< Return to Video

เล่าเรื่อง : นางนพมาศ | Point of View

  • 0:00 - 0:02
    สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View นะคะ
  • 0:02 - 0:04
    วันนี้ก็เป็นวันลอยกระทงใช่ไหมคะ
  • 0:04 - 0:06
    เมื่อพูดถึงวันลอยกระทง
  • 0:06 - 0:07
    พูดถึงชุดไทยอะไรประมาณนี้เนี่ย
  • 0:07 - 0:10
    หลายคนก็จะนึกถึงนางคนนึง
  • 0:10 - 0:12
    ก็คือ นางนพมาศนั่นเอง ใช่ไหม
  • 0:12 - 0:15
    เพราะว่าเราเคยได้รับรู้เรื่องราวของนางว่า
  • 0:15 - 0:17
    นางเป็นคนประดิษฐ์กระทงเป็นคนแรก
  • 0:17 - 0:18
    ตั้งแต่สมัยสุโขทัย
  • 0:18 - 0:19
    มาตั้งแต่เด็ก ๆ ใช่ไหมคะ
  • 0:19 - 0:23
    แต่ทีนี้รู้รึเปล่าว่า เรื่องราวของนางทั้งหมดเนี่ย
  • 0:23 - 0:24
    มาจากที่ไหน อะไรยังไง
  • 0:24 - 0:27
    วันนี้ก็เลยจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับนางนพมาศค่ะ
  • 0:29 - 0:31
    พอพูดว่าจะมาเล่าเรื่องนางนพมาศนะคะ
  • 0:31 - 0:33
    หลายคนก็จะคิดว่า อ๋อ
  • 0:33 - 0:35
    เดี๋ยวจะมาเล่าประวัติของนางใช่ไหม อะไรใช่ไหม
  • 0:35 - 0:38
    ไม่ใช่ค่ะ คือจะบอกว่ามันมีหนังสืออยู่เล่มนึง
  • 0:38 - 0:40
    ที่เป็นที่ถกเถียงกันหนักมาก
  • 0:40 - 0:42
    ว่าเป็นวรรณคดีสมัยสุโขทัย
  • 0:42 - 0:44
    หรือสมัยรัตนโกสินทร์กันแน่
  • 0:44 - 0:46
    เป็นหนังสือที่มีถึงสามชื่อด้วยกันค่ะ
  • 0:46 - 0:48
    ชื่อแรกก็คือ เรื่องนางนพมาศ
  • 0:48 - 0:51
    ส่วนชื่อที่สองบอกว่าเป็นชื่อ เรวดีนพมาศ
  • 0:51 - 0:54
    และชื่อที่สามคือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ค่ะ
  • 0:54 - 0:56
    หนังสือเล่มนี้นะเป็นหนังสือที่
  • 0:56 - 0:58
    เขียนด้วยสำนวนร้อยแก้ว ร้อยแก้วคืออะไร
  • 0:58 - 1:00
    ร้อยแก้วคือการเขียนไปเรื่อย ๆ
  • 1:00 - 1:01
    เขียนแบบเขียน ๆ ธรรมดา
  • 1:01 - 1:03
    ไม่ได้เป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
  • 1:03 - 1:04
    คำประพันธ์ร้อยกรองนะคะ
  • 1:04 - 1:08
    นอกจากนี้เนี่ย ก็เขียนเป็นลักษณะเหมือนไดอารี่
  • 1:08 - 1:12
    คือ เป็นไดอารี่ของเจ๊คนนึง ชื่อว่าเรวดีนพมาศนั่นเอง
  • 1:12 - 1:14
    ก็คือนางนพมาศของเรา
  • 1:14 - 1:16
    แต่ว่าเนื้อหานี่ไม่ได้พูดถึงลอยกระทงเป็นหลักเลย
  • 1:16 - 1:19
    คือ เรื่องเกี่ยวกับเทศกาลลอยกระทงเนี่ย
  • 1:19 - 1:21
    เป็นแค่เสี้ยวเดียวเล็กมาก
  • 1:21 - 1:23
    อยู่ในเรื่องนางนพมาศนะคะ
  • 1:23 - 1:25
    ทีนี้ถ้าไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้
  • 1:25 - 1:27
    แล้วหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร
  • 1:27 - 1:29
    หนังสือเล่มนี้นะคะ ก็เริ่มขึ้นมาโดยการ
  • 1:29 - 1:32
    เปิดฉากบอกว่า ข้าน้อยชื่อนพมาศ
  • 1:32 - 1:35
    ข้าน้อยจะมาเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ทุกคนฟังนะ
  • 1:35 - 1:37
    เริ่มจากบอกก่อนว่าในสมัยของข้าน้อยเนี่ย
  • 1:37 - 1:38
    โลกเป็นยังไง
  • 1:38 - 1:41
    ก็จะเริ่มไล่จำแนกชาติ จำแนกภาษาก่อนว่า
  • 1:41 - 1:44
    อ๋อ ตอนนี้ในโลกเรานะ มีชาติต่าง ๆ ดังนี้
  • 1:44 - 1:47
    มีลาว มีไทย มีเขมร มีนู่นมีนี่ไปเรื่อย ๆ
  • 1:47 - 1:50
    รวมไปถึงชาติฝรั่ง "มะริกัน" ด้วยนะคะ
  • 1:50 - 1:52
    จำอันนี้ไว้ให้ดี ๆ จะเป็นประเด็นนิดนึง
  • 1:52 - 1:53
    ที่เราจะไปคุยกันตอนท้ายค่ะ
  • 1:53 - 1:56
    หลังจากนั้นก็อธิบายถึงภาษาว่า เออ
  • 1:56 - 1:58
    แต่ละชนชาติพูดภาษาอะไรบ้าง อะไรยังไงนะคะ
  • 1:59 - 2:01
    ก็เรียกได้ว่าเปิดมาโดยการอธิบายโลกก่อนว่า
  • 2:01 - 2:03
    ตอนนี้ setting นะจ๊ะ เป็นอย่างนี้นะจ๊ะ
  • 2:03 - 2:05
    โลกเราตอนนี้เป็นแบบนี้เลย
  • 2:05 - 2:07
    พอหลังจากพูดถึงโลกเสร็จก็เริ่ม
  • 2:07 - 2:08
    กล่าวสรรเสริญพระร่วงค่ะ
  • 2:08 - 2:10
    ซึ่งพระร่วงนี่ก็หมายถึง
  • 2:10 - 2:12
    กษัตริย์ในสมัยสุโขทัยใช่ไหมที่
  • 2:12 - 2:14
    เราพูดกันบ่อย ๆ เวลาเราเล่าเรื่อง
  • 2:14 - 2:15
    ไตรภูมิพระร่วงนะคะ
  • 2:15 - 2:17
    ก็บอกว่า อ๋อ พระร่วงองค์นี้เนี่ย
  • 2:17 - 2:20
    เป็นพระร่วงผู้ยิ่งใหญ่นู่นนี่นั่นไปเรื่อย ๆ
  • 2:20 - 2:22
    หลังจากที่กล่าวยกย่องกษัตริย์เสร็จใช่ไหม
  • 2:22 - 2:25
    ก็จะต้องเริ่มกล่าวถึงตระกูลต่าง ๆ
  • 2:25 - 2:27
    ในเมืองสุโขทัยค่ะ ก็บอกว่า
  • 2:27 - 2:28
    อ๋อ เมืองสุโขทัยของพระร่วงเนี่ย
  • 2:28 - 2:30
    มีตระกูลที่สำคัญดังนั้นดังนี้
  • 2:30 - 2:33
    นอกจากนี้เมืองสุโขทัยก็มีเมืองขึ้น
  • 2:33 - 2:35
    เป็นเมืองนั้น เป็นเมืองนี้ เป็นเมืองนู้นนะคะ
  • 2:35 - 2:38
    เมืองสุโขทัยยิ่งใหญ่ เมืองสุโขทัยมีวัดที่สวยงาม
  • 2:38 - 2:40
    วัดวาอารามสวยงามยิ่งใหญ่
  • 2:41 - 2:43
    ซึ่งอันนี้ไม่ใช่กลอนจากเรื่องนี้แม้แต่น้อย
  • 2:43 - 2:45
    ทำไมต้องวัดวาอารามสวยงามยิ่งใหญ่
  • 2:46 - 2:47
    เป็นอาขยานน่ะนะ
  • 2:47 - 2:50
    มันก็ติดปากมาตั้งแต่สมัยประถมมัธยม
  • 2:50 - 2:53
    นอกจากนี้ก็กล่าวถึงศาสนาต่าง ๆ ในเมืองสุโขทัย
  • 2:53 - 2:55
    ไม่ว่าจะเป็นพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์
  • 2:55 - 2:58
    ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม
  • 2:58 - 3:00
    รวมไปถึงลัทธิความเชื่ออื่น ๆ ด้วย
  • 3:00 - 3:02
    เรียกได้ว่าเมืองสุโขทัยในมุมมองของนางนพมาศ
  • 3:02 - 3:05
    ที่เขียนเล่าออกมาเนี่ย เป็นเมืองในอุดมคติเลยนะ
  • 3:05 - 3:08
    เป็นเมืองที่ เฮ้ย ยิ่งใหญ่อลังการ เจริญ
  • 3:09 - 3:14
    มีศิลปวัฒนธรรม มีศาสนาต่าง ๆ
  • 3:14 - 3:16
    ฟรี แฮปปี้ มีความสุขมาก ๆ
  • 3:16 - 3:19
    หลังจากนั้นค่ะ นางนพมาศถึงมาเริ่มกล่าวถึง
  • 3:19 - 3:21
    ประวัติของพระร่วงก่อนว่า
  • 3:21 - 3:23
    อ๋อ พระร่วงองค์นี้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้นะ
  • 3:23 - 3:25
    พอกล่าวถึงประวัติของพระร่วงเสร็จปุ๊บ
  • 3:25 - 3:27
    ก็เริ่มพูดถึงประวัติตัวเองแล้วว่า
  • 3:27 - 3:31
    อ๋อ มีข้าราชการของพระร่วงอยู่ ชื่อว่าศรีมโหสถ
  • 3:31 - 3:33
    มีลูกสาวสวยมากนะคะ
  • 3:34 - 3:36
    ชื่อนพมาศ หรือข้าเอง
  • 3:36 - 3:38
    ชื่อเต็ม ๆ ก็คือ เรวดีนพมาศ
  • 3:38 - 3:40
    หลังจากนั้นก็ชมตัวเองเป็นกลอนยาวพอสมควร
  • 3:40 - 3:43
    คือ เล่มนี้เป็นร้อยแก้วก็จริง
  • 3:43 - 3:45
    แต่มีร้อยกรองแทรกอยู่ประมาณสามสี่บทได้นะคะ
  • 3:45 - 3:47
    ซึ่งบทชมความงามของนางนพมาศนี่ก็เป็น
  • 3:47 - 3:49
    หนึ่งในบทนั้น ก็จะชมประมาณว่า
  • 3:49 - 3:52
    ละไมละม่อมพร้อมพริ้งยิ่งนารี
  • 3:52 - 3:54
    จำเริญศรีสมบูรณ์ประยูรศักดิ์
  • 3:54 - 3:56
    เนื้อเหลืองเล่ห์ทองผ่องผิวภักตร์
  • 3:56 - 3:59
    เปนที่รักดังดวงจิตรบิดรเอย
  • 3:59 - 4:00
    ไม่ได้ชมแค่ว่าสวยด้วยนะ
  • 4:00 - 4:03
    นางนพมาศนะคะ พรีเซนต์ตัวเองหนักมากว่า
  • 4:03 - 4:05
    นอกจากสวยแล้วฉันยังเป็นคนฉลาดอีก
  • 4:05 - 4:07
    ฉลาดยังไง ฉลาดตรงที่บอกว่า
  • 4:07 - 4:11
    โฉมนวลนพมาศ เปนนักปราชญ์ฉลาดด้วยบิดาสอน
  • 4:11 - 4:14
    ช่างกล่าวถ้อยมะธุรศบทกลอน
  • 4:14 - 4:16
    ถวายพรพรรณาพระพุทธคุณ
  • 4:16 - 4:19
    สาระพัดจะพึงใจไปครบสิ่ง
  • 4:19 - 4:22
    เปนยอดหญิงยิ่งธิดาทุกหมื่นขุน
  • 4:22 - 4:24
    แต่ก่อนปางสร้างกุศลผลบุญ
  • 4:24 - 4:27
    มาเกื้อหนุนให้งามวิไลเอย
  • 4:28 - 4:31
    นี่ไดอารี่นะ เขียนถึงตัวเอง
  • 4:31 - 4:33
    ฉันทำบุญมาเยอะ ฉันเลยสวย ฉันเลยฉลาด
  • 4:33 - 4:34
    ฉันเลยชอบฟังธรรม
  • 4:34 - 4:38
    ฉันเป็นยอดหญิงที่เริ่ดที่สุดในเมืองนี้แล้ว
  • 4:38 - 4:39
    นะคะ นี่ไดอารี่
  • 4:39 - 4:42
    ซึ่งแน่นอนว่าความสวยงามของนางนพมาศนี้จะต้อง
  • 4:42 - 4:45
    มีคนเอาไปแต่งโคลงกาพย์ร่ายกลอนค่ะ
  • 4:45 - 4:46
    ก็มีคนเอาไปขับซอน่ะแหละ
  • 4:46 - 4:49
    เป็นคำประพันธ์ประเภทนึง ขับซอชมความงาม
  • 4:49 - 4:52
    ถ้าใครเคยฟังที่เล่าเรื่องลิลิตพระลอไป
  • 4:52 - 4:53
    ก็อารมณ์เดียวกับพระเพื่อนพระแพงเลย
  • 4:53 - 4:55
    ความสวยของนางนพมาศค่ะ
  • 4:55 - 4:57
    ลอยไปเข้าหูของพระร่วง
  • 4:57 - 4:58
    สุดท้ายพระร่วงเนี่ยก็
  • 4:58 - 5:00
    ทั้งสวยทั้งฉลาด จะเก็บไว้ทำไม
  • 5:00 - 5:02
    ก็เลยเรียกนางเข้ามาเป็นนางสนม
  • 5:02 - 5:06
    ซึ่งก่อนที่พระศรีมโหสถ ผู้เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
  • 5:06 - 5:08
    จะนำลูกสาวของตัวเองไปถวายก็
  • 5:08 - 5:11
    รู้สึกว่า เฮ้ย ถวายเฉย ๆ ไม่ได้
  • 5:11 - 5:14
    ถ้าเกิดลูกสาวเราไม่ดีพอเนี่ย ไม่ควรถวาย
  • 5:14 - 5:16
    ดังนั้นก็เลยมีการลองปัญญานางนพมาศ
  • 5:16 - 5:18
    ด้วยการตั้งคำถามนู่นนี่นั่นว่า
  • 5:18 - 5:19
    ถ้าลูกเจออย่างนี้ ลูกจะทำยังไง
  • 5:19 - 5:21
    ถ้าลูกอย่างนั้น ลูกจะทำยังไงนะคะ
  • 5:21 - 5:23
    ซึ่งนางนพมาศก็ทำข้อสอบผ่านหมด
  • 5:23 - 5:27
    ก็เลยได้ถวายตัวเป็นพระสนมของพระร่วงในที่สุดค่ะ
  • 5:27 - 5:30
    ซึ่งตอนสำคัญของหนังสือนางนพมาศทั้งหมดนี้
  • 5:30 - 5:33
    อยู่ตรงนี้นี่เอง อยู่ตรงที่พระศรีมโหสถ
  • 5:33 - 5:35
    ทดสอบนางนพมาศว่าแบบ
  • 5:35 - 5:36
    การที่เธอจะได้เป็นสนมนางใน
  • 5:36 - 5:38
    รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินเนี่ย
  • 5:38 - 5:40
    เธอควรจะมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
  • 5:40 - 5:42
    เธอควรจะเป็นผู้หญิงที่เรียบร้อยไหม
  • 5:42 - 5:43
    เธอควรจะฉลาดรึเปล่า
  • 5:43 - 5:46
    เธอควรจะออกความเห็นตอนไหน
  • 5:46 - 5:48
    เธอควรจะจงรักภักดีนะ แล้วก็
  • 5:48 - 5:50
    ที่สำคัญที่สุด เธอไม่ควรจะเล่นเพื่อน
  • 5:50 - 5:53
    เล่นเพื่อนคืออะไร เล่นเพื่อนคือ เอ่อ
  • 5:53 - 5:55
    อธิบายง่าย ๆ สมัยก่อนในราชสำนัก
  • 5:55 - 5:57
    มีผู้ชายแค่คนเดียว คือกษัตริย์
  • 5:57 - 5:58
    ที่เหลือเป็นผู้หญิงหมด
  • 5:58 - 6:01
    ดังนั้นก็อาจจะมีการตั้งวงดนตรีไทยบ้างอะไรบ้าง
  • 6:01 - 6:06
    เพื่อแก้เบื่อนะคะ ยามที่มีความสนุกไม่ทั่วถึงน่ะนะ
  • 6:06 - 6:09
    ก็เอาเถอะ ถ้าใครไม่เข้าใจแปลว่าเด็กไป
  • 6:09 - 6:11
    อย่าเพิ่งเข้าใจ ไว้โตก่อนค่อยเข้าใจนะคะ
  • 6:11 - 6:12
    เริ่มทำตัวเหมือนผู้ใหญ่
  • 6:12 - 6:14
    เวลาอธิบายเรื่องอะไรซักอย่าง
  • 6:14 - 6:16
    จุดสำคัญของเรื่องนี้ก็อยู่ตอนนี้แหละ
  • 6:16 - 6:18
    ตอนที่พ่อแม่พยายามสอนนางว่า
  • 6:18 - 6:19
    การที่จะถวายตัวแล้วเนี่ย
  • 6:19 - 6:21
    จะต้องทำตัวยังไง อะไรยังไงนะคะ
  • 6:21 - 6:24
    หลังจากเล่าเรื่องชีวิตตัวเองก่อนเข้าวังจบนะคะ
  • 6:24 - 6:27
    นางนพมาศก็เริ่มไล่เรียงค่ะว่า
  • 6:27 - 6:29
    เอ่อ ชีวิตในวังของนางเป็นยังไง
  • 6:29 - 6:31
    โดยผ่านพระราชพิธีต่าง ๆ ที่นางได้เข้าร่วมนะคะ
  • 6:31 - 6:33
    ไม่ว่าจะเป็นพระราชพิธีจองเปรียง
  • 6:33 - 6:37
    พระราชพิธีตรียัมปวาย พิธีตรีปวาย
  • 6:37 - 6:41
    พิธีธานยเทาะห์ พิธีสัมพัจฉรฉินท์ พิธีแรกนา
  • 6:41 - 6:44
    วิสาขบูชา อะไรเยอะแยะเต็มไปหมดเลยนะคะ
  • 6:44 - 6:46
    ซึ่งในบรรดาพิธีเหล่านี้
  • 6:46 - 6:49
    ที่นางนพมาศได้ไปเข้าร่วมเนี่ย
  • 6:49 - 6:50
    พิธีแรกก็คือ พิธีจองเปรียง
  • 6:50 - 6:53
    ซึ่งชื่อพิธีนี้เราก็จะคุ้น ๆ นิดนึง นั่นก็คือ
  • 6:53 - 6:54
    พิธีที่ทุกวันนี้เราเข้าใจว่าเป็น
  • 6:54 - 6:56
    พิธีลอยกระทงนั่นเองนะคะ
  • 6:56 - 6:59
    ถ้าพูดถึงตามหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน
  • 6:59 - 7:01
    ของรัชกาลที่ห้าเนี่ยก็ คำว่าจองเปรียง
  • 7:01 - 7:03
    อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวกับลอยกระทงเท่าไหร่
  • 7:03 - 7:05
    แต่สุดท้ายมันก็กลายเป็นพิธีเดียวกันน่ะนะ
  • 7:05 - 7:08
    เราจะไม่ลงลึกตรงนี้ แต่เอาเป็นว่าในพระราชพิธีนี้
  • 7:08 - 7:10
    นางนพมาศก็ได้แสดงความฉลาดของตัวเอง
  • 7:10 - 7:13
    โดยการประดิษฐ์โคมจากใบตองนะคะ
  • 7:13 - 7:16
    ออกมาเป็นรูปดอกบัว ก็คือกระทงทุกวันนี้นั่นเอง
  • 7:16 - 7:19
    ซึ่งสวยงามมากจนพระร่วงชม บอกว่า
  • 7:19 - 7:21
    เฮ้ย มันเป็นงานประดิษฐ์ที่สวยงามมาก
  • 7:21 - 7:24
    หลังจากนี้ในพระราชพิธีนี้ เราจะใช้สิ่งนี้แหละ
  • 7:24 - 7:26
    ในการบูชานะคะ
  • 7:26 - 7:28
    ดังนั้นนี่ก็เป็นที่มาของกระทง
  • 7:28 - 7:30
    ซึ่งเป็นเสี้ยวเดียวเล็กมาก
  • 7:30 - 7:32
    ในประวัติชีวิตของนางนพมาศนั่นเอง
  • 7:32 - 7:34
    นอกจากพิธีจองเปรียงนะคะ
  • 7:34 - 7:36
    ก็จะมีพิธีอีกประมาณพิธีสองพิธี
  • 7:36 - 7:38
    ที่นางนพมาศได้เข้าร่วมแล้วก็
  • 7:38 - 7:41
    ได้แสดงความฉลาดแบบนี้น่ะแหละนะ
  • 7:41 - 7:43
    เมื่อจบเรื่องพระราชพิธีต่าง ๆ นะคะ
  • 7:43 - 7:45
    นางนพมาศก็มีการกลับมาพูดถึงเรื่องพระสนมอีก
  • 7:45 - 7:47
    ว่าแบบ พระสนมในตระกูลนั้นเป็นอย่างนั้น
  • 7:47 - 7:48
    พระสนมในตระกูลนี้เป็นอย่างนี้
  • 7:48 - 7:50
    สุดท้ายก็จบด้วยการบอกว่า
  • 7:50 - 7:51
    ความประพฤติแบบฉันนี่แหละ
  • 7:51 - 7:53
    เป็นความประพฤติที่ดี อะไรประมาณนี้นะคะ
  • 7:53 - 7:55
    จบเรื่องนางนพมาศแล้วนะคะ
  • 7:55 - 7:58
    ก็มีบางเรื่องที่เราควรจะมาคุยกันในเรื่องนี้
  • 7:58 - 8:00
    จะเห็นว่าตลอดเรื่องของนางนพมาศนะคะ
  • 8:00 - 8:02
    มีการกล่าวถึงความประพฤติของพระสนม
  • 8:02 - 8:05
    เยอะมาก ๆ ว่าแบบไหนดี แบบไหนไม่ดี
  • 8:05 - 8:07
    แบบไหนควรทำ แบบไหนไม่ควรทำนะ
  • 8:07 - 8:10
    เขาก็เลยเชื่อกันว่าหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
  • 8:10 - 8:12
    หรือว่าหนังสือเรื่องนางนพมาศเนี่ย
  • 8:12 - 8:16
    เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อที่จะเอาไว้สอนพระสนมว่า
  • 8:16 - 8:18
    เฮ้ย คนที่เข้ามาอยู่ในวัง เป็นสนม
  • 8:18 - 8:20
    เป็นนางในเนี่ย ควรจะทำตัวยังไง
  • 8:20 - 8:24
    ถือว่าเป็นสุภาษิตสอนสตรีรูปแบบนึงค่ะ
  • 8:24 - 8:25
    ส่วนการวิเคราะห์ยาว ๆ
  • 8:25 - 8:27
    ซึ่งอาจจะดราม่านิดนึงนะคะก็
  • 8:27 - 8:30
    รอฟังหลังจบคลิปวิดีโอแล้วกันค่ะ
  • 8:30 - 8:32
    ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้นะคะก็อย่าลืม
  • 8:32 - 8:34
    กดไลก์เป็นกำลังใจให้วิวแล้วก็
  • 8:34 - 8:35
    กดแชร์เพื่อชวนเพื่อน ๆ มาดูด้วยกันค่ะ
  • 8:35 - 8:37
    ไม่อยากพลาดคลิปวิดีโอใหม่ ๆ นะคะ
  • 8:37 - 8:39
    อย่าลืมกดปุ่ม Subscribe ค่ะ
  • 8:39 - 8:40
    หลังจาก Subscribe แล้ว
  • 8:40 - 8:41
    อย่าลืมกดปุ่มกระดิ่งนะคะ
  • 8:41 - 8:43
    เพื่อที่มันจะได้เด้งไปเตือนเลย
  • 8:43 - 8:45
    ทุกครั้งที่วิวอัพคลิปใหม่
  • 8:45 - 8:47
    ซึ่งบางทีก็ไม่เป็นเวล่ำเวลาอะไรเท่าไหร่อะนะ
  • 8:47 - 8:49
    ใครมีความเห็นอะไรยังไง
  • 8:49 - 8:50
    อยากพูดคุยแลกเปลี่ยนก็
  • 8:50 - 8:51
    คอมเมนต์บอกด้านล่างนะคะ
  • 8:51 - 8:53
    แล้ววิวสัญญาจะมาอ่านทุกคอมเมนต์เลย
  • 8:53 - 8:54
    แต่อาจจะตอบบ้างไม่ตอบบ้าง
  • 8:54 - 8:56
    ต้องขอโทษจริง ๆ นะคะ
  • 8:56 - 8:59
    แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้าค่ะ บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ
  • 9:00 - 9:01
    สงสัยไหมที่ตอนแรกบอกว่า
  • 9:01 - 9:04
    อาจจะเป็นวรรณคดีสมัยสุโขทัยหรือรัตนโกสินทร์
  • 9:04 - 9:07
    คือ เรื่องนี้เขาเถียงกันอยู่
  • 9:07 - 9:09
    เพราะว่าหลายคนก็บอกว่า
  • 9:09 - 9:10
    มันเป็นหนังสือที่เขียนโดยนางนพมาศ
  • 9:10 - 9:12
    นางนพมาศอยู่ในสมัยสุโขทัย
  • 9:12 - 9:13
    เขียนด้วยสรรพนามบุรุษที่ 1
  • 9:13 - 9:16
    ข้าชื่อนพมาศ นู่นนี่นั่น มันก็ต้องเกิดสมัยสุโขทัยสิ
  • 9:16 - 9:19
    แต่ว่าหลายคนที่ได้ลองอ่านจริง ๆ ก็จะเห็นว่า
  • 9:19 - 9:22
    ภาษาเนี่ย มันเป็นภาษารัตนโกสินทร์มาก
  • 9:22 - 9:24
    อย่างที่อ่านกลอนไปเมื่อกี้ก็จะเห็นว่ามันแปลออก
  • 9:24 - 9:26
    คืออ่านแล้วเข้าใจได้ในทันที
  • 9:26 - 9:28
    ในขณะที่ถ้าเกิดใครเคยอ่านไตรภูมิพระร่วง
  • 9:28 - 9:29
    จะรู้ว่ามันอ่านไม่รู้เรื่องอะนะ
  • 9:29 - 9:35
    มันก็จะแบบ ไตรภูมิพระร่วงโสดนี้ แลนา
  • 9:35 - 9:37
    อะไรอย่างนี้ คืออ่านแล้วงง ๆ นิดนึง
  • 9:37 - 9:38
    ในขณะที่ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เนี่ย
  • 9:38 - 9:41
    อ่านได้เป็นหนังสือปกติเลย
  • 9:41 - 9:42
    มีภาษายากนิดเดียวนะคะ
  • 9:43 - 9:46
    ที่สำคัญมันก็มีบางอันที่หลุดมา
  • 9:46 - 9:49
    แล้วเขารู้สึกว่ามันไม่น่าจะมีในสมัยสุโขทัย
  • 9:49 - 9:52
    เช่น ฝรั่งมะริกัน อเมริกัน อเมริกา
  • 9:52 - 9:54
    มันไม่มีตั้งแต่สมัยสุโขทัยไง
  • 9:54 - 9:56
    มันมีตั้งแต่สมัยช่วงกรุงธนบุรี
  • 9:56 - 9:58
    ต้นรัตนโกสินทร์ นึกออกใช่ไหม
  • 9:58 - 10:02
    แล้วก็มีการกล่าวถึง ปืนใหญ่ อะไรอย่างนี้แบบ
  • 10:02 - 10:03
    ซึ่งดินปืนสมัยสุโขทัย
  • 10:03 - 10:06
    มันก็ยังไม่ได้พัฒนาอะไรขนาดนั้นน่ะนะ
  • 10:07 - 10:08
    ก็เลยทำให้เขาสงสัยกันว่า
  • 10:08 - 10:12
    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์รึเปล่า
  • 10:12 - 10:14
    แล้วเป็นเหมือนนิยายไง เป็นนิยายที่แบบว่า
  • 10:15 - 10:18
    คือเหมือนอารมณ์ Princess Diary อะ
  • 10:18 - 10:19
    คือเจ้าหญิงก็ไม่ได้เป็นคนเขียน
  • 10:19 - 10:21
    แต่ว่าเป็นคนอื่นเขียนแล้วก็
  • 10:21 - 10:22
    ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 น่ะนะ
  • 10:22 - 10:25
    ก็เป็นที่ถกเถียงกันต่อไปในวงวิชาการนะคะ
  • 10:25 - 10:28
    แต่ว่านักวิชาการจำนวนมาก ๆ เนี่ย
  • 10:28 - 10:29
    ยืนยันว่าเรื่องนี้แหละ
  • 10:30 - 10:31
    แต่งในรัตนโกสินทร์แน่นอน
  • 10:31 - 10:33
    น่าจะสมัยประมาณรัชกาลที่สามน่ะนะ
  • 10:34 - 10:36
    ถ้าใครมีความเห็นหรือข้อมูลเพิ่มเติมยังไงก็
  • 10:36 - 10:38
    คอมเมนต์บอกด้านล่างละกันค่ะ
  • 10:38 - 10:40
    สุขสันต์วันลอยกระทงค่ะทุกคน
Title:
เล่าเรื่อง : นางนพมาศ | Point of View
Description:

more » « less
Video Language:
Thai
Duration:
10:42

Thai subtitles

Revisions