ทาลิ ชารอท : การมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวก
-
0:00 - 0:04ฉันจะมาพูดเกี่ยวกับ การมองโลกในแง่ดี
-
0:04 - 0:06หรือถ้าจะให้ชัดเจนขึ้น คือ การมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวก
-
0:06 - 0:08มันเป็นภาพลวงตา ทางความรู้สึกคิด
-
0:08 - 0:10ที่เราทำการศึกษาวิจัยในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา
-
0:10 - 0:12และพบว่าพวกเราร้อยละ80 มีความคิดแบบนี้
-
0:12 - 0:15เรามีแนวโน้ม ที่จะประเมินในแง่ดีมากเกินไป
-
0:15 - 0:18เกี่่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะประสบแต่เรื่องดีๆ ในชีวิตของเรา
-
0:18 - 0:22แต่ประเมินเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะประสบกับเรื่องแย่ๆ ต่ำเกินไป
-
0:22 - 0:25เราเลยไม่คิดว่า วันหนึ่งเราจะมีโอกาสป่วยเป็นมะเร็ง
-
0:25 - 0:26หรือประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
-
0:26 - 0:30เรานึกแค่การมีชีวิตที่ยืนยาว
ประสบความสำเร็จ ในหน้าที่การงาน -
0:30 - 0:33สรุปคือ เรามองโลกในแง่ดี
มากกว่ามองโลกตามความเป็นจริง -
0:33 - 0:35และไม่เคยตระหนักถึงข้อเท็จจริงใดๆ
-
0:35 - 0:37ยกตัวอย่างเช่น ชีวิตแต่งงาน
-
0:37 - 0:41ในสังคมตะวันตกมีอัตราการหย่าร้างสูงถึงร้อยละ40
-
0:41 - 0:44นั่นหมายความว่า ในคู่แต่งงาน 5 คู่
-
0:44 - 0:47มี 2 คู่ ที่ต้องจบชีวิตรักด้วยการหย่าร้างแบ่งสมบัติ
-
0:47 - 0:51แต่พอเราลองถามคู่รักที่เพิ่งแต่งงานหมาดๆ
เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะหย่า -
0:51 - 0:54พวกเขาบอกว่า โอกาสแบบนั้นมีค่าเป็นศูนย์
-
0:54 - 0:58แม้กระทั่งนักกฎหมายที่เชี่ยวชาญด้านการหย่า
ที่ควรจะตระหนักได้ถึงความจริงข้อนี้ -
0:58 - 1:02ก็ยังประเมินความเป็นไปได้ เรื่องการหย่าของตัวเอง
ต่ำกว่าความเป็นจริง -
1:02 - 1:05กลายเป็นว่า คนที่มองโลกในแง่ดี
ไม่ได้มีโอกาสหย่าร้างต่ำกว่าคนอื่นๆ -
1:05 - 1:07แต่เป็นคนที่มีโอกาสมากกว่าในการแต่งงานใหม่
-
1:07 - 1:10ซามูเอล จอห์นสัน ได้กล่าวไว้ว่า
-
1:10 - 1:14"การแต่งงานใหม่คือชัยชนะของความหวัง
เหนือประสบการณ์" -
1:14 - 1:16(เสียงหัวเราะ)
-
1:16 - 1:20ดังนั้น หากเราแต่งงาน
เราย่อมมีโอกาสสูงที่จะให้กำเนิดทายาท -
1:20 - 1:24และทุกคนย่อมคิดว่า
ลูกหลานของเราจะต้องเป็นเด็กที่มีพรสววรค์เป็นพิเศษ -
1:24 - 1:26ยังไงก็ตาม นี่คือหลานชายวัย 2 ขวบของฉันค่ะ
-
1:26 - 1:29ฉันต้องขอบอกให้ชัดเจนตรงนี้เลย
-
1:29 - 1:31ว่าหลานฉันคนนี้เป็นตัวอย่างที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่
สำหรับการมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวก -
1:31 - 1:34เพราะเขาค่อนข้างมีพรสวรรค์พิเศษที่แหวกแนวมาก
-
1:34 - 1:36(เสียงหัวเราะ)
-
1:36 - 1:37ไม่ได้มีแค่ฉันเท่านั้น
-
1:37 - 1:40จากคนอังกฤษ 4 คน มี 3 คนที่พูดว่า
-
1:40 - 1:43พวกเขามองโลกในแง่ดี
ในเรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัวของตัวเองในอนาคต -
1:43 - 1:45คนที่คิดแบบนี้มีอยู่ร้อยละ 75
-
1:45 - 1:47แต่ก็ยังมีคนอีกร้อยละ 30 บอกว่า
-
1:47 - 1:50เขาคิดว่า ครอบครัวที่เห็นทั่วๆไป
-
1:50 - 1:52ใช้ชีวิตดีขึ้นกว่าครอบครัวในไม่กี่รุ่นที่ผ่านมา
-
1:52 - 1:54และนี่นับเป็นจุดที่สำคัญมาก
-
1:54 - 1:56เพราะหากเรามองเรื่องของตัวเองในแง่ดีแล้ว
-
1:56 - 1:58เราก็จะคิดเรื่องลูกหลานของเราในแง่ดีไปด้วย
-
1:58 - 2:00เรานึกถึงครอบครัวของเราในแง่ดี
-
2:00 - 2:03แต่เราจะไม่คิดในแง่ดีแบบนี้ กับคนที่เราไม่รู้จัก
-
2:03 - 2:05และเราค่อนข้างจะมองโลกในแง่ร้าย
-
2:05 - 2:09ในเรื่องที่เกี่ยวกับโชคชะตาของประชาชนคนอื่น หรือของประเทศเรา
-
2:09 - 2:13แต่การมองโลกในแง่ดีเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอนาคตของตัวเราเองนั้น
-
2:13 - 2:15จะยังคงอยู่เหมือนเดิม
-
2:15 - 2:19และนั่นไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เราคิด
จะเกิดขึ้นได้อย่างที่เราต้องการเหมือนเสกคาถา -
2:19 - 2:23แต่มันทำให้เรามีพลัง ที่จะทำให้มันเกิดขึ้น
-
2:23 - 2:26ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ฉันได้ทดลองเรื่องนี้
-
2:26 - 2:28เพื่อจะให้คุณเห็นว่าฉันหมายความว่ายังไง
-
2:28 - 2:31ฉันกำลังจะทดลองกับพวกคุณที่นี่ โอเค?
-
2:31 - 2:34ฉันจะให้พวกคุณดูรายการความสามารถ และลักษณะส่วนบุคคล
-
2:34 - 2:37และฉันอยากให้คุณนึกดู ว่าความสามารถแต่ละข้อที่ให้มานั้น
-
2:37 - 2:42คุณยืนอยู่ตรงไหน เมื่อเทียบกับประชากรส่วนที่เหลือ
-
2:42 - 2:45ข้อแรก คุณเข้ากับคนอื่นได้ดี
-
2:45 - 2:51ใครคิดว่าตัวเองอยู่ในกลุ่ม ร้อยละ 25 จากข้างล่างบ้างคะ
-
2:51 - 2:55โอเค ในที่นี้มีอยู่ 10 คนจาก 1,500
-
2:55 - 2:59ใครคิดว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มร้อยละ 25 ข้างบนคะ
-
2:59 - 3:02นั่นคือพวกเราส่วนใหญ่ในที่นี้
-
3:02 - 3:07โอเค ทีนี้เรามาดูความสามารถในการขับรถกันบ้าง
-
3:07 - 3:10คุณมีความน่าสนใจแค่ไหน
-
3:10 - 3:13คุณมีความดึงดูดใจมากแค่ไหน
-
3:13 - 3:15คุณมีความซื่อสัตย์มากเท่าไหร่
-
3:15 - 3:20และสุดท้าย คุณมีความถ่อมตัวแค่ไหน
-
3:20 - 3:23เห็นได้เลยว่า พวกเราส่วนมากจะตีค่าตัวเองสูงกว่าค่าเฉลี่ย
-
3:23 - 3:25เกี่ยวกับความสามารถที่กล่าวมา
-
3:25 - 3:27ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลย ในทางสถิติ
-
3:27 - 3:31ที่พวกเราทั้งหมด จะเก่งกว่าคนอื่น ๆ ทุก ๆ คนได้
-
3:31 - 3:32(เสียงหัวเราะ)
-
3:32 - 3:35แต่ถ้าเราคิดว่า เราดีกว่าคนอื่นอยู่ดี
-
3:35 - 3:39นั่นหมายความว่า เรามีแนวโน้มที่จะได้รับโปรโมชั่นเหล่านั้น
เพื่อรักษาการแต่งงาน -
3:39 - 3:42เพราะเราเข้าสังคมเก่ง และเป็นคนน่าสนใจ
-
3:42 - 3:44และทั้งหมดนี้ เป็นปรากฏการณ์ของโลก
-
3:44 - 3:46การมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวกนั้นถูกตั้งข้อสังเกต
-
3:46 - 3:48ในหลายๆประเทศที่แตกต่างกัน
-
3:48 - 3:51ทั้งในวัฒนธรรมตะวันตก และวัฒนธรรมอื่นนอกเหนือจากนี้
-
3:51 - 3:53ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย
-
3:53 - 3:54ในเด็ก หรือคนแก่
-
3:54 - 3:56ความคิดแบบนี้แพร่หลายในวงกว้าง
-
3:56 - 4:00แต่คำถามก็คือ การคิดแบบนี้มันดีกับเรารึเปล่า
-
4:00 - 4:02บางคนปฏิเสธ
-
4:02 - 4:04บางคนบอกว่า เคล็ดลับสู่ความสุข จริงๆแล้ว
-
4:04 - 4:07คือการใช้ชีวิต แบบไม่ต้องคาดหวังมากต่างหาก
-
4:07 - 4:10ฉันคิดว่า ฟังดูก็เป็นเหตุเป็นผลกันดี:
-
4:10 - 4:12คือถ้าเราไม่ได้คาดหวังอะไรที่ดีมาก
-
4:12 - 4:16ถ้าเราไม่ได้คาดหวังในความรัก มีสุขภาพที่ดี
และประสบความสำเร็จ -
4:16 - 4:19เราก็จะไม่ผิดหวัง หากเรื่องเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น
-
4:19 - 4:22และหากเราไม่ผิดหวัง เมื่อสิ่งดีๆยังไม่เกิดขึ้น
-
4:22 - 4:24และเรามีความสุขแสนประหลาดเมื่อมันเกิดขึ้น
-
4:24 - 4:26เราก็จะมีความสุข
-
4:26 - 4:28ดังนั้น มันจึงเป็นทฤษฎีที่เข้าท่ามาก
-
4:28 - 4:31แต่มันผิดพลาด ด้วยเหตุผลสามข้อ
-
4:31 - 4:36ข้อแรก ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ไม่ว่าคุณประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว -
4:36 - 4:39คนที่ตั้งความหวังไว้สูงจะยังคงรู้สึกดีกว่า
-
4:39 - 4:43เพราะการที่เราจะรู้สึกแบบไหน เวลาเราพลาด
หรือได้รางวัลพนักงานดีเด่นประจำเดือน -
4:43 - 4:46ขึ้นอยู่กับเราตีความเหตุการณ์นั้นอย่างไร
-
4:46 - 4:50นักจิตวิทยาชื่อ มาร์กาเร็ต มาร์แชลล์ และ จอห์น บราวน์
-
4:50 - 4:53ทำการศึกษาในกลุ่มนักเรียนที่มีความคาดหวังสูงและความคาดหวังต่ำ
-
4:53 - 4:58พวกเขาพบว่า เมื่อเด็กที่มีความคาดหวังสูง ทำงานสำเร็จ
-
4:58 - 5:00พวกเขาเข้าใจว่า ความสำเร็จเหล่านั้นมาจากความสามารถของพวกเขาเอง
-
5:00 - 5:03"ฉันเป็นอัจฉริยะ ดังนั้น ฉันจึงได้เกรดเอ
-
5:03 - 5:05ดังนั้น ฉันจะได้เกรดเออีกครั้ง และอีกครั้ง ในอนาคต"
-
5:05 - 5:08และเมื่อพวกเขาทำพลาด นั่นไม่ได้เป็นเพราะพวกเขาโง่
-
5:08 - 5:11แต่เป็นเพราะว่า การสอบครั้งนี้มีอะไรที่ไม่เป็นธรรม
-
5:11 - 5:14ครั้งต่อไป เขาจะต้องทำได้ดีกว่า
-
5:14 - 5:17คนที่มีความคาดหวังต่ำ จะทำสิ่งที่ตรงกันข้าม
-
5:17 - 5:20ดังนั้น เมื่อพวกเขาสอบตก นั่นเป็นเพราะว่าพวกเขาโง่
-
5:20 - 5:21และเมื่อพวกเขาสอบผ่าน
-
5:21 - 5:24นั่นเป็นเพราะการสอบนั้นค่อนข้างง่าย
-
5:24 - 5:27พวกเขาคงทำไม่ได้เหมือนเดิม ในการสอบครั้งต่อไป
-
5:27 - 5:29นั่นทำให้พวกเขารู้สึกแย่กว่าเดิม
-
5:29 - 5:32เหตุผลข้อที่สอง หากไม่ใส่ใจในผลที่จะเกิดขึ้น
-
5:32 - 5:36การคาดหวัง ทำให้เรามีความสุข
-
5:36 - 5:39นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม จอร์จ โลเวนสเตน
-
5:39 - 5:41ตั้งคำถามต่อลูกศิษย์ในมหาวิทยาลัย
-
5:41 - 5:46ให้ลองจินตนาการ ถึงการได้จูบอย่างดูดดื่ม กับเซเลบคนดัง
คนไหนก็ได้ -
5:46 - 5:48จากนั้นเขาถามลูกศิษย์ว่า คุณคิดว่าคุณยินดีจะจ่ายเท่าไหร่
-
5:48 - 5:50เพื่อให้ได้จูบกับบรรดาคนดัง
-
5:50 - 5:53หากคุณจะได้รับจูบนั้นในทันทีทันใด
-
5:53 - 5:58ภายใน 3 ชั่วโมง, 24 ชั่วโมง, ภายใน 3 วัน
-
5:58 - 6:00ภายใน 1 ปี และ ภายใน10 ปี
-
6:00 - 6:03เขาพบว่า ลูกศิษย์ของเขาเต็มใจจะจ่ายเงินแพงที่สุด
-
6:03 - 6:05ไม่ใช่สำหรับการได้รับจูบในทันที
-
6:05 - 6:08แต่ให้กับการได้รับจูบภายใน 3 วัน
-
6:08 - 6:12พวกเขายินดีจะจ่ายแพงขึ้น สำหรับการรอคอย
-
6:12 - 6:15แต่พวกเขาไม่ยินดีที่จะรอไปอีก 1 ปี หรือ 10 ปี
-
6:15 - 6:17ไม่มีใครต้องการคนดังแก่ๆ
-
6:17 - 6:22แต่ 3 วัน เห็นได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม
-
6:22 - 6:24แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
-
6:24 - 6:27หากคุณได้รับจูบในตอนนี้ มันก็จะเกิดขึ้น และหายไปในทันที
-
6:27 - 6:29แต่หากคุณจะได้รับจูบในอีก 3 วันข้างหน้า
-
6:29 - 6:33นั่นก็จะเป็น 3 วัน แห่งการรอคอยที่แสนตื่นเต้น
-
6:33 - 6:35ลูกศิษย์ของเขาต้องการช่วงเวลาในการรอคอยเช่นนั้น
-
6:35 - 6:38ให้พวกเขาได้วาดฝันว่ามันจะเกิดขึ้นที่ไหน
-
6:38 - 6:39ว่ามันจะเกิดขึ้นอย่างไร
-
6:39 - 6:42การรอคอยอย่างมีหวัง ทำให้พวกเขามีความสุข
-
6:42 - 6:45นี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมคนจึงชอบวันศุกร์มากกว่าวันอาทิตย์
-
6:45 - 6:48มันเป็นข้อเท็จจริงที่ประหลาดมาก
-
6:48 - 6:51เพราะวันศุกร์ เป็นวันทำงาน แต่วันอาทิตย์เป็นวันแห่งความสุข
-
6:51 - 6:54ซึ่งคุณจะสันนิษฐานได้ว่าผู้คนน่าจะชอบวันอาทิตย์มากกว่า
-
6:54 - 6:56แต่ไม่ใช่
-
6:56 - 6:58มันไม่ใช่เพราะว่าจริง ๆ แล้วพวกเขาชอบไปทำงานมาก
-
6:58 - 7:00และพวกเขาไม่สามารถทนที่จะเดินเล่นในสวนสาธารณะ
-
7:00 - 7:02หรือทานอาหารสาย ๆ แบบขี้เกียจ ๆ ได้
-
7:02 - 7:04พวกเรารู้ดี เพราะเมื่อคุณถามใครซักคน
-
7:04 - 7:07ว่าเค้าชอบวันไหนในสัปดาห์มากที่สุด
-
7:07 - 7:10น่าประหลาดใจมากว่าวันเสาร์มาเป็นอันดับแรก
-
7:10 - 7:13ตามมาด้วย วันศุกร์และวันอาทิตย์
-
7:13 - 7:14ผู้คนชื่นชอบวันศุกร์
-
7:14 - 7:18เพราะวันศุกร์นำมาซึ่งความหวังในการรอคอย
วันหยุดที่กำลังจะมาถึง -
7:18 - 7:20และแผนการทุกอย่างที่คุณวางไว้
-
7:20 - 7:23สำหรับวันอาทิตย์ สิ่งเดียวที่คุณมองเห็น
-
7:23 - 7:25คือวันทำงานของสัปดาห์ต่อไป
-
7:25 - 7:30ดังนััน ผู้มองโลกในแง่ดีก็คือคนที่คาดหวัง
การได้รับจูบอีกครั้งในอนาคต -
7:30 - 7:32หวังจะเดินเล่นในสวนมากขึ้น
-
7:32 - 7:36และความสุขที่ได้รอคอยนั้นช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น
-
7:36 - 7:39ในความเป็นจริง หากไม่มีการมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวกแล้ว
-
7:39 - 7:42เราทุกคนอาจมีความซึมเศร้าหดหู่เล็กน้อย
-
7:42 - 7:44คนที่มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยนั้น
-
7:44 - 7:47พวกเขาจะไม่มีอคติ เมื่อเขามองออกไปในอนาคต
-
7:47 - 7:51จริง ๆ แล้ว พวกเขาอยู่กับโลกแห่งความเป็นจริง
มากกว่าคนที่สุขภาพจิตดีซะอีก -
7:51 - 7:53แต่คนที่ซึมเศร้าขั้นรุนแรง
-
7:53 - 7:55พวกเขามีอคติและมองโลกในแง่ร้าย
-
7:55 - 7:58นั่นทำให้พวกเขาคิดว่าอนาคต
-
7:58 - 8:00จะต้องเลวร้ายกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้
-
8:00 - 8:03ดังนั้น การมองโลกในแง่ดีจึงเปลี่ยนสิ่งที่เราเห็นในความคิดของเรา
-
8:03 - 8:07สิ่งที่พวกเราคาดหวังต่อโลกนี้จึงเปลี่ยนมุมมองที่เรามองโลก
-
8:07 - 8:10แต่มันก็ได้เปลี่ยนสิ่งที่เราเห็นในความเป็นจริงด้วย
-
8:10 - 8:13มันเป็นเหมือนการพยากรณ์อนาคตของตนเอง
-
8:13 - 8:15และนั่นคือเหตุผลข้อที่สาม
-
8:15 - 8:18ว่าทำไมการคาดหวังต่ำลงไม่ช่วยทำให้คุณมีความสุขมากขึ้น
-
8:18 - 8:20การทดลองภายใต้การควบคุม แสดงให้เราเห็นว่า
-
8:20 - 8:23การมองโลกในแง่ดี
ไม่ใช่แค่เชื่อมโยงกับความสำเร็จ -
8:23 - 8:25แต่มันนำเราไปสู่ความสำเร็จ
-
8:25 - 8:30การมองโลกในแง่ดี นำพาเราไปสู่ความสำเร็จ
ในด้านการศึกษา กีฬา และการเมือง -
8:30 - 8:34และประโยชน์ที่น่าแปลกใจที่สุดของการมองโลกในแง่ดี
อาจจะเป็นในเรื่องของสุขภาพ -
8:34 - 8:38หากเราคาดหวังถึงอนาคตที่สดใส
-
8:38 - 8:40ความตึงเครียด และความกังวลก็จะลดลงไป
-
8:40 - 8:44สรุปทั้งหมดแล้ว
การมองโลกแง่ดีมีประโยชน์อย่างมาก -
8:44 - 8:48แต่ก็ยังมีคำถามที่ทำให้ฉันสับสน
-
8:48 - 8:52ว่าเราจะมองโลกแง่ดี
ขณะเผชิญหน้าโลกแห่งความจริงอย่างไร -
8:52 - 8:55ในฐานะที่ฉันเป็นนักประสาทวิทยา นี่เป็นเรื่องที่สับสนอย่างมาก
-
8:55 - 8:58เพราะตามทฤษฎีทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนั้น
-
8:58 - 9:02เมื่อคุณไม่ได้ตามสิ่งที่คุณคาดหวัง
คุณก็ควรเปลี่ยนสิ่งที่คุณหวัง -
9:02 - 9:04แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่เราค้นพบ
-
9:04 - 9:07เราขอให้คนกลุ่มนึง มาที่ห้องวิจัยของเรา
-
9:07 - 9:10เพื่อทดลอง และค้นหาว่าจะเกิดอะไรขึ้น
-
9:10 - 9:13เราขอให้พวกเขาประเมินความเป็นไปได้
-
9:13 - 9:15ที่จะพบเจอเหตุการณ์ร้ายๆ ที่อาจเกิดในชีวิตพวกเขา
-
9:15 - 9:20ตัวอย่างเช่น ความเป็นไปได้ที่คุณอาจป่วยเป็นมะเร็ง
-
9:20 - 9:22และเราค่อยบอกค่าเฉลี่ยของความเป็นไปได้
-
9:22 - 9:25สำหรับบุคคลอย่างพวกเขาที่จะประสบโชคร้ายเช่นนั้น
-
9:25 - 9:28ตัวอย่างเช่น สำหรับโรคมะเร็ง ผลออกมาที่ร้อยละ 30
-
9:28 - 9:31จากนั้นเราถามพวกเขาอีกครั้งว่า
-
9:31 - 9:34"คุณมีโอกาสเป็นมะเร็ง มากแค่ไหน"
-
9:34 - 9:36สิ่งที่เราอยากรู้คือ
-
9:36 - 9:39ผู้คนจะใช้ข้อมูลที่เราบอกพวกเขา
-
9:39 - 9:41เพื่อเปลี่ยนความเชื่อของเขาหรือไม่
-
9:41 - 9:44และความจริงคือ พวกเขาก็ทำอย่างนั้น
-
9:44 - 9:46แต่ส่วนมากเฉพาะเมื่อข้อมูลที่เราบอก
-
9:46 - 9:49ดีกว่าสิ่งที่พวกเขาคาดหวังเอาไว้เท่านั้น
-
9:49 - 9:50ยกตัวอย่างเช่น
-
9:50 - 9:53ถ้ามีคนนึงพูดว่า "โอกาสที่ฉันอาจป่วยเป็นมะเร็ง
-
9:53 - 9:56อยู่ที่ร้อยละ 50"
-
9:56 - 9:58และเราพูดว่า "เฮ ข่าวดีก็คือ
-
9:58 - 10:01ค่าเฉลี่ย อยู่เพียงแค่ร้อยละ 30 เท่านั้น"
-
10:01 - 10:03ครั้งต่อไป พวกเขาก็จะพูดว่า
-
10:03 - 10:06บางที โอกาสที่พวกเขาอาจจะป่วย น่าจะอยู่ที่ร้อยละ 35
-
10:06 - 10:08เห็นได้ว่าพวกเราเรียนรู้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพ
-
10:08 - 10:11แต่ถ้าใครคนนึง เริ่มต้นพูดว่า
-
10:11 - 10:14"โอกาสป่วยเป็นมะเร็งของฉันอยู่ที่ ร้อยละ 10"
-
10:14 - 10:17และเราพูดว่า "เฮ ข่าวร้ายก็คือ
-
10:17 - 10:20ค่าเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 30 ต่างหาก"
-
10:20 - 10:22ครั้งต่อไป พวกเขาก็จะพูดว่า
-
10:22 - 10:25"ฉันลองคิด ๆ ดูแล้ว มันน่าจะเป็นประมาณร้อยละ 11"
-
10:25 - 10:27(เสียงหัวเราะ)
-
10:27 - 10:30ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่ได้เรียนรู้อะไร --พวกเขาเรียนรู้--
-
10:30 - 10:32แต่ค่อนข้างน้อยกว่าตอนที่เราให้
-
10:32 - 10:35ข้อมูลเชิงบวกเกี่ยวกับอนาคตแก่พวกเขา
-
10:35 - 10:38และไม่ใช่ว่าพวกเขาจำตัวเลขที่เราบอกให้ไม่ได้
-
10:38 - 10:41ทุกๆคนจำได้ว่าค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้ของการเป็นมะเร็ง
-
10:41 - 10:43อยู่ที่ร้อยละ 30
-
10:43 - 10:45และค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้ของการหย่าร้างอยู่ที่ร้อยละ 40
-
10:45 - 10:50แต่พวกเขาไม่ได้คิดว่าตัวเลขเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องกับเขา
-
10:50 - 10:54สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า สัญญาณเตือนในลักษณะนี้
-
10:54 - 10:57มีผลกับคนจำนวนไม่มาก
-
10:57 - 11:01ใช่ การสูบบุหรี่ทำให้ตาย แต่คนที่ตายส่วนใหญ่คือคนอื่นๆ
-
11:01 - 11:03สิ่งที่ฉันต้องการรู้คือ
-
11:03 - 11:06เกิดอะไรขึ้น ภายในสมองของมนุษย์
-
11:06 - 11:10ที่กีดขวางเราจากการรับรู้สัญญาณเตือนเหล่านั้น
-
11:10 - 11:11แต่ในขณะเดียวกัน
-
11:11 - 11:13เมื่อเราได้ยินว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์กำลังเฟื่องฟู
-
11:13 - 11:18เราก็คิดว่า "ดีจัง ราคาบ้านของฉันจะต้องสูงเป็นสองเท่าแน่ๆ"
-
11:18 - 11:20เพื่อพยายามศึกษาเรื่องนี้
-
11:20 - 11:22ฉันขอให้ผู้เข้าร่วมคนนึง ทำการทดลอง
-
11:22 - 11:24โดยเข้าเครื่องสแกนสมอง
-
11:24 - 11:26ที่เหมือนเครื่องนี้
-
11:26 - 11:29และใช้วิธีที่เราเรียกว่า เอ็ม อาร์ ไอ
-
11:29 - 11:32เราสามารถระบุส่วนของสมอง
-
11:32 - 11:35ที่ตอบสนองต่อข้อมูลเชิงบวก
-
11:35 - 11:39ส่วนนี้ของสมองเรียกว่า หยักสมองส่วนหน้า ด้านล่างซ้าย
-
11:39 - 11:43ดังนั้นเมื่อใครซักคนพูดว่า
"ฉันมีโอกาสป่วยเป็นมะเร็ง ร้อยละ 50" -
11:43 - 11:44และเราบอกว่า " เฮ ข่าวดีคือ
-
11:44 - 11:47ค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้นั้นอยู่ที่ร้อยละ 30 เท่านั้น"
-
11:47 - 11:50หยักสมองส่วนหน้า ด้านล่างซ้าย จะตอบสนองอย่างรุนแรง
-
11:50 - 11:55และนั่นไม่ได้สำคัญว่าคุณเป็นคนมองโลกแง่ดี มากหรือน้อย
-
11:55 - 11:57หรือค่อนข้างมองโลกแง่ร้าย
-
11:57 - 12:00หยักสมองส่วนหน้า ด้านล่างซ้าย ของทุกๆคน
-
12:00 - 12:01ทำงานได้เป็นอย่างดี
-
12:01 - 12:04ไม่ว่าคุณจะเป็น บารัค โอบามา หรือ วู้ดดี้ อัลเลน
-
12:04 - 12:06ในอีกด้านหนึ่งของสมอง
-
12:06 - 12:11หยักสมองส่วนหน้า ด้านล่างขวา จะตอบสนองต่อข่าวร้าย
-
12:11 - 12:14และนี่ก็เป็นประเด็นอีกว่า : มันทำงานได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่
-
12:14 - 12:16ยิ่งคุณเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากเท่าไหร่
-
12:16 - 12:19ยิ่งมีโอกาสน้อยมากเท่านั้นที่สมองส่วนนี้
-
12:19 - 12:22จะตอบสนองต่อข้อมูลเชิงลบที่คุณไม่ได้คาดคิดเอาไว้
-
12:22 - 12:25และหากสมองของคุณล้มเหลว
-
12:25 - 12:28ในการเชื่อมโยงข่าวร้ายในเรื่องอนาคต
-
12:28 - 12:33ตอนนั้นก็เหมือนคุณสวมแว่นที่ทำให้คุณมองโลกเป็นสีชมพูอยู่ตลอดเวลา
-
12:33 - 12:38ดังนั้นพวกเราจึงต้องการรู้ว่า เราจะเปลี่ยนสิ่งนี้ได้หรือไม่
-
12:38 - 12:41เราจะเปลี่ยนการมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวกของผู้คนได้หรือไม่
-
12:41 - 12:45โดยรบกวนการทำงานของสมองตรงส่วนเหล่านี้
-
12:45 - 12:48และ มันมีวิธีที่เราสามารถทำได้
-
12:48 - 12:50นี่คือผู้ร่วมงานของฉัน เรียวตะ คานาอิ
-
12:50 - 12:54และสิ่งที่เขากำลังทำคือ ส่งผ่านคลื่นความถี่
-
12:54 - 12:56ผ่านกระโหลกศีรษะของผู้เข้าร่วมในการศึกษาของเรา
-
12:56 - 12:59เข้าไปในหยักสมองส่วนหน้า
-
12:59 - 13:00และผลที่ได้คือ
-
13:00 - 13:03เขาสามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองส่วนนี้ได้
-
13:03 - 13:05ในช่วงระยะเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง
-
13:05 - 13:07หลังจากนั้น ทุกอย่างก็กลับสู่ความปกติ คุณมั่นใจได้
-
13:07 - 13:09(เสียงหัวเราะ)
-
13:09 - 13:13มาดูกันค่ะ ว่าเกิดอะไรขึ้น
-
13:13 - 13:15ก่อนอื่น ฉันอยากให้คุณเห็น
-
13:15 - 13:17ค่าเฉลี่ยของปริมาณอคติที่เราเห็น
-
13:17 - 13:20ดังนั้น ถ้าฉันจะทดสอบพวกคุณทุกคนตอนนี้
-
13:20 - 13:22นี่คือปริมาณที่คุณจะได้เรียนรู้
-
13:22 - 13:25เกี่ยวกับข่าวดีมากกว่าข่าวร้าย
-
13:25 - 13:28ตอนนี้พวกเรารบกวนการทำงานของสมองส่วนนี้
-
13:28 - 13:32โดยเราตั้งใจเพิ่มข้อมูลเชิงลบเข้าไป
-
13:32 - 13:36และทำให้อคติเชิงบวก ขยายตัวใหญ่ขึ้น
-
13:36 - 13:41เราทำให้ผู้คน มีอคติมากขึ้น เวลาที่รับฟังข้อมูล
-
13:41 - 13:44จากนั้นเราได้เข้ารบกวนการทำงานของสมอง
-
13:44 - 13:48โดยการสอดแทรกข่าวดีลงไป
-
13:48 - 13:52ซึ่งทำให้อคติเชิงบวกหายไป
-
13:52 - 13:54ผลการทดลองทำให้เราประหลาดใจมาก
-
13:54 - 13:56เพราะเราไม่สามารถกำจัด
-
13:56 - 13:59อคติที่หยั่งรากลึกลงในสมองมนุษย์
-
13:59 - 14:04และจุดนี้ ทำให้เราหยุดการทดลอง และถามตัวเองว่า
-
14:04 - 14:09เรายังต้องการแยกภาพลวงตาเชิงบวก
ออกเป็นส่วนย่อยๆอีกหรือไม่ -
14:09 - 14:14ถ้าเราสามารถทำสิ่งนั้นได้ เราจะต้องการขจัดอคติเชิงบวกของมนุษย์ออกไปหรือไม่
-
14:14 - 14:19เราได้บอกคุณไปแล้วเกี่ยวกับผลดีของอคติเชิงบวก
-
14:19 - 14:23ซึ่งอาจทำให้คุณอยากมีอคติแบบนั้นในชีวิตของคุณ
-
14:23 - 14:25แต่แน่นอน มันยังมีข้อผิดพลาด
-
14:25 - 14:28และคงจะเป็นเรื่องโง่มาก ถ้าเรามองข้ามจุดนี้ไป
-
14:28 - 14:32ยกตัวอย่างอีเมล์หนึ่งที่ฉันได้รับ
-
14:32 - 14:35จากนักผจญเพลิงคนหนึ่ง ในแคลิฟอร์เนีย
-
14:35 - 14:38เขาเขียนว่า
"การตรวจสอบสาเหตุการตายสำหรับนักผจญเพลิง -
14:38 - 14:42มักรวมถึง 'เราไม่คิดว่าไฟสามารถทำแบบนั้นได้'
-
14:42 - 14:44แม้แต่เวลาที่เรามีข้อมูลทุกอย่าง
-
14:44 - 14:47อยู่ตรงหน้าเพื่อการตัดสินใจที่ปลอดภัย"
-
14:47 - 14:51หัวหน้าทีมคนนี้จะใช้สิ่งที่เราค้นพบจากการมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวก
-
14:51 - 14:53เพื่อพยายามอธิบายแก่บรรดานักผจญเพลิง
-
14:53 - 14:55ว่าพวกเขาทำแบบนั้นไปทำไม
-
14:55 - 15:02เพื่อทำให้พวกเขาตระหนักถึงการมองโลกอย่างมีอคติในเชิงบวกของมนุษย์
-
15:02 - 15:07ดังนั้น การที่คนมองโลกสวยงามกว่าความเป็นจริง
สามารถนำไปสู่พฤติกรรมที่เสี่ยง -
15:07 - 15:11สู่การล้มของตลาดการเงิน สู่ความผิดพลาดของการวางแผน
-
15:11 - 15:13ตัวอย่างเช่น รัฐบาลอังกฤษ
-
15:13 - 15:16ได้รู้ว่า อคติในเชิงบวกนั้น
-
15:16 - 15:19สามารถทำให้ปัจเจกชน มีโอกาสที่จะ
-
15:19 - 15:23ประเมินค่าใช้จ่ายและระยะเวลาของโครงการต่ำกว่าความจริง
-
15:23 - 15:27ดังนั้น พวกเขาจึงได้จัดสรร
งบประมาณใหม่สำหรับโอลิมปิก 2012 -
15:27 - 15:29สำหรับอคติในเชิงบวก
-
15:29 - 15:32เพื่อนของฉันที่กำลังจะเข้าพิธีแต่งงานในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
-
15:32 - 15:34ได้ทำสิ่งเดียวกัน ต่องบประมาณที่ใช้ในงานแต่งงานของเขา
-
15:34 - 15:37อย่างไรก็ตาม เมื่อฉันถามเขา
เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เขาจะหย่า -
15:37 - 15:41เขาก็ตอบว่าเขาค่อนข้างมั่นใจว่ามันต้องเป็นศูนย์
-
15:41 - 15:43ดังนั้น สิ่งที่เราควรทำมากที่สุด
-
15:43 - 15:47คือต้องคอยดูแลตัวเราเอง
จากอันตรายที่อาจเกิดจากการมองโลกในแง่ดีเกินไป -
15:47 - 15:50แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ลืมดำรงไว้ซึ่งความหวัง
-
15:50 - 15:53อันเป็นประโยชน์จากการมองโลกในแง่ดีด้วย
-
15:53 - 15:56และฉันเชื่อว่า มันมีทางที่เราสามารถจะทำมันได้
-
15:56 - 15:58กุญแจสำคัญของทั้งหมดนี้คือ ความรู้
-
15:58 - 16:01เราไม่ได้เกิดมา แล้วจะเข้าใจอคติที่เรามีได้ในทันที
-
16:01 - 16:05ทั้งหมดนี้ จำต้องถูกระบุด้วยผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์
-
16:05 - 16:09แต่ข่าวดีก็คือ
การที่เราตระหนักได้ถึงการมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวกนั้ -
16:09 - 16:11ไม่ได้ทำให้ภาพลวงตานั้นแตกสลายไป
-
16:11 - 16:13มันเหมือนภาพลวงตาที่เรามองเห็นได้
-
16:13 - 16:16ซึ่งการทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้มันหายไป
-
16:16 - 16:19และนี่ถือเป็นเรื่องดีเพราะมันหมายความว่า
-
16:19 - 16:21เราสามารถที่จะควบคุมความสมดุล
-
16:21 - 16:23วางแผนการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
-
16:23 - 16:26เพื่อปกป้องตัวเราเองจาก การมองโลกในแง่บวกโดยไม่คิดถึงความเป็นจริง
-
16:26 - 16:29แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงไว้ซึ่งความหวัง
-
16:29 - 16:33ฉันคิดว่า การ์ตูนรูปนี้สื่อออกมาได้ดีมาก
-
16:33 - 16:36เพราะหากคุณคือคนนึงในกลุ่มเพนกวินที่มองโลกในแง่ร้าย
ที่อยู่ข้างบนนั้น -
16:36 - 16:38ที่อย่างไรก็ไม่เชื่อว่าพวกเขาสามารถบินได้
-
16:38 - 16:41คุณย่อมไม่สามารถทำได้ตลอดกาล
-
16:41 - 16:43เพราะการก่อเกิดความก้าวหน้าใด ๆ
-
16:43 - 16:45เราจำเป็นต้องจินตนาการถึงความเป็นจริงในอีกด้านที่แตกต่าง
-
16:45 - 16:49และจากนั้น เราจำเป็นต้องเชื่อว่ามันสามารถเป็นจริงขึ้นมาได้
-
16:49 - 16:52แต่ถ้าคุณเป็นหนึ่งในเพนกวินที่มองโลกในแง่ดีมากๆ
-
16:52 - 16:55ที่หลับหูหลับตากระโดดลงมา คาดหวังถึงการโบยบิน
-
16:55 - 17:00คุณก็อาจรู้ตัวว่าคุณบินไม่ได้ เมื่อคุณกระแทกกับพื้นดิน
-
17:00 - 17:02แต่หากคุณยังเป็นเพนกวินที่มองโลกในแง่ดี
-
17:02 - 17:03ที่เชื่อว่าคุณสามารถบินได้
-
17:03 - 17:06แต่ก็พกพาร่มชูชีพไปบนหลังของคุณด้วย
-
17:06 - 17:09เผื่อในกรณีที่ทุกอย่างไม่ได้เป็นไปตามที่คุณวางแผนไว้
-
17:09 - 17:11คุณก็ยังร่อนทะยานได้อย่างนกอินทรี
-
17:11 - 17:14แม้ว่าคุณจะเป็นแค่เพนกวินก็ตาม
-
17:14 - 17:16ขอบคุณค่ะ
-
17:16 - 17:19(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ทาลิ ชารอท : การมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวก
- Speaker:
- Tali Sharot
- Description:
-
จริงหรือไม่ที่เราเกิดมาเพื่อมองโลกในแง่ดี มากกว่ามองโลกตามความเป็นจริง? ทาลิ ชารอท ร่วมแบ่งปันผลวิจัยชิ้นใหม่ที่แสดงให้เราเห็นว่า มีสายใยเชื่อมโยงสมองของเราให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในด้านดี -- และมันสามารถก่อให้เกิดทั้งอันตรายและประโยชน์ต่อเราได้อย่างไร
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 17:40
Jenny Zurawell approved Thai subtitles for The optimism bias | ||
Duangrutai Boonyasatian accepted Thai subtitles for The optimism bias | ||
Duangrutai Boonyasatian edited Thai subtitles for The optimism bias | ||
Duangrutai Boonyasatian edited Thai subtitles for The optimism bias | ||
Duangrutai Boonyasatian edited Thai subtitles for The optimism bias | ||
Duangrutai Boonyasatian edited Thai subtitles for The optimism bias | ||
Chonnipa Kanchaikham edited Thai subtitles for The optimism bias | ||
Chonnipa Kanchaikham edited Thai subtitles for The optimism bias |