คุณครูผู้เป็นแสงเทียนยามมืดมน
-
0:01 - 0:03ทุกคนต่างมีสิ่งในใจ
-
0:03 - 0:06ร้อยเรียงเป็นเรื่องราว
-
0:06 - 0:09ที่สร้างเราให้เป็นเราในวันนี้
-
0:10 - 0:14ในจุดเริ่มต้นของเรื่อง ๆ นั้น
-
0:14 - 0:18อาจเป็นสิ่งที่หล่อหลอม
ตัวตนเราอย่างไม่น่าเชื่อ -
0:18 - 0:20ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค
-
0:20 - 0:24ประเมินว่า
กว่าครึ่งของเยาวชนอเมริกัน -
0:24 - 0:28เคยเผชิญเหตุเลวร้ายในวัยเด็ก
-
0:29 - 0:33ซึ่งส่งผลระยะยาวในชีวิต
-
0:34 - 0:37เมื่อฉันได้รับโอกาสให้ขึ้นพูด
-
0:37 - 0:41เกี่ยวกับเด็ก ๆ และ เหล่าคุณครู
-
0:41 - 0:44ฉันพบจุดยืนสำคัญ
-
0:44 - 0:47ที่อยากพูดเกี่ยวกับ
ประสบการณ์เลวร้ายวัยเด็ก -
0:48 - 0:50แต่สิ่งแรกที่ต้องทำ
-
0:50 - 0:52คือ ต้องตัดสินใจ
-
0:52 - 0:55ว่าจะพูดแค่เรื่องดี ๆ
ด้านดี ๆ ของชีวิต -
0:55 - 0:58ก็รูปสวย ๆ ที่เราอัพลงโซเชียลฯ
-
0:58 - 1:01ชีวิตแสนเพอร์เฟกต์
-
1:01 - 1:06หรือ จะพูดด้านที่
ไม่ค่อยอยากให้ใครรู้ -
1:06 - 1:07แต่อาจเป็นประโยชน์
กับใครหลายคน -
1:08 - 1:11แต่แล้วก็ตัดสินใจได้ค่ะ
-
1:11 - 1:14เพื่อที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง
ให้แก่ชีวิตเด็ก ๆ -
1:14 - 1:18ฉันต้องเปิดเผย
หมดเปลือก -
1:18 - 1:22จึงตั้งมั่นว่าจะแบ่งปัน
เรื่องราวเบื้องลึก -
1:23 - 1:27ประกอบด้วยคนที่รักฉัน
-
1:27 - 1:30คนที่เคยเลี้ยงดูฉัน
-
1:30 - 1:33ที่ช่วยให้ฉันก้าวข้ามปัญหา
และ เยียวยาตนเอง -
1:33 - 1:37ถึงเวลาแล้วค่ะ
ที่ต้องช่วยคนอื่นบ้าง -
1:40 - 1:42ย้อนกลับไป เมื่อตอนเริ่มเข้าโรงเรียน
-
1:42 - 1:44ฉันก็ดูเหมือนเด็กธรรมดาทั่วไป
-
1:44 - 1:47มาจากครอบครัวที่ดี
-
1:47 - 1:49แต่งตัวดูดี สะอาดสะอ้าน
-
1:49 - 1:51เป็นเด็กยิ้มง่าย
-
1:51 - 1:54ฉันตระเตรียมที่จะเข้าโรงเรียน
-
1:54 - 1:58ใช้ชีวิตปกติธรรมดา
-
1:58 - 2:03ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้น
ฉันถูกคุกคามทางเพศ -
2:04 - 2:06อย่างต่อเนื่อง
-
2:07 - 2:09แต่พ่อแม่ ไม่ได้รับรู้
-
2:09 - 2:12ฉันไม่ได้บอกใคร
-
2:14 - 2:20คิดว่าการอยู่โรงเรียน
น่าจะปลอดภัยดี -
2:20 - 2:22เลยตื่นเต้นที่จะได้เข้าโรงเรียน
-
2:22 - 2:27ลองนึกภาพ เด็กขมขื่นคนหนึ่ง
เมื่อเจอคุณครู -
2:29 - 2:31คุณครูแรนดอล์ฟ
-
2:31 - 2:35ซึ่งไม่ใช่บุคคลที่คุกคามฉันนะคะ
-
2:35 - 2:38แต่เป็นบุคคลตัวอย่าง
-
2:38 - 2:42ที่ช่วยให้ฉันกล้าเผชิญหน้า
กับสิ่งที่หวาดกลัวที่สุดในชีวิต -
2:43 - 2:47ฉันมีเทคนิค
การระมัดระวังตัวพิเศษ -
2:47 - 2:53ที่ช่วยเลี่ยงการอยู่ในห้อง
กับเพศตรงข้ามเพียงลำพัง -
2:53 - 2:57แต่ ณ ขณะนั้น
ฉันเป็นเพียงเด็กนักเรียน -
2:57 - 3:00อย่างไร ก็ต้องเจอ
เพศตรงข้ามอยู่ทุกวัน -
3:00 - 3:03ในชั้นเรียน ไปเป็นปี ๆ
-
3:04 - 3:07หวาดกลัว ไม่เชื่อใจคุณครู
-
3:08 - 3:09แต่รู้อะไรไหมคะ
-
3:09 - 3:12คุณครูแรนดอล์ฟกลาย
เป็นคนที่ทุ่มเทให้ฉันมากที่สุด -
3:13 - 3:15ถึงแม้ในช่วงแรก
-
3:15 - 3:19ฉันแสดงออกให้รู้
ว่าไม่ค่อยชอบคุณครูเท่าไหร่ -
3:19 - 3:21ไม่ค่อยเชื่อฟัง
-
3:21 - 3:25ไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ
-
3:26 - 3:30เหมือนที่เป็นกับพ่อแม่ด้วยค่ะ
-
3:30 - 3:32ไม่ค่อยอยากไปโรงเรียน
-
3:32 - 3:35ทะเลาะกันทุกเช้า
ก่อนไปโรงเรียน -
3:35 - 3:37ตกดึก นอนไม่หลับ
-
3:37 - 3:40วิตกกังวลไปหมด
-
3:40 - 3:44ไปเรียนแบบเพลีย ๆ
-
3:44 - 3:48เด็กที่นอนไม่พอ
จะดูงอแง ๆ หน่อยค่ะ -
3:48 - 3:50สอนไม่ง่ายเท่าไหร่
-
3:50 - 3:51พอนึกออกไหมคะ
-
3:52 - 3:57จริง ๆ แล้ว คุณครูแรนดอล์ฟ
จะหัวฟัดหัวเหวี่ยงใส่ก็ได้ -
3:57 - 4:00เหมือนกับที่คุณครูทั่วไป
หัวเสียกับนักเรียนดื้อ -
4:02 - 4:03แต่เขาไม่ค่ะ
-
4:04 - 4:07เวลาที่ครูมาคุยด้วย
มักจะมาด้วยความเมตตา -
4:07 - 4:09และ ความยืดหยุ่น
-
4:10 - 4:13ฉันซาบซึ้งมากค่ะ
-
4:13 - 4:18คุณครูเห็นว่า
เด็กคนนี้ดูเหนื่อย ดูอิดโรย -
4:18 - 4:21แทนที่จะไล่ฉันออกห้อง
-
4:21 - 4:23แต่คุณครูยอมให้ฉันงีบในห้อง
-
4:23 - 4:26เพราะ อยากให้ได้พัก
-
4:27 - 4:31แทนที่คุณครูจะนั่งทานมื้อเที่ยง
อยู่ฝั่งโต๊ะครู -
4:31 - 4:34แต่กลับเลือก
ที่จะมานั่งทานกับเด็ก ๆ -
4:34 - 4:39เพื่อถามสารทุกข์สุกดิบ
-
4:40 - 4:42พอฉันมองย้อนกลับไป
เข้าใจแจ่มแจ้งค่ะ -
4:42 - 4:44ว่าทำไมครูถึงทำแบบนั้น
-
4:44 - 4:47คุณครูรับฟัง
พูดคุย ถามไถ่เรื่องต่าง ๆ -
4:47 - 4:50ท่านอยากทราบว่า
เกิดอะไรขึ้นกับฉัน -
4:51 - 4:54ค่อย ๆ สร้างสัมพันธ์ขึ้นมา
-
4:54 - 4:57จนฉันรู้สึกเชื่อใจ
-
4:57 - 4:58อย่างช้า ๆ แต่มั่นคง
-
4:58 - 5:00กำแพงที่เคยสร้างกั้นตัวเอง
-
5:00 - 5:02ค่อย ๆ ทลายลง
-
5:02 - 5:06และ รู้สึกได้ว่าท่านเป็นคนดีคนหนึ่ง
-
5:09 - 5:14เพื่อการดูแลอย่างทั่วถึง
-
5:15 - 5:20คุณครูเข้าไปคุย
กับคุณแม่ของฉันด้วยค่ะ -
5:20 - 5:22ขออนุญาต
-
5:22 - 5:25ให้ฉันมีคุณครูที่ปรึกษา
-
5:25 - 5:27มิสมิคแฟดเดน
-
5:28 - 5:30ฉันเลยได้เข้าพบคุณครูที่ปรึกษา
-
5:30 - 5:31อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง
-
5:31 - 5:33เป็นระยะเวลาร่วมสองปี
-
5:33 - 5:35ตามกระบวนการ
-
5:36 - 5:37แต่ในช่วงสองปีนั้น
-
5:37 - 5:40ฉันไม่เคยเล่าเรื่อง
ที่ถูกคุกคามให้คุณครูฟัง -
5:40 - 5:42เพราะ มันเป็นความลับ
-
5:42 - 5:44ไม่อยากให้ใครรู้
-
5:44 - 5:47แต่ดูเหมือน
ท่านจะปะติดปะต่อได้ค่ะ -
5:47 - 5:50เพราะ ทุกอย่าง
ที่คุณครูให้คำแนะนำ -
5:50 - 5:54คือ การส่งเสริมให้ฉันมีพลัง
และ กล้าเปิดเผย -
5:55 - 5:58ท่านสอนให้ฉัน
สร้างภาพในจินตนาการ -
5:58 - 6:01เพื่อเอาชนะความกลัว
-
6:01 - 6:03สอนเทคนิคการหายใจ
-
6:03 - 6:05เพื่อลดความวิตกกังวล
-
6:05 - 6:08ที่ฉันเป็นอยู่บ่อย ๆ
-
6:08 - 6:10ไม่พอยังซ้อมสถานการณ์จริงให้ด้วยค่ะ
-
6:11 - 6:12เพื่อให้มั่นใจ
-
6:12 - 6:16ว่าฉันสามารถรับมือเรื่องต่าง ๆ
ด้วยตนเองได้ -
6:17 - 6:19และแล้ว
วันนั้นก็มาถึง -
6:19 - 6:21วันที่ฉันต้องเผชิญหน้า
กับชายผู้คุกคาม -
6:21 - 6:24กับผู้ใหญ่อีกคนหนึ่ง
-
6:24 - 6:26ฉันตัดสินใจพูด
-
6:27 - 6:30เปิดเผยเรื่องการคุกคาม
-
6:31 - 6:34ทันทีทันใด ชายผู้คุกคาม
-
6:34 - 6:37และ ผู้ใหญ่คนนั้นปฏิเสธ
-
6:37 - 6:41เหมือนพวกเขาไม่นึกไม่ฝัน
ว่าฉันจะกล้าเล่า -
6:41 - 6:44สิ่งที่เพิ่งเล่าออกไป
-
6:44 - 6:47แน่นอนว่าคำพูดผู้ใหญ่
น่าเชื่อถือ -
6:47 - 6:49กว่าคำพูดเด็ก
-
6:50 - 6:54เขาสั่งห้ามพูดเรื่องนี้อีก
-
6:55 - 6:59เช่นเคยค่ะ ฉันรู้สึกว่าฉันทำผิด
-
7:01 - 7:03รู้สึกแย่มาก
-
7:05 - 7:07แต่รู้ไหมคะ
-
7:07 - 7:08มีสิ่งดีเกิดขึ้นในวันนั้น
-
7:08 - 7:12ชายผู้คุกคามได้รับรู้ว่า
ฉันไม่เงียบแล้วนะ -
7:13 - 7:15พลังนั้นได้ผล
-
7:15 - 7:19เขาเลิกคุกคามฉัน
-
7:19 - 7:25(เสียงปรบมือ)
-
7:26 - 7:28แต่ความรู้สึกอับอาย
-
7:28 - 7:31หวาดกลัวเกิดขึ้นอีกครั้ง
-
7:31 - 7:33และ คงอยู่อย่างนั้น
-
7:33 - 7:35อยู่ในใจ
-
7:35 - 7:37เป็นเวลาหลายปี
-
7:40 - 7:43มิสเตอร์แรนดอล์ฟ
และ มิสมิคแฟดเดน -
7:43 - 7:46ทั้งสองท่านช่วยให้ฉัน
กล้าเปิดเผยความจริง -
7:48 - 7:52ให้พบทางสว่าง
-
7:54 - 7:55แต่รู้อะไรไหมคะ
-
7:55 - 7:58มีเด็กอีกมากมาย
ที่ไม่ได้โชคดีแบบฉัน -
7:58 - 8:01เด็กเหล่านั้น
ที่คุณเจอในห้องเรียน -
8:01 - 8:05ฉันจึงอยากพูด
กับทุกท่านในวันนี้ -
8:05 - 8:07เพื่อสร้างความตระหนักรู้
-
8:07 - 8:11ให้ลองเข้าไปพูดคุย ถามไถ่
-
8:11 - 8:14มองเด็ก ๆ ให้ลึกลงไป
-
8:14 - 8:18เพื่อที่จะได้ช่วยพวกเขา
-
8:20 - 8:22จากการที่ฉันเป็นครูอนุบาล
-
8:22 - 8:24ฉันเริ่มสอนปีแรก
-
8:24 - 8:28ด้วยการให้เด็ก ๆ
ทำกล่องชีวประวัติ -
8:28 - 8:31นี่เด็ก ๆ จากในชั้นเรียนค่ะ
-
8:31 - 8:33บอกพวกเขา
-
8:33 - 8:36ให้ใส่สิ่งของเกี่ยวกับตัวเอง
-
8:36 - 8:38ที่เล่าเรื่องราวในชีวิต
-
8:38 - 8:40เช่น สิ่งของที่รัก สิ่งของสำคัญในชีวิต
อะไรแบบนั้น -
8:40 - 8:42เด็ก ๆ ตกแต่ง
-
8:42 - 8:44แบบค่อยเป็นค่อยไป
-
8:44 - 8:49แปะรูปครอบครัว รูปสัตว์เลี้ยง
-
8:49 - 8:52แล้วให้มานำเสนอหน้าชั้นเรียน
-
8:53 - 8:56และ ในเวลานั้น ฉันจดจ่อ
-
8:57 - 9:00ตั้งใจฟังสิ่งที่เขาพูด
-
9:00 - 9:03สังเกตสีหน้า แววตา
-
9:03 - 9:07รวมถึงสิ่งที่เด็กไม่เอ่ย
-
9:07 - 9:09ฉันจะสัมผัสได้
-
9:09 - 9:11เป็นคำใบ้ให้ฉันรับรู้
ว่าพวกเขา -
9:11 - 9:13กำลังเผชิญ
ปัญหาอะไรหรือเปล่า -
9:13 - 9:16เพราะอะไร
-
9:16 - 9:19เขาถึงมีพฤติกรรมแบบนั้น
ที่เราเห็นในห้องเรียน -
9:20 - 9:23ทำอย่างไร ฉันถึงจะเป็นคุณครูที่ดีได้
-
9:23 - 9:25ต้องตั้งใจฟังสิ่งที่พวกเขาพูด
-
9:26 - 9:29คอยหาเวลา
สร้างสัมพันธ์กับเด็ก ๆ -
9:29 - 9:32เหมือนที่คุณครูแรนดอล์ฟทำ
-
9:32 - 9:33ทานมื้อกลางวันกับเด็ก ๆ
-
9:33 - 9:36หาเวลาคุยตอนคาบว่าง
-
9:36 - 9:39ดูเด็ก ๆ ลงแข่งกีฬา
-
9:39 - 9:41แข่งเต้น
-
9:41 - 9:44กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเด็ก ๆ
-
9:44 - 9:47เพราะ การที่จะรู้จักตัวตนพวกเขา
-
9:47 - 9:50เราต้องแทรกซึมเข้าไป
-
9:51 - 9:54บางท่านในที่นี้
อาจเป็นคุณครูโรงเรียนมัธยมต้น -
9:54 - 9:56ครูมัธยมปลาย
-
9:56 - 9:59อาจจะเห็นว่า เด็กบางคน
-
9:59 - 10:02ดูเก่ง มาถูกทาง
-
10:02 - 10:05ดูทำอะไรได้ดีอยู่แล้ว
-
10:05 - 10:07ความจริงอาจจะไม่ใช่
อย่างภาพที่เห็น -
10:07 - 10:10โดยเฉพาะกับเด็กหัวกะทิ
ที่ดูพึ่งพาตัวเองได้ -
10:10 - 10:14ที่จริงแล้ว อาจจะกำลังต้องการ
ความช่วยเหลือมากที่สุด -
10:14 - 10:16ถ้าคุณได้เห็นหนังสือรุ่นฉันนะ
-
10:16 - 10:18เปิดไป จะเจอแต่หน้าฉันค่ะ
-
10:18 - 10:22เพราะ เข้าร่วมทุกกิจกรรม
-
10:22 - 10:24รถบัสโรงเรียนยังขับเลยค่ะ
-
10:24 - 10:26(เสียงหัวเราะ)
-
10:26 - 10:27ดิฉันเป็นเด็กคนหนึ่ง
-
10:27 - 10:30ที่ดูเหมือนเป็นเด็กเก่ง
-
10:30 - 10:32ทุกคนชื่นชม
-
10:32 - 10:34จัดการทุกอย่างได้ดี
-
10:35 - 10:38แต่จริง ๆ แล้ว ไม่เลย
-
10:38 - 10:39ฉันเคว้งคว้าง
-
10:39 - 10:42อยากให้มีใครสักคน
เข้ามาถาม -
10:42 - 10:45ลิซ่า มีอะไรหรือเปล่า ?
ทำไมไม่อยากกลับบ้าน ? -
10:45 - 10:48ทำไมถึงใช้เวลา
อยู่แต่ที่โรงเรียน ? -
10:48 - 10:51จะมีใครสงสัยบ้างไหมนะ
-
10:51 - 10:53ว่าฉันพยายามหนีใครอยู่หรือเปล่า ?
-
10:53 - 10:56หนีบางอย่าง ?
-
10:56 - 11:00ทำไมถึงไม่ร่วม
กิจกรรมชุมชน ? -
11:00 - 11:01หรือ อยากกลับบ้าน ?
-
11:01 - 11:04ทำไมถึงอยากอยู่
แต่ที่โรงเรียน ? -
11:05 - 11:07แต่ไม่เคยมีใครถาม
-
11:09 - 11:11อย่าเข้าใจผิดไปนะคะ
-
11:11 - 11:13ไม่ใช่เด็กหัวกะทิ
ทุกคนในโรงเรียน -
11:13 - 11:16จะเป็นเหยื่อการถูกคุกคาม
-
11:16 - 11:21แต่อยากให้คุณครูทุกท่าน
คอยสอดส่อง -
11:21 - 11:23คอยถามเด็ก ๆ
-
11:24 - 11:28อาจจะพบคำตอบที่ซ่อนอยู่
-
11:28 - 11:34เราอาจจะกลายเป็นแรงผลักดัน
-
11:34 - 11:36ที่ช่วยให้เขาก้าวเดินต่อไปกับชีวิต
-
11:37 - 11:40ให้ระวังที่จะด่วนสรุป
-
11:40 - 11:43ว่าทุกอย่างดูโอเคแล้ว
-
11:43 - 11:46อย่าเพิ่งรีบตัดบท
-
11:46 - 11:48ให้คอยจับตาดู
-
11:48 - 11:52ให้เด็ก ๆ ได้รับรู้ว่า
ถึงแม้มีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นในชีวิต -
11:52 - 11:55ไม่ได้หมายความว่า
ชีวิตจะไร้ความหมาย -
11:56 - 11:59เรื่องราวของพวกเขา
มีคุณค่าที่จะถูกถ่ายทอด -
12:02 - 12:04ก่อนที่จะเป็นแบบนั้น
-
12:04 - 12:07เราผู้ใหญ่ต้องเปิดใจ และ
โอบรับการถ่ายทอดเรื่องราว -
12:07 - 12:10ให้กลายเป็นแรงผลักดันสำคัญ
-
12:10 - 12:12หลายท่านคงคิดว่า
-
12:12 - 12:14อืม ก็จริงนะ
-
12:16 - 12:17ฉันก็เคยเจออะไรแย่ ๆ
-
12:18 - 12:20แต่ยังไม่พร้อมที่จะเล่า
-
12:20 - 12:22ไม่เป็นไรค่ะ
-
12:23 - 12:25เมื่อถึงเวลา
-
12:25 - 12:28จะสัมผัสได้
-
12:28 - 12:31ว่าเราสามารถเปลี่ยน
ความเจ็บปวดในอดีต -
12:31 - 12:34ให้กลายเป็นแรงผลักดันในอนาคต
-
12:34 - 12:36ซึ่งเด็ก ๆ เหล่านี้
คืออนาคตของพวกเราค่ะ -
12:38 - 12:41ฉันสนับสนุนให้ทุกท่าน
ค่อย ๆ เริ่มวันละนิดละน้อย -
12:41 - 12:44เริ่มพูดคุย
-
12:44 - 12:46เปิดใจ และ เปิดรับ
-
12:48 - 12:52เรื่องราวของฉัน ครบองค์ประกอบ
-
12:52 - 12:55ในช่วงสปริง ปี 2018
-
12:55 - 12:56ตอนที่ฉันได้รับเชิญให้ขึ้นพูด
-
12:56 - 13:00กับเหล่าบรรดาคุณครูมือใหม่
-
13:00 - 13:03ฉันเล่าเรื่องเดียวกันนี้แหละค่ะ
-
13:03 - 13:07หลังจากจบการพูด
มีสุภาพสตรีท่านหนึ่งเดินเข้ามาหา -
13:07 - 13:12เธอน้ำตาซึม
และ เอ่ยขอบคุณฉัน -
13:12 - 13:15"ขอบคุณที่แบ่งปัน"
-
13:15 - 13:19"ฉันอยากจะเล่า
ให้พ่อฟังใจจะขาด" -
13:19 - 13:21"เล่าทุกอย่างที่ได้ฟังในวันนี้"
-
13:22 - 13:25เธอคงเห็นสีหน้าฉันงุนงน
-
13:25 - 13:28เธอเลยบอกว่า
-
13:28 - 13:30"มิสเตอร์แรนดอล์ฟ คือ
พ่อของเธอเอง" -
13:30 - 13:33(เสียงตกใจ)
-
13:33 - 13:37"พ่อครุ่นคิดอยู่บ่อย ๆ"
-
13:37 - 13:39"ว่าท่านได้ทำอะไร
ให้กับสังคมบ้างหรือเปล่า?" -
13:40 - 13:42วันนี้ จะได้กลับไปบอกพ่อเสียทีว่า
-
13:42 - 13:45"แน่นอนที่สุดค่ะ พ่อ"
-
13:46 - 13:48เห็นไหมคะ
-
13:48 - 13:50การแบ่งปัน ล้ำค่าแค่ไหน
-
13:50 - 13:51หลังจากนั้น
-
13:51 - 13:54ฉันติดต่อลูกสาวของมิสมิคแฟดเดน
-
13:54 - 13:56เล่าถึงเรื่องราวในตอนนั้น
-
13:56 - 14:00สิ่งที่ฉันได้รับจากท่าน
-
14:00 - 14:01อยากให้ท่านได้รับรู้
-
14:01 - 14:04ว่าขณะนี้ฉันอุทิศตน
ในการสร้างกองทุน -
14:04 - 14:07เพื่อมอบให้กับเหล่าคุณครูที่ปรึกษา,
บุคลากรโรงเรียน -
14:08 - 14:09นักจิตวิทยา และ พยาบาล
-
14:09 - 14:12เพราะ พวกเขามีบทบาทสำคัญ
-
14:12 - 14:14ต่อทั้งสุขภาพกาย และ สุขภาพใจ
-
14:14 - 14:15ของเด็ก ๆ
-
14:16 - 14:18ฉันรู้สึกซาบซึ้ง และ
ขอบคุณมิสมิคแฟดเดนอย่างมาก -
14:18 - 14:22(เสียงปรบมือ)
-
14:22 - 14:25เคยได้ยินบางคนกล่าวว่า
-
14:25 - 14:28เพื่อที่จะออกจากความมืดมน
-
14:28 - 14:30เราต้องหาแสงสว่าง
-
14:31 - 14:34ดิฉันหวังว่าทุกท่าน
ที่มาร่วมฟังในวันนี้ -
14:34 - 14:38จะได้กลายเป็นแสงสว่าง
-
14:38 - 14:40ไม่เพื่อแค่สำหรับเด็ก ๆ
-
14:40 - 14:43แต่เพื่อพวกเราที่เป็นผู้ใหญ่
-
14:43 - 14:46ไม่ว่าจะในโรงเรียน ในชุมชน
-
14:47 - 14:50ว่าเราสามารถแบ่งปัน
-
14:50 - 14:52และ ช่วยนำทาง
-
14:53 - 14:56ให้บางชีวิตที่เคยมืดมน
-
14:56 - 15:00พบทางสว่าง
-
15:00 - 15:01ขอบคุณค่ะ
-
15:01 - 15:07(เสียงปรบมือ)
- Title:
- คุณครูผู้เป็นแสงเทียนยามมืดมน
- Speaker:
- ลิซ่า ก็อดวิน
- Description:
-
"เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ดิฉันจะเปิดเผยเรื่องราวเบื้องลึกส่วนตัวสุดขื่นขมในวัยเด็ก"
ลิซ่า ก็อดวินกล่าวทอล์คสุดซึ้งที่ลิซ่า แบ่งปันประสบการณ์การก้าวข้ามสิ่งเลวร้ายในวัยเด็ก ด้วยความช่วยเหลือจากเหล่าคุณครูผู้ไม่ย่อท้อ และ ข้อดีของการเปลี่ยนสิ่งหมองหม่นที่เคยเผชิญ
ให้กลายเป็นแรงผลักดันสำคัญทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น - Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 15:20
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for How teachers can help students navigate trauma | May 18, 2020, 3:25 PM |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for How teachers can help students navigate trauma | May 18, 2020, 3:25 PM |
![]() |
Chanish Chalotorngornthawach accepted Thai subtitles for How teachers can help students navigate trauma | Apr 13, 2020, 6:33 AM |
![]() |
Chanish Chalotorngornthawach edited Thai subtitles for How teachers can help students navigate trauma | Apr 13, 2020, 6:26 AM |
![]() |
Danai Chatyingyongkun declined Thai subtitles for How teachers can help students navigate trauma | Apr 7, 2020, 7:17 AM |
![]() |
Danai Chatyingyongkun edited Thai subtitles for How teachers can help students navigate trauma | Apr 7, 2020, 7:17 AM |
![]() |
Chanish Chalotorngornthawach edited Thai subtitles for How teachers can help students navigate trauma | Mar 18, 2020, 2:29 PM |
![]() |
Chanish Chalotorngornthawach edited Thai subtitles for How teachers can help students navigate trauma | Mar 18, 2020, 3:27 AM |