ฮานส์ รอสลิง (Hans Roslin): มองความยากจนในมุมใหม่
-
0:00 - 0:02ปีที่แล้ว ผมบอกพวกคุณไปสามอย่าง
-
0:02 - 0:05ผมบอกไปว่า สถิติเกี่ยวกับโลกใบนี้
-
0:05 - 0:08ยังไม่ถูกเปิดให้เข้าถึงได้อย่างเหมาะสมนัก
-
0:08 - 0:10เพราะอย่างนั้น เราเลยยังมีความคิดแบบเก่าๆ
-
0:10 - 0:13เกี่ยวกับประเทศอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนา
ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิด -
0:14 - 0:18และบอกว่า ภาพกราฟฟิกแบบเคลื่อนไหวได้นั้น
สามารถสร้างความแตกต่างได้ -
0:19 - 0:21สิ่งต่างๆกำลังเปลี่ยนไปครับ
-
0:21 - 0:25และวันนี้ บนหน้าแรกของเว็บไซต์
ของกองสถิติแห่งสหประชาชาติ -
0:25 - 0:28มีการระบุว่า ภายในวันที่ 1 พฤษภาคม
ฐานข้อมูลต่างๆจะเปิดให้เข้าถึงได้เต็มที่ -
0:30 - 0:33(เสียงปรบมือ)
-
0:33 - 0:37และถ้าหากผมสามารถแสดงภาพบนจอให้คุณดูได้
-
0:38 - 0:39เอาล่ะ มีสามสิ่งที่ได้เกิดขึ้น
-
0:39 - 0:42UN เปิดฐานข้อมูลทางสถิติของพวกเขา
-
0:42 - 0:46และพวกเรามีเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดของซอฟท์แวร์
-
0:46 - 0:48ซึ่งเป็นแบบทดลอง สามารถใช้ได้บนอินเตอร์เน็ต
-
0:48 - 0:50เพราะงั้นคุณไม่ต้องดาวน์โหลดมันอีกต่อไปแล้ว
-
0:51 - 0:53และขอผมทวนสิ่งที่คุณได้เห็นไปเมื่อปีที่แล้ว
-
0:53 - 0:54ฟองเหล่านั้น คือ ประเทศ
-
0:54 - 0:58ตรงนี้คุณมีอัตราการเจริญพันธุ์
จำนวนของเด็กต่อผู้หญิง -
0:58 - 1:01และตรงนั้นคุณมีช่วงความยืนยาวของชีวิต เป็นปี
-
1:02 - 1:05ตรงนี้ปี 1950 กลุ่มนั้นเป็นประเทศอุตสาหกรรม
-
1:05 - 1:06กลุ่มนั้นเป็นประเทศกำลังพัฒนา
-
1:06 - 1:08ตอนนั้น ยังมี "พวกเรา" และ "พวกเขา"
-
1:08 - 1:10มีความแตกต่างอย่างมากในโลกใบนี้
-
1:10 - 1:14แต่แล้วมันก็เปลี่ยนไป และมันก็ดำเนินไปได้ด้วยดี
-
1:14 - 1:15และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น
-
1:16 - 1:19คุณจะเห็นว่าประเทศจีนซึ่งเป็นฟองสีแดงใหญ่ๆ
-
1:19 - 1:20สีน้ำเงินนั้นคือ ประเทศอินเดีย
-
1:20 - 1:23และพวกเขากำลังก้าวข้ามทั้งหมดนี้ไป
ผมกำลังพยายามทำตัว -
1:23 - 1:25ให้ดูจริงจังมากขึ้นหน่อยในปีนี้
ในการแสดงให้คุณเห็น -
1:25 - 1:27ว่าสิ่งต่างๆเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร
-
1:28 - 1:31และนี่คือแอฟริกา ซึ่งโดดเด่นออกมา
และดูเป็นปัญหาที่ข้างล่างตรงนี้ ใช่มั้ยครับ -
1:31 - 1:34ครอบครัวขนาดใหญ่เหมือนเดิม
และการติดต่อของโรคเอดส์ -
1:34 - 1:36ได้นำประเทศต่างๆลงมาสู่จุดนี้
-
1:36 - 1:39นี่เป็นสิ่งที่เราเห็นกันไม่มากก็น้อยไปกว่าปีที่แล้ว
-
1:39 - 1:41และนี่ก็คือสิ่งที่จะดำเนินต่อไปในอนาคต
-
1:42 - 1:44และผมจะพูดถึงว่า มันเป็นไปได้มั้ย
-
1:44 - 1:47เพราะคุณจะเห็นในตอนนี้ว่า
ผมได้เสนอข้อมูลสถิติที่ไม่มีตัวตน -
1:48 - 1:50เพราะตรงนี้เป็นจุดที่พวกเรากำลังเป็นอยู่
-
1:50 - 1:53แล้วมันจะเป็นไปได้มั้ยที่สิ่งนี้จะเกิดขึ้น
-
1:54 - 1:56ผมใช้เวลาทั้งชีวิตของผมตรงนี้ คุณรู้มั้ย
-
1:56 - 1:58ผมหวังว่าผมจะอยู่ไปร้อยปี
-
1:58 - 2:00และตรงนี้เป็นที่ๆพวกเราอยู่กันทุกวันนี้
-
2:00 - 2:07เอาล่ะ เรามาดูตรงนี้ดีกว่า
ตรงสภาวะทางเศรษฐกิจของโลก -
2:08 - 2:13และผมจะแสดงมันให้ดูไปพร้อมๆกับ
การอยู่รอดของเด็ก -
2:13 - 2:14เราจะสลับแกน
-
2:15 - 2:19ตรงนี้เราจะมีการตายของเด็ก ก็คือการอยู่รอดนั่นแหละ
-
2:19 - 2:21เด็ก 4 คนตายตรงนี้ 200 คนตายตรงนั้น
-
2:22 - 2:24และนี่คือ GDP ต่อหัวอยู่บนแกนนี้
-
2:25 - 2:28และนี่คือปี 2007
-
2:28 - 2:32และถ้าผมย้อนเวลากลับไป
ผมได้เพิ่มข้อมูลสถิติในประวัติศาสตร์เข้ามา -
2:32 - 2:38เอาล่ะ ไปล่ะ ไปล่ะ
ไม่ค่อยมีสถิติอะไรมากนักเมื่อ 100 ปีก่อน -
2:38 - 2:40บางประเทศก็มีสถิติแหละ
-
2:40 - 2:42เราไปดูในเอกสารทางประวัติศาสตร์
-
2:42 - 2:46และเมื่อเราย้อนไปถึงปี 1820
-
2:46 - 2:50มีแค่ออสเตรียกับสวีเดนเท่านั้นที่สร้างตัวเลขพวกนี้ได้
-
2:50 - 2:53(เสียงหัวเราะ)
-
2:53 - 2:57แต่พวกเขาอยู่ข้างล่างตรงนี้
พวกเขามีรายได้ 1000 ดอลลาร์ต่อหัวต่อปี -
2:57 - 3:00และพวกเขาสูญเสีย 1 ใน 5 ของเด็กไป
ก่อนที่เด็กเหล่านั้นจะอายุครบหนึ่งปี -
3:01 - 3:04ถ้าเราดูทั่วทั้งโลก นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น
-
3:04 - 3:07เราค่อยๆ รวยขึ้นๆ ได้ยังไง
-
3:07 - 3:08แล้วพวกเขาก็เก็บสถิติเข้ามา
-
3:08 - 3:10มันดูสวยดีนะเวลาที่พวกเขามีสถิติขึ้นมา ว่ามั้ย
-
3:10 - 3:12คุณเห็นความสำคัญของมันมั้ย
-
3:12 - 3:14และตรงนี้ เด็กๆอายุสั้นลง
-
3:14 - 3:18ศตวรรษที่แล้ว ปี 1870 ไม่ดีเลยสำหรับเด็กๆในยุโรป
-
3:18 - 3:20เพราะสถิติเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในยุโรป
-
3:20 - 3:23จนมาถึงช่วงที่เปลี่ยนศตวรรษ
-
3:23 - 3:26ที่มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของเด็ก
มีชีวิตรอดผ่านวันเกิดปีแรกของพวกเขา -
3:26 - 3:29ตรงนี้ อินเดียกำลังพุ่งขึ้นมา ด้วยข้อมูลแรกจากอินเดีย
-
3:29 - 3:34และนี่คือสหรัฐฯกำลังขยับหนีมาตรงนี้
ทำเงินได้มากขึ้น -
3:34 - 3:39และในไม่ช้าเราจะพบว่า จีนกำลังขึ้นมาจากสุดมุมไกลโพ้นตรงนี้
-
3:39 - 3:41และก็พุ่งขึ้นในช่วงของเหมาเจ๋อตุง
สุขภาพดีขึ้น -
3:41 - 3:42แต่ไม่ได้รวยขึ้นเท่าไหร่นัก
-
3:42 - 3:45แล้วเขาก็ตาย
แล้วเติ้งเสี่ยวผิงก็เอาเงินมา -
3:45 - 3:46มันขยับมาอยู่ตรงนี้
-
3:47 - 3:49แล้วฟองทั้งหลายก็ขยับๆขึ้นไปตรงนั้น
-
3:49 - 3:51และนี่ก็คือโลกที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
-
3:51 - 3:57(เสียงปรบมือ)
-
3:57 - 4:00เรามาดูสหรัฐฯกันเถอะ
-
4:00 - 4:03เรามีกฎอยู่ตรงนี้
ผมบอกกับโลกว่า "อยู่ตรงที่พวกนายอยู่นะ" -
4:04 - 4:07และผมก็หยิบสหรัฐฯขึ้นมา
เรายังต้องรู้ข้อมูลเบื้องหลังหน่อย -
4:07 - 4:10ผมวางมันไว้อย่างนี้ และตอนนี้เราก็ย้อนหลังไป
-
4:10 - 4:13และเราก็จะเห็นว่า สหรัฐฯ
-
4:13 - 4:16มุ่งไปทางขวาของกระแสหลัก
-
4:16 - 4:18พวกเขาอยู่ทางฝั่งเงินตลอดเวลา
-
4:19 - 4:24และลงไปถึงปี 1915 สหรัฐฯก็อยู่ใกล้ๆกับอินเดีย
-
4:25 - 4:27อินเดียในปัจจุบัน
-
4:27 - 4:29และนั่นหมายความว่า สหรัฐฯในตอนนั้นรวยกว่า
-
4:29 - 4:33และเสียเด็กไปมากกว่าอินเดียในวันนี้
โดยสัดส่วนแล้วนะ -
4:34 - 4:37และดูนี่
เปรียบเทียบกับฟิลิปปินส์วันนี้ -
4:37 - 4:40ฟิลิปปินส์วันนี้มีสภาวะเศรษฐกิจเกือบจะเหมือน
-
4:41 - 4:43กับสหรัฐฯในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเลย
-
4:43 - 4:47แต่พวกเราต้องนำสหรัฐฯมาข้างหน้าสักระยะหนึ่ง
-
4:47 - 4:50ถึงจะเจอสุขภาพของสหรัฐฯ
-
4:50 - 4:51ที่เท่ากับสุขภาพในฟิลิปปินส์
-
4:52 - 4:55ราวปี 1957 ตรงนี้
สุขภาพของสหรัฐฯ -
4:55 - 4:57เท่ากับฟิลิปปินส์
-
4:57 - 5:00และ นี่เป็นละครฉากหนึ่งของโลกใบนี้ที่เรียกว่า โลกาภิวัฒน์
-
5:00 - 5:03ที่ เอเชีย ประเทศอาหรับ ละตินอเมริกา
-
5:03 - 5:08เหนือกว่ามากๆในเรื่อง สุขภาพดี มีการศึกษา
-
5:08 - 5:11มีทรัพยากรมนุษย์มากกว่าทรัพยากรเศรษฐกิจ
-
5:11 - 5:13มันมีช่องว่างในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทุกวันนี้
-
5:13 - 5:15ในระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่
-
5:15 - 5:19ที่นั่น ตอนนี้ สวัสดิการทางสังคม ความก้าวหน้าทางสังคม
-
5:19 - 5:22กำลังไปได้สวยกว่าความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
-
5:22 - 5:28และในปี 1957
สหรัฐฯมีสภาวะทางเศรษฐกิจเท่ากับที่ชิลีมีในวันนี้ -
5:29 - 5:32และมันจะอีกนานแค่ไหนนะ
ที่เราจะต้องดึงสหรัฐฯขึ้นมา -
5:32 - 5:34ให้มีสุขภาพเท่ากับที่ชิลีมีอยู่ในวันนี้
-
5:35 - 5:40ผมคิดว่าเราต้องไปที่ ตรงนั้น
เราอยู่ที่ปี 2001 หรือ 2002 -
5:40 - 5:42สหรัฐฯมีสุขภาพเท่ากับชิลี
-
5:42 - 5:43ชิลีกำลังไล่ตามมาแล้ว
-
5:44 - 5:46ภายในไม่กี่ปี ชิืลีอาจจะมีการอยู่รอดของเด็ก
-
5:46 - 5:48ดีกว่าสหรัฐฯก็ได้
-
5:48 - 5:51นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน
ที่คุณจะเห็นช่องว่าง -
5:51 - 5:56ของความแตกต่างทางสุขภาพ
ในช่วงเวลาไม่มากหรือน้อยไปกว่า 30 หรือ 40 ปี -
5:56 - 5:58และเบื้องหลังสุขภาพ ก็คือระดับการศึกษา
-
5:58 - 6:00และมันมีสารณูปโภคพื้นฐานต่างๆด้วย
-
6:00 - 6:03และทรัพยากรมนุษย์โดยทั่วไปอยู่ตรงนั้น
-
6:03 - 6:06ตอนนี้เราเอาอันนี้ออกได้
-
6:06 - 6:10และผมจะแสดงให้เห็นอัตราเร็ว
-
6:10 - 6:13อัตราการเปลี่ยนแปลง
ฟองเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงเร็วแค่ไหน -
6:13 - 6:20และเราย้อนกลับไปที่ปี 1920
ผมอยากจะดูญี่ปุ่น -
6:21 - 6:24และอยากดูสวีเดนและสหรัฐฯ
-
6:24 - 6:26และผมก็จะสร้างฉากการแข่งรถล่ะ
-
6:26 - 6:29ระหว่างฟอร์ดสีเหลืองตรงนี้
-
6:29 - 6:31โตโยต้าสีแดงข้างล่างนี่
-
6:31 - 6:33และวอลโว่สีน้ำตาล
-
6:33 - 6:35(เสียงหัวเราะ)
-
6:35 - 6:37เอาล่ะ ไปล่ะ ไปล่ะ
-
6:37 - 6:40โตโยต้าเริ่มต้นได้ไม่ดีนักข้างล่างนี่ คุณเห็นได้เลย
-
6:40 - 6:43และฟอร์ดสหรัฐฯกำลังวิ่งวิบากอยู่ตรงนั้น
-
6:43 - 6:44ส่วนวอลโว่ก็ดูกำลังไปได้สวย
-
6:44 - 6:46นี่คือสงครามล่ะ
โตโยต้าออกนอกลู่ไป และตอนนี้ -
6:46 - 6:49โตโยต้ากำลังมาในฝั่งที่สุขภาพดีกว่าสวีเดน
-
6:49 - 6:50คุณเห็นมั้ย
-
6:50 - 6:51แล้วเขาก็กำลังแซงสวีเตน
-
6:51 - 6:53และตอนนี้เขาก็สุขภาพดีกว่าสวีเดน
-
6:53 - 6:55นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ผมขายวอลโล่แล้วซื้อโตโยต้า
-
6:55 - 6:58(เสียงหัวเราะ)
-
6:58 - 7:02และตอนนี้เราก็จะเห็นว่า
อัตราการเปลี่ยนแปลงของญี่ปุ่นนั้นสูงมาก -
7:02 - 7:04พวกเขาไล่ตามมาจริงๆ
-
7:04 - 7:06และนี่ก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป
-
7:06 - 7:09เราต้องมองไปที่หลายๆรุ่นเพื่อเข้าใจมัน
-
7:09 - 7:14ผมจะให้คุณดูประวัติครอบครัวของผม
-
7:14 - 7:16เราทำกราฟไว้ตรงนี้
-
7:16 - 7:20และนี่ก็เหมือนเดิม เงินอยู่ตรงนั้น แล้วก็สุขภาพ
-
7:20 - 7:22และนี่คือครอบครัวของผม
-
7:23 - 7:27นี่คือสวีเดน ปั 1830 ตอนที่คุณยายทวดของทวดเกิด
-
7:28 - 7:30สวีเดนเหมือนกับเซียรา ลีออนวันนี้
-
7:31 - 7:34และนี่คือตอนที่คุณยายทวดเกืด ปี 1863
-
7:35 - 7:37สวีเดนเหมือนกับโมซัมบิก
-
7:37 - 7:39และนี่ก็ตอนคุณยายผมเกิด ปี 1891
-
7:39 - 7:41เธอดูแลผมตอนเด็กๆ
-
7:41 - 7:43ผมไม่ได้พูดถึงสถิติแล้วนะเนี่ย
-
7:43 - 7:45ตอนนี้กลายเป็นการบอกเล่าประวัติครอบครัว
-
7:46 - 7:47นั่นเป็นตอนที่ผมเชื่อในสถิติ
-
7:47 - 7:50สถิติที่พิสูจน์โดยคุณยาย
-
7:50 - 7:53(เสียงหัวเราะ)
-
7:53 - 7:56ผมคิดว่ามันเป็นทางที่ดีที่สุด
ในการพิสูจน์สถิติทางประวัติศาสตร์ -
7:56 - 7:57สวีเดนเหมือนกาน่า
-
7:57 - 8:00มันน่าสนใจที่ได้เห็นความหลากหลายอันยิ่งใหญ่
-
8:00 - 8:02ภายในซับซาฮาร่าแอฟริกา
-
8:03 - 8:05ผมบอกคุณไปเมื่อปีที่แล้ว
ผมจะบอกคุณอีกครั้ง -
8:05 - 8:08แม่ของผมเกิดในอียิปต์
แล้วผม... ผมเป็นใครล่ะ -
8:08 - 8:09ผมเป็นคนเม็กซิโกในครอบครัว
-
8:10 - 8:12และลูกสาวของผม เธอเกิดในชิลี
-
8:12 - 8:14และหลานสาวของผมเกิดในสิงคโปร์
-
8:14 - 8:16ซึ่งเป็นประเทศที่สุขภาพดีที่สุดบนโลกใบนี้
-
8:16 - 8:18มันแซงสวีเดนไปเมื่อสองสามปีก่อน
-
8:18 - 8:20ด้วยการอยู่รอดของเด็กที่ดีกว่า
-
8:20 - 8:21แต่มันเล็กมาก คุณก็รู้ใช่มั้ย
-
8:21 - 8:23พวกเขาอยู่ใกล้โรงพยาบาลมากเหลือเกิน
เราไม่มีทาง -
8:23 - 8:24เอาชนะพวกเขาในเรื่องนี้ได้หรอก
-
8:24 - 8:27(เสียงหัวเราะ)
-
8:27 - 8:28แต่ด้วยความเคารพต่อสิงคโปร์
-
8:28 - 8:30สิงคโปร์เป็นประเทศที่ดีที่สุด
-
8:30 - 8:34เอาล่ะ นี่อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องที่ดีมาก
-
8:34 - 8:38แต่มันไม่ได้ง่ายอย่างนั้นหรอก
ที่ทุกอย่างจะเป็นเรื่องดี -
8:38 - 8:41เพราะผมจะให้คุณดูอีกด้านหนึ่งของด้านอื่นๆด้วย
-
8:41 - 8:46เราใช้สีแทนตัวแปรตรงนี้
-
8:46 - 8:47และอะไรที่ผมจะเลือกดีล่ะ
-
8:47 - 8:51การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมตริกต่อหัวประขากร
-
8:52 - 8:57นี่คือปี 1962 สหรัฐฯปล่อยออกมา 16 ตันต่อหัว
-
8:57 - 8:59และจีนปล่อย 0.6
-
8:59 - 9:03และอินเดียปล่อย 0.32 ตันต่อหัว
-
9:03 - 9:06แล้วอะไรจะเกิดขึ้นล่ะ ถ้าพวกเรามองต่อไป
-
9:06 - 9:08คุณจะเห็นเรื่องในด้านดี ในการรวยขึ้น
-
9:08 - 9:09สุขภาพดีขึ้น
-
9:09 - 9:14ทุกคนเป็นอย่างนั้น
โดยแลกมาด้วยการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ -
9:14 - 9:17ไม่มีใครทำได้อย่างนั้นจนถึงตอนนี้
-
9:17 - 9:20และเราก็ไม่มีข้อมูลทันสมัยทั้งหมด
-
9:20 - 9:23อีกต่อไป
เพราะมันเป้นข้อมูลร้อนมากในวันนี้ -
9:23 - 9:25เอาล่ะ เรามาถึงปี 2001
-
9:26 - 9:30และในการสนทนาที่ผมได้เข้าร่วมกับผู้นำโลก
-
9:30 - 9:34หลายคนบอกว่า ตอนนี้ปัญหาคือ
การที่ระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่ -
9:34 - 9:37กำลังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป
-
9:37 - 9:39รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอินเดียพูดว่า
-
9:39 - 9:42"อืม คุณเป็นคนสร้างปัญหานี้นะ"
-
9:42 - 9:45ประเทศ OECD หรือประเทศรายได้สูงทั้งหลาย
-
9:45 - 9:47พวกเขาเป็นคนก่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ -
9:48 - 9:50"แต่เราให้อภัยคุณ เพราะคุณไม่รู้
-
9:50 - 9:53แต่จากนี้ไป เราจะนับต่อหัวล่ะ
-
9:53 - 9:55จากนี้ไป เรานับต่อหัว
-
9:55 - 9:58และทุกคนก็จะรับผิดชอบการปล่อยก๊าซต่อหัว"
-
9:58 - 10:01นี่แสดงให้เห็นว่า เราไม่เคยเห็นความก้าวหน้าเศรษฐกิจ
-
10:01 - 10:03และสุขภาพดีๆ ที่ไหนบนโลกใบนี้
-
10:03 - 10:07ที่ไม่มีการทำลายชั้นบรรยากาศ
-
10:08 - 10:10และนี่ก็เป็นอะไรที่ต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงจริงๆ
-
10:11 - 10:14ผมได้รับการวิจารณ์ว่า
แสดงให้พวกคุณเห็นแต่ด้านบวกของโลก -
10:14 - 10:16แต่ผมไม่ได้คิดแบบนั้น
-
10:16 - 10:18โลกเป็นที่ๆยุ่งเหยิง
-
10:18 - 10:20ตรงนี้เราเรียกมันว่า ถนนดอลลาร์
-
10:20 - 10:22ทุกคนอาศัยอยู่บนถนนนี้
-
10:22 - 10:25ตรงนี้คือเงินที่พวกเขาหาได้ ตัวเลขที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่
-
10:25 - 10:26คือจำนวนเงินที่พวกเขาหาได้ต่อวัน
-
10:26 - 10:29ครอบครัวนี้หาได้ประมาณ 1 ดอลล่าร์ต่อวัน
-
10:30 - 10:31เราขับรถขึ้นมาตามถนนตรงนี้
-
10:31 - 10:35เราเจอครอบครัวที่หาได้ประมาณ 2-3 ดอลล่าร์ต่อวัน
-
10:35 - 10:38เราขับมาตรงนี้ เราเจอสวนแห่งแรกในถนน
-
10:38 - 10:40และพวกเขาหาได้ 10-50 ดอลล่าร์ต่อวัน
-
10:40 - 10:42แล้วพวกเขาใช้ชีวิตยังไงล่ะ
-
10:42 - 10:45ถ้าเรามองดูที่ที่นอน เราจะเห็นว่า
-
10:45 - 10:48พวกเขานอนบนพรมบนพื้น
-
10:48 - 10:50นี่คือความหมายของเส้นแบ่งความยากจน
-
10:50 - 10:5380 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของครอบครัวมีเพียงพอ
ต่อการจ่ายพลังงานที่จำเป็น -
10:53 - 10:55อาหารต่อวัน
-
10:55 - 10:58นี่คือ 2-5 ดอลลาร์ คุณจะมีเตียง
-
10:58 - 11:00และตรงนี้ ห้องนอนที่ดูดีกว่ามาก
-
11:01 - 11:03ผมบรรยายเรื่องนี้กับไอเกีย
และพวกเขาก็ต้องการเห็น -
11:03 - 11:05โซฟาตรงนี้ทันที
-
11:05 - 11:07(เสียงหัวเราะ)
-
11:07 - 11:11และนี่ก็เป็นโซฟา
การที่มันเกิดขึ้นมาจากตรงนั้นได้ยังไง -
11:11 - 11:14และสิ่งที่น่าสนใจ เมื่อคุณมองไปรอบๆในรูปพาโนรามาตรงนี้
-
11:14 - 11:16คุณจะเห็นครอบครัวยังนั่งอยู่บนพิ้นตรงนั้น
-
11:16 - 11:18ถึงแม้จะมีโซฟา
-
11:18 - 11:20ถ้าคุณมองไปที่ครัว คุณจะเห็นว่า
-
11:20 - 11:25ความแตกต่างที่สำคัญสำหรับผู้หญืง
ไม่ได้มีมาที่ 1-10 ดอลลาร์ -
11:25 - 11:27มันมาหลังจากตรงนี้ เมื่อคุณสามารถ
-
11:27 - 11:30มีสภาพการทำงานที่ดีในครอบครัว
-
11:30 - 11:32และถ้าคุณต้องการจะเห็นความแตกต่างจริงๆ
-
11:32 - 11:34คุณดูที่สุขาตรงนี้
-
11:34 - 11:36มันเปลี่ยนได้ มันเปลี่ยนได้
-
11:36 - 11:39ทั้งหมดนี้เป็นรูปภาพจากแอฟริกา
-
11:39 - 11:41และมันก็จะดีขึ้นได้
-
11:42 - 11:44เราออกจากความยากจนได้
-
11:44 - 11:47งานวิจัยของผมไม่เคยเกี่ยวกับไอทีหรืออะไรประมาณนี้
-
11:47 - 11:50ผมใช้เวลา 20 ปีสัมภาษณ์เกษตรกรแอฟริกัน
-
11:50 - 11:53ที่หมิ่นเหม่อยู่บนความอดอยาก
-
11:53 - 11:55และนี่คือผลจากการวิจัยความต้องการของเกษตรกร
-
11:55 - 11:57สิ่งที่ดีตรงนี้คือการที่คุณหา
-
11:57 - 11:59ว่าใครเป็นนักวิจัยไม่เจอ
-
11:59 - 12:02นั้นคือ หากงานวิจัยนั้นเกิดขึ้นในสังคมยากจน
-
12:02 - 12:04คุณต้องใช้ชีวิตอยู่กับผู้คนจริงๆ
-
12:06 - 12:10ตอนที่คุณอยู่ในภาวะยากจน
ทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับการอยู่รอด -
12:10 - 12:12เกี่ยวกับการมีอาหาร
-
12:12 - 12:14และเกษตรกรน้อยสองคนนี้ ตอนนี้เป็นเด็กสาวแล้ว
-
12:14 - 12:18เพราะพ่อแม่ตายเพราะเอดส์และ HIV
-
12:18 - 12:20พวกเธอคุยอยู่กับนักปฐพีวิทยา
-
12:20 - 12:24ซึ่งเป็นหนึ่งในนักปฐพิวิทยาที่ดีที่สุดในมาลาวี
จูนาทัมเบ คัมบีรา -
12:24 - 12:26และเขากำลังพูดเกี่ยวกับว่า
มันสำปะหลังแบบไหนดีที่พวกเขาจะปลูก -
12:26 - 12:30ซึ่งมันเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยเจอ
ในการเปลี่ยนแสงแดดให้กลายเป็นอาหาร -
12:30 - 12:33และพวกเธอก็สนใจคำแนะนำพวกนี้มากๆ
-
12:33 - 12:36และนั่นก็เพื่อให้อยู่รอดได้ในความยากจน
-
12:36 - 12:37นั่นก็เป็นบริบทหนึ่ง
-
12:37 - 12:39ในการหนีจากความยากจน
-
12:39 - 12:42พวกผู้หญิงบอกเราอย่างหนึ่งว่า
"เอาเทคโนโลยีมาให้เราเถอะ -
12:42 - 12:45เราเกลียดครกนี่ เพราะเราต้องยืนเป็นชั่วโมงๆ
-
12:45 - 12:48เอาเครื่องโม่มาให้เรา เพื่อเราจะได้โม่แป้งได้
-
12:48 - 12:51แล้วเราก็จะได้จ่ายค่าอะไรต่อมิอะไรได้ด้วยตัวเอง"
-
12:51 - 12:54เทคโนโลยีพาคุณออกจากความยากจน
-
12:54 - 12:58แต่ตลาดก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการออกจากความยากจนด้วย
-
12:58 - 13:01และผู้หญิงคนนี้กำลังมีความสุขมาก
เธอกำลังนำผลผลิตของเธอไปยังตลาด -
13:01 - 13:03แต่เธอก็นึกขอบคุณการลงทุนของรัฐในด้านการศึกษาด้วย
-
13:03 - 13:06เพราะนั่นทำให้เธอคิดเลขได้
และไม่ถูกโกงตอนที่เธอไปถึงตลาด -
13:06 - 13:09เธอต้องการให้ลูกของเธอสุขภาพดี
เพราะนั่นจะทำให้เธอไปตลาดได้ -
13:09 - 13:11โดยไม่ต้องอยู่ที่บ้าน
-
13:11 - 13:14และเธอก็ต้องการสิ่งปลูกสร้างพื้นฐานด้วย
มันดีนะกับการมีถนนลาดยาง -
13:14 - 13:16มันดีด้วยกับการมีเครดิต
-
13:16 - 13:19ไมโครเครดิตทำให้เธอมีจักรยาน
-
13:19 - 13:22และข้อมูลข่าวสารจะทำให้เธอรู้ว่าจะไปตลาดเมื่อไหร่
พร้อมด้วยสินค้าชนิดไหน -
13:22 - 13:24คุณทำมันได้
-
13:24 - 13:27ผมพบว่าประสบการณ์ในแอฟริกา 20 ปีของผม
บอกผมว่า -
13:27 - 13:30สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้นั้นเป็นไปได้
-
13:30 - 13:32แอฟริกาไม่ได้ย่ำแย่ซะทีเดียว
-
13:32 - 13:35ภายใน 50 ปี พวกเขาก้าวจากสภาวะก่อนยุคกลาง
-
13:35 - 13:38มาสู่สภาวะที่ดีแบบยุโรปเมื่อ 100 ปีก่อน
-
13:38 - 13:41พร้อมกับรัฐและชาติที่ทำงานได้
-
13:41 - 13:44ผมขอบอกว่า ซับซาฮาร่าแอฟริกาทำได้ดีที่สุดในโลก
-
13:44 - 13:45ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้
-
13:45 - 13:47เพราะเราไม่ได้ดูว่าพวกเขามาจากจุดไหน
-
13:47 - 13:50มันเป็นความคิดที่งี่เง่าเกี่ยวกับประเทศกำลังพัฒนา
-
13:50 - 13:53ที่ทำให้เรา เช่น มองอาร์เจนตินาและโมซัมบิกเมื่อ 50 ปีก่อน
-
13:53 - 13:55แล้ว บอกว่าโมซัมบิกทำได้แย่กว่า
-
13:56 - 13:58เราต้องรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับโลกใบนี้
-
13:58 - 14:01ผมมีเพื่อนบ้านที่รู้จักไวน์ 200 ชนิด
-
14:01 - 14:02เขารู้ทุกอย่าง
-
14:02 - 14:04เขารู้ชื่อองุ่น อุณหภูมิ และทุกอย่าง
-
14:04 - 14:07ผมรู้จักไวน์แค่ 2 ชนิด แดงและขาว
-
14:07 - 14:09(เสียงหัวเราะ)
-
14:09 - 14:11แต่เพื่อนบ้านผมรู้จักประเทศแค่ 2 แบบ
-
14:11 - 14:13ประเทศอุตสาหกรรม กับ ประเทศกำลังพัฒนา
-
14:13 - 14:16แต่ผมรู้จัก 200 แบบ ผมรู้ข้อมูลเล็กๆเหล่านี้
-
14:16 - 14:17แต่คุณทำแบบนั้นได้
-
14:17 - 14:22(เสียงปรบมือ)
-
14:22 - 14:24แต่ผมต้องจริงจังแล้ว
และทำยังไงถึงจะดูจริงจัง -
14:24 - 14:26คุณก็ทำพาวเวอร์พอยท์ไง
-
14:26 - 14:31(เสียงหัวเราะ)
-
14:31 - 14:33ต้องคารวะแพ็คเกจของไมโครซอฟท์ออฟฟิซ
เนาะ? -
14:35 - 14:37แล้วนี่อะไร แล้วนี่อะไร
ผมกำลังบอกอะไร -
14:37 - 14:40ผมกำลังบอกคุณว่า
การพัฒนามีหลายด้าน -
14:40 - 14:42ทุกคนต้องการสิ่งที่่ตัวเองชื่นชอบ
-
14:42 - 14:45ถ้าคุณอยู่ภาคธุรกิจ คุณก็จะรักไมโครเครดิต
-
14:45 - 14:47ถ้าคุณกำลังต่อสู้อยู่ใน NGO
-
14:47 - 14:50คุณก็จะรักความเสมอภาคระหว่างเพศ
-
14:50 - 14:52หรือถ้าคุณเป็นครู คุณก็จะรัก UNESCO เป็นต้น
-
14:52 - 14:54ในระดับโลก เราต้องการอะไรมากกว่าแค่สิ่งนั้นของเรา
-
14:54 - 14:56เราจำเป็นต้องมีทุกอย่าง
-
14:56 - 14:58ทุกอย่างเหล่านี้สำคัญต่อการพัฒนา
-
14:58 - 15:00โดยเฉพาะเมื่อคุณเพิ่งออกจากความยากจน
-
15:00 - 15:03และคุณควรจะมุ่งหน้าไปสู่สวัสดิการ
-
15:03 - 15:05ตอนนี้ สิ่งที่พวกเราต้องคิด
-
15:05 - 15:08ก็คือ อะไรคือเป้าหมายของการพัฒนา
-
15:08 - 15:09และอะไรที่เป็นหนทางสู่การพัฒนา
-
15:09 - 15:12เริ่มแรก ให้ผมจัดลำดับอะไรที่เป็นหนทางที่สำคัญที่สุด
-
15:13 - 15:15สำหรับผม ในฐานะศาสตราจารย์ด้านสาธารณสุข
-
15:15 - 15:19ความเจริญทางเศรษฐกิจ
เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนา -
15:19 - 15:21เพราะมันมีผลต่อ 80 เปอร์เซ็นต์ของการอยู่รอด
-
15:22 - 15:25ธรรมาภิบาล
การมีรัฐบาลที่ทำงาน -
15:25 - 15:29นั่นเป็นสิ่งที่พาแคลิฟอร์เนีย
ออกจากความแร้นแค้นเมื่อปี 1850 -
15:29 - 15:32นั่นก็คือ รัฐบาลที่ทำให้กฎหมายทำงานได้ในท้ายที่สุด
-
15:33 - 15:35การศึกษา
ทรัพยากรมนุษย์ก็สำคัญ -
15:35 - 15:39สุขภาพก็สำคัญ
แต่ไม่มากเท่าไหร่นักสำหรับการเป็นหนทาง -
15:39 - 15:41สิ่งแวดล้อมก็สำคัญ
-
15:41 - 15:43สิทธิมนุษยชนก็สำคัญ แต่ก็ได้แค่บวกเดียว
-
15:43 - 15:46เอาล่ะ แล้วเป้าหมายล่ะ
เราจะมุ่งหน้าไปทางไหนดี -
15:46 - 15:48เราไม่สนใจในเงิน
-
15:48 - 15:49เงินไม่ใช่เป้าหมาย
-
15:49 - 15:52มันเป็นหนทางที่ดีที่สุด
แต่ผมให้ศูนย์สำหรับการเป็นเป้าหมาย -
15:53 - 15:56ธรรมาภิบาล
อิม มันก็สนุกดีนะที่ได้ลงคะแนนเสียงในเรื่องเล็กๆน้อยๆ -
15:56 - 15:58แต่นั่นก็ไม่ใช่เป้าหมาย
-
15:58 - 16:02และการไปโรงเรียน นั่นไม่ใช่เป้าหมาย
มันเป็นหนทาง -
16:02 - 16:04ผมให้สุขภาพ 2 คะแนน
ผมว่ามันดีออกนะที่สุขภาพดี -
16:04 - 16:06โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนอายุเท่าผม
คุณยืนอยู่ตรงนี้ได้ คุณก็สุขภาพดีล่ะ -
16:06 - 16:08และนั่นก็เป็นเรื่องดี มันได้ไป 2 บวก
-
16:08 - 16:10สิ่งแวดล้อมก็สำคัญมากๆ
-
16:10 - 16:12มันจะไม่มีอะไรเหลือไปถึงลูกหลานถ้าคุณไม่รักษา
-
16:12 - 16:14แต่อะไรล่ะที่เป็นเป้าหมายสำคัญ?
-
16:14 - 16:16แน่นอน มันคือสิทธิมนุษยชน
-
16:16 - 16:18สิทธิมนุษยชนเป็นเป้าหมาย
-
16:18 - 16:21แต่มันก็ไม่ได้สำคัญมาก
ในการเป็นหนทางไปสู่การพัฒนา -
16:22 - 16:26และวัฒนธรรม
ผมว่า วัฒนธรรมสำคัญที่สุดนะ -
16:26 - 16:28เพราะนั่นคือสิ่งที่นำพาความสนุกสนานมาสู่ชีวิต
-
16:28 - 16:30นั่นคือคุณค่าของการมีชีวิต
-
16:30 - 16:33สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นไม่ได้นั้นเป็นไปได้
-
16:33 - 16:35แม้กระทั่งประเทศแอฟริกันก็บรรลุสิ่งนี้ได้
-
16:36 - 16:42และผมจะแสดงให้คุณดู
สิ่งที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้แต่เป็นไปได้ -
16:42 - 16:46และจำไว้
โปรดจำข้อความหลักของผมไว้ -
16:46 - 16:49ซึ่งก็คือ
สิ่งที่เป็นไปไม่ได้นั้นเป็นไปได้ -
16:49 - 16:51เรามีโลกที่ดีได้
-
16:51 - 16:54ผมได้แสดงให้คุณเห็น พิสูจน์มันในพาวเวอร์พอยท์
-
16:54 - 17:00และผมคิดว่าผมจะทำให้คุณเชื่อด้วยวัฒนธรรมเช่นกัน
-
17:00 - 17:04(เสียงหัวเราะ)
-
17:04 - 17:05(เสียงปรบมือ)
-
17:05 - 17:07เอาดาบของผมมา!
-
17:11 - 17:16การกลืนดาบ มาจากอินเดียโบราณ
-
17:16 - 17:21มันคือการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่...
เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว -
17:21 - 17:27...ได้ดลบันดาลใจมนุษย์ให้คิดเหนือไปจากสิ่งที่เห็นได้ชัด
-
17:27 - 17:29(เสียงหัวเราะ)
-
17:29 - 17:34และผมจะพิสูจน์ให้คุณเห็นว่า
สิงที่เป็นไปไม่ได้นั้นเป็นไปได้ -
17:34 - 17:37ด้วยการนำแท่งเหล็กนี้
เหล็กกล้า -
17:38 - 17:41นี่คือดาบปลายปืนของทหารแห่งกองทัพสวีเดนในปี 1850
-
17:41 - 17:43ในปีสุดท้ายที่เรามีสงคราม
-
17:44 - 17:47และมันเป็นเหล็กกล้าทั้งหมด
คุณได้ยินนะ -
17:47 - 17:53และผมกำลังจะเอาดาบเหล็กนี้
-
17:53 - 17:58ดันมันลงไปในร่างกายที่เต็มไปด้วยเลือดและเนื้อของผม
-
17:58 - 18:02และพิสูจน์กับคุณว่า
สิ่งที่เป็นไปไม่ได้นั้นเป็นไปได้ -
18:03 - 18:07ผมขอเวลาเงียบสนิทหน่อยได้มั้ยครับ
-
18:18 - 18:40(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ฮานส์ รอสลิง (Hans Roslin): มองความยากจนในมุมใหม่
- Speaker:
- Hans Rosling
- Description:
-
นักวิจัย ฮานส์ รอสลิง ใช้ข้อมูลสุดเจ๋งของเขาในการแสดงให้เห็นว่า ประเทศต่างๆกำลังนำพาตัวเองออกจากความยากจนได้อย่างไร เขาสาธิตถนนดอลล่าร์ โดยการเปรียบเทียบครัวเรือนต่างๆที่อยู่ในระดับรายได้แตกต่างกันทั่วโลก จากนั้น เขาก็ทำอะไรที่น่าตื่นตาเป็นอย่างยิ่ง
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 18:40
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for New insights on poverty | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for New insights on poverty | |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for New insights on poverty | |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna commented on Thai subtitles for New insights on poverty | |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for New insights on poverty | |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for New insights on poverty | |
![]() |
Chana Chananukul commented on Thai subtitles for New insights on poverty | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for New insights on poverty |