< Return to Video

พายุสุริยะทำให้เกิดแสงขั้วโลกสุดอลังการได้อย่างไร - ไมเคิล โมลิน่า (Michael Molina)

  • 0:16 - 0:17
    ทุกวินาที
  • 0:17 - 0:21
    สสารหนึ่งล้านตันได้พวยพุ่งออกจากดวงอาทิตย์
  • 0:21 - 0:24
    ด้วยความเร็วหนึ่งล้านไมล์ต่อชั่วโมง
  • 0:24 - 0:26
    และมันก็อยู่ในแนวพุ่งชน
  • 0:26 - 0:28
    สู่โลก!
  • 0:28 - 0:30
    แต่ไม่ต้องวิตกไป
  • 0:30 - 0:33
    นี่ไม่ใช่เป็นฉากเปิดตัวหนังเรื่องใหม่
    ของไมเคิล เบย์ (Michael Bay)
  • 0:33 - 0:37
    นี่เป็นการเดินทางของแสงขั้วโลก
  • 0:37 - 0:39
    แสงเหนือและแสงใต้
  • 0:39 - 0:40
    หรือที่รู้จักกันว่า
    ออโรรา โบเรียลิส (Aurrora Borealis)
  • 0:40 - 0:42
    และออโรรา ออสเตรลิส (Aurrora Australis)
    ตามลำดับ
  • 0:42 - 0:44
    เกิดเมื่ออนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์
  • 0:44 - 0:47
    เข้าชนกับอะตอมที่มีประจุเป็นกลาง
    ในชั้นบรรยากาศของเรา
  • 0:47 - 0:48
    พลังงานที่ถูกปลดปล่อยจากการชนนี้
  • 0:48 - 0:50
    ทำให้เกิดแสงที่ปรากฏออกมา
  • 0:50 - 0:53
    ที่มนุษย์เราตื่นตาไปกับมันมาหลายศตวรรษ
  • 0:53 - 0:55
    แต่การเดินทางของอนุภาคนั้น
  • 0:55 - 0:57
    ไม่ใช่เพียงแค่ออกจากดวงอาทิตย์
    และเข้ามายังโลก
  • 0:57 - 0:58
    เหมือนกับการเดินทางข้ามภูมิประเทศ
  • 0:58 - 0:59
    มันมีการอ้อมไปไกล
  • 0:59 - 1:02
    และไม่มีใครให้ถามทางเสียด้วย
  • 1:02 - 1:03
    ลองมาตามการเดินทางข้ามกาแล็คซี่
  • 1:03 - 1:06
    โดยสนใจที่สามจุดของการเดินทาง:
  • 1:06 - 1:07
    ออกจากดวงอาทิตย์
  • 1:07 - 1:10
    หยุดจอดที่สนามแม่เหล็กโลก
  • 1:10 - 1:12
    และถึงชั้นบรรยากาศเหนือศีรษะของเรา
  • 1:13 - 1:16
    โปรตรอนและอิเล็กตรอนทำให้เกิดแสงเหนือ
  • 1:16 - 1:17
    ที่พวยพุ่งออกจากโคโรนา (corona) ของดวงอาทิตย์
  • 1:17 - 1:19
    โคโรนา คือชั้นนอกที่สุด
  • 1:19 - 1:20
    ของชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์
  • 1:20 - 1:22
    และเป็นหนึ่งในบริเวณที่ร้อนที่สุด
  • 1:22 - 1:24
    ความร้อนแบบถึงขีดสุดนี้
    ทำให้ไฮโดรเจนของดวงอาทิตย์
  • 1:24 - 1:26
    และอะตอมของฮีเลียมสั่นไหว
  • 1:26 - 1:28
    และสลัดโปรตรอนและอิเล็กตรอนออก
  • 1:28 - 1:31
    ราวกับพวกมันถอดเสื้อออกในวันที่แดดจัด
  • 1:31 - 1:34
    ด้วยความใจร้อนและได้คุมบังเหียนในที่สุด
  • 1:34 - 1:36
    โปรตรอนและอิเล็กตรอนอิสระเหล่านี้
    เคลื่อนที่เร็วเกินกว่า
  • 1:36 - 1:38
    จะถูกดึงไว้ได้ด้วยแรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์
  • 1:38 - 1:40
    และรวมกลุ่มอยู่ด้วยกันเป็นพลาสม่า
  • 1:40 - 1:42
    ซึ่งคือ กลุ่มก๊าซที่มีประจุไฟฟ้า
  • 1:42 - 1:43
    พวกมันเดินทางห่างออกจากดวงอาทิตย์
  • 1:43 - 1:45
    ในรูปพลาสมาที่พัดกรรโชกอย่างต่อเนื่อง
  • 1:45 - 1:47
    ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ พายุสุริยะ (solar wind)
  • 1:56 - 1:58
    อย่างไรก็ดี โลกป้องกันพายุสุริยะ
  • 1:58 - 1:59
    จากการเดินทางพุ่งตรงของมันมายังโลก
  • 1:59 - 2:01
    โดยกำหนดทางอ้อมให้มัน
  • 2:01 - 2:02
    ซึ่งเรียกว่า แม็กนีโตสเฟียร์ (magnetosphere)
  • 2:02 - 2:03
    แม็กนีโตสเฟียร์ นั้นก่อตัว
  • 2:03 - 2:04
    จากกระแสแม่เหล็กของโลก
  • 2:04 - 2:06
    และเป็นเกราะกำบังดาวเคราะห์ของเราจากพายุสุริยะ
  • 2:06 - 2:08
    โดยส่งอนุภาคไปรอบๆ โลก
  • 2:08 - 2:10
    โอกาสของพวกมันที่จะเดินทางอย่างต่อเนื่อง
  • 2:10 - 2:11
    ลงไปยังชั้นบรรยากาศ
  • 2:11 - 2:13
    เกิดขึ้นเมื่อแม็กนีโตสเฟียร์นั้น
  • 2:13 - 2:15
    ต้านทานคลื่นลูกใหม่ของผู้เดินทางไว้ไม่อยู่
  • 2:15 - 2:17
    เหตุการณ์นี้เรียกว่า coronal mass ejection (CME)
  • 2:17 - 2:19
    และมันเกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยิง
  • 2:19 - 2:21
    ลูกไฟพลาสม่าขนาดยักษ์เข้าไปในพายุสุริยะ
  • 2:22 - 2:24
    เมื่อ coronal mass ejection นี้
  • 2:24 - 2:25
    เข้าชนกับโลก
  • 2:25 - 2:26
    มันได้เอาชนะแม็กนีโตสเฟียร์
  • 2:26 - 2:28
    และทำให้เกิดการพายุสนามแม่เหล็ก
  • 2:28 - 2:31
    พายุนี้เข้ากดดันแม็กนีโตสเฟียร์
  • 2:31 - 2:32
    จนกระทั่งมันขาดออก
  • 2:32 - 2:34
    เหมือนกับยางยืดที่ถูกดึงมากเกินไป
  • 2:34 - 2:38
    เหวี่ยงอนุภาคบางส่วนนั้นเข้ามายังโลก
  • 2:38 - 2:40
    แนวสนามแม่เหล็กที่รวมตัวกันใหม่
  • 2:40 - 2:42
    ดึงพวกมันลงมาที่วงแหวนออโรรา
  • 2:42 - 2:42
    ซึ่งเป็นบริเวณ
  • 2:42 - 2:45
    ของแสงเหนือและแสงใต้
  • 2:46 - 2:49
    หลังจากเดินทางข้ามกาแล็คซีมา 93 ล้านไมล์
  • 2:49 - 2:50
    ในที่สุด อนุภาคจากดวงอาทิตย์
  • 2:50 - 2:53
    ก็ได้สร้างแสงอันพิศวงออกอวดโฉม
    ด้วยความช่วงเหลือจากเพื่อนๆ
  • 2:53 - 2:55
    เหนือจากพื้นผิวไป 20 ถึง 200 ไมล์
  • 2:55 - 2:57
    อิเล็กตรอนและโปรตรอนพบกันกับ
  • 2:57 - 2:59
    อะตอมของออกซิเจนและไนโตรเจน
  • 2:59 - 3:01
    และพวกมันก็ดีใจเสียจริงๆที่ได้พบกัน
  • 3:01 - 3:04
    อนุภาคจากดวงอาทิตย์เข้าแตะมือกับอะตอมพวกนี้
  • 3:04 - 3:04
    ส่งพลังงาน
  • 3:04 - 3:07
    ให้กับอะตอมของออกซิเจนและไนโตรเจนของโลก
    ที่มีประจุเป็นกลาง
  • 3:07 - 3:09
    เมื่ออะตอมในชั้นบรรยากาศ
  • 3:09 - 3:10
    ได้พบกับอนุภาค
  • 3:10 - 3:12
    พวกมันถูกกระตุ้นและปล่อยโฟตอน (photon)
  • 3:12 - 3:14
    โฟตอนเป็นปลดปล่อยพลังงานแบบเล็กๆ
  • 3:14 - 3:15
    ในรูปแบบของแสง
  • 3:15 - 3:17
    สีที่ปรากฏบนท้องฟ้านั้น
  • 3:17 - 3:20
    ขึ้นอยู่กับความยาวคลื่อของโฟตอนของอะตอม
  • 3:20 - 3:22
    อะตอมออกซิเจนที่ได้รับการกระตุ้น
  • 3:22 - 3:23
    ให้สีเขียวและสีแดง
  • 3:23 - 3:25
    ในขณะที่อะตอมไนโตรเจนที่ถูกกระตุ้นนั้น
  • 3:25 - 3:27
    ให้สีฟ้าและสีแดงแก่
  • 3:27 - 3:29
    การปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดนี้
  • 3:29 - 3:31
    ก่อให้เกิดแสงเหนือและแสงใต้
  • 3:35 - 3:37
    แสงจากขั้วโลกจะเห็นได้ชัดเจนที่สุดในคืนฟ้าโปร่ง
  • 3:37 - 3:40
    ในเขตที่ใกล้กับขั้วแม่เหล็กโลกเหนือและใต้
  • 3:40 - 3:41
    เวลากลางคืนนั้นเหมาะสม
  • 3:41 - 3:43
    เพราะว่าออโรรานั้นสลัวกว่าแสงอาทิตย์มาก
  • 3:43 - 3:46
    และไม่สามารถเห็นได้ในเวลากลางวัน
  • 3:46 - 3:48
    อย่าลืมที่จะมองขึ้นไปบนท้องฟ้า
  • 3:48 - 3:50
    และคอยติดตามแบบแผนพลังงานของดวงอาทิตย์
  • 3:50 - 3:53
    โดยเฉพาะจุดบอดบนดวงอาทิตย์หรือเปลวสุริยะ
  • 3:53 - 3:53
    เพราะพวกมันจะเป็นตัวชี้แนะที่ดี
  • 3:53 - 3:55
    สำหรับการพยากรณ์ออโรรา
Title:
พายุสุริยะทำให้เกิดแสงขั้วโลกสุดอลังการได้อย่างไร - ไมเคิล โมลิน่า (Michael Molina)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-epic-solar-winds-make-brilliant-polar-lights-michael-molina

ทำไมเราจึงเห็นแสงอันน่าทึ่งจากท้องฟ้าส่วนเหนือและส่วนใต้ในยามค่ำคืน ออโรรา โบเรียริส (Aurora Borealis) และ ออโรรา ออสตราริส (Aurora Australis) เกิดขึ้นเมื่ออนุภาคพลังงานสูงพวยพุ่งออกจากโคโรนาของดวงอาทิตย์มายังโลก และเข้าประสานกับอะตอมที่มีประจุเป็นกลางในชั้นบรรยากาศของเรา -- ซึ่งในที่สุด ปลดปล่อยแสงและสีที่แสนแปลกตา
ไมเคิล โมลินา อธิบายทุกขั้นตอนของปรากฏการณ์ที่แสนพิศวงนี้

Lesson by Michael Molina, animation by Franco Barroeta.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:10

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 6 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut