WEBVTT 00:00:07.471 --> 00:00:09.753 อุ้ย ขอโทษที 00:00:10.338 --> 00:00:11.398 เคยไหม ที่คุณหาว 00:00:11.398 --> 00:00:13.418 เพราะคนอื่นเริ่มหาวก่อน 00:00:13.418 --> 00:00:15.168 คุณไม่ได้เพลียนัก 00:00:15.168 --> 00:00:18.209 แต่ทันใดนั้นคุณก็อ้าปากกว้าง 00:00:18.209 --> 00:00:22.124 แล้วหาว 00:00:22.124 --> 00:00:23.914 ออกมา 00:00:23.914 --> 00:00:27.237 ปรากฏการณ์นี้รู้จักกันในชื่อ การหาวติดต่อกัน 00:00:27.237 --> 00:00:29.121 ในขณะที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจดีนัก 00:00:29.121 --> 00:00:30.415 ว่าทำไมมันจึงเกิดขึ้น 00:00:30.415 --> 00:00:33.499 มีสมมติฐานหลายอย่างกำลังถูกทดสอบ 00:00:33.499 --> 00:00:34.873 ลองมาดูสมมติฐานสองสามข้อ 00:00:34.873 --> 00:00:36.581 ที่โดดเด่นที่สุดกัน 00:00:36.581 --> 00:00:38.999 เริ่มด้วยสมมติฐานด้านสรีระวิทยาสองข้อ 00:00:38.999 --> 00:00:41.953 ก่อนจะเป็นด้านจิตวิทยา 00:00:41.953 --> 00:00:44.754 สมมติฐานแรก ด้านสรีระวิทยา 00:00:44.754 --> 00:00:46.227 กล่าวว่า การหาวติดต่อนั้น 00:00:46.227 --> 00:00:48.525 ถูกกระตุ้นโดยตัวกระตุ้นตัวหนึ่ง 00:00:48.525 --> 00:00:50.012 นั่นคือการหาวเริ่มต้น 00:00:50.012 --> 00:00:52.861 นี่เรียกว่า การกระทำที่ตายตัว (fixed action pattern) 00:00:52.861 --> 00:00:55.943 ลองนึกถึงรูปแบบที่ตายตัว ว่าเหมือนกับการตอบสนองแบบอัตโนมัติ 00:00:55.943 --> 00:00:58.692 การหาวของคุณทำให้ฉันหาว 00:00:58.692 --> 00:01:00.532 คล้ายกับการล้มต่อๆ กัน ของโดนิโน 00:01:00.532 --> 00:01:02.115 การหาวของคนหนึ่ง ทำให้เกิดการหาว 00:01:02.115 --> 00:01:04.998 โดยอีกคนที่อยู่ใกล้ๆ ที่เห็นคนแรกหาว 00:01:04.998 --> 00:01:06.995 เมื่อการกระตุ้นนี้เกิดขึ้น 00:01:06.995 --> 00:01:08.530 มันจะต้องดำเนินไปตามรูปแบบของมัน 00:01:08.530 --> 00:01:09.897 คุณเคยลองหยุดหาว 00:01:09.897 --> 00:01:11.543 ตอนที่คุณเริ่มหาวไปแล้วหรือเปล่า 00:01:11.543 --> 00:01:14.531 โดยปกติแล้วเป็นไปไม่ได้หรอก 00:01:15.268 --> 00:01:17.178 อีกสมมติฐานด้านสรีรวิทยา 00:01:17.178 --> 00:01:20.300 เป็นที่รู้จักกันในชื่อ การเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว (non-conscious mimicry) 00:01:20.300 --> 00:01:22.012 หรือ พฤติกรรมแบบเปลี่ยนแปลงได้ 00:01:22.012 --> 00:01:24.584 มันเกิดขึ้นเมื่อคุณเลียนแบบพฤติกรรมใครสักคน 00:01:24.584 --> 00:01:25.636 โดยไม่รู้ตัว 00:01:25.636 --> 00:01:28.587 กลยุทธการลอกเลียนแบบที่ลึกลับและไม่ได้จงใจ 00:01:28.587 --> 00:01:31.163 คนเรามักจะเลียนแบบท่าทางคนอื่น 00:01:31.163 --> 00:01:32.705 ถ้าคุณนั่งตรงข้ามใครสักคน 00:01:32.705 --> 00:01:34.254 ที่นั่งไขว่ห้าง 00:01:34.254 --> 00:01:36.712 คุณอาจจะนั่งไขว่ห้างบ้าง 00:01:36.712 --> 00:01:38.915 สมมติฐานนี้อ้างว่า 00:01:38.915 --> 00:01:41.224 เราหาวเมื่อเห็นคนอื่นหาว 00:01:41.224 --> 00:01:43.031 เพราะว่าเราเลียนแบบการกระทำของเขา 00:01:43.031 --> 00:01:44.533 โดยไม่ได้ผ่านกระบวนการคิด 00:01:44.533 --> 00:01:47.188 นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพฤติกรรมที่เลียนแบบได้นี้ 00:01:47.188 --> 00:01:50.054 เกิดขึ้นได้เพราะเส้นประสาทกลุ่มพิเศษ 00:01:50.054 --> 00:01:52.475 ที่เรียกว่า เซลล์กระจกเงา (mirror neurons) 00:01:53.336 --> 00:01:55.586 เซลล์กระจกเงานเป็นเซลล์สมองชนิดหนึ่ง 00:01:55.586 --> 00:01:58.146 ที่ตอบสนองเท่าๆ กันเมื่อเรามีอากัปกิริยาต่างๆ 00:01:58.146 --> 00:01:59.704 เมื่อเราเห็นใครบางคน 00:01:59.704 --> 00:02:01.504 ทำอากัปกิริยานั้นๆ 00:02:01.504 --> 00:02:02.831 เซลล์ประสาทเหล่านี้มีความสำคัญ 00:02:02.831 --> 00:02:04.771 ต่อการเรียนรู้และการรู้สึกตัว 00:02:04.771 --> 00:02:07.922 ยกตัวอย่างเช่น เรากำลังมองใครสักคนทำอะไรบางอย่าง 00:02:07.922 --> 00:02:09.900 เช่นถักไหมพรม 00:02:09.900 --> 00:02:10.651 หรือทาลิปสติก 00:02:10.651 --> 00:02:14.590 สามารถช่วยให้คุณทำสิ่งเดียวกันนั้นได้อย่างถูกต้อง 00:02:14.590 --> 00:02:17.420 การศึกษาภาพถ่ายเซลล์ประสาทโดยใช้ fMRI 00:02:17.420 --> 00:02:19.701 ซึ่งย่อมาจาก functional magnetic resonance imaging 00:02:19.701 --> 00:02:21.839 แสดงว่า เมื่อเราเห็นใครสักคนหาว 00:02:21.839 --> 00:02:23.921 หรือแม้แต่ได้ยินพวกเขาหาว 00:02:23.921 --> 00:02:25.794 พื้นที่จำเพาะส่วนหนึ่งในสมอง 00:02:25.794 --> 00:02:27.392 ที่เป็นที่อยู่ของเซลล์กระจกเงา 00:02:27.392 --> 00:02:28.586 มักจะสว่างขึ้น 00:02:28.586 --> 00:02:30.800 ซึ่งทำให้เราตอบสนอง 00:02:30.800 --> 00:02:33.996 ด้วยอากัปกิริยาเดียวกัน ซึ่งก็คือการหาว 00:02:33.996 --> 00:02:36.752 สมมติฐานด้านจิตวิทยาของเราเข้ามาเกี่ยวข้อง 00:02:36.752 --> 00:02:38.644 กับการทำงานของเซลล์กระจกเงาเหล่านี้ด้วย 00:02:38.644 --> 00:02:41.800 เราจะเรียกมันว่า การร่วมหาว 00:02:41.800 --> 00:02:43.582 การเกิดอารมณ์ร่วมเป็นความสามารถในการเข้าใจ 00:02:43.582 --> 00:02:45.170 ว่าใครสักคนรู้สึกอะไร 00:02:45.170 --> 00:02:46.742 และมีอารมณ์ร่วมไปกับอารมณ์ของเขา 00:02:46.742 --> 00:02:49.891 ซึ่งเป็นความสามารถที่สำคัญยิ่ง สำหรับสัตว์สังคมอย่างเรา 00:02:49.891 --> 00:02:52.442 ไม่นานมานี้ นักประสาทวิทยาได้พบว่า 00:02:52.442 --> 00:02:54.091 หน่วยย่อยของเซลล์กระจกเงานี้ 00:02:54.091 --> 00:02:56.409 ทำให้เราสามารถเข้าใจอารมณ์ของคนอื่น 00:02:56.409 --> 00:02:58.207 ในขั้นที่ลึกซึ้งกว่า 00:02:58.207 --> 00:02:59.252 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ 00:02:59.252 --> 00:03:01.500 การตอบสนองแบบอารมณ์ร่วมต่อการหาว 00:03:01.500 --> 00:03:03.120 ระหว่างการทดสอบสมมติฐานแรกที่เราได้พูดถึง 00:03:03.120 --> 00:03:04.716 ที่เรียกว่า พฤติกรรมแบบตายตัว 00:03:04.716 --> 00:03:06.503 การศึกษานี้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่า 00:03:06.503 --> 00:03:08.966 สุนัขจะแสดงการตอบสนองโดยการหาว 00:03:08.966 --> 00:03:11.784 เพียงแค่ได้ยินเสียงมนุษย์หาว 00:03:11.784 --> 00:03:14.530 ในขณะที่การศึกษาของพวกเขาแสดงให้เห็น ว่านี่เป็นความจริง 00:03:14.530 --> 00:03:16.580 พวกเขาพบอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ 00:03:16.580 --> 00:03:19.797 สุนัขหาวเมื่อได้ยินเสียงหาวที่คุ้นเคย 00:03:19.797 --> 00:03:21.297 เช่นเสียงหาวของนายของมัน 00:03:21.297 --> 00:03:24.088 ถี่กว่าเสียงหาวที่ไม่คุ้นเคยจากคนแปลกหน้า 00:03:24.088 --> 00:03:25.250 จากการศึกษานี้ 00:03:25.250 --> 00:03:27.042 การศึกษาอื่นๆ บนมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 00:03:27.042 --> 00:03:29.048 ได้แสดงให้เห็นว่าการหาวติดต่อกันนั้น 00:03:29.048 --> 00:03:32.895 เกิดขึ้นบ่อยๆ ในกลุ่มเพื่อนๆ มากกว่าในกลุ่มคนแปลกหน้า 00:03:32.895 --> 00:03:35.708 ที่จริงแล้ว การหาวติดต่อกันเริ่มจะเกิดขึ้น 00:03:35.708 --> 00:03:38.960 เมื่อเราอายุได้สี่หรือห้าขวบ 00:03:38.960 --> 00:03:39.396 ในจุดที่เด็กๆ 00:03:39.396 --> 00:03:42.602 กำลังพัฒนาความสามารถ ที่จะบ่งบอกอารมณ์ของคนอื่นได้เป็นอย่างดี 00:03:43.201 --> 00:03:45.885 ถึงอย่างนั้น ในขณะที่การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ 00:03:45.885 --> 00:03:47.329 พุ่งเป้าไปที่การพิสูจน์ว่าการหาวติดต่อ 00:03:47.329 --> 00:03:49.413 ขึ้นอยู่กับความสามารถของการมีอารมณ์ร่วม 00:03:49.413 --> 00:03:50.630 เรายังต้องการงานวิจัยอีกเป็นจำนวนมาก 00:03:50.630 --> 00:03:52.995 ที่จะเป็นแสงนำทาง ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ 00:03:52.995 --> 00:03:54.930 มันเป็นไปได้ที่คำตอบนั้น 00:03:54.930 --> 00:03:56.912 อยู่ในสมมติฐานอื่นๆ 00:03:56.912 --> 00:03:59.147 ในครั้งหน้าที่คุณโดนจับได้ว่าหาว 00:03:59.147 --> 00:04:01.470 ลองใช้เวลาสักหน่อยคิดถึงสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น 00:04:02.653 --> 00:04:04.534 คุณกำลังคิดถึงการหาวอยู่หรือเปล่า 00:04:05.026 --> 00:04:07.015 หรือใครสักคนใกล้ๆ กำลังหาวอยู่ 00:04:07.015 --> 00:04:09.995 คนคนนั้นเป็นคนแปลกหน้า หรือเป็นคนสนิท 00:04:11.025 --> 00:04:14.144 และตอนนี้คุณกำลังหาวอยู่หรือเปล่า