Return to Video

อธิบายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับอาการไอเรื้อรัง

  • 0:00 - 0:03
    MED Cram
  • 0:03 - 0:05
    ครับ ขอต้อนรับสู่การบรรยายอีกหัวข้อหนึ่งของ MED CRAM
  • 0:05 - 0:08
    เราจะพูดถึงอาการไอเรื้อรัง
  • 0:08 - 0:17
    ซึ่งจะใช้นิยามสำหรับใครก็ตามที่มีอาการไอต่อเนื่องมาแล้วอย่างน้อย 8 สัปดาห์
  • 0:17 - 0:33
    โดยทั่วไป สิ่งแรกที่คุณควรทำเมื่อมีอาการนี้ คือ คุณต้องเอ็กซ์เรย์ทรวงอก เพื่อตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อ
  • 0:33 - 0:39
    มันจะเป็นปัญหาใหญ่มาก ถ้าคุณมีคนไข้โรคติดเชื้อ ดังนั้นให้คุณสงสัยเลยว่ามีอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับวัณโรค
  • 0:39 - 0:45
    ถ้าคุณสงสัยว่ามันอาจเกี่ยวกับปอดบวม ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่คุณต้องให้แพทย์ตรวจคัดกรองโดยเร็วที่สุด
  • 0:45 - 0:53
    อย่างไรก็ตาม สมมุติว่าผลเอ็กซ์เรย์ทรวงอกเป็นปกติ สิ่งที่คุณต้องคัดกรองเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจอีกอย่างหนึ่งคือ คนไข้ไม่ได้กำลังกินยาลดความดันโลหิตสูงที่อยู่ในกลุ่ม ACE inhibitor
  • 0:53 - 1:02
    ซึ่งยาเหล่านี้มักจะมีชื่อลงท้ายด้วยคำว่า "pril" เช่น แค็ปโตพริล ไลไซโนพริล อินาลาพริล รามิพริล เป็นต้น
  • 1:02 - 1:11
    ซึ่งยาในกลุ่ม ACE Inhibitor เหล่านี้สามารถก่อให้เกิดอาการไอได้โดยไปเพิ่มการเกิดสารแบรดีไคนิน
  • 1:11 - 1:16
    ดังนั้น หากใครมีอาการไอเรื้อรังจนคุณต้องหาทางทดสอบเพื่อหาสาเหตุแล้วล่ะก็
  • 1:16 - 1:23
    สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ คุณต้องมั่นใจว่าคุณได้ทำการเอ็กซเรย์ทรวงอกเพื่อตรวจคัดกรองปัญหาการติดเชื้อแล้ว หลังจากนั้นก็ให้พิจารณาว่ายาที่พวกเค้ากำลังรับประทานอยู่นั้นไม่ใช่ยาในกลุ่ม ACE Inhibitor
  • 1:23 - 1:35
    ผมพูดได้เลยว่าประมาณร้อยละ 30 ของคนไข้ที่กินยากลุ่ม ACE Inhibitor จะมีอาการไอแห้งเรื้อรัง เอาล่ะ เมื่อคุณคัดกรองเรื่องพวกนี้ออกไปแล้ว ความเป็นไปได้อย่างอื่นคืออะไร
  • 1:35 - 1:48
    มาพูดถึงความเป็นไปได้อื่นกันดีกว่า มันมีความเป็นไปได้อยู่ 3 อย่าง ที่ผมมักจะมองหาเมื่อคนไข้มีอาการไอเรื้อรัง และสิ่งแรกที่ผมมักจะทำคือเริ่มจากสาเหตุที่เกิดจากด้านบนก่อน ถ้าคุณอยากทำนะ
  • 1:48 - 2:00
    เอาล่ะ ถ้าคุณรู้ว่ามี ดูที่รูปเล็กๆ นี่นะ นี่คือหัว จมูก และปากนะ
  • 2:00 - 2:05
    คุณรู้แล้วว่าช่องโพรงจมูกจะต่ำลงไปทางนี้ ถัดจากนั้นก็คือลิ้น
  • 2:05 - 2:15
    ถ้าคนไข้มีอาการอักเสบจากภูมิแพ้เกิดขึ้นที่บริเวณนี้ จะมีการสร้างน้ำมูกจำนวนมาก และน้ำมูกเหล่านี้จะหลั่งออกมารวมกันจนเหนียวข้นจนเป็นเสมหะ แล้วไหลลงไปที่คอส่วนหลัง
  • 2:15 - 2:28
    ซึ่งทำให้คุณต้องกำจัดมันออกไปจากคอ ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่าเสมหะไหลลงคอ หรือคออักเสบจากภูมิแพ้
  • 2:28 - 2:37
    เข้าใจนะ เสมหะไหลลงคอซึ่งเป็นการอักเสบจากภูมิแพ้ แล้วอาการของมันคืออะไร มันก็คือการพยายามกำจัดเสมหะออกจากลำคอบ่อยๆไงล่ะ
  • 2:37 - 2:45
    ถ้าคุณมองไปที่คอส่วนหลัง จะเห็นว่ามีปุ่มเกิดขึ้นลักษณะคล้ายปุ่มหิน เรียกว่า Cobblestone
  • 2:45 - 2:55
    ซึ่งจะเกิดขึ้นเวลาที่คุณคันเปลือกตาหรือเกิดภูมิแพ้เช่นกัน นึกออกนะ
  • 2:55 - 3:02
    ทีนี้ลองนึกถึงสิ่งที่จะเกิดเมื่อมีเสมหะไหลลงหรือคออักเสบจากภูมิแพ้สิ
  • 3:02 - 3:05
    ผมพูดได้เลยว่าคนไข้ทุกคนที่มีอาการไอเรื้อรังนอกเกิดจากการที่เราขับเสมหะออกจากร่างกาย
  • 3:05 - 3:10
    ซึ่งจะมีคนไข้อยู่ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ที่ไอเรื้อรังจากสาเหตุนี้
  • 3:10 - 3:13
    ดังนั้น ถ้าคราวหน้ามีคนไข้มาด้วยอาการไอเรื้อรังให้คิดถึงเรื่องนี้ด้วย
  • 3:13 - 3:17
    ว่ามันค่อนข้างจะเป็นไปได้ที่เราจะเจอคนไข้ที่มีเสมหะไหลลงคอ
  • 3:17 - 3:23
    แล้วการรักษาสำหรับอาการนี้คืออะไร? คุณต้องพยายามหาสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้
  • 3:23 - 3:34
    แต่สำหรับการรักษานั้น โดยทั่วไปก็จะใช้ยาสเตียรอยด์พ่นช่องจมูก ทันนะ?
  • 3:34 - 3:41
    คุณอาจจะเคยได้ยินชื่อยาเนโซเน็กซ์ , Flonase, Astelin หรือ Astepro
  • 3:41 - 3:50
    ยาเหล่านี้ล้วนเป็นยาสเตียรอยด์พ่นช่องจมูก หรือลดอาการภูมิแพ้ทั้งนั้น ทันนะ?
  • 3:50 - 3:56
    อีกอย่างหนึ่งที่เป็นตัวชี้วัดว่าเป็นการอักเสบจากภูมิแพ้คือมันมีอาการแค่อย่างเดียว
  • 3:56 - 4:00
    เอาล่ะ อาจมีอะไรอย่างอื่นที่คุณจะใช้ได้ในการวินิจฉัยอาการไอเรื้อรัง
  • 4:00 - 4:04
    แต่ถ้าอาการมันเหมือนกับที่กล่าวมา ก็ดีเลย
  • 4:04 - 4:15
    ทีนี้มาต่อที่ความเป็นไปได้อย่างต่อไป ซึ่งมีอยู่ประมาณ 9% แต่แทนที่จะเกิดจากส่วนบนไปยังส่วนล่าง มันกลับเกิดจากส่วนล่างขึ้นสู่ส่วนบนแทน
  • 4:15 - 4:29
    คุณมีหลอดลม แต่ที่ติดอยู่กับหลอดลม อันที่จริงคือมันติดอยู่หลังหลอดลมเลยคือหลอดอาหาร ซึ่งเชื่อมลงไปยังกระเพาะ
  • 4:29 - 4:33
    แต่ถ้ามีอะไรไปขวางอยู่ในนั้น คุณจะเป็นโรคที่เรียกว่าโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ
  • 4:33 - 4:42
    บางครั้งเวลามันเกิด จะทำให้ระคายเคืองหลอดลม และเป็นสาเหตุของภาวะที่เรียกว่ากรดไหลย้อน (เกิร์ด)
  • 4:42 - 4:53
    แล้วเราจะดูได้ยังไงว่ามีกรดไหลย้อนเกิดขึ้นหรือหรือเปล่า โรคกรดไหลย้อนจะมักจะเกิดและสัมพันธ์กับการไอ และที่แน่ๆ มันมักเกิดกับคนอายุน้อย คุณไม่ต้องอยากแก่ก็ได้นะ
  • 4:53 - 5:04
    โดยทั่วไป สิ่งที่คุณจะพบคือรู้สึกเหมือนมีรสเปรี้ยวของกรดในตอนเช้า ลองชันตัวขึ้นสิ คุณจะรู้สึกดีขึ้นนิดนึง รู้แล้วนะ 1. คือรู้สึกเหมือนมีรสเปรี้ยวของกรดในตอนเช้า
  • 5:04 - 5:13
    อ่า อาการหนึ่งที่บ่งชี้ว่าคุณเป็นกรดไหลย้อนแน่ๆ ก็คืออาการแสบร้อนกลางอก
  • 5:13 - 5:23
    อืม.. บางทีอาจมีการถูกทำลายจากกรดเกิดขึ้นที่ด้านหลังของคอ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฟันของคุณอาจมีการถูกกัดกร่อน
  • 5:23 - 5:28
    หรือเมื่อเวลาส่องคออย่างที่แพทย์หูคอจมูกทำกัน จะเห็นว่ามันเป็นยังไง
  • 5:28 - 5:37
    แล้วอะไรคือวิธีการรักษาล่ะ? คุณสามารถใช้ยายับยั้งการหลั่งกรดในกลุ่ม Proton Pump Inhibitor ได้
  • 5:37 - 5:46
    คุณสามารถไปซื้อที่ร้านขายยาได้ มันชื่อว่า Prilosec หรือจะใช้ยา Protonix Pantoprazole ก็ได้เช่นกัน เพราะยาในที่ยับยั้งการหลั่งของกรดในกลุ่ม Proton Pump Inhibitor นั้นมีอยู่หลายตัว
  • 5:46 - 5:56
    แต่มีอีกวิธีคือให้คุณยกศีรษะให้สูงขึ้นจากที่นอน และใช้อิฐสองก้อนหนุนขาหัวเตียง เพื่อที่ใบหน้าคุณก็จะได้ยกสูง
  • 5:56 - 6:07
    ทางเลือกในการรักษาอีกอย่างหนึ่งคือการนอนหนุนเบาะสามเหลี่ยม (wedge) วัตถุประสงค์ในการใช้เบาะนี้ก็เพื่อรักษาสภาพศีรษะให้ยกสูงจากที่นอน ดังนั้น สิ่งผิดปกติจะไม่สามารถไหลย้อนขึ้นมาได้ และทำให้หลอดลมอยู่ในแนวดิ่ง
  • 6:07 - 6:26
    อีกอย่างที่ทำได้คืองดทานอาหารก่อนเอนนอน 3 ชั่วโมง
  • 6:26 - 6:34
    และที่กระเพาะอาหารก็มีกล้ามเนื้อหูรูดอยู่ มีอยู่สองสามสิ่งที่เรารู้ว่าจะทำให้หูรูดเปิดออก ซึ่งคุณต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น
  • 6:34 - 6:53
    สิ่งที่เราควรหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน คือ แอลกอฮอล์ คาเฟอีน อาหารรสจัด และช็อคโกแล็ต
  • 6:53 - 7:02
    เอาล่ะ ถ้าดูแล้วว่ามันเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้น นี่คือสิ่งที่คุณต้องพยายามที่จะไม่ทำสิ่งเหล่านี้
  • 7:02 - 7:11
    ความเป็นไปได้อย่างสุดท้ายเป็นเรื่องที่พบบ่อย คือประมาณ 39% และเหมือนจะเป็นกลุ่มหลักๆ นั่นคือ โรคหอบหืด
  • 7:11 - 7:29
    คนไข้อาจไม่ได้หายใจมีเสียงหวีด พวกเขาอาจมีแค่อาการไอ หรือในบางรายแต่ก็ไม่เสมอไปที่อาจจะมีเสียงหวีดได้ แต่ที่แน่ๆ คือ คนไข้ไอมาก ซึ่งก็อาจเป็นอาการของโรคหอบหืดที่ตรวจพบได้อย่างเดียว
  • 7:29 - 7:36
    แล้วคนไข้กลุ่มนี้เป็นอะไร คนไข้จะมีอาการของโรคหอบหืดแต่แทนที่จะมีเสียงหวีดพวกเขาจะมีอาการไอแทน
  • 7:36 - 7:43
    ดังนั้นจึงต้องมีวิธีลดอาการ บางทีคนไข้อาจต้องหยุดใช้หมอนหรือเครื่องนอนที่มีขนสัตว์
  • 7:43 - 7:52
    นอกจากนี้ยังต้องไม่ให้มีสัตว์เลี้ยงในห้องนอน หรือลดสิ่งที่ก่อภูมิแพ้
  • 7:52 - 7:58
    ที่จริงแล้วคุณจะยังไม่รู้หรอกว่าคุณเป็นอะไรจนกว่าจะได้ทำการตรวจการทำงานของปอด
  • 7:58 - 8:03
    เรามาดูการบรรยายของ MED CRAM เรื่องการตรวจการทำงานของปอดเพื่อให้เข้าใจว่าโรคหอบหืดเป็นอย่างไร
  • 8:03 - 8:09
    และอีกสิ่งที่ใช้วินิจฉัยร่วมด้วยคือการทำ methocholine challenge test เพื่อวัดความไวของหลอดลมหลังให้สารเมธาโคลิน (methocholine)
  • 8:09 - 8:16
    นี่คือเวลาที่คนไข้หายใจเข้า แล้ววัดปริมาตรของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่หลังจากหายใจเข้าเต็มที่ จากนั้นจึงให้สารเมธาโคลิน (methocholine)
  • 8:16 - 8:25
    คุณจะเห็นเลยว่าคนไข้เป็นอย่างไร ถ้าคนไข้อาการแย่ลง ก็จะทราบได้ว่าคนไข้ไวต่อสารเมธาโคลิน (methocholine) ซึ่งหมายถึงคนไข้เป็นโรคหอบหืด
  • 8:25 - 8:29
    จากนั้นจะให้ยา albuterol พ่นเข้าทางปาก เพื่อให้คนไข้กลับสู่ภาวะปกติ
  • 8:29 - 8:35
    ถ้าการทดสอบเป็นเช่นนี้ คุณก็จะทราบได้ว่าการทดสอบความไวของหลอดลมมีผลบวก ซึ่งหมายถึงคนไข้เป็นโรคหอบหืดอย่างที่คุณคิดไว้
  • 8:35 - 8:52
    และถ้าคนไข้รายนั้นต้องใช้ยาพ่น หรือยาสูด หรือยาสเตียรอยด์แบบสูดพ่น นั่นคือวิธีการเดียวกับการรักษาโรคหอบหืด
  • 8:52 - 9:01
    นี่คือวิธีต่างๆ ที่ใช้วินิจฉัย แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการไอเรื้อรังอาจไม่ได้เกิดจากสาเหตุอย่างใดอย่างใด แต่จริงๆ แล้วเกิดจากหลายอย่างร่วมกัน
  • 9:01 - 9:12
    และคุณจะเห็นว่ามันเป็นอาการคาบเกี่ยวกันระหว่างกลุ่มโรคที่แตกต่างกันเหล่านี้ ฉะนั้น คุณต้องให้การรักษาที่ต่างกันไปในแต่ละกลุ่มโรค
  • 9:12 - 9:21
    ดังนั้น ครั้งต่อไปเมื่อมีคนไข้มาด้วยอาการไอเรื้อรัง ให้นึกถึงอาการไอที่สัมพันธ์กับโรคหอบหืดอย่างหนึ่ง
  • 9:21 - 9:28
    โรคกรดไหลย้อนอย่างหนึ่ง และโรคภูมิแพ้อีกอย่างหนึ่ง
  • 9:28 - 9:30
    ขอบคุณมากครับ
  • 9:30 - 9:40
    ดนตรีบรรเลง
Title:
อธิบายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับอาการไอเรื้อรัง
Description:

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุหลักของอาการไอเรื้อรัง มีคำอธิบายอย่างชัดเจนจาก Dr. Roger Seheult. รวมไปถึงการบรรยายเกี่ยวกับโรคหอบหืด กรดไหลย้อน การอักเสบจากภูมิแพ้ การเอ็กซ์เรย์ทรวงอก และอื่นๆ

MedCram เป็นการบรรยายโดยอาจารย์ชั้นนำระดับโลกเพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจนในหัวข้อทางการแพทย์

กลุ่มผู้ชมที่แนะนำคือ ผู้ที่ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและนักเรียน
และเป็นการทบทวนสำหรับการสอบ USMLE, MCAT, PANCE, NCLEX, NAPLEX, NDBE, การสอบในระดับวิทยาลัยแลการสอบระดับประกาศนียบัตร

จัดทำโดย Kyle Allred PA-C

โปรดทราบ: วิดีทัศน์ของ MedCram Videos จัดทำเพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษาและการเตรียมตัวสอบ มิได้ประสงค์ให้นำไปใช้แทนคำแนะนำจากผู้ให้บริการทางการแพทย์ของท่าน

more » « less
Video Language:
English
Team:
Volunteer
Duration:
09:45

Thai subtitles

Revisions Compare revisions