< Return to Video

ทำไมเราจึงหาวตามๆ กัน - คลอเดีย อไกวร์ (Claudia Aguirre)

  • 0:07 - 0:10
    อุ้ย ขอโทษที
  • 0:10 - 0:11
    เคยไหม ที่คุณหาว
  • 0:11 - 0:13
    เพราะคนอื่นเริ่มหาวก่อน
  • 0:13 - 0:15
    คุณไม่ได้เพลียนัก
  • 0:15 - 0:18
    แต่ทันใดนั้นคุณก็อ้าปากกว้าง
  • 0:18 - 0:22
    แล้วหาว
  • 0:22 - 0:24
    ออกมา
  • 0:24 - 0:27
    ปรากฏการณ์นี้รู้จักกันในชื่อ การหาวติดต่อกัน
  • 0:27 - 0:29
    ในขณะที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจดีนัก
  • 0:29 - 0:30
    ว่าทำไมมันจึงเกิดขึ้น
  • 0:30 - 0:33
    มีสมมติฐานหลายอย่างกำลังถูกทดสอบ
  • 0:33 - 0:35
    ลองมาดูสมมติฐานสองสามข้อ
  • 0:35 - 0:37
    ที่โดดเด่นที่สุดกัน
  • 0:37 - 0:39
    เริ่มด้วยสมมติฐานด้านสรีระวิทยาสองข้อ
  • 0:39 - 0:42
    ก่อนจะเป็นด้านจิตวิทยา
  • 0:42 - 0:45
    สมมติฐานแรก ด้านสรีระวิทยา
  • 0:45 - 0:46
    กล่าวว่า การหาวติดต่อนั้น
  • 0:46 - 0:49
    ถูกกระตุ้นโดยตัวกระตุ้นตัวหนึ่ง
  • 0:49 - 0:50
    นั่นคือการหาวเริ่มต้น
  • 0:50 - 0:53
    นี่เรียกว่า การกระทำที่ตายตัว (fixed action pattern)
  • 0:53 - 0:56
    ลองนึกถึงรูปแบบที่ตายตัว
    ว่าเหมือนกับการตอบสนองแบบอัตโนมัติ
  • 0:56 - 0:59
    การหาวของคุณทำให้ฉันหาว
  • 0:59 - 1:01
    คล้ายกับการล้มต่อๆ กัน ของโดนิโน
  • 1:01 - 1:02
    การหาวของคนหนึ่ง ทำให้เกิดการหาว
  • 1:02 - 1:05
    โดยอีกคนที่อยู่ใกล้ๆ ที่เห็นคนแรกหาว
  • 1:05 - 1:07
    เมื่อการกระตุ้นนี้เกิดขึ้น
  • 1:07 - 1:09
    มันจะต้องดำเนินไปตามรูปแบบของมัน
  • 1:09 - 1:10
    คุณเคยลองหยุดหาว
  • 1:10 - 1:12
    ตอนที่คุณเริ่มหาวไปแล้วหรือเปล่า
  • 1:12 - 1:15
    โดยปกติแล้วเป็นไปไม่ได้หรอก
  • 1:15 - 1:17
    อีกสมมติฐานด้านสรีรวิทยา
  • 1:17 - 1:20
    เป็นที่รู้จักกันในชื่อ การเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว
    (non-conscious mimicry)
  • 1:20 - 1:22
    หรือ พฤติกรรมแบบเปลี่ยนแปลงได้
  • 1:22 - 1:25
    มันเกิดขึ้นเมื่อคุณเลียนแบบพฤติกรรมใครสักคน
  • 1:25 - 1:26
    โดยไม่รู้ตัว
  • 1:26 - 1:29
    กลยุทธการลอกเลียนแบบที่ลึกลับและไม่ได้จงใจ
  • 1:29 - 1:31
    คนเรามักจะเลียนแบบท่าทางคนอื่น
  • 1:31 - 1:33
    ถ้าคุณนั่งตรงข้ามใครสักคน
  • 1:33 - 1:34
    ที่นั่งไขว่ห้าง
  • 1:34 - 1:37
    คุณอาจจะนั่งไขว่ห้างบ้าง
  • 1:37 - 1:39
    สมมติฐานนี้อ้างว่า
  • 1:39 - 1:41
    เราหาวเมื่อเห็นคนอื่นหาว
  • 1:41 - 1:43
    เพราะว่าเราเลียนแบบการกระทำของเขา
  • 1:43 - 1:45
    โดยไม่ได้ผ่านกระบวนการคิด
  • 1:45 - 1:47
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพฤติกรรมที่เลียนแบบได้นี้
  • 1:47 - 1:50
    เกิดขึ้นได้เพราะเส้นประสาทกลุ่มพิเศษ
  • 1:50 - 1:52
    ที่เรียกว่า เซลล์กระจกเงา (mirror neurons)
  • 1:53 - 1:56
    เซลล์กระจกเงานเป็นเซลล์สมองชนิดหนึ่ง
  • 1:56 - 1:58
    ที่ตอบสนองเท่าๆ กันเมื่อเรามีอากัปกิริยาต่างๆ
  • 1:58 - 2:00
    เมื่อเราเห็นใครบางคน
  • 2:00 - 2:02
    ทำอากัปกิริยานั้นๆ
  • 2:02 - 2:03
    เซลล์ประสาทเหล่านี้มีความสำคัญ
  • 2:03 - 2:05
    ต่อการเรียนรู้และการรู้สึกตัว
  • 2:05 - 2:08
    ยกตัวอย่างเช่น เรากำลังมองใครสักคนทำอะไรบางอย่าง
  • 2:08 - 2:10
    เช่นถักไหมพรม
  • 2:10 - 2:11
    หรือทาลิปสติก
  • 2:11 - 2:15
    สามารถช่วยให้คุณทำสิ่งเดียวกันนั้นได้อย่างถูกต้อง
  • 2:15 - 2:17
    การศึกษาภาพถ่ายเซลล์ประสาทโดยใช้ fMRI
  • 2:17 - 2:20
    ซึ่งย่อมาจาก functional magnetic resonance imaging
  • 2:20 - 2:22
    แสดงว่า เมื่อเราเห็นใครสักคนหาว
  • 2:22 - 2:24
    หรือแม้แต่ได้ยินพวกเขาหาว
  • 2:24 - 2:26
    พื้นที่จำเพาะส่วนหนึ่งในสมอง
  • 2:26 - 2:27
    ที่เป็นที่อยู่ของเซลล์กระจกเงา
  • 2:27 - 2:29
    มักจะสว่างขึ้น
  • 2:29 - 2:31
    ซึ่งทำให้เราตอบสนอง
  • 2:31 - 2:34
    ด้วยอากัปกิริยาเดียวกัน ซึ่งก็คือการหาว
  • 2:34 - 2:37
    สมมติฐานด้านจิตวิทยาของเราเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • 2:37 - 2:39
    กับการทำงานของเซลล์กระจกเงาเหล่านี้ด้วย
  • 2:39 - 2:42
    เราจะเรียกมันว่า การร่วมหาว
  • 2:42 - 2:44
    การเกิดอารมณ์ร่วมเป็นความสามารถในการเข้าใจ
  • 2:44 - 2:45
    ว่าใครสักคนรู้สึกอะไร
  • 2:45 - 2:47
    และมีอารมณ์ร่วมไปกับอารมณ์ของเขา
  • 2:47 - 2:50
    ซึ่งเป็นความสามารถที่สำคัญยิ่ง
    สำหรับสัตว์สังคมอย่างเรา
  • 2:50 - 2:52
    ไม่นานมานี้ นักประสาทวิทยาได้พบว่า
  • 2:52 - 2:54
    หน่วยย่อยของเซลล์กระจกเงานี้
  • 2:54 - 2:56
    ทำให้เราสามารถเข้าใจอารมณ์ของคนอื่น
  • 2:56 - 2:58
    ในขั้นที่ลึกซึ้งกว่า
  • 2:58 - 2:59
    นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ
  • 2:59 - 3:02
    การตอบสนองแบบอารมณ์ร่วมต่อการหาว
  • 3:02 - 3:03
    ระหว่างการทดสอบสมมติฐานแรกที่เราได้พูดถึง
  • 3:03 - 3:05
    ที่เรียกว่า พฤติกรรมแบบตายตัว
  • 3:05 - 3:07
    การศึกษานี้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่า
  • 3:07 - 3:09
    สุนัขจะแสดงการตอบสนองโดยการหาว
  • 3:09 - 3:12
    เพียงแค่ได้ยินเสียงมนุษย์หาว
  • 3:12 - 3:15
    ในขณะที่การศึกษาของพวกเขาแสดงให้เห็น
    ว่านี่เป็นความจริง
  • 3:15 - 3:17
    พวกเขาพบอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ
  • 3:17 - 3:20
    สุนัขหาวเมื่อได้ยินเสียงหาวที่คุ้นเคย
  • 3:20 - 3:21
    เช่นเสียงหาวของนายของมัน
  • 3:21 - 3:24
    ถี่กว่าเสียงหาวที่ไม่คุ้นเคยจากคนแปลกหน้า
  • 3:24 - 3:25
    จากการศึกษานี้
  • 3:25 - 3:27
    การศึกษาอื่นๆ บนมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
  • 3:27 - 3:29
    ได้แสดงให้เห็นว่าการหาวติดต่อกันนั้น
  • 3:29 - 3:33
    เกิดขึ้นบ่อยๆ ในกลุ่มเพื่อนๆ
    มากกว่าในกลุ่มคนแปลกหน้า
  • 3:33 - 3:36
    ที่จริงแล้ว การหาวติดต่อกันเริ่มจะเกิดขึ้น
  • 3:36 - 3:39
    เมื่อเราอายุได้สี่หรือห้าขวบ
  • 3:39 - 3:39
    ในจุดที่เด็กๆ
  • 3:39 - 3:43
    กำลังพัฒนาความสามารถ
    ที่จะบ่งบอกอารมณ์ของคนอื่นได้เป็นอย่างดี
  • 3:43 - 3:46
    ถึงอย่างนั้น ในขณะที่การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ
  • 3:46 - 3:47
    พุ่งเป้าไปที่การพิสูจน์ว่าการหาวติดต่อ
  • 3:47 - 3:49
    ขึ้นอยู่กับความสามารถของการมีอารมณ์ร่วม
  • 3:49 - 3:51
    เรายังต้องการงานวิจัยอีกเป็นจำนวนมาก
  • 3:51 - 3:53
    ที่จะเป็นแสงนำทาง ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ
  • 3:53 - 3:55
    มันเป็นไปได้ที่คำตอบนั้น
  • 3:55 - 3:57
    อยู่ในสมมติฐานอื่นๆ
  • 3:57 - 3:59
    ในครั้งหน้าที่คุณโดนจับได้ว่าหาว
  • 3:59 - 4:01
    ลองใช้เวลาสักหน่อยคิดถึงสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น
  • 4:03 - 4:05
    คุณกำลังคิดถึงการหาวอยู่หรือเปล่า
  • 4:05 - 4:07
    หรือใครสักคนใกล้ๆ กำลังหาวอยู่
  • 4:07 - 4:10
    คนคนนั้นเป็นคนแปลกหน้า
    หรือเป็นคนสนิท
  • 4:11 - 4:14
    และตอนนี้คุณกำลังหาวอยู่หรือเปล่า
Title:
ทำไมเราจึงหาวตามๆ กัน - คลอเดีย อไกวร์ (Claudia Aguirre)
Speaker:
Claudia Aguirre
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/why-is-yawning-contagious-claudia-aguirre

*หาววววววว* คุณเพิ่งอ่านอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกอยากหาวหรือเปล่า การหาวที่รู้จักกันในนาม หาวติดต่อ เชื่อว่าเกิดจากสาเหตุทั้งทางด้านสรีรวิทยาและจิตวิทยา มันถูกสำรวจพบในเด็กที่อายุได้เพียงสี่ขวบ และแม้กระทั่งในสุนัข คลอเดีย อไกวร์ พาเราไปรู้จักทฤษฎีต่างๆ อันน่าทึ่ง ที่อาจอธิบายถึงการหาวติดต่อได้

บทเรียนโดย คลอเดีย อไกวร์ (Claudia Aguirre), แอนิเมชั่นโดย TED-Ed.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:30
TED Translators admin edited Thai subtitles for Why is yawning contagious?
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why is yawning contagious?
Unnawut Leepaisalsuwanna accepted Thai subtitles for Why is yawning contagious?
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Why is yawning contagious?
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Why is yawning contagious?
Unnawut Leepaisalsuwanna declined Thai subtitles for Why is yawning contagious?
Unnawut Leepaisalsuwanna commented on Thai subtitles for Why is yawning contagious?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Why is yawning contagious?
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions