< Return to Video

ทำไมความหลากหลายทางชีวภาพจึงสำคัญ - คิม เพรชอฟ (Kim Preshoff)

  • 0:07 - 0:12
    ระบบนิเวศน์อันหลากหลายอุดมสมบูรณ์ของโลกเรา
    อาจดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ยั่งยืน
  • 0:12 - 0:15
    แต่อันที่จริงแล้วมันเปราะบาง
    ต่อการล่มสลาย
  • 0:15 - 0:17
    ป่าอาจกลายเป็นทะเลทราย
  • 0:17 - 0:20
    และแนวปะการังอาจกลายเป็นแนวหินไร้ชีวิต
  • 0:20 - 0:24
    แม้จะไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงทางธรรมชาติ
    เช่น ภูเขาไฟ หรือดาวเคราะห์ชนโลก
  • 0:24 - 0:28
    อะไรทำให้ระบบนิเวศน์หนึ่งแข็งแรง
    และอีกที่หนึ่งอ่อนแอท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง
  • 0:28 - 0:32
    คำตอบในภาพรวมคือ
    ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • 0:32 - 0:36
    ความหลากหลายทางชีวภาพ
    เกิดขึ้นจากความพิเศษสามสิ่งที่เชื่อมโยงกัน
  • 0:36 - 0:38
    ความหลากหลายของระบบนิเวศน์
  • 0:38 - 0:40
    ความหลากหลายของสายพันธุ์
  • 0:40 - 0:42
    และความหลากหลายทางพันธุกรรม
  • 0:42 - 0:45
    ยิ่งสามสิ่งนี้มีความเชื่อมโยงกันมากเท่าใด
  • 0:45 - 0:48
    ความสัมพันธ์ก็ยิ่งแนบแน่น
    และยืดหยุ่นมากขึ้นเท่านั้น
  • 0:48 - 0:50
    ตัวอย่าง เช่น ป่าฝนแอมะซอน
  • 0:50 - 0:53
    หนึ่งในพื้นที่
    ที่มีหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก
  • 0:53 - 0:55
    เพราะระบบนิเวศน์ที่ซับซ้อนของมัน
  • 0:55 - 0:57
    สายพันธุ์ที่ผสมปนเปกันมากมาย
  • 0:57 - 1:00
    และความหลากหลายทางพันธุกรรม
    ภายในสายพันธุ์พวกนั้น
  • 1:00 - 1:02
    นี่คือเถาต้นเลียน่า (liana) อันคดเคี้ยว
  • 1:02 - 1:05
    ที่เลื้อยขึ้นมาจากพื้นป่ามาเป็นร่มเงา
  • 1:05 - 1:07
    สอดประสานกับยอดไม้
  • 1:07 - 1:12
    และลำต้นที่เป็นเนื้อไม้หนา
    ที่ประคองบรรดาต้นไม้ที่สูงราวกับหอคอย
  • 1:12 - 1:13
    ด้วยความช่วยเหลือของเถาวัลย์นี้
  • 1:13 - 1:17
    ต้นไม้ให้เมล็ด ผลไม้
    และใบไม้แก่สัตว์กินพืช
  • 1:17 - 1:20
    เช่น สมเสร็จ และ หนูเข็ม
  • 1:20 - 1:24
    ที่กระจายเมล็ดของมันไปทั่วป่า
    เพื่อให้มันสามารถเติบโตได้
  • 1:24 - 1:26
    ส่วนที่เหลือถูกกินโดยแมลงนับล้านๆ
  • 1:26 - 1:30
    ที่ย่อยสลายและรีไซเคิลสารอาหาร
    เพื่อสร้างดินอันอุดมสมบูรณ์
  • 1:30 - 1:35
    ป่าร้อนชื้นเป็นระบบขนาดมโหฬาร
    ที่เต็มไปด้วยระบบเล็กๆ มากมายเช่นนี้
  • 1:35 - 1:38
    แต่ละระบบอัดแน่นไปด้วยสายพันธุ์
    ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
  • 1:38 - 1:40
    ทุกความเชื่อมโยงให้ความมั่นคง
    กับความเชื่อมโยงถัดไป
  • 1:40 - 1:43
    ทำให้การโยงใยของความหลากหลายทางชีวภาพ
    มั่นคงแข็งแรง
  • 1:43 - 1:45
    การโยงใยนี้ถูกเสริมความแข็งแรงขึ้นอีก
  • 1:45 - 1:49
    ด้วยความหลากหลายทางพันธุกรรม
    ในแต่ละสายพันธุ์
  • 1:49 - 1:51
    ซึ่งทำให้มันสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลง
  • 1:51 - 1:54
    สายพันธุ์ที่ขาดความหลากหลายทางพันธุกรรม
    เนื่องจากการแยก
  • 1:54 - 1:56
    หรือมีประชากรน้อย
  • 1:56 - 1:58
    จะเปราะบางมากกว่าต่อการเปลี่ยนแปลง
  • 1:58 - 2:03
    ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โรค
    และที่อยู่อาศัยที่ถูกแยกย่อย
  • 2:03 - 2:07
    เมื่อใดก็ตามที่สายพันธุ์สูญหายไป
    เพราะแหล่งรวมพันธุกรรมของมันอ่อนแอ
  • 2:07 - 2:11
    ปมนี้ก็จะถูกคลาย
    และส่วนของการโยงใยก็จะแยกสลาย
  • 2:11 - 2:15
    แล้วถ้าเราเอาสิ่งมีชีวิตหนึ่งสายพันธุ์ออกจากป่าล่ะ
  • 2:15 - 2:17
    ระบบจะแตกสลายหรือเปล่า
  • 2:17 - 2:18
    อาจจะไม่
  • 2:18 - 2:20
    ปริมาณของสายพันธุ์
  • 2:20 - 2:21
    ความหลากหลายทางพันธุกรรมของมัน
  • 2:21 - 2:23
    และความซับซ้อนของระบบนิเวศน์
  • 2:23 - 2:26
    ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ
    อันอุดมในป่านี้
  • 2:26 - 2:31
    ช่องว่างของหนึ่งสายพันธุ์ที่หายไปในการโยงใย
    ไม่ทำให้มันแตกสลาย
  • 2:31 - 2:34
    ป่าสามารถเยีวยาตัวเอง
    และฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงได้
  • 2:34 - 2:37
    แต่มันไม่ใช่แบบนี้ทุกกรณี
  • 2:37 - 2:40
    ในสภาพแวดล้อมบางอย่าง
    การเอาส่วนสำคัญออกไปเพียงส่วนเดียว
  • 2:40 - 2:43
    ก็สามารถกร่อนทำลายทั้งระบบได้
  • 2:43 - 2:45
    ตัวอย่างเช่น แนวปะการัง
  • 2:45 - 2:48
    สิ่งมีชีวิตมากมายในแนวปะการัง
    ต้องพึ่งพาปะการัง
  • 2:48 - 2:52
    มันให้ที่พักอาศัยขนาดจิ๋ว
    ที่กำบังและที่ผสมพันธุ์
  • 2:52 - 2:56
    สำหรับปลานับพันสายพันธ์ุ
    สัตว์พวกกุ้งหอยต่างๆ
  • 2:56 - 3:01
    ปะการังยังมีความสัมพันธ์ที่พึ่งพากัน
    กับราและแบคทีเรีย
  • 3:01 - 3:03
    ตัวปะการังเองคือหูกทอผ้า
  • 3:03 - 3:07
    ที่การโยงใยของความหลากหลายทางชีวภาพ
    ได้ถูกถักทอขึ้น
  • 3:07 - 3:10
    นั่นทำให้ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตหลัก
  • 3:10 - 3:13
    ที่ความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตมากมาย
    ต้องพึ่งพามัน
  • 3:13 - 3:16
    จะเกิดอะไรขึ้นถ้าการจับปลาแบบทำลายล้าง
  • 3:16 - 3:18
    มลภาวะ และภาวะทะเลเป็นกรด
  • 3:18 - 3:22
    ทำให้ปะการังอ่อนแอ
    หรือฆ่ามันตายทั้งหมด
  • 3:22 - 3:24
    อย่างที่คุณคิดไว้เลย
  • 3:24 - 3:28
    การสูญเสียสายพันธุ์หลัก
    ทำให้สิ่งที่ต้องพึ่งพามันตายไปด้วย
  • 3:28 - 3:31
    เป็นการคุกคามผืนปะการังทั้งหมด
  • 3:31 - 3:34
    ระบบนิเวศน์ สายพันธุ์
    และความหลากหลายทางพันธุกรรม
  • 3:34 - 3:38
    ร่วมกันถักทอเป็นที่การโยงใยซับซ้อน
    ของความหลากหลายทางชีวภาพ
  • 3:38 - 3:42
    ที่สำคัญต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตบนโลก
  • 3:42 - 3:45
    มนุษย์เราก็ถูกถักทอเข้าใน
    ความหลากหลายทางชีวภาพนี้ด้วย
  • 3:45 - 3:47
    เมื่อเส้นใยเพียงบางเส้นหายไป
  • 3:47 - 3:49
    ความอยู่ดีมีสุขของเราก็ถูกคุกคาม
  • 3:49 - 3:53
    ตัดเส้นใยออกไปมากเข้า
    เราก็เสี่ยงที่จะทำทุกอย่างแตกสลาย
  • 3:53 - 3:55
    อนาคตจะเป็นอย่างไรไม่อาจคาดเดาได้
  • 3:55 - 3:58
    แต่ความหลากหลายทางชีวภาพ
    สามารถให้หลักประกันแก่เรา
  • 3:58 - 4:03
    เป็นตาข่ายนิรภัยของโลก
    ที่จะปกป้องความอยู่รอดของพวกเรา
Title:
ทำไมความหลากหลายทางชีวภาพจึงสำคัญ - คิม เพรชอฟ (Kim Preshoff)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/why-is-biodiversity-so-important-kim-preshoff

ระบบนิเวศน์อันหลากหลายอุดมสมบูรณ์ของโลกเราอาจดูเหมือนเป็นสิ่งที่ยั่งยืน แต่อันที่จริงแล้วมันเปราะบางต่อการล่มสลาย ป่าอาจกลายเป็นทะเลทราย และแนวปะการังอาจกลายเป็นแนวหินไร้ชีวิต อะไรทำให้ระบบนิเวศน์หนึ่งแข็งแรง และอีกที่หนึ่งอ่อนแอท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง คิม เพรชอฟ เล่ารายละเอียดว่า ทำไมคำตอบในภาพรวมของเรื่องนี้คือความหลากหลายทางชีวภาพ

บทเรียนโดย Kim Preshoff แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:19

Thai subtitles

Revisions