เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายหลังจากที่เราเสียชีวิต - เฟอร์นาซ คาทิบิ จาฟาริ (Farnaz Khatibi Jafari)
-
0:07 - 0:08ตั้งแต่รุ่งอรุณของมนุษยชาติ
-
0:08 - 0:14ประชากรประมาณ 100.8 พันล้านคน
มีชีวิตอยู่และตาย -
0:14 - 0:19จำนวนประชากรโลกนั้น
เพิ่มขึ้นประมาณ 0.8%ในแต่ละปี -
0:19 - 0:22เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของพวกเขา
หลังจากที่เสียชีวิต -
0:22 - 0:27และท้ายที่สุดแล้ว ดาวเคราะห์นี้
จะไม่เหลือที่ฝังศพหรือเปล่า -
0:27 - 0:29เมื่อหัวใจของคนหยุดเต้น
-
0:29 - 0:33ร่างกายจะผ่านระยะต่าง ๆ
ก่อนที่มันจะเริ่มย่อยสลาย -
0:33 - 0:34ภายในไม่กี่นาทีหลังความตาย
-
0:34 - 0:38เลือดเริ่มที่จะตกลงมา
อยู่ในส่วนล่างของร่างกาย -
0:38 - 0:40โดยทั่วไปแล้ว ภายในแปด
ถึงสิบสองชั่วโมงต่อมา -
0:40 - 0:46ผิวหนังในบริเวณนั้นก็จะเริ่มเปลี่ยนสีโดย
ลิวอร์ มอร์ทิส หรือรอยเขียวช้ำหลังตาย -
0:46 - 0:50และในช่วงของเวลาตายนั้น
กล้ามเนื้อของร่างกายคลายตัวอย่างสมบูรณ์ -
0:50 - 0:53ในสภาวะที่เรียกว่า
การอ่อนปวกเปียกขั้นต้น -
0:53 - 0:58มันจะเกร็งตัวหลังจากสองถึงหกชั่วโมงต่อมา
ในสภาวะที่รู้จักกันว่า ไรกอร์ มอร์ทิส -
0:58 - 1:00การเกร็งแข็งนี้แผ่ไปทั่วกล้ามเนื้อ
-
1:00 - 1:06และความเร็วของมันก็อาจต่างกันไปตามอายุ
เพศ และสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ -
1:06 - 1:08ร่างกายยังมีอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป
-
1:08 - 1:11โดยมักจะเย็นลง
จนถึงอุณหภูมิแวดล้อมของมัน -
1:11 - 1:13ต่อไป การย่อยสลายจะเกิดขึ้น
-
1:13 - 1:17ซึ่งมันคือกระบวนการที่ซึ่งแบคทีเรีย
และแมลงต่าง ๆ สลายร่างกาย -
1:17 - 1:20ปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลต่อ
อัตราการย่อยสลายนี้ -
1:20 - 1:25อย่างไรก็ดี มีข้อชี้แนะพื้นฐานถึงผล
จากสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการย่อยสลาย -
1:25 - 1:27เรียกว่า กฏของแคสเปอร์
-
1:27 - 1:29มันกล่าวว่า ถ้าปัจจัยอื่น ๆ เท่ากัน
-
1:29 - 1:35ร่างที่สัมผัสกับอากาศย่อยสลายได้เร็ว
เป็นสองเท่าของร่างที่แช่อยู่ในน้ำ -
1:35 - 1:39และเร็วเป็นแปดเท่าของร่างที่ถูกฝังดิน
-
1:39 - 1:44ความเป็นกรดในดินยังส่งผลอย่างมาก
ต่อการเก็บรักษากระดูก -
1:44 - 1:47ดินที่มีความเป็นกรดสูง
ที่ pH น้อยกว่า 5.3 -
1:47 - 1:50จะย่อยสลายกระดูกอย่างรวดเร็ว
-
1:50 - 1:55ในขณะที่ดินที่เป็นกลางหรือเป็นเบส
ที่มีค่า pH ที่ 7 หรือสูงกว่า -
1:55 - 2:00โครงกระดูกจะยังคงอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างดี
เป็นเวลาหลายศตวรรษ -
2:00 - 2:04วัฒนธรรมต่าง ๆ ตลอดประวัติศาสตร์
ได้พัฒนาวิธีการจำเพาะเพื่อฝังศพ -
2:04 - 2:07ย้อนกลับไปนานถึงการฝังศพ
ของนีแอนเดอร์ทัลคนแรก -
2:07 - 2:09ความตายเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม
-
2:09 - 2:13เช่นการจัดวางท่าทาง การทาสี
หรือการตกแต่งศพ -
2:13 - 2:17การฝังศพตามธรรมเนียมชาวคริสต์
แบบดั้งเดิม ตกแต่งศพด้วยเสื้อผ้า -
2:17 - 2:18ในขณะที่ตามธรรมเนียมชาวอิสลาม
-
2:18 - 2:21ร่างถูกห่อด้วยสิ่งทอทางพิธีกรรม
-
2:21 - 2:24โดยต้องร่างนั้นจะหันหน้าไปทางกรุงเมกกะ
-
2:24 - 2:27ตามธรรมเนียมชาวฮินดูจะเผาร่างตามพิธีกรรม
-
2:27 - 2:31และชาวโซโรแอสเตอร์ ผู้ที่นับถือศาสนา
ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียวที่เก่าแก่ที่สุด -
2:31 - 2:36ตามธรรมเนียมแล้ว จะวางร่างเอาไว้ที่
ส่วนบนของหอคอย เพื่อให้ได้รับแสงอาทิตย์ -
2:36 - 2:38และให้ถูกพบได้โดยนกกินซาก
-
2:38 - 2:42ก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การฝังศพเป็นเรื่องพื้นฐานและทำได้ไม่ยาก -
2:42 - 2:47ทุกวันนี้ บริเวณที่เหมาะสมต่อการฝังศพ
กำลังจะหมดไปในบริเวณที่มีประชากรมาก -
2:47 - 2:50การซื้อพื้นที่ฝังศพส่วนตัวอาจมีราคาแพง
-
2:50 - 2:53และหลาย ๆ คนก็ไม่สามารถ
ที่จะทำการฝังศพแบบทั่วไปได้ -
2:53 - 2:57แม้แต่การเผาศพ การทำศพที่พบได้มากที่สุด
เป็นอันดับสองของโลก -
2:57 - 2:59ก็มีราคาแพง
-
2:59 - 3:01สำหรับคำถามเรื่องพื้นที่ที่กำลังขาดแคลน
-
3:01 - 3:04ประเด็นไม่ได้เกี่ยวกับจำนวนที่ดินทั้งหมด
ในโลกใบนี้ -
3:04 - 3:09เนื่องจากประชากรจำนวนมาก
จะกระจุกตัวกันอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ -
3:09 - 3:11เมืองขนาดใหญ่ส่วนมากในโลก
-
3:11 - 3:15อาจกำลังขาดแคลนพื้นที่ที่เหมาะสม
ต่อการฝังศพภายในศตวรรษนี้ -
3:15 - 3:16สำหรับลอนดอน มันอาจเร็วกว่านั้น
-
3:16 - 3:19มันอาจเกิดขึ้นภายในปี ค.ศ. 2035
-
3:19 - 3:22แล้วแบบนี้ เรามีทางเลือกอื่นหรือไม่
-
3:22 - 3:24ที่อาจช่วยแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่
-
3:24 - 3:29ในบางประเทศ สุสานตึกระฟ้า
สามารถทำให้ฝังศพในแนวตั้งได้ -
3:29 - 3:33บางตัวเลือกให้ความสนใจกับความสัมพันธ์
ของร่างกายที่มีต่อสิ่งแวดล้อม -
3:33 - 3:38นวัตกรรมการจัดการศพยุคใหม่ เช่น
การแช่แข็งแห้ง และการบดร่าง -
3:38 - 3:40ทำให้เป็นผงที่สามารถ
เปลี่ยนเป็นปุ๋ย -
3:40 - 3:43เมื่อผสมกับออกซิเจนและน้ำ
-
3:43 - 3:46ยังมีการฝังศพแบบเป็นมิตรกับธรรมชาติ
ที่ใช้สารจำเพาะ -
3:46 - 3:49เช่น โลงที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
-
3:49 - 3:51โกศที่ใช้เพาะกล้าไม้
-
3:51 - 3:54และชุดการฝังศพที่ใช้ปลูกเห็ดได้
-
3:54 - 3:57แนวปะการังชั่วนิรันดิ์
ได้นำแนวคิดนี้ไปยังทะเลลึก -
3:57 - 4:03โดยใช้การผสมกันระหว่างเถ้าและซีเมนต์
เพื่อสร้างที่อยู่ให้กับสิ่งมีชีวิตในทะเล -
4:03 - 4:07ความตายเป็นส่วนหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ของการเป็นมนุษย์ -
4:07 - 4:10แต่การที่เราปฏิบัติต่อร่างและการฝังศพนั้น
ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป -
4:10 - 4:12เราอาจมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพ
-
4:12 - 4:13ศาสนา
-
4:13 - 4:16หรือวิธีการปฏิบัติต่อการตายที่แตกต่างกัน
-
4:16 - 4:19แต่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นมาก
ต่อพื้นที่การฝังศพ -
4:19 - 4:21อาจผลักดันให้เรามีความคิดสร้างสรรค์
-
4:21 - 4:25เกี่ยวกับว่าร่างของเราจะไปอยู่ที่ไหน
เมื่อเรามาถึงระยะสุดท้ายของชีวิต
- Title:
- เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายหลังจากที่เราเสียชีวิต - เฟอร์นาซ คาทิบิ จาฟาริ (Farnaz Khatibi Jafari)
- Description:
-
View full lesson: http://ed.ted.com/lessons/what-happens-to-our-bodies-after-we-die-farnaz-khatibi-jafari
ตั้งแต่รุ่งอรุณของมนุษยชาติ ประชากรประมาณ 100.8 พันล้านคนมีชีวิตอยู่และตาย จำนวนนั้นเพิ่มขึ้นประมาณ 0.8% ของประชากรโลกในแต่ละปี เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายหลังจากที่เราเสียชีวิต และดาวเคราะห์ดวงนี้กำลังจะไม่เหลือที่ฝังศพหรือเปล่า เฟอร์นาซ คาทิบิ จาฟาริ ติดตามวิวัฒนาการของการปฏิบัติต่อร่างและการฝังศพของมนุษยชาติ
บทเรียนโดย Farnaz Khatibi Jafari, แอนิเมชันโดย Ivana Bošnjak และ Thomas Johnson.
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 04:41
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for What happens to our bodies after we die? - Farnaz Khatibi Jafari | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What happens to our bodies after we die? - Farnaz Khatibi Jafari | |
![]() |
Pitipa Chongwatpol accepted Thai subtitles for What happens to our bodies after we die? - Farnaz Khatibi Jafari | |
![]() |
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for What happens to our bodies after we die? - Farnaz Khatibi Jafari | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What happens to our bodies after we die? - Farnaz Khatibi Jafari | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What happens to our bodies after we die? - Farnaz Khatibi Jafari |