< Return to Video

เด็ก ๆ เริ่มสนใจความคิดเห็นของคนอื่นตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ

  • 0:00 - 0:02
    ฉันอยากให้คุณ
  • 0:02 - 0:05
    ลองนึกดูว่าตอนนี้คุณใส่ชุดอะไรอยู่
  • 0:06 - 0:09
    ฉันมีคำถามเชิงปรัชญาจะถามคุณ
  • 0:09 - 0:12
    ทำไมตอนนี้พวกเราทุกคนไม่สวม
    ชุดนอนสบาย ๆ อยู่ล่ะ
  • 0:12 - 0:13
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:13 - 0:15
    ฉันเป็นนักจิตวิทยา และไม่ใช่นักอ่านใจ
  • 0:15 - 0:18
    ถึงแม้ว่าหลายคนคิดว่ามันคือสิ่งเดียวกัน
  • 0:18 - 0:22
    ฉันสามารถพนันได้เลยว่า ปฏิกิริยาของคุณ
    คงไม่ไกลจากประโยคนี้
  • 0:22 - 0:24
    "ฉันถูกคาดหวังว่า
    ไม่ควรใส่ชุดนอนในที่สาธารณะ" หรือ
  • 0:24 - 0:27
    "ไม่อยากให้คนคิดว่าฉันเป็นคนไม่เรียบร้อย"
  • 0:27 - 0:32
    ไม่ว่าแบบไหน ความจริงที่ว่าเราทุกคนเลือก
    ที่จะใส่ชุดกึ่งทางการ
  • 0:32 - 0:34
    แทนที่จะใส่กางเกงวอร์มตัวโปรดของเรา
  • 0:34 - 0:36
    ก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ไร้สาระ
  • 0:36 - 0:40
    จริง ๆ แล้ว มันเผยให้เห็น
    คุณลักษณะสองอย่างของมนุษย์
  • 0:41 - 0:44
    ข้อแรก คือ เรารับรู้ว่าคนอื่นให้ค่ากับอะไร
  • 0:44 - 0:47
    อย่างอะไรที่พวกเขาจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ
  • 0:47 - 0:50
    เช่น ไม่ใส่ชุดนอนมาในสถานที่แบบนี้
  • 0:50 - 0:54
    และข้อสอง เราใช้ข้อมูลเหล่านี้
    ในการกำหนดพฤติกรรมของเราอยู่แล้ว
  • 0:55 - 0:57
    ต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
  • 0:57 - 1:01
    มนุษย์มีแนวโน้มจะปรับพฤติกรรมของพวกเขา
    ต่อหน้าคนอื่นๆ
  • 1:01 - 1:02
    เพื่อที่จะได้รับการยอมรับ
  • 1:03 - 1:05
    เราใช้เวลาอันมีค่าเพื่อแต่งหน้า
  • 1:05 - 1:08
    เลือกรูปที่ใช่และแต่งรูปในอินสตาแกรม
  • 1:08 - 1:11
    และเรียบเรียงความคิดที่จะเปลี่ยนโลก
    อย่างไม่ต้องสงสัย
  • 1:11 - 1:13
    ใน 140 ตัวอักษรหรือน้อยกว่านั้น
  • 1:14 - 1:17
    มันชัดเจนว่า เรากังวลว่า
    คนอื่นจะตัดสินเราอย่างไรนั้น
  • 1:17 - 1:19
    เป็นเรื่องใหญ่ของการเป็นมนุษย์
  • 1:19 - 1:22
    แม้ว่ามันจะเป็นลักษณะสำคัญของมนุษย์
    แต่อย่างไรก็ตาม
  • 1:22 - 1:25
    เราแทบไม่รู้เลยว่า เมื่อไหร่และอย่างไร
  • 1:25 - 1:27
    ที่เราเริ่มสนใจความคิดเห็นของคนอื่น
  • 1:28 - 1:31
    นี่เป็นคำถามสำคัญที่ต้องใช้งานวิจัยมากมาย
  • 1:31 - 1:34
    ขั้นแรกที่จะตอบคำถามนี้
  • 1:34 - 1:36
    คือสำรวจว่าช่วงไหนในพัฒนาการ
  • 1:36 - 1:39
    ที่เราเริ่มอ่อนไหวต่อการให้ตัดสินของคนอื่น
  • 1:39 - 1:42
    ฉันใช้เวลา 4 ปีที่ผ่านมา
    ที่มหาวิทยาลัยเอมโมรี
  • 1:42 - 1:44
    สำรวจว่าเด็กเล็กที่ไม่มีปัญหา
  • 1:44 - 1:48
    กับการเดินรอบร้านค้าในชุดหมีของเธอ
  • 1:48 - 1:51
    แล้วโตเป็นผู้ใหญ่ที่กลัวการพูดในที่สาธารณะ
  • 1:51 - 1:54
    เพราะกลัวจะถูกตัดสินแบบลบ ๆ ได้อย่างไร
  • 1:54 - 1:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:56 - 1:58
    ทีนี่ นี่คือจุดที่ผู้คนถามฉันว่า
  • 1:58 - 2:01
    "คุณจะตรวจสอบคำตอบของคำถามนี้อย่างไร"
  • 2:01 - 2:03
    เด็กเล็กพูดไม่ได้ ใช่ไหม
  • 2:04 - 2:06
    ถ้าสามีฉันอยู่ที่นี่ตอนนี้
  • 2:06 - 2:08
    เขาจะบอกคุณว่าฉันสัมภาษณ์เด็กเล็ก ๆ
  • 2:08 - 2:13
    เพราะเขาไม่อยากจะพูดว่าภรรยาของเขา
    ทำการทดลองกับเด็ก
  • 2:13 - 2:15
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:15 - 2:19
    ในเป็นความจริง
    ฉันออกแบบการทดลองสำหรับเด็ก
  • 2:19 - 2:21
    ส่วนใหญ่ในรูปแบบของเกม
  • 2:21 - 2:24
    นักจิตวิทยาพัฒนาการ
    ดร.ฟิลลิป โรชาต์ กับฉัน
  • 2:24 - 2:27
    ออกแบบเกมที่เรียกว่า "The Robot Task"
  • 2:27 - 2:30
    เพื่อสำรวจว่าเด็กจะเริ่มอ่อนไหว
  • 2:30 - 2:32
    ต่อการตัดสินของผู้อื่นเมื่อไหร่
  • 2:32 - 2:37
    เจาะจงกว่านั้นก็คือ the robot task
    จับว่าตอนไหนที่เด็กทำเหมือนผู้ใหญ่
  • 2:37 - 2:40
    ปรับพฤติกรรมของพวกเขาตอนที่มีคนดูอยู่
    อย่างมีกลยุทธ์
  • 2:41 - 2:44
    เพื่อที่จะทำสิ่งนี้ เราแสดงให้เด็กเล็ก
    อายุ 14 - 24 เดือน เห็นว่า
  • 2:44 - 2:46
    ทำอย่างไรให้หุ่นยนต์ของเล่นเคลื่อนไหว
  • 2:46 - 2:49
    และที่สำคัญ เราให้คุณค่าด้านบวก
  • 2:49 - 2:51
    โดยพูดว่า "ว้าว มันเจ๋งไปเลย"
  • 2:51 - 2:54
    หรือคุณค่าด้านลบ โดยพูดว่า
    "โอ้ว โอ้ ไม่นะ"
  • 2:54 - 2:56
    หลังจากที่กดรีโมท
  • 2:56 - 2:58
    ตามการสาธิตของเล่นชิ้นนี้
  • 2:58 - 3:00
    เราเชิญเด็กเล็กมาเล่นกับรีโมท
  • 3:00 - 3:02
    และหลังจากนั้น ก็แอบดูพวกเขา
  • 3:02 - 3:05
    หรือหันไปรอบ ๆ และแกล้งทำเป็นอ่านนิตยสาร
  • 3:05 - 3:08
    แนวคิดก็คือถ้าภายในอายุ 24 เดือน
  • 3:08 - 3:11
    เด็กอ่อนไหวต่อการตัดสินของผู้อื่นจริง ๆ
  • 3:11 - 3:14
    ดังนั้น พฤติกรรมการกดปุ่ม
    ของพวกเขาน่าจะได้รับแรงจูงใจ
  • 3:14 - 3:16
    ไม่ใช่แค่จากการที่พวกเขาถูกเฝ้าดู
    หรือไม่ก็ตาม
  • 3:16 - 3:19
    แต่จากคุณค่าที่นักทดลองแสดงออกมา
  • 3:19 - 3:20
    ต่อการกดรีโมทด้วยเช่นกัน
  • 3:21 - 3:22
    ตัวอย่างเช่น
  • 3:22 - 3:26
    เราคาดหวังว่าเด็กจะเล่นรีโมทคุณค่าด้านบวก
    มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
  • 3:26 - 3:27
    หากพวกเขากำลังถูกสังเกต
  • 3:27 - 3:30
    แต่จากนั้นก็เลือกที่จะเล่น
    รีโมทคุณค่าด้านลบ
  • 3:30 - 3:31
    เมื่อไม่มีใครดูอยู่
  • 3:32 - 3:36
    เพื่อที่จะดูปรากฏการณ์นี้
    เราทำการศึกษาสามรูปแบบที่ต่างกัน
  • 3:36 - 3:39
    การศึกษาแรก สำรวจว่าเด็กเล็ก
    จะเล่นของเล่นอย่างไร
  • 3:39 - 3:42
    ถ้าไม่มีการให้คุณค่าหรือคำสั่งใด ๆ
  • 3:42 - 3:45
    เราแสดงให้เด็กดูว่า
    ทำอย่างไรให้หุ่นยนต์เคลื่อนไหว
  • 3:45 - 3:46
    แต่ไม่ได้มีการให้คุณค่าใด ๆ
  • 3:46 - 3:49
    และเราก็ไม่ได้บอกพวกเขาด้วยว่า
    เขาสามารถเล่นกับรีโมทได้
  • 3:49 - 3:52
    ให้สถานการณ์ที่กำกวมมาก ๆ กับพวกเขา
  • 3:52 - 3:53
    ในการศึกษาที่สอง
  • 3:53 - 3:58
    เราให้คุณค่าสองแบบ ด้านบวกและด้านลบ
  • 3:59 - 4:02
    และในการศึกษาสุดท้าย
    เรามีนักทดลองสองคนกับรีโมท
  • 4:02 - 4:06
    นักทดลองคนหนึ่ง
    แสดงคุณค่าด้านลบต่อการกดรีโมท
  • 4:06 - 4:07
    โดยพูดว่า "อึ๋ย ของเล่นขยับด้วย"
  • 4:07 - 4:10
    ในขณะที่นักทดลองอีกคนนึง
    แสดงคุณค่าด้านบวก โดยพูดว่า
  • 4:10 - 4:11
    "เย้ ของเล่นขยับด้วย"
  • 4:12 - 4:15
    และนี่คือปฏิกิริยาของเด็ก ๆ ต่อสถาานการณ์
    ทั้งสามแบบที่แตกต่างกันนี้
  • 4:15 - 4:18
    ในการศึกษาแรก สถานการณ์ที่กำกวม
  • 4:18 - 4:21
    ฉันกำลังเฝ้าดูเด็กคนหนึ่งอยู่
  • 4:21 - 4:24
    ดูเหมือนเธอจะไม่สนใจในการกดรีโมท
  • 4:25 - 4:26
    พอฉันหันไป
  • 4:27 - 4:29
    เธอพร้อมที่จะเล่นทันที
  • 4:29 - 4:30
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:32 - 4:34
    ตอนนี้ ฉันไม่ได้เฝ้าดูเด็ก
  • 4:34 - 4:35
    เธอดูจดจ่อมาก
  • 4:35 - 4:36
    ฉันหันไป
  • 4:38 - 4:39
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:39 - 4:41
    เธอไม่ได้กำลังทำอะไร ใช่ไหม
  • 4:44 - 4:45
    ในการศึกษาที่สอง รีโมทสองเครื่อง
  • 4:45 - 4:48
    อันหนึ่งคุณค่าด้านบวกและ
    อันหนึ่งคุณค่าด้านลบ
  • 4:48 - 4:50
    ฉันกำลังเฝ้าสังเกตเด็กอยู่
  • 4:50 - 4:52
    และรีโมทสีส้มนั้นคือ รีโมทด้านลบ
  • 4:53 - 4:56
    เธอแค่มองไปรอบ ๆ และมองที่ฉัน
  • 4:56 - 4:58
    จากนั้น พอฉันหันไป
  • 5:00 - 5:01
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:03 - 5:05
    นั่นคือสิ่งที่เธอเลือก
  • 5:08 - 5:09
    ฉันไม่ได้กำลังเฝ้าดูเด็กอยู่
  • 5:09 - 5:12
    เขาอยากให้แม่เล่นกับมัน ใช่ไหม
  • 5:12 - 5:13
    เลือกปลอดภัยไว้ก่อน
  • 5:14 - 5:15
    ฉันหันไป
  • 5:16 - 5:18
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:18 - 5:20
    เขาก็ไม่ได้ทำอะไรอยู่
  • 5:24 - 5:26
    และใช่ เขารู้สึกกระอักกระอ่วน
  • 5:26 - 5:27
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:27 - 5:29
    ทุกคนรู้จัก
    การมองข้าง ๆ แบบนั้น ใช่ไหม
  • 5:30 - 5:32
    การศึกษาที่สาม นักทดลองสองคน
    กับหนึ่งรีโมท
  • 5:32 - 5:36
    นักทดลองที่ตอบสนองด้านลบต่อการกดรีโมท
  • 5:36 - 5:37
    กำลังเฝ้าดูเด็กอยู่ตอนนี้
  • 5:37 - 5:41
    เธอรู้สึกกระอักกระอ่วนเล็กน้อย
    ไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี เกาะแม่
  • 5:44 - 5:47
    หลังจากนั้น เธอก็หันไป
  • 5:47 - 5:50
    เพื่อให้นักทดลองที่แสดงการตอบสนองด้านบวกดู
  • 5:52 - 5:54
    เอาล่ะ ปลอดภัยแล้ว ตอนนี้เธอพร้อมจะเล่น
  • 5:54 - 5:55
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:55 - 5:57
    ดังนั้น จากผลของข้อมูล
  • 5:57 - 6:00
    เราค้นพบว่าพฤติกรรมการกดปุ่มของเด็ก ๆ
  • 6:00 - 6:05
    ได้รับแรงจูงใจจากคุณค่าและคำสั่ง
    ของนักทดลอง
  • 6:05 - 6:07
    เพราะในการศึกษาแรก เด็ก ๆ ไม่รู้ว่า
  • 6:07 - 6:10
    อะไรจะถูกประเมินค่าด้านบวกหรือลบ
  • 6:10 - 6:12
    พวกเขามีแนวโน้มจะเลือกทางที่ปลอดภัยที่สุด
  • 6:12 - 6:15
    และรอจนกว่าฉันจะหันหลังเพื่อที่จะกดรีโมท
  • 6:15 - 6:16
    เด็ก ๆ ในการศึกษาที่สอง
  • 6:16 - 6:20
    เลือกที่จะกดรีโมทด้านบวกมากกว่า
    ในขณะเวลาที่ฉันมองดูอยู่
  • 6:20 - 6:22
    แต่เมื่อฉันหันหลังไป
  • 6:22 - 6:25
    พวกเขาจะหยิบและเริ่มเล่น
    กับรีโมทด้านลบทันที
  • 6:25 - 6:27
    ที่สำคัญ ในการศึกษาที่มีการควบคุม
  • 6:27 - 6:30
    ที่เราเอาคุณค่าของรีโมท
    ที่แตกต่างกันนั้นออกไป
  • 6:30 - 6:33
    เราพูดง่าย ๆ ว่า "โอ้ ว้าว"
    ไม่ว่าจะกดรีโมทอันไหน
  • 6:33 - 6:37
    พฤติกรรมการกดปุ่มของเด็กๆ
    ก็ไม่แตกต่างกันจากเงื่อนไขแล้ว
  • 6:37 - 6:40
    เปิดเผยให้เห็นว่า
    มันคือคุณค่าที่เราให้กับรีโมททั้งสองจริง ๆ
  • 6:40 - 6:43
    ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมในการศึกษาก่อนหน้า
  • 6:43 - 6:44
    สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด
  • 6:44 - 6:48
    เด็ก ๆ ในการศึกษาที่สาม
    เลือกกดรีโมทมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
  • 6:48 - 6:52
    เมื่อนักทดลองที่แสดงคุณค่าด้านบวกดูอยู่
  • 6:52 - 6:55
    ตรงกันข้ามกับนักทดลองที่แสดงคุณค่าด้านลบ
  • 6:56 - 6:57
    นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
  • 6:57 - 7:00
    และอายุช่วงนี้ก็ยังเป็น
    ช่วงที่เด็ก ๆ เริ่มแสดงความเขินอาย
  • 7:01 - 7:04
    ในสถานการณ์ที่อาจจะดึง
    การประเมินค่าด้านลบออกมา
  • 7:04 - 7:06
    อย่างเช่น การมองตัวพวกเขาเองในกระจก
  • 7:06 - 7:07
    และพบรอยบนจมูก
  • 7:07 - 7:10
    เช่นเดียวกับการเจอผักติดฟัน สำหรับผู้ใหญ่
  • 7:10 - 7:11
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:11 - 7:14
    เราสามารถบอกอะไรได้บ้าง
    จากการศึกษานี้
  • 7:14 - 7:18
    นอกจากข้อเท็จจริงที่ว่า
    เด็กมีพฤติกรรมลับ ๆ ล่อ ๆ จริง ๆ
  • 7:18 - 7:19
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:19 - 7:22
    ตั้งแต่แรกเด็ก ๆ ก็เหมือนผู้ใหญ่
  • 7:22 - 7:26
    อ่อนไหวต่อคุณค่าที่เราให้
    กับสิ่งของหรือพฤติกรรม
  • 7:26 - 7:30
    และที่สำคัญ พวกเขาใช้คุณค่าเหล่านี้
    ในการเลือกพฤติกรรม
  • 7:30 - 7:32
    ไม่ว่าพวกเราจะรู้ตัวหรือไม่
  • 7:32 - 7:35
    เราสื่อสารคุณค่าต่อผู้คนรอบ ๆ เราเสมอ
  • 7:36 - 7:39
    ฉันไม่ได้หมายถึงคุณค่าอย่าง
    "เป็นคนใจดี" หรือ "อย่าลักขโมย"
  • 7:39 - 7:41
    แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นก็คือการมีคุณค่าก็ตาม
  • 7:41 - 7:45
    ฉันหมายถึง เราแสดงให้คนอื่นเห็นอยู่เสมอ
    โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ของพวกเรา
  • 7:45 - 7:49
    ว่าอะไรที่น่าพึงใจ มีคุณค่า และควรยกย่อง
    และอะไรที่ไม่ควร
  • 7:49 - 7:50
    และในหลายครั้ง
  • 7:51 - 7:53
    เราก็ทำสิ่งนี้โดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ
  • 7:54 - 7:57
    นักจิตวิทยาศึกษาพฤติกรรม
    เพื่อสำรวจความคิดจิตใจ
  • 7:57 - 8:00
    เพราะพฤติกรรมมักสะท้อนความเชื่อ
  • 8:00 - 8:03
    คุณค่า และความต้องการของเรา
  • 8:03 - 8:06
    ที่นี่แอตแลนตา เราเชื่อในสิ่งเดียวกันว่า
  • 8:07 - 8:09
    โค้กดีกว่าเป็ปซี่
  • 8:09 - 8:11
    (เสียงปรบมือ)
  • 8:11 - 8:15
    นี่อาจจะเป็นผลจากความจริงที่ว่า
    โค้กเกิดขึ้นที่แอตแลนตา
  • 8:15 - 8:16
    แต่อย่างไรก็ตาม
  • 8:17 - 8:21
    ความเชื่อนี้แสดงให้เห็นความจริงว่า
    คนส่วนใหญ่จะเลือกดื่มโค้ก
  • 8:21 - 8:23
    ในทางเดียวกัน
  • 8:23 - 8:25
    เรากำลังสื่อสารคุณค่า
  • 8:25 - 8:26
    เมื่อเราส่วนใหญ่จะชมเด็กผู้หญิง
  • 8:26 - 8:29
    ที่มีผมสวย หรือชุดน่ารักๆของพวกเขา
  • 8:29 - 8:31
    แต่ชมเด็กผู้ชายจากความฉลาดของพวกเขา
  • 8:31 - 8:35
    หรือเมื่อเราเลือกจะให้ลูกอม
    แทนอาหารที่มีประโยชน์
  • 8:35 - 8:37
    เหมือนเป็นรางวัลสำหรับพฤติกรรมที่ดี
  • 8:37 - 8:40
    ผู้ใหญ่และเด็กต่างมีศักยภาพในการ
  • 8:40 - 8:43
    เลือกหยิบคุณค่าจากพฤติกรรม
    ที่ละเอียดอ่อนเหล่านี้
  • 8:43 - 8:47
    และท้ายที่สุดมันจะค่อย ๆ
    ขัดเกลาพฤติกรรมของพวกเขาเอง
  • 8:47 - 8:49
    งานวิจัยที่ฉันแบ่งปันกับพวกคุณวันนี้
  • 8:49 - 8:53
    บอกว่าความสามารถนี้
    เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ในพัฒนาการ
  • 8:53 - 8:55
    ก่อนที่เราจะสามารถพูดประโยค
  • 8:55 - 8:57
    หรือถูกฝึกใช้โถชักโครกให้เป็น
  • 8:57 - 9:01
    และมันกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ
    ว่าเราจะเติบโตมาเป็นใคร
  • 9:01 - 9:02
    ดังนั้น ก่อนฉันจะไป
  • 9:03 - 9:05
    ฉันอยากจะชวนให้คุณไตร่ตรองคุณค่า
  • 9:05 - 9:08
    ที่เราเผยแพร่ในการปฏิสัมพันธ์วันต่อวัน
  • 9:08 - 9:12
    และคุณค่าเหล่านี้จะขัดเกลา
    พฤติกรรมผู้คนรอบ ๆ ตัวคุณอย่างไร
  • 9:12 - 9:15
    ตัวอย่างเช่น คุณค่าอะไรที่ถูกเผยแพร่
  • 9:15 - 9:18
    เมื่อเราใช้เวลามากขึ้น
    ยิ้มให้กับมือถือของเรา
  • 9:18 - 9:20
    มากกว่ายิ้มให้กับคนอื่น
  • 9:21 - 9:25
    เช่นเดียวกัน พิจารณาว่าพฤติกรรมของคุณ
    ถูกเกลาจากผู้คนรอบตัวคุณอย่างไร
  • 9:25 - 9:27
    ในทางที่คุณอาจไม่เคยพิจารณามาก่อน
  • 9:28 - 9:30
    กลับไปที่การยกตัวอย่างง่าย ๆ ของเรา
  • 9:30 - 9:32
    คุณชอบโค้กมากกว่าเป็ปซี่จริง ๆ หรือเปล่า
  • 9:32 - 9:36
    หรือความชอบนี้ถูกขับเคลื่อนมาจาก
    สิ่งที่คนรอบตัวคุณให้คุณค่า
  • 9:36 - 9:39
    ผู้ปกครองและคุณครูมีเอกสิทธิ์ที่จะ
  • 9:39 - 9:41
    ขัดเกลาพฤติกรรมของเด็กๆ
  • 9:42 - 9:44
    แต่มันสำคัญที่จะต้องจำไว้ว่า
  • 9:44 - 9:48
    เราให้คุณค่าของเรา
    ต่อการปฏิสัมพันธ์ในแต่วัน
  • 9:48 - 9:52
    เรามีสิทธิ์ที่จะขัดเกลาพฤติกรรม
    ของผู้คนรอบ ๆ ตัวเรา
  • 9:52 - 9:54
    ขอบคุณค่ะ
  • 9:54 - 9:58
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เด็ก ๆ เริ่มสนใจความคิดเห็นของคนอื่นตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ
Speaker:
ซาร่า บอตโต
Description:

จากงานวิจัยด้านพัฒนาการเด็กเล็กของเธอ นักจิตวิทยา ซาร่า วาเลนเซียร์ บอตโต สำรวจว่าเด็ก ๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่อหน้าผู้อื่นตั้งแต่เมื่อไหร่และอย่างไร และค้นหาว่าคุณค่าที่เราสื่อสารในการปฏิสัมพันธ์ประจำวันมีความหมายอย่างไร (ลองรับชมเพื่อดูภาพน่ารัก ๆ ของเด็ก ๆ)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:11

Thai subtitles

Revisions