ทำไมซอสมะเขือเทศถึงเทยากนัก - จอร์ช ไซน์เดน (George Zaidan)
-
0:06 - 0:09เฟรนซ์ฟรายแสนอร่อย
-
0:09 - 0:13เฟรนซ์ฟรายกับซอสมะเขือเทศกินคู่กันยิ่งอร่อยเหาะ
-
0:13 - 0:14ปัญหาอยู่ที่ว่า มันเป็นไปไม่ได้เลย
-
0:14 - 0:16ที่จะเทซอสมะเขือเทศให้ได้ปริมาณที่ต้องการ
-
0:16 - 0:20เราคุ้นเคยกับการเทซอสมะเขือเทศซะจนไม่ได้คิด
-
0:20 - 0:22ว่ามันทำตัวประหลาดขนาดไหน
-
0:22 - 0:26ลองคิดถึงขวดซอสมะเขือเทศที่ถูกบรรจุด้วยของแข็ง
อย่างเช่นเหล็กกล้า -
0:26 - 0:29ไม่ว่าจะเขย่าอย่างไรเหล็กก็ไม่หล่นออกมา
-
0:29 - 0:32ทีนี้ลองคิดถึงขวดอันเดียวกัน
ที่บรรจุของเหลวแบบน้ำอยู่เต็ม -
0:32 - 0:34มันคงไหลออกมาอย่างง่ายดาย
-
0:34 - 0:37แต่ทว่า ซอสมะเขือเทศ เหมือนจะไม่สามารถตัดสินใจได้
-
0:37 - 0:39ว่ามันจะเป็นของแข็งหรือของเหลวกันแน่
-
0:39 - 0:42คำตอบคือ มันก็แล้วแต่
-
0:42 - 0:45ของเหลวที่พบได้มากที่สุดอย่างน้ำ
น้ำมัน หรือแอลกอฮอล์ -
0:45 - 0:48ตอบสนองต่อแรงในเชิงเส้น
-
0:48 - 0:51ถ้าคุณผลักมันแรงเป็นสองเท่า
พวกมันก็เคลื่อนที่เร็วขึ้นสองเท่า -
0:51 - 0:54เซอร์ ไอแซค นิวตัน ที่โด่งดังจากลูกแอปเปิ้ล
เป็นคนแรกที่เสนอความสัมพันธ์นี้ -
0:54 - 0:58และของเหลวเหล่านั้นก็ได้ชื่อว่า ของเหลวแบบนิวตัน
(Newtonian fluids) -
0:58 - 1:01อย่างไรก็ดี ซอสมะเขือเทศ เป็นเจ้าตัวแหกกฎ
-
1:01 - 1:03ที่เรียกว่า ของเหลวนอกแบบของนิวตัน
(Non-Newtonian fluids) -
1:03 - 1:06มายองเนส ยาสีฟัน เลือด สีทาบ้าน เนยถั่ว
-
1:06 - 1:10และของเหลวอื่นๆ ไม่ตอบสนองต่อแรงแบบเส้นตรง
-
1:10 - 1:12ซึ่งนั่นทำให้ความเข้มข้นที่สังเกตได้ของมัน
-
1:12 - 1:15เปลี่ยนไปตามความแรง
หรือระยะเวลา หรือความเร็วที่ผลัก -
1:15 - 1:19และซอสมะเขือเทศก็เป็นของเหลวนอกแบบของนิวตัน
-
1:19 - 1:23อย่างแรก: ยิ่งคุณผลักมันแรงเท่าไร
มันยิ่งใสขึ้นมากเท่านั้น -
1:23 - 1:25ภายใต้แรงผลักระดับหนึ่ง
-
1:25 - 1:27ซอสมะเขือเทศจะมีพฤติกรรมเหมือนของแข็ง
-
1:27 - 1:29แต่เมื่อคุณผ่านจุดวิกฤตินั้นไปแล้ว
-
1:29 - 1:33มันจะเปลี่ยนเกียร์และใสกว่าเดิมเป็นพันเท่า
-
1:33 - 1:35ฟังดูคุ้นๆ ใช่ไหม
-
1:35 - 1:39อย่างที่สอง: ถ้าคุณผลักมันด้วยแรง
ที่ต่ำกว่าแรง ณ จุดวิกฤติ -
1:39 - 1:42ที่สุดแล้ว ซอสมะเขือเทศจะเริ่มไหล
-
1:42 - 1:45ในกรณีนี้ ไม่ใช่แรง แต่เป็นเวลา
ที่เป็นกุญแจสำคัญในการเทซอสมะเขือเทศออกมา -
1:45 - 1:47จากคุกแก้วของมัน
-
1:47 - 1:50เอาล่ะ แล้วทำไมซอสมะเขือเทศทำตัวแปลกแบบนี้
-
1:50 - 1:53มันทำมาจากมะเขือเทศ ที่ถูกทุบ โขลก สับ
-
1:53 - 1:55เป็นมะเขือเทศที่ถูกยำซะไม่มีชิ้นดี
-
1:55 - 1:57เห็นอนุภาคเล็กๆ พวกนี้ไหม
-
1:57 - 1:59นี่คือส่วนที่เหลืออยู่ของเซลล์มะเขือเทศ
-
1:59 - 2:01หลังจากที่พวกมันผ่านกระบวนการทำซอสมะเขือเทศ
-
2:01 - 2:03และของเหลวที่อยู่รอบๆ อนุภาคเหล่านั้น
-
2:03 - 2:06ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำและน้ำส้มสายชู น้ำตาล
และเครื่องเทศ -
2:06 - 2:08เมื่อซอสมะเขือเทศถูกตั้งอยู่เฉยๆ
-
2:08 - 2:12อนุภาคของมะเขือเทศกระจายตัวแบบสุ่มทั่วถึงกัน
-
2:12 - 2:14ทีนี้ลองใส่แรงอ่อนๆ ลงไปอย่างรวดเร็ว
-
2:14 - 2:16อนุภาคจะชนกันและกัน
-
2:16 - 2:17และไม่สามารถที่จะหลีกทางให้กันและกันได้
-
2:17 - 2:19ดังนั้นซอสมะเขือเทศจึงไม่ไหล
-
2:19 - 2:22ทีนี้ลองใส่แรงมากๆ อย่างรวดเร็ว
-
2:22 - 2:25แรงที่เพิ่มขึ้นมามากพอที่จะบี้อนุภาคมะเขือเทศ
-
2:25 - 2:26ดังนั้นแทนที่มันจะเป็นทรงกลมเล็กๆ
-
2:26 - 2:29พวกมันถูกบี้เป็นทรงรีๆ และตู้ม!
-
2:29 - 2:31ทีนี้คุณมีที่ว่างมากพอสำหรับอนุภาคกลุ่มหนึ่ง
-
2:31 - 2:34ที่จะแซงหน้าอนุภาคอื่นๆ และซอสมะเขือเทศก็จะไหลได้
-
2:34 - 2:38ทีนี้ถ้าคุณใส่แรงอ่อนๆ เป็นเวลานาน
-
2:38 - 2:41กลายเป็นว่า เราไม่รู้แน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้น
ในกรณีนี้ -
2:41 - 2:45เป็นไปได้ว่าอนุภาคมะเขือเทศใกล้ๆ ผนังขวด
-
2:45 - 2:47ถูกชนไปยังตรงกลางอย่างช้าๆ
-
2:47 - 2:49เคลื่อนออกจากของเหลวที่มันละลายอยู่
-
2:49 - 2:50ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นน้ำ
-
2:50 - 2:52ใกล้ๆ ขอบ
-
2:52 - 2:54น้ำนั้นทำหน้าที่เป็นตัวหล่อลื่นระหว่างขวดแก้ว
-
2:54 - 2:56กับใจกลางซอสมะเขือเทศข้นๆ
-
2:56 - 2:59และซอสมะเขือเทศก็ไหลไปได้
-
2:59 - 3:02อีกอย่างที่น่าจะเป็นไปได้ คือ
อนุภาคจะจัดตัวใหม่อย่างช้าๆ -
3:02 - 3:06เป็นกลุ่มเล็กๆ จำนวนมาก
แล้วไหลผ่านซึ่งกันและกัน -
3:06 - 3:08นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาการไหลของของเหลว
ยังคงทำการวิจัยอย่างต่อเนื่อง -
3:08 - 3:11ว่าซอสมะเขือเทศและเพื่อนผู้ร่าเริงของมัน
มีพฤติกรรมอย่างไร -
3:11 - 3:13ซอสมะเขือเทศจะยิ่งใสขึ้นถ้าคุณผลักแรงขึ้น
-
3:13 - 3:16แต่สารอย่างอูบเล็ค (oobleck) หรือ เนยถั่ว
-
3:16 - 3:18จะข้นขึ้นถ้าคุณผลักแรงขึ้น
-
3:20 - 3:22สารอื่นๆ สามารถปีนขึ้นไปยังแท่งไม้เกลียวได้
-
3:22 - 3:24หรือไหลออกจากบีกเกอร์ได้เองเรื่อยๆ
-
3:24 - 3:26เมื่อคุณเริ่มเทมัน
-
3:26 - 3:27จากมุมมองของฟิสิกส์
-
3:27 - 3:30ซอสมะเขือเทศเป้นหนึ่งในของสารผสมที่ซับซ้อนที่สุด
-
3:30 - 3:32และถ้านั่นยังไม่พอ ความสมดุลระหว่างส่วนผสม
-
3:32 - 3:35และความข้นที่ปรากฎตามธรรมชาติอย่าง
ยางแซน กัม (xanthan gum) -
3:35 - 3:38ซึ่งพบได้ในน้ำผลไม้และมิลค์เชคต่างๆ
-
3:38 - 3:40สามารถบอกได้ว่าซอสมะเขือเทศที่ต่างกัน
-
3:40 - 3:42สามารถที่จะมีพฤติกรรมแตกต่างกันได้อย่างสิ้นเชิง
-
3:42 - 3:44แต่ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติร่วมสองประการ
-
3:44 - 3:46คือ จะใสขึ้นในทันที ณ แรงที่จุดวิกฤติ
-
3:46 - 3:48และจะใสขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อมีการใส่แรงน้อยๆ
-
3:48 - 3:50เข้าไปเป็นเวลานานๆ
-
3:50 - 3:53และนั่นหมายความว่า คุณสามารถเอาซอสมะเขือเทศ
ออกจากขวดได้สองวิธี -
3:53 - 3:56เขย่ามันเป็นช่วงๆ ช้าๆ
-
3:56 - 3:58เอาให้มั่นใจว่าคุณไม่ได้หยุดให้แรงกับมัน
-
3:58 - 4:03หรือไม่ คุณก็อาจจะเคาะขวดแรงมากๆ
-
4:03 - 4:05ที่พวกมืออาชีพทำกันคือปิดฝาไว้
-
4:05 - 4:07เขย่าขวดกระชากสั้นๆ แรงๆ ครั้งสองครั้ง
-
4:07 - 4:09เพื่อที่จะปลุกอนุภาคมะเขือเทศให้ตื่น
-
4:09 - 4:10และจากนั้นเปิดฝา
-
4:10 - 4:14และทำการเทอย่างระมัดระวังไปบนมันฝรั่งทอด
- Title:
- ทำไมซอสมะเขือเทศถึงเทยากนัก - จอร์ช ไซน์เดน (George Zaidan)
- Speaker:
- George Zaidan
- Description:
-
ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/why-is-ketchup-so-hard-to-pour-george-zaidan
เคยเทซอสมะเขือเทศลงบนมันทอดแล้วไม่มีอะไรออกมาเลยไหม หรือตรงกันข้าม จานของคุณกำลังว่ายน้ำอยู่ในทะเลสีแดงในบัดดล จอร์ช ไซน์เดน อธิบายถึงหลักฟิสิกส์เบื้องหลังปรากฏการณ์ที่น่าสนใจนี้ อธิบายว่าซอสมะเขือเทศและของไหลแบบนิวตัน จะสามาถเปลี่ยนจากของแข็งเป็นของเหลวหรือและกลับมาเป็นเหมือนเดืมได้อยางไร
แบบเรียนโดย George Zaidan, แอนิเมชั่น โดย TOGETHER.
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 04:29
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why is ketchup so hard to pour? | |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna accepted Thai subtitles for Why is ketchup so hard to pour? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why is ketchup so hard to pour? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why is ketchup so hard to pour? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why is ketchup so hard to pour? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Why is ketchup so hard to pour? | |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna commented on Thai subtitles for Why is ketchup so hard to pour? | |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna declined Thai subtitles for Why is ketchup so hard to pour? |
Unnawut Leepaisalsuwanna
Got a few phrases to discuss krub, mainly below: what do you think?
"ตอบสนองต่อแรงในเชิงเส้น" -> "ตอบสนองต่อแรงเป็นเส้นตรง"
"ของเหลวแบบที่ไม่ใช่แบบนิวตัน" -> "ของเหลวนอกแบบของนิวตัน"
"ให้แรง" -> "ใส่แรง"
Kelwalin Dhanasarnsombut
Not only no objection to all your changes, this translation look more friendly to lay-reader because of you. Thanks!
Let's get it published, shell we? :)