สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View นะคะ วันนี้ก็เป็นวันลอยกระทงใช่ไหมคะ เมื่อพูดถึงวันลอยกระทง พูดถึงชุดไทยอะไรประมาณนี้เนี่ย หลายคนก็จะนึกถึงนางคนนึง ก็คือ นางนพมาศนั่นเอง ใช่ไหม เพราะว่าเราเคยได้รับรู้เรื่องราวของนางว่า นางเป็นคนประดิษฐ์กระทงเป็นคนแรก ตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาตั้งแต่เด็ก ๆ ใช่ไหมคะ แต่ทีนี้รู้รึเปล่าว่า เรื่องราวของนางทั้งหมดเนี่ย มาจากที่ไหน อะไรยังไง วันนี้ก็เลยจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับนางนพมาศค่ะ พอพูดว่าจะมาเล่าเรื่องนางนพมาศนะคะ หลายคนก็จะคิดว่า อ๋อ เดี๋ยวจะมาเล่าประวัติของนางใช่ไหม อะไรใช่ไหม ไม่ใช่ค่ะ คือจะบอกว่ามันมีหนังสืออยู่เล่มนึง ที่เป็นที่ถกเถียงกันหนักมาก ว่าเป็นวรรณคดีสมัยสุโขทัย หรือสมัยรัตนโกสินทร์กันแน่ เป็นหนังสือที่มีถึงสามชื่อด้วยกันค่ะ ชื่อแรกก็คือ เรื่องนางนพมาศ ส่วนชื่อที่สองบอกว่าเป็นชื่อ เรวดีนพมาศ และชื่อที่สามคือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ค่ะ หนังสือเล่มนี้นะเป็นหนังสือที่ เขียนด้วยสำนวนร้อยแก้ว ร้อยแก้วคืออะไร ร้อยแก้วคือการเขียนไปเรื่อย ๆ เขียนแบบเขียน ๆ ธรรมดา ไม่ได้เป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน คำประพันธ์ร้อยกรองนะคะ นอกจากนี้เนี่ย ก็เขียนเป็นลักษณะเหมือนไดอารี่ คือ เป็นไดอารี่ของเจ๊คนนึง ชื่อว่าเรวดีนพมาศนั่นเอง ก็คือนางนพมาศของเรา แต่ว่าเนื้อหานี่ไม่ได้พูดถึงลอยกระทงเป็นหลักเลย คือ เรื่องเกี่ยวกับเทศกาลลอยกระทงเนี่ย เป็นแค่เสี้ยวเดียวเล็กมาก อยู่ในเรื่องนางนพมาศนะคะ ทีนี้ถ้าไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ แล้วหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร หนังสือเล่มนี้นะคะ ก็เริ่มขึ้นมาโดยการ เปิดฉากบอกว่า ข้าน้อยชื่อนพมาศ ข้าน้อยจะมาเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ทุกคนฟังนะ เริ่มจากบอกก่อนว่าในสมัยของข้าน้อยเนี่ย โลกเป็นยังไง ก็จะเริ่มไล่จำแนกชาติ จำแนกภาษาก่อนว่า อ๋อ ตอนนี้ในโลกเรานะ มีชาติต่าง ๆ ดังนี้ มีลาว มีไทย มีเขมร มีนู่นมีนี่ไปเรื่อย ๆ รวมไปถึงชาติฝรั่ง "มะริกัน" ด้วยนะคะ จำอันนี้ไว้ให้ดี ๆ จะเป็นประเด็นนิดนึง ที่เราจะไปคุยกันตอนท้ายค่ะ หลังจากนั้นก็อธิบายถึงภาษาว่า เออ แต่ละชนชาติพูดภาษาอะไรบ้าง อะไรยังไงนะคะ ก็เรียกได้ว่าเปิดมาโดยการอธิบายโลกก่อนว่า ตอนนี้ setting นะจ๊ะ เป็นอย่างนี้นะจ๊ะ โลกเราตอนนี้เป็นแบบนี้เลย พอหลังจากพูดถึงโลกเสร็จก็เริ่ม กล่าวสรรเสริญพระร่วงค่ะ ซึ่งพระร่วงนี่ก็หมายถึง กษัตริย์ในสมัยสุโขทัยใช่ไหมที่ เราพูดกันบ่อย ๆ เวลาเราเล่าเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงนะคะ ก็บอกว่า อ๋อ พระร่วงองค์นี้เนี่ย เป็นพระร่วงผู้ยิ่งใหญ่นู่นนี่นั่นไปเรื่อย ๆ หลังจากที่กล่าวยกย่องกษัตริย์เสร็จใช่ไหม ก็จะต้องเริ่มกล่าวถึงตระกูลต่าง ๆ ในเมืองสุโขทัยค่ะ ก็บอกว่า อ๋อ เมืองสุโขทัยของพระร่วงเนี่ย มีตระกูลที่สำคัญดังนั้นดังนี้ นอกจากนี้เมืองสุโขทัยก็มีเมืองขึ้น เป็นเมืองนั้น เป็นเมืองนี้ เป็นเมืองนู้นนะคะ เมืองสุโขทัยยิ่งใหญ่ เมืองสุโขทัยมีวัดที่สวยงาม วัดวาอารามสวยงามยิ่งใหญ่ ซึ่งอันนี้ไม่ใช่กลอนจากเรื่องนี้แม้แต่น้อย ทำไมต้องวัดวาอารามสวยงามยิ่งใหญ่ เป็นอาขยานน่ะนะ มันก็ติดปากมาตั้งแต่สมัยประถมมัธยม นอกจากนี้ก็กล่าวถึงศาสนาต่าง ๆ ในเมืองสุโขทัย ไม่ว่าจะเป็นพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม รวมไปถึงลัทธิความเชื่ออื่น ๆ ด้วย เรียกได้ว่าเมืองสุโขทัยในมุมมองของนางนพมาศ ที่เขียนเล่าออกมาเนี่ย เป็นเมืองในอุดมคติเลยนะ เป็นเมืองที่ เฮ้ย ยิ่งใหญ่อลังการ เจริญ มีศิลปวัฒนธรรม มีศาสนาต่าง ๆ ฟรี แฮปปี้ มีความสุขมาก ๆ หลังจากนั้นค่ะ นางนพมาศถึงมาเริ่มกล่าวถึง ประวัติของพระร่วงก่อนว่า อ๋อ พระร่วงองค์นี้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้นะ พอกล่าวถึงประวัติของพระร่วงเสร็จปุ๊บ ก็เริ่มพูดถึงประวัติตัวเองแล้วว่า อ๋อ มีข้าราชการของพระร่วงอยู่ ชื่อว่าศรีมโหสถ มีลูกสาวสวยมากนะคะ ชื่อนพมาศ หรือข้าเอง ชื่อเต็ม ๆ ก็คือ เรวดีนพมาศ หลังจากนั้นก็ชมตัวเองเป็นกลอนยาวพอสมควร คือ เล่มนี้เป็นร้อยแก้วก็จริง แต่มีร้อยกรองแทรกอยู่ประมาณสามสี่บทได้นะคะ ซึ่งบทชมความงามของนางนพมาศนี่ก็เป็น หนึ่งในบทนั้น ก็จะชมประมาณว่า ละไมละม่อมพร้อมพริ้งยิ่งนารี จำเริญศรีสมบูรณ์ประยูรศักดิ์ เนื้อเหลืองเล่ห์ทองผ่องผิวภักตร์ เปนที่รักดังดวงจิตรบิดรเอย ไม่ได้ชมแค่ว่าสวยด้วยนะ นางนพมาศนะคะ พรีเซนต์ตัวเองหนักมากว่า นอกจากสวยแล้วฉันยังเป็นคนฉลาดอีก ฉลาดยังไง ฉลาดตรงที่บอกว่า โฉมนวลนพมาศ เปนนักปราชญ์ฉลาดด้วยบิดาสอน ช่างกล่าวถ้อยมะธุรศบทกลอน ถวายพรพรรณาพระพุทธคุณ สาระพัดจะพึงใจไปครบสิ่ง เปนยอดหญิงยิ่งธิดาทุกหมื่นขุน แต่ก่อนปางสร้างกุศลผลบุญ มาเกื้อหนุนให้งามวิไลเอย นี่ไดอารี่นะ เขียนถึงตัวเอง ฉันทำบุญมาเยอะ ฉันเลยสวย ฉันเลยฉลาด ฉันเลยชอบฟังธรรม ฉันเป็นยอดหญิงที่เริ่ดที่สุดในเมืองนี้แล้ว นะคะ นี่ไดอารี่ ซึ่งแน่นอนว่าความสวยงามของนางนพมาศนี้จะต้อง มีคนเอาไปแต่งโคลงกาพย์ร่ายกลอนค่ะ ก็มีคนเอาไปขับซอน่ะแหละ เป็นคำประพันธ์ประเภทนึง ขับซอชมความงาม ถ้าใครเคยฟังที่เล่าเรื่องลิลิตพระลอไป ก็อารมณ์เดียวกับพระเพื่อนพระแพงเลย ความสวยของนางนพมาศค่ะ ลอยไปเข้าหูของพระร่วง สุดท้ายพระร่วงเนี่ยก็ ทั้งสวยทั้งฉลาด จะเก็บไว้ทำไม ก็เลยเรียกนางเข้ามาเป็นนางสนม ซึ่งก่อนที่พระศรีมโหสถ ผู้เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จะนำลูกสาวของตัวเองไปถวายก็ รู้สึกว่า เฮ้ย ถวายเฉย ๆ ไม่ได้ ถ้าเกิดลูกสาวเราไม่ดีพอเนี่ย ไม่ควรถวาย ดังนั้นก็เลยมีการลองปัญญานางนพมาศ ด้วยการตั้งคำถามนู่นนี่นั่นว่า ถ้าลูกเจออย่างนี้ ลูกจะทำยังไง ถ้าลูกอย่างนั้น ลูกจะทำยังไงนะคะ ซึ่งนางนพมาศก็ทำข้อสอบผ่านหมด ก็เลยได้ถวายตัวเป็นพระสนมของพระร่วงในที่สุดค่ะ ซึ่งตอนสำคัญของหนังสือนางนพมาศทั้งหมดนี้ อยู่ตรงนี้นี่เอง อยู่ตรงที่พระศรีมโหสถ ทดสอบนางนพมาศว่าแบบ การที่เธอจะได้เป็นสนมนางใน รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินเนี่ย เธอควรจะมีคุณสมบัติอะไรบ้าง เธอควรจะเป็นผู้หญิงที่เรียบร้อยไหม เธอควรจะฉลาดรึเปล่า เธอควรจะออกความเห็นตอนไหน เธอควรจะจงรักภักดีนะ แล้วก็ ที่สำคัญที่สุด เธอไม่ควรจะเล่นเพื่อน เล่นเพื่อนคืออะไร เล่นเพื่อนคือ เอ่อ อธิบายง่าย ๆ สมัยก่อนในราชสำนัก มีผู้ชายแค่คนเดียว คือกษัตริย์ ที่เหลือเป็นผู้หญิงหมด ดังนั้นก็อาจจะมีการตั้งวงดนตรีไทยบ้างอะไรบ้าง เพื่อแก้เบื่อนะคะ ยามที่มีความสนุกไม่ทั่วถึงน่ะนะ ก็เอาเถอะ ถ้าใครไม่เข้าใจแปลว่าเด็กไป อย่าเพิ่งเข้าใจ ไว้โตก่อนค่อยเข้าใจนะคะ เริ่มทำตัวเหมือนผู้ใหญ่ เวลาอธิบายเรื่องอะไรซักอย่าง จุดสำคัญของเรื่องนี้ก็อยู่ตอนนี้แหละ ตอนที่พ่อแม่พยายามสอนนางว่า การที่จะถวายตัวแล้วเนี่ย จะต้องทำตัวยังไง อะไรยังไงนะคะ หลังจากเล่าเรื่องชีวิตตัวเองก่อนเข้าวังจบนะคะ นางนพมาศก็เริ่มไล่เรียงค่ะว่า เอ่อ ชีวิตในวังของนางเป็นยังไง โดยผ่านพระราชพิธีต่าง ๆ ที่นางได้เข้าร่วมนะคะ ไม่ว่าจะเป็นพระราชพิธีจองเปรียง พระราชพิธีตรียัมปวาย พิธีตรีปวาย พิธีธานยเทาะห์ พิธีสัมพัจฉรฉินท์ พิธีแรกนา วิสาขบูชา อะไรเยอะแยะเต็มไปหมดเลยนะคะ ซึ่งในบรรดาพิธีเหล่านี้ ที่นางนพมาศได้ไปเข้าร่วมเนี่ย พิธีแรกก็คือ พิธีจองเปรียง ซึ่งชื่อพิธีนี้เราก็จะคุ้น ๆ นิดนึง นั่นก็คือ พิธีที่ทุกวันนี้เราเข้าใจว่าเป็น พิธีลอยกระทงนั่นเองนะคะ ถ้าพูดถึงตามหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ของรัชกาลที่ห้าเนี่ยก็ คำว่าจองเปรียง อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวกับลอยกระทงเท่าไหร่ แต่สุดท้ายมันก็กลายเป็นพิธีเดียวกันน่ะนะ เราจะไม่ลงลึกตรงนี้ แต่เอาเป็นว่าในพระราชพิธีนี้ นางนพมาศก็ได้แสดงความฉลาดของตัวเอง โดยการประดิษฐ์โคมจากใบตองนะคะ ออกมาเป็นรูปดอกบัว ก็คือกระทงทุกวันนี้นั่นเอง ซึ่งสวยงามมากจนพระร่วงชม บอกว่า เฮ้ย มันเป็นงานประดิษฐ์ที่สวยงามมาก หลังจากนี้ในพระราชพิธีนี้ เราจะใช้สิ่งนี้แหละ ในการบูชานะคะ ดังนั้นนี่ก็เป็นที่มาของกระทง ซึ่งเป็นเสี้ยวเดียวเล็กมาก ในประวัติชีวิตของนางนพมาศนั่นเอง นอกจากพิธีจองเปรียงนะคะ ก็จะมีพิธีอีกประมาณพิธีสองพิธี ที่นางนพมาศได้เข้าร่วมแล้วก็ ได้แสดงความฉลาดแบบนี้น่ะแหละนะ เมื่อจบเรื่องพระราชพิธีต่าง ๆ นะคะ นางนพมาศก็มีการกลับมาพูดถึงเรื่องพระสนมอีก ว่าแบบ พระสนมในตระกูลนั้นเป็นอย่างนั้น พระสนมในตระกูลนี้เป็นอย่างนี้ สุดท้ายก็จบด้วยการบอกว่า ความประพฤติแบบฉันนี่แหละ เป็นความประพฤติที่ดี อะไรประมาณนี้นะคะ จบเรื่องนางนพมาศแล้วนะคะ ก็มีบางเรื่องที่เราควรจะมาคุยกันในเรื่องนี้ จะเห็นว่าตลอดเรื่องของนางนพมาศนะคะ มีการกล่าวถึงความประพฤติของพระสนม เยอะมาก ๆ ว่าแบบไหนดี แบบไหนไม่ดี แบบไหนควรทำ แบบไหนไม่ควรทำนะ เขาก็เลยเชื่อกันว่าหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือว่าหนังสือเรื่องนางนพมาศเนี่ย เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อที่จะเอาไว้สอนพระสนมว่า เฮ้ย คนที่เข้ามาอยู่ในวัง เป็นสนม เป็นนางในเนี่ย ควรจะทำตัวยังไง ถือว่าเป็นสุภาษิตสอนสตรีรูปแบบนึงค่ะ ส่วนการวิเคราะห์ยาว ๆ ซึ่งอาจจะดราม่านิดนึงนะคะก็ รอฟังหลังจบคลิปวิดีโอแล้วกันค่ะ ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้นะคะก็อย่าลืม กดไลก์เป็นกำลังใจให้วิวแล้วก็ กดแชร์เพื่อชวนเพื่อน ๆ มาดูด้วยกันค่ะ ไม่อยากพลาดคลิปวิดีโอใหม่ ๆ นะคะ อย่าลืมกดปุ่ม Subscribe ค่ะ หลังจาก Subscribe แล้ว อย่าลืมกดปุ่มกระดิ่งนะคะ เพื่อที่มันจะได้เด้งไปเตือนเลย ทุกครั้งที่วิวอัพคลิปใหม่ ซึ่งบางทีก็ไม่เป็นเวล่ำเวลาอะไรเท่าไหร่อะนะ ใครมีความเห็นอะไรยังไง อยากพูดคุยแลกเปลี่ยนก็ คอมเมนต์บอกด้านล่างนะคะ แล้ววิวสัญญาจะมาอ่านทุกคอมเมนต์เลย แต่อาจจะตอบบ้างไม่ตอบบ้าง ต้องขอโทษจริง ๆ นะคะ แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้าค่ะ บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ สงสัยไหมที่ตอนแรกบอกว่า อาจจะเป็นวรรณคดีสมัยสุโขทัยหรือรัตนโกสินทร์ คือ เรื่องนี้เขาเถียงกันอยู่ เพราะว่าหลายคนก็บอกว่า มันเป็นหนังสือที่เขียนโดยนางนพมาศ นางนพมาศอยู่ในสมัยสุโขทัย เขียนด้วยสรรพนามบุรุษที่ 1 ข้าชื่อนพมาศ นู่นนี่นั่น มันก็ต้องเกิดสมัยสุโขทัยสิ แต่ว่าหลายคนที่ได้ลองอ่านจริง ๆ ก็จะเห็นว่า ภาษาเนี่ย มันเป็นภาษารัตนโกสินทร์มาก อย่างที่อ่านกลอนไปเมื่อกี้ก็จะเห็นว่ามันแปลออก คืออ่านแล้วเข้าใจได้ในทันที ในขณะที่ถ้าเกิดใครเคยอ่านไตรภูมิพระร่วง จะรู้ว่ามันอ่านไม่รู้เรื่องอะนะ มันก็จะแบบ ไตรภูมิพระร่วงโสดนี้ แลนา อะไรอย่างนี้ คืออ่านแล้วงง ๆ นิดนึง ในขณะที่ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เนี่ย อ่านได้เป็นหนังสือปกติเลย มีภาษายากนิดเดียวนะคะ ที่สำคัญมันก็มีบางอันที่หลุดมา แล้วเขารู้สึกว่ามันไม่น่าจะมีในสมัยสุโขทัย เช่น ฝรั่งมะริกัน อเมริกัน อเมริกา มันไม่มีตั้งแต่สมัยสุโขทัยไง มันมีตั้งแต่สมัยช่วงกรุงธนบุรี ต้นรัตนโกสินทร์ นึกออกใช่ไหม แล้วก็มีการกล่าวถึง ปืนใหญ่ อะไรอย่างนี้แบบ ซึ่งดินปืนสมัยสุโขทัย มันก็ยังไม่ได้พัฒนาอะไรขนาดนั้นน่ะนะ ก็เลยทำให้เขาสงสัยกันว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์รึเปล่า แล้วเป็นเหมือนนิยายไง เป็นนิยายที่แบบว่า คือเหมือนอารมณ์ Princess Diary อะ คือเจ้าหญิงก็ไม่ได้เป็นคนเขียน แต่ว่าเป็นคนอื่นเขียนแล้วก็ ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 น่ะนะ ก็เป็นที่ถกเถียงกันต่อไปในวงวิชาการนะคะ แต่ว่านักวิชาการจำนวนมาก ๆ เนี่ย ยืนยันว่าเรื่องนี้แหละ แต่งในรัตนโกสินทร์แน่นอน น่าจะสมัยประมาณรัชกาลที่สามน่ะนะ ถ้าใครมีความเห็นหรือข้อมูลเพิ่มเติมยังไงก็ คอมเมนต์บอกด้านล่างละกันค่ะ สุขสันต์วันลอยกระทงค่ะทุกคน