< Return to Video

ทำไมเราจึงตด? - พัวนา คาชแยพ (Purna Kashyap)

  • 0:09 - 0:14
    การผายลมหรือปล่อยตด
    เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกๆ วัน
  • 0:14 - 0:17
    คนส่วนใหญ่ รวมถึงคุณด้วย
  • 0:17 - 0:22
    จะปล่อยก๊าซประมาณ 500-1500 มิลลิลิตร
  • 0:22 - 0:25
    และสามารถปล่อยตดได้ประมาณ
    10 - 20 หน/วัน
  • 0:25 - 0:28
    แล้วก๊าซกลิ่นแรงนี่มาจากไหนกัน
  • 0:28 - 0:34
    ซึ่งในส่วนน้อยอาจมาจากก๊าซในลำไส้
    ระหว่างที่คุณนอน หรือเวลาอื่นๆ
  • 0:34 - 0:38
    แต่ก๊าซส่วนใหญ่ถูกผลิตขึ้น
    โดยแบคทีเรียในลำไส้
  • 0:38 - 0:42
    ในขณะที่พวกมันย่อยอาหาร
    ในส่วนที่เราย่อยไม่ได้
  • 0:42 - 0:44
    ลำไส้ของพวกเรา
    เป็นบ้านของแบคทีเรียเป็นพันล้าน
  • 0:44 - 0:47
    ที่อาศัยอยู่ในความสัมพันธ์แบบพึ่งพากับเรา
  • 0:47 - 0:51
    เรามีที่คุ้มภัยไว้ให้พวกมันอยู่
    และอาหารให้พวกมันกิน
  • 0:51 - 0:55
    เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน
    พวกมันช่วยสกัดพลังงานจากอาหารของเรา
  • 0:55 - 0:59
    ผลิตวิตามินให้เรา เช่นวิตามินบี และเค
    เพื่อส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของเรา
  • 0:59 - 1:03
    และมีบทบาทหน้าที่สำคัญ
    คือ เป็นปราการให้ระบบทางเดินอาหาร
  • 1:03 - 1:07
    การเคลื่อนไหว และการพัฒนา
    ของระบบอวัยวะต่างๆ
  • 1:07 - 1:11
    เป็นที่ชัดเจนว่า เราควรใส่ใจ
    ถึงสาระทุขสุกดิบของแบคทีเรียพวกนี้มากนั้น
  • 1:11 - 1:15
    แบคทีเรียในลำไส้ได้สารอาหารหลัก
    จากอาหารที่ไม่ถูกย่อย
  • 1:15 - 1:20
    เช่น คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน
    ซึ่งเข้ามาในลำไส้ใหญ่
  • 1:20 - 1:24
    พวกมันหมักอาหารที่ไม่ถูกย่อยเหล่านี้
    เพื่อผลิตสารประกอบมากมาย
  • 1:24 - 1:29
    เช่น กรดไขมันสายสั้น
    และแน่นอน ก๊าซ
  • 1:29 - 1:33
    ไฮโดรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์
    เป็นผลิตภัณฑ์ก๊าซที่พบมากที่สุด
  • 1:33 - 1:36
    จากการหมักของแบคทีเรีย
    และไม่มีกลิ่นใดๆ
  • 1:36 - 1:41
    บางคนผลิตมีเทน ด้วยเหตุที่
    มีจุลชีพจำเพาะอยู่ในลำไส้ของพวกเขา
  • 1:41 - 1:44
    แต่มีเทนนั้นก็ไม่มีกลิ่นเช่นกัน
  • 1:44 - 1:46
    แล้วอย่างนี้ อะไรกันที่เหม็น
  • 1:46 - 1:50
    กลิ่นสุดแย่ตามปกติแล้วเกิดจาก
    สารประกอบซัลเฟอร์ระเหย
  • 1:50 - 1:55
    เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และมีเทนเอทิออล์
    หรือ เมทิล เมอร์แคปเทน
  • 1:55 - 1:59
    อย่างไรก็ดี ก๊าซเหล่านี้ มีอยู่น้อยกว่า
    1% ของปริมาตร
  • 1:59 - 2:03
    และมักจะพบได้เมื่อมีการรับประทานกรดอะมิโน
    ที่มีซัลเฟอร์อยู่
  • 2:03 - 2:08
    ซึ่งอาจอธิบายกลิ่นแย่ๆ ของก๊าซ
    ได้ว่ามาจากการบริโภคโปรตีนเข้าไปมาก
  • 2:08 - 2:12
    ตดที่เพิ่มขึ้นจะพบได้ตามปกติ
    หลังการรับประทานอาหาร
  • 2:12 - 2:15
    ที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยไม่ได้
    เป็นปริมาณมาก
  • 2:15 - 2:21
    เช่นถั่ว เลนทิล ผลิตภัณฑ์จากนม
    หอม กระเทียม ลีค ไชเท้า
  • 2:21 - 2:29
    มันฝรั่ง ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี กล่ำดอก
    บล๊อคโคลี ผักกาด และบรัสเซล สเปราท์
  • 2:29 - 2:31
    คนขาดเอนไซม์
  • 2:31 - 2:36
    ดังนั้นแบคทีเรียที่สามารถหมักคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
    จึงเข้ามาจัดการแทน
  • 2:36 - 2:39
    และนี่ก็เป็นเรื่องธรรมชาติ ที่นำไปสู่ก๊าซที่มากขึ้น
  • 2:39 - 2:42
    แต่ถ้าคุณรู้สึกไม่สบาย
    รู้สึกอืดๆ หรือบวมๆ
  • 2:42 - 2:47
    นี่อาจเป็นการบอกถึงการเคลื่อนที่ซึ่งไม่ปกติ
    ของก๊าซไปตามทางเดินอาหาร
  • 2:47 - 2:49
    มันสำคัญที่เราจะไม่เอาแต่โทษอาหารบางชนิด
  • 2:49 - 2:52
    ว่าเป็นตัวการของก๊าซและอาการท้องอืด
    และหลีกเลี่ยงพวกมัน
  • 2:52 - 2:56
    คุณคงไม่อยากทำให้แบคทีเรีย
    ที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเหล่านี้อดอยาก
  • 2:56 - 3:00
    ไม่งั้นพวกมันจะเริ่มกินน้ำตาล
    ในชั้นเมือกเคลือบของลำไส้
  • 3:00 - 3:04
    ก๊าซส่วนบุคคลของคุณจะต่างกันไป
    ขึ้นอยู่กับว่าคุณกินอะไร
  • 3:04 - 3:06
    และชนิดแบคทีเรียในลำไส้ของคุณ
  • 3:06 - 3:08
    เช่น จากน้ำตาลเริ่มต้นเหมือนๆ กัน
  • 3:08 - 3:13
    แบคทีเรีย คลอสทริเดียมผลิต
    คาร์บอนไดออกไซด์ บิวไทเรต และออกซิเจน
  • 3:13 - 3:19
    ในขณะที่โพรพิโนแบคทีเรียสามารถผลิต
    คาร์บอนไดออกไซด์ โพรพิโนเอต และอะซิเตต
  • 3:19 - 3:23
    ในเวลาเดียวกัน เมทะโนเจน
    สามารถใช้ไฮโดรเจนและคาร์บอดไดออกได์
  • 3:23 - 3:26
    ที่ผลิตโดยแบคทีเรียอื่นๆ
    ในการสร้างมีเทน
  • 3:26 - 3:31
    ซึ่งสามารถลดปริมาณของก๊าซ
    โดยใช้ไฮโดรเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์จนเรียบ
  • 3:31 - 3:34
    ดังนั้น มันมีเครือข่ายที่ซับซ้อน
    ระหว่างแบคทีเรียในลำไส้
  • 3:34 - 3:38
    ที่ทำให้พวกมันได้รับการเลี้ยงดูทุกวัน
    โดยกินที่เป็นอาหารที่เราย่อยไม่ได้
  • 3:38 - 3:42
    หรือใช้สิ่งที่แบคทีเรียอื่นๆ ผลิตออกมา
  • 3:42 - 3:46
    ความสัมพันธ์นี้เป็นตัวกำหนดหลัก
    ของปริมาณและชนิดของก๊าซที่ถูกผลิต
  • 3:46 - 3:50
    ดังนั้น การผลิตก๊าซจึงเป็นสัญญาณว่า
    แบคทีเรียนในลำไส้คุณกำลังทำงาน
  • 3:50 - 3:56
    แต่ในบางกรณี เราอาจมีอาการผิดปกติ
    เนื่องจากก๊าซในกระเพาะ
  • 3:56 - 3:59
    ตัวอย่างที่เห็นได้บ่อย คือการแพ้นม
    (lactose intolerance)
  • 3:59 - 4:02
    คนส่วนใหญ่มีเอนไซม์สำหรับการย่อยแล็คโตส
  • 4:02 - 4:06
    ซึ่งเป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในนม
    และผลิตภัณฑ์ที่มาจากนม
  • 4:06 - 4:10
    แต่บางคนอาจไม่มีเอนไซม์นั้นเลย
    หรือเอนไซม์นั้นในปริมาณที่ไม่มาก
  • 4:10 - 4:13
    เช่น หลังจากเกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหาร
  • 4:13 - 4:17
    ดังนั้น พวกเขาจึงไม่สามารถย่อยผลิตภัณฑ์
    ที่มีแล็คโตส และอาจรู้สึกปวดท้อง
  • 4:17 - 4:21
    ร่วมกับการมีก๊าซเพิ่มขึ้น
    เพราะการหมักโดยแบคทีเรีย
  • 4:21 - 4:24
    แต่จำไว้ว่า ก๊าซส่วนใหญ่ที่ถูกผลิต
  • 4:24 - 4:27
    ในฐานะผลลัพธ์ทางธรรมชาติ
    ของการหมักโดยแบคทีเรียในลำไส้
  • 4:27 - 4:30
    และบ่งบอกถึงลำไส้ที่ทำงานได้เป็นอย่างดี
  • 4:30 - 4:35
    ปริมาณและชนิดนั้นแตกต่างออกไป
    ขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารและแบคทีเรีย
  • 4:35 - 4:40
    บริหารมารยาททางสังคมเมื่อคุณต้องผายลม
    และจงให้อภัยแบคทีเรียของคุณ
  • 4:40 - 4:42
    พวกมันแค่พยายามช่วยก็เท่านั้นเอง
Title:
ทำไมเราจึงตด? - พัวนา คาชแยพ (Purna Kashyap)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/why-do-we-pass-gas-purna-kashyap

การมีก๊าซในทางเดินอาหาร เป็นปรากฎการณ์ประจำวัน อันที่จริงแล้ว คนส่วนใหญ่ผายลม 10-20 ครั้งต่อวัน (ใช่แล้ว คุณก็ด้วย) แล้วก๊าซกลิ่นแรงนี้มาจากไหน พัวนา คาชแยพ นำเราสู่การเดินทางในลำไส้ ฉายความรู้ในเรื่องที่ว่าก๊าซเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งอาหารมีส่วนเป็นอย่างมากในการผลิตก๊าซนี้ ... และตอบคำถามว่าทำไมมันถึงเหม็น

บทเรียนโดย Purna Kashyap, แอนิเมชั่นโดย Ace & Son Moving Picture Co., LLC.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:58
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why do we pass gas? - Purna Kashyap
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do we pass gas? - Purna Kashyap
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do we pass gas? - Purna Kashyap
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do we pass gas? - Purna Kashyap
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why do we pass gas? - Purna Kashyap
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do we pass gas? - Purna Kashyap
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do we pass gas? - Purna Kashyap
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do we pass gas? - Purna Kashyap
Show all

Thai subtitles

Revisions