< Return to Video

โจนาธาน ไคลน์ : ภาพถ่ายที่เปลี่ยนแปลงโลก

  • 0:00 - 0:02
    ในอุตสาหกรรมของผม
  • 0:02 - 0:05
    เราเชื่อกันว่าภาพถ่ายสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้
  • 0:05 - 0:08
    โอเคหล่ะ พวกเราซื่อ พวกเรากระตือรือร้น
  • 0:08 - 0:10
    ความจริงคือ พวกเราต่างรู้ว่า
  • 0:10 - 0:12
    ภาพถ่ายเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงโลกด้วยตัวของมันเอง
  • 0:12 - 0:15
    แต่พวกเราก็ตระหนักดีตั้งแต่เริ่มมีการถ่ายภาพว่า
  • 0:15 - 0:18
    ภาพถ่ายได้กระตุ้นปฏิกิริยาของผู้คนมาโดยตลอด
  • 0:18 - 0:21
    และปฏิกิริยาเหล่านั้นเองที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
  • 0:21 - 0:24
    เอาหล่ะ เรามาเริ่มกันที่รูปภาพจำนวนหนึ่ง
  • 0:24 - 0:26
    ผมจะประหลาดใจมาก
  • 0:26 - 0:29
    ถ้าหากว่าพวกคุณไม่รู้สึกคลับคล้ายคลับคลาหลายๆภาพ หรือภาพส่วนใหญ่ในนี้
  • 0:29 - 0:31
    ภาพถ่ายเหล่านี้ล้วนเป็นภาพเชิงสัญลักษณ์
  • 0:31 - 0:34
    เป็นสัญลักษณ์มาก จนบางทีอาจจะเป็นเรื่องซ้ำซาก
  • 0:34 - 0:36
    จริงๆแล้ว ภาพเหล่านี้ล้วนเป็นที่รู้จักอย่างดี
  • 0:36 - 0:38
    ดังนั้นพวกคุณน่าจะจำมันได้
  • 0:38 - 0:41
    ในรูปแบบที่ค่อนข้างคล้าย หรือแตกต่างไป
  • 0:42 - 0:44
    เสียงหัวเราะ
  • 0:45 - 0:47
    แต่ผมคิดว่าพวกเรากำลังมองหาบางสิ่งที่มากขึ้นไปกว่านั้น
  • 0:47 - 0:49
    พวกเรากำลังมองหาบางสิ่งที่มากขึ้นไปอีก
  • 0:49 - 0:51
    พวกเรากำลังมองหาภาพถ่ายที่โดดเด่น
  • 0:51 - 0:54
    ที่เป็นแสงสว่างที่ไม่ปราณีต่อประเด็นอันโหดร้าย
  • 0:54 - 0:57
    รูปภาพที่อยู่เหนือเขตแดน รูปภาพที่อยู่เหนือศาสนา
  • 0:57 - 0:59
    รูปภาพที่จุดประกายพวกเรา
  • 0:59 - 1:01
    ให้ลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง
  • 1:01 - 1:03
    หรืออีกนัยนึง คือลุกขึ้นมาปฏิบัตินั่นเอง
  • 1:03 - 1:06
    เอาหล่ะ ภาพนี้ ที่พวกคุณได้เห็น
  • 1:06 - 1:08
    มันเปลี่ยนแปลงมุมมองของพวกเราที่มีต่อโลกทางกายภาพ
  • 1:08 - 1:11
    พวกเราไม่เคยเห็นโลกของเราจากมุมมองนี้มาก่อน
  • 1:11 - 1:13
    หลายๆคนยกประโยชน์ให้ว่า
  • 1:13 - 1:15
    การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นมา หลายครั้ง
  • 1:15 - 1:17
    มาจากการมองเห็นโลกในมุมมองนี้
  • 1:17 - 1:19
    เป็นครั้งแรก
  • 1:19 - 1:21
    ความเล็กของมัน ความเปราะบางของมัน
  • 1:22 - 1:25
    สี่สิบปีต่อมา คนกลุ่มนี้
  • 1:25 - 1:27
    ต่างตระหนักดีถึงพลังทำลายล้างนี้ก่อนใครๆ
  • 1:27 - 1:30
    ว่าเผ่าพันธุ์ของเราสามารถเปลี่ยนผันสิ่งแวดล้อมของเราได้
  • 1:30 - 1:33
    และท้ายที่สุด เรากำลังทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับมันอยู่
  • 1:34 - 1:37
    พลังทำลายล้างนี้มีหลากหลายรูปแบบ
  • 1:37 - 1:40
    ยกตัวอย่างเช่น ภาพถ่ายเหล่านี้ถูกถ่ายโดย เบรนท์ สเตอร์ตัน (Brent Stirton)
  • 1:40 - 1:42
    ในประเทศคองโก
  • 1:42 - 1:45
    ลิงกอริลล่าเหล่านี้ถูกฆ่า บางตัวถูกขึงพืด
  • 1:45 - 1:47
    และไม่น่าแปลกใจเลย
  • 1:47 - 1:49
    ภาพถ่ายเหล่านี้ได้จุดประกายการต่อต้านในระดับนานาชาติ
  • 1:49 - 1:51
    เร็วๆนี้
  • 1:51 - 1:54
    พวกเราได้ถูกเตือนอย่างน่าสลดใจถึงพลังทำลายล้างของธรรมชาติเอง
  • 1:54 - 1:56
    ด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศเฮติ
  • 1:57 - 2:00
    สิ่งที่ผมคิดว่าเลวร้ายไปกว่านั้น
  • 2:00 - 2:02
    ก็คือพลังทำลายล้างของมนุษย์ที่มีต่อมนุษย์ด้วยกันเอง
  • 2:02 - 2:05
    ซามูเอล ปิซาร์ (Samuel Pisar) ผู้รอดชีวิตจากค่ายเอาช์วิตซ์ กล่าวเอาไว้
  • 2:05 - 2:07
    และผมจะยกคำพูดของเขามา
  • 2:07 - 2:09
    "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สอนพวกเราว่า ธรรมชาติ
  • 2:09 - 2:12
    แม้ในเวลาที่โหดร้ายที่สุด
  • 2:12 - 2:15
    ก็ยังอ่อนโยนเมื่อเทียบกับมนุษย์
  • 2:15 - 2:18
    ในยามที่เขาขาดเข็มทิศทางศีลธรรมและเหตุผล"
  • 2:18 - 2:21
    ยังมีรูปแบบอื่นของการถูกตรึงไม้กางเขนอีก
  • 2:21 - 2:23
    ภาพถ่ายอันน่ากลัวหลายๆภาพ จาก อาบูเกรียบ (Abu Ghraib)
  • 2:23 - 2:25
    เช่นเดียวกับบรรดาภาพถ่ายจาก กวนทานาโม (Guantanamo)
  • 2:25 - 2:27
    ล้วนมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้ง
  • 2:27 - 2:29
    การเผยแพร่ภาพถ่ายเหล่านี้
  • 2:29 - 2:31
    เพื่อต่อต้านเรื่องราวในรูปภาพเอง
  • 2:31 - 2:34
    ทำให้รัฐบาลต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายหลายๆเรื่อง
  • 2:34 - 2:36
    หลายคนอาจโต้แย้งว่าภาพถ่ายเหล่านั้นเองต่างหาก
  • 2:36 - 2:39
    ที่เป็นเชื้อเพลิงความไม่สงบในอิรัก
  • 2:39 - 2:41
    มากกว่าการกระทำอื่นใด
  • 2:41 - 2:44
    ยิ่งไปกว่านั้น ภาพถ่ายเหล่านั้นได้ถอด
  • 2:44 - 2:47
    สิ่งที่เรียกว่ามาตรฐานศีลธรรมอันสูงส่งของกำลังพลที่ยึดครองอิรักไปตลอดกาล
  • 2:47 - 2:49
    ย้อนกลับไปนิดหน่อย
  • 2:49 - 2:51
    ในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970
  • 2:51 - 2:53
    สงครามเวียดนามได้ถูกถ่ายทอด
  • 2:53 - 2:55
    สู่(ทีวีใน)ห้องนั่งเล่นของชาวอเมริกันทุกเมื่อเชื่อวัน
  • 2:55 - 2:58
    ภาพข่าวนำผู้คนมาเผชิญหน้า
  • 2:58 - 3:01
    กับเหยื่อของสงคราม เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆคนนึงถูกเผาด้วยลูกระเบิดเชื้อเพลิง
  • 3:02 - 3:04
    นักศึกษาคนนึงถูกฆ่าโดยเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันความมั่นคงแห่งชาติ
  • 3:04 - 3:07
    ที่มหาวิทยาลัยเคนท์สเตท ในรัฐโอไฮโอระหว่างการประท้วง
  • 3:07 - 3:09
    จริงๆแล้ว ภาพถ่ายเหล่านี้กลายมาเป็น
  • 3:09 - 3:11
    กระบอกเสียงให้กับการประท้วงเอง
  • 3:11 - 3:13
    ตอนนี้ ภาพถ่ายนั้นมีพลัง
  • 3:13 - 3:15
    ที่จะกระจายแสงแห่งความเข้าใจ
  • 3:15 - 3:17
    บนความเคลือบแคลง ความเพิกเฉย
  • 3:17 - 3:19
    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง -- ผมได้พูดถึงสิ่งเหล่านี้บ่อยครั้ง
  • 3:19 - 3:22
    แต่ผมจะแค่โชว์รูปภาพหนึ่ง --
  • 3:22 - 3:24
    ประเด็นของเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์
  • 3:25 - 3:28
    ในช่วงทศวรรษ 1980 ความรู้สึกอัปยศอดสูที่ผู้คนมีต่อโรคนี้
  • 3:28 - 3:30
    เป็นกำแพงอันยิ่งใหญ่
  • 3:30 - 3:32
    ที่กีดกันผู้คนให้ไม่กล้าแม้แต่จะถกประเด็นหรือพูดถึงมัน
  • 3:32 - 3:35
    พฤติกรรมหนึ่งที่แสนธรรมดาในปี ค.ศ.1987 ของผู้หญิงที่โด่งดังมากที่สุดในโลก
  • 3:35 - 3:37
    เจ้าหญิงแห่งเวลล์ (เจ้าหญิงไดอาน่า) กำลังสัมผัส
  • 3:37 - 3:39
    เด็กน้อยที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์คนหนึ่ง
  • 3:39 - 3:42
    สร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะในยุโรป ที่จะหยุดยั้งความรู้สึกอดสู
  • 3:42 - 3:45
    เธอรู้ดีกว่าใครๆ ถึงพลังของรูปภาพ
  • 3:46 - 3:48
    ดังนั้น เมื่อพวกเราได้เผชิญหน้ากับรูปภาพที่ทรงพลังมาก
  • 3:48 - 3:50
    พวกเราทุกคนล้วนมีทางเลือก
  • 3:50 - 3:53
    พวกเราสามารถมองข้าม หรือพวกเราสามารถให้ความสำคัญกับรูปภาพนั้น
  • 3:53 - 3:55
    เป็นที่น่าขอบคุณ เมื่อรูปภาพเหล่านี้ปรากฎขึ้นใน
  • 3:55 - 3:57
    หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน (Guardian) ในปี ค.ศ.1998
  • 3:57 - 4:00
    ผู้คนให้ความสนใจอย่างสูง และในที่สุดคือให้เงินจำนวนมาก
  • 4:00 - 4:02
    ในความปฏิบัติงานบรรเทาความอดอยากในประเทศซูดาน
  • 4:02 - 4:04
    รูปถ่ายเปลี่ยนแปลงโลกหรือไม่ ?
  • 4:04 - 4:06
    ไม่ครับ แต่รูปถ่ายมีอิทธิพลที่สำคัญมาก
  • 4:07 - 4:09
    ภาพถ่ายหลายๆรูป หลายครั้งผลักดันเราไปสู่การตั้งคำถามต่อความเชื่อหลักของพวกเรา
  • 4:09 - 4:12
    รวมไปถึงความรับผิดชอบซึ่งกันและกัน
  • 4:12 - 4:14
    พวกเราทั้งหมดเห็นรูปภาพเหล่านั้นหลังจากเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนแคทริน่า
  • 4:14 - 4:16
    และผมคิดว่าสำหรับคนนับล้านๆ
  • 4:16 - 4:18
    พวกเขาได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากภาพถ่ายเหล่านี้
  • 4:18 - 4:20
    และผมคิดว่า แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
  • 4:20 - 4:22
    ที่พวกเขาเคยอยู่ห่างจากจิตวิญญาณของอเมริกันชน
  • 4:22 - 4:25
    เมื่อคราวที่พวกเขาออกไปเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนในปี 2008
  • 4:26 - 4:29
    โชคร้ายที่รูปภาพที่สำคัญมากจำนวนหลายภาพ
  • 4:29 - 4:32
    ถูกมองว่าโจ่งแจ้ง หรือขัดหูขัดตาเกินไปกว่าที่เราควรจะได้เห็น
  • 4:33 - 4:35
    ผมจะแสดงรูปภาพหนึ่งแก่พวกคุณในที่นี้
  • 4:35 - 4:38
    คือภาพถ่ายทหารผ่านศึกจากสงครามอิรักโดย ยูจีน ริชาร์ดส์
  • 4:38 - 4:40
    จากผลงานชิ้นที่พิเศษกว่าชิ้นอื่นๆ
  • 4:40 - 4:43
    ซึ่งไม่เคยเผยแพร่มาก่อน ชื่อว่า "สงครามเป็นเรื่องเฉพาะตน (War is Personal)"
  • 4:43 - 4:45
    แต่รูปภาพไม่จำเป็นต้องโจ่งแจ้ง
  • 4:45 - 4:47
    ในการที่จะเตือนพวกเราถึงโศกนาฏกรรมของสงคราม
  • 4:47 - 4:50
    จอห์น มอร์ ถ่ายรูปนี้ที่สุสานอาร์ลิงตัน
  • 4:50 - 4:52
    หลังผ่านภาวะตึงเครียดของเหตุการณ์ขัดแย้ง
  • 4:52 - 4:55
    ในทุกๆพื้นที่ความขัดแย้งทั้งหมดบนโลก
  • 4:55 - 4:58
    มีภาพถ่ายภาพหนึ่งจากสถานที่ที่เงียบสงบกว่าอย่างมาก
  • 4:58 - 5:01
    ซึ่งยังหลอกหลอนผมอยู่ มากกว่ารูปภาพอื่นๆ
  • 5:02 - 5:05
    ผมไม่เห็นด้วยกับ เอนเซล อดัมส์ ที่กล่าวไว้ว่า
  • 5:05 - 5:08
    "คุณไม่ได้ถ่ายภาพ แต่คุณสร้างมัน"
  • 5:08 - 5:10
    ในความเห็นของผม ช่างถ่ายภาพไม่ใช่ผู้สร้างภาพถ่ายขึ้นมา
  • 5:10 - 5:12
    แต่เป็นคุณต่างหากหล่ะ
  • 5:12 - 5:14
    พวกเรานำเอา
  • 5:14 - 5:16
    ค่านิยมของพวกเรา ระบบความเชื่อของพวกเราใส่ไปในรูปภาพแต่ละรูป
  • 5:16 - 5:19
    และผลลัพธ์ก็คือ รูปภาพสะท้อนอยู่ในตัวเรา
  • 5:19 - 5:21
    บริษัทของผมมีภาพถ่ายประมาณ 70 ล้านรูป
  • 5:21 - 5:24
    ผมติดไว้ในห้องทำงานเพียงภาพเดียว
  • 5:24 - 5:26
    คือภาพนี้
  • 5:26 - 5:28
    ผมหวังว่า ครั้งหน้าเมื่อพวกคุณได้เห็น
  • 5:28 - 5:30
    รูปภาพที่จุดประกายบางอย่างในตัวคุณ
  • 5:30 - 5:32
    คุณจะสามารถเข้าใจได้ดีขึ้นว่าทำไม
  • 5:32 - 5:35
    และผมรู้ว่าสำหรับพวกคุณในที่นี้
  • 5:35 - 5:37
    คุณจะต้องทำอะไรขึ้นมาสักอย่างอย่างแน่นอน
  • 5:37 - 5:39
    และขอบคุณช่างถ่ายภาพทุกคนครับ
  • 5:39 - 5:41
    (เสียงปรบมือ)
Title:
โจนาธาน ไคลน์ : ภาพถ่ายที่เปลี่ยนแปลงโลก
Speaker:
Jonathan Klein
Description:

รูปภาพทำมากกว่าการบันทึกประวัติศาสตร์ นั่นคือมันสร้างประวัติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัย TED โจนาธาน ไคลน์ (Jonathan Klein) จากบริษัทเกตตี้ อิมเมจส์ (Getty Images) มาแสดงภาพถ่ายซึ่งเป็นสัญลักษณ์ หรือ"ภาพจำ"จำนวนหนึ่ง และบรรยายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคนรุ่นหนึ่งได้เห็นรูปภาพอันทรงพลังมากนั้น จนไม่อาจละสายตาหรือหันหลังกลับได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
05:42
Antika Emyaem added a translation

Thai subtitles

Revisions