Return to Video

10 วิธีที่จะทำให้มีการสนทนาที่ดีกว่าเดิม | Celeste Headlee | TEDxCreativeCoast

  • 0:14 - 0:16
    เอาล่ะ มาลองยกมือกันหน่อยว่า
  • 0:16 - 0:18
    มีกี่คนในที่นี้ที่อันเฟรนด์บางคนในเฟซบุ๊ค
  • 0:18 - 0:22
    เพราะว่าพวกเขาพูดสิ่งที่ทำให้
    คุณไม่พอใจเกี่ยวกับศาสนา หรือการเมือง
  • 0:22 - 0:24
    การเลี้ยงลูก หรืออาหาร
  • 0:24 - 0:26
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:26 - 0:29
    แล้วกี่คนที่มีคนที่คุณจงใจเลี่ยง
    อย่างน้อยหนึ่งคน
  • 0:29 - 0:32
    เพราะว่าคุณแค่ไม่อยากจะคุยกับคน ๆ นั้น
  • 0:32 - 0:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:34 - 0:38
    สมัยก่อน การที่จะมีบทสนทนาที่สุภาพนั้น
  • 0:38 - 0:41
    เราก็แค่ต้องทำตามคำแนะนำ
    ของเฮนรี่ ฮิกกินส์ ในเรื่อง My Fair Lady
  • 0:41 - 0:43
    พยายามคุยแค่เรื่องอากาศ
    กับสุขภาพก็พอ
  • 0:43 - 0:46
    แต่ว่าสมัยนี้ ด้วยเรื่องโลกร้อน
    การต่อต้านการฉีดวัคซีน หัวข้อพวกนั้น...
  • 0:46 - 0:48
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:48 - 0:49
    ก็ไม่ปลอดภัยอีกเช่นกัน
  • 0:49 - 0:51
    บนโลกที่เราอาศัยอยู่นี้
  • 0:52 - 0:54
    โลกที่ทุกการสนทนา
  • 0:54 - 0:57
    มีโอกาสที่จะกลายเป็นการโต้เถียงกันได้
  • 0:57 - 0:59
    โลกที่นักการเมืองของเรา
    ไม่สามารถพูดคุยกันได้
  • 0:59 - 1:01
    และเป็นโลกที่แม้แต่เรื่องเล็กน้อยที่สุด
  • 1:01 - 1:06
    ก็มีทั้งคนที่ต่อสู้สุดตัวเพื่อมัน
    และต่อต้านมัน ซึ่งมันไม่ปกติ
  • 1:06 - 1:09
    สถาบันวิจัยพิว ทำการศึกษาจาก
    ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันจำนวน 10,000 คน
  • 1:09 - 1:12
    และพวกเขาพบว่า ในตอนนี้
    พวกเราแบ่งฝักแบ่งฝ่ายมากขึ้น
  • 1:12 - 1:14
    พวกเราแบ่งแยกกันมากขึ้น
  • 1:14 - 1:16
    มากกว่าที่ครั้งไหน ๆ ในประวัติศาสตร์
  • 1:16 - 1:18
    เรามีแนวโน้มที่จะประนีประนอมน้อยลง
  • 1:18 - 1:20
    ซึ่งนั่นแปลว่า
    เรากำลังไม่ฟังกันและกัน
  • 1:20 - 1:23
    และเรากำลังตัดสินใจว่า เราจะอยู่ที่ไหน
  • 1:23 - 1:25
    จะแต่งงานกับใคร หรือแม้แต่
    ใครคือคนที่จะเป็นเพื่อนของเรา
  • 1:25 - 1:28
    โดยอ้างอิงจากสิ่งที่เราเชื่อไปแล้ว
  • 1:28 - 1:30
    นั่นก็อีก มันหมายความว่า
    เรากำลังไม่ฟังคนอื่น
  • 1:30 - 1:34
    การสนทนากัน ต้องการความสมดุล
    ระหว่างการพูด และการฟัง
  • 1:34 - 1:37
    แต่ตอนไหนไม่รู้
    ที่เราเสียความสมดุลนั้นไป
  • 1:37 - 1:39
    ทีนี้ จริง ๆ สาเหตุหนึ่งก็เพราะเทคโนโลยี
  • 1:39 - 1:41
    สมาร์ทโฟนที่พวกคุณทุกคน
    อาจจะถืออยู่ในมือ
  • 1:41 - 1:44
    หรือไม่ก็อยู่ใกล้พอ
    ที่คุณจะหยิบได้อย่างรวดเร็ว
  • 1:44 - 1:45
    อ้างอิงจากสถาบันวิจัยพิว
  • 1:45 - 1:51
    ประมาณหนึ่งในสามของวัยรุ่นอเมริกัน
    ส่งข้อความมากกว่าร้อยข้อความในหนึ่งวัน
  • 1:51 - 1:55
    และหลายคนในนั้น เกือบทั้งหมดในนั้น
    มีแนวโน้มที่จะส่งข้อความหาเพื่อน
  • 1:55 - 1:57
    แทนที่จะพูดคุยกัน แบบเห็นหน้า
  • 1:58 - 2:00
    มีข้อความหนึ่ง จากหนังเรื่อง The Atlantic
  • 2:00 - 2:03
    ซึ่งถูกเขียนโดยคุณครูมัธยมปลาย
    ชื่อพอล บาร์นเวล
  • 2:03 - 2:05
    และเขาให้เด็ก ๆ ทำโครงงาน
    เกี่ยวกับการสื่อสาร
  • 2:05 - 2:09
    เขาอยากจะสอนพวกเขา
    เรื่องการพูดในหัวข้อเฉพาะ โดยไม่ใช้โน้ต
  • 2:09 - 2:11
    และเขากล่าวว่า "ผมเพิ่งตระหนักว่า..."
  • 2:11 - 2:14
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:14 - 2:17
    "ผมเพิ่งตระหนักว่า
    ความสามารถในการสนทนานั้น
  • 2:17 - 2:21
    อาจจะเป็นทักษะหนึ่งเดียว
    ที่เรามองข้ามมากที่สุด และลืมที่จะสอนมัน
  • 2:21 - 2:25
    เด็ก ๆ ใช้เวลาหลายขั่วโมงในหนึ่งวัน
    อยู่กับไอเดียและเพื่อน ๆ ผ่านหน้าจอ
  • 2:25 - 2:27
    แต่มีช่วงเวลาน้อยมากที่พวกเขาจะมีโอกาส
  • 2:27 - 2:30
    ได้พัฒนาทักษะการสื่อสารระหว่างกัน
  • 2:30 - 2:33
    มันอาจจะฟังดูเป็นคำถามตลก ๆ
    แต่เราก็ต้องถามตัวเองว่า
  • 2:33 - 2:35
    มีทักษะไหนอีกในยุคนี้
  • 2:35 - 2:41
    ที่จะสำคัญไปกว่าความสามารถในการ
    คงบทสนทนาที่เชื่อมโยงและมั่นใจเอาไว้ได้
  • 2:41 - 2:43
    ตอนนี้อาชีพหลักของฉันคือการพูดคุยกับผู้คน
  • 2:43 - 2:45
    คนที่ได้รางวัลโนเบล คนขับรถบรรทุก
  • 2:45 - 2:48
    เศรษฐีพันล้าน คุณครูอนุบาล
  • 2:48 - 2:51
    นายกเทศมนตรี หรือช่างประปา
  • 2:51 - 2:54
    ฉันคุยกับคนที่ฉันชอบ
    คุยกับคนที่ฉันไม่ชอบด้วยเหมือนกัน
  • 2:54 - 2:57
    คุยกับคนที่ส่วนตัวแล้ว
    ฉันไม่เห็นด้วยเอามาก ๆ
  • 2:57 - 3:00
    แต่ฉันก็ยังสามารถ
    มีบทสนทนาดี ๆ กับพวกเขาได้
  • 3:00 - 3:04
    เพราะฉะนั้น ฉันเลยอยากจะใช้เวลา 10 นาทีนี้
    สอนพวกคุณว่าจะต้องพูดคุยกันอย่างไร
  • 3:04 - 3:05
    และต้องฟังกันอย่างไร
  • 3:07 - 3:09
    พวกคุณหลายคนคงจะเคยได้ยิน
    คำแนะนำมากมายในเรื่องนี้แล้ว
  • 3:09 - 3:11
    อย่างเช่น ให้สบตาคนที่พูดด้วย
  • 3:11 - 3:15
    เตรียมหัวข้อที่น่าสนใจไว้ล่วงหน้า
  • 3:15 - 3:20
    สบตา พยักหน้า และยิ้ม
    เพื่อแสดงออกว่าคุณกำลังสนใจฟังอยู่
  • 3:20 - 3:23
    ทวนสิ่งที่คุณเพิ่งได้ฟังไป
    หรือลองสรุปใหม่
  • 3:23 - 3:24
    ฉันอยากให้ทุกคนลืมไปให้หมด
  • 3:24 - 3:26
    มันไร้สาระมาก
  • 3:26 - 3:29
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:29 - 3:33
    ไม่มีความจำเป็นเลยที่คุณ
    จะต้องมานั่งเรียนรู้วิธีการแสดงออก
  • 3:33 - 3:37
    ถ้าคุณสนใจฟังอยู่จริงๆ
  • 3:37 - 3:39
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:39 - 3:41
    (เสียงปรบมือ)
  • 3:43 - 3:47
    จริงๆแล้ว ฉันก็ใช้ทักษะเดียวกันนี้
    ในฐานะนักสัมภาษณ์มืออาชีพ
  • 3:47 - 3:49
    ที่ฉันใช้มันในชีวิตประจำวัน
  • 3:50 - 3:53
    เพราะฉะนั้น ฉันจะมาสอนคุณว่า
    จะต้องสัมภาษณ์คนอื่นอย่างไร
  • 3:53 - 3:57
    และนั่นคือสิ่งที่จะช่วยให้คุณเรียนรู้ว่า
    จะเป็นนักสนทนาที่ดีขึ้นได้อย่างไร
  • 3:57 - 3:59
    เรียนรู้การสร้างบทสนทนา
  • 3:59 - 4:01
    โดยไม่ต้องมัวเสียเวลา
    หรือต้องเบื่อหน่าย
  • 4:01 - 4:04
    แล้วก็นะ ขอร้องล่ะ
    ไม่ต้องไปทะเลาะกับใครเขาด้วย
  • 4:04 - 4:06
    พวกเราทุกคนเคยมีบทสนทนาที่ยอดเยี่ยมมาก่อน
  • 4:06 - 4:09
    เคยผ่านมันมาแล้วแน่ ๆ
    และรู้ว่ามันเป็นยังไง
  • 4:09 - 4:12
    เป็นบทสนทนาที่พอจบแล้วคุณรู้สึกยังอินอยู่
    และช่วยจุดประกายความคิดขึ้นมา
  • 4:12 - 4:15
    หรือเป็นอันที่คุณรู้สึกว่า
    คุณได้เข้าถึงมันจริง ๆ
  • 4:15 - 4:17
    หรือรู้สึกว่ามีคนเข้าใจคุณอย่างดี
  • 4:17 - 4:18
    มันไม่มีเหตุผลพิเศษอะไร
  • 4:18 - 4:21
    ที่การมีปฏิสัมพันธ์ของคุณส่วนใหญ่
    จะเป็นแบบนั้นไม่ได้
  • 4:21 - 4:24
    เพราะฉะนั้น ฉันเลยมีกฎง่าย ๆ 10 ข้อ
    ที่จะมาไล่ให้คุณฟังไปพร้อม ๆ กัน
  • 4:24 - 4:28
    แต่เอาจริง ๆ นะ แค่คุณเลือกมาซักหนึ่งข้อ
    แล้วฝึกให้เชี่ยวชาญ
  • 4:28 - 4:31
    คุณก็สามารถสนุกกับการสนทนาที่ดีขึ้นได้แล้ว
  • 4:31 - 4:33
    ข้อแรก อย่าทำหลายอย่างพร้อมกัน
  • 4:33 - 4:35
    และฉันก็ไม่ได้หมายถึง
    แค่ให้คุณวางโทรศัพท์ลงนะ
  • 4:35 - 4:38
    หรือวางแท็บเล็ต วางกุญแจรถ
    หรืออะไรก็ตามที่คุณถืออยู่ตอนนั้น
  • 4:38 - 4:40
    ฉันหมายความว่า
  • 4:40 - 4:42
    ต้อง "อยู่" กับการสนทนานั้นจริง ๆ
  • 4:43 - 4:46
    อย่าไปคิดถึงเรื่องที่คุณทะเลาะกับเจ้านาย
  • 4:46 - 4:48
    อย่าคิดเรื่องเมนูอาหารเย็นวันนี้
  • 4:48 - 4:50
    ถ้าคุณอยากจะออกจากการสนทนานั้น
  • 4:50 - 4:52
    ก็ออกมาเลย
  • 4:52 - 4:54
    อย่าอยู่แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ
  • 4:54 - 4:56
    ข้อสอง อย่าวางท่า
  • 4:56 - 4:58
    ถ้าคุณอยากจะเสนอความคิดเห็น
  • 4:58 - 5:04
    โดยไม่อยากให้มีคนตอบ โต้แย้ง
    คำตอบที่ไม่ถูกใจ หรือการพัฒนา
  • 5:04 - 5:06
    ไปเขียนบล็อกแทนแล้วกัน
  • 5:06 - 5:09
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:09 - 5:13
    จริง ๆ แล้วมันก็มีเหตุผลว่า ทำไมฉันถึง
    ไม่ให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าฟังบรรยายของฉัน
  • 5:13 - 5:14
    เพราะพวกเขาน่าเบื่อมาก ๆ
  • 5:14 - 5:18
    ถ้าพวกเขาเป็นพวกอนุรักษ์นิยม
    พวกเขาจะเกลียดโอบามา คูปองอาหาร การทำแท้ง
  • 5:18 - 5:20
    แต่ถ้าพวกเขาเป็นพวกเสรีนิยม
    พวกเขาก็จะเกลียด
  • 5:20 - 5:23
    ธนาคารใหญ่ ๆ บริษัทน้ำมัน
    และดิ๊ก เชนีย์
  • 5:23 - 5:24
    เดาได้ง่าย ๆ เลย
  • 5:24 - 5:26
    และคุณก็ไม่คงไม่อยากจะเป็นแบบนั้น
  • 5:26 - 5:30
    คุณควรจะต้องเริ่มการสนทนาทุกครั้ง
    ด้วยความรู้สึกว่าจะต้องได้เรียนรู้สิ่งใหม่
  • 5:31 - 5:33
    เอ็ม สก็อตต์ เพ็ค นักบำบัดชื่อดัง
    กล่าวไว้ว่า
  • 5:33 - 5:37
    การฟังที่แท้จริง คือการปล่อยวางตัวเอง
  • 5:37 - 5:41
    และในบางครั้งนั่นก็หมายถึง
    การละทิ้งความเห็นส่วนตัวของคุณ
  • 5:41 - 5:45
    เขาบอกว่า การรับรู้ได้ถึงการยอมรับนี้
  • 5:45 - 5:48
    ผู้พูดจะค่อย ๆ รู้สึกมั่นคงขึ้น
  • 5:48 - 5:50
    และมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะเปิดเผยตัวตนจริง ๆ
  • 5:50 - 5:53
    ออกมาให้ผู้ฟังได้รับรู้มากขึ้น
  • 5:53 - 5:56
    แต่ก็นั่นแหละ มันอยู่บนพื้นฐานว่า
    คุณมีสิ่งที่จะได้เรียนรู้
  • 5:56 - 6:00
    บิล นายย์ บอกไว้ว่า "ทุกคนที่คุณได้เจอ
    จะรู้บางอย่างที่คุณไม่รู้"
  • 6:01 - 6:02
    ฉันจะอธิบายแบบนี้แล้วกัน
  • 6:02 - 6:05
    ทุกคนมีความเชี่ยวชาญในบางสิ่งบางอย่างอยู่
  • 6:07 - 6:09
    ข้อสาม ใช้คำถามปลายเปิด
  • 6:09 - 6:12
    ในกรณีนี้ ให้ใช้วิธีของพวกนักข่าว
  • 6:12 - 6:15
    เริ่มต้นคำถามด้วยคำว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน
    เมื่อไหร่ อย่างไร และเพราะอะไร
  • 6:15 - 6:19
    ถ้าคุณถามคำถามที่ซับซ้อน
    คุณก็จะได้คำตอบง่าย ๆ กลับมา
  • 6:19 - 6:21
    ถ้าฉันถามคุณว่า "คุณกลัวไหม"
  • 6:21 - 6:25
    คุณก็จะตอบ
    คำที่มีพลังรุนแรงที่สุดในคำถามนั้นกลับมา
  • 6:25 - 6:28
    นั่นก็คือคำว่า "กลัว" และคุณจะตอบว่า
    "ใช่ ฉันกลัว" หรือ "ไม่ได้กลัว"
  • 6:28 - 6:30
    "คุณโกรธไหม" ก็จะได้เป็น "ใช่ ฉันโกรธมาก"
  • 6:30 - 6:33
    ปล่อยให้เขาอธิบาย
    เขาเป็นคนที่รู้เรื่องมันมากที่สุด
  • 6:33 - 6:36
    พยายามถามอะไรเช่น
    "มันเป็นอย่างไรล่ะ"
  • 6:36 - 6:38
    "แล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง"
  • 6:38 - 6:42
    เพราะแบบนั้น คนฟังอาจจะต้องหยุด
    และใช้เวลาคิดถึงมันก่อน
  • 6:42 - 6:45
    แล้วคุณก็จะได้รับคำตอบ
    ที่น่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิมเยอะ
  • 6:45 - 6:47
    ข้อที่สี่ ปล่อยไปตามสถานการณ์
  • 6:48 - 6:51
    นั่นแปลว่า ให้ความคิดไหลเข้ามาในใจคุณ
  • 6:51 - 6:54
    แล้วคุณก็จะต้องปล่อยให้มันออกมาจากใจคุณ
  • 6:54 - 6:56
    เรามักได้ยินการสัมภาษณ์หลายครั้ง
  • 6:56 - 6:58
    ที่แขกรับเชิญพูดอยู่หลายนาที
  • 6:58 - 7:01
    แล้วพิธีกรค่อยเดินกลับเข้ามา
    และถามคำถาม
  • 7:01 - 7:04
    ที่เหมือนไม่มีที่มาที่ไป
    หรือไม่ก็ถูกตอบไปแล้วในการพูดก่อนหน้า
  • 7:04 - 7:07
    นั่นแสดงว่าพิธีกรเองคง
    ไม่ได้ฟังตั้งแต่สองสามนาทีที่แล้ว
  • 7:07 - 7:10
    เพราะเขามัวแต่นั่งคิด
    เรื่องคำถามแสนบรรเจิดนี้อยู่
  • 7:10 - 7:13
    หรือไม่เขาก็ตั้งใจที่จะพูดแบบนั้นอยู่แล้ว
  • 7:13 - 7:16
    แล้วเราก็ทำแบบเดียวกันนั่นแหละ
  • 7:16 - 7:18
    เรานั่ง และพูดคุยอยู่กับใครสักคน
  • 7:18 - 7:22
    แล้วอยู่ดี ๆ เราก็นึกถึงตอนที่
    เคยเจอฮิวจ์ แจ็คแมนในร้านกาแฟ
  • 7:22 - 7:24
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:24 - 7:25
    จากนั้นเราก็หยุดฟังไป
  • 7:25 - 7:28
    เราแค่รอจังหวะที่จะพูดเรื่องของตัวเอง
  • 7:28 - 7:30
    เกี่ยวกับฮิวจ์ แจ็คแมน และกาแฟ
  • 7:30 - 7:33
    เรื่องราวและไอเดียต่าง ๆ จะเข้ามาหาคุณ
  • 7:33 - 7:36
    คุณต้องปล่อยให้มันมาหา และปล่อยมันผ่านไป
  • 7:36 - 7:40
    ข้อที่ห้า ถ้าคุณไม่รู้ ให้บอกว่าคุณไม่รู้
  • 7:41 - 7:44
    สมัยนี้ คนที่จัดรายการวิทยุต่างๆ
    โดยเฉพาะสถานีสาธารณะ
  • 7:44 - 7:46
    ต่างก็ให้ความสนใจ
    กับสิ่งที่ตัวเองพูดมากขึ้น
  • 7:46 - 7:50
    ทุกวันนี้เขาระมัดระวังตัวกันมากขึ้น
    ในสิ่งที่อ้างว่าตัวเองเชี่ยวชาญ
  • 7:50 - 7:52
    หรือสิ่งที่อ้างว่ารู้แน่นอน
  • 7:52 - 7:54
    ทำแบบนั้นเถอะ แต่ว่าก็ระวังไว้ด้วย
  • 7:54 - 7:57
    การพูดนั้นไม่ควรจะแค่ผิวเผิน
  • 7:57 - 8:01
    ข้อหก
    อย่าเอาประสบการณ์ของตัวเองไปวัดคนอื่น
  • 8:02 - 8:04
    ถ้าคนอื่นกำลังเล่าว่า
    เขาเสียสมาชิกในครัวครัวไป
  • 8:04 - 8:08
    อย่าพูดถึงตอนที่
    คุณเสียสมาชิกในครอบครัวของตัวเอง
  • 8:08 - 8:10
    ถ้าเขากำลังเล่าเรื่องปัญหา
    ที่เจอในที่ทำงาน
  • 8:10 - 8:13
    อย่าเล่าว่าคุณเกลียดงานของตัวเองแค่ไหน
  • 8:13 - 8:15
    มันไม่เหมือนกัน และไม่เคยเหมือนกัน
  • 8:15 - 8:17
    ประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องของแต่ละคน
  • 8:17 - 8:20
    และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น
    มันไม่ใช่เรื่องของคุณ
  • 8:20 - 8:23
    คุณไม่ต้องใช้ช่วงเวลานั้น
    พิสูจน์ว่าตัวเองยอดเยี่ยมแค่ไหน
  • 8:23 - 8:26
    หรือคุณผ่านความยากลำบากมาขนาดไหน
  • 8:26 - 8:29
    มีคนเคยถามสตีเฟ่น ฮอว์คิงว่าไอคิวเท่าไหร่
    แล้วเขาก็ตอบว่า
  • 8:29 - 8:32
    "ผมไม่รู้เลย มีแต่พวกขี้แพ้
    ที่อวดเรื่องไอคิวตัวเอง"
  • 8:32 - 8:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:34 - 8:37
    การสนทนานั้นไม่ใช่โอกาสในการส่งเสริมการขาย
  • 8:37 - 8:39
    [ การสนทนาในศตวรรษที่ 21 ]
  • 8:39 - 8:42
    [ คุณเป็นยังไงบ้างวันนี้
    อ่านบล็อคของฉันสิ! ]
  • 8:43 - 8:44
    ข้อเจ็ด
  • 8:44 - 8:46
    พยายามอย่าพูดย้ำไปย้ำมา
  • 8:46 - 8:48
    มันลดคุณค่าตัวเอง และน่าเบื่อสุด ๆ
  • 8:48 - 8:49
    แล้วเราก็มีแนวโน้มจะทำมันบ่อยๆ
  • 8:49 - 8:53
    โดยเฉพาะในการสนทนาเรื่องงาน
    หรือการพูดกับลูก ๆ ของเรา
  • 8:53 - 8:54
    เรามีจุดที่อยากจะเน้นย้ำ
  • 8:54 - 8:57
    เราเลยแค่ปรับคำพูดนิดหน่อย
    แล้วย้ำมันอยู่ซ้ำ ๆ
  • 8:57 - 8:59
    อย่าทำอย่างนั้น
  • 8:59 - 9:01
    ข้อแปด
    อย่าพูดในสิ่งที่ไม่จำเป็น
  • 9:01 - 9:04
    เอาตรง ๆ ก็คือ คนอื่นไม่ได้อยากรู้
  • 9:04 - 9:06
    ไม่ว่าจะเรื่องปี เรื่องชื่อ
  • 9:06 - 9:09
    เรื่องวันที่ รายละเอียดพวกนั้น
  • 9:09 - 9:11
    ที่คุณพยายามจะนึกอยู่ในใจ
  • 9:11 - 9:14
    พวกเขาไม่ได้อยากรู้
    เขาอยากรู้เรื่องคุณ
  • 9:14 - 9:16
    เขาสนใจว่าคุณเป็นยังไง
  • 9:16 - 9:18
    คุณมีอะไรที่คล้ายกันบ้าง
  • 9:18 - 9:21
    ดังนั้น ลืมเรื่องรายละเอียดไป ทิ้งมันไว้
  • 9:21 - 9:22
    ข้อเก้า
  • 9:22 - 9:25
    นี่ไม่ใช่ข้อสุดท้าย
    แต่เป็นข้อที่สำคัญที่สุด
  • 9:25 - 9:27
    ฟัง
  • 9:27 - 9:30
    ฉันไม่สามารถบอกได้ว่า
    กี่ครั้งแล้วที่คนสำคัญ ๆ ได้กล่าวไว้ว่า
  • 9:30 - 9:34
    ว่าบางทีแล้ว การฟังอาจจะเป็นทักษะ
    ที่สำคัญที่สุด
  • 9:34 - 9:36
    ที่คุณสามารถสร้างมันได้
  • 9:36 - 9:37
    พระพุทธเจ้ากล่าว
    และฉันถอดความได้ว่า
  • 9:37 - 9:40
    ถ้าปากคุณกำลังเปิด
    นั่นคือคุณไม่ได้ฟังอยู่
  • 9:40 - 9:44
    และเคลวิน คูลิดจ์ ก็เคยกล่าวไว้ว่า
    "ไม่เคยมีใครถูกไล่ออกเพราะการฟัง"
  • 9:45 - 9:47
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:47 - 9:49
    ทำไมเราถึงไม่ฟังกันล่ะ
  • 9:49 - 9:51
    ข้อแรก เพราะเราเอาแต่พูดมากกว่า
  • 9:51 - 9:53
    เมื่อฉันกำลังพูด ฉันคือคนที่กุมอำนาจ
  • 9:53 - 9:56
    ฉันไม่ต้องได้ยินสิ่งที่ฉันไม่สนใจ
  • 9:56 - 9:57
    ฉันเป็นจุดศูนย์กลางของความสนใจ
  • 9:57 - 10:00
    ฉันได้เน้นย้ำตัวตนของตัวเอง
  • 10:00 - 10:01
    แต่มันก็มีอีกเหตุผลหนึ่ง
  • 10:01 - 10:03
    เราถูกเบนความสนใจ
  • 10:03 - 10:06
    คนปกติทั่วไปจะพูดประมาณ 225 คำต่อนาที
  • 10:06 - 10:10
    แต่เราสามารถฟังได้ถึง 500 คำต่อนาที
  • 10:11 - 10:14
    เพราะอย่างนั้น
    สมองของเราจึงเติมอีก 275 คำที่เหลือเอง
  • 10:14 - 10:18
    แต่โอเค ฉันก็เข้าใจนะ
    ว่ามันต้องใช้ความพยายามและพลังงานมาก
  • 10:18 - 10:20
    เพื่อจะให้ความสนใจกับใครสักคน
  • 10:20 - 10:23
    แต่ถ้าคุณทำไม่ได้
    งั้นคุณก็ไม่ได้อยู่ในการสนทนา
  • 10:23 - 10:26
    คุณจะเป็นแค่คนสองคนที่ตะโกน
    ประโยคที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันไปมา
  • 10:26 - 10:27
    ในบริเวณเดียวกัน
  • 10:27 - 10:29
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:29 - 10:32
    คุณต้องฟังกันและกัน
  • 10:32 - 10:34
    สตีเฟ่น โควีย์ กล่าวไว้อย่างสวยหรูว่า
  • 10:34 - 10:37
    "พวกเราส่วนใหญ่ไม่ได้ฟัง
    ด้วยความตั้งใจที่จะเข้าใจ
  • 10:37 - 10:40
    เราฟังด้วยความตั้งใจที่จะตอบคนอื่น"
  • 10:41 - 10:46
    อีกข้อนึง ข้อที่สิบ
    ซึ่งมันก็คือ พูดให้กระชับ
  • 10:47 - 10:50
    [ การสนทนาที่ดีก็เหมือนมินิสเกิร์ต
    สั้นพอที่จะเรียกความสนใจ
  • 10:50 - 10:53
    แต่ก็ยาวพอที่จะครอบคลุมสิ่งสำคัญ
    - น้องสาวของฉัน ]
  • 10:53 - 10:55
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:55 - 10:56
    (เสียงปรบมือ)
  • 11:00 - 11:05
    ทั้งหมดนี้ สรุปลงมาเหลือแค่แนวคิดง่าย ๆ
    ซึ่งก็คือ
  • 11:05 - 11:07
    สนใจคนอื่นบ้าง
  • 11:08 - 11:11
    ฉันโตขึ้นมากับคุณตาที่มีชื่อเสียง
  • 11:11 - 11:13
    แล้วมันก็เหมือนเป็นธรรมเนียมที่บ้านว่า
  • 11:13 - 11:15
    จะมีคนมาที่บ้าน เพื่อคุยกับคุณตาคุณยาย
  • 11:15 - 11:18
    แล้วเมื่อพวกเขากลับไป
    แม่ก็จะเข้ามาหาเรา
  • 11:18 - 11:21
    แล้วถามว่า "รู้ไหมว่านั่นใคร"
  • 11:21 - 11:22
    เธอเคยเป็นรองมิสอเมริกา
  • 11:22 - 11:24
    เขาเคยเป็นนายกฯ เมืองซาคราเมนโต
  • 11:24 - 11:27
    เธอเคยชนะรางวัลพูลิเซอร์ไพรซ์
    หรือเขาเคยเป็นนักบัลเลต์มาก่อน
  • 11:27 - 11:30
    เพราะอย่างนั้นฉันเลยโตขึ้นมาโดยคอยเดาว่า
  • 11:30 - 11:33
    แต่ละคนมีบางสิ่งบางอย่างที่สุดยอดซ่อนอยู่
  • 11:34 - 11:37
    ซึ่งฉันก็คิดด้วยว่า มันคือสิ่งที่ทำให้ฉัน
    เป็นพิธีกรได้ดีกว่าหลายคน
  • 11:38 - 11:40
    ฉันรูดซิบปากสนิท
    ให้เยอะที่สุดเท่าที่ทำได้
  • 11:40 - 11:42
    ฉันเปิดใจ
  • 11:42 - 11:44
    ฉันพร้อมจะรับความประหลาดใจเสมอ
  • 11:44 - 11:47
    และฉันก็ไม่เคยต้องผิดหวังเลย
  • 11:47 - 11:49
    คุณก็แค่ทำแบบเดียวกัน
  • 11:49 - 11:51
    ออกไปคุยกับคนอื่น
  • 11:51 - 11:53
    ฟังคนอื่น
  • 11:53 - 11:56
    และที่สำคัญที่สุด
    เตรียมใจให้พร้อมรับความประหลาดใจ
  • 11:56 - 11:58
    ขอบคุณค่ะ
  • 11:58 - 12:00
    (เสียงปรบมือ)
Title:
10 วิธีที่จะทำให้มีการสนทนาที่ดีกว่าเดิม | Celeste Headlee | TEDxCreativeCoast
Description:

เมื่ออาชีพของคุณขึ้นอยู่กับการพูดคุยกับคนอื่น คุณจะได้เรียนรู้วิธีการสร้างบทสนทนาแบบต่างๆ และรู้ว่าพวกเราหลายๆคนไม่ได้พูดคุยกันเก่งเท่าไหร่เลย Celeste Headlee ทำงานเป็นนักจัดรายการวิทยุมาหลายสิบปี และเธอก็รู้เคล็ดลับที่จะทำให้เรามีการสนทนาดี ๆ กันได้ นั่นคือ ต้องมีความจริงใจ ความกระชับ ความชัดเจน และการฟังที่เหมาะสม ในทอล์คที่น่าสนใจนี้ เธอจะมาแชร์กฎสิบข้อที่จะทำให้เรามีบทสนทนาที่ดีขึ้นได้ “ออกไปข้างนอก คุยกับคนอื่น ฟังคนอื่นด้วย” เธอกล่าว “และที่สำคัญที่สุด ให้เตรียมพร้อมที่จะรับความประหลาดใจเอาไว้”

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDxTalks
Duration:
12:07

Thai subtitles

Revisions