Return to Video

ไวรัสแพร่จากสัตว์เข้าสู่คนได้อย่างไร - เบน ลองดอน (Ben Longdon)

  • 0:08 - 0:11
    ที่งานเทศกาลแมรีแลนด์ในปี
    ค.ศ. 2017
  • 0:11 - 0:14
    เหล่าสุกรประกวดดูมีอาการไม่ดีเท่าไหร่
  • 0:14 - 0:19
    เกษตรกรรายงานว่าบรรดาสุกรมีไข้
    และมีอาการตาอักเสบและน้ำมูกไหล
  • 0:19 - 0:22
    ในขณะที่เกษตรกรต่างกังวล
    ว่าหมูจะเป็นอะไร
  • 0:22 - 0:28
    หน่วยอนามัยก็ห่วง
    ว่าผู้ร่วมงานจะป่วยหรือเปล่า
  • 0:28 - 0:32
    เพราะบางคนก็สัมผัสกับหมู
    แต่บางคนก็แทบไม่ได้เฉียดไปใกล้คอก
  • 0:32 - 0:38
    ไม่นาน ปรากฏว่าผู้ร่วมงาน 40 ราย
    ถูกตรวจพบว่ามีเชื้อหวัดหมู
  • 0:38 - 0:41
    โดยส่วนใหญ่แล้ว สัตว์ที่ป่วย
    จะไม่แพร่เชื้อมาสู่คน
  • 0:41 - 0:45
    แต่เมื่อมันเกิดขึ้น
    การติดเชื้อแบบข้ามสายพันธุ์
  • 0:45 - 0:47
    หรือการที่ไวรัสมีเจ้าบ้านสายพันธุ์ใหม่
  • 0:47 - 0:50
    อาจเป็นจุดกำเนิด
    ของการระบาดที่น่ากลัวได้
  • 0:50 - 0:54
    แล้วเชื้อโรคจากสายพันธุ์หนึ่ง
    ข้ามไปติดอีกสายพันธุ์หนึ่งได้อย่างไร
  • 0:54 - 0:58
    และทำไมการติดเชื้อข้ามสายพันธุ์
    จึงอันตรายนัก
  • 0:58 - 1:03
    ไวรัสเป็นปรสิตของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด
  • 1:03 - 1:07
    พวกมันมีช่วงชีวิตสามช่วง
    ในการดำรงชีวิตและสืบพันธุ์
  • 1:07 - 1:11
    ได้แก่ การสัมผัสกับเจ้าบ้าน
    แพร่เชื้อเข้าไป และเพิ่มจำนวน
  • 1:11 - 1:15
    จากนั้นก็แพร่กระจายไปยังเจ้าบ้านอื่น ๆ
  • 1:15 - 1:18
    ยกตัวอย่างเช่น เชื้อหวัดในมนุษย์
  • 1:18 - 1:21
    เริ่มแรก ไวรัสหวัดพบเข้ากับเจ้าบ้านใหม่
  • 1:21 - 1:24
    และเดินทางเข้าไปในทางเดินหายใจ
  • 1:24 - 1:27
    มันไม่ยากเท่าไหร่หรอก
    แต่การมีชีวิตรอดในร่างกายใหม่นี้
  • 1:27 - 1:31
    ไวรัสจะต้องฝังตัวเข้าไปให้สำเร็จ
  • 1:31 - 1:34
    ก่อนที่จะถูกจับ
    และทำลายโดยภูมิคุ้มกัน
  • 1:34 - 1:36
    เพื่อที่จะทำให้ภาระกิจนี้ลุล่วง
  • 1:36 - 1:40
    ไวรัสวิวัฒนาการจนมีปฎิสัมพันธ์จำเพาะ
    กับสายพันธุ์ที่เป็นเจ้าบ้าน
  • 1:40 - 1:43
    ไวรัสหวัดในคนปกคลุมไปด้วยโปรตีน
  • 1:43 - 1:49
    ที่มีไว้จับรีเซปเตอร์ที่จำเพาะ
    บนเซลล์ทางเดินหายใจของมนุษย์
  • 1:49 - 1:54
    เมื่อมันเข้าไปในเซลล์ได้แล้ว
    ไวรัสก็ทำการเจริญต่อไป
  • 1:54 - 1:56
    เพื่อที่จะปล้นกลไก
    การเพิ่มจำนวนของเซลล์
  • 1:56 - 1:59
    และเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมของมันเอง
  • 1:59 - 2:04
    ตอนนี้ ไวรัสต้องการเพียงยับยั้ง
    และหลบหลีกภูมิคุ้มกันของเจ้าบ้าน
  • 2:04 - 2:08
    ให้นานพอที่จะเพิ่มจำนวนได้มากพอ
    และบุกเข้าไปในเซลล์อื่น ๆ
  • 2:08 - 2:12
    ถึงตอนนี้ เชื้อหวัดสามารถที่จะถูกส่งต่อ
    ไปยังเหยื่อคนถัดไป
  • 2:12 - 2:16
    ผ่านการติดต่อทางสารคัดหลั่งที่มีเชื้อ
  • 2:16 - 2:21
    อย่างไรก็ดี การไอจาม
    ยังทำให้ไวรัสสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง
  • 2:21 - 2:23
    พืช หรือกระทั่งอาหารเที่ยงของคุณ
  • 2:23 - 2:29
    ไวรัสสัมผัสกับสายพันธุ์ใหม่ ๆ ตลอด
    และมันก็พยายามที่จะบุกเข้าไป
  • 2:29 - 2:31
    บ่อยครั้ง มันทำไม่สำเร็จ
  • 2:31 - 2:37
    ส่วนใหญ่ เจ้าบ้านสองชนิดนั้น
    มักมีพันธุกรรมแตกต่างกันมากเกินไป
  • 2:37 - 2:39
    สำหรับไวรัสที่ปรับตัวมาเพื่อติดเชื้อในคน
  • 2:39 - 2:43
    เซลล์ผักกาดคงจะแปลกเกินไป
    และไม่ได้มีสภาวะน่าอยู่เท่าไร
  • 2:43 - 2:48
    แต่ก็มีไวรัสจำนวนมากมาย
    ที่วนเวียนอยู่ในสิ่งแวดล้อม
  • 2:48 - 2:51
    และพวกมันก็มีศักยภาพ
    ที่จะพบกับเจ้าบ้านใหม่
  • 2:51 - 2:55
    และเพราะว่ามันเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง
    เป็นล้าน ๆ
  • 2:55 - 2:58
    พวกมันสามารถที่จะกลายพันธุ์อย่างสุ่ม
    ได้อย่างรวดเร็ว
  • 2:58 - 3:02
    การกลายพันธุ์ส่วนใหญ่
    ไม่มีผลหรืออาจทำให้มันตาย
  • 3:02 - 3:08
    แต่ในส่วนน้อย มันอาจทำให้เชื้อโรค
    แพร่เข้าไปในเจ้าบ้านใหม่ได้ดีขึ้น
  • 3:08 - 3:13
    และโอกาสที่มันจะชนะ
    และทำลายสารพันธุกรรมได้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • 3:13 - 3:18
    หรือถ้าสายพันธุ์ใหม่มีความใกล้เคียง
    กับเจ้าบ้านเดิมของไวัรัสนั้น
  • 3:18 - 3:20
    สำหรับไวรัสที่ปรับตัวเข้ากับ
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกชนิด
  • 3:20 - 3:24
    มันอาจพึ่งพาโชคจากการกลายพันธุ์
    ไม่กี่ครั้งเพื่อติดเชื้อเข้าสู่คน
  • 3:24 - 3:27
    และไวรัสที่ปรับตัวเข้ากับลิงชิมแปนซี
  • 3:27 - 3:33
    ญาติทางพันธุกรรมที่ใกล้ชิดกับเราที่สุด
    อาจไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรมากเลย
  • 3:33 - 3:36
    มันใช้มากกว่าเวลา
    และความคล้ายกันทางพันธุกรรม
  • 3:36 - 3:38
    ที่จะทำให้การติดเชื้อข้ามสายพันธ์ุสำเร็จ
  • 3:38 - 3:42
    ไวรัสบางชนิดอาจบุกเข้าสู่เซลล์
    ของเจ้าบ้านใหม่ได้ง่ายดาย
  • 3:42 - 3:46
    แต่ไม่สามารถที่จะหลบหลีก
    ภูมิคุ้มกันได้
  • 3:46 - 3:50
    บ้างก็อาจพบกับความยุ่งยาก
    กว่าจะติดต่อไปยังเจ้าบ้านใหม่ได้
  • 3:50 - 3:53
    ยกตัวอย่างเช่น พวกมัน
    อาจถูกส่งผ่านได้ ทางเลือดที่ติดเชื้อ
  • 3:53 - 3:55
    แต่ไม่ใช่น้ำลาย
  • 3:55 - 3:59
    อย่างไรก็ดี เมื่อมันสามารถที่จะติดต่อ
    ข้ามสายพันธุ์ได้สำเร็จ
  • 3:59 - 4:01
    ไวรัสจะอันตรายกว่าเดิม
  • 4:01 - 4:04
    เมื่อมันสามารถเจริญได้
    ในเจ้าบ้านสองชนิด
  • 4:04 - 4:09
    เชื้อก็มีโอกาสเป็นสองเท่า ที่จะกลายพันธุ์
    จนเป็นไวรัสที่เก่งกาจกว่าเดิม
  • 4:09 - 4:14
    และการระบาดในเจ้าบ้านใหม่แต่ละชนิด
    ก็มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้น
  • 4:14 - 4:17
    นักไวรัสวิทยาติดตามดูการกลายพันธุ์
  • 4:17 - 4:21
    ที่อาจทำให้ไวรัสอย่างเชื้อหวัด
    กระโดดข้ามสายพันธุ์เจ้าบ้าน
  • 4:21 - 4:26
    อย่างไรก็ดีการคาดคะเนความเป็นไปได้
    ที่จะเกิดการระบาดเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก
  • 4:26 - 4:31
    ไวรัสมีความหลากหลายมาก
    และเราก็เพิ่งจะเริ่มเข้าใจมัน
  • 4:31 - 4:35
    นักวิจัยทำงานอย่างไม่หยุดหย่อน
    เพื่อศึกษาชีววิทยาของเชื้อโรค
  • 4:35 - 4:39
    และติดตามเฝ้าระวังประชากร
    เพื่อระบุการระบาดครั้งใหม่อย่างรวดเร็ว
  • 4:39 - 4:45
    พวกเขาก็จะสามารถพัฒนาวัคซีน
    และคิดแนวทางหยุดยั้งโรคร้ายต่าง ๆ ได้
Title:
ไวรัสแพร่จากสัตว์เข้าสู่คนได้อย่างไร - เบน ลองดอน (Ben Longdon)
Speaker:
เบน ลองดอน (Ben Longdon)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/how-do-viruses-jump-from-animals-to-humans-ben-longdon

ที่งานเทศกาลแมรีแลนด์ในปี ค.ศ. 2017 เกษตรกรรายงานว่าบรรดาสุกรมีไข้และมีอาการตาอักเสบและน้ำมูกไหล ในขณะที่เกษตรกรต่างกังวลว่าหมูเป็นอะไร หน่วยอนามัยก็ห่วงว่าผู้ร่วมงานจะป่วยหรือเปล่า ไม่นาน ปรากฏว่าผู้ร่วมงาน 40 รายถูกตรวจพบว่ามีเชื้อหวัดหมู เชื้อโรคจากสายพันธุ์หนึ่งข้ามติดอีกสายพันธุ์ได้อย่างไร และทำไมการติดเชื้อข้ามสายพันธุ์จึงอันตรายนัก เบน ลองดอน อธิบาย

บทเรียนโดย Ben Longdon, อำนวยการผลิตโดย Cabong Studios

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:47
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How do viruses jump from animals to humans?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How do viruses jump from animals to humans?
Pisitpong Boonsom accepted Thai subtitles for How do viruses jump from animals to humans?
Pisitpong Boonsom edited Thai subtitles for How do viruses jump from animals to humans?
Pisitpong Boonsom edited Thai subtitles for How do viruses jump from animals to humans?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How do viruses jump from animals to humans?

Thai subtitles

Revisions