< Return to Video

ทำไมต้องบัดซบ บัดซบแปลว่าอะไร? | Point of View

  • 0:00 - 0:02
    เฮ่อ บัดซบจริงๆเลย
  • 0:02 - 0:04
    ว่าแต่ทำไมต้องบัดซบด้วยอะ
  • 0:04 - 0:06
    สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
  • 0:06 - 0:09
    เชื่อว่ามีคำหลายๆคำนะคะที่เราเคยได้ยินได้ฟังมา
  • 0:09 - 0:10
    ออกจะคุ้นหูกันด้วยซ้ำ
  • 0:10 - 0:14
    อย่างเช่นคำว่าบัดซบที่วิวยกตัวอย่างไปเมื่อครู่นี้นะคะ
  • 0:14 - 0:16
    ว่าแต่ว่าเรารู้กันจริงๆรึเปล่าคะว่า
  • 0:16 - 0:18
    คำคำนั้นหมายความว่ายังไง
  • 0:18 - 0:20
    โดยเฉพาะพวกคำอุทานต่างๆ
  • 0:20 - 0:21
    บอกเลยว่าพวกคำอุทานต่างๆเนี่ย
  • 0:21 - 0:24
    มีความหมายหลายต่อหลายคำเลยค่ะ
  • 0:24 - 0:26
    คือบางคำมันก็อาจจะเป็นแค่คำเลียนเสียงอะนะ
  • 0:26 - 0:28
    แต่ว่าหลายคำนี่ก็มีที่มาที่ไป
  • 0:28 - 0:29
    มีคำแปลของตัวเองด้วยนะคะ
  • 0:29 - 0:32
    ซึ่งหลายๆคนเนี่ยใช้ไปโดยที่ไม่รู้คำแปลเลยค่ะ
  • 0:32 - 0:34
    อย่างไรก็ตามนะคะ เมื่อไม่นานมานี้
  • 0:34 - 0:36
    วิวเพิ่งจะทำคลิปวิดีโอไปวิดีโอนึง
  • 0:36 - 0:37
    จำได้ไหมคะที่วิวมาบอกว่า
  • 0:37 - 0:40
    คำว่าโยมเนี่ยมีที่มาที่ไปยังไง แปลว่าอะไร
  • 0:40 - 0:43
    ซึ่งในคลิปวิดีโอนั้นนะคะวิวใช้หนังสืออ้างอิงเล่มนึงค่ะ
  • 0:43 - 0:44
    บังเอิญในเล่มนั้นเนี่ยนะคะ
  • 0:44 - 0:47
    มันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของคำอะไรต่างๆค่ะ
  • 0:47 - 0:49
    ดังนั้นในนั้นเนี่ยเต็มไปด้วยที่มาของคำ
  • 0:49 - 0:50
    เต็มไปหมดเลยนะคะ
  • 0:50 - 0:53
    วิวก็ไปอ่านเล่นอะไรต่างๆ แล้วก็พบกับ
  • 0:53 - 0:55
    คำแปลของคำจำนวนนึง
  • 0:55 - 0:57
    ที่เราใช้กันบ๊อยบ่อยค่ะ
  • 0:57 - 1:01
    นั่นก็คือคำอุทานที่ขึ้นด้วยคำว่า "บัด" ต่างๆ
  • 1:01 - 1:03
    ไม่ว่าจะเป็นบัดซบที่เมื่อกี้วิวพูดไป
  • 1:03 - 1:05
    บัดสีบัดเถลิงนะคะ
  • 1:05 - 1:06
    ซึ่งทั้งสามคำนี้
  • 1:06 - 1:08
    มีความหมายทั้งสิ้นเลยค่ะ
  • 1:08 - 1:11
    วันนี้วิวก็เลยจะหยิบเอาเรื่องราวที่วิวอ่านมาเนี่ยนะคะ
  • 1:11 - 1:12
    มาเล่าให้ทุกคนฟังค่ะ
  • 1:12 - 1:14
    สำหรับตอนนี้พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้ง
  • 1:14 - 1:16
    สนุกแล้วก็ได้สาระกันรึยังคะ
  • 1:16 - 1:18
    ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ
  • 1:22 - 1:24
    ต้องบอกว่าคำด่าหรือคำอุทานทั้งสามคำ
  • 1:24 - 1:27
    ที่วิวตั้งใจจะยกขึ้นมาคุยกับทุกคนในวันนี้
  • 1:27 - 1:30
    มีที่มาที่ใกล้เคียงกันมากๆเลยค่ะก็คือ
  • 1:30 - 1:33
    ล้วนแต่มาจากภาษาเขมรทั้งนั้นเลยนะคะ
  • 1:33 - 1:35
    ซึ่งในภาษาเขมรเนี่ยเขาแปลกันออกนะ
  • 1:35 - 1:37
    ว่ามันมีความหมายมาจากอะไรยังไง
  • 1:37 - 1:40
    แต่พอเราเก็บมาใช้กันในภาษาไทยนะคะ
  • 1:40 - 1:42
    เนื่องจากทุกวันนี้เราอาจจะไม่ได้คุ้นเคยกับภาษาเขมร
  • 1:42 - 1:46
    เหมือนกับคนไทยในสมัยที่เริ่มรับคำนี้เข้ามา
  • 1:46 - 1:48
    ต้องบอกว่าในสมัยก่อนคนไทยค่อนข้างจะได้รับ
  • 1:48 - 1:50
    อิทธิพลจากเขมรค่อนข้างเยอะเนอะดังนั้น
  • 1:50 - 1:53
    เรารับคำเขมรเข้ามาเต็มไปหมด
  • 1:53 - 1:54
    เอามาใช้เป็นราชาศัพท์
  • 1:54 - 1:56
    เอามาใช้เรียกชื่อนู้นชื่อนี้เต็มไปหมด
  • 1:56 - 1:58
    คนในสมัยนั้นเนี่ยเขาก็เลยน่าจะเก็บ
  • 1:58 - 2:00
    คำอุทานหรือคำด่าอะไรของเขมรมาด้วยค่ะ
  • 2:00 - 2:02
    ซึ่งคนในสมัยนั้นเนี่ยเขาอาจจะแปลออก
  • 2:02 - 2:04
    แต่เราเนี่ยแปลไม่ออกนะคะ
  • 2:04 - 2:06
    ต้องบอกว่าคลิปวิดีโอนี้ไม่ใช่ความเห็นของวิวเองนะคะ
  • 2:06 - 2:09
    แต่ว่าเป็นความเห็นนักภาษาศาสตร์ที่เขา
  • 2:09 - 2:10
    ไปศึกษาอะไรต่างๆ
  • 2:10 - 2:13
    แล้วก็พยายามดูที่มาของคำศัพท์นะคะ
  • 2:13 - 2:15
    ดังนั้นวิวลงอ้างอิงไว้ให้ด้านล่างแล้ว
  • 2:15 - 2:18
    ถ้าสมมติว่าใครอยากไปหาอ่านเพิ่มเติมอยากไปดูว่า
  • 2:18 - 2:20
    เออ มันน่าจะแปลแบบนั้นจริงไหม
  • 2:20 - 2:21
    ก็ลองไปดูได้นะคะ
  • 2:21 - 2:25
    ซึ่งอ้างอิงหลักๆที่วิวใช้ก็จะมีของอ.ศานติ ภักดีคำเนอะ
  • 2:25 - 2:27
    ซึ่งอาจารย์เนี่ยอ้างอิงมาจากหนังสือ
  • 2:27 - 2:28
    สัพะ พะจะนะ พาสา ไท นะคะ
  • 2:28 - 2:31
    ของบาทหลวงปาลเลอกัวซ์อีกทีนึงนะ
  • 2:31 - 2:33
    ดังนั้นก็เอาเป็นว่าวิวแค่ไปเจอมา
  • 2:33 - 2:34
    แล้วก็เอามาเล่าให้ทุกคนฟังแล้วกันค่ะ
  • 2:34 - 2:36
    ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญภาษาเขมรหรือว่า
  • 2:36 - 2:39
    ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านที่มาของคำศัพท์อะไรนะ
  • 2:39 - 2:41
    เพราะว่าภาษาเขมร วิวคืนครูไปหมดแล้วค่ะทุกคน
  • 2:42 - 2:44
    อย่างไรก็ตาม เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าค่ะ
  • 2:44 - 2:46
    ต้องบอกว่าคำทั้งสามคำนี้นะคะ
  • 2:46 - 2:48
    ล้วนแต่มีที่มาเหมือนกันเลยค่ะ นั่นก็คือ
  • 2:48 - 2:50
    มาจากภาษาเขมรนั่นเอง
  • 2:50 - 2:51
    เพราะว่าในสมัยโบราณเนี่ย
  • 2:51 - 2:54
    เรามีการรับศัพท์เขมรมาใช้ค่อนข้างเยอะค่ะ
  • 2:54 - 2:56
    เช่นเดียวกับในช่วงเวลาที่เรารับ
  • 2:56 - 2:58
    อิทธิพลต่างๆจากเขมรมามากมายนะ
  • 2:58 - 3:01
    ยกตัวอย่างเช่นในสมัยอยุธยา เราก็จะเห็นว่า
  • 3:01 - 3:03
    เราเนี่ยรับอะไรจากเขมรมาเต็มไปหมด
  • 3:03 - 3:05
    เรารับราชาศัพท์มา
  • 3:05 - 3:08
    เรารับระเบียบการราชสำนักอะไรต่างๆ
  • 3:08 - 3:11
    ซึ่งก็ต้องบอกว่าไม่ได้รับมาตั้งแต่แค่สมัยอยุธยานะคะ
  • 3:11 - 3:13
    เรารับอิทธิพลจากเขมรมาค่อนข้างยาวนานแล้ว
  • 3:13 - 3:14
    เพราะว่าอะไร
  • 3:14 - 3:17
    เพราะว่าเขมรเนี่ยมีการติดต่อกับอินเดียนะคะ
  • 3:17 - 3:20
    ดังนั้นทางอินเดียอะไรต่างๆ ซึ่งเป็น
  • 3:20 - 3:21
    เจ้าอารยธรรมที่แบบสูงกว่าเนี่ย
  • 3:21 - 3:23
    เขาก็ส่งต่ออารยธรรมต่างๆ
  • 3:23 - 3:25
    มาที่เขมรและ
  • 3:25 - 3:27
    เราก็ไปรับมาจากเขมรอีกที
  • 3:27 - 3:29
    ดังนั้นมันจะมีความเป็นทอดๆนิดนึงก็คือ
  • 3:29 - 3:31
    มันมีความเป็นอินเดียอยู่แหละ
  • 3:31 - 3:33
    มันมีความเป็นสันสกฤตอะไรต่างๆ
  • 3:33 - 3:34
    แต่ว่าเป็นสันสกฤตที่
  • 3:34 - 3:38
    ผ่านสายคนเขมร ผ่านการพัฒนาจากคนเขมรมาแล้วนะ
  • 3:38 - 3:40
    ซึ่งถามว่าทั้งสามคำนี้มีอะไรร่วมกันอีก
  • 3:40 - 3:42
    นอกจากมีที่มาจากภาษาเขมรร่วมกัน
  • 3:42 - 3:44
    ก็ต้องบอกว่าทั้งสามคำเนี่ย
  • 3:44 - 3:46
    ประกอบไปด้วยคำคำเดียวกันค่ะ นั่นก็คือคำว่า
  • 3:46 - 3:48
    บัดนั่นเอง
  • 3:48 - 3:50
    ไม่ว่าจะเป็นบัดซบ บัดสีบัดเถลิง
  • 3:50 - 3:51
    บัดทั้งนั้นเลย
  • 3:51 - 3:53
    คำว่าบัดคำนี้แปลว่าอะไรรู้ไหมคะ
  • 3:53 - 3:56
    คำว่าบัดคำนี้ตามภาษาเขมร เขียนว่าแบบนี้
  • 3:56 - 3:58
    ออกเสียงว่าบัดเหมือนกันเป๊ะเลยค่ะ
  • 3:58 - 4:00
    คำคำนี้นะคะมีความหมายว่าแบบ
  • 4:00 - 4:02
    เสียหาย สูญสิ้น
  • 4:02 - 4:04
    ไม่เหลือแล้ว อะไรประมาณอย่างนี้นะ
  • 4:04 - 4:06
    ก็คือการสูญเสียอะไรบางอย่างค่ะ
  • 4:06 - 4:08
    ทีนี้ถามว่าแต่ละคำแปลว่าอะไร
  • 4:08 - 4:10
    เริ่มจากคำว่าซบก่อน
  • 4:10 - 4:12
    คำว่าซบคำนี้เนี่ยนะคะเป็นคำคำนึงค่ะซึ่ง
  • 4:12 - 4:15
    เอาจริงๆ อ.ศานติ ภักดีคำเนี่ยเขาหาไม่เจอค่ะว่า
  • 4:15 - 4:18
    เอ๊ สรุปแล้วมันมีที่มาจากอะไรยังไงนะคะ
  • 4:18 - 4:22
    แต่ก็สามารถพอจะสันนิษฐานได้จากคำที่ใกล้เคียงกัน
  • 4:22 - 4:24
    แล้วน่าจะตรงกับความหมายที่สุดนะคะ
  • 4:24 - 4:28
    คือเขาสันนิษฐานว่าเรารับมาจากคำว่า ซ็อบ ภาษาเขมรค่ะ
  • 4:28 - 4:30
    คำว่าซ็อบในที่นี้เป็นภาษาเขมร
  • 4:30 - 4:32
    ที่รับมาจากอินเดียอีกทีนึงนะคะ
  • 4:32 - 4:33
    คือรับมาจากภาษาสันสกฤตค่ะ
  • 4:34 - 4:36
    คำที่เป็นที่มาของคำว่าซ็อบก็คือคำว่า
  • 4:37 - 4:38
    สรรพนั่นเอง
  • 4:38 - 4:40
    สรรพ ส-ร-ร-พ
  • 4:40 - 4:40
    สรรพะ
  • 4:40 - 4:42
    สรรพะแปลว่าไร แปลว่าทุกสิ่งอย่าง
  • 4:42 - 4:44
    แปลว่าทุกอย่างรวมๆใช่ไหม
  • 4:44 - 4:46
    อย่างที่เราคุ้นกันดีกับคำว่าสรรพสิ่ง
  • 4:47 - 4:47
    อะไรแบบนี้
  • 4:47 - 4:50
    สรรพสิ่งทั้งปวง อย่างนั้นเลย
  • 4:50 - 4:52
    ดังนั้นเมื่อคำว่าสรรพกลายเป็นคำว่าซ็อบ
  • 4:52 - 4:53
    และคำว่าซ็อบกลายเป็นคำว่าซบเนี่ย
  • 4:54 - 4:55
    คำว่าซบก็เลยแปลว่า
  • 4:55 - 4:57
    ทุกสิ่งอย่าง ทั้งหมด อะไรอย่างนี้
  • 4:57 - 5:00
    เมื่อมารวมกับคำว่าบัดที่แปลว่าสูญเสีย
  • 5:00 - 5:01
    คำว่าบัดซบก็เลยแปลว่า
  • 5:01 - 5:03
    สูญเสียทุกสิ่งอย่าง
  • 5:03 - 5:06
    เวลาเราบอกว่าบัดซบจริงๆเลย มันก็เลยเป็นการ
  • 5:06 - 5:09
    อธิบายว่า โอ้ย ฉันไม่เหลืออะไรแล้ว
  • 5:09 - 5:11
    ฉันสูญเสียทุกสิ่งอย่าง ประมาณนี้นะคะ
  • 5:11 - 5:13
    นี่ก็คือคำแรกนั่นเอง
  • 5:13 - 5:15
    ทีนี้เรามาดูที่คำถัดไปนะคะ
  • 5:15 - 5:16
    ที่เขามักจะใช้คู่กันนั่นก็คือ
  • 5:16 - 5:18
    บัดสีบัดเถลิงนั่นเอง
  • 5:18 - 5:19
    อะ เวลาเราเห็นอะไรที่เรา
  • 5:19 - 5:22
    ไม่พอใจซักอย่างที่แบบว่าเรารับไม่ได้ เราก็จะบอกว่า
  • 5:22 - 5:25
    ว้าย บัดสีบัดเถลิง รับไม่ได้ ใช่ไหมคะ
  • 5:25 - 5:27
    ทีนี้ถามว่าบัดสีบัดเถลิงมีที่มาจากอะไร
  • 5:27 - 5:30
    ก็ต้องบอกว่าคำว่าบัดสีเนี่ยปัจจุบันเราสะกดว่า
  • 5:30 - 5:32
    บัดแล้วก็ สอ อี สี
  • 5:32 - 5:35
    เหมือนกับสีแบบสีทาบ้านอย่างนี้ใช่ไหมคะ
  • 5:35 - 5:37
    แต่อย่างไรก็ตามค่ะ อ.ศานติบอกว่า
  • 5:37 - 5:40
    คำว่าสีในทีนี้แต่ก่อนน่าจะไม่ได้สะกดแบบนี้
  • 5:40 - 5:42
    คำว่าสีเนี่ยน่าจะสะกดว่า
  • 5:42 - 5:45
    ศรีแบบนี้ ศ ศาลา ร เรือ สระอีนะคะ
  • 5:45 - 5:48
    ซึ่งคำว่าศรีคำนี้เราคุ้นเคยกันดีแบบ
  • 5:48 - 5:50
    เป็นเกียรติเป็นศรีอะไรอย่างนี้ใช่ไหม
  • 5:50 - 5:52
    ถามว่าคำว่าศรีในที่นี้หมายความว่ายังไง
  • 5:52 - 5:54
    ก็หมายถึงความเป็นมงคลอะไรต่างๆ
  • 5:54 - 5:57
    รวมถึงเป็นชื่อของพระศรีซึ่งเป็น
  • 5:57 - 6:00
    พระชายาของพระวิษณุด้วยนะคะ
  • 6:00 - 6:01
    หรือว่าพระนารายณ์นั่นเอง
  • 6:01 - 6:03
    ก็คือเป็นความมงคลทั้งหลายนั่นแหละ
  • 6:03 - 6:05
    ดังนั้นเวลาเราบอกว่าบัดสีเนี่ย
  • 6:05 - 6:07
    บัดแปลว่าทำให้หายไป ทำให้สูญสิ้น
  • 6:07 - 6:10
    ศรีคืออะไร ศรีคือความเป็นมงคลอะไรต่างๆ
  • 6:10 - 6:11
    ดังนั้นคำว่าบัดสีคืออะไร
  • 6:11 - 6:15
    บัดสีคือการสูญเสียความเป็นมงคลที่ตัวเองมี
  • 6:15 - 6:17
    ซึ่งสมัยก่อนนี่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ใช่ไหมคะ
  • 6:17 - 6:20
    ทุกคนจะต้องแบบ เฮ้ย เพื่อความเป็นเกียรติเป็นศรี
  • 6:20 - 6:22
    นำศักดิ์ศรีเพื่อเรา
  • 6:31 - 6:34
    นั่นไงความมู่หลาน Honor To Us All ก็มานะคะทุกคน
  • 6:34 - 6:36
    ซึ่งคำว่าศรีในที่นี้นะคะก็แน่นอน
  • 6:36 - 6:38
    เป็นชื่อของพระศรี เป็นภรรยาของพระวิษณุ
  • 6:38 - 6:40
    ดังนั้นนี่คืออีกหนึ่งคำค่ะที่
  • 6:40 - 6:43
    ชาวเขมรเนี่ยรับต่อมาจากภาษาสันสกฤตนะคะ
  • 6:43 - 6:45
    เราไปต่อที่คำถัดไปดีกว่า
  • 6:45 - 6:47
    นั่นก็คือคำว่าบัดเถลิงนั่นเอง
  • 6:47 - 6:48
    คำว่าบัดเราแปลไปแล้วเนอะ
  • 6:48 - 6:50
    ทีนี้คำว่าเถลิง เถลิงคืออะไร
  • 6:50 - 6:54
    คำว่าเถลิงเนี่ยนะคะหมายถึงการขึ้นค่ะ
  • 6:54 - 6:56
    ก็เหมือนศัพท์ที่เราใช้กันบ่อยๆ เช่น
  • 6:56 - 6:58
    เถลิงถวัลยราชสมบัติ
  • 6:58 - 7:01
    เถลิงอำนาจ ก็แปลว่าขึ้นสู่อำนาจ
  • 7:01 - 7:02
    ประมาณนั้นนะคะ
  • 7:02 - 7:04
    แล้วเมื่อเอามารวมกันเกิดอะไรขึ้น
  • 7:05 - 7:07
    ซึ่งในสมัยก่อนเนี่ยการขึ้นการมีอำนาจ
  • 7:07 - 7:09
    ก็ถือว่าเป็นเรื่องมงคลใช่ไหมคะ
  • 7:09 - 7:11
    ดังนั้นเมื่อเอามารวมกับคำว่าบัด
  • 7:11 - 7:13
    ซึ่งแปลว่าทำให้สูญเสีย สูญสิ้น ทำให้หมดไปเนี่ย
  • 7:14 - 7:16
    ก็แปลว่าสูญสิ้นแล้วจากการขึ้น
  • 7:16 - 7:20
    ในวงเล็บ สู่อำนาจหรือสู่ความดีงามอะไรต่างๆนะคะ
  • 7:20 - 7:21
    ดังนั้นเมื่อเอามารวมกันเนี่ย
  • 7:21 - 7:23
    บัดสีบัดเถลิงก็แปลว่าแบบ
  • 7:23 - 7:25
    สูญเสียความเป็นมงคล
  • 7:25 - 7:27
    สูญเสียการขึ้นสู่อำนาจประมาณว่า
  • 7:27 - 7:29
    ก็สูญเสียการขึ้นสู่อำนาจก็แปลว่าแกตกต่ำแล้ว
  • 7:29 - 7:31
    ประมาณนั้นแหละแบบอี๊ อัปมงคล ตกต่ำ
  • 7:31 - 7:33
    อะไรอย่างนี้นะคะ
  • 7:33 - 7:34
    ดังนั้นนะคะ เวลาคนสมัยก่อนเนี่ย
  • 7:34 - 7:36
    เขาเห็นคนทำอะไรที่เขาขัดใจมากๆ
  • 7:36 - 7:40
    เช่นแบบว่า ทำอะไรลามกอนาจารต่อหน้าที่สาธารณะ
  • 7:40 - 7:42
    เขาก็จะแบบอี๊ บัดสีบัดเถลิง แปลว่าอะไร
  • 7:42 - 7:43
    แปลว่าแบบโอ๊ย เห็นแล้วรับไม่ได้
  • 7:43 - 7:45
    นี่มันเสื่อมความเป็นมงคลสิ้นดี
  • 7:45 - 7:47
    อะไรเนี่ยมาแทงตาฉัน
  • 7:47 - 7:48
    ประมาณนั้นนะคะ
  • 7:48 - 7:51
    นั่นก็คือความหมายของคำว่าบัดสีบัดเถลิงนั่นเองค่ะ
  • 7:51 - 7:53
    เป็นไงบ้างคะได้ฟังความหมายของคำทั้งสามคำไป
  • 7:53 - 7:56
    ไม่ว่าจะเป็นบัดซบ บัดสี หรือบัดเถลิง
  • 7:56 - 7:59
    ก็จะได้ทำให้เวลาที่เราจะเอาไปอุทาน
  • 7:59 - 8:00
    หรือจะเอาไปว่าใครด่าใครเนี่ย
  • 8:00 - 8:03
    เราก็จะได้รู้ความหมายมันมากขึ้นนะคะว่า
  • 8:03 - 8:05
    เรากำลังว่าเขาว่าอะไรค่ะ
  • 8:05 - 8:07
    สำหรับวันนี้วิวก็
  • 8:07 - 8:09
    ขออนุญาตจบคลิปวิดีโอนี้แบบสั้นๆนิดนึงนะคะ
  • 8:09 - 8:11
    ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้อย่าลืม
  • 8:11 - 8:12
    กดไลก์เป็นกำลังใจให้วิวแล้วก็
  • 8:12 - 8:14
    กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆมาดูด้วยกันค่ะ
  • 8:14 - 8:16
    แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้านะคะทุกคน
  • 8:16 - 8:17
    บ๊ายบาย
  • 8:17 - 8:18
    สวัสดีค่ะ
  • 8:18 - 8:19
    คลิปนี้มาสั้นนิดนึงนะคะทุกคน
  • 8:19 - 8:23
    ขอสารภาพแบบจากใจจริงๆสุดๆเลยค่ะว่า
  • 8:23 - 8:26
    จริงๆแล้ววิวเตรียมอีกเรื่องนึงเอาไว้เล่าให้ทุกคนฟัง
  • 8:26 - 8:28
    แล้วก็หาข้อมูลมาค่อนข้างเยอะค่ะ
  • 8:28 - 8:29
    ซึ่งมันเป็นทฤษฎีที่แบบ
  • 8:29 - 8:31
    เออ คนเชื่อเยอะมากอะไรต่างๆ
  • 8:31 - 8:33
    แล้ววิวก็แบบเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วนะ
  • 8:33 - 8:35
    เตรียมไว้ยาวมากเป็นดราม่าระดับเทพค่ะ
  • 8:35 - 8:37
    ซึ่งเป็นที่มาของสถานที่นึงอะนะ
  • 8:37 - 8:40
    ปรากฏว่าวินาทีสุดท้ายก่อนกดอัดคลิป
  • 8:40 - 8:42
    เกิดคิดอะไรขึ้นมาก็ไม่รู้ประมาณว่าแบบ
  • 8:42 - 8:44
    เฮ้ย เช็กอีกทีดีกว่า
  • 8:44 - 8:46
    เพื่อความชัวร์นะคะก็เลยไปเช็กวันที่
  • 8:46 - 8:49
    เช็กปีพ.ศ. อะไรต่างๆที่มันเกิดสถานที่นี้ขึ้น
  • 8:49 - 8:53
    แล้วก็พบว่าเฮ้ย ไอ้ทฤษฎีที่เขาเชื่อกันทั่วบ้านทั่วเมืองอะ
  • 8:53 - 8:54
    มันผิดทุกคน
  • 8:54 - 8:58
    คือเขาบอกว่าสถานที่นี้ตั้งชื่อตามสถานที่นี้
  • 8:58 - 8:59
    แต่ว่าพอไปดูจริงๆแล้วอะ
  • 8:59 - 9:02
    ไอ้ที่ที่มันตั้งตามอะ มันเกิดขึ้นก่อนซะอย่างนั้น
  • 9:02 - 9:04
    วิวก็เลยแบบว่าอ้าว อ้าว อ้าว
  • 9:04 - 9:06
    อ้าวข้อมูลผิดนะคะ
  • 9:06 - 9:08
    ดีนะที่ไปเช็กก่อนก็คือ
  • 9:08 - 9:09
    เรื่องนี้อยากบอกทุกคนว่า
  • 9:09 - 9:12
    อย่าเชื่อแค่เพราะว่ามันอยู่ในตำรา
  • 9:12 - 9:13
    หรืออย่าเชื่อเพราะว่ามันเป็นครูนะคะคือแบบ
  • 9:14 - 9:16
    กาลามสูตรใช้ได้จริงๆ ดังนั้นก็จะต้อง
  • 9:16 - 9:18
    เช็กข้อมูลดีๆนิดนึงค่ะ
  • 9:18 - 9:19
    ซึ่งเอาเป็นว่าทุกเรื่องที่วิวเล่าเนี่ยนะคะ
  • 9:19 - 9:22
    วิวก็พยายามจะใส่อ้างอิงไว้ให้ทุกคนด้านล่างค่ะ
  • 9:22 - 9:23
    ดังนั้นถ้าสมมติว่า
  • 9:23 - 9:25
    ใครฟังแล้วเนี่ยอยากให้ลองเข้าไปดูอ้างอิง
  • 9:25 - 9:27
    ลองเข้าไปอ่านอะไรต่างๆ เพื่อที่จะได้
  • 9:27 - 9:29
    พิจารณากันนิดนึงนะคะว่าเออ
  • 9:29 - 9:31
    เรื่องที่วิวรวบรวมมาให้เนี่ยมัน
  • 9:31 - 9:33
    ถูกต้องหรือเปล่า หรือว่ามันมีความเห็นต่างยังไง
  • 9:33 - 9:35
    มันมีทฤษฎีอะไรแตกต่างกันยังไงนะคะ
  • 9:35 - 9:36
    แต่สำหรับวันนี้วิวคิดว่า
  • 9:36 - 9:38
    วิวบ่นเยิ่นเย้อเกินเนื้อหาวิดีโอแล้วค่ะ
  • 9:38 - 9:41
    ก็ขอจบคลิปวิดีโอนี้แต่เพียงเท่านี้แล้วกันนะคะทุกคน
  • 9:41 - 9:42
    วันนี้ลาไปก่อนค่ะ
  • 9:42 - 9:43
    บ๊ายบาย
  • 9:43 - 9:44
    สวัสดีค่ะ
Title:
ทำไมต้องบัดซบ บัดซบแปลว่าอะไร? | Point of View
Description:

more » « less
Duration:
09:44

Thai subtitles

Revisions