hide🌟Accessibility matters for everyone!🌟
Learn with Amara.org about the Best Practices for Creating SDH Subtitles !

< Return to Video

เงินตราทำให้คุณโหดร้าย จริงหรือ?

  • 0:01 - 0:03
    ผมอยากให้คุณลองจินตนาการ
  • 0:03 - 0:07
    ดูสักครู่ ว่าคุณกำลังเล่นเกมเศรษฐีอยู่
  • 0:07 - 0:09
    แต่ว่าในเกมนี้
  • 0:09 - 0:12
    ไม่ว่าทักษะ พรสวรรค์ หรือโชค
  • 0:12 - 0:15
    ที่จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในเกม
    ดังเช่นในชีวิตจริง
  • 0:15 - 0:16
    จะไร้ผลโดยสิ้นเชิง
  • 0:16 - 0:19
    เพราะเกมนี้ตั้งกติกาไว้ไม่ยุติธรรม
  • 0:19 - 0:21
    และคุณเป็นฝ่ายได้เปรียบ
  • 0:21 - 0:22
    คุณมีเงินมากกว่า
  • 0:22 - 0:25
    มีโอกาสเดินไปรอบๆ กระดาน ได้มากกว่า
  • 0:25 - 0:27
    และเข้าถึงทรัพยากรได้มากกว่า
  • 0:27 - 0:29
    และเมื่อคุณคิดถึงประสบการณ์นั้น
  • 0:29 - 0:31
    ผมอยากให้คุณลองถามตัวเอง
  • 0:31 - 0:33
    ว่าประสบการณ์ที่ได้
  • 0:33 - 0:36
    จากการเป็นผู้เล่นอภิสิทธิ์
    ในเกมที่ไม่ยุติธรรมนี้
  • 0:36 - 0:39
    เปลี่ยนวิธีที่คุณคิดเกี่ยวกับตัวเอง
  • 0:39 - 0:43
    และผู้เล่นคนอื่นๆ ไปอย่างไร
  • 0:43 - 0:46
    เราจึงได้เริ่มการศึกษาหนึ่ง
    ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
  • 0:46 - 0:48
    เพื่อศึกษาคำถามนี้โดยเฉพาะ
  • 0:48 - 0:50
    เราพาผู้เล่น ซึ่งเป็นคนแปลกหน้า
  • 0:50 - 0:53
    กว่า 100 คู่ เข้ามาในห้องทดลอง
  • 0:53 - 0:54
    และใช้การโยนเหรียญ
  • 0:54 - 0:56
    เพื่อสุ่มให้ผู้เล่นหนึ่งในสองคนนั้น
  • 0:56 - 0:59
    เป็นผู้เล่นที่รวยกว่าในเกมที่ไม่ยุติธรรมนี้
  • 0:59 - 1:01
    พวกเขาได้เงินมากกว่าเป็นสองเท่า
  • 1:01 - 1:03
    เมื่อพวกเขาเดินครบรอบ
  • 1:03 - 1:05
    เขาได้เงินเดือนเป็นสองเท่า
  • 1:05 - 1:07
    และพวกเขาได้ทอยลูกเต๋าสองลูก
    แทนที่จะได้ทอยเพียงลูกเดียว
  • 1:07 - 1:09
    ดังนั้นพวกเขาจะเดินไปรอบๆ กระดานได้มากกว่า
  • 1:09 - 1:12
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:12 - 1:14
    และตลอดเวลา 15 นาที
  • 1:14 - 1:17
    เราเฝ้าดูผ่านกล้องที่ซ่อนไว้ ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 1:17 - 1:19
    และสิ่งที่ผมอยากทำวันนี้ เป็นครั้งแรก
  • 1:19 - 1:21
    คือแสดงให้พวกคุณเห็นถึงสิ่งที่เราเห็น
  • 1:21 - 1:23
    แต่คุณต้องยอมทนกับคุณภาพของเสียงที่ไม่ค่อยดีนัก
  • 1:23 - 1:26
    ในบางกรณี
  • 1:26 - 1:28
    ดังนั้นเราจึงให้คำบรรยายใต้ภาพ
  • 1:28 - 1:29
    ผู้เล่นรวย: คุณมีแบงค์ 500 กี่ใบ
  • 1:29 - 1:30
    ผู้เล่นจน: แค่ใบเดียว
  • 1:30 - 1:32
    ผู้เล่นรวย: พูดจริงเหรอ
    ผู้เล่นจน: ใช่
  • 1:32 - 1:33
    ผู้เล่นรวย: ผมมีตั้ง 3 ใบแน่ะ (หัวเราะ)
  • 1:33 - 1:35
    ผมไม่รู้ว่าทำไมเขาให้ผมมาเยอะแบบนี้
  • 1:35 - 1:37
    พอล พิฟ: เอาล่ะ มันเริ่มปรากฏชัดต่อผู้เล่น
    ในเวลาอันรวดเร็ว
  • 1:37 - 1:38
    ว่ามีบางอย่างผิดปกติ
  • 1:38 - 1:41
    ชัดเจนว่าผู้เล่นคนหนึ่งมีเงินมากกว่า
  • 1:41 - 1:43
    ผู้เล่นอีกคนหนึ่ง
  • 1:43 - 1:45
    และเมื่อเกมดำเนินไป
  • 1:45 - 1:47
    เราเริ่มพบความแตกต่าง
  • 1:47 - 1:49
    ความแตกต่างที่ชัดเจนเริ่มปรากฏ
  • 1:49 - 1:51
    ระหว่างผู้เล่นทั้งสอง
  • 1:51 - 1:53
    ผู้เล่นที่รวยกว่า
  • 1:53 - 1:56
    เริ่มจะเดินหมากไปรอบกระดานด้วยเสียงดังขึ้น
  • 1:56 - 1:57
    แทบจะกระแทกกระดานด้วยตัวหมากเลย
  • 1:57 - 2:00
    เมื่อเขาเดินไปรอบๆ กระดาน
  • 2:00 - 2:03
    เราเริ่มเห็นสัญญาณแห่งการข่ม
  • 2:03 - 2:05
    และการแสดงออกถึงอำนาจ
  • 2:05 - 2:07
    ในทางอวัจนภาษา
  • 2:07 - 2:11
    และการเฉลิมฉลองในกลุ่มผู้เล่นรวย
  • 2:11 - 2:14
    เรามีชามใส่เพรทเซลวางอยู่ด้านข้างโต๊ะ
  • 2:14 - 2:16
    มีอยู่ตรงมุมขวาล่างนั่น
  • 2:16 - 2:19
    นี่ทำให้เราสามารถสังเกตพฤติกรรม
    การบริโภคของผู้เล่นได้
  • 2:19 - 2:24
    เรานับจำนวนเพรทเซลที่ผู้เล่นแต่ละคนกิน
  • 2:24 - 2:26
    ผู้เล่นรวย: เพรทเซลพวกนี้มันเป็นกลลวงหรือเปล่า?
  • 2:26 - 2:27
    ผู้เล่นจน: ไม่รู้สิ
  • 2:27 - 2:31
    พอล: เอาล่ะ ไม่น่าแปลกใจเลย ผู้เล่นเหล่านั้นสงสัยเรา
  • 2:31 - 2:32
    พวกเขาสงสัยว่าชามเพรทเซล
  • 2:32 - 2:34
    ถูกวางไว้ตรงนั้นทำไม
  • 2:34 - 2:36
    คนหนึ่งถึงกับถามขึ้น ดังเช่นที่คุณเห็น
  • 2:36 - 2:39
    ว่าชามเพรทเซลที่วางอยู่ตรงนั้นเป็นกลลวงหรือไม่
  • 2:39 - 2:42
    แม้กระนั้น ด้วยอำนาจของสถานการณ์
  • 2:42 - 2:44
    ที่ส่งให้เกิดการข่มอย่างเลี่ยงไม่ได้
  • 2:44 - 2:48
    ผู้เล่นที่รวยกว่าก็เริ่มกินเพรทเซลมากขึ้น
  • 2:52 - 2:54
    ผู้เล่นรวย: ฉันชอบเพรทเซลจริงๆ
  • 2:54 - 2:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:58 - 3:00
    พอล: และเมื่อเกมดำเนินต่อไป
  • 3:00 - 3:02
    พฤติกรรมรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ
  • 3:02 - 3:06
    ก็เริ่มปรากฏขึ้น
  • 3:06 - 3:07
    นั่นคือ ผู้เล่นที่รวยกว่า
  • 3:07 - 3:11
    เริ่มทำตัวหยาบคายขึ้นกับอีกคนหนึ่ง
  • 3:11 - 3:13
    สนใจต่อสถานการณ์อันยากลำบาก
  • 3:13 - 3:14
    ของผู้เล่นที่จนกว่า
  • 3:14 - 3:17
    และเริ่มแสดง
  • 3:17 - 3:19
    ถึงความสำเร็จเชิงวัตถุของพวกเขามากขึ้น
  • 3:19 - 3:22
    คล้ายกับการอวดว่าพวกเขาเก่งแค่ไหน
  • 3:24 - 3:28
    ผู้เล่นรวย: ฉันมีเงินพอจะซื้อทุกอย่างเลย
  • 3:28 - 3:29
    ผู้เล่นจน: เท่าไหร่หรือ?
  • 3:29 - 3:33
    ผู้เล่นรวย: คุณเป็นหนี้ฉัน 24 ดอลลาร์
  • 3:33 - 3:36
    คุณจะหมดตัวในไม่ช้านี้แน่ๆ
  • 3:36 - 3:38
    ฉันจะซื้อมัน ฉันมีเงินเยอะเหลือเกิน
  • 3:38 - 3:40
    ฉันมีเงินมากจนใช้ไม่หมดเลย
  • 3:40 - 3:42
    ผู้เล่นรวยคนที่ 2: ฉันจะซื้อทุกอย่างในกระดานนี้เลย
  • 3:42 - 3:44
    ผู้เล่นรวยคนที่ 3: คุณจะต้องหมดตัวในไม่ช้านี้แน่ๆ
  • 3:44 - 3:47
    ตอนนี้ไม่มีใครสู้ฉันได้แล้ว
  • 3:47 - 3:49
    พอล: และนี่คือสิ่งที่ผมคิด
  • 3:49 - 3:51
    ว่ามันช่างน่าสนใจจริงๆ
  • 3:51 - 3:54
    นั่นคือ หลังจาก 15 นาทีของการเล่นเกม
  • 3:54 - 3:58
    เราให้ผู้เล่นแต่ละคนบรรยายถึง
    ประสบการณ์ของพวกเขาระหว่างเกม
  • 3:58 - 4:01
    และเมื่อผู้เล่นที่รวยกว่า พูดถึงเหตุผล
  • 4:01 - 4:02
    ว่าทำไมพวกเขาถึงชนะอย่างเลี่ยงไม่ได้
  • 4:02 - 4:04
    ในเกมเศรษฐีที่ไม่ยุติธรรมนี้
  • 4:04 - 4:09
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:09 - 4:13
    พวกเขาพูดถึงสิ่งที่เขาทำ
  • 4:13 - 4:16
    เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่างๆ
  • 4:16 - 4:18
    และได้รับความสำเร็จในเกม
  • 4:18 - 4:21
    พวกเขาแทบไม่ได้นึกถึง
  • 4:21 - 4:24
    ความแตกต่างของสถานการณ์
  • 4:24 - 4:26
    รวมถึงการโยนเหรียญในตอนแรก
  • 4:26 - 4:29
    ที่ให้โอกาสพวกเขา
  • 4:29 - 4:32
    ให้มาอยู่ในตำแหน่งที่มีสิทธิพิเศษตั้งแต่แรก
  • 4:32 - 4:34
    และนั่นคือมุมมองที่ไม่น่าเชื่อ
  • 4:34 - 4:40
    ว่าจิตใจคนเรา หาเหตุผลให้กับความได้เปรียบอย่างไร
  • 4:40 - 4:42
    เกมเศรษฐีนี้ สามารถใช้
  • 4:42 - 4:45
    อุปมาไดักับการพยามเข้าใจสภาพสังคม
  • 4:45 - 4:48
    และโครงสร้างทางสังคม ที่ซึ่งบางคน
  • 4:48 - 4:51
    มีความร่ำรวย และมีฐานะดีมาก
  • 4:51 - 4:52
    และอีกหลายๆคน ไม่เป็นเช่นนั้น
  • 4:52 - 4:55
    พวกเขาไม่ร่ำรวย ไม่มีฐานะ
  • 4:55 - 4:58
    และแทบไม่มีทางเข้าถึงทรัพยากรอันมีค่า
  • 4:58 - 5:01
    และสิ่งที่ผมและเพื่อนร่วมงานได้ศึกษามาตลอด
  • 5:01 - 5:05
    7 ปีที่ผ่านมา คือผลกระทบของโครงสร้างลักษณะนี้
  • 5:05 - 5:09
    สิ่งที่เราพบในหลายๆ งานวิจัย
  • 5:09 - 5:12
    และผู้เข้าร่วมวิจัยกว่าพันคนทั่วประเทศนี้
  • 5:12 - 5:17
    คือเมื่อความร่ำรวยของคนคนหนึ่งเพิ่มขึ้น
  • 5:17 - 5:23
    ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจกลับลดลง
  • 5:23 - 5:27
    และความรู้สึกถึงผลประโยชน์ สิ่งที่เขาควรได้รับ
  • 5:27 - 5:31
    และความคิดเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว กลับเพิ่มขึ้น
  • 5:31 - 5:33
    ในการสำรวจ เราพบว่าจริงๆ แล้ว
  • 5:33 - 5:35
    คนที่ร่ำรวยกว่า
  • 5:35 - 5:38
    มักจะรับได้กับความคิดที่ว่า ความโลภเป็นสิ่งดี
  • 5:38 - 5:40
    ชื่นชอบการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน
  • 5:40 - 5:43
    และมองว่าถูกศีลธรรม
  • 5:43 - 5:45
    สิ่งที่ผมอยากพูดวันนี้
  • 5:45 - 5:49
    คือนัยของแนวความคิดเรื่องผลประโยชน์ส่วนตน
  • 5:49 - 5:52
    พูดเกี่ยวกับว่าทำไมเราควรสนใจความหมายของมัน
  • 5:52 - 5:55
    และจบด้วยสิ่งที่ควรต้องทำ
  • 5:55 - 5:58
    ในการศึกษาแรกๆ ที่เราได้ทำในด้านนี้
  • 5:58 - 5:59
    คือการศึกษาด้านพฤติกรรมการช่วยเหลือ
  • 5:59 - 6:01
    นักจิตวิทยาสังคมเรียกมันว่า
  • 6:01 - 6:03
    พฤติกรรมสนับสนุนสังคม
    (pro-social behavior)
  • 6:03 - 6:06
    และเราก็สนใจเป็นอย่างยิ่งว่าใครจะมีแนวโน้ม
  • 6:06 - 6:08
    ที่จะเสนอความช่วยเหลือให้กับบุคคลอื่น
  • 6:08 - 6:11
    คนรวย หรือคนจน
  • 6:11 - 6:16
    ในการศึกษาหนึ่ง เรานำสมาชิกจากชุมชนหนึ่ง
  • 6:16 - 6:18
    ทั้งรวยและจนมาในห้องทดลอง
  • 6:18 - 6:22
    และแต่ละคนจะได้รับเงิน 10 ดอลลาร์
  • 6:22 - 6:23
    เราบอกผู้เข้าทดลอง
  • 6:23 - 6:26
    ว่าเขาสามารถเก็บเงิน 10 ดอลลาร์นี้ไว้
  • 6:26 - 6:28
    หรือถ้าต้องการ พวกเขาอาจเลือกแบ่งเงินส่วนหนึ่ง
  • 6:28 - 6:30
    ให้กับคนแปลกหน้า
  • 6:30 - 6:31
    ที่ไม่เปิดเผยตัวตน
  • 6:31 - 6:34
    พวกเขาจะไม่มีวันได้เจอคนแปลกหน้า
    และคนแปลกหน้าจะไม่มีวันได้เจอพวกเขา
  • 6:34 - 6:37
    และเราก็เฝ้าสังเกตว่าคนเหล่านี้จะแบ่งเงินให้เท่าไหร่
  • 6:37 - 6:40
    คนที่มีรายได้ 25,000 ดอลลาร์
  • 6:40 - 6:42
    หรือบางทีก็ต่ำกว่า 15,000 ดอลลาร์ต่อปี
  • 6:42 - 6:44
    ให้เงินของพวกเขา ให้กับคนแปลกหน้า
  • 6:44 - 6:45
    คิดเป็น 44%
  • 6:45 - 6:48
    มากกว่ากลุ่มคนที่มีรายได้ 150,000
  • 6:48 - 6:51
    หรือ 200,000 ดอลลาร์ต่อปี
  • 6:51 - 6:54
    เราให้คนเหล่านี้เล่นเกม
  • 6:54 - 6:56
    เพื่อดูว่าใครจะมีแนวโน้มที่จะโกงมากกว่ากัน
  • 6:56 - 6:59
    เพื่อเพิ่มโอกาสในการชนะรางวัล
  • 6:59 - 7:01
    ในเกมหนึ่ง เราได้ตั้งคอมพิวเตอร์ไว้
  • 7:01 - 7:04
    เพื่อทำให้ลูกเต๋าไม่สามารถ
  • 7:04 - 7:05
    ถูกทอยออกมาได้เป็นแต้มบางแต้ม
  • 7:05 - 7:08
    ดังนั้น คุณจะไม่สามารถทอยได้เกิน 12 แต้มในเกมนี้
  • 7:08 - 7:11
    แต่กระนั้น เมื่อคุณรวยขึ้น
  • 7:11 - 7:13
    คุณยิ่งมีแนวโน้มที่จะโกงในเกมนี้
  • 7:13 - 7:17
    เพื่อเอารางวัลเงินสด 50 ดอลลาร์
  • 7:17 - 7:21
    บางครั้ง โอกาสนั้นอาจสูงถึง 3-4 เท่าเลยทีเดียว
  • 7:21 - 7:23
    เราทำการศึกษาอีกชิ้นหนึ่ง เพื่อดูว่า
  • 7:23 - 7:26
    ผู้คนมีแนวโน้มที่จะหยิบลูกอม
  • 7:26 - 7:29
    จากโหลที่เราบอกเอาไว้ชัดเจนว่า
  • 7:29 - 7:31
    ลูกอมเหล่านี้มีไว้ให้เด็กเท่านั้น
  • 7:31 - 7:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:34 - 7:36
    ผมไม่ได้พูดเล่นนะครับ
  • 7:36 - 7:39
    ผมรู้ มันอาจฟังดูเหมือนเรื่องตลก
  • 7:39 - 7:41
    เราบอกผู้เข้าทดลองอย่างชัดเจน
  • 7:41 - 7:43
    ว่าโหลลูกอมนั้น มีไว้ให้ผู้เข้าทดลองที่เป็นเด็ก
  • 7:43 - 7:46
    ในห้องวิจัยเรื่องพัฒนาการทีอยู่ติดกัน
  • 7:46 - 7:48
    พวกเด็กๆ กำลังอยู่ในห้องเรียน
    และลูกอมนี้มีไว้สำหรับเด็กๆ
  • 7:48 - 7:51
    และเราก็เฝ้าสังเกต
    ว่าผู้เข้าทดลองแต่ละคนหยิบลูกอมไปมากแค่ไหน
  • 7:51 - 7:53
    ผู้เข้าทดลองที่รู้สึกว่าตัวเองรวย
  • 7:53 - 7:54
    เอาลูกอมไป มากเป็นสองเท่า
  • 7:54 - 7:57
    เมื่อเทียบกับผู้เข้าทดลองที่รู้สึกว่าตัวเองจน
  • 7:57 - 8:00
    เราศึกษาแม้แต่รถยนต์
  • 8:00 - 8:02
    ไม่ใช่รถทั่วๆ ไป
  • 8:02 - 8:05
    แต่ศึกษาว่าคนขับรถประเภทไหน
  • 8:05 - 8:08
    มีแนวโน้มจะฝ่าฝืนกฎหมายมากกว่ากัน
  • 8:08 - 8:11
    ในการศึกษาหนึ่ง เราศึกษาว่า
  • 8:11 - 8:15
    คนขับจะหยุดให้คนเดินถนน
  • 8:15 - 8:18
    ที่ยืนรอข้ามถนนที่ทางม้าลายหรือไม่
  • 8:18 - 8:20
    อย่างที่ทุกคนรู้ ในแคลิฟอร์เนีย
  • 8:20 - 8:22
    เพราะผมมั่นใจว่าทุกคนก็ทำ
  • 8:22 - 8:26
    กฏหมายบอกให้รถต้องหยุดให้คนที่รอข้ามถนน
  • 8:26 - 8:28
    นี่คือตัวอย่างการทดลองของเรา
  • 8:28 - 8:30
    หน้าม้าของเราอยู่ทางด้านซ้าย
  • 8:30 - 8:32
    ทำทีเป็นคนเดินถนน
  • 8:32 - 8:36
    เขาเดินเข้ามา ในขณะที่กระบะสีแดงหยุดทันเวลา
  • 8:36 - 8:38
    และในสไตล์คนแคลิฟอร์เนีย รถบัสที่ตามมา
  • 8:38 - 8:41
    ก็เบี่ยงแซง จนเกือบจะชนคนข้ามถนนของเรา
  • 8:41 - 8:42
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:42 - 8:44
    และนี่คือตัวอย่างของรถที่แพงขึ้นมาหน่อย
  • 8:44 - 8:46
    พรีอุส ขับผ่านไปเลย
  • 8:46 - 8:50
    รถ BMW ก็ทำเช่นกัน
  • 8:51 - 8:54
    เราศึกษารถหลายร้อยคัน
  • 8:54 - 8:56
    ใช้เวลาหลายวัน
  • 8:56 - 8:59
    เพื่อติดตามว่าใครหยุด และใครไม่หยุด
  • 9:00 - 9:03
    สิ่งที่เราพบคือ เมื่อความแพง
  • 9:03 - 9:07
    ของรถยนต์เพิ่มขึ้น
  • 9:07 - 9:09
    แนวโน้มของคนขับที่จะฝ่าฝืนกฎหมาย
  • 9:09 - 9:10
    ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
  • 9:10 - 9:13
    ไม่มีรถคันใดเลย ผมย้ำว่าไม่มีเลย
  • 9:13 - 9:16
    ในกลุ่มรถที่ราคาถูกที่สุด
  • 9:16 - 9:18
    ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
  • 9:18 - 9:20
    และเกือบ 50 เปอร์เซนต์ของรถยนต์
  • 9:20 - 9:22
    ในกลุ่มรถที่แพงที่สุด
  • 9:22 - 9:25
    ฝ่าฝืนกฎหมาย
  • 9:25 - 9:27
    เราทำการศึกษาอื่นๆ เพื่อศึกษาว่า
  • 9:27 - 9:31
    คนที่รวยกว่า จะมีแนวโน้มที่จะโกหกในการเจรจาต่อรอง
  • 9:31 - 9:33
    และจะส่งเสริมพฤติกรรมไร้จรรยาบรรณในที่ทำงาน
  • 9:33 - 9:35
    เช่นการขโมยเงินจากแคชเชียร์
  • 9:35 - 9:41
    รับสินบน โกหกลูกค้า
  • 9:41 - 9:42
    ผมไม่ได้ชี้นำว่า
  • 9:42 - 9:44
    ไม่ใช่เฉพาะคนรวย
  • 9:44 - 9:46
    ที่แสดงพฤติกรรมเหล่านี้
  • 9:46 - 9:48
    ไม่ใช่เลยครับ อันที่จริง ผมคิดว่า พวกเราทุกคน
  • 9:48 - 9:51
    ในชีวิตของเราทุกๆวัน ทุกๆ นาที
  • 9:51 - 9:54
    ต้องเผชิญกับความขัดแย้งในใจ
  • 9:54 - 9:58
    ว่าเมื่อไหร่ หรือควรหรือไม่ ที่จะเอาผลประโยชน์ส่วนตัว
  • 9:58 - 10:00
    อยู่เหนือผลประโยชน์ของคนอื่นๆ
  • 10:00 - 10:02
    และนั่นก็เป็นที่เข้าใจได้ เพราะ
  • 10:02 - 10:05
    ความฝันแบบอเมริกันนั้น
  • 10:05 - 10:08
    คือแนวคิดที่ว่าเราทุกคนมีโอกาสเท่ากัน
  • 10:08 - 10:10
    ในความสำเร็จและรุ่งเรือง
  • 10:10 - 10:13
    ตราบใดที่เราทุ่มเทกายใจ และทำงานหนัก
  • 10:13 - 10:15
    ในแง่หนึ่ง มันหมายถึงว่าในบางครั้ง
  • 10:15 - 10:18
    คุณต้องยกเอาผลประโยชน์ส่วนตน
  • 10:18 - 10:22
    ให้อยู่เหนือผลประโยชน์ และความเป็นอยู่
    ของคนอื่นๆ รอบๆ ตัวคุณ
  • 10:22 - 10:24
    แต่ที่สิ่งที่เราค้นพบ ก็คือ
  • 10:24 - 10:26
    เมื่อคุณร่ำรวยขึ้น คุณมีแนวโน้มที่
  • 10:26 - 10:29
    จะแสวงหาวิสัยทัศน์ของความสำเร็จส่วนตัว
  • 10:29 - 10:31
    และการทำงานบรรลุเป้าหมาย
  • 10:31 - 10:35
    จนเริ่มเป็นผลเสียต่อคนรอบข้างคุณ
  • 10:35 - 10:38
    ผมวาดกราฟแสดงค่าเฉลี่ยรายรับ
    ที่แต่ละครัวเรือนได้รับ
  • 10:38 - 10:41
    โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มรายได้
    และกลุ่ม 5% ของครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด
  • 10:41 - 10:43
    ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
  • 10:43 - 10:46
    ในปี 1993 ความแตกต่างระหว่าง
  • 10:46 - 10:49
    แต่ละควอนไทล์ของประชากร ในแง่ของรายรับ
  • 10:49 - 10:52
    มันเลวร้ายทีเดียว
  • 10:52 - 10:54
    ไม่ยากเลยที่จะมองเห็นความแตกต่างนี้
  • 10:54 - 10:57
    แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ความแตกต่างที่เด่นชัดนั้น
  • 10:57 - 10:59
    ก็ยิ่งแตกต่างกันมากขึ้นไปอีก
  • 10:59 - 11:02
    ระหว่างกลุ่มคนรวย และคนอื่นๆ ที่เหลือ
  • 11:02 - 11:06
    อันที่จริง คนที่รายได้สูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์แรก
  • 11:06 - 11:09
    เป็นเจ้าของสินทรัพย์เกือบ 90 เปอร์เซนต์ของประเทศนี้
  • 11:09 - 11:11
    เราอยู่ในช่วงแห่งความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
  • 11:11 - 11:14
    ที่สูงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
  • 11:16 - 11:18
    นั่นหมายความว่า ความมั่งคั่งไม่เพียงจะ
  • 11:18 - 11:22
    กระจุกตัวอยู่กับกลุ่มคนที่เล็กลง
  • 11:22 - 11:25
    แต่ความฝันแบบอเมริกัน
  • 11:25 - 11:27
    ก็ยังไกลเกินเอื้อมออกไปเรื่อยๆ
  • 11:27 - 11:30
    สำหรับคนส่วนใหญ่แบบพวกเรา
    ที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 11:30 - 11:32
    และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ตามการศึกษาของเรา
  • 11:32 - 11:34
    ที่ว่า เมื่อคุณมั่งมีขึ้น
  • 11:34 - 11:37
    คุณจะรู้สึกว่าคุณสมควรได้รับความมั่งคั่งนั้น
  • 11:37 - 11:40
    และคุณจะมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญ
    กับผลประโยชน์ส่วนตัว
  • 11:40 - 11:42
    มากกว่าผลประโยชน์ของคนอื่นๆ
  • 11:42 - 11:45
    และยินยอมที่จะทำสิ่งเลวร้าย
    เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์นั้น
  • 11:45 - 11:47
    ดังนั้น ไม่มีเหตุผลเลย ที่จะคิดว่า
  • 11:47 - 11:49
    รูปแบบที่ว่านี้จะดีขึ้น
  • 11:49 - 11:51
    อันที่จริง มันแน่นอนที่ว่า
  • 11:51 - 11:52
    สถานการณ์จะเลวร้ายลงกว่านี้
  • 11:52 - 11:55
    และนี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม
  • 11:55 - 12:00
    ในอัตราเพิ่มที่คงที่ ในอนาคตอีก 20 ปี
  • 12:00 - 12:03
    ความเหลื่อมล้ำทางเศรฐกิจ
  • 12:03 - 12:05
    เป็นอะไรที่เราทุกคนควรกังวล
  • 12:05 - 12:07
    ไม่ใช่เพราะผู้คนที่อยู่ที่ข้างล่างสุด
  • 12:07 - 12:09
    ของโครงสร้างสังคม
  • 12:09 - 12:11
    แต่เป็นเพราะกลุ่มคน หรือสังคม
  • 12:11 - 12:16
    ที่มีความเหลือมล้ำทางเศรษกิจมากๆ นั้น
    แย่กว่าในหลายๆ แง่
  • 12:16 - 12:19
    ไม่ใช่แค่กับคนที่อยู่ด้านล่างสุด แต่กับทุกคน
  • 12:19 - 12:21
    มีงานวิจัยที่โดดเด่นหลายชิ้น
  • 12:21 - 12:24
    จากห้องวิจัยชั้นนำทั่วโลก
  • 12:24 - 12:27
    ที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งมากมาย
  • 12:27 - 12:28
    ที่คอยบ่อนทำลายสังคม
  • 12:28 - 12:31
    เมื่อความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น
  • 12:31 - 12:34
    ความยืดหยุ่นทางสังคม สิ่งที่เราใส่ใจ
  • 12:34 - 12:36
    สุขภาพ ความเชื่อใจกันในสังคม
  • 12:36 - 12:39
    ทุกอย่างลดลงเมื่อความเหลื่อมล้ำมีมากขึ้น
  • 12:39 - 12:41
    และเช่นเดียวกัน สิ่งเลวร้าย
  • 12:41 - 12:44
    ในสังคม
  • 12:44 - 12:46
    เช่น โรคอ้วน ความรุนแรง
  • 12:46 - 12:48
    จำนวนนักโทษ และการลงโทษ
  • 12:48 - 12:52
    นั้นกลับแย่ลง เมื่อความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
  • 12:52 - 12:54
    และเช่นกัน ผลลัพธ์เหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้น
  • 12:54 - 12:56
    ในสังคมเพียงไม่กี่แห่ง
  • 12:56 - 12:59
    แต่เกิดขึ้นในสังคมทุกรูปแบบ
  • 12:59 - 13:02
    แม้กระทั่งผู้คนที่อยู่บนยอดสุด ก็ได้รับผลลัพธ์เหล่านี้
  • 13:02 - 13:05
    แล้วเราจะทำอย่างไร
  • 13:05 - 13:09
    ผลกระทบในแง่ร้าย
  • 13:09 - 13:11
    ที่ค่อยๆ ลุกลามอย่างไม่หยุดนี้
  • 13:11 - 13:15
    อาจดูเหมือนบางสิ่งที่เกินจะควบคุมได้
  • 13:15 - 13:16
    และไม่มีทางที่เราจะสามารถหยุดมันได้
  • 13:16 - 13:19
    แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่เราในฐานะปัจเจกบุคคล
    สามารถช่วยได้
  • 13:19 - 13:23
    แต่อันที่จริง สิ่งที่เราค้นพบ
  • 13:23 - 13:26
    ในงานวิจัยจากห้องทดลองของเรา
  • 13:26 - 13:31
    ก็คือ การแทรกแซงด้านจิตวิทยาเพียงเล็กน้อย
  • 13:31 - 13:35
    การปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย ในเรื่องคุณค่าของผู้คน
  • 13:35 - 13:38
    การผลักดันเพียงเล็กน้อย ไปในบางทิศทาง
  • 13:38 - 13:41
    ก็สามารถฟื้นคืนสถานะของความเสมอภาค
    และความเห็นอกเห็นใจ
  • 13:41 - 13:44
    ยกตัวอย่างเช่น การย้ำเตือนผู้คน
  • 13:44 - 13:46
    ถึงผลประโยชน์ของการร่วมมือกัน
  • 13:46 - 13:49
    หรือประโยชน์ของชุมชน
  • 13:49 - 13:53
    จะทำให้คนที่ร่ำรวยกว่า เชื่อในหลักความเสมอภาค
  • 13:53 - 13:55
    ได้พอๆ กับคนจน
  • 13:55 - 13:59
    ในการศึกษาหนึ่ง เราให้ผู้คนดูวิดีโอสั้นๆ
  • 13:59 - 14:03
    ความยาวเพียง 46 วินาที เกี่ยวกับเด็กยากจน
  • 14:03 - 14:06
    เพื่อใช้เป็นเครื่องย้ำเตือนถึงความต้องการของคนอื่นๆ
  • 14:06 - 14:08
    ในโลกรอบๆ ตัวพวกเขา
  • 14:08 - 14:10
    และหลังจากดูวิดีโอนั้น
  • 14:10 - 14:12
    เราศึกษาว่า พวกเขาเต็มใจแค่ไหน
  • 14:12 - 14:15
    ที่จะใช้เวลากับคนแปลกหน้าที่กำลังลำบาก
  • 14:15 - 14:19
    ผู้ซึ่งถูกพามาพบเขาในห้องทดลอง
  • 14:19 - 14:22
    หนึ่งชั่วโมง หลังจากดูวิดีโอนี้
  • 14:22 - 14:24
    กลุ่มคนรวย ก็มีความเอื้อเฟื้อ
  • 14:24 - 14:26
    ในแง่การใช้เวลาเพื่อช่วยคนแปลกหน้าที่ว่า
  • 14:26 - 14:29
    พอๆ กับกลุ่มคนจน
  • 14:29 - 14:32
    นี่ชี้ว่า ความแตกต่างเหล่านี้
  • 14:32 - 14:33
    ไม่ได้ฝังแน่น หรือติดอยู่กับเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
  • 14:33 - 14:35
    แต่มันสามารถปรับเปลี่ยนได้
  • 14:35 - 14:37
    โดยใช้การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
    ในเรื่องคุณค่าของคน
  • 14:37 - 14:39
    เพิ่มความรักเพื่อนมนุษย์อีกเล็กน้อย
  • 14:39 - 14:41
    และความเห็นอกเห็นใจอีกนิดหน่อย
  • 14:41 - 14:43
    และนอกห้องทดลองของเรา
  • 14:43 - 14:47
    เราเริ่มที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ว่าในสังคมเราแล้ว
  • 14:47 - 14:50
    บิลล์ เกตส์ หนึ่งในผู้ที่มั่งคั่งที่สุดในประเทศของเรา
  • 14:50 - 14:52
    ในสุนทรพจน์ของเขา ในงานมอบประกาศนียบัตร
    มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  • 14:52 - 14:54
    เขาพูดเกี่ยวกับปัญหาที่สังคมเราเผชิญอยู่
  • 14:54 - 14:57
    เรื่องความไม่เท่าเทียม ว่าเป็นความท้าทายที่น่ากลัว
  • 14:57 - 15:00
    และพูดถึงว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อสู้กับมัน
  • 15:00 - 15:03
    เขากล่าวว่า
    "ความก้าวหน้าที่ยิงใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ
  • 15:03 - 15:05
    ไม่ใช่การค้นพบ
  • 15:05 - 15:08
    แต่อยู่ที่วิธีที่การค้นพบเหล่านั้นถูกนำมาประยุกต์ใช้
  • 15:08 - 15:11
    เพื่อลดความไม่เท่าเทียม"
  • 15:11 - 15:13
    และมีกลุ่ม กิฟวิงเพล็ดจ์ (Giving Pledge)
  • 15:13 - 15:15
    ซึ่งเป็นกลุ่มของกว่า 100 ผู้ที่ร่ำรวยที่สุด
  • 15:15 - 15:18
    ของประเทศเรา
  • 15:18 - 15:22
    ที่สัญญาว่าจะมอบครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์ทั้งหมด
    เพื่อการกุศล
  • 15:22 - 15:23
    และตอนนี้ ก็เริ่มมีความเคลื่อนไหว
  • 15:23 - 15:27
    ในระดับรากหญ้า อีกมากมาย
  • 15:27 - 15:29
    อย่างเช่น กลุ่ม "เราคือหนึ่งเปอร์เซนต์"
    (We are the One Percent)
  • 15:29 - 15:31
    กลุ่ม รีซอร์ซ เจนเนเรชั่น (Resource Generation)
  • 15:31 - 15:33
    หรือกลุ่ม "เวล์ธ ฟอร์ คอมมอน กู้ด"
    (Wealth for Common Good)
  • 15:33 - 15:36
    ที่ซึ่งประชากร
  • 15:36 - 15:38
    กลุ่มที่มีอภิสิทธิ์สูงสุด
  • 15:38 - 15:40
    ที่อยู่ในกลุ่มหนึ่งเปอร์เซนต์สูงสุดของสังคม
  • 15:40 - 15:42
    ผู้คนที่ร่ำรวย
  • 15:42 - 15:46
    กำลังใช้ทรัพยากรทางเศรษกิจของพวกเขา
  • 15:46 - 15:50
    ที่ผมประทับใจ คือ ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก
  • 15:50 - 15:52
    หันมาใช้อภิสิทธิ์ของพวกเขา
  • 15:52 - 15:54
    ทรัพยากรทางเศรษกิจของพวกเขา
  • 15:54 - 15:57
    เพื่อต่อสู้กับความไม่เท่าเทียม
  • 15:57 - 16:00
    โดยสนับสนุนนโยบายทางสังคม
  • 16:00 - 16:02
    เปลี่ยนคุณค่าทางสังคม
  • 16:02 - 16:04
    และเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน
  • 16:04 - 16:07
    ให้สนใจผลประโยชน์ส่วนตัวน้อยลง
  • 16:07 - 16:11
    และนั่นอาจทำให้ฝันแบบอเมริกันกลับคืนมาได้ในที่สุด
  • 16:11 - 16:13
    ขอบคุณครับ
  • 16:13 - 16:17
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เงินตราทำให้คุณโหดร้าย จริงหรือ?
Speaker:
พอล พิฟ (Paul Piff)
Description:

เกมเศรษฐีที่ไม่ยุติธรรม ก็สามารถเปิดเผยถึง บางอย่างที่น่าทึ่งได้ ในการบรรยายที่สนุกแต่เคร่งขรึมนี้ นักจิตวิทยาสังคม พอล พิฟ แสดงบางส่วนของานวิจัย ที่แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีพฤติกรรมอย่างไรเมื่อพวกเรารู้สึกรวยขึ้น (บอกไว้ก่อน ว่าทำตัวแย่) แต่ถึงแม้ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมนั้นจะซับซ้อน และน่ากลัว ขณะเดียวกันนั้นก็ยังมีข่าวดีอยู่ด้วยเหมือนกัน (บันทึกที่ TEDxMarin)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:35
Kanawat Senanan approved Thai subtitles for Does money make you mean? Jan 23, 2014, 5:52 AM
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Does money make you mean? Jan 23, 2014, 5:47 AM
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Does money make you mean? Jan 23, 2014, 5:47 AM
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Does money make you mean? Jan 23, 2014, 5:19 AM
Paravee Asava-Anan accepted Thai subtitles for Does money make you mean? Jan 22, 2014, 2:39 AM
Paravee Asava-Anan edited Thai subtitles for Does money make you mean? Jan 22, 2014, 2:39 AM
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Does money make you mean? Jan 15, 2014, 5:03 PM
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Does money make you mean? Jan 15, 2014, 4:53 PM
Show all

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 11 Edited (legacy editor)
    Kanawat Senanan Jan 23, 2014, 5:47 AM