-
สมมุติว่าคุณเป็นวิศวกรด้านจราจร และสิ่งที่
-
คุณพยายามหาคือว่า มีรถผ่านจุดจุดหนึ่ง
-
บนถนน ที่เวลาหนึ่งๆ กี่คัน?
-
แล้วคุณอยาหาว่าความน่าจะเป็นที่
-
รถผ่าน 100 คัน หรือ 5 คันผ่านไปในหนึ่งชั่วโมงนั้นเป็นเท่าไหร่
-
จุดเริ่มต้นที่ดี คือกำหนดตัวแปรสุ่ม
-
ซึ่งแทนสิ่งที่คุณสนใจ
-
สมมุติว่าจำนวนรถที่ผ่านในช่วง
-
เวลาหนึ่ง, สมมุติว่า, ในหนึ่งชั่วโมง
-
เป้าหมายคุณคือหาการกระจายตัวของความน่าจะเป็น
-
ของตัวแปรสุ่มนี้ แล้วเมื่อคุณรู้การกระจายตัว
-
ของความน่าจะเป็น คุณก็สามารถหาได้ว่า
-
ความน่าจะเป็นที่รถ 100 คันจะผ่านไปในหนึ่งชั่วโมง หรือความน่าจะเป็น
-
ที่ไม่มีรถผ่านไปในหนึ่งชั่วโมง แล้วก็คุณหยุดไม่ได้แล้ว
-
และผมขอบอกไว้ก่อน, เพื่อให้วิดีโอนี้
-
ไปต่อได้, เราต้องตั้งสมมุติฐานสองข้อ เพราะเรากำลัง
-
ศึกษาการกระจายตัวแบบปัวซอง (Poisson distribution)
-
และเพื่อศึกษามัน เราต้องสมมุติ
-
สองอย่าง:
-
ชั่วโมงใดๆ ณ จุดนี้ตรงถนน ไม่ต่างจาก
-
ชั่วโมงอื่นๆ
-
และเรารู้ว่ามันไม่จริง
-
ในชั่วโมงเร่งด่วน ในสถานการณ์จริง คุณอาจ
-
มีรถมากกว่าชั่วโมงเร่งด่วนอื่น
-
และคุณก็รู้, ถ้าคุณอยากให้มันเป็นจริงกว่านี้ บางทีเรา
-
อาจต้องคิดเป็นเรายวัน เพราะในหนึ่งวัน ที่เวลาใดๆ --
-
ที่จริงมันไม่ใช่
-
ผมไม่ควรใช้วัน
-
เราต้องสมมุติว่าทุกชั่วโมงนั้นเหมือนกันหมด
-
เหมือนกับชั่วโมงอื่น และที่จริงแล้ว, แม้แต่ในชั่วโมงนั้น
-
มันไม่มีความแตกต่างระหว่างวินาทีหนึ่งกับวินาทีอื่น
-
แง่ของความน่าจะเป็นที่มีรถมา
-
มันเป็นข้อสมมุติให้ง่าย ซึ่ง
-
อาจไม่เป็นจริงสำหรับการจราจร แต่ผมว่าเรา
-
สามารถสมมุติได้
-
แล้วข้อสมมุติอีกอย่างที่เราต้องทำคือว่า
-
ถ้ามีรถผ่านไปในชั่วโมงหนึ่งแล้ว มันไม่ได้หมายความว่า
-
จะมีรถผ่านน้อบลงในชั่วโมงต่อไป
-
คือ ไม่มีทางที่จำนวนรถที่ผ่านไปในช่วงเวลาหนึ่ง
-
จะมีผล หรือเกี่ยวข้อง มีอิทธิพลต่อจำนวนรถ
-
ที่ผ่านในชั่วโมงต่อไป
-
มันเป็นอิสระจากกันหมด
-
เมื่อกำหนดอย่างนั้น, อย่างน้อยเราสามารถ
-
ลองใช้ทักษะจำลองการกระจายตัวขึ้นมาได้
-
อย่างแรกที่คุณทำ และผมแนะนำให้คุณ
-
สำหรับการกระจายตัวใดๆ คือว่า เราสามารถคาดการณ์ค่าเฉลี่ยได้
-
ลองนั่งคิดดู แล้ววัดว่าตัวแปรนี้ กระจายตัว
-
ไปหลายชั่วดมง แล้วเฉลี่ยมันเข้า, นั่นก็คือ
-
ค่าประมาณของค่าเฉลี่ยจริง
-
ตามประชากรของเรา
-
หรือเนื่องจากมันคือตัวแปรสุ่ม, มันจะประมาณค่าคาดหวัง
-
ของตัวแปรสุ่มนี้
-
สมมุติว่าคุณทำอย่างนั้น แล้วค่าประมาณที่ดี
-
ที่สุดของค่าคาดหวังสำหรับตัวแปรนี้ -- ผมจะใช้
-
ตัวอักษรแลมดานะ
-
คุณก็รู้, นี่อาจเป็น 9 คันต่อชั่วโมง
-
คุณนั่งนับไป -- มันเป็น 9.3 ต่อชั่วโมง
-
คุณนั่งตรงนี้เป็น 100 ชั่วโมง แล้วคุณก็นับ
-
จำนวนรถในแต่ละชั่วโมง แล้วคุณเฉลี่ยพวกมันเข้า
-
คุณบอกว่า, โดยเฉลี่ยแล้ว, มันมีรถผ่าน 9.3 คันต่อชั่วโมง และคุณ
-
รู้สึกว่ามันเป็นค่าที่ดี
-
นั่นคือสิ่งที่คุณมีตรงนี้
-
แล้วลงดูว่าเราทำอะไรได้อีก
-
เรารู้จักการกระจายตัวแบบทวินาม
-
กระจายตัวแบบทวินามบอกเราว่า ค่าคาดหวังของ
-
ตัวแปรสุ่ม เท่ากับจำนวนครั้งของสิ่งที่สร้าง
-
ตัวแปรสุ่มนั้นขึ้นมา, จริงไหม?
-
ก่อนหน้านี้, ในวิดีโอที่แล้ว, เรานับจำนวนหัว
-
ในการโยนเหรียญ
-
นีก็คือจำนวนครั้งที่โยนเหรียญ, คูณ
-
ความน่าจะเป็นที่จะสำเร็จในการโยนแต่ละครั้ง
-
นี่คือสิ่งที่เราทำในการกระจายตัวแบบทวินาม
-
บางทีเราอาจใช้แบบจำลองคล้ายกัน
-
ในเรื่องจราจรนี้ก็ได้
-
นี่คือจำนวนรถที่ผ่านในชั่วโมงหนึ่ง
-
บางทีเราอาจบอกว่ารถ แลมดาคัน ต่อชั่วโมง
-
เท่ากับ -- ไม่รู้สิ
-
สมมุติว่าการทดลองแต่ละครั้ง หรือการโยนเหรียญแต่ลครั้ง เหมือนกับ
-
การที่เราคันหนึ่งจะผ่านมาในแต่ละนาทีหรือไม่
-
มันมี 60 นาทีต่อชั่วดมง, มันจึงมี
-
การทดลอง 60 ครั้ง
-
แล้ว, ความน่าจะเป็นที่เราได้ผลสำเร็จใน
-
แต่ละครั้งที่ทดลอง, ถ้าเราจำลองว่ามันเป็นการกระจายตัว
-
แบบทวินาม เราจะได้ แลมดา ส่วน 60 คันต่อนาที
-
นี่ก็คือความน่าจะเป็น
-
นี่ก็คือ n, แล้วนี่คือความน่าจะเป็น, ถ้าเราบอกว่า
-
นี่คือการกระจายตัวแบบทวินาม
-
นี่อาจไม่ใช่การประมาณที่แย่เท่าไหร่
-
ถ้าคุณบอกว่า, โอ้, นี่คือการกระจายตัวแบบ
-
ทวินาม, งั้นความน่าจะเป็นที่ตัวแปรสุ่ม
-
ของเราเท่ากับค่าที่กำหนด, k
-
คุณก็รู้, ความน่าจะเป็นที่มีรถ 3 คัน, มีรถ 3 คันผ่าน
-
ในหนึ่งชั่วโมงพอดี, เราจะได้ เท่ากับ n
-
n คือ 60
-
เลือก k, คุณก็รู้, เรามีรถ 3 คัน
-
คูณความน่าจะเป็นที่มันสำเร็จ
-
ความน่าจะเป็นที่มีรถผ่านในนาทีใดๆ
-
มันก็คือแลมดา ส่วน 60 ยกกำลังจำนวนความสำเร็จ
-
ที่เราต้องการ
-
งั้นยกกำลัง k, คูณความน่าจะเป็นที่ไม่สำเร็จ
-
หรือไม่มีรถผ่าน, กำลัง n ลบ k
-
แล้วถ้าเรามีความสำเร็จ k ครั้ง เราจะได้ความผิดพลาด 60 ลบ k ครั้ง
-
มันมีอยู่ 60 ลบ k นาทีที่ไม่มีรถผ่าน
-
นี่เป็นการประมาณที่ไม่เลว ถ้าคุณ
-
มี 60 ช่วง แล้วคุณบอกว่านี่คือการกระจายตัว
-
แบบทวินาม
-
แล้วคุณก็ได้คำตอบที่ฟังดูเข้าท่า
-
แต่มันมีปัญหาใหญ่ตรงนี้
-
ในแบบจำลองนี้, เราจำลองให้มันเป็นการกระจายตัวแบบทวินาม,
-
เกิดอะไรขึ้นถ้ามีรถผ่านมากกว่า 1 คันในหนึ่งชั่วโมง?
-
หรือมีรถผ่านมากกว่า 1 คันใน 1 นาที?
-
วิธีที่เราทำตอนนี้ เรานับว่ามันสำเร็จถ้ามี
-
รถหนึ่งคันผ่านไปในหนึ่งนาที
-
แล้วถ้าคุณนับอย่างนั้น คุณนับว่ามันสำเร็จ 1 ครั้งแม้ว่า
-
จะมีรถผ่านไป 5 คันในนาทีนั้น
-
คุณก็บอกว่า, โอ้, โอเค, ซาล, ฉันรู้วิธีแก้แล้ว
-
ฉันต้องทำให้มันละเอียดกว่านี้
-
แทนที่จะแบ่งมันเป็นนาที ทำไมฉัน
-
ไม่แบ่งเป็นวินาทีล่ะ?
-
ความน่าจะเป็นที่ฉันมีความสำเร็จ k ครั้ง -- แทนที่จะเป็น 60
-
ช่วง ฉันจะทำ 3600 ช่วง
-
แล้วความน่าจะเป็นที่มี k วินาทีของความสำเร็จ, วินาที
-
ที่มีรถผ่านหนึ่งคันในเวลานั้น จาก 3,600 วินาที
-
นั่นก็คือ 3,600 เลือก k, คูณความน่าจะเป็นที่รถ
-
ผ่านไปในแต่ละวินาที
-
นั่นคือค่าคาดหวังของรถที่ผ่านไปในหนึ่งชั่วโมง หารด้วย
-
จำนวนวินาทีในหนึ่งชั่วโมง
-
เราจะได้ความสำเร็จ k ครั้ง
-
แล้วพวกนี้คือการพลาด, ความน่าจะเป็นของความล้มเหลว
-
คุณจะมีความล้มเหลวอยู่ 3600 ลบ k ครั้ง
-
แล้วนี่เป็นการประมาณที่ดีขึ้นไปอีก
-
ที่จริงมันไม่แย่นัก, แต่ถึงอย่างนั้น, คุณอาจมี
-
กรณีที่รถ 2 คันมาถัดกันใน
-
ช่วงเวลาครึ่งนาที
-
แล้วคุณก็บอว่า, โอ้, โอเค ซาล, ฉันเห็นรูปแบบแล้ว
-
เราต้องทำให้ละเอียดกว่านี้อีก
-
เราต้องทำให้เลขนี้มากขึ้น มากขึ้น
-
และมากขึ้น
-
และสัญชาตญาณคุณถูกต้องแล้ว
-
แล้วถ้าคุณทำอย่างนั้น คุณจะได้
-
การกระจายตัวแบบปัวซอง
-
และนี่มันน่าสนใจ เพราะคนส่วนใหญ่
-
มักให้สูตรสำหรับการกระจายตัวแบบปัวซอง แล้ว
-
คุณก็แค่แทนตัวเลข แล้วก็ใช้มัน
-
แต่มันดีกว่าที่รู้ว่า มันก็แค่การกระจายตัว
-
แบบทวินาม และการกระจายตัวแบบทวินามนั้น มาจาก
-
สามัญสำนึกเรื่องการโยนเหรียญ
-
นั่นคือที่มาของทุกอย่าง
-
แต่ก่อนที่เราพิสูจน์ว่าถ้าเราหาลิมิต
-
-- ขอผมเปลี่ยนสีหน่อย
-
ก่อนที่เราจะพิสูจน์ว่า เมื่อเราให้ลิมิตของ
-
จำนวนนี่ตรงนี้, จำนวนช่วงเข้าหาอนันต์แล้ว
-
นี่กลายเป็นการกระจายตัวแบบปัวซอง
-
ผมขอตรวจให้แน่ใจก่อนว่า เรามีเครื่องมือ
-
ทางคณิตศาสตร์ติดตัวพอ
-
อย่างแรกที่สิ่งที่คุณอาจคุ้นเคย
-
พอสมควรแล้วตนนี้, แต่ผมอยากแน่ใจว่า
-
ลิมิต เมื่อ x เข้าหาอนันต์ ของ 1 บวก a/x กำลัง x
-
เท่ากับ e กำลัง ax -- ไม่ใช่ ขอโทษที
-
เท่ากับ e กำลัง a, และตอนนี้เพื่อพิสูจน์ให้ดู,
-
ลองทำการแทนที่นิดหน่อยตรงนี้
-
สมมุติว่า n เท่ากับ -- สมมติว่า 1 ส่วน n
-
เท่ากับ a ส่วน x
-
แล้ว x คืออะไร มันคือ na
-
x คูณ 1 เท่ากับ n คูณ a
-
แล้วลิมิตเมื่อ x เข้าหาอนันต์,
-
a เข้าหาอะไร?
-
a คือ -- ขอโทษที
-
เมื่อ x เข้าหาอนันต์ n เข้าหาอะไร?
-
n คือ x หารด้วย a
-
n ก็จะเข้าหาอนันต์ด้วย
-
งั้นเจ้านี่ก็เหมือนกับการ
-
แทนลิมิตเมื่อ n เข้าหาอนันต์ของ 1
-
บวก -- a/x, ผมแทนให้มันเป็น 1/n
-
แล้ว x คือ, จากการแทนที่, n คูณ a
-
นี่ก็เหมือนกับลิมิตเมื่อ n เข้าใกล้
-
อนันต์ของ 1 บวก 1/n กำลัง n, ทั้งหมด
-
ยกกำลัง a
-
และเนื่องจากมันไม่มี n ข้างอนกนี้ เราก็เอาลิมิต
-
ของนี้ออกมาแล้วจับมันยกกำลัง a
-
นั่นก็จะเท่ากับลิมิตเมื่อ n เข้าใกล้
-
อนันต์ของ 1 บวก 1/n ยกกำลัง n, ทั้งหมดนั้น
-
ยกกำลัง a
-
แล้วนี่คือนิยาม, หรือวิธีที่ได้ e
-
หากคุณดูวิดีโอเรื่องดอกเบี้ยทบต้นอะไรพวกนั้น
-
นี่คือวิธีที่เราได้ e
-
แล้วถ้าคุณลองใช้เครื่องคิดเลข แล้วลอง
-
n มากขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ, คุณจะได้ e
-
ตัวข้างในเท่ากับ e, เราจับมันยกกำลัง a,
-
มันจึงเท่ากับ e กำลัง a
-
หวังว่าคุณคงพอใจแล้วว่าลิมิตนี้
-
เท่ากับ e กำลัง a
-
แล้วเครื่องมืออีกอย่างที่ผมอยากได้ติดไว้,
-
และผมอาจพิสูจน์ในวิดีโอหน้า
-
เครื่องมืออีกอย่างคือว่า x แฟคทอเรียล ส่วน
-
x ลบ k แฟคทอเรียล เท่ากับ x คูณ x ลบ 1 คูณ x
-
ลบ 2, ไปจนถึง x ลบ k ลบ 1
-
เราได้ทำมาหลายครั้งแล้ว และนี่คือ
-
รูปที่เป็นนามธรรมที่สุดที่เราเคยทำมา
-
ผมจะแสดงให้ดู, แค่ให้คุณรู้, พวกมันมี
-
อยู่ k เทอมพอดี
-
1, 2, 3 -- แล้วเทอมแรก, เทอมที่สอง, เทอมที่สาม,
-
ไปจนถึง นี่คือ k เทอม
-
นี่เป็นสิ่งสำคัญเวลาหาการกระจายตัว
-
แบบปัวซอง
-
แต่เพื่อทำให้มันเป็นจำนวนจริง, ถ้าผมมี 7 แฟคทอเรียล
-
ส่วน 7 ลบ 2 แฟคทอเรียล, นั่นเท่ากับ 7 คูณ 6
-
คูณ 5 คูณ 4 คูณ 3 คูณ 2 คูณ 1
-
ส่วน 2 คูณ -- ขอโทษที
-
7 ลบ 2, นี่คือ 5
-
มันคือส่วน 5 คูณ 4 คูณ 3 คูณ 2 คูณ 1
-
พวกนี้ตัดกันแล้วคุณเหลือ 7 คูณ 6
-
และนั่นก็คือ 7 แล้วเทอมสุดท้ายคือ 7 ลบ
-
2 บวก 1, ซึ่งเป็น 6
-
ในตัวอย่างนี้, k เป็น 2 แล้วคุณมีแค่ 2 เทอม
-
เมื่อเรารู้สองอย่างนี้แล้ว เราก็สามารถ
-
หาการกระจายตัวแบบปัวซองได้ แล้ว
-
ผมจะทำมันในวิดีโอหน้า
-
แล้วพบกันครับ