< Return to Video

Statistics intro: mean, median and mode

  • 0:00 - 0:00
    เราจะเริ่มเดินทางเข้าสู่โลกของสถิติ, ซึ่งก็คือวิธี
  • 0:00 - 0:00
    เข้าใจ, หรือรู้เรื่อง, ของข้อมูล
  • 0:00 - 0:00
    สถิติคือเรื่องของข้อมูล
  • 0:00 - 0:00
    และเมื่อเราเดินทางเข้าสู่โลกของสถิติ
  • 0:00 - 0:00
    เรากำลังทำสิ่งที่เราเรียกว่า "สถิติเชิงพรรรณนา (descriptive statistics" เป็นส่วนใหญ่
  • 0:00 - 0:00
    ถ้าเรามีข้อมูล แล้วเราอยาบอกคุณมีอะไรเกี่ยวกับข้อมูลบ้าง, โดยไม่ต้องแสดงข้อมูลทั้งหมด --
  • 0:00 - 0:00
    เราจะบรรยายมันอย่างไรโดยใช้ตัวเลขแค่ไม่กี่ตัว?
  • 0:00 - 0:00
    นั่นคือสิ่งที่เราสนใจ
  • 0:00 - 0:00
    แล้วเมื่อเราสร้างเครื่องมือในวิชาสถิติแบบพรรณนาแล้ว,
  • 0:00 - 0:00
    เราก็เริ่มทำการตีความข้อมูล, เริ่มทำการสรุป หรือตัดสินใจ และเราจะเริ่มทำ "สถิติแบบอนุมาน (inferential statistics)" มากขึ้น -- คือการอนุมานนั่นเอง
  • 0:00 - 0:00
    เมื่อรู้แล้ว, ลองคิดถึงวิธีบรรยายข้อมูลกัน
  • 0:00 - 0:00
    สมมุติว่าเรามีชุดตัวเลข, และเราพิจารณามันเป็น "ข้อมูล"
  • 0:00 - 0:00
    บางทีเราอาจวัดความสูงของพืชในสวนเรา
  • 0:00 - 0:00
    สมมุติเรามีต้นไม้ 6 ต้น และความสูงเป็น
  • 0:00 - 0:00
    4 นิ้ว, 3 นิ้ว, 1 นิ้ว, 6 นิ้ว, แล้วก็ 1 นิ้ว อีกต้นสูง 7นิ้ว
  • 0:00 - 0:00
    สมมุติว่ามีคนอยู่ในอีกห้องหนึ่ง, ไม่ได้ดูต้นไม้คุณ แล้วถามว่า
  • 0:00 - 0:00
    "ต้นไม้คุณสูงเท่าไหร่" แล้วเขาอยากได้ให้ตัวเลขแค่ตัวเดียวที่แทนความสูงต่างๆ ทั้งหมดของต้นไม้
  • 0:00 - 0:00
    คุณจะทำอย่างไร?
  • 0:00 - 0:00
    ทีนี้, คุณบอกว่า ฉันจะหาได้อย่างไร? บางทีเลือกเลขที่พบบ่อยที่สุด? บางทีฉันอยากใช้เลขที่แทนตรงกลาง?
  • 0:00 - 0:00
    บางทีฉันอยากได้เลขที่พบบ่อยที่สุด? บางทีฉันอยากได้เลขที่เป็นตรงกลางของเลขทุกตัว?
  • 0:00 - 0:00
    ถ้าคุณพูดอะไรพวกนี้, คุณก็เริ่มทำเหมือนกับ
  • 0:00 - 0:00
    สิ่งที่คนสร้างสถิติเชิงพรรณนาขึ้นมาแล้ว
  • 0:00 - 0:00
    เขาบอกว่า "โอ้... เราจะหามันได้อย่างไร?"
  • 0:00 - 0:00
    เราจะเริ่มต้นด้วยแนวคิดเรื่อง ค่าเฉลี่ย. ในชีวิตประจำวัน "ค่าเฉลี่ย" มีความหมายหลายอย่าง อย่างที่เราเห็น. เวลาหลายคนพูดว่า โดยเฉลี่ย เขามักหมายถึง "ค่าเฉลี่ยเลขคณิต" อย่างที่เราเห็นในไม่ช้า
  • 0:00 - 0:00
    แต่ในสถิติ, ค่าเฉลี่ยนหมายถึงอบางอื่นที่ทั่วไปกว่า
  • 0:00 - 0:00
    มันหมายความว่า "ให้ค่าทั่วไป" หรือจำนวน "ตรงกลาง" หรือ... พวกนี้คือ "หรือ". มันคือความพยายามวัด "แนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง"
  • 0:00 - 0:00
    บางครั้ง, คุณมีตัวเลขหลายตัว, คุณพยายามแสดงตัวเลข (ค่าเฉลี่ย) ที่อยู่ตรงกลาง หรือเป็นศูนย์กลางของค่าเหล่านี้
  • 0:00 - 0:00
    แล้วอย่างที่เราเห็น, มันมีค่าเฉลี่ยหลายแบบ
  • 0:00 - 0:00
    อย่างแรกคืออันนี้, คุณอาจคุ้นคยมันมากที่สุด, มันคืออันที่คนพูดถึงในข้อสอบ หรือความสูงเฉลี่ย มันคือค่าเฉลี่ยเลขคณิต
  • 0:00 - 0:00
    ผมจะเขียนมันด้วยสีเหลืองนะ "ค่าเฉลี่ยเลขคณิต"
  • 0:00 - 0:00
    เมื่อ Arithmetic เป้นคำนาม เราเรียก (อ่าน) มันว่า อู-ริด-เม-ทิก. เวลาเป็นคุณศัพท์อย่างนี้ เราเรียก (อ่าน) มันว่า เอ-ริด-เม-ทิก
  • 0:00 - 0:00
    นี่ก็แค่ผลบวกของจำนวนทั้งหมดหารด้วย...
  • 0:00 - 0:00
    นี่คือนิยามที่มนุษย์สร้างขึ้น, ซึ่งเราพบว่ามีประโยชน์ --
  • 0:00 - 0:00
    ผลบวกของจำนวนทั้งหมดหารด้วยจำนวนของตัวเลขที่เรามี
  • 0:00 - 0:00
    แล้วค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนี้เป็นเท่าไหร่?
  • 0:00 - 0:00
    ทีนี้, ลองคำนวณดู. มันจะเป็น 4+3+1+6+1+7 ส่วนจำนวนข้อมูลที่เรามี. เรามีข้อมูล 6 จุด, เราจึงหารด้วย 4
  • 0:00 - 0:00
    และเราได้ 4+3 =7 + 1 =8 +6 = 14 + 1 = 15 + 7 =22. ขอผมทำอีกทีนะ.. เรามี 7, 8, 14, 15, 22. ทั้งหมดหารด้วย 6
  • 0:00 - 0:00
    แล้วเราก็เขียนมันเป็นเศษส่วนคละ. 6 หาร 22 ได้ 3 เหลือเศษ 4. มันจึงเป็น 3 เศษ 4 ส่ว 6 ซึ่งเท่ากับ 3 กับ 2 ส่วน 3. เราเขียนมันเป็นทศนิยามได้: 3.6 ซ้ำ
  • 0:00 - 0:00
    เราสามารถเขียนมันแบบไหนก็ได้ แต่่นี่คือเลขตัวแทน, นี่คือการพยายามหา "แนวโน้มสู่ศูนย์กลาง"
  • 0:00 - 0:00
    เหมือนเดิม, นี่คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มันไม่ใช่ว่ามีคนพบใน
  • 0:00 - 0:00
    ตำราศาสนาบอกว่า "นี่คือวิธีที่ค่าเฉลี่ยเลขคณิตต้องนิยาม"
  • 0:00 - 0:00
    มันไม่ได้บริสุทธิ์เหมือนการคำนวณ, อย่างเช่นการค้นพบวงกลมเนื่องจากการสังเกตจักรวลา
  • 0:00 - 0:00
    มันคือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเราเห็นว่ามันมีประโยชน์
  • 0:00 - 0:00
    ทีนี้, มันมีวิธีวัดค่าเฉลี่ย หรือค่า "ทั่วไป" หรือค่ากลางอื่นๆ อีก
  • 0:00 - 0:00
    วิธีอย่างอื่น ที่ทั่วไปคือ ค่ามัธยฐาน (median value) ผมจะเขียนมัธยฐานด้วยสีชมพูนะ
  • 0:00 - 0:00
    มัธยฐานหมายถึงค่ากลาง
  • 0:00 - 0:00
    ถ้าคุณเรียงจำนวนทั้งหมดแล้วหาค่าตรงกลาง, มันก็คือมัธยฐาน
  • 0:00 - 0:00
    แล้วค่ามัธยฐานของข้อมูลชัดนี้คืออะไร?
  • 0:00 - 0:00
    มัธยฐานของข้อมูลชุดนี้คืออะไร?
  • 0:00 - 0:00
    เรามี 1, 1, 3, 4, 6, 7 ค่ากลางคืออะไร?
  • 0:00 - 0:00
    เราเห็นว่าเรามีจำนวนเป็นเลขคู่, เนื่องจากไม่มีตรงกลาง, เราจึงมีเลขกลางสองตัว
  • 0:00 - 0:00
    3 กับ 4
  • 0:00 - 0:00
    และในกรณีที่คุณมีเลขกลางสองตัว, คุณก็หาค่ากลางระหว่างสองตัวนั้น
  • 0:00 - 0:00
    นั่นคือค่าเฉลี่ยเลขคณิตสองตัวระหว่างจำนวนทั้งสอง, เพื่อหาค่ามัธยฐาน
  • 0:00 - 0:00
    มัธยฐาน ที่ค่ากลางระหว่าง 3 กับ 4, นั่นคือ 3.5. ในกรณีมัธยฐานจึงเป็น 3.5
  • 0:00 - 0:00
    แล้วถ้าคุณมีจำนวนข้อมูลเป็นจำนวนคู่, ค่ามัธยฐานคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตระหว่างจำนวนกลาง 2 ตัว
  • 0:00 - 0:00
    ถ้าคุณมีจำนวนข้อมูลเป็นจำนวนคี่, มันก็หาได้ง่ายกว่า
  • 0:00 - 0:00
    อันนี้ผมให้ข้อมูลคุณที่มีปริมาณต่างกัน
  • 0:00 - 0:00
    นี่คือปริมาณข้อมูลที่ผมได้เรียงไว้แล้ว
  • 0:00 - 0:00
    ข้อมูลตรงนี้คือ 0, 0, 7 , 50, 10,000 และ 1,000,000
  • 0:00 - 0:00
    ข้อมูลที่บ้ามาก, ในกรณีนี้, ค่ามัธยฐานคืออะไร?
  • 0:00 - 0:00
    เรามีเลข 5 ตัว, เป็นจำนวนคี่, วิธีหาง่ายๆ คือ เรามีเลข 5 ตัว, จำนวนคี่. เราหาเลขกลางได้ง่ายๆ
  • 0:00 - 0:00
    ค่ากลางคือจำนวนที่มากกว่าเลขอื่น 2 ตัว และน้อยกว่าเลขอื่น 2 ตัว
  • 0:00 - 0:00
    นี่ก็คือค่ากลางพอดี. ในกรณีนี้มัธยฐานเราคือ 50
  • 0:00 - 0:00
    ทีนี้, การวัดค่ากลางอันที่สาม คืออันที่ใช้น้อยที่สุด: ฐานนิยม (mode)
  • 0:00 - 0:00
    มันฟังดูซับซ้อน. แต่ปรากฏว่ามันคือแนวคิดที่พื้นฐานที่สุด: ฐานนิยมที่เลขที่ปรากฎบ่อยที่สุดในชุดข้อมูล
  • 0:00 - 0:00
    แล้วฐานนิยมคืออะไร? ถ้าค่าทั้งหมดปรากฏเพียงครั้งเดียว, มันก็ไม่มีฐานนิยม
  • 0:00 - 0:00
    แต่ฐานนิยมในข้อมูลเราคืออะไร? เรามี 4, 3 แค่ตัวเดียว, แต่เรามี 2 สองตัว, เรามี 6 กับ 7 อย่างละตัว
  • 0:00 - 0:00
    เลขที่ปรากฏบ่อยที่สุดคือ อันแรก ดังนั้นฐานนิยมคืออันแรก
  • 0:00 - 0:00
    เราเห็นวิธีการหาค่ากลางแบบต่างๆ แล้ว และเราจะเรียนในวิชาสถิติ
  • 0:00 - 0:00
    ว่าแต่ละอย่างดีต่างกันไป
  • 0:00 - 0:00
    นี่คืออันที่ใช้มากที่สุดในหลายๆ อย่าง
  • 0:00 - 0:00
    มัธยฐานสำคัญเวลาคุณมีเลขเพี้ยนๆ มากมายที่กวนค่าเฉลี่ยเลขคณิต
  • 0:00 - 0:00
    ฐานนนิยมมีประโยชน์ในกรณีที่มีค่าปรากฏมากกว่า 1 ครั้ง
  • 0:00 - 0:00
    โอเค, เวลาหมดแล้ว. ในวิดีโอนห้า เราจะสำรวจสถิติให้ลึกกว่านี้กัน
Title:
Statistics intro: mean, median and mode
Description:

more » « less
Video Language:
English
Team:
Khan Academy
Duration:
08:54

Thai subtitles

Revisions