< Return to Video

ฟรานซิส คอลลินส์ (Francis Collins): เราต้องการยาที่ดีกว่านี้ -- เดี๋ยวนี้

  • 0:01 - 0:03
    ขอให้ช่วยยกมือหน่อยนะครับ
  • 0:03 - 0:07
    ในที่นี้มีคนกี่คนที่อายุเกิน 48 ปี
  • 0:07 - 0:10
    ดูเหมือนจริงๆจะมีไม่กี่คน
  • 0:10 - 0:12
    ก็ ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
  • 0:12 - 0:16
    เพราะว่าถ้าคุณดูเฉพาะสไลด์แผ่นนี้
    เกี่ยวกับอายุเฉลี่ยของคนในสหรัฐอเมริกา
  • 0:16 - 0:19
    ตอนนี้ คุณอยู่ในส่วนเกินของช่วงอายุเฉลี่ย
  • 0:19 - 0:22
    ของคนที่เกิดในปี 1900
  • 0:22 - 0:25
    แต่เมื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น
    ในช่วงเวลาของศตวรรษนั้น
  • 0:25 - 0:27
    ถ้าคุณดูตามเส้นโค้งนั้น
  • 0:27 - 0:30
    คุณจะเห็นว่ามันเริ่มที่ตรงข้างล่างนั้น
  • 0:30 - 0:32
    มีการลดลงไปตรงนั้น
    จากโรคไข้หวัดใหญ่ ปี 1918
  • 0:32 - 0:35
    และเราอยู่ที่ปี 2010
  • 0:35 - 0:38
    อายุคาดเฉลี่ยของเด็กที่เกิดในวันนี้ คือ 79
  • 0:38 - 0:40
    และเรายังไม่หยุดอยู่แค่นั้น
  • 0:40 - 0:41
    เอาล่ะ นั่นเป็นข่าวดี
  • 0:41 - 0:43
    แต่ก็ยังคงมีงานที่จะต้องทำอีกมาก
  • 0:43 - 0:44
    ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณถามว่า
  • 0:44 - 0:47
    มีสักกี่โรคที่เรารู้
  • 0:47 - 0:49
    ถึงเรื่องโมเลกุลมูลฐานของมัน
  • 0:49 - 0:53
    ผลออกมาว่า เรารู้ราวๆ 4000 ชนิด
    ซึ่งน่าทึ่งอย่างมาก
  • 0:53 - 0:55
    เพราะว่าการค้นพบโมเลกุลพวกนี้ส่วนใหญ่แล้ว
  • 0:55 - 0:58
    เพิ่งจะเกิดขึ้น ไม่นานนี้เอง
  • 0:58 - 1:01
    มันน่าตื่นเต้นที่เห็นว่าเราได้เรียนรู้แค่ไหน
  • 1:01 - 1:03
    แต่ว่า ในจำนวน 4000 โรคนั้น
  • 1:03 - 1:05
    มีกี่โรคที่ทำการรักษาได้ในปัจจุบัน
  • 1:05 - 1:07
    เพียงแค่ราว 250 โรคเท่านั้น
  • 1:07 - 1:10
    ดังนั้น เรามีสิ่งท้าทายที่ใหญ่หลวงมาก
    หรือช่องว่างที่ใหญ่มาก
  • 1:10 - 1:13
    คุณอาจจะคิดว่า
    เรื่องนี้ไม่น่าจะยากหนักหนาอะไร
  • 1:13 - 1:14
    เราน่าจะมีความสามารถ
  • 1:14 - 1:17
    ที่จะเอาข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ ที่เรากำลังเรียนรู้
  • 1:17 - 1:20
    เกี่ยวกับ สิ่งที่ชีววิทยาพื้นฐานสอนเรา
  • 1:20 - 1:22
    เกี่ยวกับสาเหตุของโรค
  • 1:22 - 1:25
    แล้วก็สร้างสะพานเชื่อมช่องที่เปิดกว้างนี้
  • 1:25 - 1:28
    ระหว่างสิ่งที่เราได้เรียนรู้แล้ว
    เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
  • 1:28 - 1:29
    และการนำมันไปประยุกต์ใช้
  • 1:29 - 1:32
    สะพานเชื่อม ที่อาจเหมือนเป็นอย่างนี้
  • 1:32 - 1:36
    ซึ่งคุณจะต้องเอามารวมกันเข้า
    เป็นทางที่เงางามสดใส
  • 1:36 - 1:39
    เพื่อไปจากด้านหนึ่ง สู่อีกด้านหนึ่ง
  • 1:39 - 1:42
    เอาละ มันจะไม่ดีหรอกหรือ ถ้ามันง่ายอย่างนั้น
  • 1:42 - 1:44
    แต่โชคไม่ดี ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
  • 1:44 - 1:46
    ในความเป็นจริง ความพยายามที่จะนำไป
    ความรู้ขั้นพื้นฐาน
  • 1:46 - 1:49
    ไปสู่การใช้งานนั้น
    จะเป็นเหมือนสิ่งนี้มากกว่า
  • 1:49 - 1:51
    มันไม่มีสะพานที่เป็นมันวาววับ
  • 1:51 - 1:52
    มันคล้ายกับว่าคุณวางเดิมพัน
  • 1:52 - 1:54
    คุณอาจจะมี นักว่ายนํ้า และเรือพาย
  • 1:54 - 1:56
    และเรือใบ และเรือลาก
  • 1:56 - 1:58
    แล้วคุณก็ปล่อยไปตามทางของมัน
  • 1:58 - 2:00
    และเมื่อฝนตกลงมา และฟ้าแลบฟ้าผ่า
  • 2:00 - 2:02
    และ โอ้ คุณพระช่วย มีปลาฉลามอยู่ในนํ้าด้วย
  • 2:02 - 2:04
    และ นักว่ายนํ้าก็จะประสบปัญหา
  • 2:04 - 2:05
    และ โอ้ นักว่ายนํ้าจมนํ้าตายไปแล้ว
  • 2:05 - 2:09
    และเรือใบก็ล่มไป
  • 2:09 - 2:10
    และเรือลากนั้น ก็ชนเข้ากับหินโสโครก
  • 2:10 - 2:13
    และ หากว่า ถ้าคุณโชคดี บางคนก็ข้ามไปได้
  • 2:13 - 2:15
    เรื่องนี้จริงๆแล้ว จะเหมือนกับอะไร
  • 2:15 - 2:17
    การเยียวยารักษา ที่จริงแล้วคืออะไรกันแน่
  • 2:17 - 2:20
    ยาคืออะไร
    ยาทำมาจาก
  • 2:20 - 2:22
    โมเลกุลเล็กๆของ ไฮโดรเจน คาร์บอน
  • 2:22 - 2:25
    ออกซิเจน ไนโตรเจน และอะตอมอื่นๆอีกไม่กี่ตัว
  • 2:25 - 2:27
    ทุกอย่างนี้เอามารวมกันเป็นรูปเป็นร่างขึ้น
  • 2:27 - 2:29
    และในรูปร่างเหล่านั้นเอง ที่จริงแล้ว กำหนดว่า
  • 2:29 - 2:33
    ยาชนิดนั้นจะทำงานตรงเป้าประสงค์
  • 2:33 - 2:35
    มันจะตรงลงไป ที่ๆมันควรจะไปหรือไม่
  • 2:35 - 2:38
    เราจึงมาดูรูปภาพนี้กัน
    รูปร่างต่างๆเต้นไปรอบๆให้คุณ
  • 2:38 - 2:40
    เอาละ สิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ
    ถ้าคุณกำลังพยายามจะพัฒนา
  • 2:40 - 2:42
    การรักษาแบบใหม่สำหรับโรคออทิซึม
  • 2:42 - 2:44
    หรือโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคมะเร็ง
  • 2:44 - 2:46
    ก็คือ หารูปร่างที่ถูกต้องในส่วนผสมนั้น
  • 2:46 - 2:49
    ที่ในที่สุด จะให้ประโยชน์ และจะปลอดภัย
  • 2:49 - 2:52
    และเมื่อเราดูว่าอะไรเกิดขึ้น
    ในขั้นตอนการผลิต
  • 2:52 - 2:53
    คุณเริ่มต้น อาจจะด้วยจำนวนมากหลายพัน
  • 2:53 - 2:55
    หลายหมื่น สารประกอบ
  • 2:55 - 2:57
    แล้วคุณก็กำจัดออกไป ผ่านตามขั้นตอนต่างๆ
  • 2:57 - 2:59
    ที่ทำให้เห็นว่าสารประกอบเหล่านี้ไม่ได้ผล
  • 2:59 - 3:02
    ในที่สุด คุณอาจสามารถได้ตัวยาสี่หรือห้าตัว
    มาทำการวิจัยต่อทางคลินิค
  • 3:02 - 3:05
    และถ้าทุกอย่างดำเนินไปได้อย่างดี
    หลังจากคุณได้เริ่มทำมา14 ปี
  • 3:05 - 3:07
    คุณจะได้รับการรับรองยาตัวหนึ่ง
  • 3:07 - 3:09
    และมันจะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นไปถึงพันล้านดอลลาร์
  • 3:09 - 3:11
    สำหรับผลสำเร็จครั้งเดียวนั้น
  • 3:11 - 3:14
    ดังนั้นเราต้องระบบการผลิตนี้
    ในแบบที่วิศวกรพึงกระทำ
  • 3:14 - 3:16
    และบอกว่า "เราจะทำให้ดีกว่าได้อย่าไร"
  • 3:16 - 3:18
    และนั่นเป็นสาระสำคัญ
    ของสิ่งที่ผมต้องการจะพูดในเช้าวันนี้
  • 3:18 - 3:20
    เราจะทำให้เรื่องนี้ไปได้เร็วขึ้นได้อย่างไร
  • 3:20 - 3:23
    เราจะทำให้มันสำเร็จมากกว่านี้ได้อย่างไร
  • 3:23 - 3:25
    เอาละ ผมขอยกตัวอย่างสักสองสามตัวอย่าง
  • 3:25 - 3:27
    ซึ่งทำงานได้จริง
  • 3:27 - 3:30
    ตัวอย่างหนึ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้น
    เมื่อสองสามเดือนที่ผ่านมา
  • 3:30 - 3:33
    ก็คือ การยอมรับความสำเร็จ
    ของยารักษาโรคซิสติค ไฟโบรซิส
  • 3:33 - 3:35
    แต่มันใช้เวลายาวนานมากกว่าจะถึงจุดนั้น
  • 3:35 - 3:40
    โมเลกุลของซิสติก ไฟโบรซิส ที่เป็นเหตุให้เกิดโรค
    ได้ถูกคันพบในปี 1989
  • 3:40 - 3:42
    โดยกลุ่มทำงานของผม กับอีกกลุ่มหนึ่งในกรุงโตรอนโต
  • 3:42 - 3:44
    โดยค้นพบว่า การกลายพันธ์เกิดในยีนตัวหนึ่ง
  • 3:44 - 3:46
    ในโครโทโซม 7
  • 3:46 - 3:48
    ภาพที่คุณเห็นตรงนั้นใช่ไม๊
  • 3:48 - 3:50
    นี่ภาพนี้ เป็นเด็กคนเดียวกัน
  • 3:50 - 3:53
    คือ แดนนี่ เบสเซ็ทท์ เมื่อ 23 ปีต่อจากนั้น
  • 3:53 - 3:55
    เพราะมันเป็นปีนั้น
  • 3:55 - 3:57
    และเป็นปีที่แดนนีแต่งงานด้วย
  • 3:57 - 4:00
    เมื่อเราได้รับ เป็นครั้งแรก
    การยอมรับจากกองควบคุมอาหารและยา
  • 4:00 - 4:04
    ว่าเป็นยาที่เล็งเป้าไปที่ความบกพร่อง
    ที่เกิดจากโรคคริสติก ไฟโบรซิส
  • 4:04 - 4:06
    โดยอยู่บนพื้นฐานของ
    ความเข้าใจเรื่องโมเลกุลนี้ทั้งหมด
  • 4:06 - 4:07
    นั่นเป็นข่าวดี
  • 4:07 - 4:11
    แต่ข่าวร้ายก็คือ ยาตัวนี้จริงๆแล้ว
    ไม่ได้รักษาคริสโต ไฟโบรซิสทุกราย
  • 4:11 - 4:13
    และมันใช้ไม่ได้กับแดนนี่
    และเราก็ยังคงต้องคอย
  • 4:13 - 4:15
    คนรุ่นต่อไปให้มาช่วยเขา
  • 4:15 - 4:19
    แต่มันใช้เวลา 23 ปี จึงมาได้ไกลแค่นี้
    มันนานเกินไป
  • 4:19 - 4:20
    เราจะไปให้เร็วกว่านี้ได้อย่างไร
  • 4:20 - 4:23
    เอาละ วิธีการหนึ่งที่จะไปให้เร็วขึ้น ก็คือ
    ใช้ข้อได้เปรียบทางเทคโนโลยี
  • 4:23 - 4:26
    และเทคโนโลยีที่สำคัญมาก
    ที่เราต้องพึ่งพามัน
  • 4:26 - 4:28
    ในทุกๆอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ
    จีโนมของมนุษย์
  • 4:28 - 4:30
    นั่นก็คือ ความสามารถที่จะดูที่โครโมโซม
  • 4:30 - 4:33
    เพื่อเปิดมัน เพื่อดึงเอาดีเอ็นเอ ออกมา
  • 4:33 - 4:36
    ให้สามารถอ่านรหัสของ ดีเอ็นเอ นั้นได้
  • 4:36 - 4:38
    ได้แก่ รหัส เอ, ซี, จี และ ที
  • 4:38 - 4:41
    ที่เป็นคู่มือบอกลักษณะเซลล์ของเรา
    และของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
  • 4:41 - 4:43
    และค่าใช้จ่ายในการทำงานนี้
  • 4:43 - 4:46
    ซึ่งเคยเป็นแพงหลักหลายร้อยล้านดอลลาร์
  • 4:46 - 4:48
    ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
  • 4:48 - 4:50
    ได้ตกลงมาเร็วกว่ากฎของมอร์ (Moore's Law)
    ตํ่าลงจนถึงจุด
  • 4:50 - 4:54
    ที่น้อยกว่า 10,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน
    ในการจะเรียงลำดับจีโนมของคุณ หรือของผม
  • 4:54 - 4:58
    และเรามุ่งไปสู่ราคา 1,000 ดอลลาร์ในเร็ววันนี้
  • 4:58 - 4:59
    น่าตื่นเต้นนะครับ
  • 4:59 - 5:03
    เรื่องนี้จะออกมาอย่างไร
    ในแง่ของการนำไปใช้กับเรื่องของโรคภัย
  • 5:03 - 5:05
    ผมต้องการบอกคุณเกี่ยวกับ
    โรคความบกพร่องอีกโรคหนึ่ง
  • 5:05 - 5:07
    โรคนี้เป็นความบกพร่องที่พบค่อนข้างยาก
  • 5:07 - 5:10
    เรียกว่า โรคชราในเด็ก
    (Hutchinson-Gilford progeria)
  • 5:10 - 5:14
    เป็นรูปแบบที่รุนแรงที่สุด
    ของการแก่ก่อนวัย
  • 5:14 - 5:17
    เด็กแค่เพียงหนึ่งในสี่ล้านคนเป็นโรคนี้
  • 5:17 - 5:21
    พูดแบบธรรมดา สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
  • 5:21 - 5:23
    เพราะมีการกลายพันธุ์ของยีนเฉพาะตัวหนึ่ง
  • 5:23 - 5:26
    โปรตีนตัวหนึ่งจึงถูกสร้างขึ้น ซึ่งเป็นพิษกับเซลล์ตัวนั้น
  • 5:26 - 5:28
    และมันเป็นสาเหตุให้คนๆนั้นแก่ลง
  • 5:28 - 5:31
    ไปราวเจ็ดเท่าของอายุปกติ
  • 5:31 - 5:34
    ผมขอให้ดูวีดีโอ
    ที่แสดงให้เห็นว่ามันทำอะไรกับเซลล์นั้น
  • 5:34 - 5:37
    ในเซลล์ปกติ ถ้าคุณใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู
  • 5:37 - 5:40
    จะมีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางของเซลล์
  • 5:40 - 5:44
    ซึ่งดูดี กลม และเรียบ อยู่ในขอบเขตของมัน
  • 5:44 - 5:46
    ดูเหมือนกับแบบนี้
  • 5:46 - 5:48
    แต่เซลล์ของโรคชรา จะกลับกัน
  • 5:48 - 5:51
    เพราะว่าโปรตีนที่เป็นพิษนี้ ซึ่งเรียกว่า โพรจีริน (progerin)
  • 5:51 - 5:53
    ทำให้เซลล์มีก้อนตะปุ่มตะปํ่า
  • 5:53 - 5:56
    ดังนั้นสิ่งที่เราอยากจะทำหลังการค้นพบนี้
  • 5:56 - 5:58
    ย้อนหลังไปเมื่อปี 2003
  • 5:58 - 6:01
    คือ การหาวิธีการที่จะพยายามแก้ไขสิ่งนั้น
  • 6:01 - 6:04
    ก็อีกนั่นแหละ
    เมื่อเรารู้เกี่ยวกับวีถีของโมเลกุล (molecular pathways)
  • 6:04 - 6:06
    ก็เป็นไปได้ที่จะหยิบเอา
  • 6:06 - 6:09
    สารประกอบตัวหนึ่งในหลายๆตัวนั้น
    ที่อาจจะใช้ประโยชน์ได้
  • 6:09 - 6:10
    และเอามาทดลอง
  • 6:10 - 6:13
    ในการทดลองเพาะเลี้ยงเซลล์
  • 6:13 - 6:15
    ที่แสดงในรูปการ์ตูนที่เห็นนี้
  • 6:15 - 6:18
    ถ้าคุณเอาสารประกอบตัวนั้นมา
  • 6:18 - 6:21
    แล้วเติมมันลงไปในเซลล์ที่มีโรคโพรจีเรีย
  • 6:21 - 6:23
    และเฝ้าดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น
  • 6:23 - 6:26
    ภายในแค่ 72 ชั่วโมง
  • 6:26 - 6:28
    ด้วยจุดประสงค์ทั้งหมดที่เราสามารถกำหนดวัดได้
  • 6:28 - 6:30
    เซลล์เกือบจะเหมือนเซลล์ปกติ
  • 6:30 - 6:34
    เอาล่ะ น่าตื่นเต้นนะครับ
    แต่มันจะได้ผลจริงในคนจริงๆหรือไม่
  • 6:34 - 6:38
    ในแค่เพียงสี่ปี
  • 6:38 - 6:41
    จากเมื่อยีนตัวนั้นได้ถูกค้นพบ
    จนถึงเมื่อเริ่มการทดลองทางคลินิค
  • 6:41 - 6:44
    เพื่อการทดสอบสารประกอบตัวนั้น
  • 6:44 - 6:45
    และเด็กๆที่คุณเห็นตรงนี้
  • 6:45 - 6:48
    ทุกคนสมัครมาเป็นส่วนหนึ่งของการทดลอง
  • 6:48 - 6:49
    ทั้งหมดมี 28 คน
  • 6:49 - 6:53
    และคุณก็จะเห็นได้เมื่อมีภาพออกมา
  • 6:53 - 6:56
    ว่าความจริงแล้ว พวกเขาเป็นคนหนุ่มสาวที่น่าทึ่ง
  • 6:56 - 6:57
    ทุกคนทุกข์ทรมานจากโรคนี้
  • 6:57 - 7:00
    ทุกคนดูเหมือนๆกันไปหมด
  • 7:00 - 7:01
    และแทนที่จะบอกเล่าให้คุณฟังมากกว่านี้
  • 7:01 - 7:05
    ผมจะเชิญหนึ่งในพวกเขาเหล่านั้นขึ้นมา
    แซม เบรินส์ จาก บอสตัน
  • 7:05 - 7:08
    มาที่นี่เมื่อเช้านี้ เพื่อขึ้นมาบนเวที
  • 7:08 - 7:10
    และเล่าประสบการณ์ของเขา
  • 7:10 - 7:12
    ในฐานะเป็นเด็กที่ป่วยเป็นโรคชรา
  • 7:12 - 7:16
    แซมอายุ 15 ปี
    พ่อแม่ของเขา คุณสกอตต์ เบิร์น และ เลสลี่ กอร์ดอน
  • 7:16 - 7:18
    ทั้งคู่เป็นแพทย์ อยู่ที่นี่กับเราด้วยเช้านี้
  • 7:18 - 7:21
    แซม เชิญครับ
  • 7:21 - 7:28
    (เสียงปรบมือ)
  • 7:28 - 7:30
    เอาละ แซม ช่วยเล่าให้ฟัง
  • 7:30 - 7:33
    ว่าเป็นอย่างไร ที่ต้องเป็นโรค
    ที่มีอาการ ที่เรียกว่า โพรจีเรีย
  • 7:33 - 7:37
    แซม เบิร์น: โพรจีเรียจำกัดผมในเรื่องบางอย่าง
  • 7:37 - 7:41
    ผมไม่สามารถเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมทางกายภาพ
  • 7:41 - 7:44
    แต่ผมสามารถให้ความสนใจในบางสิ่ง
  • 7:44 - 7:47
    ที่โพรจีเรีย ไม่ได้จำกัดผม
  • 7:47 - 7:50
    แต่ก็เมื่อมีบางสิ่งบางอย่าง
    ที่ผมต้องการทำจริงๆ
  • 7:50 - 7:53
    ที่โพรจีเรียมากีดกั้นผม อย่างเช่น เล่นดนตรีกับโยธวาทิต
  • 7:53 - 7:56
    หรือ เป็นกรรมการผู้ตัดสิน
    เราก็จะหาทางทำจนได้นั่นแหละ
  • 7:56 - 8:00
    และนั่นก็แสดงว่า
    โพรจีเรียไม่ได้ควบคุมสั่งการชีวิตของผม
  • 8:00 - 8:02
    (เสียงปรบมือ)
  • 8:02 - 8:04
    ฟรานซิส คอลลินส์: คุณอยากจะพูดอะไรกับนักวิจัย
  • 8:04 - 8:07
    ที่นี่ ในห้องบรรยายนี้ และคนอื่นๆที่กำลังฟังอยู่ครับ
  • 8:07 - 8:09
    คุณอยากจะบอกอะไรเขาบ้าง
    ทั้งที่เกี่ยวกับงานวิจัย และโรคโพรจีเรีย
  • 8:09 - 8:11
    และอาจจะเป็นการเจ็บป่วยอื่นๆด้วยก็ได้
  • 8:11 - 8:14
    แซม: การวิจัยเกี่ยวกับโรคโพรจีเรีย
    ไปได้ไกลมากแล้ว
  • 8:14 - 8:17
    ในเวลาน้อยกว่า 15 ปี
  • 8:17 - 8:21
    และนั่นแสดงให้เห็นว่า นักวิจัยสามารถ
  • 8:21 - 8:24
    มาได้ไกลถึงเพียงนี้
    และมันมีความหมายอย่างมากจริงๆ
  • 8:24 - 8:28
    ต่อตัวผมเอง
    และเด็กคนอื่นๆที่เป็นโรคโพจีเรีย
  • 8:28 - 8:30
    และยังแสดงให้เห็นว่าแรงกระตุ้นมีอยู่จริง
  • 8:30 - 8:33
    ใครๆก็สามารถรักษาโรคไหนๆก็ได้
  • 8:33 - 8:37
    และหวังว่าโรคโพจีเรียจะสามารถรักษาได้
    ในอนาคตอันใกล้นี้
  • 8:37 - 8:41
    ดังนั้นเราจึงสามารถกำจัดโรคทั้ง 4,000 โรค
  • 8:41 - 8:44
    ที่ฟรานซิสได้พูดถึง
  • 8:44 - 8:47
    ฟรานซิส: วันนี้ แซมจึงลาโรงเรียนมา
  • 8:47 - 8:52
    เพื่อมาที่นี่ และเขา (เสียงปรบมือ)
  • 8:52 - 8:57
    เขาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปลายปีที่หนึ่ง
    ที่คะแนน เอบวก ทุกวิชา
  • 8:57 - 8:58
    ในโรงเรียนของเขาในบอสตัน
  • 8:58 - 9:00
    กรุณาขอบคุณและต้อนรับแซมร่วมกับผมด้วยครับ
  • 9:00 - 9:04
    แซม: ขอบคุณมากครับ
    ฟรานซิส: ดีมาก ดีมากครับเพื่อนรัก
  • 9:04 - 9:16
    (เสียงปรบมือ)
  • 9:17 - 9:19
    ผมต้องการจะพูดถึงอีกสองเรื่อง
  • 9:19 - 9:22
    เกี่ยวกับ เรื่องๆนั้น แล้วก็จะพยายามสรุป
  • 9:22 - 9:24
    ว่าเราจะมีเรื่องราวของความสำเร็จได้อย่างไร
  • 9:24 - 9:28
    สำหรับโรคต่างๆเหล่านี้
    เหมือนกับที่แซมบอก
  • 9:28 - 9:30
    โรค 4,000 โรคกำลังคอยคำตอบ
  • 9:30 - 9:32
    คุณอาจจะสังเกตได้ว่าตัวยา
  • 9:32 - 9:35
    ที่ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการวิจัยทางคลินิค
    สำหรับโรคโพจีเรียนั้น
  • 9:35 - 9:37
    ไม่ได้เป็นยาที่ทำขึ้นมาเพื่อโรคนี้
  • 9:37 - 9:40
    มันเป็นโรคที่เกิดได้น้อยมากเสียจน
    มันยากที่บริษัทยา
  • 9:40 - 9:43
    จะถือเป็นเหตุ ให้ใช้เงินหลายร้อยล้านดอลลาร์
    เพื่อผลิตยาออกมา
  • 9:43 - 9:45
    ยานี้เป็นยาที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับโรคมะเร็ง
  • 9:45 - 9:48
    กลับกลายเป็นว่า
    มันไม่ได้รักษามะเร็งได้อย่างดีมาก
  • 9:48 - 9:50
    แต่มันมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง มีรูปร่างที่ถูกต้อง
  • 9:50 - 9:53
    ที่จะใช้กับโรคเพอจีเรียได้
    และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 9:53 - 9:56
    มันจะไม่ยิ่งใหญ่หรือ
    ถ้าเราจะทำให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น
  • 9:56 - 10:00
    ตามจริงแล้ว เราจะสนับสนุนทุกบริษัท
    ที่อยู่ข้างนอกตรงนั้นได้ไหม
  • 10:00 - 10:02
    ที่มียาในช่องแช่แข็ง
  • 10:02 - 10:04
    ที่ทราบกันดีว่าปลอดภัยสำหรับมนุษย์
  • 10:04 - 10:06
    แต่จริงๆแล้ว ไม่เคยประสบความสำเร็จในแง่ของ
  • 10:06 - 10:09
    ประสิทธิภาพในการรักษาโรค
    ที่พวกเขาพยายามจะรักษา
  • 10:09 - 10:11
    ปัจจุบันนี้ เรากำลังเรียนรู้
    เกี่ยวกับวีถึของโมเลกุลใหม่ๆเหล่านี้
  • 10:11 - 10:14
    โมเลกุลบางตัวอาจนำมาใช้ในสภาวะใหม่
    หรือ ในจุดประสงค์ใหม่
  • 10:14 - 10:17
    หรือจะใช้ทำอะไรก็ได้ที่คุณต้องการ
    เพื่อการนำมาประยุกต์ใช้ใหม่
  • 10:17 - 10:20
    โดยหลักการก็คือ สอนกลวิธีใหม่ให้ยาตัวเก่าซะ
  • 10:20 - 10:23
    นั่นแหละจะเป็นการกระทำที่มีค่า และยอดเยี่ยม
  • 10:23 - 10:26
    เราได้อภิปรายกันมามาก
    ระหว่างสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) และบริษัทยา
  • 10:26 - 10:28
    เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งดูจะมีหวังอย่างมาก
  • 10:28 - 10:30
    น่าจะคาดหวังได้ว่า
    จะมีสิ่งเกิดขึ้นตามมามากมายทีเดียว
  • 10:30 - 10:33
    มีเรื่องที่สำเร็จหลายเรื่องทีเดียว
    ที่เราระบุได้
  • 10:33 - 10:36
    เกี่ยวกับว่า เรื่องนี้ได้นำไปสู่
    ความก้าวหน้าที่สำคัญได้อย่างไร
  • 10:36 - 10:38
    ยาตัวแรกสำหรับเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์
  • 10:38 - 10:40
    เป็นยาที่ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อรักษาเอดส์
  • 10:40 - 10:42
    แต่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อโรคมะเร็ง คือยา เอซีที (AZT)
  • 10:42 - 10:44
    มันใช้งานได้ไม่ดีนักกับโรคมะเร็ง แต่กลับกลายเป็น
  • 10:44 - 10:46
    ยาต้านเรทโทรไวรัสตัวแรกที่ประสบความสำเร็จ
  • 10:46 - 10:49
    และคุณสามารถเห็นได้จากตารางว่า
    มีตัวอื่นๆด้วยเช่นกัน
  • 10:49 - 10:52
    ดังนั้นเราจะทำอย่างไร จึงจะทำให้สิ่งนั้น
    เป็นความพยายามที่เกิดขึ้นได้จริงโดยทั่วไป
  • 10:52 - 10:55
    เราต้องหาหุ้นส่วน
  • 10:55 - 10:58
    ระหว่างกลุ่มนักวิชาการ รัฐบาล และภาคเอกชน
  • 10:58 - 11:00
    และองค์การต่างๆของผู้ป่วย
    เพื่อที่จะทำสิ่งนั้น
  • 11:00 - 11:02
    ที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ
    เราได้เริ่มศูนย์กลางระดับชาติใหม่ขึ้น
  • 11:02 - 11:05
    เพื่อเร่งเรื่องการวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ให้รุดหน้าไปยิ่งขึ้น
  • 11:05 - 11:08
    มันเพิ่งจะเริ่มเมื่อธันวาคมที่แล้วนี้
    และนี่คือจุดประสงค์หนึ่งของโครงการ
  • 11:08 - 11:10
    ผมขอบอกคุณอีกเรื่องหนึ่งที่เราทำได้
  • 11:10 - 11:13
    จะไม่ดีหรือ ถ้าเราสามารถทดสอบยา
  • 11:13 - 11:15
    เพื่อจะดูซิว่า มันมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
  • 11:15 - 11:17
    โดยไม่ต้องให้คนป่วยต้องเสี่่ยง
  • 11:17 - 11:20
    เพราะว่า ครั้งแรกคุณจะไม่แน่ใจเลย
  • 11:20 - 11:22
    ตัวอย่างเช่น เราจะรู้ได้อย่างไร ว่ายานั้นปลอดภัย
  • 11:22 - 11:25
    ก่อนที่เราจะใช้ยานั้นกับคน เราทดลองยานั้นกับสัตว์
  • 11:25 - 11:28
    และมันก็ไม่ได้เชื่อมั่นได้ทั้งหมด
    และมันก็มีค่าใช้จ่ายสูง
  • 11:28 - 11:30
    และก็ใช้เวลามาก
  • 11:30 - 11:32
    สมมุติว่า เราจะลองทำเรื่องนี้
    กับเซลล์ของมนุษย์แทน
  • 11:32 - 11:35
    คุณอาจจะทราบ ถ้าคุณให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง
  • 11:35 - 11:36
    กับงานเขียนทางวิทยาศาสตร์
  • 11:36 - 11:38
    ว่าตอนนี้คุณสามารถเอาเซลล์ของผิวหนังมา
  • 11:38 - 11:41
    และกระตุ้นมันให้กลายเป็นเซลล์ของตับ
  • 11:41 - 11:44
    หรือเซลล์ของหัวใจ หรือเซลล์ของไต หรือเซลล์สมอง
    สำหรับพวกเราคนไหนก็ได้
  • 11:44 - 11:47
    ดังนั้นจะเป็นอะไรไปเล่า
    ถ้าหากคุณจะเอาเซลล์พวกนั้นมาใช้ทดสอบ
  • 11:47 - 11:50
    เพื่อดูว่ายาตัวๆหนึ่งจะใช้ได้ผลหรือไม่
    และมันจะปลอดภัยหรือไม่
  • 11:50 - 11:54
    ที่คุณเห็นอยู่นี่ เป็นภาพของปอดใช้เทคนิค lung-on-a-chip
  • 11:54 - 11:57
    เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยสถาบันวิสส์ (Wyss Institute)
    ในบอสตัน
  • 11:57 - 12:01
    ถ้าคุณเปิดวีดีโอนี้
    ที่พวกเขาได้ทำ
  • 12:01 - 12:03
    ก็คือ เอาเซลล์จากบุคคลคนหนึ่งมา
  • 12:03 - 12:06
    เปลี่ยนเซลล์เหล่านั้นให้เป็น
    เซลล์ที่อยู่ในปอด
  • 12:06 - 12:08
    และกำหนดว่าอะไรจะเกิดขึ้น
  • 12:08 - 12:11
    เช่น คุณเติมสารประกอบในตัวยานี้
  • 12:11 - 12:13
    เพื่อดูว่ามันจะเป็นพิษหรือปลอดภัย
  • 12:13 - 12:16
    คุณจะเห็นได้ว่า ชิปเล็กๆนี้หายใจก็ได้
  • 12:16 - 12:18
    มันมีช่องอากาศ มันมีระบบหลอดเลือด
  • 12:18 - 12:20
    และมันก็มีเซลล์อยู่ระหว่างกลาง
  • 12:20 - 12:22
    ที่ทำให้คุณเห็นว่าอะไรเกิดขึ้น
    เมื่อคุณเติมสารประกอบลงไป
  • 12:22 - 12:24
    เซลล์พวกนั้นสบายดีหรือไม่
  • 12:24 - 12:27
    คุณสามารถทำเทคโนโลยีชิปแบบนี้ได้
  • 12:27 - 12:29
    กับไต หรือกับหัวใจ หรือกับกล้ามเนื้อ
  • 12:29 - 12:32
    ในทุกๆที่ๆคุณต้องการ เพื่อจะดูว่ายาตัวนั้น
  • 12:32 - 12:34
    จะทำให้เกิดปัญหา กับตับหรือไม่
  • 12:34 - 12:37
    และท้ายที่สุด เพราะว่าคุณทำสิ่งนี้ได้เป็นรายบุคคล
  • 12:37 - 12:39
    เราอาจจะเห็นพัฒนาไปถึงจุดที่ว่า
  • 12:39 - 12:43
    ความสามารถในการพัฒนาและทดสอบยา
  • 12:43 - 12:46
    จะเป็นการทดสอบชิ้นส่วนเล็กๆของคุณบนชิป
    สิ่งที่เรากำลังพยายามพูดตรงนี้ก็คือ
  • 12:46 - 12:49
    การทำให้มีกระบวนการพัฒนายาขึ้นมาเพื่อแต่ละบุคคล
  • 12:49 - 12:52
    และของการทดสอบเรื่องความปลอดภัยของยาต่อแต่ละบุคคล
  • 12:52 - 12:53
    ดังนั้น ขอให้ผมสรุป
  • 12:53 - 12:56
    เราอยู่ในช่วงเวลาที่น่าทึ่ง
  • 12:56 - 12:58
    สำหรับผม ที่อยู่ที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ
    มาเกือบ 20 ปี
  • 12:58 - 13:00
    ไม่เคยมีเวลาใด ที่มีความตื่นเต้นมากกว่านี้
  • 13:00 - 13:03
    ในเรื่องของศักยภาพที่วางอยู่ตรงหน้าของเรา
  • 13:03 - 13:05
    เราได้ทำให้การค้นพบเรื่องทั้งหมดนี้
  • 13:05 - 13:07
    หลั่งไหลออกมาจากห้องทดลองทั่วโลก
  • 13:07 - 13:10
    เราต้องทำอะไรเพื่อใช้ประโยชน์นี้ให้เต็มที่
    อันดับแรก เราต้องการกำลังเงิน
  • 13:10 - 13:14
    นี่เป็นการวิจัยที่มีความเสี่ยงสูง
    บางครั้งก็ค่าใช้จ่ายก็สูง
  • 13:14 - 13:16
    ผลที่ตามมาใหญ่โตมโหฬาร
    ทั้งในแง่ของสุขภาพ
  • 13:16 - 13:19
    และในแง่ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
    เราจะต้องให้การสนับสนุน
  • 13:19 - 13:21
    ประการที่สอง เราจำต้องมีการร่วมมือกันแบบใหม่
  • 13:21 - 13:23
    ระหว่างกลุ่มนักวิชาการ และรัฐบาล และภาคเอกชน
  • 13:23 - 13:27
    และองค์กรต่างๆของผู้ป่วย
    เหมือนกับที่ผมได้บรรยายมาแล้วตรงนี้
  • 13:27 - 13:30
    ในแง่ของวิธีการที่เราจะเดินไปได้
    หลังจากได้ปรับจุดประสงค์ของสารประกอบตัวใหม่แล้ว
  • 13:30 - 13:33
    และประการที่สาม ซึ่งอาจจะสำคัญที่สุดก็ได้
    เราต้องการผู้มีพรสวรรค์
  • 13:33 - 13:36
    เราต้องการผู้ที่ดีที่สุด และฉลาดที่สุด
  • 13:36 - 13:38
    จากสาขาวิชาต่างๆมากมาย
    เพื่อมาร่วมกันในงานที่ยากลำบากนี้
  • 13:38 - 13:41
    ทุกๆวัย และทุกๆกลุ่มที่แตกต่างกัน
  • 13:41 - 13:43
    เพื่อนๆทั้งหลายครับ เพราะว่า
  • 13:43 - 13:47
    นี่เป็นชีววิทยาในศตวรรษที่ 21 ที่คุณรอคอย
  • 13:47 - 13:49
    และเรามีโอกาสที่จะได้มันมา
  • 13:49 - 13:52
    และเปลี่ยนมันมาเป็นสิ่งที่
  • 13:52 - 13:54
    จะชนะโรคภัยต่างๆ
    นั่นคือเป้าหมายของผม
  • 13:54 - 13:56
    ผมหวังว่า นั่นก็คือเป้าหมายของคุณ
  • 13:56 - 13:58
    ผมคิดว่า มันจะเป็นเป้าหมายของนักกวี และคนโง่
  • 13:58 - 14:00
    และนักเล่นกระดานโต้คลื่น และนักการธนาคาร
  • 14:00 - 14:03
    และคนอื่นๆทั้งหมด ที่ร่วมกันในช่วงนี้
  • 14:03 - 14:05
    ผมคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ เรากำลังพยายามทำอยู่ตรงนี้
  • 14:05 - 14:06
    และทำไมมันจึงเป็นเรื่องสำคัญ
  • 14:06 - 14:08
    ขณะนี้มันเป็นเรื่องสำคัญ
    มันเป็นเรื่องสำคัญในเร็ววันนี้
  • 14:08 - 14:12
    ถ้าคุณไม่เชื่อผม ก็แค่ถามแซมดู
  • 14:12 - 14:13
    ขอบคุณทุกท่านอย่างมากครับ
  • 14:13 - 14:18
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ฟรานซิส คอลลินส์ (Francis Collins): เราต้องการยาที่ดีกว่านี้ -- เดี๋ยวนี้
Speaker:
Francis Collins
Description:

ปัจจุบันนี้ เรารู้จักโมเลกุลที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ 4,000 โรค แต่การรักษามีอยู่เพียงสำหรับ 250 โรคเท่านั้น ทำไมจึงใช้เวลายาวนานนัก
ฟรานซิส คอลลินส์ นักพันธุศาสตร์และแพทย์ อธิบายว่าทำไมการค้นพบตัวยาอย่างเป็นระบบ จึงจำเป็น แม้กระทั่งโรคที่พบได้ยาก และซับซ้อน และเสนอวิธีการแก้ปัญหาสองสามประการ -- ตัวอย่างเช่น สอนกลยุทธ์ให้กับตัวยาเก่าๆที่มีอยู่แล้ว เพื่อใช้รักษาโรคใหม่ๆได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:40
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for We need better drugs -- now
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for We need better drugs -- now
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for We need better drugs -- now
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for We need better drugs -- now
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for We need better drugs -- now
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for We need better drugs -- now
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for We need better drugs -- now
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for We need better drugs -- now
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions