จิตวิทยาของการหลงตัวเอง - ดับเบิลยู. คีท แคมป์เบลล์ (W. Keith Campbell)
-
0:07 - 0:09ก่อนจะมีการเซลฟี่เป็นครั้งแรก
-
0:09 - 0:11ชาวกรีกและโรมันโบราณมีตำนาน
-
0:11 - 0:15เกี่ยวกับคนคนหนึ่งที่ออกจะลุ่มหลง
กับภาพพจน์ของตัวเอง -
0:15 - 0:16ในเรื่องเล่าหนึ่ง
-
0:16 - 0:21นาซิซัสเป็นชายหนุ่มรูปงาม
ที่เดินทางไปทั่วโลกเพื่อจะหาคนรัก -
0:21 - 0:23หลังจากปฏิเสธนางไม้นามว่า เอคโค
-
0:23 - 0:27เขาเห็นภาพสะท้อนของตัวเองในแม่น้ำ
-
0:27 - 0:29และตกหลุมรักหัวปักหัวปำ
-
0:29 - 0:30นาซิซัสไม่อาจละจากภาพของตนเองได้
-
0:30 - 0:32และจมน้ำตายในที่สุด
-
0:32 - 0:37มีดอกไม้ที่ขึ้นตรงบริเวณที่เขาตายนั้น
และเราก็เรียกมันว่า นาซิซัส -
0:37 - 0:40ตำนานได้จับแนวคิดหลักของการหลงตัวเอง
-
0:40 - 0:44การนึกถึงตัวเองที่เยอะเกินไป
และบางทีก็ก่อให้เกิดอันตราย -
0:44 - 0:48แต่มันไม่ได้เป็นแค่บุคลิกอย่างหนึ่ง
ที่ต้องได้รับการแนะนำ -
0:48 - 0:53อันที่จริงแล้ว มันเป็นกลุ่มของลักษณะ
ที่ถูกจัดจำแนกและศึกษาโดยนักจิตวิทยา -
0:53 - 0:59นักจิตวิทยานิยามการหลงตัวเอง
ว่าเป็นอาการเพ้อหลงผิดคิดตนเขื่อง -
0:59 - 1:02พวกที่หลงตัวเองในระดับต่าง ๆ
คิดว่าพวกเขาดูดีกว่า -
1:02 - 1:03ฉลาดกว่า
-
1:03 - 1:05และมีความสำคัญมากกว่าคนอื่น
-
1:05 - 1:08และนั่นทำให้พวกเขาเชื่อว่า
พวกเขาสมควรได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ -
1:08 - 1:13นักจิตวิทยาจัดการหลงตัวเองสองรูปแบบ
เป็นลักษณะบุคลิก -
1:13 - 1:16การหลงตัวเองที่คิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่
และพวกที่ไม่มั่นคง -
1:16 - 1:18ยังมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
เกี่ยวกับการหลงตัวเอง -
1:18 - 1:22ในรูปแบบที่รุนแรงกว่านี้
-
1:22 - 1:26การหลงคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่
เป็นรูปแบบที่เรารู้จักกันดี -
1:26 - 1:28ที่มีลักษณะคือ ชอบเข้าสังคม
-
1:28 - 1:29ทำตัวเด่น
-
1:29 - 1:31และเรียกร้องความสนใจ
-
1:31 - 1:34พวกหลงตัวเองแบบคิดว่าตนยิ่งใหญ่
ต้องการความสนใจและอำนาจ -
1:34 - 1:35บางครั้งก็แบบนักการเมือง
-
1:35 - 1:36คนมีชื่อเสียง
-
1:36 - 1:38หรือผู้นำทางสังคม
-
1:38 - 1:43แต่ล่ะ ไม่ใช่ว่าทุกคนที่แสดงหา
ตำแหน่งที่มีอำนาจเหล่านั้น จะเป็นคนหลงตัวเอง -
1:43 - 1:44หลายคนทำไปเพราะเหตุผลที่ดี
-
1:44 - 1:46เช่นการเติมเต็มศักยภาพของตัวเอง
-
1:46 - 1:48หรือช่วยเหลือให้ชีวิตของคนอื่นดีขึ้น
-
1:48 - 1:51แต่พวกที่หลงตัวเองมองหาอำนาจ
-
1:51 - 1:54เพื่อสถานะและความเป็นที่สนใจ
ที่จะได้มาพร้อมกับตำแหน่งนั้น -
1:54 - 1:58ในขณะเดียวกัน พวกหลงตัวเองที่ไม่มั่นคง
อาจเงียบและเก็บตัว -
1:58 - 2:00พวกเขารู้ถึงสิทธิเป็นอย่างดี
-
2:00 - 2:03แต่ถูกข่มขู่และทำให้น้อยใจได้โดยง่าย
-
2:03 - 2:07ในทั้งสองกรณ๊ ด้านมืดของการหลงตัวเอง
แสดงออกมาในช่วงเวลาที่ยาวนาน -
2:07 - 2:10พวกที่หลงตัวเองมักแสดงอาการเห็นแก่ตัว
-
2:10 - 2:14ฉะนั้นผู้นำที่หลงตัวเองอาจทำการตัดสินใจ
ที่เสี่ยงหรือไม่ถูกทำนองคลองธรรม -
2:14 - 2:19และคู่ชีวิตที่หลงตัวเอง
อาจไม่ซื่อสัตย์และซื่อตรง -
2:19 - 2:22เมื่อภาพพจน์อันแสนหวานของพวกเขา
ถูกท้าทาย -
2:22 - 2:24พวกเขาจะไม่พอใจและก้าวร้าว
-
2:24 - 2:27มันเหมือนกับโรคที่ผู้ป่วยรู้สึกดี
-
2:27 - 2:30แต่คนที่อยู่รอบ ๆ เป็นทุกข์
-
2:30 - 2:31ในแบบที่รุนแรง
-
2:31 - 2:34พฤติกรรมนี้ถูกจัดว่า
เป็นความผิดปกติทางจิต -
2:34 - 2:37ที่เรียกว่าความผิดปกติในบุคลิกภาพ
แบบหลงตัวเอง -
2:37 - 2:40มันส่งผลต่อคนในกลุ่มประชากร
หนึ่งถึงสองเปอร์เซ็นต์ -
2:40 - 2:42มักเกิดกับผู้ชาย
-
2:42 - 2:45มันยังตรวจพบได้แต่ในผู้ใหญ่
-
2:45 - 2:48คนหนุ่มสาว โดยเฉพาะเด็ก ๆ
อาจจะอยากให้เป็นจุดสนใจ -
2:48 - 2:51แต่นั่นอาจเป็นแค่ส่วนหนึ่ง
ของการพัฒนาตามปกติ -
2:51 - 2:55คู่มือการวินิจฉัยและสถิติ
-
2:55 - 2:57ฉบับที่ห้าของสมาคมจิตเวชอเมริกัน
-
2:57 - 3:02อธิบายลักษณะความผิดปกติทางบุคลิก
ที่เกี่ยวกับการหลงตัวเองบางอย่างไว้ -
3:02 - 3:05นั่นรวมถึงความเห็นตัวเองยิ่งใหญ่
-
3:05 - 3:06ปัญหาเกี่ยวกับความเห็นอกเห็นใจคนอื่น
-
3:06 - 3:08การรู้ถึงสิทธิของตน
-
3:08 - 3:11และความต้องการ
การได้รับการชื่นชมและความสนใจ -
3:11 - 3:14สิ่งที่ทำให้ลักษณะเหล่านี้
เป็นความผิดปกติทางบุคลิก -
3:14 - 3:18คือพวกมันครอบงำชีวิตของคน
และทำให้เกิดปัญหาที่มีนัยสำคัญ -
3:18 - 3:21ลองนึกดูว่า แทนที่จะใส่ใจ
คู่ชีวิตหรือลูก ๆ ของคุณ -
3:21 - 3:24คุณใช้พวกเขาเป็นเครื่องมือหาความสนใจ
หรือการยอมรับ -
3:24 - 3:26หรือลองคิดถึงว่าแทนที่จะเป็นว่า
-
3:26 - 3:28คุณยอมรับการวิจารณ์ที่เชื่อถือได้
ที่เกี่ยวกับการทำงานของคุณ -
3:28 - 3:31กลายเป็นคนบอกทุกคนที่อยากจะช่วยคุณ
-
3:31 - 3:33ว่าพวกเขาน่ะผิดแล้ว
-
3:33 - 3:35แล้วสาเหตุของการหลงตัวเองคืออะไร
-
3:35 - 3:38การศึกษาฝาแฝดแสดงว่ามันเกี่ยวกับยีน
-
3:38 - 3:41แม้ว่าเรายังไม่รู้ว่ายีนไหนที่เกี่ยวข้อง
-
3:41 - 3:43แต่สิ่งแวดล้อมก็สำคัญเช่นกัน
-
3:43 - 3:45พ่อแม่ที่ไม่ยอมให้ลูกติดดิน
-
3:45 - 3:48อาจเลี้ยงลูกเขาให้เป็นคนหลงตัวเองได้
-
3:48 - 3:53และพ่อแม่ที่บังคับควบคุมอย่างเข้มงวด
ก็อาจทำให้ลูกเกิดความไม่มั่นคงได้ -
3:53 - 3:55การหลงตัวเองเหมือนว่าจะมากขึ้น
-
3:55 - 3:59ในวัฒนธรรมที่ให้คุณค่ากับบุคลิกภาพ
และการยกยอตัวตน -
3:59 - 4:01ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐฯ
-
4:01 - 4:06การหลงตัวเองที่เป็นลักษณะทางบุคลิก
เพิ่มขึ้นตั้งแต่ยุค 1970 -
4:06 - 4:08เมื่อแรงผลักดันจากสังคมในยุค 60
-
4:08 - 4:10ทำให้เกิดกระแสความเชื่อมั่นในตัวเอง
-
4:10 - 4:13และการเพิ่มขึ้นในวัตถุนิยม
-
4:13 - 4:17เร็ว ๆ นี้ สื่อสังคมออนไลน์โอกาส
ในการยกยอตัวเองเป็นร้อยเท่าพันทวี -
4:17 - 4:18แต่ที่น่าสนใจก็คือ
-
4:18 - 4:22มันยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน
ว่าสื่อสังคมออนไลน์ทำให้เกิดการหลงตัวเอง -
4:22 - 4:28มันน่าจะเป็นสือให้พวกที่หลงตัวเอง มองหา
สถานะทางสังคมและความสนใจมากกว่า -
4:28 - 4:31แล้วคนที่หลงตัวเองจะปรับเปลี่ยน
ลักษณะเชิงลบของพวกเขาได้หรือไม่ -
4:31 - 4:32ได้สิ
-
4:32 - 4:35อะไรก็ตามที่ส่งเสริมการสะท้อนความซื่อสัตย์
ของพฤติกรรมตนเอง -
4:35 - 4:37และการใส่ใจคนอื่น
-
4:37 - 4:42เช่นการบำบัดทางจิต หรือการฝึกความเห็นใจ
ต่อคนอื่น อาจเป็นประโยชน์ -
4:42 - 4:44ความยากก็คือมันอาจท้าทาย
-
4:44 - 4:47สำหรับคนที่มีความผิดปกติทางบุคลิก
แบบหลงตัวเอง -
4:47 - 4:49ที่จะทำพฤติกรรมด้านดีนั้นอย่างสม่ำเสมอ
-
4:49 - 4:54สำหรับคนหลงตัวเอง การแสดงตัวตน
เป็นเรื่องยาก จากแง่มุมที่ไม่มีการประจบประแจง
- Title:
- จิตวิทยาของการหลงตัวเอง - ดับเบิลยู. คีท แคมป์เบลล์ (W. Keith Campbell)
- Speaker:
- W. Keith Campbell
- Description:
-
ชมบทเรียนทั้งหมด: http://ed.ted.com/lessons/the-psychology-of-narcissism-w-keith-campbell
การหลงตัวเองไม่ได้เป็นแค่บุคลิกอย่างหนึ่งที่ต้องได้รับการแนะนำ อันที่จริงแล้ว มันเป็นกลุ่มของลักษณะที่ถูกจัดจำแนกและศึกษาโดยนักจิตวิทยา แต่สาเหตุของมันคืออะไร และคนที่หลงตัวเองจะปรับเปลี่ยนลักษณะเชิงลบของพวกเขาได้หรือไม่ ดับเบิลยู. คีท แคมป์เบลล์ อธิบายจิตวิทยาเบื้องหลังการนึกถึงตัวเองที่เยอะเกินไปและบางทีก็ก่อให้เกิดอันตรายของคนที่หลงตัวเอง
บทเรียนโดย W. Keith Campbell, แอนิเมชันโดย TOGETHER
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 05:10
![]() |
Michelle Mehrtens edited Thai subtitles for The psychology of narcissism | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The psychology of narcissism | |
![]() |
Rawee Ma accepted Thai subtitles for The psychology of narcissism | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The psychology of narcissism | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The psychology of narcissism | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The psychology of narcissism | |
![]() |
Rawee Ma declined Thai subtitles for The psychology of narcissism | |
![]() |
Rawee Ma edited Thai subtitles for The psychology of narcissism |