< Return to Video

เบนจามิน แซนเดอร์ ว่าด้วยดนตรีและไฟปรารถนา

  • 0:00 - 0:03
    หลายคนในที่นี้อาจเคยได้ยินเรื่องของนักขายสองคน
  • 0:03 - 0:06
    ซึ่งเดินทางไปแอฟริกาในช่วง ค.ศ.1900
  • 0:06 - 0:08
    ทั้งสองคนถูกส่งตัวไปสำรวจว่ามีโอกาส
  • 0:08 - 0:10
    สำหรับขายรองเท้าหรือไม่
  • 0:10 - 0:13
    ทั้งสองส่งโทรเลขกลับไปที่เมืองแมนเชสเตอร์
  • 0:13 - 0:17
    คนแรกแจ้งว่า "ดูรูปการณ์แล้วหมดหวัง ไม่ต้องทำอะไรต่อแล้ว
  • 0:17 - 0:18
    คนในประเทศนี้ไม่สวมรองเท้ากัน"
  • 0:18 - 0:21
    ส่วนอีกคนรายงานว่า "นี่เป็นโอกาสทอง
  • 0:21 - 0:23
    เพราะคนในประเทศนี้ยังไม่มีรองเท้าใส่เลย"
  • 0:23 - 0:24
    (หัวเราะ)
  • 0:24 - 0:27
    เวลานี้ สถานการณ์ในโลกของดนตรีคลาสสิกก็คล้ายๆ กัน
  • 0:28 - 0:29
    เพราะมีบางคนที่คิดว่า
  • 0:29 - 0:32
    ดนตรีคลาสสิกกำลังจะตาย
  • 0:33 - 0:36
    แต่ก็มีพวกเราบางคนที่คิดว่า คุณยังไม่ได้เห็นอะไรเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกเลย
  • 0:36 - 0:40
    และแทนที่ผมจะสาธยายสถิติตัวเลขและแนวโน้มต่างๆ
  • 0:40 - 0:42
    และเล่าเรื่องวงออเคสตราที่กำลังต้องยุบวงและปิดตัว
  • 0:42 - 0:45
    รวมถึงเหล่าบริษัทดนตรีที่กำลังจะเลิกกิจการ
  • 0:45 - 0:49
    ผมคิดว่าคืนนี้เราควรมาทดลองอะไรกันสักหน่อย -- ทดลองดู
  • 0:49 - 0:53
    จริงๆ ก็ไม่เชิงว่าทดลองหรอก เพราะผมรู้ว่าผลลัพธ์จะออกมายังไง
  • 0:54 - 0:56
    แต่มันก็ให้อารมณ์คล้ายๆ กับการทดลองนั่นละ เอาละ ก่อนที่เรา --
  • 0:56 - 1:00
    (หัวเราะ)
  • 1:00 - 1:02
    -- ก่อนจะเริ่ม ผมต้องทำสองอย่าง
  • 1:02 - 1:06
    อย่างแรกคือ ผมอยากให้คุณเห็นภาพเด็กอายุ 7 ขวบ
  • 1:07 - 1:08
    ว่าเขาเล่นเปียโนลักษณะไหน
  • 1:08 - 1:10
    เด็กคนนี้อาจอยู่ที่บ้านคุณก็ได้
  • 1:11 - 1:12
    มันจะออกมาทำนองนี้
  • 1:12 - 1:32
    (เปียโน)
  • 1:32 - 1:34
    ผมรู้ว่าพวกคุณบางคนจำเด็กคนนี้ได้
  • 1:34 - 1:39
    ทีนี้ถ้าเขาฝึกต่ออีกปีและเรียนเปียโนต่อ ตอนนี้เขาจะอายุ 8 ขวบ
  • 1:39 - 1:40
    มันก็จะออกมาทำนองนี้
  • 1:40 - 1:47
    (เปียโน)
  • 1:47 - 1:50
    แล้วถ้าฝึกต่ออีกปีและเรียนสูงขึ้นอีก ตอนนี้เขาอายุ 9 ขวบ
  • 1:50 - 1:56
    (เปียโน)
  • 1:56 - 1:59
    แล้วก็ฝึกต่ออีกปีและเรียนสูงขึ้นไปอีก ตอนนี้เขาก็อายุ 10 ขวบ
  • 1:59 - 2:06
    (เปียโน)
  • 2:06 - 2:07
    ถึงตอนนั้นพวกเด็กๆ ก็มักเลิกเล่นไปเอง
  • 2:07 - 2:09
    (หัวเราะ)
  • 2:09 - 2:11
    (ปรบมือ)
  • 2:11 - 2:13
    ทีนี้ ถ้าคุณรออีกหน่อย ถ้ารออีกหนึ่งปี
  • 2:14 - 2:15
    คุณจะได้ยินเสียงแบบนี้
  • 2:15 - 2:24
    (เปียโน)
  • 2:24 - 2:27
    สิ่งที่เกิดขึ้นอาจไม่ใช่อย่างที่คุณคิด
  • 2:27 - 2:30
    คือคุณอาจคิดว่า จู่ๆ เขาจะมีไฟกับมัน ใส่ใจจริงจัง
  • 2:30 - 2:33
    กระตือรือร้น มีครูคนใหม่ ถึงวัยเจริญพันธุ์ หรืออะไรเทือกนี้
  • 2:33 - 2:37
    สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ คือ ความกระแทกกระทั้นจะลดลง
  • 2:38 - 2:39
    นึกภาพออกมั้ย ตอนที่เขาเริ่มเล่นครั้งแรก
  • 2:39 - 2:41
    ที่กระแทกลงไปทุกจังหวะโน้ต
  • 2:42 - 2:44
    (เปียโน)
  • 2:44 - 2:46
    ครั้งที่สองก็ยังกระแทกกระทั้นโน้ตเว้นโน้ต
  • 2:47 - 2:49
    (เปียโน)
  • 2:49 - 2:50
    คุณเห็นได้ถ้ามองที่หัวของผม
  • 2:51 - 2:52
    (หัวเราะ)
  • 2:52 - 2:54
    เด็ก 9 ขวบ ...9 ขวบ
  • 2:54 - 2:55
    จะกระแทกลงไปทุกๆ 4 ตัวโน้ต
  • 2:55 - 2:57
    (เปียโน)
  • 2:58 - 2:59
    ส่วนเด็ก 10 ขวบจะกระแทกทุกๆ 8 ตัวโน้ต
  • 2:59 - 3:02
    (เปียโน)
  • 3:02 - 3:04
    เด็ก 11 ขวบจะกระแทกครั้งเดียวตลอดทั้งช่วง
  • 3:04 - 3:07
    (เปียโน)
  • 3:08 - 3:10
    ผมไม่รู้ว่าท่าทางของผมออกมาแบบนี้ได้ยังไง
  • 3:10 - 3:12
    (หัวเราะ)
  • 3:13 - 3:15
    ผมไม่ได้บอกให้ตัวเองโยกไหล่ ส่ายตัวไปมา
  • 3:15 - 3:17
    เปล่าเลย ดนตรีขับดันให้ผมมีท่าทางแบบนี้เอง
  • 3:17 - 3:19
    ผมถึงเรียกว่าเป็นการเล่นแบบบั้นท้ายข้างเดียว
  • 3:19 - 3:21
    (เปียโน)
  • 3:21 - 3:22
    หรือจะเป็นบั้นท้ายอีกข้างก็ได้
  • 3:22 - 3:26
    (เปียโน)
  • 3:26 - 3:29
    คุณรู้มั้ย ครั้งนึงมีชายคนนึงได้ชมการบรรยายของผม
  • 3:29 - 3:30
    ตอนที่ผมกำลังสอนนักเปียโนรุ่นเยาว์คนนึง
  • 3:31 - 3:33
    ชายคนนั้นเป็นประธานบริษัทที่โอไฮโอ
  • 3:33 - 3:35
    ส่วนผมก็ง่วนอยู่กับนักเปียโนวัยกระเตาะคนนี้
  • 3:36 - 3:38
    ผมพูดว่า "ปัญหาของเธอคือ เธอเป็นนักเปียโนสองบั้นท้าย
  • 3:38 - 3:40
    เธอควรเป็นนักเปียโนบั้นท้ายเดียวรู้มั้ย"
  • 3:40 - 3:42
    และผมจับตัวเขาให้อยู่ในท่าทางแบบนั้นขณะที่เขาเล่น
  • 3:42 - 3:44
    แล้วเสียงดนตรีที่ออกมาก็พลิ้วไหวมีชีวิตขึ้นมาทันที มันโลดแล่นออกมาเอง
  • 3:45 - 3:47
    ผู้ชมถึงกับครางฮือตอนที่ได้ยินความแตกต่าง
  • 3:47 - 3:49
    ต่อมาผมได้รับจดหมายจากผู้ชายคนนี้
  • 3:49 - 3:50
    เขาเขียนว่า "ผมรู้สึกตื้นตันใจมาก
  • 3:50 - 3:52
    ผมกลับไปเปลี่ยนแนวทางบริษัทของผมใหม่หมด
  • 3:53 - 3:54
    ให้กลายเป็นบริษัทบั้นท้ายเดียว"
  • 3:54 - 3:57
    (หัวเราะ)
  • 3:58 - 4:00
    ตอนนี้ อีกเรื่องที่ผมอยากทำคือ บอกบางสิ่งเกี่ยวกับตัวคุณให้คุณฟัง
  • 4:00 - 4:03
    เชื่อว่าคงมีราวๆ 1,600 คน
  • 4:03 - 4:06
    คำนวณคร่าวๆ ว่าอาจมีพวกคุณ 45 คน
  • 4:06 - 4:08
    ที่หลงใหลดนตรีคลาสสิกเป็นชีวิตจิตใจ
  • 4:09 - 4:14
    คุณเทิดทูนดนตรีคลาสสิก เวลาฟังวิทยุก็เปิดแต่คลื่นดนตรีคลาสสิก
  • 4:14 - 4:17
    ในรถก็ยังมีซีดีดนตรีคลาสสิก แถมยังไปดูคอนเสิร์ตวงซิมโฟนี
  • 4:17 - 4:18
    ลูกๆ ก็เล่นเครื่องดนตรีคลาสสิก
  • 4:18 - 4:20
    คุณนึกภาพไม่ออกว่าชีวิตจะขาดดนตรีคลาสสิกได้อย่างไร
  • 4:21 - 4:23
    นั่นคือกลุ่มแรก เป็นกลุ่มค่อนข้างเล็ก
  • 4:23 - 4:25
    แล้วก็มีอีกกลุ่มหนึ่ง ...เป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น
  • 4:25 - 4:27
    คนกลุ่มนี้ไม่รังเกียจดนตรีคลาสสิก
  • 4:27 - 4:28
    (หัวเราะ)
  • 4:28 - 4:30
    นึกภาพว่า คุณกลับมาถึงบ้านหลังจากตรากตรำมาทั้งวัน
  • 4:30 - 4:32
    แล้วก็ไปรินไวน์มาแก้วนึง และนั่งยกขาพาด
  • 4:33 - 4:35
    เสียงไวโอลินของวิวัลดีคลออยู่ใกล้ๆ ไม่ทำร้ายใครนี่นา
  • 4:35 - 4:36
    (หัวเราะ)
  • 4:36 - 4:37
    คนพวกนี้อยู่กลุ่มที่สอง
  • 4:37 - 4:38
    ทีนี้มาถึงกลุ่มที่สาม
  • 4:38 - 4:40
    เป็นพวกที่ไม่เคยฟังดนตรีคลาสสิกมาก่อน
  • 4:40 - 4:42
    มันไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิตคุณเลย
  • 4:43 - 4:45
    คุณอาจได้ยินมันผ่านๆ เหมือนควันบุหรี่ของคนข้างตัวที่สนามบิน
  • 4:45 - 4:47
    (หัวเราะ)
  • 4:47 - 4:48
    -- หรืออาจเหมือนฉากสวนสนามของละครเรื่องไอดา
  • 4:48 - 4:51
    ตอนเข้าชมการแสดงสด แต่ถ้าไม่นับเหตุบังเอิญเหล่านี้ คุณจะไม่เคยได้ยินมัน
  • 4:52 - 4:53
    นี่อาจเป็นคนกลุ่มใหญ่สุด
  • 4:53 - 4:55
    แต่ก็ยังมีกลุ่มที่เล็กมากๆ อีกกลุ่ม
  • 4:55 - 4:58
    คนกลุ่มนี้คิดว่าตัวเองแยกจังหวะโน้ตไม่เป็น
  • 4:58 - 5:00
    มีคนเยอะมากที่คิดว่าตัวเองเป็นแบบนี้
  • 5:01 - 5:03
    จริงๆ ผมได้ยินคำพูด "สามีฉันแยกจังหวะโน้ตไม่เป็น" บ่อยมาก
  • 5:03 - 5:04
    (หัวเราะ)
  • 5:04 - 5:07
    จริงๆ แล้วเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะแยกไม่เป็น ไม่มีใครที่แยกจังหวะโน้ตไม่เป็น
  • 5:07 - 5:10
    ถ้าคุณแยกจังหวะโน้ตไม่ได้ คุณก็ต้องเปลี่ยนเกียร์รถไม่ได้ด้วย
  • 5:10 - 5:12
    รถเกียร์กระปุกน่ะ
  • 5:12 - 5:14
    คุณจะแยกความแตกต่างไม่ได้
  • 5:14 - 5:16
    ระหว่างชาวเท็กซัสและชาวโรม
  • 5:16 - 5:20
    สำหรับโทรศัพท์ ถ้าคุณแม่ของคุณโทรมาหา
  • 5:21 - 5:23
    โดยใช้โทรศัพท์คุณภาพแย่มาก โทรมาพูดว่า "ฮัลโหล"
  • 5:23 - 5:26
    ไม่ใช่แค่คุณจะจำได้ว่าใครกำลังพูด แต่ยังรู้ว่าเธอกำลังอยู่ในอารมณ์ไหน
  • 5:27 - 5:30
    คุณมีหูที่มีคุณสมบัติเยี่ยมยอด ทุกคนมีหูที่มีคุณสมบัติสุดยอด
  • 5:30 - 5:32
    ไม่มีใครที่แยกจังหวะโน้ตไม่ได้
  • 5:32 - 5:36
    แต่ผมอยากบอกว่า ผมจะไม่ยอมทนกับเรื่องนี้
  • 5:36 - 5:39
    กับการมีหุบเหวมโหฬารที่กั้นระหว่างคนที่เข้าใจ
  • 5:40 - 5:42
    หลงรัก และดื่มด่ำเคลิบเคลิ้มกับดนตรีคลาสสิก
  • 5:42 - 5:45
    กับคนที่ไม่ข้องแวะใดๆ กับมันเลย
  • 5:45 - 5:47
    คนที่แยกจังหวะโน้ตไม่ออกนั้น ไม่มีอยู่อีกต่อไป
  • 5:47 - 5:51
    แต่แม้ในหมู่สามกลุ่มที่เหลือ ก็ถือว่ายังมีช่องว่างที่กว้างเกินไปอยู่ดี
  • 5:51 - 5:55
    เพราะฉะนั้น ผมจะไม่รามือจนกว่าทุกคนในห้องนี้
  • 5:55 - 6:00
    ทั้งที่อยู่ด้านล่างและในเอสเพ็น รวมถึงทุกคนที่กำลังชม
  • 6:01 - 6:04
    จะหันมารักและเข้าใจดนตรีคลาสสิก
  • 6:04 - 6:06
    นี่คือเรื่องที่พวกเรากำลังจะทำกัน
  • 6:07 - 6:12
    คุณอาจสังเกตว่า ผมไม่มีความลังเลสงสัยเลย
  • 6:12 - 6:15
    ว่าผลลัพธ์ต้องออกมาตามนั้น สีหน้าของผมบอกอย่างนั้นใช่มั้ย
  • 6:15 - 6:19
    คุณสมบัติหนึ่งของผู้นำคือ เขาจะไม่ลังเลสงสัย
  • 6:19 - 6:22
    แม้เสี้ยววินาที ในความสามารถของผู้คนที่เขากำลังนำอยู่
  • 6:23 - 6:25
    ในการบรรลุสิ่งใดก็ตามที่ผู้นำวาดภาพฝันไว้
  • 6:25 - 6:28
    ลองนึกภาพว่าถ้าหาก มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ประกาศว่า "ผมมีความฝัน
  • 6:28 - 6:30
    แต่ผมไม่มั่นใจหรอกว่า ประชาชนจะทำได้หรือเปล่า"
  • 6:30 - 6:33
    (หัวเราะ)
  • 6:34 - 6:36
    เอาละ ผมกำลังจะเล่นเพลงเพลงนึงของโชแปง
  • 6:36 - 6:41
    บทโหมโรงที่งดงามไพเราะ ประพันธ์โดยโชแปง พวกคุณบางคนคงรู้จัก
  • 6:42 - 7:10
    (ดนตรี)
  • 7:10 - 7:12
    คุณรู้มั๊ยครับว่า เมื่อครู่ผมคิดว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนในห้องนี้
  • 7:13 - 7:15
    ตอนที่ผมเริ่ม พวกคุณคงคิดว่า "ไพเราะเหลือเกิน"
  • 7:15 - 7:28
    (ดนตรี)
  • 7:29 - 7:30
    "แต่คิดว่าเราอย่าไปที่เดียวกัน...
  • 7:30 - 7:32
    ในช่วงพักร้อนปีหน้าเลยนะ"
  • 7:32 - 7:35
    (หัวเราะ)
  • 7:35 - 7:38
    ตลกใช่มั้ย มันตลกมากที่ความคิดทำนองนี้
  • 7:38 - 7:41
    วนเวียนอยู่ในหัวคุณ
  • 7:41 - 7:42
    และก็แน่นอน --
  • 7:42 - 7:45
    (ปรบมือ)
  • 7:45 - 7:47
    -- แน่นอนว่า ถ้าเพลงนั้นยาวมาก และคุณก็เหนื่อยมาทั้งวัน
  • 7:48 - 7:49
    คุณก็อาจผลอยหลับไป
  • 7:49 - 7:51
    แล้วเพื่อนก็จะเอาศอกถองตัวคุณ
  • 7:51 - 7:55
    และบอกว่า "ตื่นๆ! นี่มันวัฒนธรรมนะ!" ซึ่งทำให้คุณรู้สึกแย่ขึ้นไปอีก
  • 7:55 - 7:58
    แต่คุณเคยฉุกคิดมั้ยว่า เหตุผลที่คุณรู้สึกง่วง
  • 7:59 - 8:01
    ตอนฟังเพลงคลาสสิกนั้น ไม่ใช่ความผิดของคุณ แต่เป็นของพวกเราเอง
  • 8:01 - 8:03
    ขณะที่ผมเล่น มีใครคิดบ้างมั้ยว่า
  • 8:03 - 8:05
    "ทำไมหมอนี้ถึงกระแทกกระทั้นหลายจังหวะเหลือเกิน"
  • 8:05 - 8:08
    ถ้าผมเล่นเพลงนี้ด้วยหัว คุณจะต้องคิดอย่างนั้นแน่ๆ
  • 8:09 - 8:14
    (ดนตรี)
  • 8:14 - 8:18
    และตลอดชีวิตที่เหลือ ทุกครั้งที่คุณได้ยินดนตรีคลาสสิก
  • 8:18 - 8:22
    คุณจะคิดอย่างนั้นเสมอ เมื่อไหร่ที่คุณได้ยินจังหวะกระแทกกระทั้น
  • 8:22 - 8:24
    มาดูว่าเรากำลังทำอะไรกันอยู่ตอนนี้
  • 8:24 - 8:29
    นี่คือโน้ต B ส่วนโน้ตถัดไปก็คือ C
  • 8:29 - 8:32
    และหน้าที่ของโน้ต C ก็คือ ทำให้โน้ต B เศร้า ..ใช่มั้ยครับ
  • 8:32 - 8:35
    (หัวเราะ)
  • 8:35 - 8:37
    นักแต่งเพลงจะรู้ดี ว่าถ้าอยากให้ดนตรีออกมาเศร้าสร้อย
  • 8:37 - 8:38
    ก็ให้เล่นโน้ต 2 ตัวนี้
  • 8:38 - 8:43
    (ดนตรี)
  • 8:43 - 8:45
    แต่หลักๆ มันมีแค่โน้ต B ตัวเดียว กับความเศร้า 4 แบบ
  • 8:45 - 8:47
    (หัวเราะ)
  • 8:48 - 8:53
    ทีนี้ มันไปถึงโน้ต A ..สู่โน้ต G ..แล้วก็โน้ต F
  • 8:53 - 8:57
    ตอนนี้ก็เป็นโน้ต B, A, G, F และถ้าเป็นโน้ต B, A, G, F แล้ว
  • 8:58 - 9:04
    โน้ตตัวไหนจะตามมา? โอ นั่นอาจเป็นเรื่องบังเอิญ
  • 9:04 - 9:10
    ลองอีกรอบ กับคณะประสานเสียง TED
  • 9:10 - 9:13
    (หัวเราะ)
  • 9:13 - 9:17
    และคุณก็รู้แล้วว่าไม่มีใครที่แยกจังหวะโน้ตไม่เป็น ..ถูกต้องมั้ย
  • 9:17 - 9:19
    รู้มั้ยว่า ทุกหมู่บ้านในบังกลาเทศ
  • 9:19 - 9:24
    ทุกหมู่บ้านในเมืองจีน ...ทุกคนรู้หมด
  • 9:25 - 9:28
    ดา ดา ดา ดา -- ดา ..ทุกคนรู้ว่ามันต้องลงด้วยโน้ต E
  • 9:28 - 9:31
    แต่โชแปงยังไม่อยากไปถึงโน้ต E
  • 9:32 - 9:34
    เพราะจะเกิดอะไรขึ้น? เพลงมันจะจบน่ะสิ เหมือนกับแฮมเล็ต
  • 9:34 - 9:36
    คุณจำแฮมเล็ตได้มั้ย องก์แรก ฉากที่สาม
  • 9:37 - 9:38
    แฮมเล็ตได้รู้ว่า ลุงของเขาเป็นคนฆ่าพ่อ
  • 9:38 - 9:40
    คุณจำได้ว่าเขาเอาแต่ตามล่าหาตัวลุง
  • 9:40 - 9:41
    และเกือบจะฆ่าลุงด้วย แต่แล้วก็ถอย
  • 9:41 - 9:44
    และก็ตามล่าลุงอีก และก็เกือบได้ฆ่าอีก
  • 9:44 - 9:46
    พวกนักวิจารณ์ ซึ่งทั้งหมดนั่งอยู่แถวหลัง
  • 9:46 - 9:49
    ออกความเห็นว่า "แฮมเล็ตเป็นคนที่ชอบผลัดวันประกันพรุ่ง"
  • 9:49 - 9:50
    (หัวเราะ)
  • 9:50 - 9:52
    หรือไม่ก็บอกว่า "แฮมเล็ตมีปมโอดิปุส"
  • 9:53 - 9:56
    ไม่ใช่เลย แต่เพราะถ้าทำอย่างนั้นละครจะจบต่างหาก ไอ้พวกโง่
  • 9:56 - 9:58
    นั่นคือเหตุผลที่เชคสเปียร์ใส่รายละเอียดพวกนั้นลงไปในแฮมเล็ต
  • 9:59 - 10:01
    มีเรื่องสาวน้อยโอฟิเลียที่กลายเป็นบ้า เป็นเรื่องที่ซ้อนอยู่อีกชั้นนึง
  • 10:01 - 10:02
    มีเรื่องกะโหลกของโยริค และพวกสัปเหร่อ
  • 10:03 - 10:06
    ทั้งหมดนี้เพื่อถ่วงเวลาไว้ -- จนถึงองก์ที่ 5 เขาถึงฆ่าลุงได้
  • 10:06 - 10:11
    เพลงของโชแปงก็ไม่ต่างกัน เขาเกือบถึงโน้ต E แล้ว
  • 10:11 - 10:13
    แต่เขาบอกว่า "เดี๋ยวก่อน กลับไปเริ่มใหม่ดีกว่า"
  • 10:13 - 10:16
    แล้วเขาก็กลับไปเริ่มใหม่
  • 10:17 - 10:20
    ตอนนี้เขารู้สึกตื่นเต้นแล้ว...นั่นคือการเร้าอารมณ์
  • 10:20 - 10:21
    คุณไม่ต้องไปกังวลอะไรกับมัน
  • 10:22 - 10:24
    ตอนนี้ลงมาถึงโน้ต F# และในที่สุดก็ถึงโน้ต E
  • 10:24 - 10:27
    แต่มันผิดคอร์ด เพราะคอร์ดที่เขาต้องการ
  • 10:28 - 10:31
    คือคอร์ดนี้ แต่เขาก็ยังให้ออกมาแบบนั้น
  • 10:31 - 10:35
    ซึ่งเราเรียกว่า การไต่ระดับโน้ตลงแบบลวง เพราะว่ามันหลอกเรา
  • 10:36 - 10:38
    ผมบอกนักเรียนเสมอว่า "ถ้าคุณได้ยินการไต่ระดับโน้ตลงมา..
  • 10:38 - 10:40
    อย่าลืมยักคิ้วนะ ทุกคนจะได้รู้"
  • 10:40 - 10:43
    (หัวเราะ)
  • 10:43 - 10:46
    (ปรบมือ)
  • 10:47 - 10:49
    ตอนนี้เขามาถึงโน้ต E แล้ว แต่มันผิดคอร์ด
  • 10:49 - 10:52
    เขาเล่นโน้ต E อีกรอบ มันก็ยังไม่ใช่อยู่ดี
  • 10:52 - 10:55
    แต่ก็ยังเล่นโน้ต E มันก็ยังไม่ใช่อยู่ดี
  • 10:55 - 10:57
    แต่ก็ยังเล่นโน้ต E ต่ออีก มันก็ยังไม่ใช่อีก
  • 10:58 - 11:01
    และในที่สุด....
  • 11:01 - 11:05
    มีผู้ชายที่นั่งแถวหน้าส่งเสียง "เฮ่อออ"
  • 11:06 - 11:08
    เป็นอาการเดียวกับที่เขาทำตอนกลับถึงบ้าน
  • 11:08 - 11:11
    หลังเหนื่อยมาทั้งวัน ดับเครื่องรถยนต์ และพูดว่า
  • 11:12 - 11:15
    "อาา ถึงบ้านเสียที" เพราะเราทุกคนรู้ว่าบ้านอยู่ที่ไหน
  • 11:15 - 11:18
    ดนตรีช่วงนี้จึงเป็นการเดินทางกลับบ้าน
  • 11:18 - 11:20
    ซึ่งผมกำลังจะเล่นเพลงนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ
  • 11:20 - 11:23
    คุณจะได้ติดตามโน้ต B, C, B, C, B, C, B --
  • 11:23 - 11:25
    ไต่ไปถึง A ...ลงไปถึง G และถึง F
  • 11:25 - 11:27
    เกือบจะถึงโน้ต E แล้ว แต่นั่นจะทำให้เพลงจบลง
  • 11:28 - 11:30
    เขาจึงย้อนกลับไปที่โน้ต B อีก เขาตื่นเต้นมาก ไปที่โน้ต F# แล้วไปที่ E
  • 11:30 - 11:32
    ซึ่งเป็นคอร์ดที่ผิด มันผิดคอร์ด ไม่ใช่คอร์ดนี้
  • 11:33 - 11:35
    จนสุดท้ายก็มาถึงโน้ต E ..กลับถึงบ้านเสียที
  • 11:35 - 11:38
    และที่คุณกำลังจะได้ชม คือการเล่นแบบบั้นท้ายเดียว
  • 11:38 - 11:41
    (หัวเราะ)
  • 11:41 - 11:43
    เพราะสำหรับผม การจะดื่มด่ำช่วงโน้ต B ถึง E
  • 11:44 - 11:49
    ผมต้องหยุดคิดเรื่องโน้ตทุกๆ ตัวที่ปรากฏระหว่างทาง
  • 11:49 - 11:54
    และเริ่มนึกถึงการเดินทางแสนยาวไกลจากโน้ต B ถึง E
  • 11:55 - 11:59
    เราเพิ่งพูดถึงแอฟริกา และคุณก็ไม่อาจไปเยือนประเทศนี้
  • 11:59 - 12:02
    โดยไม่คิดถึงแมนเดลาที่ต้องถูกจองจำอยู่ถึง 27 ปีได้
  • 12:03 - 12:05
    เขาคิดเรื่องอะไรอยู่ในตอนนั้น อาหารเที่ยง?
  • 12:05 - 12:08
    เปล่าเลย เขาคิดเรื่องวิสัยทัศน์สำหรับแอฟริกา
  • 12:09 - 12:10
    และสำหรับเพื่อนมนุษย์ นั่นคือสิ่งที่อยู่ในหัวเขา
  • 12:10 - 12:13
    นี่คือเรื่องของวิสัยทัศน์ เรื่องของการเดินทางยาวไกล
  • 12:13 - 12:15
    ดุจนกโผบินอยู่เหนือพื้นดิน
  • 12:15 - 12:19
    และไม่สนใจแนวรั้วเบื้องล่าง โอเคนะครับ?
  • 12:19 - 12:22
    ตอนนี้คุณกำลังจะติดตามการเดินทางจากโน้ต B ถึง E
  • 12:22 - 12:26
    แต่ผมอยากขออะไรสักอย่าง ก่อนจะเล่นเพลงนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ
  • 12:26 - 12:31
    อยากให้คุณนึกภาพคนที่คุณรักดั่งดวงใจ ผู้ซึ่งจากคุณไปแล้ว
  • 12:31 - 12:34
    คุณยาย คนรัก
  • 12:35 - 12:38
    คนที่ในชีวิตของคุณนั้น คุณรักเขาหมดใจ
  • 12:38 - 12:41
    แต่คนๆ นั้นไม่ได้อยู่กับคุณอีกแล้ว
  • 12:42 - 12:45
    นำคนๆ นั้นมาแนบใจคุณตอนนี้ และขณะเดียวกัน
  • 12:45 - 12:49
    ก็ติดตามการเดินทางจากโน้ต B ถึง E
  • 12:49 - 12:57
    และคุณจะได้ยินทุกสิ่งที่โชแปงอยากจะบอก
  • 12:57 - 14:48
    (ดนตรี)
  • 14:48 - 14:55
    (ปรบมือ)
  • 14:55 - 15:00
    ตอนนี้คุณอาจกำลังสงสัย
  • 15:00 - 15:06
    คุณอาจสงสัยว่าผมปรบมือทำไม
  • 15:06 - 15:08
    คือว่า ผมทำแบบนี้ที่โรงเรียนหนึ่งในบอสตัน
  • 15:08 - 15:12
    กับเด็กชั้นมัธยมหนึ่งประมาณ 70 คน อายุราว 12 ขวบ
  • 15:12 - 15:14
    ผมทำเหมือนที่ทำต่อหน้าพวกคุณเปี๊ยบ และก็บอกพวกเด็กๆ
  • 15:14 - 15:15
    อธิบายให้พวกเขาฟัง เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง
  • 15:15 - 15:17
    และพอถึงช่วงสุดท้าย พวกเขามีอารมณ์ร่วมมาก พวกเขาปรบมือ
  • 15:18 - 15:19
    ผมปรบมือ พวกเด็กๆ ก็ปรบมือ
  • 15:19 - 15:21
    สุดท้ายผมก็พูดขึ้นว่า "ผมปรบมือทำไมรู้มั้ย"
  • 15:21 - 15:22
    มีเด็กคนนึงตอบว่า "เพราะพวกเรากำลังฟังอยู่ไง"
  • 15:22 - 15:27
    (หัวเราะ)
  • 15:28 - 15:30
    คิดดูสิครับ มีอยู่ 1,600 คน ซึ่งมีชีวิตที่ยุ่งวุ่นวาย
  • 15:30 - 15:32
    แต่ละคนก็มีชีวิตในแบบที่แตกต่างกันไปสารพัด
  • 15:33 - 15:39
    ต่างกำลังฟัง เข้าใจ และจิตใจสั่นไหว ไปกับดนตรีของโชแปง
  • 15:39 - 15:40
    น่าทึ่งใช่ไหมครับ
  • 15:40 - 15:43
    ทีนี้ถามว่า ผมมั่นใจหรือเปล่าว่าทุกคนจะเป็นอย่างนั้น
  • 15:43 - 15:45
    เข้าใจและตื้นตันใจไปกับเสียงดนตรีนั้น แน่นอนว่าผมไม่มั่นใจหรอก
  • 15:46 - 15:47
    แต่ผมจะบอกคุณว่าเกิดอะไรขึ้นกับผม
  • 15:47 - 15:50
    ผมอยู่ในไอร์แลนด์ช่วงที่บ้านเมืองปั่นป่วนเมื่อ 10 ปีก่อน
  • 15:50 - 15:53
    และกำลังทำงานร่วมกับเด็กๆ ชาวคาทอลิกและโปรเตสแตนท์
  • 15:53 - 15:57
    งานด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และผมก็ทำแบบนี้กับพวกเขา
  • 15:58 - 16:00
    ถือว่าเสี่ยงเอาการ เพราะเป็นเด็กเร่ร่อนตามท้องถนน
  • 16:00 - 16:03
    มีเด็กคนนึงเข้ามาหาผมตอนเช้าวันรุ่งขึ้น และบอกว่า
  • 16:04 - 16:07
    "รู้มั้ยครับ ผมไม่เคยฟังเพลงคลาสสิกมาก่อนเลยในชีวิต
  • 16:07 - 16:08
    แต่ตอนที่คุณเล่นดนตรีช้อปปิ้ง"
  • 16:08 - 16:11
    (หัวเราะ)
  • 16:11 - 16:15
    เขาบอกว่า "พี่ชายผมโดนยิงเมื่อปีก่อน และผมก็ไม่เคยร้องไห้ให้กับเขา
  • 16:16 - 16:17
    แต่เมื่อคืนตอนที่คุณเล่นเพลงนั้น
  • 16:17 - 16:20
    เขาคือคนที่ผมนึกถึง
  • 16:20 - 16:22
    และน้ำตาผมก็ไหลอาบแก้ม
  • 16:22 - 16:25
    และคุณรู้มั้ยว่า มันรู้สึกดีมากๆ ที่ได้ร้องไห้ให้กับพี่ชายของผม"
  • 16:25 - 16:27
    ผมเลยตั้งปณิธานตั้งแต่เดี๋ยวนั้น
  • 16:27 - 16:34
    ว่าดนตรีคลาสสิกจะต้องมีไว้เพื่อทุกคน ..ทุกๆ คน
  • 16:35 - 16:37
    ทีนี้คุณจะใช้ชีวิตยังไง -- เพราะคุณก็รู้
  • 16:37 - 16:41
    อาชีพของผม อาชีพทางด้านดนตรีไม่ได้มองแบบนี้
  • 16:41 - 16:44
    พวกเขาบอกว่า มีประชากรราว 3% ที่ชื่นชอบดนตรีคลาสสิก
  • 16:44 - 16:48
    ถ้าเราเพิ่มจำนวนเป็น 4% ได้ ปัญหาของเราก็จบ
  • 16:49 - 16:52
    ผมบอกว่า "คุณจะทำตัวยังไง จะพูดจาแบบไหน จะเป็นคนแบบไหน
  • 16:52 - 16:55
    ถ้าคุณคิดว่ามีประชากร 3% ที่ชอบดนตรีคลาสสิก
  • 16:56 - 16:58
    และถ้าเราจะเพิ่มเป็น 4% คุณจะทำตัวยังไง
  • 16:58 - 17:00
    จะพูดจาแบบไหน จะเป็นคนแบบไหน
  • 17:00 - 17:02
    ถ้าคุณคิดว่าคนทุกคนหลงรักดนตรีคลาสสิก --
  • 17:02 - 17:04
    เพียงแต่พวกเขายังไม่รู้จักมัน"
  • 17:04 - 17:05
    (หัวเราะ)
  • 17:05 - 17:07
    เห็นมั้ยครับว่า มันเป็นคนละโลกกันเลย
  • 17:08 - 17:11
    ผมมีประสบการณ์น่าทึ่งอยู่เรื่องนึง ตอนอายุ 45 ปี
  • 17:11 - 17:16
    เวลานั้นผมทำหน้าที่นำวงมา 20 ปีแล้ว และจู่ๆ ผมก็ตระหนักถึงบางสิ่ง
  • 17:17 - 17:20
    ว่าผู้นำวงไม่ได้เป็นคนที่ทำให้เสียงดนตรีเกิดขึ้น
  • 17:20 - 17:22
    มีรูปของผมอยู่ตรงหน้าปกซีดี
  • 17:22 - 17:25
    (หัวเราะ)
  • 17:25 - 17:27
    -- แต่ผู้นำวงไม่ได้เป็นคนทำให้เกิดเสียงขึ้นมา
  • 17:28 - 17:32
    พลังของเขามาจากการที่เขาสามารถทำให้คนอื่นๆ มีพลัง
  • 17:32 - 17:36
    และนั่นคือประสบการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตผม มันเปลี่ยนชีวิตผมไปอย่างสิ้นเชิง
  • 17:37 - 17:38
    คนในวงออเคสตราเข้ามาถามว่า
  • 17:38 - 17:40
    "เบน เกิดอะไรขึ้น" นั่นละคือสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 17:40 - 17:45
    ผมตระหนักว่า หน้าที่ของผมคือการปลุกความเป็นไปได้ในตัวคนอื่นๆ
  • 17:45 - 17:48
    แน่นอนครับ ผมอยากรู้ว่าตัวเองกำลังทำหน้าที่นั้นอยู่หรือเปล่า
  • 17:48 - 17:51
    คุณจะมีวิธีรู้ได้ยังไงรู้มั้ย คุณก็มองตาพวกเขา
  • 17:51 - 17:55
    ถ้าดวงตาของพวกเขาเป็นประกาย คุณก็รู้ได้ว่าตัวเองกำลังทำอยู่
  • 17:56 - 17:57
    คุณปลุกชีวิตคนทั้งกลุ่มได้ด้วยดวงตาของผู้ชายคนนี้
  • 17:57 - 17:59
    (หัวเราะ)
  • 17:59 - 18:01
    เพราะฉะนั้น ถ้าดวงตาเป็นประกาย แสดงว่าคุณกำลังทำหน้าที่นั้นอยู่
  • 18:01 - 18:04
    ถ้าดวงตาไม่เป็นประกาย คุณต้องถามคำถามนึง
  • 18:04 - 18:05
    คำถามนั้นคือ
  • 18:05 - 18:11
    ฉันกำลังเป็นคนแบบไหน ถึงทำให้ดวงตาพวกเขาไม่เป็นประกาย?
  • 18:12 - 18:13
    คุณทำแบบนี้กับลูกๆ ของคุณก็ได้
  • 18:13 - 18:18
    ฉันกำลังเป็นคนแบบไหน ถึงทำให้ดวงตาพวกเขาไม่เป็นประกาย?
  • 18:19 - 18:21
    นั่นจะเป็นโลกที่ต่างไปอย่างสิ้่นเชิง
  • 18:21 - 18:26
    ตอนนี้เรากำลังจะจบสัปดาห์อันแสนวิเศษ หนึ่งสัปดาห์บนภูเขา
  • 18:27 - 18:28
    และกำลังจะหวนคืนสู่โลกปกติ
  • 18:28 - 18:32
    ผมอยากบอกว่า เราสมควรถามคำถามนี้ นั่นคือ
  • 18:32 - 18:37
    "เรากำลังเป็นคนแบบไหนในเวลาที่กลับไปใช้ชีวิตในโลก?"
  • 18:37 - 18:39
    คุณรู้มั้ยว่า ผมมีนิยามของความสำเร็จอยู่อันนึง
  • 18:40 - 18:42
    สำหรับผมมันเรียบง่ายมาก มันไม่ใช่ความร่ำรวย ชื่อเสียง อำนาจ
  • 18:42 - 18:45
    แต่นิยามนั้นคือ มีดวงตาที่เป็นประกายมากแค่ไหนรอบตัวผม
  • 18:46 - 18:49
    ทีนี้ผมอยากฝากความคิดสุดท้าย ซึ่งก็คือ
  • 18:49 - 18:52
    สิ่งที่เราพูดนั้นสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้จริงๆ
  • 18:52 - 18:54
    ถ้อยคำที่ออกมาจากปากของเรา
  • 18:54 - 18:58
    ผมเรียนรู้เรื่องนี้จากหญิงที่รอดชีวิตจากค่ายนาซีเอาชวิตซ์
  • 18:58 - 18:59
    เป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตไม่กี่ราย
  • 18:59 - 19:03
    ตอนที่ถูกส่งตัวไปที่นั่น เธออายุ 15 ปี
  • 19:04 - 19:11
    เธอมีน้องชายอายุ 8 ขวบ ทั้งคู่พลัดหลงจากพ่อแม่
  • 19:11 - 19:16
    เธอเล่าให้ผมฟังว่า
  • 19:16 - 19:19
    "เราอยู่ในขบวนรถไฟที่กำลังไปค่ายเอาชวิทซ์ สายตาฉันมองลงต่ำ
  • 19:19 - 19:21
    เห็นว่ารองเท้าของน้องชายหายไป
  • 19:22 - 19:25
    ฉันเลยพูดว่า "ทำไมแกถึงซื่อบื้ออย่างนี้ ดูแลข้าวของแค่นี้ทำไม่ได้หรือไง
  • 19:25 - 19:26
    ..ให้ตายเถอะว่ะ"
  • 19:26 - 19:30
    -- พูดแบบที่พี่สาวจะพูดกับน้องชาย
  • 19:30 - 19:33
    โชคไม่ดีที่นั่นคือคำพูดสุดท้ายที่เธอได้พูดกับน้อง
  • 19:33 - 19:37
    เพราะเธอไม่มีโอกาสได้พบน้องชายอีก เขาไม่รอดชีวิต
  • 19:37 - 19:39
    หลังจากรอดจากค่ายเอาชวิทซ์ได้ เธอให้ปฏิญาณกับตัวเอง
  • 19:40 - 19:44
    เธอเล่าเรื่องนี้ให้ผมฟัง เธอบอกว่า "ฉันออกมาจากค่ายเอาชวิทซ์ กลับคืนสู่ชีวิต
  • 19:44 - 19:49
    และฉันให้ปฏิญาณกับตัวเอง คำปฏิญาณนั้นคือ ฉันจะไม่พูดอะไร..
  • 19:50 - 19:53
    ..ที่ไม่อาจคงอยู่ในฐานะคำพูดสุดท้ายที่ฉันจะพูดออกไป"
  • 19:53 - 19:57
    ที่นี้พวกเราทำอย่างนั้นได้มั้ย ไม่ได้หรอก ไม่งั้นเราจะทำให้ตัวเองต้องเป็นคนผิด
  • 19:58 - 20:05
    และทำให้คนอื่นเป็นฝ่ายผิด แต่มันเป็นความเป็นไปได้ที่เราจะใช้ชีวิตแบบนั้น ขอบคุณครับ
  • 20:05 - 20:10
    (ปรบมือ)
  • 20:11 - 20:22
    ตาเป็นประกาย ตาเป็นประกาย
  • 20:22 - 20:25
    ขอบคุณครับ ขอบคุณ
  • 20:26 - 20:31
    (ดนตรี)
Title:
เบนจามิน แซนเดอร์ ว่าด้วยดนตรีและไฟปรารถนา
Speaker:
Benjamin Zander
Description:

เบนจามิน แซนเดอร์ มีความหลงใหลที่ส่งผ่านไปยังผู้อื่นได้อยู่สองอย่าง หนึ่งคือดนตรีคลาสสิก และสองคือ การช่วยให้เราทุกคนตระหนักถึงความรักที่เราไม่เคยเข้าถึงมาก่อนต่อดนตรีคลาสสิก -- และที่สืบเนื่องจากนั้นคือ ช่วยให้เราตระหนักถึงความรักที่แฝงอยู่ในตัวเรา ต่อความเป็นไปได้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ และความสัมพันธ์ใหม่ทั้งมวล

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
20:26
Tara de La Mancha added a translation

Thai subtitles

Revisions