อะไรที่ทำให้คำคำหนึ่งกลายเป็น "คำจริง ๆ "
-
0:01 - 0:03ดิฉันต้องขอเริ่มด้วยการบอกกับพวกคุณ
-
0:03 - 0:05เกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของดิฉันสักหน่อย
-
0:05 - 0:07ซึ่งดิฉันรู้ดีว่ามันอาจดูไม่เกี่ยวข้องกัน
-
0:07 - 0:09แต่ว่าจริง ๆ แล้วมันเกี่ยวกันค่ะ
-
0:09 - 0:11เมื่อผู้คนพบดิฉันที่งานเลี้ยง
-
0:11 - 0:13แล้วรู้ว่าดิฉันเป็นศาสตราจารย์
ด้านภาษาอังกฤษ -
0:13 - 0:16ผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษา
-
0:16 - 0:19พวกเขามักจะเกิดปฏิกิริยา
อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ -
0:19 - 0:24คนกลุ่มหนึ่งจะดูตื่นตระหนก
(เสียงหัวเราะ) -
0:24 - 0:26พวกเขามักพูดทำนองว่า
-
0:26 - 0:29"โอ้ ผมคงต้องระวังคำพูดหน่อยแล้ว
-
0:29 - 0:32เพราะผมมั่นใจว่าคุณจะได้ยิน
ข้อผิดพลาดทุกอย่างเวลาที่ผมพูด" -
0:32 - 0:37จากนั้น พวกเขาก็จะหยุดพูด
(เสียงหัวเราะ) -
0:37 - 0:39แล้วพวกเขาก็จะรอให้ดิฉันเดินจากไป
-
0:39 - 0:41เพื่อไปคุยกับคนอื่น
-
0:41 - 0:43ส่วนคนอีกกลุ่มหนึ่ง
-
0:43 - 0:46ตาของพวกเขาจะลุกวาว
-
0:46 - 0:47แล้วพวกเขาก็จะพูดว่า
-
0:47 - 0:51"คุณนี่แหละคือคนที่ผมอยากคุยด้วย"
-
0:51 - 0:54จากนั้นพวกเขาก็จะเริ่มพูดถึงอะไรก็ตาม
-
0:54 - 0:56ที่พวกเขาคิดว่าเป็นสิ่งผิดปกติ
ในภาษาอังกฤษ -
0:56 - 0:59(เสียงหัวเราะ)
-
0:59 - 1:01เมื่อสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมา
ดิฉันอยู่ที่งานเลี้ยงอาหารค่ำ -
1:01 - 1:03แล้วผู้ชายที่นั่งถัดไปทางด้านขวาของดิฉัน
-
1:03 - 1:05ก็เริ่มพูดให้ดิฉันฟังเกี่ยวกับ
เรื่องราวต่าง ๆ นานา -
1:05 - 1:08ว่าอินเทอร์เน็ตนั้น
กำลังทำให้ภาษาอังกฤษเสื่อมลง -
1:08 - 1:12เขาพูดถึงเฟสบุ๊ค แล้วก็พูดว่า
-
1:12 - 1:17"To defriend (ลบเพื่อน) เนี่ยนะ
นั่นมันเป็นคำจริง ๆ ซะที่ไหนกัน" -
1:17 - 1:21ดิฉันขอหยุดไว้ที่คำถามนั้น
-
1:21 - 1:25อะไรกันล่ะที่ทำให้คำคำหนึ่งเป็นคำจริง ๆ
-
1:25 - 1:27เพื่อนร่วมงานเลี้ยงและตัวดิฉันเองต่างก็รู้
-
1:27 - 1:30ว่าคำกริยาคำว่า "defriend" นั้น
มีความหมายว่าอะไร -
1:30 - 1:33แล้วเมื่อไรกันล่ะ
ที่คำใหม่อย่างคำว่า "defriend" -
1:33 - 1:35จะได้กลายเป็นคำจริง ๆ
-
1:35 - 1:37ใครกันแน่ล่ะที่มีอำนาจในการตัดสินใจ
-
1:37 - 1:41ในเรื่องของคำต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ
-
1:41 - 1:45คำถามเหล่านี้
คือคำถามที่ดิฉันอยากจะพูดถึงในวันนี้ -
1:45 - 1:48ดิฉันคิดว่า เวลาที่คนส่วนใหญ่พูดว่า
คำคำนั้นไม่ใช่คำจริง ๆ -
1:48 - 1:50พวกเขากำลังหมายความว่า
คำนั้น ๆ ไม่ได้ปรากฏ -
1:50 - 1:52อยู่ในพจนานุกรมฉบับมาตรฐาน
-
1:52 - 1:54และสิ่งนี้เองก็ก่อให้เกิดคำถามอื่น ๆ
ตามมาอีกมากมาย -
1:54 - 2:00ซึ่งรวมถึง ใครกันล่ะ
ที่เป็นคนเขียนพจนานุกรม -
2:00 - 2:01ก่อนที่ดิฉันจะลงลึกไปกว่านี้
-
2:01 - 2:03ให้ดิฉันได้ชี้แจ้งบทบาทของตนเอง
ในเรื่องทั้งหมดนี้ก่อน -
2:03 - 2:06ดิฉันไม่ได้เป็นคนเขียนพจนานุกรม
-
2:06 - 2:09แต่ดิฉันเป็นคนที่คอยรวบรวมคำใหม่ ๆ
-
2:09 - 2:12แบบที่บรรณาธิการพจนานุกรมต่างทำกัน
-
2:12 - 2:14และข้อดีของการเป็นนักประวัติศาสตร์
-
2:14 - 2:15ด้านภาษาอังกฤษ
-
2:15 - 2:18ก็คือ ฉันสามารถเรียกมันได้ว่า "งานวิจัย"
-
2:18 - 2:21เวลาที่ดิฉันสอนวิชาประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษ
-
2:21 - 2:23ดิฉันจะสั่งให้นักเรียนบอก
-
2:23 - 2:27คำสแลงใหม่ ๆ สองคำ
ก่อนที่ดิฉันจะเริ่มสอน -
2:27 - 2:29ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ดิฉันได้เรียนรู้
-
2:29 - 2:32คำสแลงเจ๋ง ๆ บางคำจากวิธีการนี้
-
2:32 - 2:36ซึ่งรวมถึง "hangry" (โมโหหิว) ซึ่ง --
-
2:36 - 2:40(เสียงปรบมือ)
-
2:40 - 2:43ซึ่งหมายถึงเวลาที่คุณหงุดหงิดหรือโมโห
-
2:43 - 2:47เพราะว่าคุณหิว
-
2:47 - 2:52และ "adorkable" (น่ารักนะเด็กโง่)
-
2:52 - 2:53ซึ่งหมายความว่า คุณน่ารัก
-
2:53 - 2:56ในแบบทึ่ม ๆ
-
2:56 - 2:59เห็นได้ชัดเลยว่า พวกมัน
ช่างเป็นคำที่ยอดเยี่ยมที่เติมเต็ม -
2:59 - 3:02ช่องว่างต่าง ๆ ที่สำคัญในภาษาอังกฤษ
-
3:02 - 3:06(เสียงหัวเราะ)
-
3:06 - 3:09ว่าแต่ว่าคำเหล่านี้จริงแค่ไหนกันล่ะ
-
3:09 - 3:11หากเราใช้พวกมันในฐานะคำสแลงเป็นหลัก
-
3:11 - 3:15และคำพวกนี้ก็ยังไม่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรม
-
3:15 - 3:18ด้วยเหตุนี้เอง เราหันมาดูพจนานุกรมกัน
-
3:18 - 3:20ดิฉันจะให้พวกคุณยกมือขึ้น
-
3:20 - 3:22มีพวกคุณกี่คนที่
-
3:22 - 3:26ยังเปิดพจนานุกรมอยู่เป็นประจำ
ทั้งแบบเล่มและแบบออนไลน์ -
3:27 - 3:30ขอบคุณค่ะ ดูเหมือนว่า
จะเป็นส่วนใหญ่เลยทีเดียว -
3:30 - 3:33ทีนี้ คำถามที่สอง คราวนี้
ยกมือเหมือนเดิมนะคะ -
3:33 - 3:36มีพวกคุณกี่คนที่เคยเปิดไปดูว่า
-
3:36 - 3:39ใครเป็นคนปรับแก้พจนานุกรมที่คุณใช้อยู่
-
3:42 - 3:46ขอบคุณค่ะ ดูเหมือนว่าจะน้อยลงไปเยอะ
-
3:46 - 3:49ทีนี้ เราคงรู้กันมาบ้างแล้วว่า
เบื้องหลังพจนานุกรมนั้น -
3:49 - 3:51มีการกระทำมากมาย
จากฝีมือของมนุษย์ -
3:51 - 3:55แต่เราก็ไม่แน่ใจเสียทีเดียว
ว่ามือเหล่านั้นเป็นของใคร -
3:55 - 3:58ดิฉันรู้สึกสนใจเรื่องนี้มาก
-
3:58 - 4:00เพราะแม้แต่คนที่มีวิจารณญาณมากที่สุด
-
4:00 - 4:03ก็ยังมีแนวโน้มที่จะไม่กังขาอะไรมากนัก
เกี่ยวเกี่ยวกับพจนานุกรม -
4:03 - 4:04ไม่แยกแยะความแตกต่าง
ระหว่างพจนานุกรมแต่ละเล่ม -
4:04 - 4:07และไม่ได้ถามคำถามอะไรอีกมากมาย
-
4:07 - 4:09ว่าใครเป็นคนปรับปรุงแก้ไข
พจนานุกรมเหล่านั้น -
4:09 - 4:10พวกคุณลองนึกถึงวลีที่ว่า
-
4:10 - 4:13"หาคำนั้นในพจนานุกรมสิ"
-
4:13 - 4:15ซึ่งเป็นบอกเป็นนัย ๆ
ว่าพจนานุกรมทุกเล่มนั้น -
4:15 - 4:16เหมือนกันโดยสิ้นเชิง
-
4:16 - 4:19ลองนึกถึงห้องสมุดในมหาวิทยาลัยที่นี่
-
4:19 - 4:21ที่ที่คุณเดินเข้าไปที่ห้องอ่านหนังสือ
-
4:21 - 4:23แล้วก็มีพจนานุกรมฉบับสมบูรณ์เล่มใหญ่
-
4:23 - 4:27วางอยู่บนแท่นอันทรงเกียรติและน่าเกรงขาม
-
4:27 - 4:30เปิดรออยู่
เพื่อให้เรายืนอยู่ตรงหน้ามัน -
4:30 - 4:32เพื่อค้นหาคำตอบ
-
4:32 - 4:34ทีนี้ อย่าเพิ่งเข้าใจดิฉันผิดไปนะคะ
-
4:34 - 4:37พจนานุกรมนั้น
เป็นแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยม -
4:37 - 4:39แต่ในขณะเดียวกัน พวกมันก็เหมือนคน
-
4:39 - 4:41และพวกมันมีวันที่จะล้าสมัย
-
4:41 - 4:43ดิฉันรู้สึกประหลาดใจมาก
ในฐานะที่เป็นครูคนหนึ่ง -
4:43 - 4:46ที่บอกให้นักเรียน
ตั้งคำถามอย่างมีวิจารณญาณ -
4:46 - 4:50กับทุกข้อความที่พวกเขาอ่าน
ทุกเว็บไซต์ที่พวกเขาเข้าชม -
4:50 - 4:51ยกเว้นพจนานุกรม
-
4:51 - 4:55ซึ่งเรามักจะทำกับมันราวกับว่า
มันไม่มีผู้เขียน -
4:55 - 4:57ราวกับว่ามันผุดมาจากที่ไหนก็ไม่รู้
เพื่อมาให้คำตอบกับเรา -
4:57 - 5:02ว่าคำแต่ละคำมีความหมายว่าอย่างไร
-
5:02 - 5:05เอาล่ะ ประเด็นก็คือ ถ้าคุณถาม
เหล่าบรรณาธิการของพจนานุกรม -
5:05 - 5:06สิ่งที่พวกเขาจะบอกคุณ
-
5:06 - 5:09ก็คือพวกเขากำลังพยายามตามพวกเราให้ทัน
-
5:09 - 5:10ในขณะที่เราเปลี่ยนแปลงภาษาไปเรื่อย ๆ
-
5:10 - 5:13พวกเขากำลังจับตาดู
ในสิ่งที่เราพูดและสิ่งที่เราเขียน -
5:13 - 5:15และพยายามทำความเข้าใจ
ว่าคำไหนจะอยู่ต่อไป -
5:15 - 5:17และคำไหนจะหายไปในไม่ช้า
-
5:17 - 5:19พวกเขาต้องเดิมพัน
-
5:19 - 5:20เพราะว่าพวกเขาอยากให้มันดูทันสมัยที่สุด
-
5:20 - 5:23และเลือกคำที่คิดว่าจะคงอยู่ต่อไปเอาไว้
-
5:23 - 5:25เช่น LOL (หัวเราะลั่น)
-
5:25 - 5:28แต่พวกเขาไม่อยากให้มัน
ดูฉาบฉวยตามยุคสมัย -
5:28 - 5:30โดยการรวมคำ
ที่กำลังจะหายไปในไม่ช้าเข้าไป -
5:30 - 5:32และดิฉันคิดว่าคำที่พวกเขา
กำลังจับตาดูอยู่ตอนนี้ -
5:32 - 5:35ก็คือคำว่า YOLO คุณเกิดมาแค่ครั้งเดียว
-
5:37 - 5:40ทีนี้ ดิฉันมีโอกาสไปสังสรรค์
กับบรรดาบรรณาธิการพจนานุกรม -
5:40 - 5:41และคุณอาจรู้สึกประหลาดใจ
-
5:41 - 5:44กับสถานที่หนึ่งซึ่งเราไปสังสรรค์กัน
-
5:44 - 5:46ทุก ๆ เดือนมกราคม เราจะไปเข้าร่วม
-
5:46 - 5:49การประชุมประจำปี
ของสมาคมภาษาถิ่นอเมริกัน -
5:49 - 5:50ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่เราทำก็คือ
-
5:50 - 5:54เราจะลงคะแนนเสียงเลือกคำแห่งปี
-
5:54 - 5:57มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 200 ถึง 300 คน
-
5:57 - 5:59บางคนนั้นเป็นนักภาษาศาสตร์
ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในอเมริกา -
5:59 - 6:01เพื่อให้คุณสัมผัสได้
ถึงบรรยากาศของการประชุม -
6:01 - 6:05การประชุมที่ว่านี้
จัดขึ้นในช่วงเวลาก่อนงานเลี้ยงเครื่องดื่ม -
6:05 - 6:07ใครก็ตามที่มาสามารถลงคะแนนได้
-
6:07 - 6:08กฎที่สำคัญที่สุดก็คือ
-
6:08 - 6:11คุณสามารถลงคะแนนได้เสียงเดียวเท่านั้น
-
6:11 - 6:15ที่ผ่านมา ตัวอย่างของคำที่ชนะได้แก่
-
6:15 - 6:17"ทวีต" (tweet) ในปี ค.ศ. 2009
-
6:17 - 6:20และ "แฮชแท็ก" (Hashtag)
ในปี ค.ศ. 2012 -
6:20 - 6:23"ไอ้เกรียน" (Chad)
คือคำแห่งปีในปี ค.ศ. 2000 -
6:23 - 6:27เพราะมีใครรู้บ้างล่ะว่าคำว่า chad
แปลว่าอะไรก่อนปี ค.ศ. 2000 -
6:27 - 6:32และ "WMD" (กลุ่มเกมส์ออนไลน์)
ในปี ค.ศ. 2002 -
6:32 - 6:34ทีนี้ เราก็มีคำในหมวดอื่น ๆ
ที่เราลงคะแนนกันเช่นกัน -
6:34 - 6:36และหมวดที่ดิฉันชอบ
-
6:36 - 6:38ก็คือหมวดคำสร้างสรรค์ที่สุดแห่งปี
-
6:38 - 6:41ในอดีตคำในหมวดนี้ที่ชนะ ได้แก่
-
6:41 - 6:44"recombobulation area"
(บริเวณรวบรวมรับข้าวเก็บกลับ) -
6:44 - 6:48ซึ่งอยู่หลังจากจุดตรวจค้น
ที่สนามบินมอลวิกี -
6:48 - 6:51ซึ่งเป็นที่ที่คุณสามารถ
เก็บรวบรวมข้าวของกลับไปได้ -
6:51 - 6:52(เสียงหัวเราะ)
-
6:52 - 6:54คุณสามารถใส่เข็มขัดกลับไป
-
6:54 - 6:56ใส่คอมพิวเตอร์ของคุณกลับลงไปในกระเป๋า
-
6:58 - 7:02และคำที่ดิฉันชอบมากที่สุดตลอดมา
ในการลงคะแนนในหมวดนี้ -
7:02 - 7:04คือคำว่า "multi-slacking"
(ทำเหมือนยุ่ง) -
7:04 - 7:06(เสียงหัวเราะ)
-
7:06 - 7:09และ multi-slacking ก็คือ
-
7:09 - 7:12การที่เปิดหน้าต่างการทำงานมากมายบนจอ
-
7:12 - 7:13เพื่อทำให้ดูเหมือนว่าคุณกำลังทำงานอยู่
-
7:13 - 7:15ทั้งที่จริง ๆ แล้ว
คุณกำลังเปิดเว็บไร้สาระอยู่ -
7:15 - 7:20(เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
-
7:21 - 7:25ว่าแต่ว่าคำพวกนี้จะอยู่ไปอีกนานไหม
แน่นอนว่าไม่ -
7:25 - 7:28และเราก็ได้ทำการตัดสินใจ
บางอย่างที่คลางแคลงใจ -
7:28 - 7:30อย่างเช่นในปี ค.ศ. 2006
-
7:30 - 7:32เมื่อคำแห่งปีคือคำว่า "Plutoed"
(ถูกทำให้เป็นพลูโต) -
7:32 - 7:34ที่มีความหมายว่า ถูกลดขั้น
-
7:34 - 7:37(เสียงหัวเราะ)
-
7:39 - 7:41แต่คำบางคำที่ชนะในอดีตนั้น
-
7:41 - 7:44ตอนนี้กลับดูเหมือนเป็นคำธรรมดาทั่วไป
-
7:44 - 7:45เช่นคำว่า "แอป" (app)
-
7:45 - 7:47และ "e" ที่เป็นคำนำหน้า
-
7:47 - 7:50และคำว่า "google" ที่เป็นคำกริยา
-
7:50 - 7:54ทีนี้ สองสามอาทิตย์ก่อนการลงคะแนน
-
7:54 - 7:56มหาวิทยาลัยเลค ซูพีเรีย สเตต
(Lake Superior State University) -
7:56 - 8:01จะออกรายชื่อของคำที่ถูกเลิกใช้ในปีนั้น ๆ
-
8:01 - 8:03สิ่งที่น่าตกตะลึงก็คือ
-
8:03 - 8:06มันมักจะมีการทับซ้อนกันอยู่มาก
-
8:06 - 8:09ระหว่างรายชื่อคำของพวกเขา
และรายชื่อของคำที่เรากำลังพิจารณา -
8:09 - 8:11เพื่อให้เป็นคำแห่งปี
-
8:11 - 8:15และที่มันเกิดขึ้นก็เพราะว่า
เรากำลังสังเกตเห็นในสิ่งเดียวกัน -
8:15 - 8:18เรากำลังสังเกตเห็น
คำที่กำลังจะกลายเป็นคำที่แพร่หลาย -
8:18 - 8:20จริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของทัศนคติ
-
8:20 - 8:24คุณรู้สึกกังวลใจกับคำใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของภาษา -
8:24 - 8:27หรือว่าคุณรู้สึกว่า
มันเป็นเรื่องที่น่าสนุก น่าสนใจ -
8:27 - 8:28เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การศึกษา
-
8:28 - 8:31ในฐานะที่มันเป็นส่วนหนึ่ง
ของภาษาที่ยังมีชีวิตอยู่ -
8:31 - 8:34รายชื่อคำโดย
มหาวิทยาลัยเลค ซูพีเรีย สเตต -
8:34 - 8:36เป็นการเดินตามขนบธรรมเนียม
ที่มีมาค่อนข้างยาวนานในภาษาอังกฤษ -
8:36 - 8:38ในการแสดงความไม่พอใจที่มีต่อคำใหม่ ๆ
-
8:38 - 8:43และนี่คือ ดีน เฮนรี่ อัลฟอร์ด
(Dean Henry Alford) ในปี ค.ศ. 1875 -
8:43 - 8:45ซึ่งเป็นคนที่มองว่าคำว่า "desirability" (ความปรารถนา)
-
8:45 - 8:47เป็นคำที่แย่มาก ๆ
-
8:47 - 8:50ในปี ค.ศ. 1760 เบนจามิน แฟรงคลิน
-
8:50 - 8:52เขียนจดหมายไปหา เดวิด ฮูม
-
8:52 - 8:55เพื่อบอกว่าคำว่า "colonize"
(ตั้งอาณานิคม) นั้นเป็นคำที่ไม่ดี -
8:55 - 8:58ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
เราก็ยังคงได้เห็นความวิตกกังวล -
8:58 - 9:00เกี่ยวกับการออกเสียงใหม่ ๆ ด้วย
-
9:00 - 9:03นี่คือ ซามูเอล โรเจอร์ส ในปี ค.ศ. 1855
-
9:03 - 9:05ผู้ที่รู้สึกกังวล
เกี่ยวกับการออกเสียงในแบบใหม่ ๆ -
9:05 - 9:07ที่เขารู้สึกว่าไม่เหมาะสม
-
9:07 - 9:11และเขาพูดว่า "ถ้าคำว่า contemplate
(ไตร่ตรอง) ยังแย่ไม่พอแล้วล่ะก็ -
9:11 - 9:13"balcony (ระเบียง) นี่ทำให้ผม
สะอิดสะเอียนเลยล่ะ" -
9:13 - 9:17(เสียงหัวเราะ)
-
9:17 - 9:19คำนั้นถูกยืมมาจากภาษาอิตาลี
-
9:19 - 9:22และมันเคยถูกออกเสียงว่า "บาล-โค่-นี่"
-
9:22 - 9:25สำหรับเราความไม่พอใจเหล่านี้
ดูเหมือนเป็นเรื่องของคนหัวโบราณ -
9:25 - 9:30หรือไม่ก็ดู "น่ารักนะเด็กโง่" สุด ๆ
-- (เสียงหัวเราะ) -- -
9:30 - 9:33แต่ประเด็นก็คือว่า
-
9:33 - 9:37พวกเราก็ยังคงรู้สึกไม่พอใจ
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของภาษา -
9:37 - 9:39ดิฉันมีไฟล์ทั้งไฟล์ในออฟฟิศ
-
9:39 - 9:43ที่รวบรวมบทความหนังสือพิมพ์
-
9:43 - 9:45ที่แสดงถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับคำวิบัติ
-
9:45 - 9:47ที่ไม่ควรถูกรวมเอาไว้ในพจนานุกรม
-
9:47 - 9:49ซึ่งรวมไปถึงคำว่า "LOL"
-
9:49 - 9:51เมื่อมันเข้าไปอยู่ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ
ออกฟอร์ด (Oxford English Dictionary) -
9:51 - 9:52และคำว่า "defriend" (ลบเพื่อน)
-
9:52 - 9:55เมื่อมันเข้าไปอยู่ในพจนานุกรมอเมริกันออกฟอร์ด
(Oxford American Dictionary) -
9:55 - 9:57และดิฉันก็ยังมีบทความอีกหลายบทความ
ที่แสดงความวิตกกังวล -
9:57 - 10:00ของการใช้คำว่า "invite" (เชิญ)
เป็นคำนาม -
10:00 - 10:02คำว่า "impact" (อัดแน่น)
เป็นคำกริยา -
10:02 - 10:05เพราะว่ามีแค่ฟันเท่านั้นที่จะคุดได้
(impacted tooth) -
10:05 - 10:08และคำว่า "incentivize" (สร้างแรงจูงใจ)
ถูกมองว่า -
10:08 - 10:13เป็น "การพูดที่โดยกฏแล้วไม่ถูกต้องและกักขฬะ"
-
10:13 - 10:15ทีนี้ ไม่ใช่ว่าบรรณาธิการพจนานุกรม
-
10:15 - 10:17ต่างเพิกเฉยต่อทัศนคติเหล่านี้ที่มีต่อภาษา
-
10:17 - 10:20พวกเขาพยายามให้แนวทางชี้แนะ
กับพวกเราเกี่ยวกับคำต่าง ๆ -
10:20 - 10:22ที่ถูกมองว่าเป็นคำสแลง
หรือคำที่ไม่เป็นทางการ -
10:22 - 10:25หรือคำที่รุนแรง
ผ่านการใช้แถบกำกับการใช้ -
10:25 - 10:27แต่ว่าพวกเขาก็จนปัญญาเหมือนกัน
-
10:27 - 10:31เพราะว่าพวกเขากำลังพยายาม
อธิบายสิ่งที่พวกเราทำ -
10:31 - 10:33และพวกเขาก็รู้ว่าเรามักจะเปิดพจนานุกรม
-
10:33 - 10:36เพื่อหาข้อมูลว่าเราควรใช้คำอย่างไร
-
10:36 - 10:38ให้ถูกต้องและเหมาะสม
-
10:38 - 10:41เพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการนั้น
อเมริกัน เฮอริเทจ ดิกชันนารี -
10:41 - 10:43ได้เพิ่มหมายเหตุวิธีการใช้ (usage note) เข้าไป
-
10:43 - 10:45หมายเหตุวิธีการใช้นั้น มักจะอยู่กับคำ
-
10:45 - 10:46ที่มีปัญหาในแง่ใดแง่หนึ่ง
-
10:46 - 10:49และสิ่งหนึ่งที่อาจเป็นปัญหาได้ก็คือ
-
10:49 - 10:51ความหมายของพวกมันกำลังเปลี่ยนไป
-
10:51 - 10:54ทีนี้ หมายเหตุวิธีการใช้นั้น
มาจากการตัดสินใจของคนล้วน ๆ -
10:54 - 10:57และดิฉันก็คิดว่า
ในฐานะที่เป็นผู้ใช้พจนานุกรม -
10:57 - 10:59เรามักจะไม่ตระหนักถึง
การตัดสินใจเหล่านั้นของคน -
10:59 - 11:00อย่างที่เราควรจะทำ
-
11:00 - 11:01เพื่อให้คุณเข้าใจ
-
11:01 - 11:04เราจะดูตัวอย่างหนึ่ง แต่ก่อนที่เราจะดูนั้น
-
11:04 - 11:06ดิฉันอยากอธิบายสิ่งที่บรรณาธิการพจนานุกรม
-
11:06 - 11:09ต่างกำลังพยายามรับมือกับหมายเหตุวิธีการใช้นี้
-
11:09 - 11:12ลองนึกถึงคำว่า "peruse" (พิเคราะห์)
-
11:12 - 11:15แล้วก็วิธีที่คุณใช้คำนี้ดูสิ
-
11:15 - 11:18ดิฉันเดาว่าพวกคุณหลาย ๆ คนกำลังนึกถึง
-
11:18 - 11:22การอ่านผ่าน ๆ การอ่านกวาด
การอ่านอย่างไว ๆ -
11:22 - 11:25พวกคุณบางคนอาจถึงขั้น
เอาการเดินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย -
11:25 - 11:27เพราะว่าคุณกำลังค้นหา (perusing)
ของบนชั้นวางตามร้านขายของชำ -
11:27 - 11:29หรืออะไรทำนองนั้น
-
11:29 - 11:32คุณอาจจะรู้สึกประหลาดใจเมื่อรู้ว่า
-
11:32 - 11:33ถ้าคุณเปิดพจนานุกรมฉบับมาตรฐานที่สุด
-
11:33 - 11:36ความหมายแรกที่จะเห็นก็คือ
"อ่านอย่างละเอียด" -
11:36 - 11:39หรือ "ให้ความสนใจอย่างมาก"
-
11:39 - 11:42อเมริกัน เฮริเทจ ให้ความหมายนั้น
เป็นความหมายแรก -
11:42 - 11:45จากนั้น ก็ให้ความหมายที่สอง คือ
"อ่านผ่าน ๆ " (skim) -
11:45 - 11:48แล้วถัดจากนั้น พวกเขาก็เขียนไว้ว่า
"ปัญหาการใช้" (Usage problem) -
11:48 - 11:50(เสียงหัวเราะ)
-
11:50 - 11:52แล้วจากนั้นพวกเขาก็เพิ่ม
หมายเหตุวิธีการใช้เข้าไป -
11:52 - 11:54ซึ่งควรค่าแก่การดู
-
11:54 - 11:56และนี่ก็คือหมายเหตุวิธีการใช้
-
11:56 - 11:58"Peruse มีความหมายมาอย่างยาวนานว่า
'อ่านอย่างละเอียด' ... -
11:58 - 12:00แต่คำนี้มักถูกใช้อย่างไม่เคร่งครัดนัก
-
12:00 - 12:02เพื่อสื่อความหมายทั่ว ๆ ไปว่า "อ่าน" ...
-
12:02 - 12:05อีกความหมายหนึ่งของคำนี้ที่หมายถึง
"มองผ่าน ๆ หรืออ่านผ่าน ๆ " -
12:05 - 12:08แต่เดิมแล้วถูกมองว่าผิด
-
12:08 - 12:10แต่การลงคะแนนเสียงของเรานั้นบอกว่าคำนี้
-
12:10 - 12:12กำลังจะกลายเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
-
12:12 - 12:13เมื่อถูกถามเกี่ยวกับประโยค
-
12:13 - 12:16"ฉันมีเวลาแค่นิดเดียว
ในการอ่านคู่มือแบบผ่าน ๆ (peruse) " -
12:16 - 12:18ร้อยละ 66 ของคณะกรรมการการใช้คำ
-
12:18 - 12:20มองว่าเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้องเมื่อปี ค.ศ. 1988
-
12:20 - 12:23ร้อยละ 58 ในปี ค.ศ. 1999
-
12:23 - 12:26และร้อยละ 48 ในปี ค.ศ. 2011
-
12:26 - 12:28อ่า คณะกรรมการการใช้คำ
-
12:28 - 12:31กลุ่มคนที่ได้รับความเชื่อถือ
ให้มีอำนาจในการจัดการกับภาษา -
12:31 - 12:34ผู้ที่กำลังมีความผ่อนผันกับคำคำนี้มากขึ้น
-
12:34 - 12:36ทีนี้ สิ่งที่ดิฉันหวังว่า
พวกคุณกำลังคิดอยู่ในตอนนี้ก็คือ -
12:36 - 12:40"เดี๋ยวนะ แล้วใครคือคณะกรรมการการใช้คำล่ะ
-
12:40 - 12:43แล้วฉันควรทำอย่างไรกับคำแถลงการณ์นั้น"
-
12:43 - 12:45ถ้าคุณดูที่ส่วนหน้า
-
12:45 - 12:46ของอเมริกัน เฮริเทจ ดิกชันนารี
-
12:46 - 12:48คุณจะเห็นชื่อ
-
12:48 - 12:49ของคนที่เป็นคณะกรรมการการใช้คำ
-
12:49 - 12:51แต่จะมีใครกันล่ะที่ดูส่วนหน้าของพจนานุกรม
-
12:51 - 12:54มีคนประมาณ 200 คนที่เป็นคณะกรรมการการใช้คำ
-
12:54 - 12:57มีทั้งนักวิชาการ
-
12:57 - 12:58นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนเชิงสร้างสรรค์
-
12:58 - 13:00มีผู้พิพากษาศาลฎีกาหนึ่งคนอยู่ในนั้น
-
13:00 - 13:02และนักภาษาศาสตร์อีกสองสามคน
-
13:02 - 13:07และในปี ค.ศ. 2005 รายชื่อนั้นก็มีชื่อดิฉันอยู่ด้วย
-
13:07 - 13:11(เสียงปรบมือ)
-
13:11 - 13:15และนี่คือสิ่งที่เราทำให้พวกคุณได้
-
13:15 - 13:17เราสามารถบอกคุณถึงมุมมองต่าง ๆ
-
13:17 - 13:20ที่มีต่อรูปแบบการใช้คำที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
-
13:20 - 13:23แค่นั้นและนั่นก็ควรจะเป็นขอบเขตอำนาจของเรา
-
13:23 - 13:27เราไม่ใช่สถาบันสอนภาษา
-
13:27 - 13:30ประมาณปีละครั้ง ดิฉันจะได้บัตรลงคะแนน
-
13:30 - 13:33ที่ถามดิฉันว่าการใช้แบบใหม่
-
13:33 - 13:36การออกเสียงแบบใหม่ และความหมาย
ที่เกิดขึ้นใหม่นั้นเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่ -
13:36 - 13:39และนี่ก็คือสิ่งที่ดิฉันทำ
ในการกรอกบัตรลงคะแนนเสียง -
13:39 - 13:43ดิฉันฟังสิ่งที่คนอื่นพูดและเขียน
-
13:43 - 13:45ดิฉันไม่ได้ทำตามความชอบส่วนตัว
-
13:45 - 13:48และความไม่ชอบส่วนตัวที่มีต่อภาษาอังกฤษ
-
13:48 - 13:50ดิฉันขอพูดตรง ๆ กับพวกคุณว่า
-
13:50 - 13:52จริง ๆ แล้วดิฉันไม่ชอบคำว่า "impactful"
(ซึ่งมีอิทธิพลมาก) -
13:52 - 13:54แต่ว่านั่นไม่เกี่ยวอะไร
-
13:54 - 13:58กับการที่ว่าคำว่า "impactful" นั้น
จะกลายเป็นคำที่ใช้กันโดยทั่วไป -
13:58 - 14:01และกลายเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
ในงานเขียนร้อยแก้ว -
14:01 - 14:02ดังนั้น เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ
-
14:02 - 14:05สิ่งที่ดิฉันทำก็คือการดูที่การใช้
-
14:05 - 14:06ซึ่งมักรวมไปถึงการดู
-
14:06 - 14:09ที่ฐานข้อมูลออนไลน์ เช่น กูเกิล บุ๊คส์
(Google Books) -
14:09 - 14:12เอาล่ะ ถ้าคุณหาคำว่า "impactful" ในกูเกิล บุ๊คส์
-
14:12 - 14:15นี่คือสิ่งที่คุณจะเจอ
-
14:15 - 14:17ค่ะ ดูเหมือนว่าคำว่า "impactful" นั้น
-
14:17 - 14:19จะเป็นคำที่มีประโยชน์
-
14:19 - 14:21ต่อนักเขียนจำนวนหนึ่ง
-
14:21 - 14:22และได้กลายเป็นคำที่มีประโยชน์มากขึ้นเรื่อย ๆ
-
14:22 - 14:24ตลอดระยะเวลายี่สิบปีที่ผ่านมา
-
14:24 - 14:26ทีนี้ ในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลง
มากมายเกิดขึ้น -
14:26 - 14:29ที่เราทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้นในภาษาของเรา
-
14:29 - 14:31มันจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้คุณคิดว่า
-
14:31 - 14:32"เฮ้ย เอางี้จริงหรอ
-
14:32 - 14:36ภาษาของฉันจะต้องเปลี่ยนแปลง
ไปในทิศทางนั้นจริง ๆ หรอ" -
14:36 - 14:38สิ่งที่ดิฉันจะบอกก็คือ
-
14:38 - 14:39เราควรที่จะใจเย็นลง
-
14:39 - 14:43ก่อนที่จะตัดสินว่าการเปลี่ยนแปลงนั้น
ต้องเป็นเรื่องเลวร้าย -
14:43 - 14:45เราควรที่จะใจเย็นลงก่อนที่จะบังคับ
-
14:45 - 14:48ให้คนอื่นชอบหรือไม่ชอบคำต่าง ๆ
ในแบบเดียวกับเรา -
14:48 - 14:51และเราก็ควรที่จะหักห้ามใจอย่างเต็มที่
-
14:51 - 14:54ที่จะคิดที่ว่าภาษาอังกฤษนั้นกำลังมีปัญหา
-
14:54 - 14:58มันไม่ได้มีปัญหาเลย มันอุดมสมบูรณ์
มีชีวิตชีวา และถูกเติมเต็ม -
14:58 - 15:01ด้วยความคิดสร้างสรรค์จากผู้ที่พูดมัน
-
15:01 - 15:04ถ้าเรามองย้อนกลับไป เราอาจรู้สึกว่า
มันช่างน่าหลงใหล -
15:04 - 15:07ที่คำว่า "nice"
เคยมีความหมายว่า งี่เง่าหรือโง่ -
15:07 - 15:09และคำว่า "decimate"
-
15:09 - 15:12เคยมีความหมายว่า ฆ่าทุก ๆ หนึ่งในสิบคน
-
15:12 - 15:16(เสียงหัวเราะ)
-
15:17 - 15:22เรามองว่า เบนจามิน แฟรงคลิน นั้นงี่เง่า
-
15:22 - 15:25ที่มานั่งกังวลเรื่องการใช้คำว่า "notice" เป็นคำกริยา
-
15:25 - 15:26แต่คุณรู้ไหมว่า
-
15:26 - 15:29พวกเราเองก็จะดูงี่เง่าเช่นกัน
ในอีกร้อยปีข้างหน้า -
15:29 - 15:31ที่มานั่งกังวลกับคำว่า "impact" ที่เป็นคำกริยา
-
15:31 - 15:34และคำว่า "invite" ที่เป็นคำนาม
-
15:34 - 15:36ภาษานั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก
-
15:36 - 15:38จนกระทั่งพวกเราตามไม่ทัน
-
15:38 - 15:41ภาษาไม่ได้เป็นแบบนั้น
-
15:41 - 15:42ดิฉันหวังว่าสิ่งที่คุณจะทำได้นั้น
-
15:42 - 15:45คือการมองว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษานั้น
ไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตกกังวล -
15:45 - 15:47แต่เป็นเรื่องที่สนุก และน่าหลงใหล
-
15:47 - 15:50ในแบบที่บรรณาธิการพจนานุกรมต่างทำกัน
-
15:50 - 15:52ดิฉันหวังว่าพวกคุณ
จะเพลินเพลินไปกับการเป็นส่วนหนึ่ง -
15:52 - 15:57ของความสร้างสรรค์ที่จะสร้าง
-
15:57 - 16:00ภาษาของเราใหม่ต่อไปเรื่อย ๆ
และคอยทำให้มันคงทนถาวร -
16:00 - 16:03ว่าแต่ว่าคำคำหนึ่ง
จะเข้าไปอยู่ในพจนานุกรมได้อย่างไรล่ะ -
16:03 - 16:06มันจะเข้าไปอยู่ได้ ก็เพราะเราใช้มัน
-
16:06 - 16:07และเราใช้มันไปเรื่อย ๆ
-
16:07 - 16:12และบรรณาธิการพจนานุกรมนั้น
ต่างกำลังให้ความสนใจกับเราอยู่ -
16:12 - 16:15ถ้าคุณกำลังคิดว่า
"แต่นั่นแสดงว่าเราทุกคนก็เป็นคนตัดสินน่ะสิ -
16:15 - 16:16ว่าคำแต่ละคำมีความหมายว่าอะไร"
-
16:16 - 16:20ดิฉันก็จะบอกว่า "คุณคิดถูกแล้ว
-
16:20 - 16:23และมันก็เป็นเช่นนั้นเสมอมา"
-
16:23 - 16:27พจนานุกรมเป็นคู่มือชี้แนะ
และเป็นแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยม -
16:27 - 16:30แต่ว่าในโลกนี้ไม่มี
องค์กรพจนานุกรมที่ไหน -
16:30 - 16:34ที่จะทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้ชี้ขาด
ว่าคำไหนมีความหมายว่าอย่างไร -
16:34 - 16:37ถ้าหากมีคนกลุ่มหนึ่งกำลังใช้คำสักคำหนึ่ง
-
16:37 - 16:40แล้วรู้ว่าคำคำนั้นมีความหมายว่าอะไร
คำคำนั้นคือคำจริง ๆ -
16:40 - 16:42คำนั้นอาจเป็นคำสแลง
-
16:42 - 16:43คำนั้นอาจเป็นคำที่ไม่เป็นทางการ
-
16:43 - 16:45คำนั้นอาจเป็นคำที่คุณมองว่า
-
16:45 - 16:48ไม่สมเหตุสมผลและไม่จำเป็น
-
16:48 - 16:50แต่คำที่คุณกำลังใช้อยู่นั้น
-
16:50 - 16:52เป็นคำจริง ๆ ค่ะ
-
16:52 - 16:55ขอบคุณค่ะ
-
16:55 - 16:56(เสียงปรบมือ)
- Title:
- อะไรที่ทำให้คำคำหนึ่งกลายเป็น "คำจริง ๆ "
- Speaker:
- แอนน์ เคอร์ซาน (Anne Curzan)
- Description:
-
บางคนอาจอ้างว่าคำสแลงอย่างเช่น hangry (โมโหหิว) defriend (ลบเพื่อน) และ adorkable (น่ารักนะเด็กโง่) นั้น เป็นคำที่เติมเต็มช่องว่างทางความหมายที่สำคัญในภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าคำเหล่านั้นจะไม่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมก็ตาม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ใครกันล่ะที่เป็นคนกำหนดว่าคำคำใดจะไปปรากฏอยู่ในหน้าพจนานุกรมเหล่านั้น นักประวัติศาสตร์ทางภาษา แอนน์ เคอร์ซาน ได้นำเราไปสู่ถึงเบื้องหลังที่น่าหลงใหลของพจนานุกรมที่มีผู้คนมากมายทำงานในส่วนเบื้องหลังและการตัดสินใจของพวกเขาบนพื้นฐานที่มั่นคง
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 17:13
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes a word "real"? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes a word "real"? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for What makes a word "real"? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes a word "real"? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for What makes a word "real"? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes a word "real"? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes a word "real"? | |
![]() |
Purich Worawarachai edited Thai subtitles for What makes a word "real"? |