Return to Video

เหตุผลจริง ๆ ที่ยุงส่งเสียงหึ่ง

  • 0:00 - 0:03
    (เสียงยุงบินหึ่ง ๆ)
  • 0:03 - 0:05
    เกร็ก เกจ: เราทุกคนเคยได้ยิน
    เสียงที่น่ารำคาญของยุง
  • 0:05 - 0:07
    และเราจะหยุดทุกอย่างเพื่อให้มันหยุด
  • 0:07 - 0:10
    ขณะที่เสียงนี้จะทำให้เราบ้าคลั่ง
  • 0:10 - 0:12
    แต่ยุงอาจจะได้ยินเป็นเสียงเพลงก็ได้
  • 0:12 - 0:16
    ระบบประสาทของยุง
    มีเซลล์รับเสียงมากพอ ๆ กับเรา
  • 0:16 - 0:19
    แต่ทำไมมันถึงมีมากมายบนตัวเล็กขนาดนั้น
  • 0:19 - 0:21
    และทำไมพวกมันถึงต้องไวต่อเสียง
  • 0:21 - 0:23
    คำตอบ คือ ความรัก
  • 0:23 - 0:25
    [ประสาทวิทยา DIY]
  • 0:25 - 0:28
    (เสียงเพลง)
  • 0:28 - 0:30
    ในฐานะมนุษย์ เราทำทุกวิถีทาง
    เพื่อดึงดูดกันและกัน
  • 0:30 - 0:30
    บางอย่างตั้งใจ --
  • 0:30 - 0:33
    เราแต่งหน้า
    และทำให้แน่ใจว่าตัวเราหอม
  • 0:33 - 0:34
    บางอย่างเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว
  • 0:34 - 0:37
    คุณอาจจะหันตัวหรือนั่งใกล้ใครบางคน
    ที่คุณชอบโดยไม่รู้ตัว
  • 0:37 - 0:41
    มันมีสิ่งที่เรียกว่าพฤติกรรมเกี้ยวพาราสี
    ซึ่งสัตว์หลายชนิดมีเหมือนกัน
  • 0:41 - 0:43
    ยุงก็ไม่ต่าง
  • 0:43 - 0:46
    เฮลีย์ใช้เวลาช่วงฤดูร้อน
    ฟังเสียงยุงอย่างกล้าหาญ
  • 0:46 - 0:48
    และสิ่งที่เธอสังเกตได้อาจทำให้คุณประหลาดใจ
  • 0:48 - 0:52
    เราอยากจะศึกษาว่า
    ยุงส่งเสียงได้อย่างไร
  • 0:52 - 0:54
    เฮลีย์ เราบันทึกเสียงปีกของยุงอย่างไร
  • 0:55 - 0:56
    เฮลีย์ สมิธ: เราต้องจับมันไว้
  • 0:56 - 1:01
    ขั้นแรก เราทำให้มันมึน
    โดยใส่มันเข้าไปในตู้เย็นหรือกล่องแช่แข็ง
  • 1:01 - 1:05
    จากนั้นฉันใส่มันลงไปใยจานเพาะเชื้อ
    ที่มีน้ำแข็งอยู่
  • 1:05 - 1:07
    เพื่อให้มันมึนกว่าเดิม
  • 1:07 - 1:10
    จากนั้นฉันจะใช้เข็มปักแมลง
  • 1:10 - 1:15
    สิ่งที่ฉันทำคือจะเอาเข็ม
    ป้ายกาวตาช้างเล็กน้อย
  • 1:15 - 1:18
    และทำให้แน่ใจว่ากาว
    จะติดอยู่ที่ช่วงอกเหนือปีกของยุง
  • 1:18 - 1:22
    เพื่อที่เวลาที่เรายึดมันไว้
    ปีกมันจะยังขยับได้อยู่
  • 1:22 - 1:23
    ได้แล้วหนึ่งตัว
  • 1:23 - 1:26
    การจับยุงตัวผู้ในป่ามันยากมาก
  • 1:26 - 1:30
    เพราะจะมีแต่ยุงตัวเมียเท่านั้น
    ที่เข้ามาใกล้มนุษย์
  • 1:30 - 1:31
    พวกมันกินเลือดมนุษย์เป็นอาหาร
  • 1:31 - 1:37
    ตอนนี้เราสามารถลอง
    อัดเสียงมันได้แล้ว
  • 1:37 - 1:39
    นี่คือแท่นที่ฉันใช้ในการจับพวกมันไว้
  • 1:39 - 1:41
    ฉันมักจะวางมันไว้ใกล้ไมโครโฟน
  • 1:41 - 1:44
    เพื่อที่ฉันจะสามารถอัดเสียงหึ่ง ๆ
    ที่คุณได้ยิน
  • 1:44 - 1:47
    เสียงนั้นเกิดจากความเร็วในการตีปีกของยุง
  • 1:47 - 1:48
    นี่คือยุงตัวผู้
  • 1:48 - 1:52
    ยุงตัวผู้จะมีหนวดขน ๆ
    ที่ดูเหมือนขนนก
  • 1:52 - 1:55
    และตัวมันยังมีขนาดเล็กกว่ามาก ๆ
  • 1:55 - 1:58
    เกร็ก: มันบินที่ความถี่ 600 เฮิรตซ์
    โดยประมาณ
  • 1:58 - 2:00
    เราลองดูยุงตัวเมียได้มั้ย
  • 2:00 - 2:02
    เฮลีย์: แน่นอน มาลองดู
  • 2:02 - 2:08
    (เสียงหึ่งของยุง ระดับเสียงต่ำกว่า)
  • 2:08 - 2:09
    เกร็ก: ว้าว
  • 2:09 - 2:12
    เฮลีย์: ความถี่ต่ำกว่าตัวผู้
  • 2:12 - 2:14
    เกร็ก: ใช่ เสียงมันต่างกันอย่างสิ้นเชิง
  • 2:14 - 2:16
    (เสียงหึ่งของยุง)
  • 2:16 - 2:18
    (เสียงหึ่งของยุง ระดับเสียงต่ำกว่า)
  • 2:19 - 2:21
    มันเป็นเพราะว่ามันเป็นยุงคนละตัว
  • 2:21 - 2:23
    หรือว่ามันเป็นยุงตัวผู้กับตัวเมียล่ะ
  • 2:23 - 2:24
    เฮลีย์: เป็นเพราะมันเป็นตัวผู้และตัวเมีย
  • 2:24 - 2:26
    เกร็ก: มาลองพิสูจน์กัน
  • 2:26 - 2:29
    คุณเอาตัวเมียอีกตัวมาได้มั้ย
    เพื่อฟังเสียง
  • 2:29 - 2:31
    ว่าเหมือนยุง A หรือ ยุง B
  • 2:31 - 2:32
    เฮลีย์: ได้
  • 2:32 - 2:34
    (เสียงหุ่งของยุง ระดับเสียงต่ำ)
  • 2:34 - 2:36
    อีกแล้ว มันเสียงต่ำกว่ายุงตัวผู้
  • 2:36 - 2:37
    เกร็ก: ใช่ เสียงมันต่างออกไป
  • 2:38 - 2:43
    (เสียงหึ่งของยุง ระดับเสียงต่ำกว่า)
  • 2:43 - 2:45
    ใช่ ความถี่อยู่ที่ 400
  • 2:45 - 2:47
    เฮลีย์: จริงด้วย
    เกร็ก: มันแปลกมาก
  • 2:47 - 2:51
    เฮลีย์: ตัวเมียจะมีเสียงที่ต่ำกว่า
    ความถี่อยู่ที่ประมาณ 400 เฮิรตซ์
  • 2:51 - 2:52
    เฮลีย์: ตัวเมียทุกตัวจะมีเสียง
    อยู่ประมาณนั้นด้วย
  • 2:52 - 2:54
    ฉันสังเกตุเห็นว่ามันตัวใหญ่กว่าตัวผู้
  • 2:54 - 2:58
    ดังนั้น มันไม่ต้องกระพือปีกเร็วเท่า
    เพื่อที่จะบิน
  • 2:58 - 3:01
    เกร็ก: พวกมันมีปีกที่ใหญ่กว่า
    พวกมันเลยกระพือปีกช้ากว่า
  • 3:01 - 3:05
    คุณจะเห็นว่าตัวเมียมีความถี่เสียง
    เหมือนกันโดยประมาณ
  • 3:05 - 3:07
    ตัวผู้ก็เช่นกัน
    น่าสนใจมาก ๆ
  • 3:07 - 3:09
    มันต้องสื่อถึงอะไรบางอย่างแน่ ๆ
  • 3:09 - 3:12
    เอาล่ะ มาดูว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อเรา
    เราตัวผู้และตัวเมียมาอยู่ด้วยกัน
  • 3:12 - 3:16
    (เสียงหึ่งของอยู่ ระดับเสียงต่างกัน)
  • 3:16 - 3:18
    เฮลีย์: เมื่อเราเอามันมาอยู่ด้วยกัน
    ในระยะที่ได้ยินเสียงกัน
  • 3:18 - 3:21
    ฉันสังเกตเห็นว่าพวกมัน
    เปลี่ยนโทนเสียง
  • 3:21 - 3:24
    เสียงออกทึม ๆ
  • 3:24 - 3:25
    (เสียงหึ่งของยุง)
  • 3:25 - 3:29
    และเมื่อฉันไปดูที่เครื่องอ่าน
    ความถี่เสียงเพื่อดูระดับเสียง
  • 3:29 - 3:31
    พวกมันปรับโทนให้เสมอกัน
  • 3:31 - 3:33
    เกร็ก: เอาล่ะ หยุดก่อน
  • 3:33 - 3:35
    ตัวผู้และตัวเมียเหมือน
    ประสานเสียงกัน
  • 3:35 - 3:38
    หมายความว่าพวกมันปรับ
    การประพือปีกให้มีเสียงในโทนเดียวกัน
  • 3:38 - 3:41
    ตัวผู้ส่งเสียงสูงในคีย์ G
  • 3:41 - 3:44
    และตัวเมียส่งเสียงต่ำในคีย์ D
  • 3:44 - 3:45
    และเมื่อมันอยู่ด้วยกัน
  • 3:45 - 3:49
    คุณกำลังบอกว่า
    พวกมันปรับความถี่ของการกระพือปีก
  • 3:49 - 3:50
    เพื่อให้เสียงเท่ากันอย่างนั้นหรือ
  • 3:50 - 3:52
    เฮลีย์: ใช่เลย
    เกร็ก: แล้วเหมือนร้องเพลงประสานกัน
  • 3:52 - 3:58
    (ยุงค่อย ๆ ปรับเสียงให้เท่ากัน)
  • 3:58 - 4:00
    เฮลีย์: พวกมันสื่อสารให้กันและกันรู้ว่า
  • 4:00 - 4:02
    พวกมันอาจจะเจอคู่แล้ว
  • 4:02 - 4:03
    เกร็ก: หรืออีกนัยหนึ่งคือ
  • 4:03 - 4:06
    ตัวเมียมักจะเลือกตัวผู้
    ที่สามารถส่งเสียงประสานกันได้ดีที่สุด
  • 4:07 - 4:09
    งานวิจัยพบว่า
    ถ้าตัวเมียท้อง
  • 4:09 - 4:10
    พวกมันจะไม่สนใจเลย
  • 4:11 - 4:13
    ถ้าเราสามารถเข้าใจพฤติกรรม
    การผสมพันธ์ของยุง
  • 4:13 - 4:17
    เราอาจจะสามารถจัดการกับมันในป่า
    และป้องกันโรคต่าง ๆ อย่าง มาลาเรีย
  • 4:17 - 4:21
    แต่ตอนนี้ ถ้าคุณได้ยินเสียงหึ่ง
    ของยุงครั้งถัดไปล่ะก็
  • 4:21 - 4:25
    ลองหยุดฟังและระลึกว่า
    มันอาจจะกำลังอยู่ในห้วงรัก
  • 4:25 - 4:26
    และมันอาจจะกำลังร้องเพลงรัก
  • 4:26 - 4:28
    และมองหาคู่ที่สมบูรณ์แบบอยู่
  • 4:28 - 4:29
    (เสียงยุงบินหึ่ง)
  • 4:29 - 4:30
    (เสียงตบ)
Title:
เหตุผลจริง ๆ ที่ยุงส่งเสียงหึ่ง
Speaker:
ประสาทวิทยา DIY
Description:

เพลงรักของยุงเป็นอย่างไรกัน มาหาคำตอบไปพร้อมนักประสาทวิทยาผู้กล้าหาญที่จะหาความหมายของเสียงหึ่ง ๆ ที่น่ารำคาญที่คุณเคยได้ยิน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED Series
Duration:
04:46
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for The real reason why mosquitoes buzz
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for The real reason why mosquitoes buzz
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for The real reason why mosquitoes buzz
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The real reason why mosquitoes buzz
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The real reason why mosquitoes buzz
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The real reason why mosquitoes buzz
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The real reason why mosquitoes buzz
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The real reason why mosquitoes buzz
Show all

Thai subtitles

Revisions