแต่งงานกับลูกกษัตริย์เปอร์เซีย
-
ซึ่งก็เป็นแม่ของอักบาร์ อะไรอย่างนี้
-
มันก็มีแบบว่าบันทึกไม่ค่อยตรงกันเท่าไหร่อะค่ะ
-
เพราะว่ามันนาน ค่อนข้างจะนานเนอะ
-
แล้วมันก็เป็นช่วงสงคราม
-
กัน: แต่ในเชิงประวัติศาสตร์ อินเดียไม่เคย
-
ไม่เคยถูกรวมเป็นอาณาจักรเปอร์เซียใช่ไหมฮะ
-
หมายถึงว่าใน ในเชิงความรู้ทั่วไปอะ
-
วิว: วิวมองว่ามันไม่ได้รวมนะ
-
เพราะว่าอินเดียมันยังมีความเป็นแบบ รัฐยิบ ๆ ย่อย ๆ อยู่
-
แบบว่ารัฐราชปุตอยู่ตรงนี้
-
ก็คือพวกแบบ ระหว่างนี้มันไม่ใช่ว่าพอเข้ามาแล้วฮินดูหายฟึ้บ
-
มันก็คือศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่อิสลาม
-
แต่ว่าพวกรัฐฮินดูเล็ก ๆ มันก็ยังมีอยู่ ก็ยังมีสู้รบอยู่
-
ตลอดชีวิตของทั้งปู่แล้วก็ทั้งพ่อของอักบาร์
-
ก็ยังสู้รบกับพวกนี้อยู่
-
รวมถึงในยุคของอักบาร์ที่เราบอกว่าเป็นยุคที่สงบ
-
ก็ไม่ได้แปลว่าสงบ เขาก็ยังรบกับพวกฮินดู
-
พยายามขยายอำนาจอยู่
-
คือมันยังไม่มี concept ของคำว่า นี่คือประเทศอินเดีย
-
ประเทศอินเดียมันคือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่อังกฤษยึด
-
แล้วอังกฤษรวบทุกอย่าง เข้ามาเป็นก้อนเดียว
-
กัน: โอเค
วิว: แต่ว่าระหว่างนั้นคือ
-
กัน: ก็เป็นรัฐย่อย ๆ...
วิว: แบบ อันนี้คือ...
-
วิว: ใช่ เราเป็นแคว้นมคธนะ
-
เราเป็นแคว้นนี่ เราเป็นแคว้นนั่น อะไรอย่างนี้
-
มาตลอดอารยธรรมของอินเดียค่ะ ค่ะพี่โจ้
-
โจ้: แปลว่าตอนที่เป็นเมืองอัครา
-
มันก็ไม่ได้เป็นอินเดียที่มีอาณาเขตเท่ากับทุกวันนี้
-
มันก็คือปกครองอยู่แค่ช่วงแถว ๆ นั้นแหละ
-
แถว ๆ แม่น้ำยมุนาตรงนั้นใช่ไหม
-
วิว: ใช่ ซึ่งเราถึงชมว่าอักบาร์เนี่ย
-
เป็นคนที่ เป็น Akbar the Great อะ
-
เพราะว่าอักบาร์สามารถขยายออกมาจากเมืองอัครา
-
สามารถปกครองไปจนถึงแถวอัฟกานิสถานได้เลยทีเดียว
-
ก็คือขยายแผ่ออกไป
-
แต่ว่ามันจะไม่ลงมาถึงเอเชียใต้ หรืออะไรอย่างนี้
-
มันก็แค่แบบ แผ่ ๆ ๆ ออกไปรอบ ๆ ตัวเองค่ะ
-
ป่าน: ซึ่งเดี๋ยวเราจะได้มารู้กันว่า ความอักบาร์มหาราช
-
หรือว่า Akbar the Great เนี่ย คือเพราะว่าเขาสร้างอะไรบ้าง
-
ซึ่งเดี๋ยววันนี้ เราจะพาไปดูทั้งหมดเลย
-
ที่เขาไปตีเมือง เขาได้เมืองมา
-
แล้วเขาสร้างอะไรขึ้นมา
ที่จะทำให้เราได้ไปเที่ยวกันในวันนี้นะคะ
-
ซึ่งเดี๋ยวเราพาไปเที่ยวกันดีกว่า
-
เพราะว่าตอนนี้เรามาถึงกษัตริย์องค์ที่ 3 แล้ว
-
ป่าน: แห่งราชวงศ์โมกุลนะคะ
วิว: ใช่
-
ป่าน: ก็คืออักบาร์มหาราชนั่นเอง
-
จริง ๆ แล้วเกริ่น ๆ ถึงอักบาร์มหาราชนิดนึง
-
แล้วเดี๋ยวเรากระโจนเข้าไปที่
-
ที่เที่ยวกันเลยดีกว่า นี่คือเราร้อนใจมาก
-
คือเราอยากเข้าเที่ยวแล้ว อะไรอย่างนี้
-
กัน: ยังไม่ถึงที่เที่ยวเลย
วิว: ใช่ วิวเม้านานมาก
-
วิว: คือแบบ ใช่ ยังไม่ถึงที่เที่ยวเลย ปูพื้นฐานนานมากนะคะ
-
คืออักบาร์เนี่ยต้องบอกว่า เขาเป็น The Great
-
ไม่ใช่แค่เพราะว่าเขาขยายแบบ ขยายอาณาจักรได้ไกลอะนะ
-
แต่ว่า เขาอะยึดใจคนได้ด้วย
-
ด้วยนโยบายต่าง ๆ ของเขาที่ค่อนข้างจะทันสมัยมาก ๆ
-
ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกการเก็บภาษีศาสนา
-
ไอ้ที่เราพูดกันมาตลอดว่าอิสลามเนี่ยพยายามจะแบบว่า
-
เก็บภาษีศาสนา ทุกคนจะต้องมานับถือศาสนาอิสลามนะ
-
อักบาร์บอกว่า ไม่ต้อง สมัยฉัน ฟรีจ้า
-
ใครอยากนับถืออะไรก็นับถือไปเถอะ ฉันโอเค
-
ดังนั้น คนก็เลยรักอักบาร์มาก ๆ
-
รวมไปถึงเขาก็มี
-
คือ วิวว่าส่วนนึงก็เพราะว่าส่วนตัวเขาอะ
-
เขาเป็นติ่งกวีฮินดูคนนึงชื่อว่า Mirabai
-
เขาชอบมาก คือมันมีกวีชาวฮินดูคนนึงเนี่ย
-
ที่แบบว่าเหมือนขับกลอน อะไรต่าง ๆ อยู่ในเทวาลัยฮินดู
-
เขา...ตามตำนานเนี่ย เขาเล่ากันว่าอักบาร์เนี่ยชอบมาก
-
ถึงขนาดที่ว่าตัวเองเป็นมุสลิม
-
ไม่ควรจะไปเข้าเทวสถานของที่อื่นเลย
-
แต่ว่าอักบาร์ปลอมตัวเข้าไป
แอบฟัง Mirabai ร่ายกลอนบ่อย ๆ นะคะ
-
วิว: มีความเป็นติ่งระดับนึง
ป่าน: ต้องเบอร์นั้น ๆ
-
วิว: แล้วก็ อีกนโยบายนึงที่น่าสนใจของอักบาร์ที่วิวเจอนะ คือ
-
อิสลามเนี่ยมันสามารถแต่งงานกับเด็กได้ถูกไหมคะ
-
แบบ อายุ 11-12 ก็แต่งงานกันแล้วอะ ในสมัยแต่ก่อน
-
อักบาร์บอกว่ามันไม่ healthy เลย อักบาร์ก็เลย แบน
-
อักบาร์ออกกฎหมายแบนบอกว่าห้ามแต่งงานกับเด็ก ถ้าอายุ...
-
ถ้าเด็กผู้หญิงอายุไม่ถึง 14 ห้ามแต่งงาน
-
ถ้าเด็กผู้ชายอายุไม่ถึง 16 ห้ามแต่งงาน
-
รวมไปถึงมีการแบนว่าห้ามแต่งงานกับญาติตัวเองด้วย
-
วิว: ทันสมัยไหม / ทันสมัยมากเนอะ
ป่าน: ทันสมัยมาก
-
ป่าน: โอ๋แต่ว่าเขาก็เหมือนกับเซ็ตมาตรฐานบางอย่างขึ้นมาเลย
-
ทั้งยกเลิกตัวภาษีด้วย
-
แล้วก็เรื่องการแต่งงานเราว่าก็น่าสนใจนะ
-
เพราะว่าเป็นแนวคิดที่แบบค่อนข้างก้าวหน้า
-
แล้วก็แตกต่างจากรุ่นที่ผ่าน ๆ มาเนอะ
-
วิว: ใช่ แล้วก็ ประมาณนี้ค่ะ เราก็จะรู้เรื่องราว...
-
จริง ๆ เรารู้เรื่องราวของอักบาร์เนี่ยค่อนข้างเยอะ
-
เพราะว่าอักบาร์มีการบันทึกประวัติชีวิตของตัวเอง
-
โดยการให้ที่ปรึกษาของตัวเองที่มีทั้งหมด 9 คน
-
เราจะเรียกว่า นวรัตน์บุคคล เนี่ย เป็นคนบันทึกให้นะคะ
-
อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้จะไปเจาะลึกตรงนั้น
-
ดังนั้น ข้าม เราเข้าอัครากันดีกว่าค่ะ
-
วิว: ในที่สุด ย่อแล้ว นี่เหมือน...
ป่าน: โอเค เย้
-
วิว: นั่งเครื่องบิน take off มานานแล้วนะคะ
-
ป่าน: เหมือนใช้เวลาบนเครื่องบินอะ
-
แล้วก็แบบว่าเล่าให้เพื่อนฟังก่อนว่า
-
แก ๆ จะ landing อินเดีย แกต้องรู้สิ่งนี้ก่อนนะ
-
เป็นพื้นฐานเพื่อที่แกจะได้อินไปพร้อม ๆ กัน
-
ซึ่งตอนนี้เราว่า พร้อมแล้วประมาณนึง
-
ได้รู้ทั้งการเปลี่ยนผ่านของศาสนานะคะ
-
แล้วก็ได้รู้จักเรื่องของราชวงศ์โมกุลด้วย
-
กษัตริย์แต่ละองค์เป็นยังไงบ้าง
-
จนมาถึงอักบาร์ The Great นะคะ หรือว่าอักบาร์มหาราช
-
ที่จะเป็น เรียกว่าเป็น key person ของเราในวันนี้
-
ว่าเขาไปสร้างอะไรบ้าง ลูกหลานเขาคือใครยังไง
-
แล้วทัชมาฮาลมาเกี่ยวอะไรกับตรงนี้
-
เดี๋ยวเราจะพากันไปดูผ่าน
ประวัติศาสตร์ที่ไล่เรียงกันไปเรื่อย ๆ นะคะ
-
ซึ่งเดี๋ยวเราจะไปที่สถานที่แรกกันนะคะ
-
นั่นก็คือ...ให้น้องวิวพูด
-
วิว: Fathepur Sikri ค่ะ
-
วิว: เป็นเมืองสำคัญเมืองนึง ในสมัยอักบาร์ เย้
ป่าน: เย้
-
วิว: อ้า นี่นะคะ ตอนนี้เราก็จะวาร์ปจากตัวเมืองอัคราเนี่ย
-
ไปที่สถานที่ที่เรียกว่า Fatehpur Sikri นะคะ
-
ในสมัยเนี้ย เรายังถือว่า Fatehpur Sikri อยู่ในเขตของอัครา
-
แต่ว่าในสมัยก่อนเนี่ยมันถือว่าเป็นอีกเมืองนึงเลยนะคะ
-
แล้วก็เป็นเมืองหลวงใหม่ที่อักบาร์เนี่ย
-
สร้างขึ้นมาหลังจากที่เขาชนะศึกสงคราม
-
กับแคว้นที่ชื่อว่าแคว้นคุชราตนะคะ
-
คือเมืองนี้ต้องบอกว่า สร้างขึ้นฉลองชัยอะ
-
ที่เห็นทั้งหมดนี้นะคะ ในแผนผังสีเหลี่ยม ๆ เนี้ย
-
เขาสร้างขึ้นฉลองชัยชนะเนอะ
-
ชื่อเมืองเนี่ยแปลว่า City of Victory เลยทีเดียว
-
คือ Fateh เนี่ยแปลว่าชัยชนะ
-
pur ก็คือ ปุระ แปลว่า เมือง
-
ส่วน Sikri เนี่ย แปลว่า หินทรายแดง
-
คือเมืองนี้มันเป็นหมู่บ้านเดิมชื่อว่า...
-
ไม่ใช่หมู่เบื้อง หมู่บ้าน ชื่อว่า หมู่บ้าน Sikri นะคะ
-
ก็คือหมู่บ้านหินทรายแดง ว่าอย่างนั้นเถอะ
-
ตอนนี้ก็เลยกลายเป็น เมืองแห่งชัยชนะที่ Sikri ค่ะ
-
ซึ่ง จาก bird's-eye view ตอนนี้
-
เราจะเห็นภาพของเมืองนะคะ
-
ซึ่งจริง ๆ แล้วมีกำแพงยาวถึง 6 กิโลเมตรนะ สามด้านด้วยกัน
-
ส่วนด้านบนเนี่ย แต่ก่อนเนี่ย
-
จะเป็นทะเลสาบปลอมค่ะ ที่สร้างขึ้นมา
-
แต่ว่าปัจจุบันนี้แห้งเหือดไปหมดแล้วนะคะ ก็ไม่เหลือแล้ว
-
ป่าน: วิว วิวเรียกว่าทะเลสาบปลอม คือหมายความว่ายังไงอะ
-
คือมันเคยเป็นเหมือนโดนถม ใช่ป้ะ
-
วิว: เป็นทะเลสาบขุด ว่าอย่างนั้นเถอะ
-
ป่าน: อ๋อ มนุษย์สร้าง ๆ
โจ้: เป็นบ่อน้ำขึ้นมา
-
วิว: ใช่ เป็นเหมือนทะเลสาบที่แบบว่า
-
ปรับสภาพพื้นดินอะไรขึ้นมาต่าง ๆ นะคะ
-
แต่ว่ามันหายไปแล้ว เพราะว่าเมือง Fatehpur Sikri เนี่ย
-
เป็นเมืองที่ค่อนข้างจะไม่อุดมสมบูรณ์
-
เรียกได้ว่าแห้งแล้งเลยละกัน
-
เดี๋ยวเราจะไปเห็นผลมันทีหลัง
-
ว่าความแห้งแล้งมันส่งผลให้อะไรเกิดขึ้นเนอะ
-
ทีนี้ ในเมืองนี้ต้องบอกว่า
-
ตอนนี้เราอาจจะยังไม่เห็น
-
แต่พอเดี๋ยวเราซูมเข้าไป เราจะเห็นว่า
-
เมืองนี้เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่มาก
-
เพราะว่าเขาต้องการจะบอกทุกคนว่า
-
เฮ้ย ฉันเพิ่งชนะศึกใหญ่มาจ้า
-
ดังนั้น ฉันฉลองด้วยการอวดรวย
-
วิธีอวดรวยก็คือ สร้างบ้านตัวเองให้ใหญ่ที่สุด
-
คือในสมัยปัจจุบันเนี้ย ถ้าเราอยากอวดรวย เราทำอะไรได้บ้าง
-
เราก็แบบ เราสามารถเอาสมุดบัญชีเราโพสต์ลงเฟซบุ๊ก
-
หรือว่าโชว์นาฬิกาทุกคนก็จะเห็น ซื้อของชิ้นเล็ก ๆ ได้
-
แต่ว่า ถ้าเป็นสมัยนั้นน่ะ มันไม่มีทางเลยที่เราจะอวดรวยได้
-
แบบว่าผ่านการ เฮ้ย เธอมาดูคลังสมบัติฉันสิ
-
อะไรอย่างนี้ มันก็โชว์ได้ทีละคน
-
ดังนั้น วิธีที่โชว์ได้ใหญ่ที่สุด ก็คือ
-
สร้างบ้านของตัวเองให้ยิ่งใหญ่อลังการนั่นเองนะคะ
-
เดี๋ยวเราจะเห็นว่ามันจะยิ่งใหญ่มาก
-
แล้วเขาต้องการจะโชว์สิ่งนี้
-
ซึ่งวัสดุหลักที่เราจะเห็นเนี่ย
-
เราจะเห็นทุกอย่างสีเหมือนกันไปหมดเลย
-
เพราะว่ามันสร้างจากหินทรายแดงที่ชื่อว่า Sikri
-
ที่วิวบอกเมื่อกี้นี้แหละ
-
เพราะว่ามันหาได้ง่ายค่ะ
-
แล้วก็มีการสร้างแบบเปอร์เซียผสมกับอินเดีย
-
เพราะว่าอักบาร์พยายามจะบอกว่า
-
ต้นตระกูลฉันเป็นเปอร์เซียจ้า
-
ต้นตระกูลฉันมีความยิ่งใหญ่ เกี่ยวพันกับเปอร์เซีย
-
รวมไปถึงเอาอินเดียมาผสมเพราะว่าฉันเพิ่งชนะอินเดียมา
-
เหมือนไปเก็บ souvenir ด้วยการ
เก็บศิลปะเขามายัดใส่บ้านตัวเอง
-
เหมือนแบบว่าเราไปเที่ยวปารีส
-
แล้วเอาหอไอเฟลมาแปะตู้เย็น ทำนองนั้นเลยค่ะ
-
ป่าน: หืม ซึ่งตอนนี้เราก็ได้เห็น
บรรยากาศของเมืองเล็ก ๆ น้อย ๆ นะคะ
-
ก่อนที่จะได้ รู้รายละเอียดว่า
-
ไอ้หินทรายแดงตรงนี้ลวดลายตรงนี้คือยังไง
-
แต่ว่าจริง ๆ น่าจะเดี๋ยวขอกลับไปที่
-
bird's-eye view กันอีกสักนิดนึง
-
เพื่อให้น้องวิวคลี่คลายให้หน่อยว่า
-
เอ๊ะ ไอ้สี่เหลี่ยม ๆ พวกนี้มันคืออะไรกันแน่
-
ป่าน: เพราะมันดูเป็นเหมือนบล็อก ๆ ไปหมดเลย
วิว: อ้า ต้องบอกว่า...
-
วิว: ต้องบอกว่าสี่เหลี่ยม ๆ พวกนี้คือ...
-
เมืองเนี่ยมันสร้างขึ้นมาโดยแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ค่ะ
-
เราไม่ได้พูดถึงที่อยู่ของชาวบ้านเนอะ
-
เพราะที่อยู่ของชาวบ้านก็จะอยู่อีกด้านนอกไป
-
แต่ว่าเฉพาะส่วนที่อักบาร์อยู่เนี่ย
-
มันจะแบ่งเป็น 3 โซน โซนแรกคือสี่เหลี่ยมใหญ่ ๆ ด้านล่าง
-
ที่เห็นเป็นลานโล่งชัดเจนนั่นนะคะ
-
อันนั้นคือโซนศาสนา
-
จะเป็นโซนที่เป็นศาสนสถานต่าง ๆ
-
ส่วนอีกโซนนึงค่ะ มาด้านขวานิดนึง
-
มาด้านขวานิดนึงค่า
-
อ้า เราจะเห็น สนามสีเขียว ๆ ใหญ่ ๆ
-
อันนั้นคือโซนว่าราชการนะคะ
-
จะเป็น... โซนที่อักบาร์ออกว่าราชการ
-
พูดคุยกับเหล่าเสนาบดีต่าง ๆ ของเขา
-
แล้วก็ส่วนที่อยู่ ที่เหลือที่อยู่ด้านหลังของโซนราชการเนี่ย
-
ที่อยู่ตรงกลางระหว่างศาสนากับโซนว่าราชการนะคะ
-
ก็คือสิ่งที่หลาย ๆ คนน่าจะสนใจ
-
นั่นก็คือ ฮาเร็มของอักบาร์นั่นเองนะ ก็จะเต็มไปด้วย
-
กัน: โห ฮาเร็มด้วยเหรอ
วิว: ที่อยู่ของเหล่าสาว ๆ
-
วิว: ใช่ ด้วยความที่เป็นสมัยนั้น มหาราชา
-
ไม่ใช่มหาราชาสิ เอ่อ สุลต่าน
-
ต้องมีฮาเร็มนะคะ ก็ฮาเร็มของสาว ๆ ทั้งหลายก็จะอยู่ตรงนี้
-
แต่ว่าก่อนที่เราจะไปถึงฮาเร็ม
-
เราไปที่โซนศาสนากันก่อนดีกว่า
-
ก่อนที่เราจะหลงเข้าไปในฮาเร็ม
-
ป่าน: ทำไมดูสนใจฮาเร็มกันแบบตาลุกวาว
-
เราไปศาสนากันนิดนึงนะคะ
-
ป่าน: เพราะว่าตรงนั้นน่าสนใจมาก
กัน: ได้ ๆ
-
ป่าน: สนใจความใหญ่ของมัน
-
เพราะว่าถ้าเทียบกับโซนว่าราชการและโซนตรงฮาเร็มแล้ว
-
อันนี้คือรู้สึกว่ามันค่อนข้างใหญ่มาก ๆ
-
แล้วก็อะไรไม่รู้จุดสีขาวตรงกลางตรงนั้น
-
วิว: ค่ะ ต้องบอกว่า ทั้งก้อนนี้คือมัสยิดค่ะ
-
ซึ่งมันเป็นมัสยิดที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ
-
ที่เราเห็น ขนาดเราเห็นจาก bird's-eye view
-
เทียบกับจุดขาว ๆ ด้านล่างนั่นคือบ้านคนนะคะ
-
ดังนั้นนี่คือหนึ่งในมัสยิดที่เขาบอกว่า
-
หนึ่งในมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียเลยทีเดียว
-
แล้วก็ มีคำกล่าวแต่ยังไม่ได้รับการยืนยันน่ะนะ
-
คนแถวนั้นเขาบอกว่า นี่คือมัสยิดที่
ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก รองจากที่เมกกะ
-
ก็คือที่เขาต้องไปแสวงบุญกัน
-
อันนี้คืออันดับสองนะคะ
-
ดังนั้น ความยิ่งใหญ่มาเต็มแน่นอน
-
ซึ่งจากแผนผังเนี่ย ถ้าซูม ถ้าเข้าไปดูเนี่ย ก็จะเห็นว่า
-
แผนผังนี้ เขาพยายามจะสร้าง
ล้อเลียนกับบ้านของศาสดามูฮัมหมัด
-
คือมัสยิดทั้งหลายส่วนใหญ่จะพยายามสร้างล้อนี่แหละ
-
ก็คือมีความเป็นสี่เหลี่ยม
-
แล้วก็จะหันหลังให้เมืองเมกกะ
-
ถ้าเราสังเกตจากภาพตอนนี้
เราจะเห็นจุดสีขาวสามจุดด้านซ้ายใช่ไหมคะ
-
นั่นคือโดมของอาคารหลัก
-
ดังนั้น อาคารหลักจะต้องหันหลังให้กับทิศตะวันตก
-
ซึ่งเป็นทิศของเมืองเมกกะ
-
เพราะฉะนั้นเวลาละหมาดเนี่ย เราหันเข้าอาคาร
-
ก็เหมือนเราหันไปทางเมกกะนั่นเองนะคะ
-
ป่าน: อันนี้คือทั่วโลกถ้าเกิดสร้าง
คือเป็นแบบนี้หมดเลย ถูกไหมวิว
-
วิว: ใช่ มันจะต้องหันไปเหมือนกัน
-
ก็คือถ้าเป็นเมกกะอยู่ฝั่งตะวันตกใช่ไหม
-
ทุกเมืองก็จะต้องหันไปทางนี้
-
ส่วนถ้าเกิดมัสยิดเนี่ยอยู่อีกฟากนึงก็จะต้องหันกลับกัน
-
เพื่อที่จะแบบเหมือนทุกคนจะต้องหันเข้าหาเมกกะ
-
เพื่อทำการละหมาดเข้าไปหาเมกกะนั่นเอง
-
นะคะ แล้วก็ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ
-
มันจะมี หอคอยสี่มุมค่ะ
-
ซึ่งอันนี้อาจจะศิลปะเก่าไปนิดนึง อาจจะไม่ค่อยเห็นชัด
-
แต่ว่ามัสยิดปกติจะมี เดี๋ยวเราจะเห็น
-
มันจะมีหอที่เรียกว่า หอคอยขานอะซานน่ะนะ
-
ก็จะอยู่ 4 มุมของสี่เหลี่ยมนี้
-
แล้วก็อีกอย่างนึงที่จะมี 4 ด้านเหมือนกัน ก็คือประตูนั่นเอง
-
ที่อยู่ระหว่างด้านของสี่เหลี่ยมค่ะ
-
ก็จะมี 4 ประตู ซึ่งประตูเนี่ยไม่จำเป็นต้องออกได้ทุกด้าน
-
ก็เอาแค่แบบเหมือนมีไว้ประดับสวย ๆ ก็ได้นะคะ
-
อย่างของที่เราเห็นอยู่ตรงนี้
-
ก็ด้านขวาจริง ๆ ควรจะเป็นประตูหลัก
-
เพราะว่าอยู่ตรงข้ามกับอาคารหลัก
-
แล้วก็ด้านล่างจะเป็นประตูแบบเล็ก ๆ นะคะ
-
แต่ว่าความพิเศษของที่นี่ก็คือ
-
ตอนแรกด้านขวาเป็นประตูหลัก
-
เพื่อที่ว่าจะให้สาว ๆ หรือว่าตัวอักบาร์เอง
-
วิว: เดินทางมาจากที่อยู่ใช่ไหม แล้วเดินเข้าไปทางนี้
ป่าน: ฮาเร็ม ๆ
-
วิว: แต่ ใช่ แต่ปรากฏว่าถึงวันนึงเนี่ย
-
อักบาร์เกิดรู้สึกว่า เฮ้ย ฉันอยากเฉลิมฉลองชัยชนะ
-
ที่ฉันไปรบมา อะไรต่าง ๆ
-
ก็เลยตัดสินใจ เปลี่ยนประตู ประตูนึงเนี่ย เป็นประตูชัย
-
ก็คือประตูฉลองชัยชนะ
-
แต่ว่าจะไปถล่มประตูที่ตัวเองใช้ก็ไม่ใช่เรื่อง
-
เขาก็เลยใช้ทางทิศใต้เป็นประตูนั้นค่ะ
-
ทางเข้าหลักก็เลยกลายเป็นทิศใต้
-
ให้ประชาชนทั่วไปเข้า ส่วน
-
ทางเข้าของราชวงศ์ก็เลยจะไม่ยิ่งใหญ่เท่า
-
ซึ่งวันนี้เราจะไปดูที่ประตูหลักของมัสยิดกัน
-
เพราะว่าประตูนี้เป็นประตูที่สำคัญมาก ๆ ค่ะ
-
งั้นเดี๋ยวเราวาร์ปไปเลย
-
ประตูที่วิวบอกก็คืออยู่ด้านล่างเนอะ
-
ป่าน: ตรงนี้เลยที่กำลังจะ
-
วิว: ใช่
-
ป่าน: เดินเข้าไปกัน
-
จะบอกว่าป่านไปมาแล้ว
-
แล้วก็เพิ่งมาขนลุกย้อนหลังอะ
-
หลังจากวิวบอกว่ามัสยิดที่ป่านไปมา
-
ก็คือใหญ่เป็นอันดับสอง
-
จากนครเมกกะ
-
แล้วก็ไปยืนหน้าประตูนี้มาเลย
-
แต่สารภาพตามตรงว่าตอนที่ไปยืน
-
ก็รู้สึกว่าสวยดีแต่ไม่รู้ detail เลยค่ะ
-
เดี๋ยวจะให้น้องวิวเล่าให้ฟังว่า
-
มีอะไรที่น่าสนใจของประตูชัยตรงนี้บ้าง
-
อันนี้ชื่อว่าอะไรอะคะ
-
ประตูชัยอันนี้นะคะชื่อว่าบูลันด์ ดาร์วาซาค่ะ
-
ซึ่งเป็นประตูชัยที่สูงที่สุดในโลก
-
คือสูง 170 ฟุตแล้วก็กว้าง 115 ฟุต
-
เอาจริง ๆ นี่ถือว่าเป็นประตูที่ใหญ่ที่สุดในโลกแล้วแหละ
-
ตามที่เขาบันทึกกันเอาไว้อะนะคะ
-
คือ...
-
สาเหตุที่มันต้องใหญ่ขนาดนี้เพราะว่า
-
อักบาร์ตั้งใจให้มันยิ่งใหญ่มาก
-
เพื่อฉลองชัยอย่างที่บอก
-
คืออวดรวยอะ อวดว่าแบบ
-
ฉันชนะมา ดังนั้นฉันจะเอา
-
คนเท่าไหร่ เอาอะไรเท่าไหร่มาสร้างให้มันยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ได้
-
นี่คือการโอ้อวดของเขา
-
ด้วยการสร้างประตูที่ใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นมา
-
ซึ่งอันนี้มันเป็นศิลปะแบบเปอร์เซีย ซึ่ง...
-
ถือว่าเป็นหนึ่งในศิลปะที่สวยที่สุดของอินเดียนี่แหละ
-
แล้วก็ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย
-
ยกตัวอย่างง่าย ๆ นะคะ อย่างนึงที่คนบอกก็คือ
-
ตัวประตูเนี่ยมันจะโค้งเป็นรูปเหมือนเกือกม้า
-
ซึ่งสัญลักษณ์เกือกม้าเป็นสัญลักษณ์ที่
-
ทำให้เหมือนแบบโชคดีอะไรอย่างนี้ อันนี้ก็
-
ไม่ค่อยเด่นชัดเท่าไหร่ แต่ว่า
-
สิ่งนึงที่น่าสังเกตนะ
-
ที่เราควรจะมาคุยกันเรื่องประตูนี้ก็คือ
-
หนึ่ง มุมของมันค่ะ
-
ช่วยขยายภาพออกมานิดนึงได้ไหมคะ
-
zoom out นิดนึง
-
zoom out แล้วเห็นด้านบนเนอะ
-
ใช่ คือประตูมันน่ะมันไม่ใช่เป็นสี่เหลี่ยมเป๊ะ ๆ
-
แต่ว่า
-
สิ่งที่มันเกิดขึ้นก็คือ
-
ปกติอะ ประตูมันควรจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างนี้ใช่ไหม แต่ว่า
-
มันเกิดการลบมุมเกิดขึ้น
-
ก็คือเขาตัดมุมอะออก
-
เพื่อที่จะให้เห็นว่ามันเป็นการ...
-
เนี่ย เห็นไหมคะ มันจะไม่ใช่สี่เหลี่ยมเป๊ะ ๆ
-
ด้านข้างมันจะเฉียง ๆ
-
เพราะว่าเขาเห็นว่าเพิ่ม detail นิดนึงก็คือ
-
ตัดมุม เป็นการลบมุมแบบโมกุล
-
ซึ่งเดี๋ยวเราจะเห็นเรื่อย ๆ ว่า
-
เขามองว่าแบบนี้สวยดี
-
ถ้าเกิดเป็นบ้านสี่เหลี่ยมเป๊ะ ๆ มันจะแบบธรรมดาไป
-
ลบมุมนิดนึงก็จะดูมี detail นะคะ
-
ส่วนอีกอย่างนึงที่น่าสนใจก็คือด้านบนของประตูค่ะ
-
ด้านบนของประตูก็จะมีเหมือนโดมเล็ก ๆ ประดับอยู่ซึ่ง
-
โดมอันนี้เขาเรียกว่าฉัตรี
-
ซึ่งเดี๋ยวเราจะเห็นในศิลปะของโมกุลมากมาย
-
มันได้รับอิทธิพลมาจากฮินดูแหละ
-
แต่ว่าเราจะไม่ไปเจาะลึกตรงนั้น
-
เพราะว่าเดี๋ยวไกล เดี๋ยวจะต้องไปแบบ
-
ศิลปะอีกประมาณ 30 เมืองข้างหน้านะคะ
-
อันนี้คือโดมด้านบนที่พูดถึงว่าเรียกว่าฉัตรีใช่ไหมคะ
-
ใช่ค่ะ
-
ก็เดี๋ยวเราจะเห็นไปเรื่อย ๆ ฉัตรีอยู่ทุกที่นะคะ
-
แล้วก็อีกอย่างนึงที่เราจะเห็นก็คือ
-
การใช้สีนั่นเอง
-
อย่างที่วิวบอก Fathepur Sikri เป็นเมืองที่อยู่กับ
-
หินทรายแดงดังนั้น
-
สีนี้ก็คือสีของหินทรายแดงนั่นเองแต่ว่า
-
ลายที่สลับ ๆ อยู่ก็จะเกิดจากการเอาหินอ่อนเนี่ย
-
ฝังเข้าไปเป็นลวดลายค่ะ
-
ไม่ธรรมดา ไม่ใช่การเพนต์
-
ใช่ ไม่ใช่การเพนต์
-
ถ้าเราซูมเข้าไปเราจะเห็นว่ามันเป็นการแบบ
-
ฝังหินอ่อนลงไปเนี่ย
-
อันนี้ก็คือการที่เราขุดหินทรายเนี่ย
-
ขุดๆๆๆๆ ลงไปให้เป็นร่อง
-
แล้วก็ไปตัดหินอ่อนให้เป็นชิ้นเท่ากัน
-
แล้วก็อัดมันลงไป
-
โอ้โห
-
โหดมาก
-
วิว: ซึ่งทั้งประตู
ป่าน: โหดมากแม่
-
ใช่ ซึ่งทั้งประตูนี้ไม่มีตรงไหนเลยที่ไม่มีลาย
-
ดังนั้นใช้แรงงานมหาศาลแน่นอนนะคะ
-
เห็นไหมมันมีลายทุกที่เลย
-
ป่าน: แต่มันก็มีความแกรนด์เนอะ
โจ้: ถึกมากเลยอะ
-
ใช่ ถึกมาก
-
แล้วลายเป็นแบบลายเรขาคณิตอะไรต่าง ๆ
-
ต้องบอกว่าจะไม่ค่อยมีลายคนเนอะ เพราะว่าอิสลามจะ
-
บอกว่าไม่สร้างรูปคน
-
เพราะว่าคนนี่คือพระเจ้าสร้างได้อย่างเดียว
-
ก็จะเน้นไปที่สัตว์แล้วก็
-
ดอกไม้ ใบไม้ เรขาคณิตนะคะ
-
แต่มีอย่างนึงที่อยากให้ทุกคนได้เห็นค่ะ ก็คือ
-
แถบด้านข้างนั่นเอง
-
เห็นแถบที่ยาว ๆ ลงมาสองข้างไหม
-
เนี่ย หลายคนมองตรงนี้อาจจะรู้สึกว่า
-
เฮ้ย มันเป็นลายสวย ๆ เป็นลายเรขาคณิตต่าง ๆ
-
แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่ค่ะ
-
ถ้าเราซูมเข้าไปให้เห็นรายละเอียด
-
เราจะเห็นว่าจริง ๆ แล้วมันเป็นตัวอักษรของเขา
-
มันเป็นภาษาแบบ
-
ภาษาที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอานอะไรอย่างนี้
-
สังเกตดี ๆ เห็นไหมคะว่ามันเป็นตัวอักษร
-
นี่คือเทคนิคที่เรียกว่า Calligraphic Panel ก็คือ
-
การฝังตัวอักษรเนี่ยลงไปด้วยหิน
-
แล้วถามว่ามันเขียนเรื่องอะไร
-
อันนี้น่าสนใจมาก คือสำหรับ
-
สำหรับพวกเราที่เป็นคนยุคหลังเนี่ย
-
คือคนตอนนั้นเขาก็ฝังเฉย ๆ แหละ
-
แต่พวกเราอะ น่าสนใจเพราะว่า
-
เขาพูดถึงนบีองค์นึงที่ชื่อว่านบีอีซา
-
ป่าน: นบีอีซา
วิว: ฟังปุ๊บนี่ก็อาจจะ
-
โจ้: พระเยซู
-
ซึ่งก็คือ
-
พระเยซู ใช่ Jesus
-
เป็นชื่อภาษาอิสลามของ
-
เป็นชื่อที่อิสลามเรียกพระเยซู ก็คือนบีอีซานั่นเองนะคะ
-
ตรงนี้เขาพูดถึงว่าแบบ
-
อีซาผู้บุตรแห่งมัรยัมกล่าวไว้ดังนี้
-
หลายคนจะไม่เข้าใจว่า
-
พระเยซูมาทำอะไรในคัมภีร์ศาสนาอิสลาม
-
อันนี้เป็นคัมภีร์
-
เป็นจารึกซูเราะฮ์จากคัมภีร์อัลกุรอานเนอะ
-
เพราะว่า
-
ต้องบอกว่าศาสนาอิสลามอะ
-
ก็วิวัฒนาการมาจากศาสนาคริสต์ใช่ไหมคะ
-
ถ้าเราไปดูตามวิวัฒนาการศาสนามันก็คือตั้งแต่
-
ยิว
-
ยิวคือคัมภีร์ The Old Testament
-
เสร็จปุ๊บก็มี
-
พระเยซูขึ้นมา พระเยซูก็
-
เผยแผ่ศาสนาคริสต์
-
ก็ถือว่า
-
The Old Testament เป็นส่วนนึงของศาสนาคริสต์
-
แล้วก็มี New Testament เป็นเล่มที่สอง
-
ถูกไหม
-
ทีนี้พออิสลามเกิดขึ้น
-
อิสลามไม่ได้เกิดมาจากแบบว่าความว่างเปล่า
-
อิสลามก็เกิดมาจากอย่างนี้นี่แหละ
-
แล้วก็ถือว่า
-
พระเยซูกับโมเสสเนี่ยก็เป็นนบีองค์เก่า ๆ
-
ของศาสนาเขาเช่นกัน
-
ก็คือผู้ที่ได้ยินได้ฟังมาจากพระเจ้า แต่ว่า
-
เหมือนนบีมูฮัมหมัดเนี่ยก็คือคนล่าสุด
-
ที่ได้ยินได้ฟังมาจากพระเจ้า
-
ประมาณนั้นค่ะ
-
ก็คือเหมือนกับ
-
พอบอกแบบนี้เห็นภาพชัดเจนเหมือนกันว่า
-
เหมือนกับคนที่ผ่าน ๆ มาก็เลยเรียกว่าเป็นนบี
-
เหมือนเป็นนบีที่ทำให้เกิดเหมือนกับข้อมูลชุดหนึ่งขึ้น
-
แล้วเขาก็ผสมมาเรื่อย ๆ
-
บวกกันเรื่อย ๆ จนกลายเป็นคัมภีร์อัลกุรอานตอนนี้
-
ป่านเข้าใจถูกไหมคะวิว
-
ใช่ค่ะ ประมาณนั้น
-
คือมันไม่ใช่เหมือนผสมหรอก มันอารมณ์เหมือนกับว่า
-
เออ ฉันได้ยินได้ฟังมาจากพระเจ้าแบบนี้
-
พระเจ้ามาบอกฉันว่าเธอควรจะเพิ่มเติมอย่างนั้นอย่างนี้
-
ประมาณนี้มากกว่า
-
อันนี้ถ้าให้วิวเทียบง่าย ๆ คือเหมือนการอัพเดตแพตช์
-
ประมาณว่าพระเจ้าบอกโมเสสไว้แบบนี้
-
แล้วคนก็ใช้ชีวิตต่อไปอีกพันปี พระเจ้า...
-
สำหรับความเชื่อเขานะ
-
พระเจ้าเริ่มรู้สึกว่าเฮ้ย
-
เธอเริ่มตีความความเชื่อฉันผิดละ
-
ให้ Angel ไปกระซิบพระเยซูหน่อยดีกว่า
-
ก็ลงไปกระซิบพระเยซู บอกว่า
-
เฮ้ย สอนแบบนี้ ที่มันถูกจริง ๆ คือแบบนี้
-
แล้วก็ผ่านไปอีกพันปี
-
ก็ให้ไปกระซิบนบีมูฮัมหมัดหน่อยว่า
-
เฮ้ย จริง ๆ มันต้องเป็นแบบนี้
-
ประมาณนั้น
-
อ๋อ โอเค เห็นภาพชัดเจน
-
แต่มันมาอยู่บนประตูได้ยังไง
-
วิว: คะ
-
กัน: ทำไมเขาถึงเลือก Jesus
-
ทำไมถึง...ทำไมถึง...
-
ทำไมถึงเลือกเล่าของนบีอีซา ไม่ใช่นบีมูฮัมหมัด
-
อ๋อ ต้องบอกว่าจริง ๆ มันมีนบีหลายองค์อยู่รอบ
-
กัน: อ๋อ
-
คือมันมี Calligraphy อย่างนี้อยู่ทุกที่ค่ะ
-
แต่วิวแค่มองว่า
-
แผ่นนี้มันน่าสนใจดีเพราะว่าหลายคนจะไม่รู้ว่า
-
นบีอีซาเป็นหนึ่งในนบีของศาสนาอิสลาม
-
ก็เลยเลือกพูดถึงแผ่นนี้ให้ดูว่า
-
เฮ้ย มันเขียนถึงพระเยซูนะทุกคน ทำนองนี้
-
แต่ว่าเขาก็จะจารึกไปเรื่อย
-
จารึกคำสอน จารึกอะไรอยู่ตรงนั้นตรงนี้ ซึ่ง...
-
แต่ละที่ก็จะไม่เหมือนกันค่ะ
-
ทีนี้ในที่สุดเราก็ได้เข้าไป...
-
เราพูดถึงประตูกันไปแล้ว
-
เดี๋ยวเราจะเข้าไปในมัสยิดกันแล้วนะคะว่า
-
ในมัสยิดหน้าตาเป็นยังไง
-
นี่เพิ่งถึงประตูเองนะเนี่ย
-
ประตูแรกด้วยนะ มีอีกหลายประตู
-
แต่จะบอกว่าถ้าเกิดสมมติว่า
-
เราอยู่ เราไปเที่ยวจริง ๆ นะคะ กับที่นี่
-
ความอลังการของมันก็คือตรงวิว ตรงวิวข้างนอกด้วย
-
คือด้านที่เราหันหน้าไปก็คือตัวประตูเนอะ
-
แต่ว่าด้านหลังเมื่อกี้ค่ะ
-
มันจะเป็นวิวที่แบบกว้างมาก ๆ
-
แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือ
-
จะเป็นบันไดที่ค่อนข้างชันสุด ๆ เลย
-
ลงไปข้างล่าง
-
แล้วระหว่างขั้นบันไดก็จะมีขี้แพะอยู่นะคะ
-
แล้วก็มีแพะนอนอยู่
-
ตามบันไดอะไรอย่างนี้
-
ซึ่งมันมีความชันจนแบบ
-
มีความน่ากลัวเหมือนกันอะไรอย่างนี้เนอะแต่ว่าก็
-
ถ้าไม่โดนแพะ
-
มาขัดขวาง เราก็จะลงไปได้อย่างปลอดภัยนะคะ
-
อะโอเค ตอนนี้เข้ามาสู่ข้างในมัสยิดแล้วนะคะ
-
โดยที่ผ่านวาร์ปประตูเข้ามา
-
ป่าน: โอเค
-
วิว: เราเดินวาร์ปผ่านประตูเข้ามา
-
เราก็เจอกับลานโล่งกว้างมาก ๆ นะคะ
-
ก็คือลานอเนกประสงค์นั่นเอง
-
ซึ่งเป็นเหมือนลานที่เอาไว้ทำนู่นทำนี่ของศาสนาตาม
-
เขาเรียกว่าไร ตามมัสยิดทั่วไปก็จะมีลานแบบนี้
-
เอาไว้สามารถใช้ได้นะคะ
-
แต่ว่าเราจะต้องหันกลับไปตรงกลางลานค่ะตอนนี้
-
ถ้าเรา...
-
ถ้าเราตรงดิ่งไปที่กลางลานนะคะ
-
ไปตามอาคารสีขาวนั่นเลย
-
วาร์ปไปอย่างรวดเร็ว
-
เราเดินข้ามลานแดดร้อนผ่าวไป
-
อย่างไม่เหนื่อยอะไรเลยนะคะ
-
เราก็จะเจอกับสิ่งหนึ่งที่
-
เราอย่าเพิ่งไปสนใจอาคารสีขาวนั้นค่ะ เดี๋ยวเราจะพูดถึง
-
เราหันซ้ายนิดนึงนะคะ
-
หันซ้ายนิดนึง เราจะเจอกับบ่อน้ำนะคะ
-
เราเข้าไปดูบ่อน้ำกันดีกว่า
-
บ่อน้ำนี้ก็คือจะเป็นเหมือนบ่อน้ำทั่วไปค่ะ
-
ที่อยู่ตรงกลางมัสยิดทั่วไปเพื่อที่ว่า
-
จะให้คนมาทำความสะอาดร่างกาย
-
อาบนงอาบน้ำก่อนที่จะละหมาดนะคะ
-
ซึ่งหลังจากละหมาดเสร็จ
-
ซึ่งหลังจากทำความสะอาดร่างกายเสร็จ เราก็...
-
จะตรงดิ่งไปที่อาคารที่สำคัญที่สุดของ
-
มัสยิดนี้แล้ว นั่นก็คือ
-
ตัวมัสยิดจามานั่นเอง
-
ต้องบอกว่ามัสยิดทั้งหมดนี้
-
คือมัสยิดจามา แต่ว่าตัวอาคารหลักตรงนี้นะ
-
ถามว่ามัสยิดจามา
-
ทำไมหลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อรึเปล่า
-
ถ้าใครเคยไปเที่ยวนิวเดลีนะคะ
-
อ้าว ตรงนั้นก็มีมัสยิดจามา ตรงนี้ก็มีมัสยิดจามา
-
มัสยิดจามาคืออะไร
-
ต้องบอกว่าคำว่ามัสยิดจามาเนี่ยแปลว่ามัสยิดวันศุกร์ค่ะ
-
ซึ่งคำว่า...
-
ซึ่งวันศุกร์เนี่ยถือว่าเป็นวันสำคัญของศาสนาอิสลาม
-
ศาสนาคริสต์เข้าโบสถ์วันอาทิตย์ใช่ไหม
-
ศาสนายิวเข้าโบสถ์วันเสาร์
-
ศาสนาอิสลามเขาจะเข้ามัสยิดกันวันศุกร์
-
ดังนั้นปกติทั่วไปทุกวัน
-
เขาจะต้องไปละหมาดที่มัสยิดของตัวเอง
-
ที่แบบใกล้บ้านอะไรอย่างนี้ใช่ไหม แต่ว่า
-
วันไหนก็ตามที่เป็นวันศุกร์เนี่ย
-
ชาวอิสลามเขาจะไปรวมตัวกันที่
-
มัสยิดที่ใหญ่ของเมืองหรือเป็นมัสยิดสำคัญ
-
ดังนั้นมัสยิดไหนก็ตามที่ได้ชื่อว่า
-
มัสยิดจามาหรือมัสยิดวันศุกร์เนี่ย
-
ก็เลยไปมัสยิดสำคัญของเมืองนั้น ๆ นั่นเอง
-
ดังนั้นมัสยิดแห่งนี้ก็เลยถือว่าเป็น
-
หนึ่งในมัสยิดที่สำคัญมาก ๆ นะคะ
-
ซึ่งการตกแต่งภายในเนี่ยก็ไม่มีอะไรมาก
-
ก็จะเน้นเป็นศิลปะวาดปูนเปียกบนฝาผนัง แต่ว่า
-
เราเข้าไปดูด้านในไม่ได้ เพราะว่า
-
เราโดน Google ปิดส่วนนี้เอาไว้นะคะ ดังนั้น
-
วิว: เราตัดภาพไปอย่างรวดเร็ว
ป่าน: ไม่เป็นไร เราดูจากด้านนอก
-
ป่าน: เราดูจากด้านนอกได้เพราะว่า
-
ป่านจะสารภาพว่าตอนที่ป่านไปเที่ยวที่นี่อะวิว
-
ป่านก็ดูประตูข้างหน้า
-
แต่ป่านไม่ได้เดินเข้าไปข้างในเหมือนกัน
-
เพราะว่ามีสิ่งที่ดึงดูดตาเรามากกว่า
-
ก็คือตรงสีขาว ๆ เมื่อกี้
-
ที่เราคิดว่าทุกคนมาจะตรงดิ่งไปที่นี่แหละ
-
เราก็เป็นหนึ่งในนั้น เดี๋ยวจะพาทุกคนไปที่ตรง...
-
เป็นมัสยิดเหมือนกันเนอะใช่ไหม
-
เป็นสุสานหรือเป็นมัสยิด
-
ป่าน: หรือว่าเป็นอะไร
วิว: เป็นสุสานค่ะ
-
ป่าน: อ่า โอเค งั้นเดี๋ยวเราไปดู
วิว: คือสิ่งนี้...
-
สิ่งนี้ตั้งอยู่ในมัสยิด แต่ว่าไม่ใช่มัสยิด
-
มันคือสุสานของคนคนนึง นั่นก็คือ
-
ท่านซาลิม ชิสตี้นั่นเอง
-
ท่านซาลิม ชิสตี้นี่เป็นนักบวชนิกายซูฟีนะ
-
ก็คือเป็นนิกายนึงของอิสลามที่
-
เขาจะเน้นเรื่องการทำสมาธิอะไรต่าง ๆ
-
ถ้าใครเคยเห็นตามหนังเนี่ย ก็จะเป็นลัทธิที่คนอะ
-
ใส่เหมือนแบบ ผู้ชายนะ ใส่เสื้อที่เป็นกระโปรงบาน ๆ
-
แล้วก็ยืนชูมือขึ้นบนฟ้า แล้วก็ยืนหมุน
-
หมุนตัวเองไปเรื่อย ๆ เพื่อทำสมาธิ
-
อันนี้ก็คือนิกายซูฟีนะคะ
-
ซึ่งซาลิม ชิสตี้นี่ถือว่าเป็นนักบวชสำคัญมาก ๆ
-
เป็นเหมือนประมุขประธานอะไรของนิกายนี้เลยทีเดียว
-
แล้วเขาก็เป็นคนที่สำคัญมาก ๆ ถึงขนาดที่
-
ได้มีสุสานมาตั้งอยู่กลางมัสยิดจามาที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้
-
ถามว่าเขาเป็นคนสำคัญขนาดไหน
-
ก็ต้องบอกว่าสำคัญถึงขนาดที่ว่าถ้าไม่มีเขาเนี่ย
-
ก็จะไม่มีเมือง Fatehpur Sikri ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเลย
-
เพราะว่า...
-
เขาเป็นนักบวชธรรมดาทั่วไป
-
ที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่บ้าน Sikri
-
ก่อนที่เมือง Fatehpur Sikri จะเกิดขึ้น
-
แต่เขาอะมีชื่อเสียงในฐานะคนที่คนไปขอลูกกัน
-
คือถ้าใครไม่มีลูกเนี่ยต้องไปขอกับท่านซาลิม ชิสตี้
-
ทีนี้ฟังดูทุกคนก็แบบเอ๊ ศาสนาอิสลามขอพรได้ด้วยเหรอ
-
ก็ต้องบอกว่ามันเป็นเหมือนกรณีพิเศษนิดนึง
-
คือเขาเชื่อ
-
คือเขาไม่ได้เชื่อกันว่า
-
ท่านซาลิม ชิสตี้เป็นคนศักดิ์สิทธิ์หรืออะไรนะ
-
เพราะว่ามันผิดหลักศาสนา
-
แต่ว่าเขาเหมือนกับว่าเขาเป็นนักบวชศักดิ์สิทธิ์
-
เป็นคนที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ดังนั้นก็เลยได้รับ
-
พรพิเศษจากพระเจ้าว่าแบบ
-
เออ ฉันให้พรให้คนนี้สามารถให้พรได้อะ
-
ซึ่งก็เป็นเหมือนกับว่าการ tricky เล็ก ๆ สมัยนั้น
-
แต่เราจะไม่ไป discuss กันประเด็นนี้เนอะ
-
เอาเป็นว่า
-
เราสามารถขอพร ขอลูกจากซาลิม ชิสตี้ได้ละกัน
-
ทีนี้
-
ปัญหาก็คือมีคนคนนึงที่ไม่มีลูก
-
นั่นก็คืออักบาร์นั่นเอง
-
อักบาร์นี่...
-
มีเมียเยอะมากค่ะ
-
เป็นคนที่มีเมียอย่างเป็นทางการเนี่ย
-
ตามบันทึกประวัติศาสตร์บอกไว้ว่ามีเมีย 300 คน
-
โห
-
แล้วก็อันนี้คือเมียอย่างเป็นทางการ
-
และมีสนมที่ไม่ได้ขึ้นมาเป็น...
-
สนมที่ไม่ได้ขึ้นมาเลเวลเมียเนี่ย 5,000 คน
-
โอ้โห
-
ดังนั้นเขาก็บอกว่า
-
อักบาร์มีเมียและสนมเยอะขนาดนี้แต่ไม่มีลูก
-
อันนี้แอบเมาท์อักบาร์นิดนึง นอกเรื่องนิดนึงนะคะ เขาบอกว่า
-
มีเรื่องเมาท์กันว่าอักบาร์เนี่ยใช้ชีวิตอยู่กับเมียและสนม
-
เมีย 300 และสนม 5,000
-
จนกระทั่งถึงวันนึงในชีวิตตอนที่ตัวเองแก่เนี่ย
-
ในบันทึกอะเขียนเอาไว้ว่า
-
อักบาร์บ่น บ่นว่าแบบ
-
จากการที่ฉันใช้ชีวิตมาทั้งชีวิตนะ ฉันเรียนรู้แล้วว่า
-
คนเราอะ จริง ๆ แล้ว
-
น่าเสียใจเนอะที่เรามีเมียเยอะ
-
เราควรจะมีเมียแค่คนเดียวเท่านั้นก็พอแล้ว
-
แล้วถ้าสมมติว่า
-
เมียคนแรกไม่มีลูก
-
เราค่อยมีเมียอีกคนเพื่อมีลูกก็พอแล้วแหละ
-
ไม่ควรจะมี 5,000 คนเลยนะคะ
-
นี่ก็คือสิ่งที่อักบาร์เรียนรู้จากการมีเมีย 5,000 คน
-
ป่าน: ขอฉันทำปากคว่ำใส่แล้วพูดว่า แหมมม
-
นี่คือในหัวคืออยากเห็นฮาเร็มเลยอะ
-
สำหรับแบบ 5,000 คนกับเมีย 300 คนนี่
-
ต้องซอยห้องแบบไหนอะ เอาจริง ๆ จะอยู่ได้เยอะขนาดนี้
-
ป่าน: ฮึ้ย เยอะมาก
-
วิว: ชอบคอมเมนต์
-
ป่าน: ว่า
-
วิว: ชอบคอมเมนต์ที่เด้งขึ้นมาถามว่า
-
แล้วขอสามีต้องไปขอที่ไหน
-
วิว: อันนี้น่าจะต้องไปฮ่องกงอะไรอย่างนี้รึเปล่า
-
ป่าน: เดี๋ยวหาทริปให้
-
เดี๋ยวหาทริปแบบว่าตามล่าหาคู่ให้
-
ตอนนี้คือสำหรับใครที่อยากมีลูกแล้วไม่มีลูกนะ
-
จริง ๆ ต้องไปที่นี่ ป่านรู้สึกป่านพลาดเลยอะ
-
คือไม่ได้อยากมีลูกเองแต่ว่า
-
พี่สาวป่านอยากมีลูก
-
ก็เลยโอ้โห พลาด รู้สึกไม่งั้นจะไปขอให้พี่สาวเลย
-
เพราะว่าปกติแม่จะไปตามขอทุกที่มาให้
-
แม่ไปตามขอให้พี่สาวที่...
-
ที่อิตาลี ที่ฝรั่งเศสอะไรอย่างนี้มาแล้วได้จริง ๆ
-
อันนี้น่าลองเหมือนกันว่าจะได้รึเปล่า
-
กัน: เอ๊ะแต่ว่า ในตัวสุสานเนี่ย
-
เขาเป็นที่สำหรับให้ไปขอลูกอยู่ไหมฮะ
-
หรือว่าเขาแค่สร้างเพื่อแบบ tribute ให้...
-
ให้กับท่านผู้นี้
-
วิว: เขาสร้าง tribute ให้กับท่านผู้นี้
-
แต่ปัจจุบันนี้ก็ยังมีคนไปขอลูกอยู่ค่ะ
-
เดี๋ยวเราจะพาเข้าไปข้างใน ไปดูเลยว่า
-
การขอลูกของเขาเนี่ย เขาทำยังไง
-
แต่ว่าตอนนี้ถามก่อนว่า
-
แล้วอักบาร์ได้ลูกไหม
-
จากการที่ไปบูชาท่านซาลิม ชิสตี้
-
ต้องบอกว่า ได้
-
เพราะว่าแต่ก่อนอะ อักบาร์ที่มีเมียเยอะขนาดนี้
-
ก็เคยมีลูกแล้ว
-
คู่นึงเป็นแฝดแล้วก็ตายไวมาก ตายแค่เดือนเดียว
-
ทีนี้ซาลิม ชิสตี้ก็มีการทำนายกับอักบาร์บอกว่า
-
เฮ้ย เดี๋ยวเธอจะมีลูก
-
แล้วก็ถ้าท้องเมื่อไหร่นะเมียอะ
-
เพื่อกันไม่ให้ลูกตายเนี่ย
-
เอาเมียที่ท้องมาฝาก
-
มาให้มานั่งสมาธิ มาทำสมาธิอยู่กับฉัน
-
จนกว่าจะคลอด
-
แล้วลูกเธอจะรอด
-
ซึ่งอักบาร์ก็ทำตาม
-
พอทำตามเนี่ย
-
ก็รอดจริงแล้วลูกคนนั้นก็เป็นลูกชายด้วยนะคะ
-
แล้วก็อักบาร์ก็เลย
-
เฉลิมฉลองให้กับท่านซาลิม ชิสตี้โดยการ
-
ตั้งชื่อลูกคนแรกของตัวเองเนี่ยว่า ซาลิม
-
ก็คือเจ้าชายซาลิม ซึ่ง...
-
เดี๋ยวจะขึ้นมาเป็น
-
กษัตริย์ปกครองราชวงศ์โมกุลองค์ถัดไปที่ชื่อว่าชะฮันคีร์
-
ซึ่งจะเป็นพ่อของชาห์ชะฮัน คนที่สร้างทัชมาฮาลนะคะ
-
นอกจากนี้
-
เขาก็ไม่ได้เฉลิมฉลองอย่างเดียวด้วยการตั้งชื่อลูก
-
เขาฉลองอีกอย่างนึงโดยการ
-
ทำให้หมู่บ้าน Sikri เล็ก ๆ ของท่านซาลิม ชิสตี้เนี่ย
-
กลายเป็นเมือง Fatehpur Sikri เลย
-
ก็คือฉันสร้างเมืองนี้ทั้งเมืองเพื่อ
-
เฉลิมฉลองที่เธอแบบทำให้ฉันได้มีลูก
-
ป่าน: เล่นใหญ่มากแม่
-
คือเล่นใหญ่จริง ๆ
-
วิว: จริง คือเป็นเกียรติอะ แบบว่า
-
บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยว่า
-
ฉันสร้างเป็นเกียรติแก่เธอนะจ๊ะ
-
แต่ก็มีเรื่องเมาท์อีกบอกว่า
-
สุดท้ายอะ ซาลิมเคยงอนอักบาร์
-
บอกว่า เธอ
-
เธอมาทำให้เมืองสุขสงบของฉัน
-
กลายเป็นเมืองขนาดใหญ่ทำไม
-
ฉันจะนั่งสมาธิอยู่ในหมู่บ้าน
-
ฉันเป็นนักบวช
-
ฉันไม่ได้อยากได้ฮาเร็มของเธอ
-
มาอยู่หน้าบ้านฉันอะไรอย่างนี้
-
แต่ว่าก็เป็นแค่เรื่องเมาท์นะคะ
-
ก็เลยไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริงประการใด
-
อย่างไรก็ตามถือว่า
-
อย่างไรก็ตามเรากลับไปที่ภาพของสุสาน
-
ก็ต้องบอกว่าเป็นคนที่
-
ศักดิ์สิทธิ์มาก ๆ เพราะว่าต่อให้เป็นคนธรรมดา
-
แต่นี่ก็ถือว่าเป็นสุสานคนธรรมดาที่เล่นใหญ่สุด ๆ
-
คือเป็นคนที่ไม่ใช่เจ้าอะ
-
แต่ว่าสุสานอลังการงานสร้าง
-
วิว: เพราะว่า
ป่าน: ที่ที่ว่าเห็น...
-
วิว: เป็นสุสาน
ป่าน: ขอโทษจ้ะ
-
วิว: ค่ะ ๆ
-
ป่าน: เอาเลยค่ะ เอาเลยค่ะ
-
วิว: เพราะว่าสุสานนี้สร้างจากหินอ่อนทั้งหลัง
-
คือที่ผ่านมาทั้งเมืองสร้างจากหินทรายใช่ไหม
-
ซึ่งหินทรายแดงมันเป็นอะไรที่มีอยู่แถวนี้
-
แต่หินอ่อนแถวนี้ไม่มีเลย
-
ถ้าจะเอามาต้องไป
-
ขนมาจากราชาสถาน
-
ซึ่งอยู่ไกลออกไป
-
เรียกได้ว่าเหมือนกับเราสร้างบ้านปัจจุบัน
-
แล้วไปเอาหินอ่อนอิตาลีมาทำทั้งหลังอะ
-
คือไม่ใช่แค่ปูพื้นแต่ว่า
-
ทุกส่วนของสิ่งนี้เป็นหินอ่อนหมดเลยนะคะ
-
ทีนี้ สิ่งที่น่าสนใจที่เราจะดูอันนี้ก็คือ
-
หนึ่งเลยคือ แอบดูไอ้ยึกยือ ๆ ตรงคันทวยก่อนค่ะ
-
ตรงที่เป็นส่วนรับเพดาน
-
เราจะเห็นว่ามันหน้าตาดูไม่อิสลามเลย
-
คือที่ผ่านมาถ้าเราดูตรงอื่น ๆ อิสลามมันจะมีความแบบว่า
-
เหลี่ยม ๆ มุม ๆ ใช่ไหม
-
นี่คือส่วนนึงที่แสดงให้เห็นว่าอักบาร์เป็นคนที่
-
เอาฮินดูกับอิสลามมาปะปนกัน
-
เพราะว่าคันทวยนี้ดูหน้าตาแบบ
-
ดูยังไงก็ฮินดูอะ ดูยังไงก็แบบว่า
-
เป็นแขกพราหมณ์อะไรอย่างนี้
-
ป่าน: ซึ่งหน้าตามันดูคล้าย ๆ พญานาคป้ะ
-
ป่าน: ใช่ป้ะ
วิว: ใช่ มันหน้าตาเหมือนพญานาค
-
แต่เขาอาจจะไม่พญานาค 100% เพราะมันก็เป็น
-
พญานาคถือว่าเป็นสัตว์วิเศษในฮินดู
-
มันอาจจะแบบผิดหลักศาสนา
-
แต่มันคือคันทวยที่แปลงมาจากคันทวยพญานาคนี่แหละ
-
ซึ่งถ้าเราจะคุ้น ๆ มันก็ไปเหมือนพวกแบบตัวรับ
-
หลังคาวัดไทยมันก็หน้าตาแบบนี้
-
ก็จะเห็นว่าไม่อิสลามเลยนะคะ
-
กับอีกอย่างนึงที่สวยมาก ๆ แล้วอยากให้ทุกคนดูก็คือ
-
ตรงหน้าต่าง
-
ตอนนี้เราอาจจะเห็นแค่ว่า อ๋อ มันเป็นแผ่นหินอ่อน
-
แกะสลักรูปนูนต่ำอะไรอย่างนี้ใช่ไหม
-
เพราะว่าเรามองจากข้างนอกเข้าไปอะ มันมองไม่เห็น
-
แต่จริง ๆ แล้วค่ะ
-
ถ้าไปมองข้างใน เราจะเห็นว่ามันเหมือนมุ้งลวดอะ
-
คือมองข้างใน เราเห็นทุกอย่างออกมาข้างนอก
-
ใช่ มันคือหินอ่อนฉลุ
-
ซึ่งมันเป็นหินอ่อนแผ่นเดียว
-
ทั้งหมดนี้คือหินอ่อน 1 แผ่น
-
ซึ่งฉลุจนบาง
-
จนเราสามารถมองทะลุได้แบบนี้
-
แล้วถ้าซูมเข้าไปเล็ก ๆ
-
จะเห็นว่าลายละเอียดมาก ลายแบบ
-
เขาเรียกว่าอะไร ลายละเอียดวิจิตรสุด ๆ
-
เขาบอกว่านี่คือแผงชาลี (Jali)
-
หนึ่งในแผงชาลีที่สวยที่สุดใน
-
ประเทศอินเดียนะคะ
-
วิว: ซึ่งแบบว่า
-
กัน: เป๊ะมาก
-
วิว: เป๊ะเว่อร์ ๆ แล้วแบบเป็นหินอ่อนอะ
-
สลักผิดแล้วมันบางมาก มันเส้นเล็กจึ๊งเดียว ถ้าแบบ
-
สกัดผิดจุดเดียว แตกปึ๊ก คือจบ
-
เพราะว่ามันต่อไม่ได้
-
ดังนั้น พี่ผ้าป่านเห็นของจริงมาแล้วรู้สึกยังไงบ้างคะ
-
ป่าน: ใช่ ๆ คือเมื่อกี้จะแชร์ว่าแบบ
-
อันนี้ เราประทับใจสิ่งนี้ที่สุดเลย
-
แต่ตอนที่ไปอะ ไม่รู้ว่ามันเรียกว่าแผงชาลีนะ
-
แต่ว่าตอนนี้รู้และ แล้วก็ยิ่งรู้สึกว่า
-
ตอนที่เห็นจากด้านนอกอะ เราชอบมาก
-
แล้วพอเข้ามาข้างในก็รู้สึกว่า
-
เฮ้ย มันไม่ได้ภาพเดียวกับการเห็นจากหินอ่อนด้านนอกเลย
-
แล้วก็ตอนที่เข้าไปในศาสนสถาน
-
ตรงนี้ค่ะ จริง ๆ อะก็จะมีเหมือนกับแบบ
-
เหมือนกับน่าจะเป็นสตาฟของเขาอะ บอกเราว่าแบบ
-
เนี่ย ลองเอากล้องไปส่องตรงรูสิ
-
มันจะเหมือนกับเป็นเหมือนเฟรมที่มันเป็น
-
เหมือนกับเจาะ ๆ ลงมาแล้วก็จะเห็น
-
เอ่อ อาคารที่อยู่ด้านนอกอะไรอย่างนี้
-
ซึ่งเดี๋ยวมีรูปให้ดู
-
เออ อันนี้เรา snap มา
-
เขาก็จะบอกว่า
-
เนี่ย ๆ มุมนี้มันจะเห็นตรงประตูแบบนี้นะ อะไรอย่างนี้
-
แล้วเขาก็จะยืนชี้ให้ดูหลาย ๆ มุม
-
ซึ่งอันนี้ป่านเอากล้องไปทาบอยู่ตรง
-
ตรงแผงชาลี ตรงหินอ่อนเลยค่ะ
-
มันก็จะ create เฟรมตรงนี้ขึ้นมาตามลักษณะที่เขาแกะหิน
-
แล้วคือเรารู้สึกว่า
-
แล้วมันเป็นอย่างนี้ทุกรู
-
จริง ๆ แล้วทั้งแผง
-
แล้วไม่ใช่มีแค่ด้านเดียวคือ
-
ทุกด้านเป็นแผงชาลีแบบนี้หมดเลย
-
เลยมีความตะลึงมากว่าอันนี้คือแผ่นหินอ่อน 1 แผ่นใหญ่ ๆ
-
คือถ้าเกิดสกัดตรงไหนแตกปุ๊บ คุณเริ่มใหม่อะเอาจริง
-
ป่าน: ความอลังการ
-
โจ้: แปลกใจว่าเขาให้ tourist เข้าใกล้ขนาดนั้นเลยเหรอ
-
แบบคือมันกลัวแตกมากเลยนะ
-
ป่าน: โอโห
-
พี่โจ้ เอาจริง ๆ คืออันนี้มันเป็นสำหรับให้เหมือนกับ
-
ไม่ใช่สร้างให้สำหรับ tourist เข้านะคะ
-
แต่ว่าเสรีเลยค่ะคือคนเข้าไปได้
-
แต่มีข้อกำหนดอย่างเดียวเลยค่ะก็คือ
-
ต้องมีอะไรคลุมผม
-
คือทั้งผู้ชายผู้หญิงจะต้องมีแบบ
-
เหมือนมีผ้าคลุมผมก็ได้ หรือจะใส่หมวกก็ได้หรือ
-
ถ้าไม่มีอะไรไป เขาจะมีตะกร้าค่ะ
-
เหมือนตะกร้าใส่ผักอะพี่ เป็นสีสะท้อนแสงอะ
-
ให้เอามาครอบหัว
-
เหมือนเวลาชาวต่างชาติมาวัดพระแก้วแล้วต้องแบบ
-
เหมือนมีผ้าถุงอยู่ข้างหน้า
-
ประมาณเดียวกัน
-
เขาก็จะเตรียมตะกร้า
-
อะ ยูไม่มีเหรอ เอาตะกร้าไปครอบหัว อะไรอย่างนี้
-
ก็จะมีตะกร้าครอบอยู่ข้างบน
-
เข้าข้างใน แต่ว่าเสรีค่ะ เข้าไปได้แล้วก็
-
จะเหมือนมีคนทำพิธีให้ด้วย
-
น่าจะเป็นพิธีที่น้องวิวบอกว่าเป็นการขอลูก
-
ตอนที่ป่านไปอะ
-
ป่านไม่รู้ว่าเพื่อการขอลูก
-
ป่านก็ให้เขาไปเคาะ ๆ หัวปกติ
-
เออ แต่แบบว่าไม่ได้ทำพิธีกรรมครบนะ
-
ฉันยังไม่ถึงเวลา ยังไม่ถึงเวลา
-
ให้วิวเล่าดีกว่าว่าทำยังไง ที่บอกว่าเป็นการขอลูก
-
วิว: ที่เมื่อกี้พี่โจ้ concern ว่า
-
ให้เข้าใกล้ขนาดนี้เลยเหรอ น่ากลัว
-
จะบอกว่าตอนขอลูก
-
สำหรับคนที่รักศิลปะเนี่ย ช็อกกว่านั้นอีกค่ะ
-
เพราะว่าวิธีการขอลูก
-
ภาพดังต่อไปนี้
-
มันจะมีแผงชาลี 1 แผง
-
ซึ่งรูปยังไม่มานะฮะ
-
มันจะแผงชาลี 1 แผงที่
-
เขาให้เอาด้ายสีแดงไปผูกกับไอ้ที่เมื่อกี้แกะสลักเนี่ย
-
ที่แกะกันยากมาก ๆ เนี่ย
-
เพื่อที่ว่าจะเป็นการขอลูก
-
คือเหมือนผูกไว้ว่าเออ ขอผูกให้มีลูกนะจ๊ะ อะไรอย่างนี้
-
วิว: แต่ยังไงก็...
ป่าน: วิว แล้วเธอเชื่อไหม...
-
ป่าน: เธอเชื่อไหมว่าอันนี้คือเรา snap มา
-
แล้วเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาทำไปเพื่ออะไร
-
ก็เลยได้มีภาพจากข้างในว่าเขาผูก ๆ
-
เพราะเราก็ยืนดูแล้วเราก็...
-
เอ๊ เขาทำอะไรอะ
-
แต่ถ้าเกิดสังเกตเห็นในรูปอะค่ะ
-
จะเห็นว่าแบบมีแบงก์ไทยอยู่ข้างล่างด้วย
-
อยู่ข้างล่างภาพอะ
-
เพราะว่าเหมือนกับเขาจะเหมือนกับให้บริจาค
-
คนไทยวางเงินไว้เยอะมาก
-
โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าพวกเขารู้กันรึเปล่าว่า
-
เหมือนกับน่าจะเป็นเรื่องทำพิธีขอลูกอะไรแบบนี้ค่ะ
-
ก็จะเห็นแบงก์อยู่
-
วิว: ที่เราแอบเห็นข้าง ๆ นิดนึงว่ามันมี
-
ลวดลายดอกไม้อะไรอย่างนี้
-
เดี๋ยวเราจะเห็นต่อไปในที่อื่น ๆ มากมาย
-
ก็เป็นอีกที่นึงนะคะ
-
ป่าน: อันนี้ตะกร้า ตะกร้าที่ป่านบอก
-
ตะกร้าที่อยู่บนผมที่ป่านบอก เขาก็ใส่จริง ๆ
-
วิว: ความน่าเศร้าของสิ่งนี้
-
วิว: อะ ดังนั้น...
ป่าน: เหมือนจะไม่ได้เตรียมหมวกมา
-
ป่าน: ค่ะ
-
วิว: ไหน ๆ เวลาล่วงเลยมานานแล้ว
-
เราวาร์ปออกจากศาสนสถานดีกว่า
-
ไปดูสิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ
-
เราจะเดินอย่างรวดเร็วออกจากโซนศาสนสถานนะคะ
-
แล้วก็วาร์ปข้ามทุกสิ่งอย่างไปที่
-
โซนว่าราชการของอักบาร์กันเถอะ
-
ซึ่งจริง ๆ แล้วน่าจะใช้เวลาเดินพอสมควรเลย
-
เพราะว่าถือว่าอ้อมเมือง 6 กิโลเมตรไปนะคะ
-
แต่ว่าเราจะปื้ดไปอย่างรวดเร็ว
-
วิว: ไปที่โซนว่าราชการเลยจ้า
ป่าน: ของจริงร้อนมาก
-
ป่าน: โอเคค้าบ
-
ของจริงจะร้อนนิดนึงนะคะ
-
แต่ว่าก็ระหว่างทางเดินก็จะสวยดีเนอะ
-
อันนี้เป็นโซนว่าราชการ ซึ่งเป็นโซนที่สองเนอะวิว
-
วิว: ใช่ค่ะ เป็นโซนที่สอง
-
ซึ่งมันจะอยู่ติดกับฮาเร็ม แทบจะแยกกันไม่ออก
-
ดังนั้นวิวจะพูดรวบไปเลยเป็นโซนเดียวกันนะคะ
-
เราเดินเข้ามาในโซนว่าราชการ
-
ตามฝูง tourist ต่าง ๆ มาเนี่ย
-
เราก็จะเจอกับอาคารหลังแรกนะคะ
-
ซึ่งอยู่ด้าน...
-
ซึ่งอยู่ด้านหน้าซ้าย ๆ ของเราตอนนี้เลย
-
อยู่ติดกับกำแพงนะคะ อาจจะดูไม่ค่อยออก
-
ตรงนั้นเลยค่ะ ตรงที่เมาส์จิ้มอยู่นะคะ
-
อันนี้คือ Diwan I Aam นะคะ เป็น...
-
เหมือนอาคารที่อยู่ระหว่างทางเดินเชื่อมนะ
-
สำหรับไว้เสด็จออกว่าราชการอย่างเป็นทางการ
-
เวลาที่มีใครระดับแบบว่าประเทศมาเยี่ยมชมเนี่ย
-
เนี่ยค่ะ ถ้าเราดูจากภาพบน เราก็จะเห็นว่าตรงจุด...
-
ตรงระหว่างกำแพงน่ะแหละนะคะ
-
ก็เวลาที่ใครมาเยี่ยมมาอะไรก็จะเข้าไปคุยกันในอาคารนี้
-
ซึ่งเดี๋ยวเราจะไม่ได้เข้าไปเพราะว่ามันไม่ได้
-
น่าตื่นเต้นอะไรขนาดนั้น แต่บอกเลยว่า
-
ยุคอักบาร์เนี่ยเป็นยุคที่
-
ค่อนข้างจะเปิดกว้างมาก ๆ อย่างที่วิวบอก
-
ยกตัวอย่าง ไม่ใช่แค่...
-
เรื่องที่เขาเปิดกว้างทางศาสนาแบบนี้แต่ว่า
-
ที่ปรึกษาต่าง ๆ ของเขา เสนาบดีต่าง ๆ ของเขาอะ
-
เรียกว่าหลากเชื้อชาติมาก ๆ คือมีแบบ
-
แทบจะทุกเชื้อชาติอะ มารวมตัวกัน
-
เขามี...
-
กลุ่มที่ปรึกษากลุ่มนึงที่โด่งดังค่อนข้างมาก
-
ที่ชื่อจะมาคู่กับอักบาร์บ่อย ๆ เลยชื่อว่า
-
นวรัตน์บุคคล
-
แต่ว่าเราจะไม่ไปพูดถึงกลุ่มนั้น
-
เราจะไปพูดถึงที่ปรึกษาคนนึงที่น่าสนใจมาก
-
ชื่อว่าเสนาบดีพีรพล
-
เป็นเสนาบดีแบบเป็นกุนซือคู่ใจของอักบาร์เลยนะคะ
-
ซึ่งคนนี้ต้องบอกว่าเป็นอิคคิวซังแห่งอินเดีย
-
เพราะว่ามีนิทานของตัวเอง 1 เซตเลย
-
ที่เป็นนิทานแบบรวมการแสดงสมองเขาว่าแบบว่า
-
สมองเขาเฉียบแหลมยังไง
-
ยกตัวอย่างเช่นพวกแบบว่า
-
การตัดสินคดีความต่าง ๆ
-
ก็จะอารมณ์คล้าย ๆ กับพวกที่เราเคยเห็น
-
ที่เราได้ยินในอดีต ที่มันมีการตัดสินกัน
-
โดยใช้ไหวพริบของผู้พิพากษานั่นแหละ
-
เช่นแบบว่า เฮ้ย
-
ไหนคนนี้กับคนนี้ ใครพูดโกหก
-
ถามไปถามมาแล้วก็หลอกล่อให้พูดความจริงออกมา
-
ประมาณนั้นค่ะ
-
ซึ่งเราจะไม่ไปลงรายละเอียดตรงนี้เนอะ
-
ขออนุญาตข้ามดีกว่าเพราะว่า
-
เดี๋ยวมันจะยาวเกินไป
-
ถ้าเดี๋ยวมีโอกาส วันหลังเดี๋ยวมาเล่าเป็นเรื่องเลยดีกว่านะคะ
-
ข้ามไปที่ในอาคารดีกว่าว่า
-
หลังจากที่เราเดินทะลุโซนนอก
-
อันนี้คือโซนนอกที่สุดเลยที่
-
คนมาเยี่ยมเข้าไปปุ๊บแล้วจะเจอกับอาคารหลังแรก
-
อันนี้เราเข้ามาในโซนส่วนตัวของอักบาร์ละ
-
ซึ่งก็ยังมีพวกเสนาบดีต่าง ๆ มาเดินได้แหละแต่ว่า
-
จะค่อนข้างเป็นที่อยู่ส่วนตัวนิดนึง
-
อาคารหลังแรกที่อยู่ข้างหน้าทุกคนตอนนี้นะคะก็คือ
-
Diwan I Khas ค่ะ เป็นท้องพระโรงใช้ว่าราชการแบบ
-
ค่อนข้างจะส่วนตัว เป็นแบบที่เข้าเฝ้าส่วนบุคคลนะคะ
-
ซึ่งอาคารเนี่ยจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมสองชั้นแล้วก็
-
ข้างในจะเป็นศิลปะที่ผสมผสานหลายศาสนามาก
-
ดูตรงนี้อาจจะไม่ชัด เราวาร์ปเข้าไปข้างในดีกว่าว่า
-
เราเห็นอะไรน่าสนใจอยู่อันนี้
-
เป็นเสาที่อลังการมากนะคะ
-
เป็นเสาที่ทำเหมือนแบบว่า
-
ไม่อิสลามเลย เพราะว่าถ้าซูมเข้าไปใกล้ ๆ
-
จะเห็นว่าเหมือนพญานาคอะ
-
รับเสานี้ไว้
-
มันเป็นพญานาคล้อมรอบหมดเลยอะ
-
แต่ว่าอาจจะไม่ใช่แบบ ไม่กล้าบอกตรง ๆ ว่าเป็นพญานาค
-
จะบอกแค่ว่าเป็นเหมือนคันทวย อะไรอย่างนี้นะคะ
-
ซึ่งด้านบนน่ะก็เป็นที่ตั้งของบัลลังก์ที่อักบาร์จะนั่งอยู่
-
เขาจะนั่งอยู่บนเสานั้นแล้วก็มองลงมา
-
แล้วก็มักจะเชื้อเชิญให้
-
พวกกูรูของศาสนาต่าง ๆ อะเข้ามาเฝ้าที่นี่
-
แล้วก็มาถกเถียงปัญหาศาสนากันเพราะว่า
-
อักบาร์ค่อนข้างจะเปิดกว้างเนอะ ศาสนา
-
เขาบอกว่าเปิดกว้างถึงขนาดที่ว่า
-
อักบาร์เคยมีความพยายามที่จะ
-
รวบรวมศาสนาต่าง ๆ เป็นศาสนาเดียว
-
ชื่อว่าศาสนา ดีน-ไอ-อีลาฮี นะคะ
-
ซึ่งเป็นศาสนาที่แบบ
-
อะ ฉันจะรวมเอาจุดเด่นของฮินดู จุดเด่นของอิสลาม
-
จุดเด่นของทุกอย่างแล้วยัดรวมกัน ทุกคนจะได้เลิกตีกัน
-
แต่ว่าก็น่าเสียดายมาก ๆ ที่ไม่สำเร็จนะคะ
-
อย่างไรก็ตาม
-
เราจะออกจากพระที่นั่งนี้ไปอย่างรวดเร็ว
-
เพราะว่าเรายังมีอีกหลายที่ต้องไป
-
ไปดูที่อาคารน่าสนใจหลังนึงค่ะ
-
นั่นก็คือ
-
อาคารจิ๋ว ๆ
-
ที่ไม่ได้อยู่ฝั่งนี้นะคะ
-
ป่าน: น่าจะอยู่ทางขวามือค่ะ
-
ป่าน: นั่น โดมข้าง ๆ
วิว: นี่ ๆ ข้างหน้า
-
วิว: ซ้าย ๆ ค่ะ ซ้ายนิดนึง
-
ป่าน: ตรงกลม ๆ
-
วิว: เห็นโดมตรงหน้าเรานั้นนะคะ
-
เราจะเข้าไปดูตึกเล็ก ๆ ตึกนี้นะคะ
-
มันคือหอดูดาวค่ะ
-
ที่มีเอาไว้ให้โหรหลวงเนี่ย
-
นั่งแล้วก็ดูดาวสังเกตปรากฏการณ์ทางท้องฟ้านะคะ
-
ก็เป็นเหมือนที่นั่งจิ๋ว ๆ
-
ที่น่าสนใจก็คือ
-
ที่รับหลังคา จะเห็นว่ามันมีลักษณะที่ดูแบบ
-
อันนี้ชัดกว่านาคอีก เพราะว่ามันดู
-
ไม่... ดูไม่อิสลามเลย ดูฮินดูมาก ๆ
-
มันเรียกว่า มกรโตรณะ
-
ซึ่งมกรโตรณะ มกรก็คือ
-
สิ่งมีชีวิตสิ่งนึงใน
-
เป็นสัตว์วิเศษของฮินดูอะ
-
ที่เมื่อกี้วิวบอกว่าพระแม่คงคาขี่อะค่ะ
-
ซึ่ง...
-
ก็จะเป็นมกรแล้วก็พ่น
-
เหมือนพ่นอะไรบางอย่างออกมานะคะ
-
ตรงเมื่อกี้ อันนี้ก็คือตัวอย่างรูปมกรโตรณะ
-
ซึ่งถ้าเราอยากดูเนี่ย มันก็ส่งผลมาถึงศิลปะที่ไทยเหมือนกัน
-
เราก็จะสามารถเห็นมกรได้ตามที่ต่าง ๆ ของไทย
-
ยกตัวอย่างเช่นที่เทวาลัย อักษรฯ จุฬาฯ ก็มีเหมือนกัน
-
และวิวหาภาพเทวาลัยแบบชัด ๆ ไม่ได้
-
วิวก็เลยพลีชีพด้วยการเอารูปตัวเองสมัยเรียนอยู่
-
มันเป็นรูปเดียวที่วิวหาเจออะทุกคน
-
เดี๋ยวไม่ใช่ซูมวิวสิ ซูมมกร
-
มีการพลีชีพนิดนึง
-
คืออยากให้เห็นมกรโตรณะด้านบนนะคะ
-
คือพยายามคุ้ยแล้ว ไม่เจอรูปไหนที่ไม่มีหน้าตัวเองเลย
-
เนี่ย ก็จะเห็นว่ามันมีมกรโตรณะเหมือนกันอยู่ดังนั้น
-
ที่อยากให้เห็นก็คือ
-
ที่อยู่ของอักบาร์มันมีความรวมกันทุกแบบว่า
-
ข้ามชาติ ข้ามศาสตร์มากนะคะ
-
ข้ามศาสนากัน
-
และแล้วเราก็จะออกจากโซนว่าราชการอย่างรวดเร็ว
-
เพราะไม่มีใครสนใจราชการหรอก ทุกคนอยากดู...
-
ฮาเร็ม
-
ฮาเร็มของพระเจ้าอักบาร์นั่นเอง
-
หันไปด้านซ้ายนะคะ เราจะเห็นอาคารสูง ๆ ตรงหน้านั้น
-
อาคารสูง ๆ 5 ชั้นนั้นนะคะคือพระที่นั่งที่เรียกว่า
-
พระที่นั่งปัญจมะฮัล
-
ปัญจมะ ก็คือปัญจะแปลว่า 5 แปลว่าอาคาร 5 ชั้นนะคะ
-
ซึ่งมีอีกชื่อนึงว่า
-
อะไรสักอย่าง วิวอ่านไม่ออกเพราะภาษามันยากจริง ๆ เนอะ
-
มันแปลว่าหอคอยรับลม
-
ก็คือเป็นหอที่เอาไว้รับลมนั่นเอง
-
จะเป็นหอที่อยู่ระหว่าง
-
ฝ่ายในกับฝ่ายนอก
-
ฝ่ายนอกก็คือฝ่ายที่ผู้ชายเข้าได้ กับ
-
ฝ่ายในที่เป็นฮาเร็มของพระเจ้าอักบาร์เองนะคะ
-
ทีนี้ หออันนี้ก็เป็นแบบ
-
เขาสันนิษฐานว่าให้เป็นที่อยู่ของอักบาร์
-
แบบอักบาร์จะมานั่งรับลมอยู่บนชั้นบนสุด
-
แล้วก็แบบนั่งมองทุกอย่าง
-
ส่วนชั้นล่าง ๆ เนี่ยก็เป็นที่รับลมของเหล่าสนมทั้งหลาย
-
ที่จะแบบโดนกักขังอยู่ในฮาเร็มแล้วก็
-
มานั่งตรงนี้จะได้มองทิวทัศน์ที่อื่นเห็น
-
แบบว่าแก้เบื่อว่าอย่างนั้นเถอะ
-
เขาบอกว่ามันยิ่งใหญ่มาก ๆ
-
เพราะว่ามีเสาถึง 84 ต้นด้วยกันนะคะ
-
ก็เสาเยอะมาก
-
แต่ละเสาก็จะมีการสลักเสลาลายที่น่าสนใจ
-
แต่อีกส่วนนึงที่น่าสนใจค่ะ
-
ก็คือหน้าพระที่นั่งปัญจมะฮัลเนี่ย
-
ก็จะมีบ่อน้ำอยู่ 1 บ่อ
-
เราจะไม่ทะลุไปด้านในนะคะ
-
เพราะว่าเราจะหลงทาง
-
เราต้องกลับออกมาก่อน
-
ทุกคนหลงทางตรงนี้อะ เราจะไม่ทะลุ
-
ป่าน: ป่านจะบอกว่า
-
วิวที่นี่ไม่ใช่แค่เดิน virtual แล้วจะหลงนะ
-
ของจริงเราก็หลง
-
แล้วเวลาแบบแยกย้ายกันเดินกับเพื่อนอะ
-
แล้วโทรหาว่าฉันอยู่ตรงไหน
-
อธิบายไม่ถูก เพราะทุกอย่างเป็นตึกอิฐแดงหมดเลย
-
หินทรายแดงสิ
-
วิว: ใช่
ป่าน: เป็นหินทรายแดงหมดเลย
-
ป่าน: อธิบายไม่ถูกว่าฉันอยู่ตรงไหนเพราะทุกที่เหมือนกัน
-
ความสนุกของที่นี่มันเลยเมื่อรู้ว่า
-
ที่ไหนเอาไว้สำหรับทำอะไร
-
มันถึงจะเริ่มเห็นลักษณะการใช้ชีวิตเขามากขึ้นอย่างนี้เนอะ
-
วิว: ใช่ ตอนนี้เราต้องหันหลังกลับค่ะ หันไปด้านขวา
-
วิว: 90 องศา
ป่าน: ไปด้านขวา
-
ป่าน: 90 องศา โอเค
-
วิว: แล้วตรงไปเลย
ป่าน: แอ่งน้ำตรงนั้น
-
วิว: เรากำลังจะพูดถึงแอ่งน้ำตรงนี้ที่น่าสนใจมาก ๆ
-
เพราะว่ามันเป็นบ่อน้ำ
-
ที่อยู่กลาง
-
เขาเรียกว่าอะไร อยู่กลางสถานที่อยู่ของพระเจ้าอักบาร์
-
เราเห็นสิ่งที่อยู่ตรงกลางบ่อน้ำนั่นไหมคะ
-
ที่มันเป็นแท่นอะไรบางอย่างยกขึ้นมา
-
อันนี้น่าสนใจมาก มันไม่ใช่ที่ที่พระเจ้าอักบาร์
-
มาเดินให้อาหารปลาหรืออะไรหรอก
-
แต่ว่ามันคือสถานที่ตั้งของวงดนตรี
-
ซึ่งเขาเอาไว้ตั้งวงดนตรีในยามค่ำคืนแล้วก็
-
เหมือนแบบแทนที่จะซื้อลำโพงมาตั้ง
-
ก็เอาวงดนตรีมาตั้งตรงนี้
-
แล้วก็เปิดเพลงขับกล่อมทั้งวังในยามค่ำคืน
-
ระหว่างที่ทุกคนนอน
-
มีความฮิปสเตอร์ต้องเปิดเพลงนอนนะคะ
-
วิว: หรือว่าบางทีก็...
ป่าน: คือตอนแรกก็...
-
ป่าน: เอาเลยค่ะ โทษที
-
วิว: บางทีก็เก๋กว่านั้นอีกก็คือ
-
ไม่เป็นไรค่ะ
-
หรือบางทีก็แก้กว่านั้นอีกก็คือ
-
มีการประกวดร้องเพลงกันในเวทีลอยน้ำนี้
-
ป่าน: เมื่อกี้ที่พูดขึ้นมาคือกำลังจะบอกว่า
-
ตอนวิวเปิดอันนี้ให้ดูอะ ความคิดแรกคือ
-
เฮ้ย ต่อยมวย ต่อยมวย
-
คือทำไมถึงคิดถึงต่อยมวยไม่รู้
-
มันคนละยุค
-
วิว: ไม่ใช่ต่อยมวย
กัน: มันเป็นเวที
-
ป่าน: มันเป็นเวทีมวยกลางน้ำ
-
ป่าน: เป็นเวทีไว้ร้องเพลง
วิว: ใช่ แล้วความเก๋
-
วิว: ความเก๋คืออะไรรู้ไหมคะ
-
คืออันนี้มันไว้เปิดเพลงใช่ไหม
-
แล้วถ้าเราหันไปด้านขวาของเวทีนิดเดียวเอง
-
เราก็จะเจอกับ
-
ที่ห้องนอนของอักบาร์เองเลยนะคะ
-
ตึกนี้คือตึกห้องนอนของอักบาร์
-
คือพี่แกสร้าง...
-
ซื้อลำโพงมาติดหน้าห้องนอนอะว่าอย่างนั้นเถอะ
-
เพื่อที่จะฟังเพลงนะคะ
-
เดี๋ยวเราเข้าไปดูในห้องนอนของอักบาร์กันดีกว่า
-
เราคิดว่าคนที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ห้องนอนจะหรูหราขนาดไหน
-
เราเคยเห็นห้องนอนในแวร์ซายส์ในอะไรมาแล้ว
-
ในสัปดาห์ก่อน ๆ เราเห็นห้องนอนพระเจ้าหลุยส์ที่แบบ
-
เฮ้ย มีอะไรฉันยัดเข้าไปในห้องนอนตัวเองหมดเลย
-
แต่นี่คือห้องนอนของอักบาร์ซึ่งเล็กมากและแคบมาก
-
ถ้ามองไปด้านซ้าย ที่ยกพื้นขึ้นมา นั่นคือเตียงของอักบาร์
-
คือเตียงใหญ่แต่แคบ ไม่มีอะไรเลยนะคะ
-
เพราะว่าพี่แกเนี่ย
-
ตัดบ้านของตัวเองออกเกือบหมด
-
เพื่อที่จะยัดสิ่งนึงเข้าไปในบ้าน
-
นั่นก็คือ ห้องสมุดนั่นเอง
-
แม้ว่า พี่แกจะเสียพ่อไปในห้องสมุดแต่ว่าพี่แกก็ยัง
-
ชอบ ชอบหนังสืออยู่ดีนะคะ
-
และความพีคกว่านั้นก็คือ
-
มีห้องสมุดในห้องนอน ห้องสมุดใหญ่มาก
-
สะสมหนังสือไว้เยอะมาก
-
แต่...
-
อักบาร์อ่านหนังสือไม่ออกค่ะ
-
กัน: อ้าว
-
โจ้: อ้าว
-
ป่าน: อ้าว
กัน: แล้วทำไงอะ
-
วิว: อ่านหนังสือไม่ออก
-
วิว: เพราะว่า
-
คือจริง ๆ กษัตริย์โมกุลอ่านหนังสือออกทุกพระองค์
-
ยกเว้นอักบาร์องค์เดียว
-
สาเหตุที่อ่านไม่ออกเพราะว่าเป็น
-
โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia)
-
ก็คือเห็นตัวหนังสือแล้วมันแบบ
-
สลับ สลับกันไปหมด อ่านไม่ออก
-
ตั้งแต่เด็กพยายามแล้ว พยายามยังไงก็อ่านไม่ออก
-
โจ้: เรียบเรียงคำไม่ได้อะไรอย่างนี้ใช่ไหม
-
วิว: ใช่ ก็คือไม่ได้ ไม่สามารถ อ่านไม่ออก
-
แต่อักบาร์เป็นคนที่ชอบความรู้มาก
-
ชอบหาความรู้ใส่ตัว
-
ดังนั้นอักบาร์ก็เลยมีความฮิปสเตอร์กว่านั้นอีก
-
อักบาร์ฟังหนังสือเสียงทุกคืนค่ะ
-
อักบาร์จะให้คนมานั่งแล้วก็อ่านหนังสือให้ฟังทุกคืน
-
กัน: เป็น reader อย่างนี้เหรอ
-
โจ้: ฟัง podcast
-
วิว: ของอะไรคะ podcast ที่ไหนคะ
-
โจ้: Salmon Podcast
-
วิว: นั่นไง
-
ป่าน: อนุญาตให้ขายได้
วิว: มีความโยงให้
-
ป่าน: อ๋อ คือ podcast ที่มาก่อนกาลอะ
-
ก็คือให้คนจริง ๆ อ่านให้ฟัง
-
ให้ผลัดกันอ่านเนอะ
-
วิว: ใช่
-
คืออักบาร์อ่านไม่ออกก็ใช้วิธีนี้นะคะ
-
อะ เราออกจากห้องนอนอักบาร์ดีกว่า เดินทะลุไปที่
-
โซนที่อยู่ของสาว ๆ ทั้งหลาย
-
สาว ๆ เขาอยู่ยังไงนะคะ
-
เดินจากห้องนอนอักบาร์มาเนี่ย
-
ทะลุออกไปเราจะเจอสิ่งแรกก็คือ
-
ก็คือหาทางไม่ถูกใช่ไหมคะตอนนี้
-
ทะลุกำแพงนั่นไปเลยค่ะ
-
ป่าน: นี่กำแพงตรงหน้าค่ะ
วิว: ทะลุกำแพงข้างหน้า
-
วิว: อ่า ทะลุมันไปเลยค่ะ
-
วิว: อะ เราทะลุมาไหนแล้วเนี่ย
ป่าน: ทะลุเข้ามาแล้ว
-
ป่าน: ทะลุเข้ามาแล้ว
-
วิว: อ๋อ ทะลุเข้ามาแล้ว
-
วิว: สิ่งแรกที่เราจะเจอนะคะก็คือ
-
คือ...คือ...อันนี้น่าจะเป็น...
-
บ้าน
-
เป็นตำหนักของแม่อักบาร์
-
ซึ่งเราจะไม่ได้เข้าไปดูข้างใน เพราะว่าก็
-
มีแม่ของเขาอยู่ข้างในด้วยแล้วก็
-
แถวนั้นก็จะมีครัวอยู่
-
ครัวคืออาคารด้านขวานี่นะคะ
-
ซึ่งน่ารักมาก ๆ อย่างนึงก็คือ
-
ที่บริเวณครัวเนี่ยมีลายที่น่ารักสุด ๆ เลย
-
อยากซูมให้เห็นเนอะ
-
ให้เห็นเฉย ๆ ว่ามันน่ารัก
-
คือเขาก็มีความแกะสลักอยู่ทุกที่อะ
-
อย่างบนครัวอย่างนี้
-
แทนที่จะเอาผ้ามาห้อยเป็นชายพู่
-
เขาก็แกะสลักเป็นรูปพู่ห้อยต่าง ๆ
-
น่ารัก ละเอียดยิบไปในทุกที่ นะคะ
-
ป่าน: มีความ detail
วิว: ใช่
-
วิว: ใช่ แต่เราจะไม่สนใจแม่และครัว
-
เราจะไปสนใจที่อยู่ของเมีย ๆ อักบาร์กันดีกว่า
-
ด้านหน้านี่แหละค่ะก็คือ
-
พระตำหนักของพระนางมาเรียม อุซ ซามานี
-
หรือว่าเรียกว่าพระตำหนัก Jodha Bai นั่นเอง
-
ซึ่ง...
-
Jodha Bai เนี่ย ถามว่าโจดาสำคัญยังไง
-
โจดาก็คือนางเอกของเรื่อง Jodha Akbar
-
ที่เราพูดถึงกันตั้งแต่แรกนั่นแหละ
-
เพราะว่าถือว่าเป็นพระมเหสีที่อักบาร์รักที่สุด
-
ความพิเศษของโจดาก็คือ
-
นางเป็นฮินดู
-
คือ...
-
พี่ของนางหรือญาติของนางเนี่ยยกให้กับอักบาร์เพื่อที่ว่า
-
จะได้เชื่อมสัมพันธ์กันประมาณว่า
-
เอาน้องฉันไปแต่งงานนะ แล้วอย่ามายึดเมืองฉันเลย
-
เป็นการแต่งงานทางการ แต่ว่าอักบาร์เนี่ยรักมาก
-
แล้วโจดาเนี่ยเป็นฮินดูที่นับถือพระกฤษณะค่ะ
-
แล้วก็ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาอะไรทั้งสิ้น
-
ดังนั้นน่ะ
-
ในหนังเราจะเห็นฉากที่
-
โจดาเนี่ยโดนเกลียดโดย
-
เหล่าคนในราชสำนักของอักบาร์
-
ในสมัยที่อักบาร์ยังเหมือนคุมอำนาจไม่ได้ขนาดนั้นอะ
-
ก็จะโดนเกลียดเพราะว่า เฮ้ย อิสลาม
-
คือ อิสลามยุคก่อนอักบาร์ทุกคนอะมันจะต้อง
-
นับถืออิสลามถูกไหมคะ
-
อันนี้มาเป็นเมียของกษัตริย์
-
แล้วก็ยังนับถือฮินดูอีก แล้วที่สำคัญ
-
อักบาร์ดันรักมาก
-
รักถึงขนาดที่ยอมให้โจดาเนี่ย
-
สร้างเทวาลัยฮินดูบูชาพระกฤษณะขึ้นมา
-
กลางวังของตัวเอง
-
ก็คือวังของอิสลาม แต่ตรงกลางเป็นเทวาลัยฮินดู
-
อันนี้ถ้านับในเชิงอำนาจก็คือหยามกันถึงขีดสุด
-
แต่ว่า
-
แต่ว่าอักบาร์ยอม นะคะ
-
ดังนั้นมันก็จะมีฉากที่แบบ
-
ทะเลาะกับแม่ของอักบาร์อะไรต่าง ๆ
-
แม่ไม่ชอบ แม่ผัวไม่ปลื้ม อะไรอย่างนี้นะ
-
แต่ว่าสุดท้ายแล้วนี่ก็คือคนที่อักบาร์รักที่สุดค่ะ
-
อย่างไรก็ตามเราไปดูที่
-
ตัวพระตำหนัก Jodha Bai กันเถอะว่า
-
ถึงตามตำนานจะบอกว่านี่เป็นที่อยู่ของโจดา
-
แต่ว่าจริง ๆ แล้วมันน่าจะเป็น
-
ขอดูข้างนอกก่อนค่ะ อย่าเพิ่งเข้าไปข้างใน
-
แต่ว่าจริง ๆ แล้วมันน่าจะเป็น
-
ฮาเร็มที่อยู่ร่วมกันหลาย ๆ คนมากกว่า
-
เราดูจากลักษณะศิลปะ
-
ถ้าเราดูข้างนอกอะ เราจะไม่เห็นเลยว่ามันสวยงามยังไง
-
เราดูข้างนอกจะเห็นว่ามันมีแค่ประตูตรงนี้ที่ดูสวยงาม
-
แต่ถ้าเราเดินไปรอบ ๆ ลองเดินไปด้านข้างสักนิดนึงได้ไหมคะ
-
1-2 คลิก
-
เราจะเห็นว่า เฮ้ย อะไร ที่ผ่านมา
-
แต่ละตำหนักเราก็บอกว่ามันสลักเสลาสวยงาม
-
มีรายละเอียดเยอะแยะมากมาย
-
ทำไมที่อยู่ของเมียถึงเรียบขนาดนี้
-
ใช่ไหม ไม่มีอะไรเลย
-
ดูแบบ เป็นกำแพงเรียบ
-
แต่ว่า
-
ถ้าเข้าไปดูข้างใน เราจะเข้าใจความจริง
-
เดี๋ยวเราเข้าไปดูข้างในกันเถอะ
-
ถ้าเราเข้าไปดูด้านในนะคะ
-
ผ่านความเรียบนั่นไป เดินทะลุประตูปุ๊บ
-
ซึ่งมีประตูเดียวด้วย
-
เข้าไปถึง เราก็จะพบกับ
-
พบกับ ผนังที่เดินผิดด้าน
-
เดินทะลุไปเลยค่ะ
-
เราจะพบกับ
-
ลานกว้างที่มีการตกแต่งอย่างสวยงาม
-
เพราะว่านี่คือฮาเร็ม
-
ฮาเร็มคือสถานที่อยู่ของผู้หญิงซึ่งไม่ได้ออกมาข้างนอก
-
ไม่รู้จะตกแต่งไปทำไมข้างนอก ตกแต่งไปเธอก็ไม่เห็น
-
ดังนั้นเขาก็เลยเอาฝีมือทั้งหมดเนี่ย มายัดเข้าไว้ข้างใน
-
แล้วก็ถ้าเรา มองผ่านลานนี้ไป
-
ลานนี้คือลานที่เหล่าสนมกำนัล
-
กี่พันคนจะมาใช้ชีวิตร่วมกันน่ะนะคะ
-
ไปดูที่อาคารต่าง ๆ จะเห็นว่า
-
มันแบบสลักเสลาวิจิตรมาก
-
แล้วก็มีลายที่อ่อนช้อยเพราะว่าเป็นที่อยู่ของผู้หญิง
-
เราลองเข้าไปดูสักอาคารไหม ด้านหน้าก็ได้ค่ะ
-
ลองเข้าไปดูสักอาคารจะเห็นว่า
-
ลายละเอียดมากนะคะ
-
แล้วข้างในก็จะแบ่งเป็นสัดส่วน เป็นห้อง ๆ
-
เหมือนกับว่าแต่ละคนก็มีห้องของตัวเอง ประมาณนั้นเลย
-
นี่ก็คือ
-
เป็นแบบ
-
ฮาเร็มของพระเจ้าอักบาร์ที่เต็มไปด้วยสาว ๆ มากมายค่ะ
-
ซึ่งจริง ๆ อะจะบอกว่า Fatehpur Sikri อะ
-
ยังมีอีกหลายอย่างเลยที่ให้เราเดินดู
-
ยังมีอีกเป็นสิบอาคารเลยแต่ว่า
-
ถ้าเราเดินดู Fatehpur Sikri
-
ซึ่งเป็น World Heritage เนี่ย
-
ไปจนจบทุกอาคาร
-
วันนี้เราจะไม่ต้องไปไหน
-
แล้วเราจะไม่เข้าใกล้ทัชมาฮาลเลย
-
ดังนั้นเราควรจะพอแค่นี้แล้วก็
-
แล้วก็เปิดวาร์ปไปที่อื่นดีกว่า
-
พี่ผ้าป่านมีอะไรจะเสนอไหมคะ
-
จะเสริมไหมก่อนที่เราจะจากมันไป
-
ป่าน: จริง ๆ เราก็ครบถ้วนเพราะว่า
-
ตอนที่ป่านไปเดินอะ
-
ป่านก็รู้สึกเหมือนที่ป่านแชร์ไปว่า
-
เหมือนรู้สึกว่าทุกที่มันใกล้เคียงกันหมดเลยค่ะ
-
แต่ว่าพอเราได้เห็นว่าแต่ละพื้นที่มันมีการใช้งานแตกต่างกัน
-
แล้วก็มีการแบ่งเขตแบ่งโซนที่ชัดเจน
-
เหมือนได้รู้ detail มากขึ้นน่ะ
-
มันทำให้เหมือนกัน เราได้มองเห็นวิถีชีวิต
-
หรือว่าการใช้ชีวิตของคนในยุคนั้นจริง ๆ ว่า
-
มันมีการทำอะไร กิจกรรมอะไรเกิดขึ้นบ้าง
-
แล้วก็เขาวางผังแต่ละอย่างแบบไหน อะไรอย่างนี้ค่ะ
-
ก็แนะนำสำหรับคนที่อยากจะไปเที่ยวที่นี่นะคะ
-
ก็แดดร้อนมากค่ะ
-
ถ้าเกิดเป็นไปได้ก็ มีใส่หมวกก็น่าจะดีนะคะ
-
เพราะว่ามันจะอยู่กลางแจ้งหมดเลย ถ้าเกิดว่าเห็นภาพ
-
นอกจากว่าจะเข้าไปอยู่ในตัวอาคาร
-
ซึ่งแต่ละอาคารมันก็จะมีความมืดประมาณนึงค่ะ
-
แนะนำ แต่ว่าถ่ายรูปสนุก
-
มีนกพิราบนะคะ แล้วก็มีแดด
-
แล้วก็มีสิ่งสวยงามให้ดูแบบเป็น
-
เขาเรียกว่าเป็นแบบเหมือนกับ
-
สถานที่ที่แบบถ่ายรูปได้ทุกมุมเลย
-
สำหรับคนที่อยากจะไปถ่ายรูปที่นี่นะคะ
-
กัน: เอ๊ะ ถามนิดนึงครับ
วิว: ขอเสริมนิดนึงค่ะ
-
วิว: อะ ค่ะ
-
กัน: อากาศมันเป็นยังไง
วิว: ขอโทษค่ะ
-
กัน: อากาศ หมายถึงว่าอากาศที่พี่ผ้าป่านไปอะครับ
-
คือมันแดดร้อนแต่ว่ามันร้อนเหมือนบ้านเราไหม
-
หรือว่ามันไม่เหมือน
-
ป่าน: ตอนป่านไปอะ มันเป็นร๊อนร้อนนะคะ
-
มันเป็นร้อนยิ่งกว่าบ้านเรา
-
คือแดดที่นู่นมันเป็นแดดเผาอะ
-
ป่านว่าของไทยบางที่ หมายถึงว่า
-
บางที่ก็อาจจะเป็นร้อนเผาเหมือนกันอะไรอย่างนี้
-
ของเขาคือ ตอนป่านไปคือร้อนเลยต่ะ
-
แต่ว่าพอป่านเหมือน
-
เหมือนทริปตอนปลายปีที่ผ่านมา
-
คือป่านอะ มีขึ้นไปข้างบนภูเขาด้วยในทริปเดียวกัน
-
ก็คือที่ Fatehpur Sikri ก็คือจะมีความร้อนแดด
-
แต่ว่าพอขึ้นเหนือไปเรื่อย ๆ อีกนิดนึง
-
ก็คือหนาวแบบต้องใส่คอเต่า
-
ก็คือแต่ละพื้นที่ของเขามันมีความต่างกันค่อนข้างเยอะ
-
แล้วก็มีอยู่บนภูเขาด้วยอะไรอย่างนี้
-
แล้วก็ขึ้นอยู่กับฤดูด้วย
-
ก็จะแตกต่างกับไทยประมาณนี้ค่ะ
-
เมื่อกี้น้องวิวบอกว่าจะเสริมอะไรเอ่ย
-
วิว: ขอเสริมนิดนึงว่า
-
ลืมบอกไปว่าทั้งหมดนี้ที่เราเห็นยิ่งใหญ่มาก ๆ
-
คิดว่าเขาใช้เวลาสร้างนานแค่ไหน
-
ดูเป็นเมืองทั้งเมือง มีอาคารใหญ่เบิ้ม
-
มัสยิดใหญ่อันดับสองของโลกอย่างนี้
-
ไม่ได้ใหญ่อันดับสอง ยิ่งใหญ่อันดับสองของโลก
-
วิว: ใช้เวลาสร้างแค่...
-
โจ้: เดา
-
ป่าน: เดาเลยเดา
-
โจ้: 2 ปี
-
ป่าน: บ้าเหรอพี่
-
วิว: สลักหิน สลักแค่แผงชาลีก็หมดเวลาแล้วค่ะ
-
โจ้: เออว่ะ ไม่ได้ เออ 10 ปี 10 ปี
-
กัน: 10 ปี 10 ปี
-
ป่าน: 10 ปีแล้วคนที่ Live กันอยู่
-
เอ๊ย คนที่เป็นลูกทัวร์ที่อยู่ในแชต
-
ตอบกันได้นะคะว่า คิดว่ากี่ปี
-
ป่าน: 2 ปีนี่คือโหดมากพี่ ยังไม่ทันเตรียมหินทรายแดงเลย
โจ้: ไม่ได้ ๆ
-
ป่าน: เสร็จแล้วเหรอ
-
โจ้: 10 ปี 10 ปี
-
วิว: แถมให้นิดนึงละกัน เขา...
-
ใช้เวลาสร้างประมาณ 15 ปีด้วยกันค่ะ
-
ก็ เอาจริง ๆ ถือว่าเร็วนะ สำหรับเมืองสเกลขนาดนี้
-
แล้วเทคโนโลยีที่ไม่มี
-
วันก่อนที่เราคุยกัน เราคุยกันว่า
-
สร้างเร็วกว่าอะไรบางอย่างที่สร้างในแถว ๆ เราอีกนะ
-
กัน: อะไรบางอย่างมันคืออะไร
ป่าน: ตรงมไหสวรรย์ยังสร้างไม่เสร็จเลยพี่
-
ป่าน: 15 ปีเขาสร้างเมืองทั้งเมืองนึงเนี่ย
-
ป่าน: แต่คนตอบ 17 ปี ใกล้เคียงอยู่นะ
-
ป่าน: 15 ปีมีคนตอบถูก
โจ้: มีคนตอบถูกด้วย
-
วิว: ใช่ ๆ คือถามว่าทำไมถึง
-
ป่าน: เยอะมากนะ มันใหญ่ มันกว้างมากนะ กว้างจริง ๆ
-
วิว: มันกว้างมาก ๆ ค่ะ มันใหญ่
ป่าน: เดินได้ทั้งวัน
-
วิว: มันใหญ่กว่าวัดพระแก้วอีกอะเอาง่าย ๆ
-
วิว: แล้วก็
ป่าน: ใหญ่มาก
-
วิว: ถามว่าทำไมมันถึงเร็วขนาดนี้
-
วิว: สาเหตุที่มันเร็วขนาดนี้เพราะว่า
-
อักบาร์คุมเอง
-
เขาบอกว่าอักบาร์ลงมาคุมการก่อสร้างเองบ้างคือแบบ
-
ไม่ได้อยู่ตลอด แต่ก็มีความแบบว่า
-
แกสร้างเร็ว ๆ สิแล้วก็มีความวางแผนเองอะไรต่าง ๆ
-
ว่าฉันจะเอาบ้านฉันตรงนี้ อันนี้ตั้งตรงนั้น
-
อันนั้นตั้งตรงนี้ อะไรทำนองนี้ค่ะ
-
แต่ความน่าเศร้าที่สุดก็คือ
-
หลังจากที่ลงทุนสร้างทุกสิ่งอย่างนี้มา
-
สร้างยิ่งใหญ่มาก สวยมาก
-
อักบาร์ใช้เมืองนี้อยู่แค่ประมาณ 15 ปีเท่านั้นแล้วก็
-
ทิ้งเมืองนี้ไป ย้ายเมืองหลวง
-
ไปอยู่ที่อัฟกานิสถานก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่อัครา
-
ถามว่าทำไม
-
เพราะว่าที่วิวบอกไปตั้งแต่ต้นเลย
-
คือเมืองนี้เป็นเมืองที่แห้งแล้ง
-
มันไม่ได้โดน...
-
ผังเมืองมันไม่ได้เกิดขึ้นมา
-
เพื่อที่จะมีเมืองใหญ่ขนาดนี้มาอยู่ตรงนี้
-
มันไม่มีน้ำนะคะ ดังนั้น
-
สุดท้ายก็เลยจำเป็นจะต้องย้ายออกไป ประกอบกับว่า
-
พวกเมืองราชบุตร ที่เราคุยกันไปว่าอักบาร์มีการรบตลอดเวลา
-
พวกเมืองที่ทะเลาะกับอักบาร์ มันอยู่ใกล้เมืองนี้เกินไป
-
ดังนั้นพอช่วงที่มันมี conflict กันก็เลยรู้สึกว่า
-
เอาเมืองหลวงมาไว้ใกล้ศัตรูขนาดนี้ไม่เวิร์กมั้ง
-
ย้ายกลับดีกว่านะคะ
-
ดังนั้นเราก็เลยจะต้อง
-
จากเมืองนี้ไปแล้วกลับ อัคราของเราแล้ว
-
ป่าน: เมื่อกี้ก็คือ Fatehpur Sikri นะคะ
-
แล้วก็เดี๋ยวเราจะกลับเข้าไปที่อัคราซึ่งจริง ๆ
-
เป็นหัวใจหลักของวันนี้ของเรา
-
แต่ที่เราพาไปที่นี่เพราะว่า
-
เป็นหนึ่งใน World Heritage เหมือนกันเนอะ แล้วก็
-
ณ ยุคปัจจุบันก็คือถูกรวมเข้าอยู่ใน
-
อยู่ในเมืองเดียวกับอัคราด้วยนะคะ
-
ซึ่งที่ที่สองที่เราจะพากันไป วันนี้เราจะมีทั้งหมด 3 ที่นะคะ
-
ตอนนี้เรากำลังไปที่ที่สองแล้ว ที่ที่สองก็คือ...
-
วิว: ที่ที่สองก็คือ
-
วิว: Baby Taj นั่นเองนะคะ
-
กัน: Baby Taj
-
วิว: ค่ะ
-
วิว: นั่นไง พี่ผ้าป่านทำมืออะไรมา เบบี้ทัช~ ไม่ใช่
-
ป่าน: ฉันอุตส่าห์ไม่ส่งเสียงอะ
-
อุตส่าห์ไม่ส่งเสียง วิวก็ยังจะแบบว่าเห็นท่าที่เราทำ
-
มันอดไม่ได้ที่จะร้องเพลงนี้ จะบอกว่า
-
เราไปที่นีมาแล้ว แล้วก็ไปร้องเพลงนี้มาแล้วจริง ๆ
-
เล่าให้ฟังหน่อยค่ะ ทำไมถึงมีความสำคัญที่จะพามา
-
วิว: อา ที่นี่คือ Baby Taj นะคะ
-
ซึ่งเป็นชื่อเล่นของมัน จริง ๆ มันไม่ได้ชื่อ Baby Taj หรอก
-
มันชื่อว่าสุสานของท่าน I'timād-ud-Daulah
-
แต่ว่าด้วยความยาวขนาดนี้
-
ทุกคนก็เลยเรียกมันว่า Baby Taj
-
ซึ่งที่นี่เป็น
-
หนึ่งในแรงบันดาลใจของการสร้างทัชมาฮาล
-
เพราะว่าหลังจากผ่านยุคของ Fatehpur Sikri นี่ไปแล้ว
-
เราก็...
-
เขาเรียกว่าอะไร
-
ขอนับญาตินิดนึงก่อนว่ามันเกิดอะไรขึ้นนะคะ
-
ต้องบอกว่าหลังจบยุค Fatehpur Sikri อะไรต่าง ๆ
-
อักบาร์ก็ตายค่ะ
-
ปล่อยให้เจ้าชายซาลิม หรือว่า
-
ชะฮันคีร์ขึ้นมาปกครองบ้านเมืองแทนแล้วก็
-
สร้างอะไรต่าง ๆ ในยุคของตัวเองต่อไป
-
ซึ่ง Baby Taj เนี่ยก็เป็นสิ่งนึงที่สร้างขึ้น
-
ในยุคของชะฮันคีร์นะคะ
-
เราข้ามยุคอักบาร์มาแล้วเนอะ ไปที่ยุคของลูกอักบาร์ละ
-
ทีนี้ถามว่านี่คือสุสานของใคร
-
แล้วทำไมมันถึงกลายมาเป็นสุสานที่สวยงามขนาดนี้
-
จนกลายมาเป็น
-
แรงบันดาลใจของทัชมาฮาลก็คือ
-
คุณ I'timād-ud-Daulah เนี่ยเป็นเหมือนกับ
-
ตระกูลบุนนาคแห่งอินเดียค่ะ
-
คือเราพอจะรู้กันเนอะว่าตระกูลบุนนาคคือคนที่มี
-
อิทธิพลมาก ๆ กับกรุงรัตนโกสินทร์
-
เป็นแบบที่ปรึกษาแห่งรัฐ เป็นตระกูลที่ผลิต
-
พระราชินีอะไรต่าง ๆ
-
เช่นเดียวกันเลย ตระกูลของ I'timād-ud-Daulah เนี่ย
-
ท่าน I'timād-ud-Daulah เป็นเหมือน
-
ที่ปรึกษาของอักบาร์มาก่อน
-
แล้วก็
-
มีลูกสาว ก็ยกลูกสาวให้กับเจ้าชายซาลิม
-
มาแต่งงาน ดังนั้นพอเจ้าชายซาลิมขึ้นปกครองบ้านเมือง
-
คนที่...
-
เป็นพระราชินีของเจ้าชายซาลิมก็เลย
-
เป็นลูกของ I'timād-ud-Daulah
-
ดังนั้นคนนี้ก็คือเหมือนกับเป็น
-
พ่อตาของกษัตริย์ว่าอย่างนั้นเถอะ นะคะ
-
ซึ่ง...
-
ตระกูลนี้ต่อไปก็จะผลิตลูกสาวขึ้นมา
-
รุ่นต่อรุ่น ต่อรุ่น ต่อรุ่น แล้วก็ส่งมาแต่งงานกับ
-
ส่งมาแต่งงานเป็นจักรพรรดินีของราชวงศ์โมกุลต่อไปเรื่อย ๆ
-
ก็ถ้าใครดูเกี่ยวกับ
-
ถ้าใครดูซีรีส์จีนบ่อย ๆ อะ
-
พวกที่แบบว่าแย่งอำนาจกันในสนมวังหลังหรือว่า
-
ที่ปรึกษา มหาเสนาบดีส่งลูกไปแต่งงานกับกษัตริย์
-
เพื่อให้ลูกเป็นญาติกับราชวงศ์
-
แล้วเหมือนตระกูลนี้จะรักษาอำนาจไปเรื่อย ๆ
-
บ้านของ I'timād-ud-Daulah ก็เป็นแบบนี้เลยค่ะ
-
ก็เป็นตระกูลสำคัญตระกูลนึง
-
ดังนั้นเมื่อเขาตายเนี่ย
-
แน่นอนว่าลูกสาว ตอนนี้เป็นพระราชินีแล้ว
-
เป็นแบบว่าจักรพรรดินีแล้ว
-
ก็ต้องอยากสร้างสุสานให้พ่อตัวเองเนี่ย
-
ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เป็นไปได้
-
ดังนั้นเขาก็เลยสร้างสุสานขึ้นมา
-
โดยเป็นสุสานหินอ่อนทั้งหลัง
-
ที่เดี๋ยวเราจะเห็นต่อไปนะคะ
-
แล้วก็สุสานนี้
-
มีลักษณะการวางผังคล้าย ๆ กับทัชมาฮาล
-
จะเห็นว่ามันมีการวางอย่างนี้
-
ให้เห็นเป็นเส้นเข้าไป เป็นอะไรที่แบบว่า
-
สมมาตรมาก ๆ นะคะ แล้วก็นำสายตาเช่นเดียวกันเลย
-
เดี๋ยวเราเดินทะลุตรงนี้เข้าไปเลยค่ะ
-
เราไม่พูดถึงประตูเนอะ เพราะว่าประตูไม่ได้สำคัญขนาดนั้น
-
เราวาร์ปผ่านประตูเข้าไปจนเห็นตัวสุสาน
-
จะเห็นว่ามีความทัชมาฮาลเล็ก ๆ อยู่ใช่ไหม
-
ซึ่งเขาว่ากันว่าสิ่งนี้มันมีฉายาอีกฉายานึง
-
ฉายา Baby Taj นี่คือเอาไว้ให้จำง่าย ๆ
-
แต่ฉายาจริง ๆ ของมันเนี่ยก็คือ
-
กล่องอัญมณีแห่งอัครา เพราะว่า
-
เป็นที่ที่รวบรวมความหรูหราไฮโซต่าง ๆ
-
เอาไว้ในตึกนี้ตึกเดียวเลยนะคะ
-
บอกเลยว่าอันนี้ยิ่งใหญ่กว่าสุสานของอักบาร์เองอีก
-
เดี๋ยวเราแอบไปดูภาพสุสานของอักบาร์นิดนึง
-
ขอดูภาพสุสานอักบาร์เล็กน้อย
-
ว่าสุสานอักบาร์หน้าตาเป็นยังไง
-
คือ...ธรรมดามากนะคะ
-
แล้วก็ถ้าไปดูของจริงจะเห็นว่า
-
ตัวสุสานเป็นหินทรายแดง
-
แล้วก็ฝังหินอ่อนนิดหน่อย
-
แล้วก็มีหินอ่อนอยู่ตรงยอดเล็กน้อย
-
แต่ว่าสุสาน I'timād-ud-Daulah นี่หินอ่อนทั้งหลัง
-
เรียกว่าหรูหรากว่าตัวกษัตริย์อีกนะคะ
-
อะ เรากลับ เราไม่พูดถึงสุสานอักบาร์เยอะเนอะ
-
เรากลับไปที่สุสานของท่าน I'timād-ud-Daulah
-
หรือว่า Baby Taj ต่อดีกว่า
-
ซึ่ง Baby Taj นี่
-
สำคัญยังไง บอกเลยว่า
-
ถ้าซูมเข้าไปเราจะเห็นแผงชาลีอีกละ
-
หน้าตาคล้าย ๆ แผงชาลีที่
-
สุสานของท่านซาลิม ชิสตี้เลย
-
แต่ว่าอาจจะไม่หรูหราเท่า
-
เพราะว่าอันนั้นคือสวยที่สุดไปแล้วนะคะ
-
แต่มันมีสิ่งที่น่าสนใจก็คือ
-
เทคโนโลยีการลงสีลงไปในหินอ่อนนั่นเอง
-
ตอนซาลิม ชิสตี้เนี่ยเราจะเห็นว่า
-
มันค่อนข้างเป็นสีขาวล้วนใช่ไหม มันจะไม่ค่อยมีสีอะไร
-
แต่ถ้าเราซูมเข้าไป อันนี้เราจะเห็นว่าไม่ใช่สีขาวล้วน
-
มันมีความลงสีลงไปเป็นลวดลายดอกไม้ เป็นรูปทรงเรขาคณิต
-
ซึ่งวิธีการลงสีอะ ก็คือการเอา
-
หินตัดเป็นรูปแล้วก็ฝังลงไป แล้วก็ทำให้มันเนียน
-
แบบที่วิวบอกนี่แหละ
-
แล้วลายของที่นี่จะเป็นลายที่อลังการมาก ประกอบไปด้วย
-
หินโทนสีน้ำตาล สีเหลือง แล้วก็
-
อาจจะมีสีอื่นเล็กน้อยตามแบบลายค่ะ
-
อยากให้ทุกคน appreciate กับความละเอียด
-
เพราะว่าทุกอันเนี่ยมันไม่ใช่การวาด มันคือการ
-
ตัดหินแต่ละชิ้นให้เป็นลายแล้วก็ฝังลงไปนะคะ
-
สวยงามจริง ๆ
-
อ่อนช้อย
-
อะ ไม่มีอะไร จบแล้วค่ะ เราซูมมันออกมา
-
แล้วก็อยากให้เห็นอีกสิ่งนึงเล็กน้อยที่
-
เดี๋ยวมันจะกลายเป็นตัวอย่างของทัชมาฮาล
-
นั่นก็คือ... เมื่อกี้เห็นรายละเอียดเนอะ
-
เห็นหอคอย 4 ทิศนี้ไหมคะ
-
หอคอย 4 ทิศนี้ก็คือ
-
มันมีการเอาหอขานอาซาน
-
ที่เป็นสิ่งที่ควรจะอยู่ในมัสยิด
-
เอามาแปะไว้กับสุสานซึ่ง
-
ตอนนี้เขาเริ่มมองว่าการมีหอคอย 4 หอมาอยู่ตรงนี้
-
มันคือความสวย
-
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ มันไม่ function เลยเพราะว่า
-
แต่ก่อนมันอยู่ในมัสยิดเพื่อเอาไว้เรียกคนมาละหมาด
-
แต่พอเอามาไว้ที่สุสานก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเอามาเรียกอะไร
-
แต่ว่าก็ใส่ไว้สวย ๆ เฉย ๆ
-
ซึ่งเดี๋ยวเราจะไปเห็นมันในทัชมาฮาลนะคะ
-
และแล้วในที่สุดเราก็จะวาร์ปอย่างรวดเร็วออกจาก Baby Taj
-
ไปที่
-
ทัชมาฮาลค่ะ
-
หลังจากที่เราผ่านทุกสิ่งอย่างมาอย่างยาวนาน
-
เราก็จะข้ามฝั่งแม่น้ำยมุนามาที่อีกฝั่งนึง นั่นก็คือ
-
สถานที่ที่เราตั้งใจจะมาในวันนี้นะคะ ก็คือทัชมาฮาลนั่นเอง
-
ให้ทุกคนแอบเห็น bird's-eye view ก่อนว่า
-
ดูสิ
-
มันคือสถานที่ที่สมมาตรมาก ทุกอย่างมันแบบ
-
ตีเป็นช่องสี่เหลี่ยมสวยงาม ไม่มีความ...
-
grid เป๊ะมากอะ เรียกได้ว่าเหมือนมีโดรนตอนที่สร้าง
-
แต่สมัยนั้นไม่มีโดรน ไม่รู้ว่าสร้างได้ยังไงถึงเป๊ะขนาดนี้นะคะ
-
ป่าน: ตี grid จริงแต่ว่าเขาแบบ...
-
เหมือนแม้กระทั่งในยุคนั้นเอง เขาก็ยังแบบว่า
-
แคร์เรื่อง grid เป็นส่วนใหญ่เลย
-
จริง ๆ ถ้าเกิดว่าย้อนกลับไปที่ Baby Taj เมื่อกี้อะค่ะ
-
มันก็จะมีความสมมาตร
-
อย่างตัว Baby Taj เองจะอยู่ตรงกลาง
-
แต่ที่เราไม่ได้เห็นรอบ ๆ เนี่ย มันก็คือ
-
4 ด้านเนี่ยจะมีเหมือนเป็นอาคาร
-
ขึ้นมาเหมือนกันแล้วก็มีการจัดสวน
-
คือ...เราเลยรู้สึกว่าแต่ละที่ของเขามีความเหมือนกับตี grid
-
อ้า อันนั้นคือที่เราเห็นจากข้างบนเป็น Baby Taj
-
ก็จะเห็นว่ามันแบ่งเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนกัน
-
แต่ว่าตัวสุสานจะอยู่ตรงกลาง
-
อะ เดี๋ยวเราบินย้อนกลับไปที่ทัชมาฮาลค่ะ
-
เราก็จะเห็นว่ามีการตี grid เหมือนกันแต่ว่า
-
วางตัวสุสานเนี่ยแตกต่างกัน
-
วิว: ใช่ เพราะว่าแต่เดิมอะ
-
ถ้าสมมติว่าเราตี grid แบบนี้
-
จริง ๆ อาคารที่สำคัญที่สุดมันควรจะอยู่ตรงกลาง
-
ตรงกลางระหว่าง grid 4 ก้อน
-
แต่ทัชมาฮาลเป็นที่พิเศษที่
-
เขาตั้งใจเอาตัวทัชมาฮาลดันไปไว้ข้างหลังเลย
-
เพื่อที่ว่ามันจะได้ effect นึง
-
คือเวลาเดินเข้าไป เราจะเห็นทัชมาฮาลอยู่ไกลที่สุด
-
แล้วเราจะเห็นทัชมาฮาลอลังการที่สุดนะคะ
-
โดยที่เขาเอาน้ำพุมาไว้จุดกึ่งกลางแทน
-
เดี๋ยวเราจะเห็นตอนที่เราเข้าไปเดินชมกันค่ะ
-
ทีนี้ถามว่าทัชมาฮาลสำคัญยังไง
-
อย่างที่วิวพูดไปแล้วเนอะว่า
-
ทัชมาฮาลเนี่ยเป็นอนุสรณ์ความรักที่เป็น
-
1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกนะคะ ซึ่ง
-
ถ้ามองง่าย ๆ เราซูมเข้าไปดู เรามาเริ่มเดินกันเลยดีกว่านะคะ
-
ถ้าเราเริ่มเดินไปเนี่ย
-
เราจะเห็นว่าตั้งแต่ประตูหน้า
-
ก็อลังการแล้ว
-
ตั้งแต่ประตูหน้าก็อลังการละ แค่นี้ก็ยังดูอลังละ
-
พอซูมเข้าไปจะเห็นว่ามันเป็นหินทรายแดงแล้วก็
-
หน้าตาคล้าย ๆ บูลันด์ ดาร์วาซาเลย
-
เหมือนกับที่เราเห็นประตูชัยอันแรกอะ หน้าตาแบบ
-
ก็อบกันมาเลยว่าอย่างนั้นเถอะ นะคะ
-
เพราะว่าได้รับอิทธิพลมา
-
เราเดินเข้าไปข้างในกันดีกว่า
-
เดินผ่านกรอบประตูเข้าไป ซึ่งจะเป็นจุดที่
-
จุดนึงที่เราคุยกันวันก่อนว่า เฮ้ย
-
มันสำคัญมากนะที่
-
อาคารของอิสลามหลาย ๆ ที่ในยุคนั้นอะ
-
มันจะมีประตูชัยแบบนี้ มันจะมีประตูแบบนี้กั้นอยู่เพื่อที่ว่า
-
เขาจะให้ effect ที่แบบ
-
เราเดินเข้าไปแล้วเราไม่เห็นอาคารทันที
-
แล้วเราจำเป็นจะต้องมองแบบ มองผ่านมุมนี้เท่านั้น
-
เราไม่สามารถมองทัชมาฮาลเอียง ๆ หรือว่ามองอะไรได้
-
ภาพแรกที่เห็นจะต้องเป็นทัชมาฮาลอยู่ตรงกลาง
-
แล้วก็เห็นภาพลึกเข้าไปนะคะ
-
ทีนี้ต้องบอกว่าทัชมาฮาลเป็นสิ่งที่มีเสน่ห์มาก ๆ เพราะว่า
-
สามารถเที่ยวได้ทุกเวลาของวันเลย
-
คือเขาสร้างขึ้นมาด้วยหินอ่อนสีขาว
-
แล้วก็จะได้ effect นึงที่น่าสนใจก็คือ
-
ถ้าทัชมาฮาล เราไปเที่ยวตอนเช้า
-
หลังจากที่ม่านหมอกต่าง ๆ ค่อย ๆ จางไปเนี่ย
-
แสงยามเช้าตกกระทบทัชมาฮาล
-
ภาพที่เราจะเห็นคือทัชมาฮาลสีชมพู
-
เพราะว่าโดนแสงแดดตอนเช้า
-
แต่ถ้าเราไปเที่ยวตอนเที่ยงเหมือนในภาพนี้
-
เราจะเห็นทัชมาฮาลเป็นสีขาว
-
ตามสีของหินอ่อนจริง ๆ
-
และถ้าสมมติว่า
-
เราไปเที่ยวทัชมาฮาลตอนกลางคืน
-
ก็จะได้ effect อีกแบบนึงคือทัชมาฮาลจะสะท้อนแสงจันทร์
-
แล้วทัชมาฮาลก็จะเป็นสีเหลือง
-
ดังนั้นคุณไปทุกเวลา
-
คือทัชมาฮาลต้องไป 3 ครั้งต่อวันอะ ถึงจะได้ครบทุกอย่าง
-
ป่าน: เข้าออก เข้าออก ได้นะคะ
-
แนะนำให้ทำแบบนั้น
-
ป่าน: เราชอบที่วิวพูดมากเลยว่าแบบว่า
-
เหมือนกรอบของประตูที่มันเฟรมการดูหรือว่าการมองของเรา
-
เพราะว่าตอนที่... อันนี้แชร์ประสบการณ์นะคะ
-
หลาย ๆ คนที่กำลังดู Live อยู่เชื่อว่า
-
เคยมีประสบการณ์ไปแล้วล่ะ
-
เพราะว่าทัชมาฮาลเป็น 1 ในที่ที่แบบว่า
-
ทุกคนแบบว่าควรจะไปดูก่อน
-
แบบว่าเป็น 1 ใน checklist ว่าอย่างนั้นเถอะ
-
เราก็ได้ไป checklist มาเหมือนกันแล้วก็ได้ไปดูที่นี่
-
ตอนที่จังหวะที่เดินเข้าไป
-
ก็มีความเหมือนที่วิวบอกเลยว่า
-
เขาเฟรมประตูให้เหมือนกำหนด
-
มุมมองหรือว่าสายตาของคนที่เดิน
-
ให้เห็นเท่าที่เขาอยากให้เราเห็นค่ะ คือว่า
-
มันอลังการมากที่เหมือนกับเฟรมของประตูใหญ่ ๆ
-
แล้วมีแบบข้างในมันจะเป็นโดมมืด ๆ ก่อน
-
คือหลังจากที่เราเข้าประตูใหญ่เมื่อกี้มาใช่ไหมคะ
-
มันจะเป็นโถงใหญ่ ๆ มาก ๆ ที่มืด
-
แล้วสิ่งที่เราเห็นอย่างเดียวคือแสงส่องสว่าง
-
ที่มาจากเฟรมโค้งอะค่ะ
-
แล้วเป็นแสงที่แบบ เหมือนแสงขาวที่ส่องแบบ
-
ส่องมาหาเรา
-
แล้วพอสายตาเรามองออกไปปุ๊บ
-
สิ่งแรกที่เราเห็นคือจุดรวมสายตา
-
มันคือทัชมาฮาล
-
เพราะว่ามันมีเส้นนำสายตาก็คือตัวน้ำ
-
ที่แบบไล่สายตาเราไปให้ถึงจุดนั้น
-
แล้วป่านรู้สึกว่าแบบมันคือเวลาที่เราไปถึงสถานที่อะ
-
เราไม่ได้ขนลุกกันเล่น ๆ อะ
-
มันเหมือนเขาสร้างมาเพื่อให้เรารู้สึกแบบนี้จริง ๆ
-
เออ ก็เลยอยากแชร์ คิดว่าหลายคนก็น่าจะรู้สึกแบบนั้น
-
ถ้าไปแบบที่ไม่ได้เข้าไปพร้อมกับก้อน tourist
-
ก็จะได้ feeling นี้
-
แต่ว่าถ้าเข้าไปบางครั้ง
-
เหมือนบางจังหวะจะเจอคนเยอะมาก ๆ ก็
-
ก็อาจจะไม่ได้ประสบการณ์นั้นอะไรอย่างนี้
-
ซึ่งถามว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้คนคนนึงสร้าง
-
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ขึ้นมา
-
ก็ต้องบอกว่าเราน่าจะคุ้นเคยกันดีกับทัชมาฮาลในฐานะ
-
อนุสรณ์แห่งความรัก
-
แต่ถามว่าใครรักใครแล้วรักมากขนาดไหน
-
ก็ต้องบอกว่าสิ่งนี้ทั้งหมดค่ะ สร้างขึ้นมาโดย
-
กษัตริย์องค์นึงในราชวงศ์โมกุลที่ชื่อว่าพระเจ้าชาห์ชะฮัน
-
พระเจ้าชาห์ชะฮันนี่คือหลานของอักบาร์
-
คือลูกของชะฮันคีร์ใช่ไหม
-
ทีนี้เขามีเมียอยู่คนนึงชื่อว่า
-
พระนางมุมตัซ มาฮาล
-
ซึ่งพระนางมุมตัซ มาฮาลเนี่ยแปลว่าเหมือนกับ
-
อัญมณีแห่งพระราชวัง อะไรประมาณนี้
-
เรียกได้ว่าเป็นที่รักมาก ๆ นะคะ
-
ถามว่ารักขนาดไหน
-
รักขนาดที่ว่าทั้งคู่เนี่ยแต่งงานกัน
-
ตั้งแต่เขายังเป็นเจ้าชายอยู่
-
แต่งกันตอนผู้หญิงอายุ 14 เขาเองอายุ 15
-
แล้วหลังจากแต่งงานกันมาเนี่ยทั้งคู่ไม่เคยแยกจากกันเลย
-
เรียกได้ว่าไปไหนไปด้วย อยู่ในสายตาตลอดเวลา
-
ต่อให้ชาห์ชะฮันไปรบ
-
พระนางมุมตัซ มาฮาลก็จะเป็นคนที่ตามไปด้วย
-
ดังนั้น
-
คือไม่เคยแยกจากกัน
-
แล้วก็ถ้าอยากพิสูจน์ว่ารักขนาดไหน
-
ให้ดูจากจำนวนลูกที่มี
-
2 คนนี้มีลูกด้วยกันทั้งหมด 14 คนด้วยกันค่ะ
-
เยอะมาก
-
แต่งงานตอนอายุ 14 มีลูกทั้งหมด 14 คน
-
แล้วก็ตายตอนที่คลอดลูกคนที่ 14
-
เพราะว่าผู้หญิงอายุ 40 แล้ว
-
เดาว่าถ้าเกิดสมมติว่าไม่คลอดลูกตาย
-
อาจจะมีต่อไปได้อีกจนกว่าจะร่างกายไม่ไหวนะคะ
-
ก็เรียกได้ว่ารักกันมาก ๆ
-
แล้วพอพระนางมุมตัซ มาฮาลเนี่ยตาย
-
เรียกได้ว่าพระเจ้าชาห์ชะฮันใจสลายค่ะ
-
ใจสลายแบบ
-
ไม่เหลืออะไรแล้วอะ คู่ชีวิตของฉันไปแล้ว
-
คนที่ฉันเห็นแล้วอยู่ด้วยกันทุกวัน
-
ดังนั้นในบันทึกเขาบอกว่าพระเจ้าชาห์ชะฮันเนี่ย
-
ร้องไห้จนน้ำตาเป็นสายเลือด
-
ก็คือแบบออกมาเป็นเลือดแล้วก็
-
คืนนั้นน่ะ ร้อง ๆ ๆ ๆ
-
ตื่นมาจากคนที่เป็นหนุ่ม เป็นผมดำเนี่ย
-
ตื่นเช้ามาคือหัวขาวทั้งหัวเลย
-
เรียกได้ว่าหมดสภาพ
-
เสียใจมาก ๆ
-
แล้วก็เลยคิดว่าไม่เป็นอันทำอะไรทั้งสิ้น
-
อยากทำอย่างเดียวคือ
-
ฉันจะสร้างอะไรขึ้นมาเพื่ออุทิศให้กับเมียสุดที่รักของฉัน
-
ก็เลยเป็นที่มาของการสร้างทัชมาฮาลเป็นอนุสรณ์ความรัก
-
ที่ยิ่งใหญ่แล้วก็อลังการที่สุด แล้วก็
-
ทุ่มงบลงไปมากที่สุดเท่าที่พระเจ้าชาห์ชะฮันจะให้ได้ค่ะ
-
โดย...
-
เขาใช้เงินไปทั้งหมดนะคะ ในการสร้างทัชมาฮาลเนี่ย
-
เขาบอกว่าใช้ไป 32 โกฏิรูปี
-
หรือถ้าคิดเป็นเงินแบบปัจจุบันก็คือ
-
100ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
-
กัน: 3,000 ล้าน
วิว: มหาศาล
-
วิว: ใช่ 3,000 ล้านบาท
-
ใช้เวลาสร้างไปทั้งหมด 17-22 ปี ประมาณนี้นะคะ
-
ก็ยังเร็วอะนะ
-
เมื่อเทียบกับว่าสร้างทั้งหมดนี้ ยิ่งใหญ่มาก
-
แล้วก็ใช้คนสร้างทั้งหมด ใช้แรงงานฝีมือทั้งหมด
-
22,000 คน
-
ซึ่งคนที่มาสร้างเนี่ยก็ไม่ใช่คนอินเดียล้วน ๆ นะ
-
แต่ว่า import สุดยอดช่างฝีมือมาจากทุกที่ที่เป็นไปได้
-
ไม่ว่าจะเป็นจากอิหร่าน จากตุรกี ที่มาเป็นสถาปนิก
-
หรือว่าเอาพวกช่างฝีมือชาวอินเดีย
-
ชาวเปอร์เซีย ชาวอินเดียกลาง
-
รวมไปถึงเอาช่างฝีมือชาวอิตาเลียนมาร่วมด้วยเพราะว่า
-
นี่คือหินอ่อน
-
อิตาเลียนก็เชี่ยวชาญด้านหินอ่อนเป็นพิเศษอยู่แล้วนะคะ
-
ซึ่งหินอ่อนทั้งหมดเนี่ย เขาก็ขนมาจากเมืองที่ชื่อว่า
-
มาครานาของราชาสถาน
-
ที่เขาว่ากันว่าเป็นแหล่งหินอ่อนที่ดีที่สุดในโลก
-
ดังนั้นฉันเอาที่สุดของที่สุดมารวมกันไว้ที่นี่นะคะ
-
แล้วก็ถือว่าเป็นอาคารหินอ่อนทั้งหลัง
-
หลังที่ 3 ของราชวงศ์โมกุลต่อจาก
-
สุสานของท่านซาลิม ชิสตี้ที่เราไปดูกันมาที่แรกแล้วก็
-
ต่อจาก Baby Taj ที่เมื่อกี้เราไปดูมานะคะ
-
ซึ่งหลังจากทัชมาฮาลเนี่ย
-
จริง ๆ ก็ยังมีอาคารหินอ่อนอีกนะ ชื่อว่า
-
Bibi Ka Maqbara
-
เราจะเรียกชื่อเล่นว่า Mini Taj
-
แต่ว่ามันจะอยู่อีกเมืองนึง คืออยู่ในเมืองออรังกาบัด ซึ่งอันนี้
-
ออรังเซบ ซึ่งเป็นลูกของชาห์ชะฮันเนี่ย
-
ก็เป็นคนสร้างขึ้นมานะ แต่ว่า
-
เราจะไม่ได้ไปโฟกัสอะไรมากมาย ซึ่ง
-
มันก็เป็น 1 ในที่ที่วิวเพิ่งไปมาก่อนโควิดเกิดขึ้น
-
ดังนั้นเดี๋ยวในอนาคตอันใกล้
-
เมื่อไหร่ก็ตามที่วิวหายขี้เกียจ
-
วิวจะเอา footage ที่ดองไว้ขึ้นมาตัด
-
แล้วก็มาแชร์ให้ดูในจุดชม เอ๊ยไม่ใช่
-
ในช่อง Point of View นะคะ
-
ป่าน: อ๋อ ได้เลยค่ะ
-
Ground Control อาจจะขอเอามาด้วย
-
เพราะว่าอยากรู้เรื่องราวภาคต่อ
-
มันเหมือนกับมันต่อเนื่องกันเนอะกับสิ่งที่วิวเล่าสำหรับวันนี้
-
แล้วก็สิ่งที่วิวเพิ่งไปมา ใช่ปะคะ
-
วิว: ใช่ คือ...
-
เนี่ยค่ะ อันนี้คือฝีมือของออรังเซบ
-
ซึ่งเป็นลูกของชาห์ชะฮัน แล้วเขาก็
-
เป็นคนที่ทนไม่ได้เลยที่แบบ
-
เฮ้ย ทำไมพ่อถึง
-
ทุ่มเงินขนาดนี้ไปกับการสร้างทัชมาฮาลให้แม่
-
จนถึงขั้นที่ว่าออรังเซบซึ่งเป็นลูกคนที่ 6 เนี่ย
-
ก็เป็นลูกของมุมตัซ มาฮาลกัลชาห์ชะฮันเนี่ยนะคะ
-
รับไม่ได้แล้วก็ตัดสินใจ
-
ยึดอำนาจพ่อ บอกว่าพ่อเลิกบริหารเถอะ
-
ถ้าพ่อจะไม่ทำงานทำการขนาดนี้ เดี๋ยวผมบริหารเอง
-
ดังนั้นนะคะ ออรังเซบก็เลยยึดอำนาจขึ้นมา
-
แล้วก็จับพ่อไปขังไว้
-
เขาบอกว่าตอนนั้นน่ะ
-
พระเจ้าชาห์ชะฮันคือหมดอาลัยตายอยากถึงขนาดที่ว่า
-
เออ จะยึดก็ยึดเถอะ
-
ขออย่างเดียว ระหว่างที่ลูกจับพ่อไปขังไว้อะ
-
ขอให้พ่อได้อยู่ในห้องขังที่มองเห็นทัชมาฮาล
-
ดังนั้นเขาก็เลยเอาพ่อไปขังไว้ที่
-
วิว: Fort อันนึงที่ใน...
-
วิว: อะไรนะคะ
-
ป่าน: ฮัลโหล
วิว: Akbar Fort ใช่ไหม
-
วิว: ฮัลโหล
-
ป่าน: ใช่ Agra Fort ค่ะ
-
วิว: ใช่ ก็เลยเอาไปขังไว้ที่ Agra Fort
-
ซึ่งจะเป็น UNESCO World Heritage
-
อีกที่นึงที่เราไม่ได้ไปนะคะ
-
ทีนี้พี่ผ้าป่านในฐานะที่ไปห้องห้องนั้นมาแล้ว รู้สึกยังไงบ้างคะ
-
ป่าน: คือป่านอะไป Agra Fort มาด้วย แล้วก็จริง ๆ แล้ว...
-
มีคนพิมพ์คอมเมนต์มาที่ Ground Control ด้วย
-
ว่าอยากให้พาไปที่นี่
-
จริง ๆ มันเป็นสถานที่ที่ใหญ่มาก ๆ คือถ้าเกิดไปเที่ยวเนี่ย
-
แทบจะเรียกได้ว่าต้องไปทั้งวันเลย
-
แล้วก็มีเนื้อหาให้พูดค่อนข้างเยอะ
-
แต่สิ่งที่น้องวิวบอกก็คือว่า
-
จริง ๆ ตัวพื้นที่มันไม่ได้ใหญ่ค่ะ
-
มันเป็นห้องห้องเดียวจริง ๆ ค่ะวิว แต่ว่า
-
มันมองเห็นทัชมาฮาลจริง ๆ นะ
-
แล้วก็ถ้าเกิดสมมติว่ามีไกด์ที่เขาจะแบบ
-
เหมือนกับบอกเราได้ เขาก็จะบอกว่า
-
ลองมองจากมุมตรงนี้ จากห้องนอนของ
-
ของพระเจ้าชาห์ชะฮันใช่ปะคะ
-
ก็จะมองไปแล้วก็เห็นตัวทัชมาฮาลจากระยะไกล
-
แต่ถ้าเกิดว่าเดินออกมาจากห้องนอนปุ๊บ
-
แล้วมองผ่านเฟรมเฟรมนึง
-
มันจะเห็นแบบเหมือนใหญ่มากขึ้น
-
เหมือนมันเป็นมุมหลอกสายตา
-
แต่ว่าก็เป็นเหมือนกับวิธีการออกแบบของเขา
-
ที่ทำให้เห็นทัชมาฮาลในระยะเดียวกันนะ
-
แต่ว่าในขนาดที่ต่างกันไป
-
อันนี้ก็เป็นอันที่แบบถ้าใครไป Agra Fort ก็
-
ลองไปดูได้นะคะ
-
เป็นสถานที่อีกสถานที่นึงที่
-
ถ้าไปในเมืองนี้แล้วอยากให้ไปมาก ๆ เลยค่ะ
-
วิว: แล้วความเศร้าอีกอย่างนึงของพระเจ้าชาห์ชะฮันก็คือ
-
เขาบอกว่าตอนที่โดนขังอยู่ตรงนั้นน่ะ
-
สุดท้ายพระเจ้าชาห์ชะฮันตาย
-
ก็คือตายไป แต่ว่าก่อนตายเนี่ยนะคะ
-
ในจังหวะที่พระเจ้าชาห์ชะฮันลุกไม่ขึ้นแล้ว
-
ก็มีการขอกระจก
-
เอากระจกมาถือไว้ในมือ
-
เพราะว่าเขาไม่สามารถลุกขึ้นมา
-
เกาะหน้าต่างดูทัชมาฮาลได้แล้ว
-
เขาถึงขั้นนอนแล้วก็เอากระจกส่องเพื่อให้ตัวเอง
-
เห็นทัชมาฮาลได้จนถึงวินาทีสุดท้ายของชีวิต
-
เขาบอกว่าถึงขนาดที่ว่าวันที่ตาย กระจกยังอยู่ในมืออยู่เลย
-
ดังนั้นนี่ก็คือที่สุดของที่สุดของคนรักเมียแห่งโลกใบนี้นะคะ
-
วิว: ทีนี้เรามาดูที่
-
วิว: อะไรนะคะ
-
ป่าน: บอกว่าข้าพเจ้าให้โล่เลยค่ะเอาจริง ๆ
-
วิว: เออ ที่สุดจริง ๆ นะคะ ดังนั้นเรามาดูทัชมาฮาลดีกว่า
-
เราออกไปดูมุมกว้างก่อนเนอะ
-
เรามาลองเดินเข้าทัชมาฮาลพร้อม ๆ กัน
-
จากด้านนอกนะคะว่าเราจะเห็นอะไรยังไง
-
เราก็ค่อย ๆ กระดึ๊บ ๆ กลับไปใช่ไหม
-
วิว: แนะนำว่าให้...
-
ป่าน: ซึ่งเมื่อกี้ที่เราเห็นนะคะก็คือเป็นด้านหลัง
-
เป็นด้านหลังของทัชมาฮาลเนอะ
-
ที่ติดกับแม่น้ำนะคะ
-
เดี๋ยวเราจะหมุนมาด้านหน้า เพราะว่าทางเข้าอยู่ที่ด้านหน้า
-
อะ เดี๋ยวกลับหลังมา
-
วิว: ใช่
-
วิว: อ้า จะเห็นว่าทัชมาฮาลจะหน้าตาคล้าย ๆ กับ
-
เมื่อกี้ที่เราเห็นใน Baby Taj เลยใช่ไหม
-
มันจะมีหอขานอาซาน 4 หอที่เอามาสร้างไว้ที่มุม 2 มุม
-
ที่แบบ 4 มุมของทัชมาฮาลเหมือนกัน
-
อันนี้ก็มีเรื่องเมาท์เหมือนกันว่า
-
พระเจ้าชาห์ชะฮันเนี่ยคิดเยอะถึงขนาดที่ว่า
-
อยากให้ทัชมาฮาลอยู่ไปชั่วกัลปาวสาน
-
ชีวิตนี้จะต้องไม่มีอะไรมาทำลายสิ่งนี้ได้แม้แต่ตัวมันเอง
-
ดังนั้นหอขานอาซาน 4 หอนี้
-
พระเจ้าชาห์ชะฮันก็เลยให้คนสร้างเอนนิดนึง
-
เพื่อที่แบบเหมือนหอเอนปิซา
-
แต่ไม่ใช่เอนเข้านะ ให้เอนออก
-
เผื่อว่าวันนึงเกินแผ่นดินไหว
-
หรือเกิดแบบว่าอาคารพังหรืออะไรก็ตาม
-
หอขานอาซานเนี่ยมันจะได้พังไปด้านนอก
-
มันจะได้ไม่พังใส่ตัวทัชมาฮาลเอง
-
ก็เรียกได้ว่าคิดไว้ทุกอย่าง เท่านั้นยังไม่พอค่ะ
-
คือเราเดินจากข้างนอกเข้ามา เราจะไม่เห็น
-
แต่ถ้าเราเดินเข้ามาใกล้ ๆ เราจะเห็นตึกสีแดง ๆ 2 ตึก
-
ที่อยู่ประกอบข้างทัชมาฮาล ซึ่งถ้าคนที่ไม่ได้ไป
-
จะแทบไม่รู้เลยว่ามีตึก 2 ตึกนี้อยู่
-
เพราะว่าเหมือนเขาสร้างซ่อนไว้ ไม่ได้อยากให้เห็น
-
แล้วก็ใช้อาคาร... ขอโทษค่ะ
-
แล้วก็ใช้หินทรายแดงเพื่อที่ว่า
-
จะได้ไม่โดดเด่นแย่งทัชมาฮาลไป เห็นไหมคะ
-
ถ้าเรามองจากมุมนี้ เราจะไม่เห็นตึกนั้นเลย
-
ถามว่าตึกนั้นคืออะไร
-
ตึกนั้นคือ
-
ตึกนั้นคือ
-
วิว: เอ่อ...เดี๋ยวนะ นึกชื่อไม่ออกค่ะนาน ๆ
ป่าน: มัสยิด
-
วิว: เออ มัสยิด ติดอยู่ที่ปาก
-
วิว: ตึกนั้นคือมัสยิดนะคะ
-
ซึ่งเขาเอามาสร้างไว้เพื่อที่จะได้ทำให้
-
สถานะของทัชมาฮาลกลายเป็นศาสนสถาน
-
เพราะเขาคิดว่าใด ๆ ในโลกล้วนอนิจจัง
-
ราชวงศ์ของฉันก็ไปยึดอำนาจราชวงศ์อื่นมา
-
มันอาจจะมีราชวงศ์อื่นในอนาคตมายึดอำนาจฉันไปก็ได้
-
ถ้าสมมติว่ายึดอำนาจไป เดี๋ยวเขาจะทุบทัชมาฮาลของฉันทิ้ง
-
ดังนั้นเอามัสยิดมาตั้งไว้ดีกว่า
-
คนจะได้ไม่กล้าทุบสถานที่นี้ เพราะว่า
-
ถือว่าเป็นศาสนสถานแล้ว
-
แล้วความเก๋ของมันคือปกติมัสยิดอะ
-
มันไม่ควรจะมี 2 อันติดกัน
-
มันควรจะอยู่ที่เดียว 1 ที่ใช่ไหมคะ
-
แต่เขากลัวว่ามันจะไม่สมมาตร
-
ดังนั้นเขาก็เลยสร้างมัสยิดปลอมเอาไว้อีกข้างนึง
-
ก็คือมีมัสยิดจริงอยู่ฝั่งนึง แล้วก็อีกฝั่งนึงเป็นมัสยิดปลอม
-
เป็นเหมือนแบบว่าที่พักของแขก เป็นอาคารรับรอง
-
แต่ว่ามีไว้ทำไมไม่รู้ แต่ต้องสร้างไว้
-
เพื่อให้ทุกอย่างสมมาตรกัน ให้ทุกอย่างสวยนะคะ
-
วิว: ต้องบอกว่า...
ป่าน: เราเข้าไปดูไหม
-
ป่าน: เราเข้าไปดูข้างใน ข้างบนกันไหมคะวิว
-
เพราะว่าจริง ๆ มันสามารถเดินเข้าไปดูได้เลย
-
แล้วก็มีบริเวณข้าง ๆ รอบ ๆ ด้วย
-
วิว: ก่อนที่เราจะเข้าไปข้างใน ขอแอบพูดถึง
-
ด้านหน้าก่อนเล็กน้อยว่า
-
จริง ๆ แล้วอะ ทั้งหมดนี้
-
ถามว่าพระเจ้าชาห์ชะฮันสร้างมันขึ้นมา
-
โดยมี concept ว่าอะไร
-
ทั้งหมดนี้มันมี concept ก็คือ
-
สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสวรรค์ให้กับ
-
ให้พระนางมุมตัซ มาฮาลอยู่หลังจากความตายประมาณว่า
-
นี่คือสวรรค์ที่ฉันสร้างให้เธอ นี่คือสวรรค์บนดินนะ
-
ถามว่าเรารู้ได้จากอะไร
-
ถ้าเราดูรอบ ๆ กรอบประตูตรงนี้ค่ะ
-
เราซูมเข้าไปเราจะเห็นเหมือนกับที่บูลันด์ ดาร์วาซาเลย
-
คือมันเป็น Calligraphy
-
มันเป็นอักษร
-
อีกแล้วนะคะ
-
เนี่ย ที่ฝังเป็นหินสีดำ
-
ซึ่งตรงนี้เขาบอกว่ามันมีข้อความที่เขียนไว้ว่า
-
ยินดีต้อนรับสู่สวรรค์ของฉัน
-
ก็คือ เขาตั้งใจจะบอกว่า
-
นี่แหละ ฉันยกสวรรค์บนดินทั้งหมดมาให้เธอแล้วจ้า
-
เราเห็นได้จากอีกอย่างก็คือด้านหน้าที่เป็นสวนกว้าง ๆ
-
แล้วก็มีน้ำนะคะ อันนี้เป็นภาพของสวรรค์ของอิสลาม
-
ที่เขาบอกว่าต้องมีน้ำไหลผ่าน
-
ดังนั้นทุกอย่างมันจะเป็นสัญลักษณ์แสดงถึง
-
สวรรค์ไปหมดเลย ทุกอย่างก็คือสวรรค์
-
รวมถึงทำให้สวยงามที่สุด
-
เพื่อแบบเขาเรียกว่าอะไร ปรับ
-
ปรับภาพ ปรับทุกอย่างให้งดงามที่สุดนะคะ
-
แล้วทีนี้ถามว่าลวดลายทัชมาฮาลพิเศษยังไง
-
ถ้าเราเห็นตรงนี้ เราจะเห็นว่าลวดลายของดอกไม้เนี่ย
-
สวยงามไปหมด
-
ด้านนอกว่าสวยแล้ว ก็ยังใช้เทคนิคเดียวกับที่ Baby Taj เนอะ
-
แต่ด้านในสวยกว่าเยอะค่ะ เดี๋ยวเราเข้าไปดูด้านในกันดีกว่า
-
ในที่สุดเราก็ถึงด้านในทัชมาฮาลแล้ว หลังจาก
-
ผ่านเวลามาอย่างเนิ่นนานนะคะ
-
ป่าน: เดี๋ยวเดินทะลุเข้าไปกันเลย
-
จริง ๆ ประตูก็ใหญ่มากเหมือนกันเนอะ หมายถึงว่าตัวทางเข้า
-
วิว: ใหญ่
-
ป่าน: ก็มีความใหญ่มาก
วิว: ทุกอย่างยิ่งใหญ่
-
วิว: แล้วทุกอย่างก็ละเอียด
ป่าน: อลังการมาก
-
วิว: เรามองทัชมาฮาลไกล ๆ แล้ว
-
อาจจะรู้สึกว่ามันเป็นก้อนหินสีขาวอะ
-
แต่ถ้าเราซูมเข้าไป เราจะเห็นว่าไม่เรียบเลยทุกจุด
-
มันมีลาย มีการฝังหินสี
-
มีการฝังทุกอย่าง ละเอียดยิบ
-
ทุกอณูที่เป็นไปได้
-
ซึ่งพอเราเดินเข้าไปข้างใน ได้ไหม
-
ป่าน: เดี๋ยวต้องลองก่อน เพราะเดินเข้าไปยากนิดนึง
วิว: เราเดินเข้าไปข้างในประตู
-
วิว: ค่ะ
-
ป่าน: เดี๋ยวนะคะ เดี๋ยวขอลอง อะ เราเล่าก่อน
วิว: เดี๋ยวเล่าก่อนละกัน ระหว่างที่เดิน
-
วิว: ระหว่างที่เดินเข้าไปจะเล่าให้ฟังว่า
-
สิ่งที่เราจะเห็นข้างในจะต่างจากข้างนอกนิดนึงเพราะว่า
-
ข้างนอกเทคนิคมันเหมือน Baby Taj แหละก็คือ
-
การเอาหินสีต่าง ๆ มาสลับกันแล้วก็มาใส่ลงไปในหินอ่อน
-
แต่เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุโรป
-
เพราะว่าช่วงนั้นน่ะฝรั่งเข้ามาติดต่อกับอินเดียละ
-
ก็จะมีชาวยุโรปมาทางทะเล มาค้าขายอะไรต่าง ๆ
-
เทคนิคนี้ชื่อว่าเทคนิค Pietra Dura ซึ่งเป็นเทคนิคของอิตาลี
-
ที่ได้รับความนิยมในช่วงศตวรรษที่ 15
-
แล้วอินเดียก็เอามาใช้
-
โดยการตัดหินเป็นโมเสกวางในช่องลายหิน แล้วก็
-
ปัจจุบันเทคนิคนี้กลายเป็นเทคนิคประจำเมืองอัครา คือ
-
ก็กลายเป็นช่างฝีมือที่เป็นลูกหลานของคนที่ทำทัชมาฮาลก็
-
ใช้ชีวิตกันต่อมาแล้วก็
-
สืบทอดเทคนิคนี้กันมาเรื่อย ๆ ค่ะ
-
แต่ความพิเศษของทัชมาฮาลก็คือ ด้านนอกเนี่ยเป็นหินสี
-
เป็นโมเสก
-
แต่ถ้าเราเข้าไปข้างในเนี่ย เราจะเห็นว่ามันไม่ใช่หินละ
-
มันเป็นอัญมณี
-
มันคือการเอาอัญมณีราคาแพงมาฝังเข้าไปในหินอ่อน
-
ซึ่งถามว่า...
-
ถามว่าพวกอัญมณีพวกนี้มาจากไหน
-
อัญมณีพวกนี้นะคะมาจากที่ต่าง ๆ
-
ที่เรียกได้ว่าที่สุดของที่สุดของที่สุดเลย
-
import เข้ามา
-
เช่น โมรา เอามาจากรัฐปัญจาบ
-
เพชรตาแมวเอามาจากแบกแดด
-
ลาพิส ลาซูลี ซึ่งเป็นแร่ทอง ๆ วิบ ๆ เนี่ย
-
เอามาจากอัฟกานิสถาน
-
แซฟไฟร์ขนมาจากศรีลังกา
-
เทอควอยซ์มาจากทิเบต
-
หยกกับคริสตัลเอามาจากจีน
-
ปะการังกับหอยมุกเอามาจากมหาสมุทรอินเดีย
-
แล้วนึกภาพว่าในสมัยนั้นไม่มีเครื่องบิน cargo
-
ไม่มีรถ ไม่มีอะไรเลย
-
ถามว่าขนมายังไง ลำบากมาก
-
ขนมาด้วยช้างประมาณ 1,000 เชือกค่ะ
-
จังหวะนั้นก็ขนกันโหดมากเพื่อเอามาตกแต่งทัชมาฮาลนะคะ
-
เรียกว่างดงามจริง ๆ
-
ทีนี้เราเข้าไปดูด้านในได้รึยังเอ่ย
-
ป่าน: เหมือนจะเข้าไม่ได้เลย เพราะว่าคือ
-
เดี๋ยวต้องลองกดดูอีกที
-
เพราะว่าบางครั้งซอฟต์ก็จะเหมือนอนุญาตให้เราเข้าไป
-
บางครั้งเขาก็จะไม่อนุญาตให้เราเข้าไปนะคะ
-
แต่ว่าเรามีเตรียมภาพไว้แล้วทางด้านใน
-
จริง ๆ ตอนที่ป่านเข้าไปด้านในมาก็คือ
-
เหมือนอย่างที่วิวบอกเลยค่ะว่า
-
สิ่งที่โดดเด่นมาก ๆ ที่สตาฟเขาจะชี้ให้ทุกคนดูนะคะ
-
ก็จะเป็นเรื่องของอัญมณี
-
แล้วก็นี่คือจุดศูนย์กลางเลย
-
เมื่อเราเข้าไปจริง ๆ มันจะค่อนข้างมืดค่ะวิว
-
ป่าน: แต่ว่าพอเข้าไป หัวใจมันคือตรงนี้เลย
วิว: ใช่
-
ป่าน: ให้วิวเล่าเรื่องหลุมศพให้ฟังหน่อยดีกว่า
-
วิว: ตรงนี้นะคะก็คือโลงศพของพระเจ้าชาห์ชะฮัน
-
ซึ่งหลังจากที่สิ้นพระชนม์เนี่ย
-
ก็โดนเอามาฝังไว้คู่กับพระนางมุมตัซ มาฮาลเนอะ
-
แต่ว่าที่เราเห็นอยู่ตรงหน้าเนี่ย ไม่ใช่หลุมศพจริงค่ะ
-
คือหลุมศพอันนี้เป็นหลุมศพหลอกที่เอาไว้สวย ๆ
-
ให้คนมาเห็นนะคะ อยู่ใน...
-
อยู่ใน เขาเรียกว่าอะไร ฉากแปดเหลี่ยม
-
ซึ่งหลุมศพจริง ๆ จะอยู่ด้านล่างลงไปอีก ใต้พื้น
-
แล้วก็เป็นส่วนตัว ไม่เปิดให้เข้าชมนะคะ
-
ถามว่าทำไม เพราะว่าคติความเชื่อของอิสลามเนี่ย
-
เขาจะให้...
-
ฝังภายใน 24 ชั่วโมงแล้วก็ต้องอยู่กับดิน
-
คือมันไม่ได้สามารถยกขึ้นมาได้อะไรได้
-
เกิดจากดิน ต้องกลับสู่ดิน
-
ดังนั้นเขาก็ต้องอยู่ข้างล่างไปค่ะ
-
แต่ว่าด้านบนเนี่ย เราจะเห็นว่ามีหลุมศพ 2 หลุมซึ่ง
-
เราจะเห็นจุดแตกต่างได้นิดหน่อยตรงที่ว่า
-
ถ้าเป็นหลุมศพผู้ชายเนี่ยก็จะ
-
มีเหมือนที่วางพู่กันวางอยู่ด้านบนหลุมศพ
-
ส่วนถ้าเป็นของผู้หญิงก็จะเรียบ ๆ เพราะเขาถือว่า
-
ผู้ชายเขียนหนังสือ แล้วก็ผู้หญิงไม่ใช่ค่ะ
-
ซึ่งเอาจริง ๆ ทั้งหมดนี้ก็คือ
-
ทัชมาฮาลที่เราพามาเที่ยวนี่แหละ
-
แล้วก็จะมีข่าวลืออีกนิดหน่อยซึ่งก็เหมือนกับ
-
ข่าวลือของสถานที่ที่ยิ่งใหญ่ทุกที่ในโลกใบนี้ที่เกิดขึ้น
-
คือก็จะมีข่าวลือกันว่า
-
หลังจากสร้างเสร็จนะก็มีการตัดมือของช่างฝีมือทั้งหมด
-
ที่มาทำทัชมาฮาลทิ้งเพื่อที่ว่า
-
เราจะได้ไม่สามารถสร้างทัชมาฮาลที่สองขึ้นมาได้นะคะ
-
แต่ว่าก็เป็นแค่ข่าวลือแล้วก็
-
เขาเชื่อกันว่าน่าจะเป็นการเซ็นสัญญามากกว่าว่าแบบ
-
เซ็นสัญญาว่าเธออย่ามา
-
สร้างอะไรที่มันยิ่งใหญ่ทัดเทียมทัชมาฮาลนะจ๊ะ
-
ประมาณนั้น
-
ข่าวลืออีกอันนึงนะคะที่
-
คนจะได้ยินกันบ่อย ๆ ก็คือ
-
มีข่าวลือว่า
-
จะมีการสร้างทัชมาฮาลสีดำอยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำเพราะว่า
-
ให้พระเจ้าชาห์ชะฮันอยู่คู่กับพระนางมุมตัซ มาฮาล แต่ว่า
-
นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่ ๆ เขาก็เชื่อกันว่า
-
ไม่น่าจะมีจริงหรอกเพราะว่า
-
พระเจ้าชาห์ชะฮันไม่น่าจะอยากโดนฝัง
-
แยกกับพระนางอันเป็นที่รัก
-
น่าจะอยากโดนฝังไว้ในที่เดียวกัน คู่กันแบบนี้มากกว่าค่ะ
-
ดังนั้นนี่ก็คือเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่
-
บรรพบุรุษของทัชมาฮาลค่อย ๆ ไล่มาทีละยุคว่าเกิดอะไรขึ้น
-
ทำไมคนเราถึงคิดจะสร้างอะไร
-
ยิ่งใหญ่ระดับทัชมาฮาลขึ้นมา มันไม่ใช่ว่า
-
เขาแค่รักเมียมาก ๆ แล้วก็จินตนาการขึ้นมาจาก
-
กระดาษเปล่าว่าแบบ
-
เฮ้ย ฉันจะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่แบบทัชมาฮาลนะ
-
มันมีการวิวัฒนาการแบบนี้
-
มันมีการที่เห็นว่าบรรพบุรุษของฉันสร้างสิ่งหรูหราแบบนี้
-
ฉันหรูขึ้นมาได้อีก 1 เลเวลนะ
-
เฮ้ย คนนั้นสร้างแบบนี้ ฉันสูงขึ้นมาได้อีก 1 เลเวล
-
ซึ่งจริง ๆ แรงบันดาลใจมันไม่ได้มีแค่ในเมืองอัครา
-
มันจะมีที่เมืองอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์โมกุลอีก
-
เช่นในเดลีหรือว่าอะไรต่าง ๆ แต่ว่าวันนี้เราเน้นเที่ยวไปที่อัครา
-
เราก็เลยอาจจะพูดถึงแค่ในอัคราเป็นหลักค่ะ
-
ป่าน: เย่
-
วิว: อย่างยาวนาน
-
ป่าน: โอ้โห ก็คือได้... จริง ๆ คือตั้งแต่...
-
เราไปมาเมื่อปลายปีที่แล้ว
-
แต่ว่าอันนี้เหมือนพาเราย้อนกลับไปในแบบว่า
-
ทริปที่เราไปมาแล้วก็เข้าใจมันมากขึ้นมาก ๆ เลย
-
เหมือนที่วิวบอก
-
คือมันไม่ใช่อยู่ดี ๆ วันนึงเราก็รู้ว่าเราต้องไปเช็กอินที่นี่
-
เพราะว่าเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ต้องไปแต่ว่า
-
มันเกิดขึ้นจากไหนไม่รู้
-
แต่พอเรารู้ที่มาที่ไป รวมถึงประวัติศาสตร์และการเดินทาง
-
การ develop เรื่องของสถาปัตยกรรม
-
หรือว่าการใช้พวกแบบอัญมณี
-
หรือมาจากหินสีหรือมาจากที่ต่าง ๆ
-
มันเหมือนมันทำให้รู้สึกแบบ
-
ถึงคุณค่าของสิ่งที่เราดูเพิ่มมากขึ้นด้วย
-
เนอะ เดี๋ยวต่อไปค่ะ เดี๋ยวป่านจะ
-
ให้ทางลูกทัวร์ของเรา feedback ละกันเนอะ
-
หรือว่าเป็นช่วง discussion กันว่าแบบว่า
-
มีอะไรที่อยากสอบถามเพิ่มเติม หรือว่ามีอะไรที่อยากแชร์ไหม
-
หลังจากที่เราได้ไปท่องเที่ยว
-
ประวัติศาสตร์อินเดียในเมืองอัครามาค่ะ
-
พี่โจ้ก่อนก็ได้ค่ะ
-
โจ้: ครับ โอเค คือ...
-
รู้สึกอยากไปทัชมาฮาลขึ้นมากเลยอะ ปกติแล้ว
-
ไม่ได้สนใจทัชมาฮาลขนาดนั้น
-
เออ คือรู้สึกว่ามันสวยแหละแต่ว่ามันเป็นรูปที่เราเห็นแบบ
-
เห็นอยู่ตลอดเวลา
-
เราเองจะคุ้นชินกับ
-
ศิลปะอินเดียในเชิงฮินดูหรือเชิงพุทธอะไรอย่างนี้มากกว่า
-
แต่ว่าพอมาทัวร์กับวิววันนี้รู้สึกว่าเฮ้ย มันมี...
-
มันมีที่เที่ยวหลายอย่างนะที่
-
โหย มันเป็นงานฝีมือที่น่าจะไปดูของจริงมากเลยอะ
-
แผงชาลีนี่คือแบบ
-
โห ทำไปได้ยังไงอะ น่าไปดูของจริงมากว่าสุดท้ายแล้ว
-
product จริงมันเป็นยังไง ไปเห็นด้วยตาอะไรอย่างนี้
-
น่าสนใจมากแล้วก็
-
มีทัชมาฮาล 3 สี
-
ที่พี่ต้องไป 3 รอบปะเนี่ย ถึงจะได้ 3 สี
-
วิว: พี่อาจจะต้องไปนอน 3 วันแล้วเข้าไป 3 รอบ
-
โจ้: เออ น่าไปดูมาก น่าสนใจมากเลยครับ
-
ป่าน: ต้องรีบไปก่อน
-
ต้องรีบไป พี่โจ้ต้องรีบไปก่อนมันหมอง
-
เหมือนน้องวิวเล่าใช่ปะว่า
-
เหมือนช่วงที่มี pollution เยอะ ๆ มันมีความหมองได้ด้วยอะ
-
วิว: ใช่ ทัชมาฮาลมันหมองไปช่วงนึง มันแบบ
-
มันดำไปช่วงนึงจนกระทั่งเมืองอัคราต้องออกกฎ
-
เพื่อที่จะรักษาทัชมาฮาลนี้เอาไว้
-
โดยการแบบห้ามรถยนต์เข้าในรัศมีเท่านั้นเท่านี้
-
ต้องขับรถช้า ๆ ห้ามขับเร็วนะ
-
แล้วก็ต้องมี spa day สำหรับทัชมาฮาล
-
วิว: อันนี้ลืมแบบลืมเล่าไปเลย มันมี spa day ด้วยนะ
โจ้: ไปทำความสะอาด
-
วิว: ใช่ ที่แบบให้ผู้หญิงชาวอินเดียเอา
โจ้: อ๋อเหรอ
-
ส่วนผสมพิเศษไปแปะ ๆ แล้วก็ขัดทัชมาฮาลกัน
-
ประมาณนั้นน่ะ
-
เพราะถ้าเขาไม่ส่องสว่างแบบเป็นหินอ่อน
-
มันก็คงน่าเสียดายเนอะ
-
แต่ว่าอย่างที่เรารู้กัน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
-
ก็มีเรื่องที่มี pollution หรือว่า PM2.5
-
ที่อินเดียมันค่อนข้างเยอะมาก
-
แล้วก็โดยเฉพาะที่เมืองอัคราเลย
-
เราจะเห็นภาพที่มันแบบ ฝุ่นเยอะมากจริง ๆ
-
แล้วพอมันเป็นหินอ่อนก็น่าจะ absorb ไปเยอะเหมือนกัน
-
แล้วกันล่ะคะ มีอะไรอยากแชร์บ้าง
-
กับคนที่เคยอยากไปอินเดียมา
-
กัน: เห็นด้วยกับพี่โจ้เลยฮะ คือแบบธรรมดา...
-
ทัชมาฮาลก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่แบบ
-
โห จุดหมายปลายทางที่แบบอยากไปเยือนขนาดนั้นแต่พอ
-
พอฟังน้องวิวเล่าว่าแบบ
-
เขา...
-
กว่าจะต้องเดินเข้าไป
-
ต้องผ่านซุ้มประตู
-
แล้วก็จะเห็น
-
เฟรมแรกของทัชมาฮาลว่าเหมือนกับเขาคิดมาแบบ
-
เขาคิดมาเยอะอะ แล้วก็
-
พอเราทัวร์ตามเมื่อกี้แล้วเราคิดภาพตาม
-
เราก็คิดว่าแบบถ้าเรา...
-
ลงเครื่องจากอินเดียแล้วเราอยากเห็นทัชมาฮาล
-
แต่เราจะยังไม่ได้เห็นมันเลย แล้วเรามาแล้วเราจะ
-
เข้าอันนั้นไปแค่ทางเดียวเนอะ
-
แล้วแบบผ่านทางผ่านเฟรมมาแล้วเห็นภาพ
-
ภาพที่ได้เห็นตรงนั้นมันน่าจะแบบ epic มาก
-
แล้วก็รู้สึกว่า
-
ถ้าผมไปนี่ ผมคงอยู่ทั้งวันเหมือนกันนะ
-
หมายถึงว่า
-
คงอยากเห็น 3 สีจริง ๆ อะ คือถ้ารู้สึกว่า
-
เป็นจุดที่มันแบบ
-
โห มันอินกับสถานที่นี้แล้วเนอะ
-
มันเหมือนมันน่าจะอยากเห็นเหมือนกันว่า
-
ทุกรูปแบบที่เขาจะเป็นได้มันจะเป็นยังไง
-
แล้วก็เรื่องที่เล่าเรื่องแบบ
-
การเลือกอัญมณีจากตรงนั้นตรงนี้มาใส่มันก็
-
โหมัน...
-
detail มันเยอะกว่าที่เราคิดว่ามันเป็นแค่สถานที่ที่แบบ
-
ใหญ่โต หมายถึงว่าเป็นสุสานที่ยิ่งใหญ่อะไรอย่างนี้
-
มันมี detail ที่แบบน่าทึ่งครับ
-
ป่าน: ตอนที่ป่านไปดูอะ ตอนที่เข้าไปข้างใน
-
ความภูมิใจของสตาฟอะค่ะ
-
นอกจากจะเล่าเรื่องหินสีอะ
-
คือเขาไม่ได้ภูมิใจเรื่องหินสีขนาดที่พวกเรารู้สึก
-
แต่สิ่งที่เขาภูมิใจมากคือความสมมาตรของมัน
-
คือเหมือนเขาพรีเซนต์กับป่านเรื่องนี้มากว่าแบบ
-
you ดูสิ ถ้าเกิด you มองจากในสุสานออกไปอะ
-
สิ่งที่ คือเขาก็ถือว่าเหมือนเป็นสวรรค์
-
ของทั้ง 2 องค์อะเนอะ ก็คือ
-
ถ้าเกิดว่า 2 คนนี้มองออกจากสวรรค์ของตัวเอง
-
มองไปที่สวน
-
มองไปเห็นประตูอะ ทุกอย่างมันจะสวยงามมาก
-
คือมองไปเห็นเส้นของน้ำ
-
ข้างหลังเป็นแม่น้ำใหญ่
-
เห็นสวนที่สวยงามที่แบบ
-
เคยเป็นสวนของอังกฤษอะไรอย่างนี้
-
เขาก็บอกว่าความสมมาตรคือที่สุด แล้วเขาก็บอกว่า
-
นึกดูสิ ในยุคนั้นมันไม่มีเครื่องมือวัดนะ
-
พวกเราต้องแบบเป็นแรงงานคนในการคำนวณทุกอย่าง
-
แล้วมันมีความใหญ่มากแต่แบบ
-
เขาบอกว่ารับประกันความเป๊ะมาก ๆ ค่ะ
-
รวมถึงตัวโถงโดมข้างในก็
-
ตอนที่เข้าไป เขาจะให้ลองส่งเสียงเป็นคำว่าอะไรก็ได้
-
เหมือนมันมีวิทยาศาสตร์
-
ของการใช้พื้นที่ เพื่อทำให้เสียงมันก้องอยู่อะค่ะ
-
จริง ๆ อันนี้เป็นอีกมุมนึงที่น่าสนใจเหมือนกัน
-
ที่น่าจะหยิบขึ้นมาเล่าเนอะ
-
แต่มันจะเห็นชัดในตัว Agra Fort มากกว่า
-
วิธีการเหมือนกับวิทยาการอะ
-
วิทยาการของเขา
-
ของคนอินเดียค่ะ
-
คือเขาใช้เรื่องการออกแบบพื้นที่กับเรื่องวิทยาศาสตร์
-
เช่นแบบ อย่างที่ป่านบอกไปว่าเป็นเรื่องโถง
-
แล้วพอพูดไปจะมีเสียงสะท้อน
-
ไม่ใช่เสียงก้องด้วย แต่เป็นเสียงสะท้อนที่ทำให้เสียงเราดังขึ้น
-
จากการออกเสียงเพียงนิดเดียว
-
หรือว่าเรื่องของช่องทางลม
-
เหมือนวิวเป็นคนเล่าให้เราฟังเรื่องเสียงผ่านกำแพงด้วย
-
วิว: ใช่ คือเหมือนกับว่าราชวงศ์โมกุลเขาค่อนข้าง
-
เชี่ยวชาญวิทยาศาสตร์อะค่ะ ด้านการส่งเสียง
-
คือตรงทัชมาฮาลกับตรง Agra Fort
-
วิวอาจจะไม่เห็น เพราะวิวไม่เคยไปแต่ว่า
-
ตรงป้อมที่อีกเมืองที่วิวเคยไปเนี่ย
-
ซึ่งเป็นของโมกุลเหมือนกันน่ะ
-
มันมีเทคโนโลยีถึงขนาดที่ว่า
-
ปัจจุบันนี้ถ้าสมมติว่าเราจะคุยกับคนที่หน้าบ้าน
-
เราต้องใช้ intercom ใช่ไหม
-
แต่อันนี้ป้อมมันใหญ่มาก ใหญ่แบบใหญ่กว่าสนามศุภอะ
-
แต่ถ้าสมมติว่าอยากส่งเสียงเตือนภัย
-
หรืออยากเรียกคนใช้จากหน้าบ้าน
-
เขาสามารถตบมืออย่างนี้
-
แล้วเสียงมันจะสะท้อนไปในกำแพงค่ะ
-
แล้วมันจะไปได้ยินที่ฝั่งนู้นเลย
-
ซึ่งไปลองมาแล้วมันก็ทำได้จริง ๆ
-
ก็แบบน่าสนใจมาก ๆ แล้วก็
-
มันเห็นได้จากแทบทุกอาคารของโมกุลเลยแล้วก็
-
เหมือนกับว่าสมกับที่อินเดียเป็นเจ้าพ่อคณิตศาสตร์โลก
-
เขาก็เป็น 1 ในคนที่คิดค้น
-
คณิตศาสตร์หรือการคำนวณต่าง ๆ หลายอัน
-
ก็สมแล้วที่เขามีวิทยาการเหล่านี้มาใช้นะคะ
-
ป่าน: ใช่ จริง ๆ ตอนที่ป่านไป Agra Fort เขาจะให้แบบ
-
เนี่ย ลองพูดเข้ากำแพงฝั่งนี้สิ
-
แล้วคนที่ฟังอยู่กำแพงอีกฝั่งนึงจะได้ยิน
-
ซึ่งไม่ใช่เป็นการกั้นผนังอย่างนี้
-
แล้วพูดใส่แล้วอีกฝั่งนึงได้ยินนะคะ
-
คือพูดใส่ฝั่งนี้แล้วข้างหลังป่านที่อยู่แบบ
-
อีกกำแพงไกล ๆ อะ ได้ยิน
-
แล้วป่านก็ถามเขาว่าแล้วมันเดินทางเสียงยังไง
-
คือเขาบอกว่ามันมีการวาง
-
อยู่ข้างในกำแพงอีกทีนึง
-
ที่มันจะวางเหมือนเป็นปล่อง
-
ในการที่ให้เสียงสามารถผ่านไปได้
-
แล้วก็รวมถึงวิทยาการที่ทำให้แบบเหมือนมันร้อนค่ะ
-
เขาก็จะมีการเหมือนกับเดินท่อน้ำอยู่ข้างในผนัง
-
เพื่อทำให้พื้นผิวมันเย็น
-
หรือเรื่องของลม ที่แต่ก่อนไม่มีแอร์ ไม่มีพัดลม
-
อินเดียมันเป็นแบบเหมือนเมืองที่ร้อน
-
เขาก็จะมีเรื่องการสร้างช่องลมที่ทำให้ลมเข้าแต่ลมไม่ออก
-
แล้วป่านรู้สึกว่าพวกนี้น่าสนใจมากเหมือนกันที่
-
เราได้เห็นวิทยาการต่าง ๆ ของคนสมัยก่อน
-
ที่เขาคิดเกี่ยวกับเรื่องการออกแบบ
-
เมื่อกี้เห็นมีคนถามขึ้นมา คุณ Salinee ค่ะ ถามว่าแบบ
-
ท่านชาห์ชะฮันมีสถาปนิกไหมคะวิว
-
มีค่ะ มีสถาปนิกแล้วไม่ได้เป็นสถาปนิกที่ใช้ของอินเดียด้วยนะ
-
ชาห์ชะฮัน import นะคะมาจาก
-
ถ้าจำไม่ผิดน่าจะมาจากเปอร์เซีย
-
คือทุกคนที่พูดผ่านมาเนี่ย
-
ตั้งแต่ Fatehpur Sikri หรือว่าอะไรต่าง ๆ
-
มีการ import สถาปนิกทั้งนั้นเลยแต่ว่า
-
แต่ละคน import มาจากคนละเมือง
-
วิวอาจจะจำสลับกันนิดนึงแต่ถ้าจำไม่ผิดเนี่ย
-
ของชาห์ชะฮัน import มา
-
วิว: ถ้าจำไม่ผิดมาจากเปอร์เซีย
ป่าน: เป็นความ import ไปอีก
-
ป่าน: มีใครมีคำถามอีกไหม
-
อ๋อ นี่ คุณ Salinee คนเดิมเลยค่ะ แชร์มาบอกว่า
-
เทคนิคการส่งเสียงผ่านกำแพงเป็นนวัตกรรมอิสลามเลยค่ะ
-
ที่อิหร่านก็มี สนุกมาก
-
แสดงว่ามีหลายที่ให้เราทดลองดู
-
ว่าแต่ละอาคารเขาออกแบบแบบไหนเนอะ
-
แล้วก็มีคุณ แต่กลัวออกเสียงผิดมากเลย คุณอ๋องป้ะคะ
-
บอกว่าอินเดียเดือนที่มีมลพิษสูงสุดคือพฤศจิกา
-
เป็นเทศกาลชื่อว่า เดวาลี ค่ะ วันที่ 14
-
คือทุกคนจะจุดเทียนทั้งวันแล้วก็ทั้งคืนเลย เป็นเวลาหลายวัน
-
อากาศก็จะมีควันดำ มีมลพิษมากสุด
-
ก็คือแนะนำทุกคนว่ามันจะถ่ายรูปไม่สวย
-
เพราะว่าหมอกจะเป็นสีเทาปนเหลือง
-
ถ้าเป็นภูมิแพ้อย่าไปนะคะ เห็นด้วย
-
จริงค่ะ เพราะว่าช่วงที่อินเดียมลพิษเยอะจริง ๆ
-
วิว: ยกมือค่ะ ไปหามาให้แล้วเมื่อกี้
-
จำได้ว่าจดไว้แต่ว่าเมื่อกี้ไม่ได้ดู
-
สถาปนิกที่เป็นคนสร้างทัชมาฮาลนะคะ
-
ชื่อว่า Ahmad Lahouri
-
import มาจากอิหร่านกับตุรกีค่ะ
-
เป็นคนแถวอิหร่านกับตุรกี
-
แถวนั้นซึ่งเป็นเจ้าพ่อสถาปัตยกรรมอยู่แล้ว
-
ตุรกีก็ที่เราเห็นพวกสถาปัตยกรรมแถวนั้น
-
มัสยิดยิ่งใหญ่อลังการหมดทุกที่นะคะ
-
ป่าน: ยังมีคำถามมาเรื่อย ๆ จริง ๆ ใน Live
-
แล้วก็ช่อง Live แต่ละคน
-
ก็ยังเหมือนส่งคำถามกันเข้ามาอยู่นะคะ
-
เดี๋ยวป่านจะอ่านคำถามสุดท้ายละกันก่อนที่
-
จะให้วิวฝากอะไรหน่อยก่อนไปนะคะ
-
มีคนถามว่า คุณ Sathikarnthipa เหรอคะ
-
ป่านอ่านออกเสียงไม่ถูกเลย ขอโทษถ้าป่านอ่านผิดนะคะ
-
ถามว่าเมื่อกี้ตรงที่เป็นทัชมาฮาลอะค่ะ
-
มัสยิดฝั่งไหนเป็นของจริง ฝั่งไหนเป็นของปลอมเหรอคะ
-
จริง ๆ ของปลอมที่พูดถึงก็คือ
-
เขาเอาไว้รับแขกเนอะ แต่ว่าอันไหนที่เขาใช้กันจริง ๆ คะ
-
ป่าน: อันไหนที่เขาใช้จริงคะวิว
วิว: ถ้าจำไม่ผิดนะคะ
-
ถ้าวิวจำไม่ผิดนะ อันนี้ไม่แน่นะคะ
-
ถ้าจำไม่ผิดคือฝั่งซ้าย เพราะว่า
-
เหมือนเห็นภาพว่าคนไปละหมาดกันที่ฝั่งซ้าย แต่ว่า
-
วิวอาจจะจำสับสนกันก็ได้เพราะว่า
-
สารภาพเลยว่ามันสมมาตรมากจนเวลาเขาถ่ายมาว่า
-
นี่คือมัสยิดจ้า มันเหมือนกันเลย ดูไม่ออก
-
นะคะ ยกเว้นจะไปดูข้างใน
-
ซึ่งความเป็นศาสนสถาน เขาไม่ให้ดูข้างใน
-
ก็เลยไม่เห็น
-
อันนี้สารภาพตรง ๆ เลย
-
ป่าน: ใครไปก็คือ จริง ๆ มันเดินดูจากด้านนอกได้เลยค่ะ
-
แล้วมันก็อยู่ในบริเวณเดียวกัน
-
คือเมื่อเดินจากด้านล่างที่เป็นสวนขึ้นไป
-
มันจะมีบันไดให้ขึ้น 2 ฝั่งแต่จริง ๆ มันทะลุกันเนอะ
-
ก็คือตรงกลางเป็นทัชมาฮาล แต่ว่า
-
ถ้าอยากดูเนี่ยสามารถเดินดูได้ทั้ง 2 ฝั่ง
-
แต่ว่าเหมือนที่น้องวิวบอกเลยคือเข้าไปดูข้างในไม่ได้
-
ก็อาจจะได้เห็นจากด้านนอกว่าด้านไหนเขาทำพิธี
-
แล้วก็ไม่ต้องเข้าไป
-
วิว: เพราะว่าตอนนี้ปัจจุบันอะ ขอโทษนะคะ
-
ตอนนี้ปัจจุบัน มัสยิดเขายังใช้งานอยู่
-
มันยังเป็นมัสยิดที่ยัง active อยู่
-
ยังใช้งานเหมือนสมัยก่อนเป๊ะเลย
-
ป่าน: อื้อ อันนี้เป็นคำถาม
-
เมื่อกี้ป่านว่าคำถามสุดท้ายแต่อีกคำถามนึงน่าสนใจมาก
-
คุณ Supakrit ค่ะบอกว่า
-
ช่วงที่อังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในอินเดีย
-
แล้วสถานการณ์ของทัชมาฮาลเป็นยังไงบ้างอะวิว
-
วิว: โอ บอกเลยว่าสถานการณ์เหวี่ยงมากค่ะ
-
ตั้งแต่มีข่าวลือว่าจะมีการทุบทัชมาฮาล
-
แล้วก็เอาหินอ่อนไปขาย ก็มี
-
แล้วก็มีข่าวลือว่ามีการแงะอัญมณีทัชมาฮาลไปขาย ก็มี
-
แต่อย่างนึงที่เราเห็นชัด ๆ แน่ ๆ เลยก็คือสวนด้านหน้าค่ะ
-
สวนด้านหน้าทัชมาฮาลที่เราเห็นทั้งหมดเมื่อกี้
-
แอบเปิดภาพได้ไหมคะ
-
ที่เราเห็นทั้งหมดเมื่อกี้เราจะเห็นว่า
-
สวนมันหน้าตาวิกตอเรียมาก ๆ เลย
-
สวนมันหน้าตาเหมือนสวนอังกฤษเป๊ะเลย
-
เพราะว่านี่คือสวนที่ชาวอังกฤษสร้าง
-
มันไม่ใช่สวนที่เป็นออริจินัลของทัชมาฮาล
-
นี่คือสวนที่เขาปรับปรุงแล้วว่าอังกฤษชอบแบบนี้
-
เป็นสไตล์วิกตอเรีย แต่ว่า
-
จริง ๆ แล้วค่ะ เหมือนราชวงศ์โมกุลเขามี
-
concept ความสวยงามในหัวของเขาแบบนึง
-
เขาจะมองว่าแบบ
-
เฮ้ย พื้นที่ที่อินเดียมันไม่สวยเลย
-
ฉันอยากปรับ ตั้งแต่สมัยคิงบาบูร์ละ
-
เขาก็จะปรับในรูปแบบของเขา
-
ซึ่งสวนแบบออริจินัลในทัชมาฮาลเนี่ย
-
มันจะเป็นสวนดอกกุหลาบกับสวนแดฟโฟดิล
-
ก็คือจะเน้นดอกไม้มากกว่านี้ มันจะไม่ได้เขียว ๆ แบบนี้
-
ทุกวันนี้ถ้าเรามองไปมันจะเป็นแบบวิกตอเรีย จะเขียวเป็นหลัก
-
แต่ว่าไม่ สำหรับพระนางมุมตัซ มาฮาลจริง ๆ แล้ว
-
เขาสร้างสวนกุหลาบ เป็นส่วนดอกไม้เพื่อเธอ ประมาณนั้นค่ะ
-
อันนี้ก็คือ....
-
ป่าน: 9,999 ดอกมาก
-
วิว: อาจจะเกิน อันนี้อาจจะ 90,000
-
99,900
-
อารมณ์นั้น
-
ป่าน: ตอนนี้ก็เลยกลายเป็นสวนหมดแล้วนะคะ
-
ซึ่งเป็นที่หลบแดดได้ดีนะคะ
-
แต่ว่าที่นี่ ก็คือว่าแนะนำสำหรับคนที่จะไปเที่ยวแล้วกันเนอะ
-
ระหว่างทางก็จะ
-
ด้วยความที่เราเป็นคนต่างชาติกันนะคะ
-
ก็จะมีคนมามุงถ่ายรูปพวกเราเยอะมากนะคะ
-
โดยเฉพาะสาว ๆ ที่ไปก็จะรู้สึกเหมือน
-
เราจะได้เป็นเหมือนซูเปอร์สตาร์ในวันนั้น ๆ นะคะเพราะว่า
-
ไม่ว่าจะไปที่ไหนของอินเดีย
-
ถ้าเกิดสมมติเขาเห็นเราเป็นชาวต่างชาติ
-
เขาจะเข้ามาขอ selfie มาขอถ่ายรูปด้วย
-
ก็ที่นี่จะเยอะมากเป็นพิเศษเพราะว่าเหมือน
-
เขาคาดการณ์อยู่แล้วว่าจะเจออะเนอะ
-
วิว: จะบอกว่ามาแบบรวดเร็ว แล้วมาตลอดเวลาด้วยค่ะ
-
คือไม่ว่าเราจะทำอะไรอยู่ เขาจะสะกิดเราแล้วบอกว่า
-
madame, madame
-
selfie please.
-
เขาจะเรียกเราว่ามาดามเนอะ
-
ป่าน: ใช่ ๆ madame, selfie, selfie
-
อุ้ย อันนี้เป็นความรู้ที่น่าสนใจ
-
ขอบคุณที่แชร์ค่ะ คุณนกบอกว่า
-
รูปแบบสถาปัตยกรรม islamic art จะเน้นลักษณะสมมาตร
-
แล้วก็ยุคนั้นเนี่ยยังไม่เป็นอินเดียด้วยนะคะ
-
ตอนเรียน fine art ที่อินเดีย
-
อาจารย์แขกถึงขั้นให้ถอดรหัสการสร้างกันเลยทีเดียว
-
อยากเห็นรหัสการสร้างนั้นเลยว่าคำนวณกันขนาดไหนมันถึง
-
เป๊ะแล้วก็สวยงามได้ขนาดนี้นะคะ
-
วิว: ใช่ การรับน้ำหนักโดมนี่ก็เทคโนโลยีโหดอยู่นะคะ
-
ป่าน: น่าจะโหดอยู่ น่าจะโหดอยู่
-
วิวจ๋า แล้วตอนนั้นที่ทัชมาฮาลสำเร็จแล้ว สร้างเสร็จแล้ว
-
ถ้าเกิดเทียบกับไทยนี่มันประมาณช่วงไหนอะคะ
-
ป่าน: ถ้าไล่ไทม์ไลน์นี่จะ...
วิว: เดี๋ยวนะ
-
วิว: ถ้าไล่ไทม์ไลน์ วิวว่าน่าจะช่วง...
-
ปลายอยุธยามั้งคะ วิวไม่ค่อยแน่ใจ
-
อันนี้ต้องเดี๋ยวเช็กปีนิดเดียว
-
ปีทัชมาฮาล
-
วิวว่าน่าจะปลายอยุธยานะ เพราะว่าจากพระมหาจักรพรรดิ
-
ไทยก็...
-
พระมหาจักรพรรดิตรงกับ
-
ปู่ใช่ไหม เอ๊ย ตรงกับ
-
น่าจะตรงกับช่วงไม่พระนารายณ์ก็...
-
อะไรทำนองใกล้ ๆ นั้นน่ะค่ะ กลาง ๆ ปลาย ๆ อยุธยา
-
ป่าน: เดี๋ยวหาคำตอบได้แบบว่าเป๊ะ ๆ
-
แล้วเดี๋ยวจะเข้าไปแปะในคอมเมนต์ให้นะคะ
-
แต่ว่าเดี๋ยวตอนนี้คิดว่า
-
ประมาณนี้ที่เราพาไปทัวร์กันมา
-
สำหรับ Self Quarantour นะคะในวันนี้
-
เดี๋ยวให้น้องวิวฝากสุดท้ายดีกว่าว่า
-
เป็นยังไงบ้าง ได้พาไปทัวร์ที่อินเดียมา แล้วอยากฝากอะไร
-
ทำไมถึงอยากชวนให้คนไปเที่ยวที่อัครากันคะ
-
วิว: ส่วนตัวเนี่ยสารภาพเลยว่ายังไม่เคยไป
-
แล้วตอนแรกก็ไม่คิดจะไปด้วย
-
ทั้ง ๆ ที่อย่างที่บอกตอนต้นก็คือ
-
ตัวเองไปเฉียดทัชมาฮาลไปแล้ว
-
แต่ว่าไม่ได้เหยียบเข้าไป
-
ดังนั้นพอมาทำทัวร์อันนี้
-
เสียดายจนถึงวินาทีนี้ว่าตอนนั้นอีกแค่ครึ่งชั่วโมง
-
ทำไมไม่เข้าไป ก็คือ
-
ได้มาทำอันนี้ก็เลยกลายเป็นอยากไปไปเลย
-
อินกับศิลปะของ islamic art ไปเลยนะคะ
-
ดังนั้น
-
คือมันทำให้วิวรู้ว่า
-
จริง ๆ เบื้องหลังของอะไรต่าง ๆ
-
มันก็มีเรื่องราวอะไรของมันอยู่เบื้องหลังเข้าไปอีกอะ
-
คือปกติจะเป็นคนอินกับฮินดู ไม่ค่อยอินกับอิสลามแต่ว่า
-
มันทำให้วิวมองว่าจริง ๆ ในเรื่องที่เราไม่เคยจะอินเนี่ย
-
มันก็ทำให้เราเปิดใจแล้วเห็นว่ามันก็มี
-
เรื่องราวที่น่าสนใจซ่อนอยู่เหมือนกันดังนั้น
-
ขอให้เราเปิดใจอะค่ะแล้วก็
-
สถานที่ที่มันอาจจะดู cliché มันอาจจะดูว่าแบบ
-
เฮ้ย ไม่มีอะไร ใคร ๆ ก็ไปกัน
-
จริง ๆ แล้วถ้าเราไปศึกษาเรื่องราวของมันเนี่ย
-
มันอาจจะทำให้เราเห็นอีกมุมนึงเลยก็ได้
-
ประมาณนี้ ดังนั้นไปเที่ยวอัครากันเถอะจ้ะ
-
ไปเที่ยวทัชมาฮาลกันค่ะ
-
ป่าน: สวยงามค่ะ ขอบคุณมาก ๆ เลย
-
ตบมือให้กับวิวแล้วก็ 2 ชั่วโมงกว่า ๆ ที่วิวเล่าทั้งหมด
-
แล้วก็เป็นไกด์พาพวกเราเข้าไปทัวร์นะคะ
-
อย่างที่วิวบอกเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ไหนนะคะ
-
จะเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์หรือว่าการพาไปดูศิลปะ
-
ใจความของที่พวกเราพยายาม
-
พวกเรา Ground Control พยายามที่จะพาไป
-
ผ่าน Self Quarantour
-
คืออยากให้ทุกคนได้ซึมซับเรื่องของประวัติศาสตร์
-
ได้รู้บริบทของสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็
-
ได้เห็นในมุมมองที่แตกต่าง
-
ผ่านไกด์ที่หลากหลายนะคะ
-
ที่มาเล่าให้ทุกคนฟังถึงแง่มุมทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ด้วย
-
แล้วก็ทางด้านศิลปะ
-
เพื่อให้เห็นการเชื่อมโยงทั้งหมดเข้าด้วยกันนะคะ
-
ก็อยากแนะนำให้ไป
-
ป่านเป็นคนนึงที่เคยไปอินเดีย ไปอัครามาแล้วก็
-
อยากบอกเลยค่ะว่า อย่าพลาดเลย
-
เป็นสิ่งนึงที่ครั้งหนึ่งลองไป
-
แล้วตอนนี้ได้รู้แล้วว่าเนื้อหามันเป็นยังไง
-
เพิ่มเติมได้แน่นอนกับบริบททั้งเรื่องการเมือง
-
แล้วก็การใช้ชีวิตของพวกเขา
-
เติมเต็มมาก ๆ สำหรับวันนี้นะคะ
-
ต้องขอขอบคุณวิวมาก ๆ เลยที่มาเป็นไกด์ให้กับพวกเรา
-
ขอบคุณกัน ขอบคุณพี่โจ้ด้วยนะคะที่มาเป็นลูกทัวร์
-
แล้วก็ขอบคุณลูกทัวร์ที่ดูอยู่ในทุก ๆ ช่องทางนะคะ
-
ทั้งเพจ Ground Control ทั้งเพจ Point of View
-
แล้วก็ทางแชนเนล Youtube ของ Point of View นะคะ
-
แล้วก็ทุก ๆ แชนเนลของน้องวิวเลยนะคะ
-
กลับมาพบกับพวกเรา Ground Control ได้ใหม่นะคะ
-
ทาง Self Quarantour ทุกวันพฤหัส 1 ทุ่มครึ่งนะคะ
-
สำหรับ EP. หน้า EP. ที่ 7 นะคะ
-
เราก็จะกลับไปทางตะวันตกกันอีกครั้งนึงนะคะ
-
กับ Frida Kahlo ค่ะ
-
กับพี่แพทนะคะที่จะมาเป็นไกด์ให้กับพวกเรา
-
ก็เวลาเดิม แล้วก็ติดตามกันได้ทางเพจ Ground Control นะคะ
-
สำหรับวันนี้ก็ เดี๋ยวป่านก็จะขอลาไปก่อน
-
เพราะว่าตอนนี้ก็ประมาณ 4 ทุ่ม เวลากำลังดีนะคะ
-
เข้านอนก็หลับฝันดี นมัสเตทุกคนค่ะ
-
สวัสดีค่ะ / ครับ
-
บ๊ายบาย