< Return to Video

ทำไมจอสี่เหลี่ยมถึงทำให้เรามีความสุขน้อยลง

  • 0:01 - 0:04
    เมื่อหลายปีก่อนผมได้ฟัง
    เรื่องตลกที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง
  • 0:04 - 0:07
    มีหัวหน้าบริษัทอาหารสัตว์แห่งหนึ่ง
  • 0:07 - 0:09
    เขาเข้าที่ประชุมประจำปีของผู้ถือหุ้น
  • 0:09 - 0:11
    พร้อมกับกระป๋องอาหารสุนัข
  • 0:11 - 0:13
    แล้วเขาก็กินอาหารสุนัขนั้นจนหมดกระป๋อง
  • 0:13 - 0:16
    นี่เป็นการโน้มน้าวใจให้เห็นว่า
    ถ้าสินค้านี้ดีพอสำหรับเขาเอง
  • 0:16 - 0:18
    มันก็ดีพอสำหรับสัตว์เลี้ยง
    ของพวกเขา
  • 0:18 - 0:20
    กลยุทธ์นี้รู้จักกันในชื่อ
    "กินอาหารสุนัขตัวเอง"
  • 0:20 - 0:23
    และมันก็เป็นกลยุทธ์ธุรกิจที่เจอได้ทั่วไป
  • 0:23 - 0:25
    ไม่ได้หมายความว่าทุกคน
    ต้องไปกินอาหารสุนัขนะครับ
  • 0:25 - 0:28
    แต่นักธุรกิจจะใช้ผลิตภัณฑ์ตัวเอง
  • 0:28 - 0:29
    เพื่อแสดงให้เห็นว่า พวกเขารู้สึก
  • 0:29 - 0:31
    มั่นใจในสินค้าของตัวเอง
  • 0:31 - 0:33
    ตอนนี้มันก็เป็นหลักปฏิบัติอย่างกว้างขวาง
  • 0:33 - 0:36
    แต่ผมคิดว่าที่น่าสนจริง ๆ คือ
    เมื่อคุณเจอข้อยกเว้น
  • 0:36 - 0:37
    ต่อกฎนี้
  • 0:37 - 0:40
    เมื่อคุณเจอกรณีที่ธุรกิจหรือคนในวงธุรกิจ
  • 0:40 - 0:41
    ที่ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
  • 0:41 - 0:45
    ปรากฏว่ามีอุตสาหกรรมหนึ่ง
    ที่เรื่องแบบนี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา
  • 0:45 - 0:46
    ปกติธรรมดามากจริง ๆ
  • 0:46 - 0:48
    และนั่นก็คืออุตสาหกรรมเทคโนโลยี
    ที่ทำงานด้วยหน้าจอ
  • 0:48 - 0:53
    ในปี 2010 สตีฟ จ็อบส์
    เปิดตัว iPad
  • 0:53 - 0:56
    เขาอธิบายว่ามันเป็นอุปกรณ์
    ที่ "พิเศษเหนือธรรมดา"
  • 0:56 - 0:59
    "ประสบการณ์ดีที่สุดใน
    การท่องอินเตอร์เน็ตที่คุณเคยมี
  • 0:59 - 1:02
    ทางเลือกที่ดีกว่าแล็ปท็อป
    ทางเลือกที่ดีกว่าสมาร์ทโฟน
  • 1:02 - 1:03
    มันเป็นประสบการณ์อันเหลือเชื่อ"
  • 1:03 - 1:06
    ไม่กี่เดือนต่อมา
    เขาก็ถูกสัมภาษณ์โดยนักข่าว
  • 1:06 - 1:07
    จากนิวยอร์กไทมส์
  • 1:07 - 1:09
    พวกเขาคุยโทรศัพท์กันอย่างยืดยาว
  • 1:09 - 1:10
    ในช่วงท้ายของการสนทนา
  • 1:10 - 1:13
    นักข่าวตั้งคำถามที่ดูเบา แต่หนักหน่วง
  • 1:13 - 1:16
    เขาถามว่า
    "ลูก ๆ ของคุณจะต้องรัก iPad แน่ ๆ เลย"
  • 1:17 - 1:18
    คำตอบมันน่าจะชัดอยู่แล้ว
  • 1:18 - 1:21
    แต่สิ่งที่จ็อบส์ตอบมาทำให้
    นักข่าวคนนั้นซวนเซไปเลย
  • 1:21 - 1:22
    เขาประหลาดใจมาก ๆ
  • 1:22 - 1:25
    เพราะจ็อบส์ตอบว่า "พวกเขาไม่ได้ใช้มันเลย
  • 1:25 - 1:28
    เราจำกัดว่าเด็ก ๆ จะใช้เทคโนโลยี
    ได้มากแค่ไหนเมื่ออยู่บ้าน"
  • 1:28 - 1:32
    นี่เป็นเรื่องปกติธรรมดามาก
    ในโลกเทคโนโลยี
  • 1:32 - 1:34
    ในความเป็นจริงคือมีโรงเรียน
    ใกล้ ๆ ซิลิคอนวัลเลย์
  • 1:34 - 1:36
    ชื่อว่า โรงเรียนวอลดอร์ฟ
    แห่งเพนินซูลา
  • 1:37 - 1:40
    พวกเขาไม่ให้เด็ก ๆ ใช้
    อุปกรณ์ที่มีหน้าจอจนกว่าจะเกรดแปด
  • 1:40 - 1:42
    เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับโรงเรียนนั้นก็คือ
  • 1:42 - 1:44
    กว่า 75% ของเด็กที่เรียนที่นั่น
  • 1:44 - 1:47
    มีพ่อแม่เป็นผู้บริหารระดับสูง
    ของซิลิคอน วัลเลย์
  • 1:47 - 1:51
    เมื่อผมได้ฟังเรื่องนี้
    ผมก็คิดว่ามันทั้งน่าสนและน่าประหลาดใจ
  • 1:51 - 1:54
    และก็ทำให้ผมคิดทบทวนว่า
    หน้าจอสี่เหลี่ยมนี่กำลังทำอะไรกับผม
  • 1:54 - 1:56
    กับครอบครัวและคนที่ผมรัก
  • 1:56 - 1:57
    และต่อคนอื่นทั่วไป
  • 1:57 - 1:59
    ดังนั้นในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
  • 1:59 - 2:01
    ในฐานะอาจารย์ด้านธุรกิจและจิตวิทยา
  • 2:01 - 2:04
    ผมจึงศึกษาถึงผลกระทบของ
    หน้าจอที่มีต่อชีวิตเรา
  • 2:05 - 2:09
    ผมจะเริ่มที่ว่ามันพรากเวลาจากเราไปเท่าไร
  • 2:09 - 2:12
    และเราค่อยมาคุยกันว่า
    ช่วงเวลานั้นมันเป็นอะไรยังไง
  • 2:12 - 2:14
    ที่ผมให้ทุกคนดูอยู่คือ
    24 ชั่วโมงของวันธรรมดาโดยเฉลี่ย
  • 2:14 - 2:17
    ในสามช่วงเวลาของประวัติศาสตร์
  • 2:17 - 2:19
    ปี 2007 เมื่อสิบปีที่แล้ว
  • 2:19 - 2:20
    ปี 2015
  • 2:20 - 2:23
    และข้อมูลที่จริง ๆ แล้วผมเพิ่งเก็บ
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี่เอง
  • 2:23 - 2:25
    หลาย ๆ อย่างไม่ได้เปลี่ยนไป
  • 2:25 - 2:26
    มากเท่าไรนัก
  • 2:27 - 2:30
    เราหลับประมาณเจ็ดชั่วโมงครึ่งถึง
    แปดชั่วโมงต่อวัน
  • 2:30 - 2:33
    บางคนบอกว่ามันลดลงนิดหน่อย
    แต่ก็นั่นก็ไม่ได้เปลี่ยนอะไรมากนัก
  • 2:33 - 2:37
    เราทำงานแปดชั่วโมงครึ่งถึง
    เก้าชั่วโมงต่อวัน
  • 2:37 - 2:38
    เราทำกิจการเพื่อการดำรงชีพ
  • 2:38 - 2:42
    อย่างเช่น กินข้าว อาบน้ำ เลี้ยงลูก
  • 2:42 - 2:43
    ประมาณสามชั่วโมงต่อวัน
  • 2:43 - 2:44
    มีพื้นที่สีขาวเหลืออยู่ตรงนี้
  • 2:44 - 2:46
    นั่นคือเวลาส่วนตัว
  • 2:46 - 2:49
    พื้นที่ตรงนั้นสำคัญกับเราอย่างยิ่ง
  • 2:49 - 2:52
    พื้นที่ตรงนั้นเป็นที่ที่ทำให้เรา
    เป็นตัวของตัวเอง
  • 2:52 - 2:55
    เป็นเวลาของงานอดิเรก การสานสัมพันธ์
  • 2:55 - 2:58
    ไว้ใช้ขบคิดเกี่ยวชีวิต
    หรือไว้ใช้คิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ
  • 2:58 - 3:00
    ที่ใช้ย้อนกลับมามองตัวเอง
  • 3:00 - 3:02
    ว่าชีวิตนี้มีความหมายแล้วหรือยัง
  • 3:02 - 3:04
    เราได้บางสิ่งนี้จากการทำงานได้เช่นกัน
  • 3:04 - 3:06
    แต่เมื่อคนเรามองย้อนกลับไปดูชีวิต
  • 3:06 - 3:08
    และสงสัยขึ้นมาว่าชีวิตของเรานั้น
  • 3:08 - 3:09
    จะเป็นยังไงในตอนสุดท้าย
  • 3:09 - 3:11
    ลองดูสิ่งสุดท้ายที่พวกเขากล่าว
  • 3:11 - 3:15
    พวกเขากำลังคุยถึงช่วงเวลาตรงนั้น
    ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนตัวสีขาวนั่น
  • 3:15 - 3:17
    มันจึงศักดิ์สิทธิ์ มีความสำคัญต่อเรา
  • 3:17 - 3:19
    คราวนี้สิ่งที่ผมจะให้ทุกคนดู คือ
  • 3:19 - 3:22
    เราหมดเวลาตรงนั้นไปกับ
    หน้าจอสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ไปเท่าไร
  • 3:22 - 3:23
    ปี 2007
  • 3:23 - 3:24
    หมดไปเท่านี้ครับ
  • 3:24 - 3:27
    นั่นคือปีที่ Apple
    เปิดตัว iPhone เครื่องแรก
  • 3:27 - 3:29
    แปดปีต่อมา
  • 3:29 - 3:30
    เป็นเท่านี้ครับ
  • 3:31 - 3:33
    และมากเท่านี้ในปัจจุบัน
  • 3:33 - 3:37
    ที่เห็นกันคือระยะเวลาที่
    เวลาว่างของเราหมดไปกับหน้าจอ
  • 3:37 - 3:40
    พื้นที่สีเหลืองนี้ ตรงเส้นบางๆ นี้
    คือจุดที่สิ่งพิเศษเกิดขึ้นครับ
  • 3:40 - 3:42
    นั่นคือที่ของความเป็นมนุษย์ของคุณ
  • 3:42 - 3:44
    และตอนนี้มันเหลือน้อยแค่นี้เอง
  • 3:44 - 3:46
    แล้วเราจะทำอะไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง
  • 3:46 - 3:47
    คำถามแรกเลยก็คือ
  • 3:47 - 3:49
    พื้นที่สีแดงนั้นเป็นยังไง
  • 3:49 - 3:51
    แน่นนอนว่าตอนนี้หน้าจอเป็นสิ่งมหัศจรรย์
  • 3:51 - 3:53
    สำหรับหลาย ๆ อย่าง
  • 3:53 - 3:54
    ผมอยู่ที่นิวยอร์ก
  • 3:54 - 3:56
    แต่ครอบครัวผมอยู่ที่ออสเตรเลีย
  • 3:56 - 3:57
    และผมมีลูกชายวัยหนึ่งขวบคนนึง
  • 3:57 - 3:58
    ผมคุยกับเขาได้ผ่านจอ
  • 4:01 - 4:04
    ผมทำแบบนี้ไม่ได้แน่ ๆ
    15 หรือ 20 ปีก่อน
  • 4:04 - 4:05
    ด้วยวิธีการแบบนี้
  • 4:05 - 4:07
    นั่นคือเรื่องดีมาก ๆ ที่มากับมัน
  • 4:07 - 4:09
    อีกสิ่งหนึ่งที่คุณทำได้คือถามตัวเองว่า
  • 4:09 - 4:11
    เกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงเวลานั้น
  • 4:11 - 4:13
    แล้วแอพฯ ที่เราใช้ล่ะให้ประโยชน์
    มากน้อยแค่ไหน
  • 4:13 - 4:15
    บางอย่างใช้แล้วดีจริง ๆ
  • 4:15 - 4:17
    ถ้าคุณลองไปขัดจังหวะคนกำลังเล่นแอพฯ
    แล้วถามว่า
  • 4:17 - 4:19
    บอกเราหน่อยสิ
    ตอนนี้รู้สึกยังไง
  • 4:19 - 4:21
    เขาก็จะตอบว่าก็รู้สึกดีกับแอพฯ พวกนี้
  • 4:21 - 4:24
    นี่คือกลุ่มที่เน้นการผ่อนคลาย การออกกำลัง
    อากาศ การอ่านหนังสือ
  • 4:25 - 4:26
    การศึกษา และสุขภาพ
  • 4:26 - 4:29
    พวกเขาใช้แอพฯ กลุ่มนี้เฉลี่ย 9 นาที ต่อวัน
  • 4:29 - 4:32
    แอพฯ พวกนี้ทำให้เรามีความสุขน้อยลง
  • 4:32 - 4:36
    เกือบครึ่งของทุกคน เมื่อคุณไปขัดจังหวะ
    และถามว่า คุณรู้สึกไงบ้าง
  • 4:36 - 4:38
    เขาจะบอกว่าแอพฯ นี้
    เล่นแล้วรู้สึกไม่ค่อยดี
  • 4:38 - 4:39
    ที่น่าสนใจของแอพฯ กลุ่มนี้ก็คือ
  • 4:40 - 4:41
    แอพฯ นัดเดท โซเชียลเน็ตเวิร์ค เกม
  • 4:41 - 4:44
    ความบันเทิง ข่าว ส่องเว็บ
  • 4:44 - 4:47
    ผู้คนใช้เวลากับแอพพวกนี้ถึง  27 นาทีต่อวัน
  • 4:47 - 4:50
    เราใช้เวลามากกว่าถึง 3 เท่า
    กับแอพที่ทำให้เราไม่มีความสุข
  • 4:50 - 4:52
    นั่นดูไม่ฉลาดเท่าไรเลย
  • 4:53 - 4:55
    เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราหมดเวลาไปเยอะ
    กับแอพฯ พวกนั้น
  • 4:55 - 4:57
    ที่ทำให้เราไม่มีความสุข
  • 4:57 - 4:58
    ก็คือมันขโมยจุดเตือนให้หยุดไป
  • 4:58 - 5:01
    จุดเตือนให้หยุดมีอยู่ทุกหนแห่ง
    ในศตวรรษที่ 20
  • 5:01 - 5:02
    มันซ่อนอยู่ในทุกเรื่องที่เราทำ
  • 5:02 - 5:06
    จุดเตือนให้หยุดเป็นสัญญาณเตือนกับเรา
    ว่าได้เวลาไปทำอย่างอื่นแล้ว
  • 5:06 - 5:09
    ไปทำอะไรใหม่ ๆ ทำอะไรที่ต่างจากที่ทำอยู่
  • 5:09 - 5:12
    ลองนึกถึงหนังสือพิมพ์
    ที่สุดท้ายแล้วเราก็จะอ่านถึงหน้าสุดท้าย
  • 5:12 - 5:14
    และเราก็จะพับ และโยนมันไปไว้ข้าง ๆ
  • 5:14 - 5:17
    เหมือนกันกับนิตยสาร หนังสือ
    ที่คุณก็จะอ่านไปถึงตอนจบของบท
  • 5:17 - 5:20
    ทำให้คุณได้หยุดคิดว่าจะทำอะไรต่อไป
  • 5:21 - 5:23
    หรือถ้าดูรายการทีวี
    เดี๋ยวรายการมันก็จบ
  • 5:23 - 5:26
    และคุณต้องรอไปอีกหนึ่งสัปดาห์
    จนกว่าตอนใหม่จะมา
  • 5:26 - 5:27
    มีจุดเตือนให้หยุดทุกที่เลย
  • 5:27 - 5:31
    แต่วิธีการเสพสื่อทุกวันนี้เป็นแบบที่
    ไม่มีจุดเตือนให้หยุด
  • 5:32 - 5:33
    ฝีดข่าวมันเลื่อนไปได้เรื่อย ๆ
  • 5:34 - 5:37
    และทุกสิ่งไม่มีตอนจบ ทั้ง  twitter
    Facebook instagram
  • 5:37 - 5:40
    อีเมล์ ข้อความสั้น หรือข่าว
  • 5:40 - 5:43
    พอคุณเช็คจากทุกแหล่งข่าวแล้ว
  • 5:43 - 5:46
    คุณก็ยังไปต่อได้อีกเรื่อย ๆ
  • 5:46 - 5:50
    เราอาจจะไปขอยืมจุดหยุดแบบที่
    ทำกันในยุโรปตะวันตก
  • 5:50 - 5:54
    ที่นั่นดูเหมือนจะมีไอเดียดี ๆ พวกนี้เยอะ
    ในที่ทำงาน
  • 5:54 - 5:56
    นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง
    บริษัทออกแบบจากเนเธอแลนด์
  • 5:56 - 5:59
    ที่พวกเขาทำคือโยงโต๊ะทำงานเข้ากับเพดาน
  • 5:59 - 6:01
    และทุกวันตอน 6 โมงเย็น
  • 6:01 - 6:03
    ไม่ว่าคุณกำลังตอบอีเมล์หรือทำอะไรก็ตาม
  • 6:03 - 6:05
    โต๊ะทำงานจะถูกยกขึ้นไปติดเพดาน
  • 6:05 - 6:06
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:06 - 6:07
    (เสียงปรบมือ)
  • 6:07 - 6:12
    4 วันในสัปดาห์ พื้นที่ตรงนี้จะเปลี่ยนเป็น
    สตูดิโอโยคะ
  • 6:12 - 6:13
    1 วันจะเปลี่ยนเป็นคลับเต้นรำ
  • 6:13 - 6:16
    ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นคุณกำลังชอบอะไรกัน
  • 6:16 - 6:18
    นี่เป็นกฎการหยุดที่เยี่ยมไปเลย
  • 6:18 - 6:19
    เพราะหมายความว่า เมื่อหมดวัน
  • 6:19 - 6:21
    ทุกอย่างต้องหยุด ห้ามทำงานอีกต่อไป
  • 6:22 - 6:25
    บริษัท Diamler ผู้ผลิตรถยนต์ที่เยอรมนี
    พวกเขามีกลยุทธ์ที่เยี่ยมพอ ๆ กัน
  • 6:25 - 6:27
    เมื่อคุณพักผ่อนวันหยุด
  • 6:27 - 6:29
    แทนที่จะบอกว่า
    "คนนี้อยู่ระหว่างลาพักผ่อน
  • 6:29 - 6:30
    พวกเขาจะกลับมาพบคุณในภายหลัง"
  • 6:31 - 6:34
    พวกเขากลับพูดว่า "บุคคลนี้กำลังลาพัก
    ดังนั้นเราจะลบอีเมล์ของคุณทิ้ง"
  • 6:34 - 6:36
    "เขาจะไม่เห็นอีเมล์ที่คุณส่งมา"
  • 6:36 - 6:37
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:37 - 6:40
    "คุณจะตอบอีเมล์กลับในอีกสองสามสัปดาห์
  • 6:40 - 6:42
    หรือจะเมล์ไปหาคนอื่นแทนก็ได้"
  • 6:42 - 6:43
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:43 - 6:44
    ดังนั้นแล้ว
  • 6:44 - 6:48
    (เสียงปรบมือ)
  • 6:49 - 6:51
    คุณนึกออกเลยล่ะสิว่ามันเป็นยังไง
  • 6:51 - 6:53
    ได้หยุดพักผ่อนที่เป็นการหยุดจริงๆ
  • 6:53 - 6:55
    คนทำงานที่บริษัทนี้รู้สึกว่า
  • 6:55 - 6:57
    พวกเขาได้พักจากงานอย่างแท้จริง
  • 6:57 - 6:59
    แน่นอนว่า นี่ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก
  • 6:59 - 7:02
    เรื่องที่ว่าเราจะทำตัวอย่างไรเมื่ออยู่บ้าน
  • 7:02 - 7:03
    ดังนั้นผมจะให้คำแนะนำคร่าว ๆ
  • 7:03 - 7:08
    การพูดว่าช่วง 5 ถึง 6 โมงเย็น
    ผมจะไม่ใช้โทรศัพท์ เป็นเรื่องง่าย
  • 7:08 - 7:11
    ปัญหาคือ 5-6โมงเย็น แต่ละวันไม่เหมือนกัน
  • 7:11 - 7:14
    ผมว่าทางที่ดีกว่าควรจะเป็นว่า
  • 7:14 - 7:15
    ทุก ๆ วันผมทำหลายอย่างเลยครับ
  • 7:15 - 7:17
    มีหลายเรื่องที่เกิดขึ้น
  • 7:17 - 7:19
    เช่น ทานอาหารเย็น
  • 7:19 - 7:20
    บางครั้งก็อยู่คนเดียว
  • 7:20 - 7:22
    บางครั้งก็กับคนอื่น
  • 7:22 - 7:23
    บางทีก็ที่ร้านอาหาร
  • 7:23 - 7:24
    บ้างก็ที่บ้าน
  • 7:24 - 7:28
    แต่กฎที่ผมตั้งขึ้นมาคือ
    ผมจะไม่ใช้มือถือบนโต๊ะอาหาร
  • 7:28 - 7:30
    เอาไปไว้ให้ไกล
  • 7:30 - 7:31
    ไกลเท่าที่จะไกลได้
  • 7:31 - 7:33
    เพราะเราต้านทานความอยากได้ไม่ดีเท่าไร
  • 7:33 - 7:36
    แต่เมื่อมีจุดเตือนให้หยุด
    เช่นตอนเริ่มมื้อเย็น
  • 7:36 - 7:38
    มือถือผมจะไปอยู่ไกลตัว
  • 7:38 - 7:39
    ทำให้ลดความปรารถนาไว้ได้
  • 7:39 - 7:41
    แรก ๆ ก็ทำใจลำบากหน่อย
  • 7:41 - 7:43
    ผมนี่กังวลสุด ๆ ไปเลย
  • 7:43 - 7:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:44 - 7:45
    ถึงขั้นต้องดิ้นรน
  • 7:45 - 7:47
    แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คุณจะชินไปเอง
  • 7:47 - 7:50
    เราเอาชนะอาการลงแดงได้
    แบบเดียวกับการหยุดใช้ยา
  • 7:50 - 7:53
    และสิ่งที่เกิดขึ้นอีกคือ
    ชีวิตมีสีสัน รุ่มรวย
  • 7:53 - 7:54
    และน่าสนใจมากขึ้น
  • 7:54 - 7:56
    คุณมีบทสนทนาที่ดีกว่าเดิม
  • 7:56 - 7:59
    คุณเชื่อมต่อกับผู้คนที่อยู่รอบตัวคุณ
  • 7:59 - 8:01
    ผมว่ามันเป็นกลยุทธ์ที่น่าอัศจรรย์
  • 8:01 - 8:03
    และเรารู้ว่ามันได้ผล เพราะคนที่ทำเช่นนี้
  • 8:03 - 8:06
    ผมตามเก็บข้อมูลคนที่ทดลองจำนวนมาก
  • 8:06 - 8:07
    มันขยายไปสู่เวลาอื่น
  • 8:07 - 8:08
    พวกเขารู้สึกดีต่อเรื่องนี้
  • 8:08 - 8:12
    พวกเขาเริ่มมันตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังตื่นนอน
  • 8:12 - 8:15
    พวกเขาเริ่มเปิดโหมดเครื่องบิน
    ในช่วงสุดสัปดาห์
  • 8:15 - 8:18
    ทำแบบนี้ทำให้มือถือคุณยังใช้เป็นกล้องได้
    แต่มันจะโทรเข้าโทรออกไม่ได้
  • 8:19 - 8:20
    นี่เป็นความคิดที่มีพลังมาก
  • 8:20 - 8:23
    และรู้ว่าผู้คนรู้สึกดีขึ้นกับชีวิต
    เมื่อทำแบบนี้
  • 8:24 - 8:26
    งั้นสิ่งที่จะได้ไปวันนี้คืออะไร
  • 8:26 - 8:28
    หน้าจอมันมหัศจรรย์ ผมบอกเรื่องนี้ไปแล้ว
  • 8:28 - 8:29
    ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องจริง
  • 8:29 - 8:34
    แต่วิธีที่เราใช้มันนั้นเหมือนกับ
    ขับรถไปอย่างรวดเร็วบนถนนที่ยาวไกล
  • 8:34 - 8:37
    และคุณอยู่บนรถที่คันเร่งเหยียบมิดติดพื้น
  • 8:37 - 8:39
    มันก็เลยยากที่จะไปแตะเบรก
  • 8:39 - 8:41
    คุณมีทางเลือก
  • 8:42 - 8:46
    คุณทำได้ทั้งร่อนถลาผ่านวิวทะเลอันสวยงาม
  • 8:46 - 8:49
    แล้วถ่ายรูปผ่านหน้าต่าง มันง่ายจะตายไป
  • 8:49 - 8:52
    หรือคุณจะไปบนทางของตัวเอง เพื่อจะ
  • 8:52 - 8:54
    แตะเบรก
  • 8:54 - 8:55
    เพื่อออกไปข้างนอก
  • 8:55 - 8:57
    ถอดรองเท้า ถุงเท้า
  • 8:57 - 8:59
    ลองเดินไปบนเม็ดทราย
  • 8:59 - 9:01
    สัมผัสความรู้สึกของทรายใต้ฝ่าเท้า
  • 9:02 - 9:03
    เดินไปสู่น้ำทะเล
  • 9:03 - 9:05
    ให้น้ำทะเลได้สาดซัดมาโดนคุณ
  • 9:05 - 9:08
    ชีวิตจะรุ่มรวยและมีคุณค่ายิ่งขึ้น
  • 9:08 - 9:10
    เพราะคุณมีประสบการณ์นั้นด้วยตนเอง
  • 9:10 - 9:13
    และเพราะคุณทิ้งโทรศัพท์ไว้ในรถด้วย
  • 9:13 - 9:14
    ขอบคุณครับ
  • 9:14 - 9:16
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมจอสี่เหลี่ยมถึงทำให้เรามีความสุขน้อยลง
Speaker:
อดัม อัลเทอร์ (Adam Alter)
Description:

หน้าจอและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำอะไรกับเรา อดัม อัลเทอร์ เป็นนักจิตวิทยาผู้ศึกษาว่าหน้าจอต่าง ๆ ขโมยเวลาเราไปมากเท่าไร และเราเสียเวลาทำอะไรไปบ้าง เขามาเล่าให้ฟังว่าทำไมเวลาหลายชั่วโมงที่หมดไปกับการจ้องหน้าจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ถึงทำให้คุณรู้สึกทุกข์ใจ และคุณจะทำอะไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:29
TED Translators admin approved Thai subtitles for Why our screens make us less happy
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why our screens make us less happy
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why our screens make us less happy
Patipat Sathaporn edited Thai subtitles for Why our screens make us less happy
Patipat Sathaporn edited Thai subtitles for Why our screens make us less happy
Patipat Sathaporn edited Thai subtitles for Why our screens make us less happy
Patipat Sathaporn edited Thai subtitles for Why our screens make us less happy
Patipat Sathaporn edited Thai subtitles for Why our screens make us less happy
Show all

Thai subtitles

Revisions